xs
xsm
sm
md
lg

“นักวิชาการ” ชี้อย่าวิตก สหรัฐฯ ตัด “จีเอสพี” ไทย เพราะเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดน้อยมาก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


วิเคราะห์ประเด็น สหรัฐฯ ตัด “จีเอสพี” ไทย ส่งผลกระทบแค่ไหน? มีการเมืองระหว่างประเทศอยู่เบื้องหลังหรือไม่? เกมนี้ใครได้ ใครเสีย? กับ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง

วันนี้ (28 ต.ค.) รายการ “เป็นเรื่องเป็นข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี 36 (PPTV HD 36) ดำเนินรายการโดย นายปวัน สิริอิสสระนันท์ เกาะติดความคืบหน้าวิเคราะห์ประเด็น สหรัฐฯ ตัด “จีเอสพี” ไทย ส่งผลกระทบแค่ไหน? มีการเมืองระหว่างประเทศอยู่เบื้องหลังหรือไม่? เกมนี้ใครได้ ใครเสีย?

หลังจากที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิ์จีเอสพีของประเทศไทย โดย GSP ย่อมาจาก generalized system preference คือ สิทธิทางภาษีที่ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย โดยไม่ต้องเสียภาษีสินค้านำเข้าบางรายการเมื่อส่งสินค้าไปขายในประเทศผู้ให้สิทธิ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถส่งออกสินค้าไปแข่งกับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแข่งกับประเทศที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าได้ราคาถูกและมีประสิทธิภาพ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่ออายุ แต่อะไรทำให้สหรัฐฯ ประกาศออกมาว่าอีก 6 เดือนจะทำการตัดสิทธิ์ ซึ่งสินค้าต่างๆ กว่า 500 รายการที่ระบุมามีมูลค่ากว่า 1,300 ล้านดอลลาร์ ที่ส่งให้สหรัฐฯ และได้รับยกเว้นภาษี แต่หลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อีกต่อไป โดยสหรัฐฯ อ้างว่าเราล้มเหลวในการจัดการเรื่องของแรงงานตามหลักสากล

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า จีเอสพีเป็นการสร้างแรงกดดันจากประเทศที่กำลังพัฒนาในทศวรรษ 1960 เพราะว่ากฎข้อหนึ่งของ GSP เป็นกฎที่เขาบอกว่ายุติธรรม แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ยุติธรรม กฎข้อนั้นคือเรียกว่าประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง ซึ่งเขามองว่ายุติธรรมถ้าเขาลดกำแพงภาษีกับประเทศคุณ ทุกประเทศที่เป็น WTO ก็จะได้ลดอัตตราภาษีเดียวกัน เขาเรียกว่าอัตตราภาษีประเทศซึ่งได้รับอนุเคราะห์อย่างยิ่ง

"สังเกตุดูว่าหลักเกณฑ์ที่เขาจะปลดเราออกมันมี 3 หลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์ที่หนึ่ง ถ้าเราถึงเกณฑ์ที่เขาบอกว่ารวยแล้ว ซึ่ง EU กับทางอเมริกาไม่เหมือนกัน EU ปลดเราไปเรียบร้อยแล้ว เพราะว่ารวยถึงขนาดพอแล้ว แต่อเมริกายังไม่ตั้งให้เราอยู่ในนั้น เพราะว่าถ้าเราไประดับ 20,000 กว่า เพราะฉะนั้นเขายังไม่ตัดข้อนี้ และถ้าอันนั้นที่เขารู้สึกว่าเรามีการแข่งขัน ดูได้จากที่กำหนดเป็นเกณฑ์ว่า มีส่วนแบ่งเกิน 50 เราโดนตัดไปแล้วหลายตัว แต่ครั้งนี้เราโดนตัดข้อสาม ข้อสามคือประเทศไหนละเมิดสิทธิมนุษยชน กับอีกข้อ ซึ่งถ้าเขาเล่นงานเขาต้องมีเหตุผล" รศ.ดร.สมชาย กล่าว




กำลังโหลดความคิดเห็น