คลิกที่นี่เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ตร.รวบ 5 พระผู้ใหญ่คดีเงินทอนวัด ก่อนจับสึก “พระพรหมเมธี-พระพรหมสิทธิ” ยังล่องหน ด้าน “พระพุทธะอิสระ” โดนด้วยข้อหาอั้งยี่ซ่องโจร!
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. เวลา 06.00 น. ตำรวจกองปราบฯ ได้นำกำลังบุกเข้าตรวจค้นวัดดัง 3 แห่งใน กทม. ประกอบด้วย วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, วัดสามพระยาวรวิหาร และวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร เพื่อจับกุมพระสงฆ์ที่ถูกศาลออกหมายจับคดีเงินทอนวัด อย่างไรก็ตาม จากการตรวจค้น สามารถจับกุมพระได้ 5 รูป และหลบหนีไปได้ 2 รูป พระที่ถูกควบคุมตัว ประกอบด้วย 1.พระศรีคุณาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 2.พระครูสิริวิหารการ (สมจิตร จันทร์ศรี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 3.พระวิจิตรธรรมาภรณ์ หรือเจ้าคุณเทอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 4.พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร 5.พระอรรถกิจโสภณ เลขาฯ เจ้าคณะกรุงเทพฯ วัดสามพระยา ส่วนพระที่หลบหนีไปได้ 2 รูป คือ พระพรหมสิทธิ(ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ กรรมการ มส. และเจ้าคณะภาค 10 และพระพรหมเมธี(จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามฯ กรรมการ มส.และเจ้าคณะภาค 4-7
นอกจากนี้ยังมีฆราวาสอีก 4 คนที่ถูกหมายจับเช่นกันกรณีเกี่ยวข้องกับเงินทอนวัด ประกอบด้วย น.ส.ฑัมม์พร นิพนธ์พิทยา มารดาของ ร.ท.ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา ที่ตำรวจเข้าค้นบ้านเมื่อเร็วๆ นี้, น.ส.นุชรา สิทธินอก แม่บ้านประจำบ้าน ร.ท.ฐิติทัตน์ ที่รับโอนเงินจากวัด 25 ล้านบาท, นายธีระพงษ์ พันธ์ศรี และนายทวิช สังข์อยู่ ลูกศิษย์วัดสระเกศฯ ซึ่งมีอำนาจเซ็นชื่อเบิกจ่ายเงินในบัญชีของวัดทั้งหมด
ทั้งนี้ จากการตรวจค้นวัดสระเกศฯ พบบัญชีธนาคารซึ่งเป็นบัญชีส่วนตัวชื่อเจ้าอาวาสวัดถึง 10 บัญชี โดยมีเงินหมุนเวียนมากกว่า 130 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้อายัดเงินทั้งหมดไว้แล้ว
ด้าน พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการกองปราบปราม เผยว่า วัดสระเกศฯ มีความเกี่ยวข้องกับเงิน 32 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินงบฯ เผยแผ่ศาสนา ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โอนเงินให้จัดทำตามโครงการ แต่จากการตรวจสอบพบว่า มีการโอนเงิน 25 ล้านบาทให้กับ น.ส.นุชรา สิทธินอก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเช้าวันเดียวกัน ตำรวจกองปราบฯ และตำรวจกองบัญชาการสอบสวนกลาง ได้นำกำลังคอมมานโดพร้อมอาวุธครบมือ และหมายจับบุกเข้าจับกุมพระสุวิทย์ ธีรธัมฺโม หรือพระพุทธะอิสระ ที่วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ในข้อหาสนับสนุนให้มีการปล้นทรัพย์ ก่อนนำตัวไปสอบที่กองปราบฯ
ต่อมาช่วงบ่ายวันเดียวกัน ตำรวจกองปราบฯ ได้นำตัวพระพุทธะอิสระไปขอศาลอาญาฝากขัง ข้อหาปล้นทรัพย์ และเป็นหัวหน้าอั้งยี่ ซ่องโจร โดยระบุว่า สืบเนื่องจากกรณีการชุมนุมของ กปปส.เมื่อปี 2557 ที่ตำรวจสันติบาลถูกการ์ด กปปส.แจ้งวัฒนะ ทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ และปล้นเอาทรัพย์สินของตำรวจดังกล่าว และข้อหาแอบอ้างใช้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.และ สก.กรณีสร้างพระเครื่องพระนาคปรกรุ่นหนึ่งในปฐพี ซึ่งพระพุทธะอิสระเคยให้สัมภาษณ์ว่า การใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ปรึกษาเรื่องขอพระบรมราชานุญาตด้วยวาจากับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เมื่อครั้งเป็นรองเลขาธิการพระราชวังแล้ว ทั้งนี้ ตำรวจได้คัดค้านการประกันตัวพระพุทธะอิสระ ด้านทนายความได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดเพื่อขอประกันพระพุทธอิสระ แต่ศาลพิจารณาแล้วไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้มีการนิมนต์พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าหน้าที่จาก พศ.มาทำการสึกพระพุทธะอิสระ โดยถอดจีวรและสวมชุดขาวแทน ก่อนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะนำตัวขึ้นรถเพื่อไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ระหว่างที่พระพุทธะอิสระจะถูกนำตัวขึ้นรถเรือนจำ ประชาชนที่นับถือศรัทธาต่างพากันร้องไห้
ส่วนพระอีก 5 รูปที่ถูกควบคุมตัวจากวัดสระเกศฯ วัดสามพระยา และวัดสัมพันธวงศารามฯ พร้อมฆราวาสอีก 4 คนที่เกี่ยวข้องคดีเงินทอนวัด ได้ถูกตำรวจนำตัวขอศาลอาญาฝากขังเช่นกัน พร้อมคัดค้านการประกันตัว ซึ่งแม้ทนายความจะยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวทั้งพระและฆราวาสดังกล่าว แต่ศาลก็ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง และพฤติการณ์การกระทำผิด มีผลกระทบต่อพุทธศาสนาและมีลักษณะเป็นขบวนการ โดยมีการแบ่งหน้าที่ยักย้ายเงินที่ได้มาผ่านทางธนาคาร จึงต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอยู่ในความครอบครองของผู้ต้องหากับพวก หากปล่อยตัวชั่วคราว เชื่อว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หลังศาลไม่ให้ประกัน จึงได้ทำการสึกพระชั้นผู้ใหญ่ทั้ง 5 รูปดังกล่าว ก่อนให้สวมชุดขาว และนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป ส่วนผู้ต้องหาหญิง นำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
ทั้งนี้ วันเดียวกัน พระพรหมมุนี กรรมการ มส.ในฐานะเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชาให้กรรมการ มส.ที่ถูกดำเนินคดีพ้นจากตำแหน่งกรรมการ มส.3 รูป ประกอบด้วย พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา, พระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามฯ และพระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังปฏิบัติการตำรวจบุกจับพระพุทธะอิสระที่วัดอ้อน้อย ปรากฏว่า โลกออนไลน์ได้มีการเผยแพร่คลิปนาทีที่ตำรวจคอมมานโดพร้อมอาวุธครบมือใช้ค้อนพังประตูกุฏิพระพุทธะอิสระ ที่กำลังหลับอยู่บนเตียง จากนั้นตำรวจได้ตะคอกให้พระพุทธะอิสระหมอบลง ซ้ำยังใช้ปืนจ่อ ทำราวกับพระพุทธะอิสระเป็นอาชญากรหรือผู้ก่อการร้าย ซึ่งการกระทำของตำรวจในครั้งนี้ถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าทำเกินกว่าเหตุ ทำไม่ไม่เหมาะสมกับผู้ต้องหาที่เป็นพระ พร้อมเปรียบเทียบว่า ตำรวจ 2 มาตรฐาน เพราะไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้กับการเข้าจับกุมพระชั้นผู้ใหญ่วัดสระเกศฯ วัดสามพระยา และวัดสัมพันธวงศาราม
ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ขอโทษแทนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งเสียความรู้สึก โดยได้ว่ากล่าวตักเตือนและกำชับไปแล้วว่าต้องไม่มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก พร้อมฝากขอโทษอดีตพระพุทธะอิสระ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 พ.ค. ตำรวจกองปราบฯ ได้บุกเข้าตรวจค้นวัดสระเกศฯ อีกรอบ ก่อนทุบห้องลับชั้นใต้ดินภายในกุฏิฉัตรลีลาของพระพรหมสิทธิ และสามารถรวบตัวพระพรหมสิทธิได้แล้ว แต่เจ้าตัวยังไม่ยอมสึก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ป.ได้ออกมายืนยันว่า ข่าวดังกล่าวเป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น
2.ตร.รวบ 15 แกนนำ “คนอยากเลือกตั้ง” ชุมนุมต้าน 4 ปี คสช. พร้อมรวบแก๊งค้าอาวุธสงครามโยงแดงฮาร์ดคอร์จ้องป่วนคนอยากเลือกตั้ง!
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีของการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กลุ่มคนอยากเลือกตั้งได้นัดชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 21 พ.ค. พร้อมกำหนดเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 22 พ.ค. แม้ทางรัฐบาลจะส่งสัญญาณให้ชุมนุมอยู่แต่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่าเคลื่อนมายังทำเนียบฯ เพราะจะผิดกฎหมาย รวมทั้งทางตำรวจ นำโดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เตือนให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การข่าวพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงทางการเมืองหรือแดงฮารดคอร์เตรียมเคลื่อนย้ายอาวุธหนักมาสร้างสถานการณ์ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งก็ตาม แต่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งยังคงชุมนุมเหมือนเดิม
ทั้งนี้ ช่วงค่ำวันที่ 21 พ.ค. น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว 1 ในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ได้ไปร้องศาลปกครองขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ผู้ชุมนุมเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 22 พ.ค.เวลา 06.00-18.00 น.ได้ ไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารขัดขวาง แต่ศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่า น.ส.ชลธิชา ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุม ยังไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของ ผกก.สน.ชนะสงครามที่กำหนดเงื่อนไขการชุมนุมและสั่งห้ามจัดการชุมนุมสาธารณะ
ขณะที่ฝ่ายกฎหมายของ คสช.ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ชนะสงครามเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ให้ดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว, นายเอกชัย หงส์กังวาน, น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา, นายปิยรัฐ จงเทพ และนายนิกร วิทยาพันธุ์ ข้อหาร่วมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) มีรายงานว่า มีผู้มาร่วมชุมนุมประมาณ 400-500 คน แต่มีเจ้าหน้าที่มาวางกำลังโดยรอบ มธ.ประมาณ 1,500 นาย และมีการปิดเส้นทางเพื่อไม่ให้ม็อบเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เมื่อแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งประกาศให้ผู้ชุมนุมตั้งขบวนเรียงแถวหน้ากระดานเพื่อทำลายแผงเหล็กกั้นของตำรวจ จึงเกิดเหตุการณ์ชุลมุน ก่อนดึงแผงกั้นออกได้สำเร็จและมีเต๊นท์ถูกทำลายพังเสียหาย 2 หลัง จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงให้มวลชนยุติการกระทำ เนื่องจากผิดกฎหมายหลายประการ กระทั่งต่อมา นายรังสิมันต์ โรม ได้เจรจากับตำรวจเพื่อขอมอบตัว และขอให้ตำรวจนำรถมารับตัวตนเอง จ่านิว และโตโต้ (นายปิยรัฐ จงเทพ) ณ ที่ชุมนุม เพื่อไม่ให้ความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้นอีก
หลังจากนั้น นายสิรวิชญ์ หรือจ่านิว ได้อ่านแถลงการณ์ในนามกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โดยยืนยันจุดยืน 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.การเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นภายในเดือน พ.ย.2561 2.คสช.ต้องยุติความพยายามที่จะสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้ง 3.จะต้องปลดอาวุธ คสช.โดยยกเลิกประกาศและคำสั่งต่างๆ ของ คสช.ที่ลิดรอนเสรีภาพของประชาชน รวมถึงประกาศที่ขัดขวางการดำเนินการต่างๆ ของพรรคการเมือง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทันที 4.คสช.ต้องยุติการดำรงอยู่ของตัวเอง และเปลี่ยนสถานะของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เป็นรัฐบาลรักษาการทันที เพื่อสร้างหลักประกันในการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม โปร่งใส และปราศจากการแทรกแซงจาก คสช. และ 5.กองทัพจะต้องยุติการสนับสนุน คสช.ทันที เพื่อไม่ให้ คสช.มีขุมกำลังในการสืบทอดอำนาจเผด็จการได้อีก
สำหรับแกนนำและผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวไปที่ สน.พญาไท มี 10 ราย ประกอบด้วย นายอานนท์ นำภา, น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว, นายเอกชัย หงส์กังวาน, นายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ, น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา, นายวิโรจน์ โตงามรักษ์, นายพุทธไธสิงห์ ทิมจันทร์, ว่าที่ร้อยตรี ภัทรพล จันทร์โคตร, นายคีรี ขันทอง และนายประสงค์ วางวัน ส่วนแกนนำอีก 4 คนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ สน.ชนะสงคราม ได้แก่ นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว, นายปิยรัฐ จงเทพ และนายนิกร วิทยาพันธุ์ คนตัดกุญแจรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเปิดให้ผู้ชุมนุมเข้า
ทั้งนี้ ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 15 ราย โดยอีก 1 รายที่เพิ่มขึ้นมาคือ นายวิเศษณ์ สังวิศิษฏ์ คนขับรถเครื่องขยายเสียง ไปขอศาลอาญาฝากขังเมื่อวันที่ 24 พ.ค. เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น พร้อมคัดค้านการประกันตัว
ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.เผยหลังเข้าตรวจสำนวนคดีจับกุม 15 แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งว่า ข้อหาที่แจ้ง นอกจาก 3 ข้อหา คือ ยุยงปลุกปั่น มั่วสุม 10 คนขึ้นไป และขัดคำสั่ง คสช.ชุมนุม 5 คนขึ้นไปแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, ลักลอบใช้ไฟฟ้า, พ.ร.บ.จราจร และอยู่ระหว่างพิจารณาแจ้งอีก 3 ข้อหา คือ ทำให้เสียทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย และทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เนื่องจากมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 80 คน มาร้องทุกข์ที่ สน.นางเลิ้ง นอกจากนี้ยังมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 10 นาย และทรัพย์สินเสียหาย พล.ต.อ.ศรีวราห์เผยด้วยว่า ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากผู้ต้องหามีพฤติกรรมทำผิดซ้ำซาก
ด้านศาลพิจารณาแล้ว อนุญาตให้ตำรวจฝากขัง แต่อนุญาตให้ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนประกันตัวได้ โดยตีราคาประกันคนละ 1 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามชุมนุมทางการเมืองอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นอันตรายแก่สังคม
ส่วนกรณีที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ได้ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่า การข่าวพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงทางการเมืองหรือแดงฮารดคอร์เตรียมเคลื่อนย้ายอาวุธหนักมาสร้างสถานการณ์ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งนั้น ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีเครือข่ายค้าอาวุธสงครามได้ 5 ราย ประกอบด้วย นายวิชาญ รักชาติ ชาวพระนครศรีอยุธยา, นายวินัส ปริกเพชร ชาวเชียงราย, น.ส.ประคองศรี ศิริมั่น ชาวนครราชสีมา, นายสมบัติ แก้วสุข ชาวตาก และนายประดิษฐ์ทอง ชัยปัญหา ชาวหนองคาย โดยจับกุมได้พร้อมอาวุธปืนพกสั้น 18 กระบอก ปืนยาว 5 กระบอก เครื่องกระสุนกว่า 3 หมื่นนัด ระเบิดชนิดขว้าง 7 ลูก อะไหล่และโครงปืนเอ็ม 16 กว่า 100 ชิ้น
พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวว่า การจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 5 รายมาจากการขยายผลจับกุมนายพงค์พัฒน์ ใจอินต๊ะ ผู้ต้องหาชาวเชียงรายที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ ซึ่งจากการสอบปากคำเบื้องต้น ทั้งหมดยอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับ และมีการสั่งซื้ออาวุธสงครามจริง โดยซื้อขายมาแล้ว 3-4 เดือน พล.ต.อ.ศรีวราห์ยืนยันด้วยว่า จากตรวจสอบทางการข่าวพบว่า ผู้ต้องหากลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องและเตรียมนำอาวุธมาก่อเหตุในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และว่า จากการตรวจสอบอาวุธของกลางพบว่า เคยมีการนำมาใช้ก่อเหตุในปี 2553 ประมาณ 15 เหตุการณ์ เนื่องจากมีเลขนัมเบอร์ตรงกัน
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 ว่า บอกแล้วว่า เป็นไปตามขั้นตอน คือต้นปี 62 ไม่มีเร็วกว่านั้น ต้องยืนยันในหลักการ และว่า ที่มันล่าช้าไป 3-4 เดือน เป็นเรื่องความพร้อมของกฎหมาย
3.ป.ป.ช.ฟัน “เมีย กี้ร์-อริสมันต์” ร่ำรวยผิดปกติเกือบ 43 ล้าน ส่ง อสส.ฟ้องศาลยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดิน!
เมื่อวันที่ 21 พ.ค. นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดนางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ภรรยาของนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และอดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ฐานร่ำรวยผิดปกติ
ทั้งนี้ มติดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก ป.ป.ช.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินของนางระพิพรรณที่ได้ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. และกรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.แล้วเป็นเวลา 1 ปี ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า นางระพิพรรณมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติรวมมูลค่า 42,816,226 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคาร 6 บัญชี จำนวนกว่า 27.6 ล้านบาท, ที่ดิน 3 แปลง มูลค่ากว่า 9.4 ล้านบาท, สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 2 ล้านบาท, รถยนต์ 1 คัน มูลค่ากว่า 1.8 ล้านบาท และเงินที่นำมาชำระหนี้เงินกู้ธนาคาร 1.9 ล้านบาท
ป.ป.ช.จึงมีมติส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการสูงสุด(อสส.) เพื่อดำเนินคดีนางระพิพรรณในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ทรัพย์สินของนางระพิพรรณที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินต่อไป
4.ศาล รธน. ชี้แล้ว พ.ร.ป. ส.ว.ไม่ขัด รธน. เตรียมชี้ พ.ร.ป. ส.ส. 30 พ.ค.นี้ ด้านรัฐบาลเตรียมพร้อมทูลเกล้าฯ !
ความคืบหน้ากรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เข้าชื่อ 30 คน ขอให้ประธาน สนช.ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.มีประเด็นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 23 พ.ค. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้นัดประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.แล้วเกี่ยวกับบทเฉพาะกาล มาตรา 91, 92, 93, 94, 95 และ 96 ที่กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกของ ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ซึ่งมีการกำหนดจำนวนกลุ่มผู้สมัคร ส.ว. วิธีการสมัคร ส.ว. และกระบวนการเลือก ส.ว.ในบทเฉพาะกาลดังกล่าวไว้แตกต่างจากการได้มาซึ่ง ส.ว.ตามบททั่วไป มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา107 หรือไม่
ผลการพิจารณาปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ทั้ง 6 มาตราดังกล่าว เป็นบทเฉพาะกาลใช้บังคับในวาระเริ่มแรกเท่านั้น และยังเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 จึงไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 ประกอบมาตรา 269 แต่อย่างใด
สำหรับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ประธาน สนช.ส่งความเห็นของสมาชิก สนช.30 คน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าว มาตรา 35 (4) และ (5) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดอภิปราย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยและนัดแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือและลงมติในวันที่ 30 พ.ค.
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงขั้นตอนหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำคำวินิจฉัยฉบับครบถ้วนสมบูรณ์ และส่งผลไปยัง สนช. จากนั้น สนช.จะส่งร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวมาให้รัฐบาล และรัฐบาลจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 25 วัน ซึ่งตนคิดว่าคงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้เร็ว เพราะรัฐบาลได้จัดพิมพ์เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
5.กบง.มีมติใช้เงินกองทุนน้ำมันตรึงราคา “ดีเซล” ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร พร้อมลดราคา “แอลพีจี” 32 บาท/ถัง!
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสสังคมต่างพุ่งเป้าไปที่เรื่องน้ำมันแพง ก๊าซแอลพีจีขึ้นราคา ส่งผลให้ต้องจับตาว่า ราคาสินค้าจะขึ้นตามหรือไม่ โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพง ที่เฉพาะเดือน พ.ค.เดือนเดียว น้ำมันปรับราคาเพิ่มขึ้นหลายครั้ง จนส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลใกล้จะทะลุ 30 บาท/ลิตร บางจังหวัดราคาทะลุ 30 บาทไปแล้วนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ค. บริษัท ปตท. ผู้ค้าแอลพีจีรายใหญ่ได้แจ้งคู่ค้าขอปรับราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่งอีก 1.5485 บาทต่อกิโลกรัมรวมแวต มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาแอลพีจีถังครัวเรือนขนาด 15 กิโลกรัม ปรับขึ้นประมาณ 23 บาทต่อถังทันที หรือมาอยู่ที่ถังละ 395 บาท จากราคาสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ถังละ 372 บาท โดยระบุว่า การปรับราคาดังกล่าวเป็นผลจากราคาแอลพีจีตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ หลังจากน้ำมันและก๊าซแอลพีจีขึ้นราคา มีความพยายามจะขอขึ้นค่าโดยสารจากผู้ประกอบการทั้งในส่วนของรถร่วม ขสมก. และเรือด่วนเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ โดยเรือด่วนระบุว่า หากราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 29 บาท/ลิตรต่อเนื่อง 15 วัน จะขอปรับค่าโดยสารขึ้นอีก 1 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อกรมเจ้าท่าทำหนังสือขอให้สมาคมเรือไทยรอผลการศึกษาโครงสร้างต้นทุนอัตราค่าโดยสารใหม่ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายวันที่ 30 มิ.ย.นี้ก่อน ทางผู้ประกอบการก็จะหารือกับสมาคมเรือไทย เพื่อดูมาตรการเยียวยาจากภาครัฐอีกครั้ง หากราคาดีเซลยังไม่ต่ำกว่า 29 บาท/ลิตร
ด้านนางภัทรวดี กล่อมจรูญ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง (รถร่วม ขสมก.) ได้ทำหนังสือขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร รถร่วม ขสมก.เพิ่มขึ้น อีก 4 บาท ทั้งในส่วนของรถร้อนและรถปรับอากาศ โดยอ้างว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 พ.ค. กระทรวงพลังงาน ได้ประกาศปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี เพิ่มอีก กก. ละ 0.62 สตางค์ ทำให้ต้นทุนราคาก๊าซของรถร่วมปรับเพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 10.77 บาท
ขณะที่สมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสาน ซึ่งมีรถบบรรทุกสินค้ามากกว่า 3 หมื่นคัน ได้ออกมาขู่เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ว่า หากราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 30 บาท/ลิตร ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเพิ่มค่าขนส่งอีก 5% โดยจะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกรอบ หากไม่ได้รับการพิจารณา จะดีเดย์หยุดวิ่งทั่วประเทศ
ต่อมา วันที่ 24 พ.ค. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเสียงวิจารณ์เรื่องน้ำมันแพงและก๊าซแอลพีจีปรับตัวสูงขึ้นว่า ราคาก็ขึ้นทั้งโลก เวลาน้ำมันไม่ขึ้น 4 ปี ไม่เห็นว่าอะไร มีกำไร ทำไมไม่ร้องเลย ต้องเสียสละบ้าง เวลาที่น้ำมันลง ราคาถูก ไม่เห็นพูดกันเลย ยืนยันราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
ทั้งนี้ วันเดียวกัน นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ก่อนแถลงผลประชุมว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนและสูงเกิน 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทาง กบง. จึงมีมติตรึงราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกไม่เกิน 30 บาท/ลิตร โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเครื่องมืออุดหนุน และจะดำเนินการช่วงระยะสั้นๆ จนกว่าจะมีความพร้อมเรื่องการใช้พลังงานไบโอดีเซล บี20 ที่เริ่มผลิตและจะออกสู่ตลาดปลายเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ โดยมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซล 3 บาท/ลิตร เพื่อช่วยบรรเทาค่าขนส่ง และรถโดยสารสาธารณะ โดยไม่มีความจำเป็นที่รถขนส่งสาธารณะ รวมถึงเรือโดยสารจะขึ้นค่าโดยสาร
พร้อมกันนี้ กบง.ยังมีมติใช้เงินกองทุนแอลพีจีอุดหนุนเพื่อให้ราคาแอลพีจีบรรจุถัง (15 กก.) อยู่ที่ 363 บาท จากที่ขณะนี้อยู่ที่ 395 บาท/ถัง ซึ่ง กบง.มองว่า แนวโน้มแอลพีจีโลกน่าจะลดลงจากนี้อีก 20 บาท/ถัง
1.ตร.รวบ 5 พระผู้ใหญ่คดีเงินทอนวัด ก่อนจับสึก “พระพรหมเมธี-พระพรหมสิทธิ” ยังล่องหน ด้าน “พระพุทธะอิสระ” โดนด้วยข้อหาอั้งยี่ซ่องโจร!
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. เวลา 06.00 น. ตำรวจกองปราบฯ ได้นำกำลังบุกเข้าตรวจค้นวัดดัง 3 แห่งใน กทม. ประกอบด้วย วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, วัดสามพระยาวรวิหาร และวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร เพื่อจับกุมพระสงฆ์ที่ถูกศาลออกหมายจับคดีเงินทอนวัด อย่างไรก็ตาม จากการตรวจค้น สามารถจับกุมพระได้ 5 รูป และหลบหนีไปได้ 2 รูป พระที่ถูกควบคุมตัว ประกอบด้วย 1.พระศรีคุณาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 2.พระครูสิริวิหารการ (สมจิตร จันทร์ศรี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 3.พระวิจิตรธรรมาภรณ์ หรือเจ้าคุณเทอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ 4.พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร 5.พระอรรถกิจโสภณ เลขาฯ เจ้าคณะกรุงเทพฯ วัดสามพระยา ส่วนพระที่หลบหนีไปได้ 2 รูป คือ พระพรหมสิทธิ(ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ กรรมการ มส. และเจ้าคณะภาค 10 และพระพรหมเมธี(จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามฯ กรรมการ มส.และเจ้าคณะภาค 4-7
นอกจากนี้ยังมีฆราวาสอีก 4 คนที่ถูกหมายจับเช่นกันกรณีเกี่ยวข้องกับเงินทอนวัด ประกอบด้วย น.ส.ฑัมม์พร นิพนธ์พิทยา มารดาของ ร.ท.ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา ที่ตำรวจเข้าค้นบ้านเมื่อเร็วๆ นี้, น.ส.นุชรา สิทธินอก แม่บ้านประจำบ้าน ร.ท.ฐิติทัตน์ ที่รับโอนเงินจากวัด 25 ล้านบาท, นายธีระพงษ์ พันธ์ศรี และนายทวิช สังข์อยู่ ลูกศิษย์วัดสระเกศฯ ซึ่งมีอำนาจเซ็นชื่อเบิกจ่ายเงินในบัญชีของวัดทั้งหมด
ทั้งนี้ จากการตรวจค้นวัดสระเกศฯ พบบัญชีธนาคารซึ่งเป็นบัญชีส่วนตัวชื่อเจ้าอาวาสวัดถึง 10 บัญชี โดยมีเงินหมุนเวียนมากกว่า 130 ล้านบาท ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ได้อายัดเงินทั้งหมดไว้แล้ว
ด้าน พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการกองปราบปราม เผยว่า วัดสระเกศฯ มีความเกี่ยวข้องกับเงิน 32 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินงบฯ เผยแผ่ศาสนา ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โอนเงินให้จัดทำตามโครงการ แต่จากการตรวจสอบพบว่า มีการโอนเงิน 25 ล้านบาทให้กับ น.ส.นุชรา สิทธินอก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเช้าวันเดียวกัน ตำรวจกองปราบฯ และตำรวจกองบัญชาการสอบสวนกลาง ได้นำกำลังคอมมานโดพร้อมอาวุธครบมือ และหมายจับบุกเข้าจับกุมพระสุวิทย์ ธีรธัมฺโม หรือพระพุทธะอิสระ ที่วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ในข้อหาสนับสนุนให้มีการปล้นทรัพย์ ก่อนนำตัวไปสอบที่กองปราบฯ
ต่อมาช่วงบ่ายวันเดียวกัน ตำรวจกองปราบฯ ได้นำตัวพระพุทธะอิสระไปขอศาลอาญาฝากขัง ข้อหาปล้นทรัพย์ และเป็นหัวหน้าอั้งยี่ ซ่องโจร โดยระบุว่า สืบเนื่องจากกรณีการชุมนุมของ กปปส.เมื่อปี 2557 ที่ตำรวจสันติบาลถูกการ์ด กปปส.แจ้งวัฒนะ ทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ และปล้นเอาทรัพย์สินของตำรวจดังกล่าว และข้อหาแอบอ้างใช้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.และ สก.กรณีสร้างพระเครื่องพระนาคปรกรุ่นหนึ่งในปฐพี ซึ่งพระพุทธะอิสระเคยให้สัมภาษณ์ว่า การใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ปรึกษาเรื่องขอพระบรมราชานุญาตด้วยวาจากับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เมื่อครั้งเป็นรองเลขาธิการพระราชวังแล้ว ทั้งนี้ ตำรวจได้คัดค้านการประกันตัวพระพุทธะอิสระ ด้านทนายความได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดเพื่อขอประกันพระพุทธอิสระ แต่ศาลพิจารณาแล้วไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้มีการนิมนต์พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าหน้าที่จาก พศ.มาทำการสึกพระพุทธะอิสระ โดยถอดจีวรและสวมชุดขาวแทน ก่อนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะนำตัวขึ้นรถเพื่อไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ระหว่างที่พระพุทธะอิสระจะถูกนำตัวขึ้นรถเรือนจำ ประชาชนที่นับถือศรัทธาต่างพากันร้องไห้
ส่วนพระอีก 5 รูปที่ถูกควบคุมตัวจากวัดสระเกศฯ วัดสามพระยา และวัดสัมพันธวงศารามฯ พร้อมฆราวาสอีก 4 คนที่เกี่ยวข้องคดีเงินทอนวัด ได้ถูกตำรวจนำตัวขอศาลอาญาฝากขังเช่นกัน พร้อมคัดค้านการประกันตัว ซึ่งแม้ทนายความจะยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวทั้งพระและฆราวาสดังกล่าว แต่ศาลก็ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง และพฤติการณ์การกระทำผิด มีผลกระทบต่อพุทธศาสนาและมีลักษณะเป็นขบวนการ โดยมีการแบ่งหน้าที่ยักย้ายเงินที่ได้มาผ่านทางธนาคาร จึงต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอยู่ในความครอบครองของผู้ต้องหากับพวก หากปล่อยตัวชั่วคราว เชื่อว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หลังศาลไม่ให้ประกัน จึงได้ทำการสึกพระชั้นผู้ใหญ่ทั้ง 5 รูปดังกล่าว ก่อนให้สวมชุดขาว และนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ต่อไป ส่วนผู้ต้องหาหญิง นำตัวไปคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
ทั้งนี้ วันเดียวกัน พระพรหมมุนี กรรมการ มส.ในฐานะเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชาให้กรรมการ มส.ที่ถูกดำเนินคดีพ้นจากตำแหน่งกรรมการ มส.3 รูป ประกอบด้วย พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา, พระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามฯ และพระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังปฏิบัติการตำรวจบุกจับพระพุทธะอิสระที่วัดอ้อน้อย ปรากฏว่า โลกออนไลน์ได้มีการเผยแพร่คลิปนาทีที่ตำรวจคอมมานโดพร้อมอาวุธครบมือใช้ค้อนพังประตูกุฏิพระพุทธะอิสระ ที่กำลังหลับอยู่บนเตียง จากนั้นตำรวจได้ตะคอกให้พระพุทธะอิสระหมอบลง ซ้ำยังใช้ปืนจ่อ ทำราวกับพระพุทธะอิสระเป็นอาชญากรหรือผู้ก่อการร้าย ซึ่งการกระทำของตำรวจในครั้งนี้ถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าทำเกินกว่าเหตุ ทำไม่ไม่เหมาะสมกับผู้ต้องหาที่เป็นพระ พร้อมเปรียบเทียบว่า ตำรวจ 2 มาตรฐาน เพราะไม่ได้ปฏิบัติเช่นนี้กับการเข้าจับกุมพระชั้นผู้ใหญ่วัดสระเกศฯ วัดสามพระยา และวัดสัมพันธวงศาราม
ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ขอโทษแทนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งเสียความรู้สึก โดยได้ว่ากล่าวตักเตือนและกำชับไปแล้วว่าต้องไม่มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก พร้อมฝากขอโทษอดีตพระพุทธะอิสระ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 25 พ.ค. ตำรวจกองปราบฯ ได้บุกเข้าตรวจค้นวัดสระเกศฯ อีกรอบ ก่อนทุบห้องลับชั้นใต้ดินภายในกุฏิฉัตรลีลาของพระพรหมสิทธิ และสามารถรวบตัวพระพรหมสิทธิได้แล้ว แต่เจ้าตัวยังไม่ยอมสึก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ป.ได้ออกมายืนยันว่า ข่าวดังกล่าวเป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น
2.ตร.รวบ 15 แกนนำ “คนอยากเลือกตั้ง” ชุมนุมต้าน 4 ปี คสช. พร้อมรวบแก๊งค้าอาวุธสงครามโยงแดงฮาร์ดคอร์จ้องป่วนคนอยากเลือกตั้ง!
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีของการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กลุ่มคนอยากเลือกตั้งได้นัดชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 21 พ.ค. พร้อมกำหนดเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 22 พ.ค. แม้ทางรัฐบาลจะส่งสัญญาณให้ชุมนุมอยู่แต่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่าเคลื่อนมายังทำเนียบฯ เพราะจะผิดกฎหมาย รวมทั้งทางตำรวจ นำโดย พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เตือนให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การข่าวพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงทางการเมืองหรือแดงฮารดคอร์เตรียมเคลื่อนย้ายอาวุธหนักมาสร้างสถานการณ์ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งก็ตาม แต่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งยังคงชุมนุมเหมือนเดิม
ทั้งนี้ ช่วงค่ำวันที่ 21 พ.ค. น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว 1 ในแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ได้ไปร้องศาลปกครองขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ผู้ชุมนุมเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 22 พ.ค.เวลา 06.00-18.00 น.ได้ ไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารขัดขวาง แต่ศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่า น.ส.ชลธิชา ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมนุม ยังไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของ ผกก.สน.ชนะสงครามที่กำหนดเงื่อนไขการชุมนุมและสั่งห้ามจัดการชุมนุมสาธารณะ
ขณะที่ฝ่ายกฎหมายของ คสช.ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ชนะสงครามเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ให้ดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว, นายเอกชัย หงส์กังวาน, น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา, นายปิยรัฐ จงเทพ และนายนิกร วิทยาพันธุ์ ข้อหาร่วมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) มีรายงานว่า มีผู้มาร่วมชุมนุมประมาณ 400-500 คน แต่มีเจ้าหน้าที่มาวางกำลังโดยรอบ มธ.ประมาณ 1,500 นาย และมีการปิดเส้นทางเพื่อไม่ให้ม็อบเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เมื่อแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งประกาศให้ผู้ชุมนุมตั้งขบวนเรียงแถวหน้ากระดานเพื่อทำลายแผงเหล็กกั้นของตำรวจ จึงเกิดเหตุการณ์ชุลมุน ก่อนดึงแผงกั้นออกได้สำเร็จและมีเต๊นท์ถูกทำลายพังเสียหาย 2 หลัง จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงให้มวลชนยุติการกระทำ เนื่องจากผิดกฎหมายหลายประการ กระทั่งต่อมา นายรังสิมันต์ โรม ได้เจรจากับตำรวจเพื่อขอมอบตัว และขอให้ตำรวจนำรถมารับตัวตนเอง จ่านิว และโตโต้ (นายปิยรัฐ จงเทพ) ณ ที่ชุมนุม เพื่อไม่ให้ความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้นอีก
หลังจากนั้น นายสิรวิชญ์ หรือจ่านิว ได้อ่านแถลงการณ์ในนามกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โดยยืนยันจุดยืน 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.การเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นภายในเดือน พ.ย.2561 2.คสช.ต้องยุติความพยายามที่จะสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้ง 3.จะต้องปลดอาวุธ คสช.โดยยกเลิกประกาศและคำสั่งต่างๆ ของ คสช.ที่ลิดรอนเสรีภาพของประชาชน รวมถึงประกาศที่ขัดขวางการดำเนินการต่างๆ ของพรรคการเมือง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทันที 4.คสช.ต้องยุติการดำรงอยู่ของตัวเอง และเปลี่ยนสถานะของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เป็นรัฐบาลรักษาการทันที เพื่อสร้างหลักประกันในการจัดการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม โปร่งใส และปราศจากการแทรกแซงจาก คสช. และ 5.กองทัพจะต้องยุติการสนับสนุน คสช.ทันที เพื่อไม่ให้ คสช.มีขุมกำลังในการสืบทอดอำนาจเผด็จการได้อีก
สำหรับแกนนำและผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวไปที่ สน.พญาไท มี 10 ราย ประกอบด้วย นายอานนท์ นำภา, น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว, นายเอกชัย หงส์กังวาน, นายโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ, น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา, นายวิโรจน์ โตงามรักษ์, นายพุทธไธสิงห์ ทิมจันทร์, ว่าที่ร้อยตรี ภัทรพล จันทร์โคตร, นายคีรี ขันทอง และนายประสงค์ วางวัน ส่วนแกนนำอีก 4 คนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ สน.ชนะสงคราม ได้แก่ นายรังสิมันต์ โรม, นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว, นายปิยรัฐ จงเทพ และนายนิกร วิทยาพันธุ์ คนตัดกุญแจรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเปิดให้ผู้ชุมนุมเข้า
ทั้งนี้ ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมด 15 ราย โดยอีก 1 รายที่เพิ่มขึ้นมาคือ นายวิเศษณ์ สังวิศิษฏ์ คนขับรถเครื่องขยายเสียง ไปขอศาลอาญาฝากขังเมื่อวันที่ 24 พ.ค. เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น พร้อมคัดค้านการประกันตัว
ด้าน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.เผยหลังเข้าตรวจสำนวนคดีจับกุม 15 แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งว่า ข้อหาที่แจ้ง นอกจาก 3 ข้อหา คือ ยุยงปลุกปั่น มั่วสุม 10 คนขึ้นไป และขัดคำสั่ง คสช.ชุมนุม 5 คนขึ้นไปแล้ว ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ, ลักลอบใช้ไฟฟ้า, พ.ร.บ.จราจร และอยู่ระหว่างพิจารณาแจ้งอีก 3 ข้อหา คือ ทำให้เสียทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย และทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เนื่องจากมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 80 คน มาร้องทุกข์ที่ สน.นางเลิ้ง นอกจากนี้ยังมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 10 นาย และทรัพย์สินเสียหาย พล.ต.อ.ศรีวราห์เผยด้วยว่า ได้สั่งให้พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากผู้ต้องหามีพฤติกรรมทำผิดซ้ำซาก
ด้านศาลพิจารณาแล้ว อนุญาตให้ตำรวจฝากขัง แต่อนุญาตให้ผู้ต้องหาทั้ง 15 คนประกันตัวได้ โดยตีราคาประกันคนละ 1 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามชุมนุมทางการเมืองอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นอันตรายแก่สังคม
ส่วนกรณีที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ได้ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่า การข่าวพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงทางการเมืองหรือแดงฮารดคอร์เตรียมเคลื่อนย้ายอาวุธหนักมาสร้างสถานการณ์ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งนั้น ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีเครือข่ายค้าอาวุธสงครามได้ 5 ราย ประกอบด้วย นายวิชาญ รักชาติ ชาวพระนครศรีอยุธยา, นายวินัส ปริกเพชร ชาวเชียงราย, น.ส.ประคองศรี ศิริมั่น ชาวนครราชสีมา, นายสมบัติ แก้วสุข ชาวตาก และนายประดิษฐ์ทอง ชัยปัญหา ชาวหนองคาย โดยจับกุมได้พร้อมอาวุธปืนพกสั้น 18 กระบอก ปืนยาว 5 กระบอก เครื่องกระสุนกว่า 3 หมื่นนัด ระเบิดชนิดขว้าง 7 ลูก อะไหล่และโครงปืนเอ็ม 16 กว่า 100 ชิ้น
พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวว่า การจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 5 รายมาจากการขยายผลจับกุมนายพงค์พัฒน์ ใจอินต๊ะ ผู้ต้องหาชาวเชียงรายที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ ซึ่งจากการสอบปากคำเบื้องต้น ทั้งหมดยอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับ และมีการสั่งซื้ออาวุธสงครามจริง โดยซื้อขายมาแล้ว 3-4 เดือน พล.ต.อ.ศรีวราห์ยืนยันด้วยว่า จากตรวจสอบทางการข่าวพบว่า ผู้ต้องหากลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องและเตรียมนำอาวุธมาก่อเหตุในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา และว่า จากการตรวจสอบอาวุธของกลางพบว่า เคยมีการนำมาใช้ก่อเหตุในปี 2553 ประมาณ 15 เหตุการณ์ เนื่องจากมีเลขนัมเบอร์ตรงกัน
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 ว่า บอกแล้วว่า เป็นไปตามขั้นตอน คือต้นปี 62 ไม่มีเร็วกว่านั้น ต้องยืนยันในหลักการ และว่า ที่มันล่าช้าไป 3-4 เดือน เป็นเรื่องความพร้อมของกฎหมาย
3.ป.ป.ช.ฟัน “เมีย กี้ร์-อริสมันต์” ร่ำรวยผิดปกติเกือบ 43 ล้าน ส่ง อสส.ฟ้องศาลยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดิน!
เมื่อวันที่ 21 พ.ค. นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดนางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ภรรยาของนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และอดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ฐานร่ำรวยผิดปกติ
ทั้งนี้ มติดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก ป.ป.ช.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินของนางระพิพรรณที่ได้ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. และกรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.แล้วเป็นเวลา 1 ปี ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า นางระพิพรรณมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติรวมมูลค่า 42,816,226 บาท โดยเป็นเงินฝากธนาคาร 6 บัญชี จำนวนกว่า 27.6 ล้านบาท, ที่ดิน 3 แปลง มูลค่ากว่า 9.4 ล้านบาท, สิ่งปลูกสร้าง 1 หลัง มูลค่า 2 ล้านบาท, รถยนต์ 1 คัน มูลค่ากว่า 1.8 ล้านบาท และเงินที่นำมาชำระหนี้เงินกู้ธนาคาร 1.9 ล้านบาท
ป.ป.ช.จึงมีมติส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการสูงสุด(อสส.) เพื่อดำเนินคดีนางระพิพรรณในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ทรัพย์สินของนางระพิพรรณที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินต่อไป
4.ศาล รธน. ชี้แล้ว พ.ร.ป. ส.ว.ไม่ขัด รธน. เตรียมชี้ พ.ร.ป. ส.ส. 30 พ.ค.นี้ ด้านรัฐบาลเตรียมพร้อมทูลเกล้าฯ !
ความคืบหน้ากรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เข้าชื่อ 30 คน ขอให้ประธาน สนช.ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.มีประเด็นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 23 พ.ค. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้นัดประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.แล้วเกี่ยวกับบทเฉพาะกาล มาตรา 91, 92, 93, 94, 95 และ 96 ที่กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกของ ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 ซึ่งมีการกำหนดจำนวนกลุ่มผู้สมัคร ส.ว. วิธีการสมัคร ส.ว. และกระบวนการเลือก ส.ว.ในบทเฉพาะกาลดังกล่าวไว้แตกต่างจากการได้มาซึ่ง ส.ว.ตามบททั่วไป มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา107 หรือไม่
ผลการพิจารณาปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ทั้ง 6 มาตราดังกล่าว เป็นบทเฉพาะกาลใช้บังคับในวาระเริ่มแรกเท่านั้น และยังเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 จึงไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 ประกอบมาตรา 269 แต่อย่างใด
สำหรับร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ประธาน สนช.ส่งความเห็นของสมาชิก สนช.30 คน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าว มาตรา 35 (4) และ (5) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดอภิปราย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยและนัดแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือและลงมติในวันที่ 30 พ.ค.
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงขั้นตอนหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำคำวินิจฉัยฉบับครบถ้วนสมบูรณ์ และส่งผลไปยัง สนช. จากนั้น สนช.จะส่งร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวมาให้รัฐบาล และรัฐบาลจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 25 วัน ซึ่งตนคิดว่าคงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้เร็ว เพราะรัฐบาลได้จัดพิมพ์เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว
5.กบง.มีมติใช้เงินกองทุนน้ำมันตรึงราคา “ดีเซล” ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร พร้อมลดราคา “แอลพีจี” 32 บาท/ถัง!
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสสังคมต่างพุ่งเป้าไปที่เรื่องน้ำมันแพง ก๊าซแอลพีจีขึ้นราคา ส่งผลให้ต้องจับตาว่า ราคาสินค้าจะขึ้นตามหรือไม่ โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันแพง ที่เฉพาะเดือน พ.ค.เดือนเดียว น้ำมันปรับราคาเพิ่มขึ้นหลายครั้ง จนส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลใกล้จะทะลุ 30 บาท/ลิตร บางจังหวัดราคาทะลุ 30 บาทไปแล้วนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ค. บริษัท ปตท. ผู้ค้าแอลพีจีรายใหญ่ได้แจ้งคู่ค้าขอปรับราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่งอีก 1.5485 บาทต่อกิโลกรัมรวมแวต มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาแอลพีจีถังครัวเรือนขนาด 15 กิโลกรัม ปรับขึ้นประมาณ 23 บาทต่อถังทันที หรือมาอยู่ที่ถังละ 395 บาท จากราคาสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ถังละ 372 บาท โดยระบุว่า การปรับราคาดังกล่าวเป็นผลจากราคาแอลพีจีตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ หลังจากน้ำมันและก๊าซแอลพีจีขึ้นราคา มีความพยายามจะขอขึ้นค่าโดยสารจากผู้ประกอบการทั้งในส่วนของรถร่วม ขสมก. และเรือด่วนเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ โดยเรือด่วนระบุว่า หากราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 29 บาท/ลิตรต่อเนื่อง 15 วัน จะขอปรับค่าโดยสารขึ้นอีก 1 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อกรมเจ้าท่าทำหนังสือขอให้สมาคมเรือไทยรอผลการศึกษาโครงสร้างต้นทุนอัตราค่าโดยสารใหม่ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายวันที่ 30 มิ.ย.นี้ก่อน ทางผู้ประกอบการก็จะหารือกับสมาคมเรือไทย เพื่อดูมาตรการเยียวยาจากภาครัฐอีกครั้ง หากราคาดีเซลยังไม่ต่ำกว่า 29 บาท/ลิตร
ด้านนางภัทรวดี กล่อมจรูญ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง (รถร่วม ขสมก.) ได้ทำหนังสือขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร รถร่วม ขสมก.เพิ่มขึ้น อีก 4 บาท ทั้งในส่วนของรถร้อนและรถปรับอากาศ โดยอ้างว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 พ.ค. กระทรวงพลังงาน ได้ประกาศปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี เพิ่มอีก กก. ละ 0.62 สตางค์ ทำให้ต้นทุนราคาก๊าซของรถร่วมปรับเพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 10.77 บาท
ขณะที่สมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสาน ซึ่งมีรถบบรรทุกสินค้ามากกว่า 3 หมื่นคัน ได้ออกมาขู่เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ว่า หากราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 30 บาท/ลิตร ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับเพิ่มค่าขนส่งอีก 5% โดยจะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกรอบ หากไม่ได้รับการพิจารณา จะดีเดย์หยุดวิ่งทั่วประเทศ
ต่อมา วันที่ 24 พ.ค. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเสียงวิจารณ์เรื่องน้ำมันแพงและก๊าซแอลพีจีปรับตัวสูงขึ้นว่า ราคาก็ขึ้นทั้งโลก เวลาน้ำมันไม่ขึ้น 4 ปี ไม่เห็นว่าอะไร มีกำไร ทำไมไม่ร้องเลย ต้องเสียสละบ้าง เวลาที่น้ำมันลง ราคาถูก ไม่เห็นพูดกันเลย ยืนยันราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
ทั้งนี้ วันเดียวกัน นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ก่อนแถลงผลประชุมว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนและสูงเกิน 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทาง กบง. จึงมีมติตรึงราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกไม่เกิน 30 บาท/ลิตร โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเครื่องมืออุดหนุน และจะดำเนินการช่วงระยะสั้นๆ จนกว่าจะมีความพร้อมเรื่องการใช้พลังงานไบโอดีเซล บี20 ที่เริ่มผลิตและจะออกสู่ตลาดปลายเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ โดยมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซล 3 บาท/ลิตร เพื่อช่วยบรรเทาค่าขนส่ง และรถโดยสารสาธารณะ โดยไม่มีความจำเป็นที่รถขนส่งสาธารณะ รวมถึงเรือโดยสารจะขึ้นค่าโดยสาร
พร้อมกันนี้ กบง.ยังมีมติใช้เงินกองทุนแอลพีจีอุดหนุนเพื่อให้ราคาแอลพีจีบรรจุถัง (15 กก.) อยู่ที่ 363 บาท จากที่ขณะนี้อยู่ที่ 395 บาท/ถัง ซึ่ง กบง.มองว่า แนวโน้มแอลพีจีโลกน่าจะลดลงจากนี้อีก 20 บาท/ถัง