ผู้ก่อตั้ง “ตลาดดอตคอม” วิเคราะห์ “แจ็ก หม่า” ลงทุนไทย เริ่มใช้ลาซาด้าฆ่าอีคอมเมิร์ซเจ้าอื่น รวมถึงค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า จะทยอยปิดตัว เชื่ออีก 5-10 ปีคนไทยซื้อสินค้าทางออนไลน์ทั้งหมด ถึงตอนนั้นกลุ่มอาลีบาบาจะครอบคลุมทั้งระบบนิเวศของค้าปลีก จากนั้นก็ต่อยอดไปยังธุรกิจการเงิน-ลอจิสติกส์ ชี้หลายธุรกิจกระทบแน่ แนะผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว พัฒนาสินค้าตัวเอง เรียนรู้ส่งออก ศึกษาช่องทางขายออนไลน์ให้แจ่มแจ้ง เข้าใจงูๆ ปลาๆ เหมือนเดิมไม่ได้แล้ว
วันที่ 23 เม.ย. นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งตลาดดอตคอม จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คนเคาะข่าว” ภายใต้หัวข้อ “แจ็ก หม่า ลงทุนไทย แค่รุกหรือกินรวบ? ธุรกิจเล็กจะปรับตัวรับมืออย่างไร” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน”
โดยนายภาวุธกล่าวว่า อีคอมเมิร์ซของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจริงๆ ตอนปี 2009 ที่มีกลุ่ม Rakuten อีคอมเมิร์ซเบอร์ 1 ของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุน หลังจากนั้น 3 ปีก็มีลาซาด้า ต้นตอมากจากเยอรมนี ได้เข้ามาลงทุนในไทยและอาเซียน โดยใช้เม็ดเงินมหาศาลมาลงโฆษณาทำให้คนไทยรู้จักกับอีคอมเมิร์ซมากขึ้น จนกระทั่งปี 2016 ลาซาด้าถูกประกาศซื้อโดยกลุ่มอาลีบาบา เลยทำให้แจ็ก หม่า เข้ามาเป็นเจ้าของลาซาด้าทั้งอาเซียน เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ทำให้กลุ่มธุรกิจจีนเข้ามาบุกอีคอมเมิร์ซไทยเต็มรูปแบบ และเป็นปีเดียวกันที่ Rakuten ประกาศถอยทัพปิดหลายๆ บริษัทในอาเซียน
นายภาวุธกล่าวอีกว่า ตอนนี้ลาซาด้าเป็นเบอร์หนึ่งของประเทศไทย เบอร์สองก็ช้อปปี้ดอตคอม จากสิงคโปร์ และ 11street ของเกาหลีใต้ ธุรกิจนี้ใช้เงินเยอะมาก อย่างลาซาด้าในไทยขาดทุนเป็นพันล้านแต่ละปี ทุกวันนี้ก็ยังขาดทุน แต่อยู่ได้เพราะอยู่ในระยะลงทุน พร้อมเทเงินเพื่อให้ได้ฐานลูกค้ามากที่สุด หลังจากนั้นก็จะเขี่ยเบอร์ 2-3 ทิ้งไม่ยากเลย สิ่งที่เกิดขึ้นที่อเมริกา แอมะซอนเป็นเว็บอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 ตอนนี้เขี่ยธุรกิจออนไลน์อื่นออกหมดแล้ว รวมถึงเขี่ยพวกหน้าร้านค้าปกติ ห้างสรรพสินค้า ตอนนี้ปิดไปเพียบ
“ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังเข้ามากลืนกินธุรกิจที่เป็นค้าปลีก ร้านค้าปกติ ห้างสรรพสินค้า นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นที่อเมริกา แล้วก็จะเกิดที่ประเทศไทยเช่นเดียวกัน”
นายภาวุธกล่าวด้วยว่า ตอนนี้อเมซอนสร้างกำไรมหาศาล ช่วงแรกๆ ก็ขาดทุนมโหฬารเป็นสิบปี ซึ่งนี่เป็นต้นแบบให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่ยอมขาดทุนช่วงแรกและไปกินกำไรในอนาคต เมื่อสามารถครองตลาดได้เบ็ดเสร็จ
ส่วนการมาลงทุนในไทยของแจ็ก หม่า เขาใช้วิธีเข้ามาซื้อกิจการ ก็คือซื้อลาซาด้า ลาซาด้าถูกออกแบบมาเพื่อขายโดยเฉพาะ เขาทำกำไรจากการขาย ลาซาด้าก็แฮปปี้ที่ได้เงิน ส่วนแจ็ก หม่า ก็แฮปปี้ เพราะซื้อทีเดียวกลายเป็นเบอร์หนึ่งทั้งอาเซียนเลย พอเป็นเบอร์หนึ่งอย่างตอนนี้ประเทศไทยเขาเข้าถึงคนไทยเป็นสิบๆ ล้านคนแล้ว เพราะซื้อข้อมูลลูกค้าหมดเลย
การมาของแจ็ก หม่า พูดด้านดีของไทยคือจะมาสร้างช่องทางการลงทุน ทำให้ไทยเอาสินค้าไปขายจีนได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกัน ลาซาด้าที่แจ็ก หม่า ซื้อมันจะมีเซกชันหนึ่ง คือ taobao ตรงนั้นเป็นสินค้าจีนทั้งหมด เมื่อสั่งซื้อไปจะส่งมาไทยถึงมือผู้บริโภคเลย ฉะนั้นสินค้าจากจีนหลายหมื่นร้านค้ากำลังเข้ามาขายในไทยผ่านลาซาด้า ผู้บริโภคแฮปปี้เพราะถูกมากเมื่อเทียบกับสินค้าไทย แล้วเราสู้เรื่องราคาไม่ได้ SME ที่เป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าจีนก็เตรียมตัวปิดได้เลย โดยเฉพาะสินค้าแบบเดียวกับที่อยู่บนลาซาด้า เพราะมันอยู่ในเว็บที่คนเข้าถึงได้แล้ว ในขณะเดียวกัน โรงงานที่ผลิตสินค้าแบบเดียวกับที่จีนนำเข้ามาก็เตรียมตัวด้วยเช่นกัน เพราะราคาไม่สามารถสู้ได้ นี่คือผลกระทบจากการที่อาลีบาบาเข้ามาลงทุน แล้วการเข้ามาอีอีซี เขาได้ประโยชน์จากการที่ภาครัฐเปิดให้เขามาลงทุนอย่างมาก ด้วยการลดโน่นนี่ให้ มีสิทธิพิเศษต่างๆ ตรงนี้เขาจะได้ประโยชน์มากขึ้น
นายภาวุธกล่าวต่ออีกว่า การลงทุนของจีน ด้านหนึ่งคือนำสินค้าไทยออก อีกด้านนำสินค้าจีนเข้ามาเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นของจีนเข้ามามากกว่า แต่สินค้าบางตัวที่ไทยไปได้คืออาหาร เพราะคนจีนไม่กล้ากินของจีนเองเพราะมีทำปลอมเยอะ แต่เทียบกับการส่งอาหารไป แต่เราซื้อมือถือ ซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ยังไงก็ขาดดุล
นายภาวุธกล่าวว่า ลาซาด้ากำลังจะเป็นแอมะซอนเมืองไทย คือเริ่มฆ่าธุรกิจอื่นๆ ต่อไปเขาจะกระโดดเข้ามาทำเรื่องของสด อย่างที่อเมริกาไปเรียบร้อยแล้ว บอกได้เลยคนไทย 5-10 ปีข้างหน้า ซื้อออนไลน์หมดแน่ ๆ แล้วตอนนั้นเขาจะครอบคลุมทั้งระบบนิเวศน์ของค้าปลีกทั้งหมด เมื่อคนซื้อออนไลน์มากขึ้น เขาก็มีข้อมูลการซื้อ ข้อมูลการใช้จ่ายของเรา เริ่มเข้าใจเรามากขึ้น จากนั้นก็ต่อยอดไปยังธุรกิจปล่อยกู้ ขายประกัน และมีธุรกิจหลายอย่างตามมาอีกเพียบ เช่นที่จีน อาลีเพย์กำลังกระทบธนาคารที่จีนหนักมาก แล้วเขากำลังจะยกอันนั้นมาที่ไทยด้วยเช่นกัน นอกจากกระทบค้าปลีกก็จะกระทบการเงินการธนาคารด้วย นอกจากนี้ก็โลจิสติกส์ด้วย เขาจะสร้างของตัวเอง
นายภาวุธกล่าวต่อว่า ปีสองปีมานี้อาลีบาบาขยายการลงทุนไปแทบทุกธุรกิจ เพราะเงินเยอะ มาแบบปูพรมและยึดทุกสิ่ง แจ็ก หม่า เลือกมาที่อาเซียนเพราะเป็นตลาดใหม่ที่ยังไม่มีคนแข็งแกร่งเท่าไหร่ แล้วซื้อธุรกิจที่เป็นเบอร์หนึ่ง เพื่อขยายตัวเองให้เร็ว ปิดทางไม่ให้คู่แข่งเข้ามาในตลาด
ส่วนอีคอมเมิร์ซของคนไทยตอนนี้มีเล็กๆ ย่อยๆ แต่ละเจ้าก็ต้องปรับตัวเอง ต้องยอมรับว่าเราสู้เขาไม่ได้ แต่คือเราต้องพาคนไทยไปอยู่บนเขาได้อย่างไร เราจะใช้เขาเป็นช่องทางในการนำสินค้าไทยออกไปขายต่างประเทศอย่างไร สู้ฉลามไม่ได้ก็ต้องเป็นเหาฉลาม ส่วนผู้ประกอบการไทยที่นำสินค้าเข้ามาจากจีน เช็คดูถ้าเป็นสินค้าที่มีในลาซาด้า ก็ควรเปลี่ยนได้เลย รวมถึงผู้ประกอบการในไทยหลายรายผลิตจำหน่ายในประเทศแต่ส่งออกไม่เป็น ต้องลองส่งออก
ไทยต้องปรับตัว เมื่อแข่งราคาไม่ได้ ก็ให้กลับมาดูที่แบรนด์ ดูความเป็นไทย ซึ่งเป็นจุดขายของเราได้ ดูว่ามีประสิทธิภาพไหม ปรับเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัยเพื่อผลิตให้ได้มากขึ้น ต้นทุนจะได้ต่ำลง ส่วนช่องทางการขายก็ต้องเข้าใจออนไลน์ให้เต็มที่ เข้าใจงูๆ ปลาๆ เหมือนเดิมไม่ได้แล้ว
คำต่อคำ
นงวดี- สวัสดีค่ะคุณผู้ชมค่ะ วันนี้คนเคาะข่าวเราออกมานอกสถานที่ วันนี้เราจะมาคุยประเด็นถึงกันที่ คนที่เพิ่งจะมาเป็นข่าวใหญ่ในบ้านเรา ก็คือเจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซจากประเทศจีน คุณแจ็ค หม่า จากอาลีบาบา ก็เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งก็ต้องบอกว่าในมุมมองของรัฐบาลไทย ต้องถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ และก็โอกาสหลายๆ ด้านกับประเทศไทย ก็มองว่า คุณแจ็ค หม่า นั้นน่าจะเป็นพระเอกสำหรับเศรษฐกิจและภาคธุรกิจไทยต่อไปในอนาคตได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีกระแสของความวิตกกังวล กระแสตีกลับว่า คุณแจ็ค หม่า เข้ามาแบบนี้ อาลีบาบาเข้ามาแบบนี้ กำลังเป็นผู้ร้ายในสายตาคนไทยรึเปล่า เราจะมาวิเคราะห์กันถึงเรื่องนี้ รวบไปถึงรัฐบาลก็แนะนำว่ากระแสอีคอมเมิร์ซ นั่นคงปฏิเสธไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการ8'ต้องปรับตัว แต่ที่บอกว่าปรับตัว ต้องทำอย่างไร วันนี้เราจะคุยมุมนี้อีกด้วยค่ะ วันนี้เรามาคุยกันกับคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ CEO และ Founder จาก ตลาด ดอท คอม ค่ะ สวัสดีค่ะ
ภาวุธ- สวัสดีครับผม
นงวดี- ขออนุญาตเริ่มที่ภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เอาในประเทศไทยก่อน แล้วคุณภาวุธ ช่วยกรุณาฉายไปถึงว่าภาพของประเทศไทย เปรียบเทียบกับความก้าวหน้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในโลกด้วยว่าเรานั้นอยู่ในระดับไหนกันบ้างคุณภาวุธค่ะ
ภาวุธ- ตอนนี้ประเทศไทยอีคอมเมิร์ซตัวเลขภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านๆ แล้วก็เติบโตขึ้นประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ต่อปี ตอนนั้นเป็นภาพรวมทั้ง B2B คือ ธุรกิจๆ และมีค่าปลีกออนไลน์ด้วย ถามว่าค้าปลีกออนไลน์โตขนาดไหน โตประมาณเกือบๆ 9 แสนกว่าล้าน ก็ถือว่าโตมากจริงๆ ในส่วนของค่าปลีก โตประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ฉะนั้นถามว่าตัวเลขมันเติบโตขึ้นเร็วไหม เร็ว เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมาของ 3G และ 4G โดยเฉพาะของโทรศัพท์มือถือที่คนไทยสามารถเข้าอินเทอร์เน็ตได้ง่ายมากขึ้น โดยเมืองไทยเข้าสู่อินเทอร์เน็ตประมาณ 40 กว่าล้านคน ซึ่งเกินครึ่งของประเทศไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ฉะนั้นเมื่อคนใช้เน็ตมากขึ้น การซื้อสินค้าออนไงน์ก็โตมากขึ้นเช่นเดียวกัน ดดยสมัยก่อนเราอาจเปรียบเทียบในยุคแรกของอีคอมเมิร์ซ คนขายของอาจจะเริ่มเข้ามาตามเว็บบอร์ด โพสต์ขายของธรรมดา ตัวเลือกก็เป็นประมาณประกาศซื้อ ประกาศขาย หลังจากนั้นก็ขยับขึ้นเป็นแคตตาล็อก สร้างแคตตาล็อกตัวเองเอาสินค้าเข้าไปใส่ แต่การซื้อขายเป็นการโอนเงิน โทรคุยกัน จนเราเข้าสู่ยุคที่เป็นการทำเป็นอียูวีเทรลเต็มรูปแบบ มีระบบการจ่ายเงินรูปแบบออนไลน์ ฉะนั้นแต่ละยุค แต่ละสมัยมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไป ในเมืองไทยจริงๆ อีคอมเมิร์ซ ซึ่งมาเริ่มเปลี่ยนแปลงในยุคที่ 2009 ที่มีกลุ่มลากูติน อีคอมเมิร์ซ ญี่ปุ่นก็เข้ามาลงทุน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นเห็นได้ว่าอีคอมเมิร์ซเริ่มหักเข้าสู่ทำการค้าจริงๆ จังๆ ทางออนไลน์แล้ว ซึ่งผมเอง ตลาด ดอท คอม ก็มีส่วนรวมเพราะเขามาลงทุนในธุรกิจของ ตลาด ดอท คอม แต่พอผ่านไป หลังจากนั้นสัก 3 ปี ก็จะมีกลุ่มใหญ่ กลุ่มจาก Lazada ซึ่ง Lazada ต้นตอมาจากทางประเทศเยอรมัน เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และโซนเอเชียทั้งหมด ซึ่งการลงทุน Lazada ครั้งนั้นเป็นการลงทุนเม็ดเงินมหาศาลมาก หลายพันล้านบาทในประเทศไทย ตัวนี้เองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาลเพราะว่า Lazada เอาเงินหลายพันล้านมาลงทุน เรื่องการสร้างแวร์เฮาส์ มาเปลี่ยนรูปแบบการทำอีคอมเมิร์ซจากเดิม ไม่ต้องจ่ายตัง ทุกอย่างฟรีหมดเลย แล้วก็ทำให้อีคอมเมิร์ซเมืองไทยโตขึ้นเยอะเลย เพราะใช้เม็ดเงินมหาศาลมาทำโฆษณาลงทีวี ลงวิทยุ ลงหนังสือพิมพ์ ป้ายบิลบอร์ด ในประเทศไทย ทำให้คนไทยตื่นตัวเรื่องอีคอมเมิร์ซมากขึ้น นี่แหละครับ ถือได้ว่ายักษ์ใหญ่การเปลี่ยนแปลงของอีคอมเมิร์ซประเทศไทย เพราะมันมียักษ์ใหญ่เข้ามา มันมีเงินลงทุนมหาศาลเข้ามาเพื่อมาทุบ และให้คนไทยรู้จักอีคอมเมิร์ซมากขึ้น มันเลยเกิดการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งเข้าสู่ประมาณปี 2016 เป็นปีที่ Lazada เองถูกซื้อโดยกลุ่มอาลีบาบา ซึ่งการประกาศซื้อครั้งนั้น ทำให้ อาลีบาบา กรุ๊ป ของคุณแจ็ค หม่า เข้ามาถือและเป็นเจ้าของ Lazada ทั้งอาเซียนเลยทีเดียว ตรงนี้ก็เริ่มเป็นการเปลี่ยนเกณฑ์ครั้งใหญ่ที่ทำให้กลุ่มธุรกิจจีนเข้ามา เขาเรียกว่าเข้ามาบุกธุรกิจอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ และในขณะในปีเดียวกัน เป็นปีที่ลากูติน อีคอมเมิร์ซของญี่ปุ่นก็เริ่มถอยทัพ ก็คือปิดหลายๆ บริษัทในโซนเอเชีย รวมถึงเขาประกาศขายคืนหุ้นของตลาด ดอท คอม ให้ผมด้วย ผมก็ซื้อคืนกลับมา เพื่อมารันต่อ ฉะนั้นอีคอมเมิร์ซก็เปลี่ยนไป แต่ในอีกมุมหนึ่งอีคอมเมิร์ซในไทย ก็ยังโต แต่จริงๆ ที่โตมากกว่าคือ การขายของผ่านโซเชียลมีเดีย บนเฟซบุ๊ก บนอินสตาแกรม ใช้ไลน์คุยกัน ตัวนี้เป็นตัวเลขที่โตมากขึ้นเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อเปรียบเทียบอีคอมเมิร์ซในไทย ผมอาจจะพูดถึง 2 ช่อง ก็คือ 1.ขายของพวกมาร์เก็ตเพลส ก็คือ Lazada , Shopee , 11street อะไรต่างๆ ตลาด ดอท คอม อีกช่องทางหนึ่งคือการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็น 2 ช่องทางหลักที่คนไทยนิยมซื้อของออนไลน์กันในปัจจุบัน
นงวดี- ส่วนตรงไหนมากกว่ากันคะ หรือพฤติกรรมคนไทยนิยมแบบไหน รู้สึกจะทางไลน์ ทางอะไรก็จะเยอะ
ภาวุธ- บนโซเชียลเยอะกว่า เยอะกว่ามาร์เก็ตเพลส หลายเปอร์เซ็นต์ อาจจะเยอะกว่า 50-60 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว คนไทยนิยม ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียมากกว่า เพราะง่ายและสะดวกมากกว่า เพราะการซื้อของบนมาร์เก็ตเพลสต้องไปกดช้อปปิ้ง การ์ด เข้าเอาสินค้าใส่เขาไป กดนู้น กดนี่ ชำระเงิน ขั้นตอนมันเยอะกว่าจะซื้อได้ 1 ครั้ง แต่การซื้อของบนโซเชียลมีเดีย กดคุยกัน ต่อรองกันได้ด้วย เสร็จแล้วก็ส่งมา กดโอนเงินผ่านโมบาย แบงก์กิ้ง ฉะนั้นในแง่ของกลุ่มคนที่ซื้อของทางโซเชียลคอมเมิร์ซ ก็จะเป็นกลุ่มคนที่เขาเรียกว่า เป็นผู้ใหญ่หน่อย ง่ายๆ ไม่ต้องมีขั้นตอนอะไรมากมาย ทำให้คนนิยมซื้อบนโซเชียลมากกว่าเดิม
นงวดี- แล้วในโลกนี้ อย่างเจ้าใหญ่ๆ พวกอเมซอน พวกอะไร เขาพัฒนาอีคอมเมิร์ซเข้าไปถึงขั้นไหนแล้วคะ คือผู้บริโภคชาวตะวันตกที่เขาต้องการอะไรไปมากขนาดไหนแล้ว สำหรับช่องทางแบบนี้
ภาวุธ- พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ คนฝั่งประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนา ต่างกันโดยสิ้นเชิง ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างยุโรป อเมริกา ทางเกาหลี หรือทางญี่ปุ่นเนี่ย จะซื้อบนเว็บเป็นหลัก จะซื้อจะต้องกดที่เว็บไซต์ ใส่ช้อปปิ้ง การ์ด ใช้บัตรเครดิตกันเป็นหลัก นั่นคือกลุ่มที่ประเทศพัฒนาแล้ว มีรูปแบบการซื้อสินค้าอย่างนั้น แต่ในกลุ่มที่ประเทศพัฒนาอย่างในอาเซียนทุกๆ ประเทศเลย การซื้อสินค้าจะเป็นลักษณะเสมิออนไลน์ ก็คือใช้เว็บเป็นแคตตาล็อก สุดท้ายคุณก็ใช้วิธีคุยติดต่อกัน โอนเงินผ่านธนาคาร กันเป็นหลักเลยทีเดียว ะนั้นโซเชียลมีเดียมันถูกต่อโดยจริตกับคนอาเซียนมากกว่า ส่วนคนจีนก็เป็นอีกประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบเฉพาะตัวเองเหมือนกัน จะใช้วิธีการโดยซื้อผ่านเว็บ แต่การซื้อกลุ่มเว็บของจีน ตอนจ่ายตัง ก็เป็นวิธีการจ่ายตังของจีน ไม่ใช้บัตรเครดิต คือใช้พวกอาลิเพลย์ (Alipay) วีแชทเพย์ (WeChat Pay) ซึ่งเป็นระบบชำระเงินของจีนโดยเฉพาะมาจ่ายตัง ฉะนั้นต้องบอกแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค ก็มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
นงวดี- เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการหรือว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็จะต้อง ถ้าเกิดเข้ามาแต่ละภูมิภาคก็ต้องไม่เหมือนกัน
ภาวุธ- ใช่ครับ ต้องเรียนรู้ ต้องปรับกลยุทธ์เหมือนกัน อย่าง Lazada ก็ปรับกลยุทธ์เยอะเลยทีเดียว เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมคนไทย แล้วก็ยักษ์ใหญ่ต่างประเทศหลายๆ แห่งเข้ามาในอาเซียน เข้ามาในไทย ก็ต้องถอยกลับไปเหมือนกัน อย่างลากูติน เขาก็ปรับตัวไม่ได้เหมือนกัน
นงวดี- ตอนนี้อย่างอีคอมเมิร์ซในบ้านเรา นอกจาก Lazada คิดว่าน่าจะเป็นอันดับหนึ่ง ใช่ไหมคะ
ภาวุธ- ใช่ครับ
นงวดี- เจ้าอื่นๆ ก็เหมือนกับจะมาช่วงระยะหลัง ไทยก็เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญเหมือนกัน ใช่ไหมคะ
ภาวุธ- ใช่ครับ
นงวดี- มีอะไรที่พอจะเทียบเคียงกับทางกับอาลีบาบาได้บ้างไหมคะ
ภาวุธ- ตอนนี้ถ้าถามว่าเบอร์สอง ใกล้ๆ ก็คือ Shopee ที่เราเห็นโฆษณากันเยอะแยะไปหมดเลย Shopee เป็นกลุ่มทุนจากทางสิงคโปร์ ทุนสิงคโปร์ด้านหลัง ก็จะเป็นกลุ่มจีนด้วยกัน ก็คือกลุ่มเพนเซลเข้ามาลงทุนในบริษัทที่สิงคโปร์ แล้วก็มีเกาหลีใต้ ชื่อ เรนรีฟ ส่วนของไทยไม่เหลือแล้ว
นงวดี- ตลอด ดอท คอม
ภาวุธ- เราปรับตัวแล้ว สู้ไม่ได้จริงๆ เพราะธุรกิจอีคอมเมิร์ซในวันนี้ มันไม่ได้เป็นธุรกิจที่ลุยไปข้างหน้า และก็ใช้ความคิด ใช้กลยุทธ์มา แต่นี้ไม่ใช่มันกลายเป็นสู้ด้วยชิ้นเงิน ลงโฆษณาทีวี มีคูปองแจกราคา ใช้ดารา ใช้อะไรต่างๆ สิ่งเหล่านี้ใช้เงินประมาณเป็นหลักร้อยล้าน เงินร้อยล้านที่ต้องเผา หรือต้องใช้ไปเพื่อกระตุ้นให้ตลาดมันโต ฉะนั้นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซแต่ละเจ้า ผมพูดมาทั้งหมดแต่ละขาดทุนเป็นพันล้าน
นงวดี- ณ ตอนนี้ก็ยังขาดทุนอยู่ นี่พูดถึงในเมืองไทย
ภาวุธ- ในเมืองไทย รวมถึงทั้งอาเซียน นี่คือผลักเป็นทุนพันล้านในประเทศไทยประเทศเดียว แต่เขาขาดทุนเป็นพันล้านในหลายประเทศในอาเซียนหมดเลย ฉะนั้นปีหนึ่งต้องบอกบริษัทเหล่านี้ขาดทุนกันหลายพันล้าน
นงวดี- แล้วถ้าบอกตลอดอีคอมเมิร์ซโต แต่แพลตฟอร์มเหล่านี้ขาดทุน แล้วอย่างนั้นที่ว่ามันจะมีจุดเติบโตเต็มที่ใช่ไหมคะ หรือว่าถ้าเป็นอย่างนี้จะอยู่ได้ยังไง
ภาวุธ- อยู่ได้ครับ เพราะหนึ่งคือตอนนี้มันเป็นระยะในการลงทุน พออยู่ในระยะลงทุน ทุกคนพร้อมที่จะเทเงินเข้าไป เพื่อให้ได้มาร์เก็ต แชร์ หรือได้ตลาด พยายามหาลูกค้าได้มากที่สุด เพราะมาถึงจุดหนึ่ง เขาได้ฐานลูกค้ามากสุดและเป็นเบอร์หนึ่งปุ๊บ เขาสามารถเขี่ยเบอร์สอง เบอร์สาม ออกได้ไม่ยากเลย เพราะเมื่อคนซื้อแล้วติดชิน ชินกับพฤติกรรมการซื้อบนแพลตฟอร์มหรือบนเว็บนี้เป็นประจำคนก็จะไม่เปลี่ยน สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วที่อเมริกา อเมซอน เป็นเว็บอีคอมเมิร์ซที่คนอเมริกานิยมอันดับหนึ่ง ตอนนี้อเมซอนต้องบอกเขี่ยธุรกิจออนไลน์หมดแล้ว รวมถึงไปเขี่ยไปจัดการพวกหน้าร้านค้าปกติ ร้านค้าใหญ่ๆ ห้างสรรพสินค้า ตอนนี้ไปหมดแล้ว ปิดสาขากันไปเป็นร้อยสาขา ร้านขายของเล่นก็ปิด ฉะนั้นต้องบอกว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังเข้ามากลืนกินธุรกิจที่เป็นค้าปลีก ห้างร้านค้าปกติ ห้างสรรพสินค้า นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต อาจเกิดขึ้นอเมริกา และมันจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นทุกคนเห็นว่าอเมริกาตอนนี้ อเมซอนเป็นเบอร์หนึ่งและสร้างกำไรมหาศาล แต่ในช่วงแรกของอเมซอน ที่อเมซอนเปิด อเมซอนก็ขาดทุนมโหฬาร ขาดทุนเป็น 10 ปี แต่วันนี้เขาเป็นเบอร์หนึ่งได้แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่อเมซอนทำ กำลังกลายเป็นต้นแบบให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ที่หลายๆ คนเข้ามาทำ ยอมขาดทุนก่อนในช่วงแรก และหวังว่าไปกินกำไร ไปได้กำไรในอนาคต เมื่อเขาสามารถครองตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จ
นงวดี- ก็คือคนอื่นตายหมด เหลือฉันคนเดียว
ภาวุธ- หรือเบอร์สองก็นิดหน่อย
นงวดี- พอพูดอย่างนี้ คุณภาวุธวาดให้ฟัง ให้ดู เห็นเลยว่าภาพอะไรจะเกิดขึ้นในบ้านเรา ที่นี้มาที่คุณแจ็ค หม่า คุณภาวุธช่วยสะท้อนมุมมอง เพราะมีตลาด ดอท คอม ด้วย ในฐานะที่มีแพลตฟอร์มทำตลาดในบ้านเรามาก่อน แล้วในฐานะสำหรับแนะนำ SME รวมไปถึงในระดับคนไทยด้วย เอาระดับผู้ประกอบการก่อนว่าอะไรที่มันเป็น คือรัฐบาลจะบอกว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ดีอย่างนู้น อะไรที่มันซ้อนอยู่บ้างคะ ที่เราควรจะต้องรู้
ภาวุธ- คือการมาของแจ๊ค หม่า คือการวิธีการซื้อวิธีการ ซื้อ Lazada ซึ่ง Lazada ถูกออกแบบมาเพื่อขายโดยเฉพาะ ได้กำไรจากการขาย ฉะนั้นเขาใช้เม็ดเงินมหาศาลในการสร้างธุรกิจให้โต การบิดเบือนกลไกต่างๆ คือทำให้ตัวเองโตเร็วมากขึ้น เมื่อโตจุดหนึ่งเขาก็ขาย เพราะเขาเอาเงินนักลงทุนเข้ามา นักลงทุนก็ต้องการเงินกลับด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นพอขายได้ปุ๊บ ในแง่ของนักลงทุนก็แฮปปี้เพราะขายธุรกิจได้ แจ๊ค หม่า ก็แฮปปี้ เพราะตัวเองซื้อกลายเป็นเบอร์หนึ่งทั้งอาเซียน ที่นี้พอเป็นเบอร์ที่หนึ่งทั้งหมด อย่างตอนนี้ในประเทศไทย เขาเข้าถึงเมืองไทยเป็นสิบๆ ล้านคนแล้วนะครับ เขาซื้อข้อมูลลูกค้าหมดเลย รวมไปถึงการมาของแจ๊ค หม่า พูดให้ด้านดี แจ๊ค หม่า พูดกับประเทศไทยคือเขาจะมาสร้างช่องทาง ลงทุนอีอีซี อีคอมเมิร์ซ ฟาส ทำให้ไทยเอาสินค้าไปขายออกไปจีนง่าย โชว์เลยตรับ ขายทุเรียนไป 8 หมื่นลูก ภายใน 1 ชั่วโมง ก็คือพยายามโชว์ว่าเขาส่งออก แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้นใน Lazada ที่เขาซื้อมา มันมีเซ็กชั่นหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่ง คือ เป็นสินค้าจีนโดยตรง ซึ่งนั้นเป็นสินค้าจีนทั้งหมด เมื่อเรากดสั่งซื้อ ออเดอร์จะถูกรวมไว้ ฉะนั้นออเดอร์จากจีนจะถูกส่งเข้ามาในไทย ถึงมือผู้บริโภคเลย ฉะนั้นร้านค้าจากจีนหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นร้านค้า กำลังเข้ามาขายในประเทศไทยผ่าน Lazada
นงวดี- มีอยู่แล้ว
ภาวุธ- โดยที่ไม่ต้องมาเปิดหน้าร้านค้า ไม่ต้องมาเปิดตัวตรง ตัวแทน โรงงานผลิตจากจีนปุ๊บ ส่งตรงเข้ามาถึงผู้บริโภค ผู้บริโภคแฮปปี้ เพราะซื้อถูกมากเลย เมื่อเปรียบเทียบกับร้านค้าไทย โรงงานไทยผลิตร้อยสองร้ายชิ้น โรงงานจีนผลิตเป็นล้านชิ้น คำถามคือ เราสู้ไม่ได้ SME ที่เป็นตัวกลาง ที่เป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าจีนก็เตรียมตัวปิดได้เลย เพราะว่าสินค้าจีนเมื่อก่อนเป็นตัวกลางนำเข้ามา คุณคิด บวกกำไร
นงวดี- กินส่วนต่างไม่ได้แล้ว
ภาวุธ- ไม่ได้แล้ว มันเหมือน มันอยู่ในเว็บที่คนไทยเข้าถึงได้แล้ว ฉะนั้นคนทำกราฟิกที่เป็นตัวกลาง โดยเฉพาะจากจีน โดยเฉพาะสินค้าที่อยู่ใน Lazada คุณเตรียมตัวเปลี่ยนธุรกิจได้เลย แต่เช่นเดียวกันโรงงานที่ผลิตสินค้าแบบเดียวกับสินค้าจีนที่นำเข้ามา ก็เตรียมตัวด้วยเช่นกัน เพราะว่าในแง่เรื่องราคาคุณไม่สามารถสู้ เขาเรียกว่า ไซส์สิ่งที่เขาทำกันได้ นั่นคือสิ่งที่เป็นผลกระทบกับการที่รัฐบาล โดยเฉพาะ Lazada หรืออาลีบาบา เข้ามาลงทุน และการเข้ามาในอีอีซี เข้ายังได้ผลเบนาสิก ที่ภาครัฐเปิดให้เข้ามาลงทุนอย่างมาก ลดไอ้นั้น ลดไอ้นี่ เอาไอ้นี่ไปเลย มีสิทธิพิเศษบ้างอย่าง ตรงนี้เขาจะได้ประโยชน์มากขึ้น ฉะนั้นการลงทุนของจีน เป็นการที่นำสินค้าไทยออกไป แต่ในขณะเดียวกันมันเป็นการนำสินค้าจีนเข้ามาขายด้วยกัน
นงวดี- ซึ่งดูแบบนี้ น่าจะเป็นฝั่งจีนเข้ามามากกว่า
ภาวุธ- ใช่ครับ
นงวดี- เพราะถ้าเป็นของคนไทย ขึ้นไปขายบนอย่างอาลีบาบาหรืออะไรก็ตาม ก็ต้องไปแข่งกับคนจีนที่ไปขายอยู่บนนั้นเหมือนกัน สิ่งเขาก็ไม่เคยพูดว่าบนนั้นมีผู้ค้าของจีนอยู่แค่ไหน คุณภาวุธมีตัวเลขไหมคะ
ภาวุธ- ใช่ โอ้โห เป็นล้านคนครับ เป็นล้านๆ ชิ้นครับ สินค้าที่อยู่ในอาลีบาบาเยอะมาก แต่มีสินค้าในไทยบางตัวที่ได้ไปจริงๆ เช่น อาหาร อุปโภค บริโภคบางอย่าง ซึ่งจีนไม่มี เพราะเรื่องอาหารของจีน คนค่อนข้างจะกลัว เรื่องอาหารของจีน ไม่มีไชน่าก๊อปเยอะมันเถื่อน มันอาจจะไม่ได้สุขภาพเยอะเท่าไหร่ คนจีนเลยนิยมซื้ออาหารจากข้างนอก เพราะต้องกินเข้าไป เช่น อาหารของไทยจะเป็นที่โปรดปรานของจีน แต่เทียบเราส่งอาหารไปกับการส่งที่เขาซื้อเข้ามา เราซื้อมือถือ เราซื้อเคสนู้น เคสนี้ ผมว่ายังไงเราก็ขาดทุน
นงวดี- คือขณะเขายังไม่มาแบบเข้ามาแบบเต็มตัว เราก็พยายามเสาะแสวงหาวิธีการไปซื้อสินค้าจีนอยู่แล้ว อันนี้มาจ่อเลย และมาอยู่ในนี้ด้วย
ภาวุธ- มันเข้ามาในมือถือคนไทย
นงวดี- เข้ามือถือเลย ที่นี้ก็ช้อปกันแหลกลานเลย
ภาวุธ- ใช่ครับ เมื่อเข้ามาแบบนี้ปุ๊บ เห็นได้ชัดว่าตลาดค้าปลีกจะกระทบ และเขาเองจะกลายเป็นอเมซอนประเทศไทย เมื่อเขากำลังเป็นอเมซอนประเทศไทยเห็นได้ชัดว่า เส้นทางการเดินต่อไป เขาจะเริ่มข้าธุรกิจอื่นๆ ถูกไหมครับ จากเดิมเมื่อก่อนเราไปซื้อรองเท้าร้านใกล้ๆ เราก็จะไม่ซื้อแล้ว และต่อไปเขาจะกระโดดเรื่องของสด เขาจะมาทำเรื่อง นม หมู ซื้อปลา ซื้อผัก ออนไลน์ ซึ่งตอนนี้ที่อเมริกาเอาไปเรียบร้อยแล้ว และล่าสุดเขาเพิ้งซื้อกิจการชื่อว่า เรด มาร์ท ซึ่งเป็นธุรกิจทำของสดออนไลน์ที่สิงคโปร์ ตอนนี้ความสามารถที่ทำ เขาทำได้ปกติแล้ว ฉะนั้นอนาคตบอกได้เลยว่าคนไทยพูดถึง 5 ปี ถึง 10 ปี ข้างหน้า คุณซื้อออนไลน์หมดแน่ๆ เพราะมันคือสิ่งที่ต้องไป ถูกไหมครับ แล้วตรงนั้นเองจะถูกครอบคลุมทั้งระบบนิเวศของการ ซื้อสินค้าออนไลน์ระบบค้าปลีก เมื่อคนซื้อออนไลน์มากขึ้น ข้อมูลการซื้อสินค้า เราซื้ออะไร เราซื้อเมื่อไหร่ เราเป็นใคร เขาจะมีข้อมูลหมด เมื่อเขามีข้อมูลนี้หมด เขาจะเข้าใจเรามากขึ้น เมื่อเข้าใจเรามากขึ้น เขารู้มากขึ้น อย่าง เดือนนี้เงินจะหมดแล้ว เอาเงินกู้เปล่า มีปล่อยเงินกู้ให้ เองมีเงินอยู่นิ เองซื้อเยอะ ธุรกิจนี้มาเปิดร้านค้า คุณต้องการเงินเพิ่ม ปล่อยกู้ธุรกิจได้ด้วย หรือจะเอามาซื้อประกัน ซื้ออะไรต่างๆ มันเป็นธุรกิจที่ทำเรียบร้อยแล้วที่จีน
นงวดี- คือไม่ใช่มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ภาวุธ- ไม่ใช่
นงวดี- มีธุรกิจอื่นมาก
ภาวุธ- มีธุรกิจที่จีน คือ อาลีเบ ซึ่งอาลีเบต้องบอกเลยว่า ไปกระทบกับธุรกิจธนาคารที่จีนหนักมาก แล้วเขายกมาที่ไทยด้วยเหมือนกัน นั่นหมายถึงว่าการมาครั้งนี้นอกจากธุรกิจค้าปลีก มันจะกระทบกับธุรกิจที่เป็นเรื่องทางด้านการเงิน การธนาคาร