จากปรากฏการณ์ของ ‘คุกกี้เสี่ยงทายฟีเวอร์’ ของวงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปอย่าง BNK48 (บีเอ็นเคโฟร์ตี้เอต) โดย บริษัท บีเอ็นเค 48 ออฟฟิศ จำกัด ที่ทำให้ใครหลายคนได้รู้สึกถึงความน่ารักสดใส และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมผ่านการแสดงออกต่างๆ โดยมีหนึ่งในสมาชิกของวงอย่าง ‘เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ’ รองกัปตันทีมบีทรี (BIII) ก็ถือว่าเป็นอีกคนที่ถูกพูดถึงทั้งในแง่ดังกล่าวที่ว่ามา และความเป็นตัวของตัวเอง ที่ใครๆ ก็ต้องยอมซูฮกทั้งในความเป็นลูกพี่ และน่ารักได้ในคราวเดียวกัน
กว่าจะสำเร็จ
ก็ต้องผ่านความเจ็บมาก่อน
หากเอาตามแบบฉบับสูตรสำเร็จของวงดนตรีต่างๆ กว่าที่จะประสบความสำเร็จจนเป็นเต้ยในวงการนั้น พวกเขาหรือเธอก็ต้องผ่านการเจ็บปวดในระหว่างทางมาก่อน ซึ่งทางบีเอ็นเค 48 ก็ต้องผ่านช่วงเวลานี้มาก่อนและแน่นอนว่าการเดินทางของพวกเธอก็ไม่ได้เดินไปในทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบนัก...
“ตั้งแต่ซิงเกิลแรก เราเป็นฝ่ายวิ่งหางานก่อน แต่มาในตอนนี้เราเป็นฝ่ายที่ต้องเลือกงาน (หัวเราะเบาๆ) ก็มีคนให้ความสนใจเรามากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องดี ซึ่งตอนแรกเราก็ไม่คิดว่า เขาจะมาสนใจแบบวงโนเนม เด็กที่ไหนก็ไม่รู้ ดังก็ไม่ดัง แล้วเขาจะจ้างมาทำงานทำไม จนถึงตอนนี้เรามีชื่อเสียงขึ้น แล้วก็มีคนรู้จักว่ามาจากไหน เต้นเพลงอะไร ร้องเพลงอะไร และมีความสามารถยังไงบ้าง แล้วก็มีคนมามอง แล้วก็มีการเติบโตในเรื่องของทักษะ ทั้งเรื่องการร้อง การเต้น และเพิ่มทักษะในเรื่องของความสามารถต่างๆ เวลาที่ไปออกรายการ ทั้งในเรื่องวาไรตี้ หรือเรื่องการแสดง ซึ่งทุกคนก็มีทักษะเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป คือพัฒนาตัวเองในหลายเรื่องมาก
“แล้วก็เรื่องของจิตใจน่าจะเยอะที่สุด คือสภาพจิตใจของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว บางคนก็อ่อนไหว บางคนก็ไม่ได้คิดมาก ซึ่งก็ห้ามไม่ได้ด้วยเหมือนกันนะ แต่สุดท้ายก็คิดอยู่ดี บางคนก็จะนอยด์ไปเลยในตอนแรกๆ ที่เปิดตัวปุ๊บ คนอื่นเริ่มถูกพูดถึง แต่ทำไมของเราไม่มีเลย ก็นอยด์กันไปรอบนึง พอมีซิงเกิลใหม่แล้วไม่ติด ก็มีคนเสียใจ หรือ การจัดลำดับความนิยม ก็มีคนเสียใจอีก คือมันเป็นเรื่องที่เจอบ่อยสำหรับวงนี้ เพราะว่ามันก็จะมีการแข่งขันตลอดเวลา คือการเสียใจไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ แต่ว่าเราจะต้องแข็งแกร่งขึ้นให้ได้ เพราะว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามาก ซึ่งแค่นี้มันเรื่องเล็กน้อยเอง คือยังมีแฟนคลับเขายังให้กำลังใจและปกป้องเราอยู่ แต่ถ้าเกิดมีชื่อเสียงมากกว่านี้ มันก็จะมีคนนอกเข้ามาด้วย เขาก็จะพูดอะไรก็ได้ แล้วอาจจะว่าแรงกว่านี้ เช่นว่า มีคนมาด่า มาว่าไม่ชอบ ซึ่งเราก็ต้องเติบโตขึ้นมาด้วยตัวเอง อย่างบางคนที่ร้องไห้ในซิงเกิลแรก แต่พอมาตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นเริ่มปลงกับชีวิต (หัวเราะเบาๆ) เพราะว่ามันก็มีคนที่ไม่ชอบอยู่แล้ว อย่างหนูนี่แหละปลงไปแล้วเรียบร้อย
“ถ้าถามว่าในเรื่องของพัฒนาการจาก 1 ปีกว่าที่ผ่านมา มีส่วนไหนที่เพิ่มขึ้น (นิ่งคิด) หนูว่าน่าจะเป็นเรื่องของวิธีการคิดเนี่ยล่ะค่ะ เป็นหลักสำคัญของทุกอย่างเลย คือถ้ามัวแต่กดดันตัวเอง มันก็อาจจะส่งผลเช่นว่า ใจจะซ้อมก็ไม่มี สมาธิในการทำงานก็ไม่มี คือมันจะพังทั้งหมดเลย ถ้าเกิดมัวแต่เก็บคำพูดของคนอื่นมาคิด เพราะเราคิดว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา อย่างเช่นคอมเมนต์แค่แบบว่า ‘ดูไม่เป็นธรรมชาติ ดูไม่สวย แอ๊บแบ๊ว’ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยิบย่อย ถ้ามันไม่ใช่เรื่องจริง ก็ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ เว้นแต่ถ้าเขามาติในเรื่องความสามารถ อันนี้ก็สามารถคิดได้ แต่ไม่ใช่เอามานอยด์ หรือ เครียด ก็คือเอาไปปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง อย่างงั้นมันก็จะเป็นแรงพลังบวกให้เรา อยากพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีให้เรามากกว่า หรือถ้ามีกรณีที่ว่า ถ้ามีคนนอกมาวิจารณ์ มาด่า ก็ให้คิดซะว่า เราดังแล้วนะ ไม่งั้นเขาไม่สนใจเราหรอก ประมาณนี้ เพราะว่าถ้ายิ่งคิดลบ ทุกอย่างมันจะยิ่งพังหมดเลย ทั้งหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ สภาพจิตใจ สุขภาพ พังหมดทุกอย่าง ซึ่งทุกคนก็เคยมีช่วงเวลาอย่างงี้ คือมันจะเป๋ๆ หรือหลุดจากจุดยืนไปว่า ฉันกำลังทำอะไรอยู่นะ หรืออาจจะมีช่วงงงๆ ว่า แค่มาเป็นไอดอลมันจะต้องโดนด่าขนาดนี้เลยเหรอ ทั้งๆ ที่เขาไม่เห็นเลยว่า ในแต่ละวันเราได้ทำอะไรบ้างก็มี แต่ตอนนี้ชินแล้ว เพราะร่างกายได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว (ยิ้ม)
“พอเริ่มมีชื่อเสียงเยอะขึ้น งานก็เยอะขึ้น ด้วยความที่คนคาดหวังกับเราเยอะขึ้น เราก็ไปเต้นอะไรแบบเดิมไม่ได้แล้ว คือเราเต้นเพลงเดิมก็จริง แต่เวลาที่ไปออกงานในแต่ละที่ เราอาจจะมีอะไรแปลกๆ ใหม่ ในแต่ละงานให้แฟนคลับได้ดูกัน ให้เป็นที่จดจำไม่ซ้ำซากด้วย ก็เป็นเรื่องท้าทาย ซึ่งพอดังก็อย่างที่บอกล่ะค่ะ คนคาดหวังว่าคุณก็ต้องเก่งขึ้นด้วย ซึ่งคนนอกเขาไม่รู้หรอกว่า เราซ้อมเยอะมากน้อยแค่ไหน มันเลยต้องกระตุ้นให้เราต้องรีบพัฒนาตัวเองให้เยอะขึ้น เพราะว่ากราฟเรตติ้งมันสูงขึ้นเรื่อยๆ เราต้องปรับตัวตามให้ทันกับสิ่งนี้ คือทุกอย่างเลย ตารางงานมันแน่นขึ้น และต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น อย่างถ้าใครติดเรียน ก็ต้องจัดตารางเรียน อ่านหนังสือให้เรียบร้อย เพราะว่างานมันล็อกไว้แล้ว มันก็ต้องเลือกงานก่อน เปลี่ยนตัวไม่ได้ แล้วก็ต้องดูแลตัวเอง เพราะว่าพักผ่อนน้อยมาก แล้วถ้าเอาเวลาอันน้อยนิดไปทำอย่างอื่นอีก ก็จะทำให้เราไม่ไหวเอง และจะทำให้เสียงาน
เพราะการอ่าน
เป็นรากฐานแห่งภาษา
ด้วยการที่ความชอบส่วนตัวอีกอย่างหนึ่งของเจนนิษฐ์ คือการอ่านหนังสือ นั่นจึงทำให้เธอชื่นชอบและจริงจังในการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งจากจุดนี้เองได้เปิดโลกให้เธอก้าวสู่โลกในหมวดหมู่ต่างๆ ผ่านทางหน้ากระดาษในยามที่พลิกอ่านในแต่ละหน้า และกลายเป็นว่าทำให้เจนนิษฐ์เป็นผู้รอบรู้ในหมู่โอตะแฟนคลับในที่สุด
“มันก็ไม่เชิงจริงจังนะคะ แต่คนทั่วไปมองว่า มันไม่จริงจังเองมากกว่า คือการเป็นเจ้าของภาษา แล้วไม่รู้ว่าสิ่งไหนผิด หรือสิ่งไหนถูกต้อง หนูว่ามันแปลกนะ แต่คนดันมองว่าไม่จริงจัง หนูรู้สึกว่ามันเป็นปัญหาระดับชาติมากเลยนะ แค่เรื่องที่ร้านอาหารเขียนป้ายผิด มันทำให้ชาวต่างชาติอาจจะงงได้ว่า ขนาดภาษาตัวเองยังเขียนผิดเลย ถึงขนาดที่มีความรู้สึกว่าอยากเอาปากกาเมจิกไปเขียนแก้ให้เขาเลย คือมันเป็นภาษาของเราเอง มันเหมือนพูดภาษาของตัวเองผิด แต่นี่มันเป็นภาษาเขียนไงคะ มันควรที่จะเป็นเรื่องจริงจังนะ แต่มันไม่จริงจัง ซึ่งถามว่าเราก็มีใช้ภาษาวิบัติมั้ย เราก็มีใช้เหมือนกันนะ แต่ก็แค่ในส่วนที่เราคุยปกติกับเพื่อนฝูง แต่ถ้าเป็นแบบทางการเราก็ใช้แบบถูกต้องปกติ แต่ว่ามีการสำรวจว่าเด็กใช้ภาษาที่ถูกต้องและอ่านน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่เราควรให้ความสำคัญมันมากขึ้น แต่อัตราที่เด็กอ่านไม่ออกมันดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็น่าเป็นห่วง เพราะอนาคตมันคงไม่มีใครที่จะใช้ถูกอีกต่อไป แล้วก็จะงงต่อไปว่า ตกลงภาษาไทยมันเป็นยังไงกันแน่ (หัวเราะ) ในเมื่อรู้ว่าตัวเองใช้ผิด แล้วมีคนมาแนะนำให้ใช้ให้ถูก ทำไมถึงไม่อยากจะทำให้มันถูก หนูก็สงสัยเหมือนกัน คือถ้ามีช่องทางที่จะช่วยแนะนำตรงนี้ได้ ก็จะพยายามแปะไว้ให้ความรู้ เผื่อมีคนผ่านมาเห็น แล้วเขาจะได้เอาไปใช้
“มองในมุมหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่เราเองก็อยากที่จะทำให้วัยรุ่นทุกคนหันมาใช้ให้ถูกต้องเหมือนกันนะ เพราะส่วนใหญ่ใช้กันแล้วไม่มีใครไปเตือนเขานะว่าสะกดผิด บางคนก็เห็นว่ามันผิด แต่ก็ไม่ได้ไปเตือนเขา เพราะเขาคงคิดว่าไม่ได้สำคัญอะไร ปล่อยผ่านไป ซึ่งมันก็ไม่รู้เหมือนกันนะ อาจจะเป็นเพราะว่า เราอ่านหนังสือได้เร็วกว่าชาวบ้านเขาด้วยมั้ง คือหนูเพิ่งกลับไปถามแม่เหมือนกันว่า เริ่มซื้อหนังสือให้อ่านตั้งแต่เมื่อไหร่ แม่ก็บอกว่า ตอนอนุบาล 2 ขอให้แม่ซื้อให้ ก็คือไม่ซื้อของเล่นแต่ขอให้ซื้อหนังสือ ก็เริ่มจากหนังสือภาพก่อน ที่มันเริ่มมีแค่ 1 บรรทัด สักพักพอเริ่มอ่านหนังสือได้ ก็จะข้ามมาเป็นการ์ตูนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่เริ่มมีตัวหนังสือเยอะขึ้น จนมาเป็นนิยายที่ไม่มีภาพเลย
“ด้วยความที่พ่อหนูจะเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก หนูคิดว่าคงได้ทักษะการอ่านเร็วมาจากพ่อนี่แหละค่ะ บางคนอาจจะเป็นแบบปกติธรรมดา แต่หนูอาจจะอ่านเร็วกว่า คือพออ่านจบเร็ว ก็ซื้อหนังสือเพิ่ม หนูว่าภาษามันก็ได้มาจากหนังสือนะ คือเรารู้ว่าหนังสือมันพิมพ์มาถูก เราก็จำมาจากตรงนั้น ทั้งสำบัด สำนวน คำแปลกๆ เช่นว่า ถ้าอ่านประเภทนิยายผีของไทย ที่เป็นนิยายย้อนยุคหน่อย มันก็จะได้ศัพท์แปลกๆ มา จำได้เลยว่า ตอน ป.1 หนูเป็นคนที่สะกดคำว่า กบฏ ได้เป็นคนแรกในห้อง เพราะปกติแล้ว เด็กวัยนี้อาจจะยังไม่รู้ว่าแบ่งยังไง เนื่องจากมีตัวอักษรตั้ง 3 ตัว อาจจะเป็นเพราะว่าครูอนุบาลของหนู ท่านสอนให้เราและเพื่อนๆในห้องอ่านได้เร็วมาก กลายเป็นว่าตอนนี้ท่านเป็นเพื่อนสนิทกับแม่หนูไปแล้วเรียบร้อย หนูจำไม่ได้นะว่าท่านสอนว่ายังไง แต่ท่านก็สอนให้อย่างที่บอกน่ะค่ะ แล้วจำได้ว่า ตอนที่ไปสอบเข้าเรียนชั้นประถม เขาก็จะให้เราสอบร้องเพลง หนูก็สงสัยในตอนนั้นว่าจะให้ไปร้องเพลงทำไม พอแม่เห็น ก็เข้าใจ เลยไปบอกคุณครูว่าขอสอบเป็นอ่านหนังสือแทน เขาก็เลยหยิบหนังสือพิมพ์มาให้ หนูก็สอบด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ให้ฟังแทน เขาคงเห็นว่าอ่านแล้วไม่ติดขัด ก็รับเราเข้าเรียน (หัวเราะ)
“หนูว่าการอ่านมันทำให้หนูเป็นหนูในทุกวันนี้ เพราะว่ามันจะมีเรื่องเล่าจนกลับมาไม่ได้แล้ว (หัวเราะ) อย่างที่เราได้ทักษะการอ่านเร็ว มันเลยทำให้ความคิดความอ่านเราก็เร็วตาม ซึ่งไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องกับการคิดเลขเร็วด้วยมั้ย อาจจะส่งเสริมในการอ่าน แต่มันทำให้ลำดับความคิดเข้าใจอะไรได้เร็ว อย่างปัญหาเชาว์ หรือ เวลาที่ดูหนังยากๆ ถ้าเราสามารถหาจุดเชื่อมได้ มันก็จะเข้าใจในทุกอย่างเลย แต่บางทีก็ทำให้ดูหนังไม่สนุกเหมือนกันนะ เพราะว่ามันเดาได้หมดเลยนี่แหละ มันเลยกลายเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ที่เข้าใจอะไรง่าย แต่ก็เกินไป (หัวเราะเบาๆ) เพราะกลายเป็นว่ารู้ทันไปหมดเลย มันก็จะไม่สนุกไง แล้วเรื่องอ่านมันก็ทำให้หนูมีศัพท์ที่เยอะกว่าคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ อย่างเวลาที่ไปเขียนเรียงความ สามารถที่จะไปเขียนให้มันสละสลวยได้ หนูรู้สึกว่าภาษามันใช้ได้หลายอย่างนะ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือ เวลาพิมพ์แคปชัน มันเลยต้องใช้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้ว”
ความมั่นใจในตัวเอง
ไม่แปลกใจว่าทำไมคนเรียก ‘ลูกพี่’
จากภาพลักษณ์ของเจนนิษฐ์ที่มีความมั่นใจเป็นสิ่งนำ บวกกับความแข็งแกร่งซึ่งขัดแย้งกับเพื่อนสมาชิกในวง ทำให้บางครั้งคนทั่วไปอาจจะมองว่าดูความมั่นใจเกินวัยไปหรือเปล่า ซึ่งหากได้ลองมาสัมผัสจริงๆ แล้ว ความมั่นใจที่ฉายภาพออกไปนั้น เธอบอกว่าก็ต้องมีเหตุผลมารองรับด้วย นั่นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมแฟนคลับจึงให้ฉายาว่า ‘ลูกพี่’....
“บางคนอาจจะคิดว่าเราเป็นเด็กหัวนอก จะไม่เหมาะกับการอยู่กับผู้ใหญ่ที่คิดแบบเก่า เพราะว่าเดี๋ยวจะตีกัน เหมือนแบบว่า จะดูก้าวร้าว ไม่เคารพความคิดของผู้ใหญ่ที่เขาโตมาก่อน แต่ส่วนตัวเราคิดว่า ลำดับอาวุโส ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องผิดถูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เรารู้สึกว่าต้องทำให้มันถูก แต่ก็ไม่ได้ไปเถียงเขาแบบหยาบคาย แต่จะอธิบายว่าสิ่งที่ถูกคืออะไร เราควรเปลี่ยนมันมั้ย หนูก็เคยไปยกมือในห้องถามครูเหมือนกันว่า มันเป็นแบบนี้ไม่ใช่เหรอคะ ซึ่งเราก็เคยโดนด่ากลับมาเหมือนกัน คือความรู้สึกเรามันบอกว่า ครูสอนผิด มันอาจจะทำให้เพื่อนๆ ในห้องได้ความรู้ที่ไม่ถูกต้องไป ซึ่งบางครั้งพอเลิกเรียน เราจะคอยไปบอกเพื่อนทีหลังว่าครูสอนผิดเหมือนกันนะ แล้วก็ให้จำอันที่ถูกไป เพราะว่าอย่างโรงเรียนไทยมันมีห้องเยอะ คือเรียนเหมือนกัน แต่ครูคนละคน แล้วถ้าครูคนหนึ่งสอนผิด แต่ครูอีกคนสอนถูก มันก็ไม่ยุติธรรมกับอีกห้อง หนูก็มีความรู้สึกว่าก็ต้องทำให้มันถูก เพราะถ้าเพื่อนได้คะแนนน้อยจะทำยังไง แต่พอเป็นโรงเรียนอินเตอร์ เด็กยกกันทั้งห้องเลย เมื่อเทียบกับโรงเรียนไทยนี่คือไม่มีใครกล้ายกมือเลย คือเลือกเงียบเพื่อปลอดภัยกว่า ซึ่งพอไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์ที่มีห้องเรียน 10 กว่าคน พอผิดปุ๊บนี่แย่งกันทักเลย
“แล้วครูที่นี่ ถ้าเขาสอนแล้วไม่แน่ใจ เขาจะบอกกับนักเรียนว่า รอก่อนนะ แล้วเขาจะไปหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ เพราะเขาบอกว่าไม่อยากที่จะสอนอะไรที่ผิดๆ และมั่วๆ ไป ซึ่งหนูมองว่า มันก็ไม่น่าจะก้าวร้าวอะไรนะ ถ้าเราเสนอให้สอนสิ่งที่ถูกแค่นั้นเอง เพราะมันก็ได้ประโยชน์ทั้งครูและนักเรียนด้วย หรืออย่างเรื่องอื่นๆ หนูก็แสดงความคิดเห็นที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ก้าวร้าวอะไรนะคะ หนูว่าก็มีคนอย่างหนูอีกเยอะแยะแหละ แต่ก็ยังอยู่ในขนบ จะไม่ใช่แบบว่าสุดโต่งหรือพยายามแหกทุกอย่างก็ไม่ใช่ ถามว่าหัวดื้อมั้ย ตอบเลยว่าดื้อ ถ้าเราคิดว่ามันถูก และมีเหตุผลมารองรับด้วย ฉันก็ดื้อของฉันนี่แหละ แต่ถ้าคุณมีเหตุผลมาแต่รู้สึกว่าเหตุผลนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะล้มเหตุผลได้ ก็ไม่ยอม เหมือนเป็นการดีเบตทุกเรื่องเลย
“ก็มีคนถามอยู่นะคะว่า เราไม่เสียดายชีวิตช่วง ม.ปลาย เหรอ หนูก็ตอบว่า หนูเที่ยวไปตั้งแต่ ม.ต้น แล้ว เที่ยวที่ไหน เที่ยวสยาม พญาไท เพราะว่าไปติวไง ซึ่งสำหรับเราก็ถือว่าเที่ยวนะ ไปดูหนัง กินข้าว เล่นโบว์ลิ่ง ก็ถือว่าพอแล้ว แต่เพียงแค่ไม่มีเที่ยวกลางคืน แล้วเราก็ไม่อยากเที่ยวด้วย ก็ถือว่าจบแล้ว พอแล้ว ซึ่งพอขึ้น ม.ปลาย เริ่มไม่รู้สึกในความอยากนี้แล้ว แต่จะมีความรู้สึกแค่ว่า เรียนเสร็จแล้วอยากกลับบ้านนอนมากกว่า ส่วนกิจกรรมในโรงเรียน ก็ทำแล้ว เป็นทั้งดรัมเมเยอร์ เป็นสภานักเรียน อยู่กับเพื่อนตลอด กว่าจะกลับบ้านก็กลับดึก ได้ใช้ชีวิต ม.ปลาย ก็คุ้มอยู่ แค่ไม่ได้ใช้ชีวิต ม.6 ที่มีแต่การสอบ เพราะว่าเราก็สอบไปก่อนล่วงหน้าแล้ว ก็กลายเป็นนั่งเชียร์เพื่อนแทน ส่วนเพื่อนที่ยังอยู่ก็สอบทีหลัง แต่เวลาที่มีงานรุ่น หนูก็ยังกลับไปอยู่นะ ไม่ได้รู้สึกว่าขาดอะไรไป ถามว่าไม่คิดถึงเพื่อนเหรอ (หันหน้าไปทางเพื่อนสมาชิกวง) ก็เนี่ย เต็มไปหมดเลย เจอหน้าทุกวัน เยอะเท่ากับเพื่อนในห้องเลย ไม่ได้ต่างกันเลย
“จากผลตอบรับที่เราได้รับมา เขาก็บอกว่าไม่ได้ว่าอะไรนะคะ เขาค่อนข้างโอเคและยอมรับในความคิดเราซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร ไม่ได้ใช้คำพูดที่ดูไม่ดี ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้ที่อาจจะพูดตรงไป แต่ตอนนี้อาจจะมีการพูดตะกุกตะกักบ้าง เนื่องจากจะเปลี่ยนคำจากสิ่งที่เราคิดให้มาใช้ในระหว่างพูดออกไป เพราะว่าบางทีปากที่เราพูดออกไปก็ไม่ทันกับสมองที่กำลังคิด คือเรามีคิดไปไกลแล้ว แต่ปากก็ยังพูดอยู่ ซึ่งบางครั้งเราเลือกที่จะเบรกเพื่อเปลี่ยนคำที่จะใช้ หรือจะใช้วิธีแบบว่า เรื่องนี้ไม่พูดดีกว่าแล้วเปลี่ยนเรื่องไปเลย ซึ่งในระหว่างทางที่เราบอกเมื่อกี้ ก็ค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ ล่ะค่ะ เพื่อจะได้พูดไหลลื่นขึ้น ถ้าเทียบกับเมื่อก่อน ถือว่าโอเคขึ้น เพราะว่าเมื่อก่อนพูดไม่รู้เรื่องเลย จะเป็นแบบว่า จะเข้าใจแต่ตัวเอง แบบเวลาเราคิดเอง จะเรียบเรียงแบบหนึ่ง แต่เวลาที่พูดออกไป ก็ต้องมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อจะได้เข้าใจ
“ถามถึงในตอนนี้ ก็มีความสุขค่ะ เพราะว่าหลังจากไปดูหนังเรื่อง Die Tomorrow ของพี่เต๋อ (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) มา ก็รู้สึกว่า เราไม่ควรที่จะเสียเวลาในชีวิตอีกต่อไป เราอาจจะตายในวันพรุ่งนี้ก็ได้ ถ้าเราสนใจแต่ข่าวร้าย ก็มีความรู้สึกนี้เหมือนกันนะว่า ถ้าเกิดตายในวันพรุ่งนี้จะทำยังไงวะเนี่ย ยังไม่ทันได้มีความสุขเลย ถ้ามัวแต่อ่านคอมเมนต์แย่ๆ อยู่ หนูรู้สึกว่ามันทำให้เสียเวลาชีวิตมากๆ แทนที่เราควรจะคุยมีความสุขกับครอบครัว กับเพื่อน เพราะตอนนี้ก็อยู่กับแม่ 24 ชั่วโมง ก็เคยคิดเหมือนกันนะว่าถ้าแม่ตายคงแย่แน่เลย พอยิ่งไปดูหนังด้วยแล้ว มันยิ่งให้เตือนใจตลอดเวลา ประมาณว่า ฉันจะเสียเวลาไปกับอะไรที่ไม่เป็นเรื่องจริงๆ เหรอ ก็ใช้ชีวิตให้มีความสุขดีกว่ามั้ย เพราะว่ามีความสุขที่ได้เต้น ได้ร้องเพลง ได้ไปแสดง ได้ไปเล่นโฆษณา มีความสุขกับแฟนคลับที่เขาให้กำลังใจเรา ก็จบแล้วนี่ ไม่เห็นมีอะไรเลย
การทำงานอันหลากหลาย
เปิดประตูสู่โลกทัศน์
แน่นอนว่า การทำงานของเจนนิษฐ์นั้น อาจจะมีประสบการณ์เล็กๆ มาบ้าง จากภาพยนตร์เรื่อง แปดวัน แปลกคน (2551) แต่นั่นก็เป็นเพียงช่วงหนึ่งของชีวิตของตัวเธอเอง และการที่ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของวงนี่เอง ก็ถือได้ว่าเป็นการนับหนึ่งใหม่ในการทำงานในวงการอีกครั้ง...
“ถือว่าดีนะคะ แต่ว่าไม่ใช่แค่อยากเห็นเราเป็นไอดอล แต่หมายถึง อยากให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กรุ่นต่อไป การเป็นไอดอลไม่จำเป็นแค่เต้น หรือ ร้องอย่างเดียว แต่ก็เป็นแบบอย่างในด้านต่างๆ อาจจะเป็นเช่นว่า เป็นจิตอาสาซึ่งก็เป็นคนดีในแบบของเขา แต่นี่มาทางด้านบันเทิง ด้านเพลง แสดงให้คนดู อันนี้ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เป็นแรงบันดาลใจให้คน ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง คือแค่เป็นตัวอย่างที่ดี แค่นั้นเอง ไม่ใช่ให้โดนว่าเป็นเน็ตไอดอลที่เรียกไลค์แล้วเรียกผลประโยชน์เข้าหาตัวเองมากเกินไป แต่ส่วนที่เราเป็น มันจะเป็นอะไรที่ต่างคนต่างได้ เราก็ได้ทำในสิ่งที่เราชอบ และตอบโจทย์ในการทำงานของเราด้วย ส่วนเขาก็มีความสุขไปด้วย วินวินทั้งคู่
“บางทีคนก็จะชอบเป็นห่วงว่า อันดับจะขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งบางทีหนูก็จะพูดว่า หนูไม่เครียดหรอกค่ะ ก็มีคนถามเหมือนกันนะว่า ไม่มีไฟแล้ว หมดความพยายามแล้วเหรอ หนูก็คิดว่า มันไม่ใช่หรอก อาจจะเป็นเพราะว่าหนูโตขึ้นต่างหาก ซึ่งถามว่าอยากเป็นเซ็นเตอร์มั้ย ใครก็อยากเป็นอยู่แล้ว ซึ่งถ้าได้มันก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ มันจะต้องมานั่งเสียใจเหรอ ซึ่งเราก็ต้องทำหน้าที่ต่อไปในตำแหน่งของตัวเอง และเริ่มทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุขต่อไป จะได้ไม่เสียเวลานั่งนอยด์
“ในเรื่องของการแสดง อย่าเรียกว่าเคาะสนิมเลยค่ะ ต้องเรียกว่าสนิมเกาะจนเกือบจะไม่มีตัวตน และเรียกว่าไม่มีทักษะติดตัวมาเลยดีกว่า เพราะว่าตอนที่เล่นหนัง ก็ไม่ได้เรียน พอมาเรียน ก็ไม่ได้เล่นหนัง ต้องบอกว่าพอจะมีพื้นฐานและประสบการณ์จากการเล่นหนังบ้าง ไม่ได้เรียนแบบจริงจังอย่างที่นักแสดงเขาทำกัน จะเรียกว่ายังไม่สัมฤทธิผล อย่างงั้นก็ได้ คือเราเรียนการแสดงมาตั้งแต่ประถมตอนปลายถึงช่วงมัธยมต้น แล้วก็หายไปเลย ยังไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ถ้าไม่ได้ลงเล่นจริง ก็มีคนมาถามเหมือนกันว่า จะรีบมาเล่นทำไม เดี๋ยวก็มีอะไรดีๆ ตามมาอีก เราก็คิดว่าถ้าไม่ลองเริ่มต้น แล้วเมื่อไหร่มันจะได้ดี มันก็ไม่ไปไหน คือมีคนมาบอกเลยว่า นักแสดงคนอื่นก็ไม่ดี คือมันก็ไม่มีใครที่จะดีตั้งแต่เรื่องแรกหรอก บางคนที่เป็นเบอร์ใหญ่ในตอนนี้ ก็มาจากตัวประกอบเล็กๆ เขาก็มีการเล่นแข็งมาเหมือนกันแหละ แต่เขาก็เริ่มเล่นเยอะๆ ขึ้น เพื่อจะได้มาปรับปรุง ก็เหมือนเราออกไปโชว์ คือไม่ได้มาจากการซ้อมดีขึ้นอย่างเดียว เราโชว์ดีขึ้น เพราะว่าเราผ่านเวทีมาเยอะ เก็บประสบการณ์จริง”
การถูกคุกคาม
โจทย์ใหญ่ของการเป็นไอดอล
แม้ว่าสมาชิกของบีเอ็นเค 48 ในปัจจุบัน อาจจะยังไม่ถูกคุกคามในชีวิตส่วนตัวมากเท่ากับสมาชิกวงพี่สาวอย่าง เอเคบี 48 (AKB48) แต่นั่นถือได้ว่าก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทางสมาชิกของวงจะต้องประสบพบเจอในแต่ละวันของการทำงาน ซึ่งรวมถึงตัวของเจนนิษฐ์เอง ที่ก็ต้องพบเจอกับปัญหาดังกล่าวนี้ไม่เว้นแต่ละวัน และเป็นการบ้านที่สมาชิกทั้งวงต้องผ่านมันไปในแต่ละครั้ง...
“ที่หนักสุดที่เราโดนมา คือมีคนมาพยายามคุยกับแม่ที่กองถ่ายซีรีส์ แต่แค่ครั้งเดียว จบ ไม่มีอะไร แต่บางที คนทั่วไปอาจจะมองหนูว่าเสียมารยาท หรือไม่เฟรนด์ลี่ก็ได้นะ ถ้าเป็นนอกเวลาทำงาน ตอนไปซ้อมในสภาพโทรมๆ หรือ กำลังกลับจากกล้อง เพราะหนูรู้สึกว่าจบงานแล้ว หนูต้องการเวลาพัก แล้วก็ไม่อยากให้สภาพร่างกายแย่ไปกว่านี้ และหนูก็ต้องการเวลาส่วนตัวของหนู หนูก็เล่นโทรศัพท์ของหนูไป ซึ่งบางคนก็จะชอบเรียกให้หันมาหน่อย ซึ่งเราก็รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์ที่จะหันไปตลอดเวลา ถ้าเรารู้สึกว่าไม่อยากที่จะหันไปจริงๆ เราจะหันไปทักทายแบบเฟกๆ เพื่ออะไร เขาก็จะได้รับรู้ว่า นี่คือเวลาที่เราเหนื่อยจากการทำงาน ตอนนี้คืออยู่ในร่างของคนธรรมดาที่พักอยู่ บางคนก็อาจจะมองว่าไม่ค่อยเล่นเลย นิ่งเงียบ ซึ่งคนที่เข้าใจมันก็มี แต่คนที่ไม่เข้าใจมันก็มีเหมือนกัน เพราะเขาจะชอบเรียกชื่อเพื่อให้หันไปหากล้อง แต่หนูไม่ค่อยตามใจเท่าไหร่ เพราะเรามองว่าในอนาคตที่งานใหญ่กว่านี้ เราไม่สามารถที่จะไปหากล้องได้เลย หนูเลยไม่ตามใจตั้งแต่ตอนนี้ ตอนนี้ก็ยังมีบางคนที่ยังหันไปหากล้องอยู่ ซึ่งถ้าในอนาคตตามที่หนูบอกขึ้นมา อาจจะถูกมองว่า เธอเปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้ยังเฟรนด์ลี่กว่านี้เลย เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป เราเลยเป็นอย่างงี้แหละ เพราะว่าเราก็มีเหตุผลของเรา ซึ่งบางคนก็เข้าใจนะว่าจะถ่ายเฉยๆ ก็ได้ แต่บางคนก็จะเรียกแบบแปลกๆ บางคนก็ไม่ไหวแล้วนะ ยังจะมีแบบนี้อีกเหรอ
“แล้วประสบการณ์ล่าสุดที่เจอ ก็คือคอนเสิร์ตที่ตรังครั้งล่าสุด มันเป็นเวลาหลังโชว์เสร็จ แล้วเขาให้มาเชียร์ข้างเวที เขาก็เรียกให้ถ่ายรูป จนศิลปินบนเวทีถามว่า ยังจำผมได้อยู่มั้ย หนูรู้สึกว่า โคตรรู้สึกผิด คนดูมาสนใจเราอย่างเดียว แล้วโชว์บนเวทีคืออะไรล่ะ อันนี้หนูรู้สึกแย่มาก แต่ออกไปพูดไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะดรามายิ่งใหญ่แน่นอน คือรู้สึกว่ามันเป็นมารยาทหรือเปล่า ที่จะให้เกียรติผู้ทำการแสดง แต่คนดูกลับมาถ่ายรูป BNK อยู่ข้างล่าง เราแทบจะอยากหายไปในกลีบเมฆเลย ทำให้ฉันไม่ควรมายืนอยู่ตรงนี้ ถ้ามันดึงความสนใจของคนอื่นมา คือตอนที่เราโชว์เสร็จ เราเหนื่อยมาก ก็ลงมาดู คนดูก็มาถามว่า ไม่เต้นเหรอ หนูก็ตอบว่าไม่เต้นค่ะ ก็ยืนดูอยู่เฉยๆ แต่เมมเบอร์บางคนถ้าดีดก็ดีดไป เพราะว่าเรารู้สึกว่า ขอให้เป็นเวลางาน คือเวลางานเถอะ แล้วยิ่งเดี๋ยวนี้นะ ไม่มีเสียงเชียร์ในเวลาเต้นเลย คือถ่ายอย่างเดียว หนูว่ามันควรจะแบ่งกันถ่ายก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ถามว่าจะถ่ายทุกคนเลยเหรอ ไม่มีเสียงเชียร์เลย เงียบกริบกว่าตอนที่เปิดตัวเลย
“อย่างงานช่วงหลังที่ผ่านมา ไม่มีการร้องเพลงตาม ไม่มีเสียงเชียร์มิกซ์ อาจจะมีนิดนึง คือคนดูเยอะขึ้นก็จริง แต่ความรู้สึกเราคือมันไม่ได้สนุกเลย ไม่ได้สนุกไปกับโชว์เรา เราก็ไม่สนุกเหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น เขาไม่ให้ถ่ายรูปเลยนะ เพราะเขาต้องการให้คนดูสนุกตามไปกับโชว์ แต่พอมาเจออย่างงี้ คือตั้งใจมาเก็บภาพ แต่สนุกไปกับโชว์มั้ยก็ไม่รู้ คือมีงานเยอะแยะ ก็ไม่จำเป็นที่จะถ่ายทุกงานก็ได้ แล้วคนถ่ายก็มีเยอะแล้วด้วย จะเป็นแฟนคลับในบ้านต่างๆ หนูว่าน่าจะดูผ่านตาดีกว่าดูผ่านหน้าจอ คือทุกคนในวงก็รู้สึกแบบเดียวกับหนูแหละ ว่าแทบไม่มีเสียงเชียร์เลย คือมันเป็นดรามามาช่วงหนึ่งด้วย แต่ตอนนี้มันเริ่มชัดเกินไปแล้ว ว่าตกลงมาทำอะไรกัน
วันแรกของการพบเจอ
จุดมุ่งหมายสู่เป้าหมาย
แม้ว่าความสำเร็จจากซิงเกิล ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นที่รู้จักในวงกว้างของบีเอ็นเค 48 แต่ก็เป็นขั้นบันไดขั้นแรกของการเป็นจุดสูงสุดแห่งความสำเร็จนี้ ซึ่งทางวงก็ได้ปล่อยซิงเกิลใหม่นามว่า ‘วันแรก’ (Shonichi) เพื่อให้หวนไปถึงวันแรกที่ทางวงได้ทำความรู้จักให้กับวงการและสังคม รวมถึงการทำหน้าที่รองกัปตันทีม BIII ของเจนนิษฐ์ ซึ่งทีม BIII คือทีมที่ขึ้น เธียเตอร์ทำการแสดงในสถานที่ดังกล่าว ที่จะต้องฝ่าฟันโจทย์ครั้งใหญ่ เพื่อก้าวไปสู่บันไดขั้นต่อไปในวันข้างหน้า
“จริงๆ เพลงในเธียเตอร์ เราซ้อมมาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ว่ายังไม่มีตำแหน่ง จะเป็นการซ้อมในลักษณะว่า ยืนในตำแหน่งต่างๆ แต่บางครั้งคนไม่พอ ก็จะต้องมีการเต้นสลับตำแหน่งกันก็คือมีหนู ปัญ (ปัญสิกรณ์ ติยะกร : หัวหน้าทีม BIII), มิวสิค (แพรวา สุธรรมพงษ์) แล้วก็ พี่เฌอ (เฌอปราง อารีย์กุล) คือจะมีกี่รอบ ก็ต้องเต้นทุกรอบ เพราะว่าไม่มีคนแทน จำคนเดียวไปเลย ไม่มีเพื่อนแบ่ง เพราะว่ามันทีมละ 16 คน แล้วตอนนี้คนไม่พอ ก็ต้องขาดไป จำกันหัวแบะเลย คือก็มีการซ้อมกันปกติ แล้วเราต้องจำตำแหน่งให้ได้ว่าอยู่ตรงไหนบ้างในแต่ละรอบ แต่พอมาถึงของตัวเอง ก็จะมาจำใหม่อีกที อย่างน้อยก็รู้ว่าท่อนไหน รูปแบบหน้าตายังไง เพื่อที่จะได้เร็วขึ้น อย่างน้อยคนเดิมก็บอกได้ว่า อยู่ตรงนี้ๆ นะ มันก็จะจำได้ แล้วก็จะเร็ว ก็คือซ้อมไว้ทุกเพลง แล้วพอโดนเลือกก็ไปอัดเสียงใหม่อีกที
“ส่วนหน้าที่ที่ได้รับ จริงๆ ก็ไม่ค่อยต่างจากเดิม เพราะว่าปัญก็เคยพูดว่า เวลาทำงาน หนูในสายตาคนนอก จะเป็นแบบว่าต้องเป๊ะ อย่างน้อยก็ให้มันถูก อาจจะไม่ดีเลิศเลอ แต่อย่างน้อยก็ไม่ผิด แต่หนูก็เห็นคนที่เต้นผิดตลอดนะ อารมณ์เดียวกับตาไวเวลาคำศัพท์ผิด คือมันเตะตาเอง ไม่รู้ว่าเป็นคนขี้จับผิดหรือเปล่า แต่เวลาที่เห็นคนเต้นผิด หนูจะมองเห็นก่อนเพื่อนเลย ซึ่งปัญจะมองในเรื่องของภาพรวม ดูความสวยงามไป แต่หนูจะเป็นแบบผิด ก็คอยแก้ๆ ไป แล้วหนูจะเป็นคนที่จำรายละเอียดท่าเต้นทั้งหมดได้ ซึ่งก็ไม่รู้ทำไม อาจจะเป็นเพราะในสิ่งที่สนใจจะจำได้ไม่ลืม ขนาดท่าเต้นในตอนประถม หนูยังจำได้อยู่เลย คือฝังอยู่ในนี้เลย ไม่ต้องทบทวนก็จำได้ หนูจะเห็นรายละเอียดหมดเลยว่า ตรงไหนมันหายไป ก็ค่อยๆ แก้ๆ กันไป ซึ่งไม่ใช่ว่าพูดครั้งเดียวจะแก้ได้เลยนะ ค่อยๆ ปรับกันไป จะเป็นคนที่คอยพูดตลอดว่าท่านี้ๆ
“อย่างซิงเกิลใหม่ ‘วันแรก (Shonichi)’ รู้สึกว่าเป็นเพลงที่คนเป็นแฟนคลับอยู่แล้ว จะเข้าใจได้ดี แต่ถ้าเป็นคนนอก เขาอาจจะมองว่าเพลงแปลก ทั้งในเรื่องเมโลดี้ และภาษาไทยที่บังคับวรรณยุกต์ตามเมโลดี้ มันเลยอาจจะแปร่งๆไป ซึ่งที่เลือกมาเพราะว่าความหมาย ไม่ได้เลือกมาเพราะว่ามันติดหู มันจะแตกต่างจากซิงเกิล คุกกี้เสี่ยงทาย คือมันก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วว่า เพลงมันจะติดหูทุกเพลง แล้วก็ไม่ได้แต่งเพลงใหม่ด้วย ซึ่งต้องเลือกเพลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ณ ช่วงนั้น แล้วก็เรื่องราวของวง ซึ่งมันอาจจะไม่ดังเท่าซิงเกิลก่อนหน้านี้ได้ตลอด แล้วถ้าเปลี่ยนแนวเป็นการเล่าเรื่องราวเอาเนื้อหามาเสริม อาจจะมีสารคดี มันก็เข้ากันได้ มันก็น่าจะเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่ง วันแรก จะเป็นในลักษณะที่ว่า แปลต้องตรง คำเรียงต้องตรง ห้ามบิดเนื้อและเมโลดี้ สมมติว่าเนื้อท่อนแรก และท่อนสอง เราสลับกันก็ไม่ได้ ยังไงก็ต้องให้อย่างงี้ ต้องหาคำยังไงมาแทนที่ฟังแล้วไม่ประหลาด ไม่งั้นมันก็จะเป็นอื่นไปอีก
“ถ้าถามว่าจากความสำเร็จของวงที่เป็นอยู่ในตอนนี้ แล้วคิดว่าทิศทางทั้งตัวเราและวงในอนาคตข้างหน้าจะเป็นยังไงต่อเหรอคะ (นิ่งคิด) ตอนนี้ก็กำลังจะมีรุ่นสองแล้วด้วย คนนอกอาจจะคิดว่า มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกแล้ว มีเธียเตอร์ด้วย ซึ่งน่าจะมีช่องทางให้โปรโมตเยอะขึ้นด้วย ก็อาจจะมีชื่อเสียงมากกว่านี้ แล้วก็อาจจะได้แสดงความสามารถมากกว่าการเป็นไอดอล และแยกไปออกรายการนู่นนี่นั่น ก็จะทำให้เราไม่ได้มีดีแค่นี้ หรืออาจจะมีข้อดีให้น่าสนใจ หนูเห็นหลายคนที่มาติดตาม เพราะว่ามีคนติดตามมาจากรายการต่างๆ ทำให้เขาเห็นวาคนเรียนเก่งนะ มีคนทำอาหารนะ ถือว่าเป็นเรื่องดีค่ะ แล้วก็รู้สึกว่า น่าจะเติบโตขึ้น มันอาจจะไม่พุ่งแรงเท่าซิงเกิล คุกกี้เสี่ยงทาย ซึ่งทางเมมเบอร์เองก็พยายามที่จะทำนั่นทำนี่ที่เป็นประโยชน์ทั้งตัวเองและวงด้วย แล้วก็หาอะไรมาเสริม อย่างเช่นว่า ถ้ามันเป็นช่วงที่เราออกอีเวนต์เยอะๆ รุ่น 2 ก็คงไปที่ตู้ปลาหรือเธียเตอร์ ก็ช่วยๆ กัน ให้มันได้ทุกช่องทาง แต่อาจจะมีความยากตรงที่จะมีคนคาดหวังในเรื่องเพลงใหม่ไปเรื่อยๆ เขาอาจจะคิดไปก่อนว่า อาจจะทำดีกว่าเดิมแน่ๆ เลย หรือ เพลงใหม่จะดีกว่าซิงเกิลก่อนหน้านี้มั้ย หรือว่าความคาดหวังทุกอย่าง ทั้งเรื่องชุดคอสตูม หรือ เมมเบอร์จะตกคนได้มากขึ้นมั้ย เพราะว่ายิ่งมีชื่อเสียง ความคาดหวังมันก็จะยิ่งเยอะขึ้น เราก็ต้องมีความพยายามทั้งตัวเอง ตัววง และตัวบริษัท (บริษัท บีเอ็นเค48 ออฟฟิศ จำกัด) ด้วย ซึ่งตัวเมมเบอร์ก็โดนเซอร์ไพรส์ตลอดเลย (หัวเราะ)”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา
กว่าจะสำเร็จ
ก็ต้องผ่านความเจ็บมาก่อน
หากเอาตามแบบฉบับสูตรสำเร็จของวงดนตรีต่างๆ กว่าที่จะประสบความสำเร็จจนเป็นเต้ยในวงการนั้น พวกเขาหรือเธอก็ต้องผ่านการเจ็บปวดในระหว่างทางมาก่อน ซึ่งทางบีเอ็นเค 48 ก็ต้องผ่านช่วงเวลานี้มาก่อนและแน่นอนว่าการเดินทางของพวกเธอก็ไม่ได้เดินไปในทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบนัก...
“ตั้งแต่ซิงเกิลแรก เราเป็นฝ่ายวิ่งหางานก่อน แต่มาในตอนนี้เราเป็นฝ่ายที่ต้องเลือกงาน (หัวเราะเบาๆ) ก็มีคนให้ความสนใจเรามากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องดี ซึ่งตอนแรกเราก็ไม่คิดว่า เขาจะมาสนใจแบบวงโนเนม เด็กที่ไหนก็ไม่รู้ ดังก็ไม่ดัง แล้วเขาจะจ้างมาทำงานทำไม จนถึงตอนนี้เรามีชื่อเสียงขึ้น แล้วก็มีคนรู้จักว่ามาจากไหน เต้นเพลงอะไร ร้องเพลงอะไร และมีความสามารถยังไงบ้าง แล้วก็มีคนมามอง แล้วก็มีการเติบโตในเรื่องของทักษะ ทั้งเรื่องการร้อง การเต้น และเพิ่มทักษะในเรื่องของความสามารถต่างๆ เวลาที่ไปออกรายการ ทั้งในเรื่องวาไรตี้ หรือเรื่องการแสดง ซึ่งทุกคนก็มีทักษะเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป คือพัฒนาตัวเองในหลายเรื่องมาก
“แล้วก็เรื่องของจิตใจน่าจะเยอะที่สุด คือสภาพจิตใจของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว บางคนก็อ่อนไหว บางคนก็ไม่ได้คิดมาก ซึ่งก็ห้ามไม่ได้ด้วยเหมือนกันนะ แต่สุดท้ายก็คิดอยู่ดี บางคนก็จะนอยด์ไปเลยในตอนแรกๆ ที่เปิดตัวปุ๊บ คนอื่นเริ่มถูกพูดถึง แต่ทำไมของเราไม่มีเลย ก็นอยด์กันไปรอบนึง พอมีซิงเกิลใหม่แล้วไม่ติด ก็มีคนเสียใจ หรือ การจัดลำดับความนิยม ก็มีคนเสียใจอีก คือมันเป็นเรื่องที่เจอบ่อยสำหรับวงนี้ เพราะว่ามันก็จะมีการแข่งขันตลอดเวลา คือการเสียใจไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ แต่ว่าเราจะต้องแข็งแกร่งขึ้นให้ได้ เพราะว่ามันเป็นเรื่องธรรมดามาก ซึ่งแค่นี้มันเรื่องเล็กน้อยเอง คือยังมีแฟนคลับเขายังให้กำลังใจและปกป้องเราอยู่ แต่ถ้าเกิดมีชื่อเสียงมากกว่านี้ มันก็จะมีคนนอกเข้ามาด้วย เขาก็จะพูดอะไรก็ได้ แล้วอาจจะว่าแรงกว่านี้ เช่นว่า มีคนมาด่า มาว่าไม่ชอบ ซึ่งเราก็ต้องเติบโตขึ้นมาด้วยตัวเอง อย่างบางคนที่ร้องไห้ในซิงเกิลแรก แต่พอมาตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นเริ่มปลงกับชีวิต (หัวเราะเบาๆ) เพราะว่ามันก็มีคนที่ไม่ชอบอยู่แล้ว อย่างหนูนี่แหละปลงไปแล้วเรียบร้อย
“ถ้าถามว่าในเรื่องของพัฒนาการจาก 1 ปีกว่าที่ผ่านมา มีส่วนไหนที่เพิ่มขึ้น (นิ่งคิด) หนูว่าน่าจะเป็นเรื่องของวิธีการคิดเนี่ยล่ะค่ะ เป็นหลักสำคัญของทุกอย่างเลย คือถ้ามัวแต่กดดันตัวเอง มันก็อาจจะส่งผลเช่นว่า ใจจะซ้อมก็ไม่มี สมาธิในการทำงานก็ไม่มี คือมันจะพังทั้งหมดเลย ถ้าเกิดมัวแต่เก็บคำพูดของคนอื่นมาคิด เพราะเราคิดว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา อย่างเช่นคอมเมนต์แค่แบบว่า ‘ดูไม่เป็นธรรมชาติ ดูไม่สวย แอ๊บแบ๊ว’ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยิบย่อย ถ้ามันไม่ใช่เรื่องจริง ก็ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ เว้นแต่ถ้าเขามาติในเรื่องความสามารถ อันนี้ก็สามารถคิดได้ แต่ไม่ใช่เอามานอยด์ หรือ เครียด ก็คือเอาไปปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง อย่างงั้นมันก็จะเป็นแรงพลังบวกให้เรา อยากพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีให้เรามากกว่า หรือถ้ามีกรณีที่ว่า ถ้ามีคนนอกมาวิจารณ์ มาด่า ก็ให้คิดซะว่า เราดังแล้วนะ ไม่งั้นเขาไม่สนใจเราหรอก ประมาณนี้ เพราะว่าถ้ายิ่งคิดลบ ทุกอย่างมันจะยิ่งพังหมดเลย ทั้งหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ สภาพจิตใจ สุขภาพ พังหมดทุกอย่าง ซึ่งทุกคนก็เคยมีช่วงเวลาอย่างงี้ คือมันจะเป๋ๆ หรือหลุดจากจุดยืนไปว่า ฉันกำลังทำอะไรอยู่นะ หรืออาจจะมีช่วงงงๆ ว่า แค่มาเป็นไอดอลมันจะต้องโดนด่าขนาดนี้เลยเหรอ ทั้งๆ ที่เขาไม่เห็นเลยว่า ในแต่ละวันเราได้ทำอะไรบ้างก็มี แต่ตอนนี้ชินแล้ว เพราะร่างกายได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว (ยิ้ม)
“พอเริ่มมีชื่อเสียงเยอะขึ้น งานก็เยอะขึ้น ด้วยความที่คนคาดหวังกับเราเยอะขึ้น เราก็ไปเต้นอะไรแบบเดิมไม่ได้แล้ว คือเราเต้นเพลงเดิมก็จริง แต่เวลาที่ไปออกงานในแต่ละที่ เราอาจจะมีอะไรแปลกๆ ใหม่ ในแต่ละงานให้แฟนคลับได้ดูกัน ให้เป็นที่จดจำไม่ซ้ำซากด้วย ก็เป็นเรื่องท้าทาย ซึ่งพอดังก็อย่างที่บอกล่ะค่ะ คนคาดหวังว่าคุณก็ต้องเก่งขึ้นด้วย ซึ่งคนนอกเขาไม่รู้หรอกว่า เราซ้อมเยอะมากน้อยแค่ไหน มันเลยต้องกระตุ้นให้เราต้องรีบพัฒนาตัวเองให้เยอะขึ้น เพราะว่ากราฟเรตติ้งมันสูงขึ้นเรื่อยๆ เราต้องปรับตัวตามให้ทันกับสิ่งนี้ คือทุกอย่างเลย ตารางงานมันแน่นขึ้น และต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น อย่างถ้าใครติดเรียน ก็ต้องจัดตารางเรียน อ่านหนังสือให้เรียบร้อย เพราะว่างานมันล็อกไว้แล้ว มันก็ต้องเลือกงานก่อน เปลี่ยนตัวไม่ได้ แล้วก็ต้องดูแลตัวเอง เพราะว่าพักผ่อนน้อยมาก แล้วถ้าเอาเวลาอันน้อยนิดไปทำอย่างอื่นอีก ก็จะทำให้เราไม่ไหวเอง และจะทำให้เสียงาน
เพราะการอ่าน
เป็นรากฐานแห่งภาษา
ด้วยการที่ความชอบส่วนตัวอีกอย่างหนึ่งของเจนนิษฐ์ คือการอ่านหนังสือ นั่นจึงทำให้เธอชื่นชอบและจริงจังในการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งจากจุดนี้เองได้เปิดโลกให้เธอก้าวสู่โลกในหมวดหมู่ต่างๆ ผ่านทางหน้ากระดาษในยามที่พลิกอ่านในแต่ละหน้า และกลายเป็นว่าทำให้เจนนิษฐ์เป็นผู้รอบรู้ในหมู่โอตะแฟนคลับในที่สุด
“มันก็ไม่เชิงจริงจังนะคะ แต่คนทั่วไปมองว่า มันไม่จริงจังเองมากกว่า คือการเป็นเจ้าของภาษา แล้วไม่รู้ว่าสิ่งไหนผิด หรือสิ่งไหนถูกต้อง หนูว่ามันแปลกนะ แต่คนดันมองว่าไม่จริงจัง หนูรู้สึกว่ามันเป็นปัญหาระดับชาติมากเลยนะ แค่เรื่องที่ร้านอาหารเขียนป้ายผิด มันทำให้ชาวต่างชาติอาจจะงงได้ว่า ขนาดภาษาตัวเองยังเขียนผิดเลย ถึงขนาดที่มีความรู้สึกว่าอยากเอาปากกาเมจิกไปเขียนแก้ให้เขาเลย คือมันเป็นภาษาของเราเอง มันเหมือนพูดภาษาของตัวเองผิด แต่นี่มันเป็นภาษาเขียนไงคะ มันควรที่จะเป็นเรื่องจริงจังนะ แต่มันไม่จริงจัง ซึ่งถามว่าเราก็มีใช้ภาษาวิบัติมั้ย เราก็มีใช้เหมือนกันนะ แต่ก็แค่ในส่วนที่เราคุยปกติกับเพื่อนฝูง แต่ถ้าเป็นแบบทางการเราก็ใช้แบบถูกต้องปกติ แต่ว่ามีการสำรวจว่าเด็กใช้ภาษาที่ถูกต้องและอ่านน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่เราควรให้ความสำคัญมันมากขึ้น แต่อัตราที่เด็กอ่านไม่ออกมันดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็น่าเป็นห่วง เพราะอนาคตมันคงไม่มีใครที่จะใช้ถูกอีกต่อไป แล้วก็จะงงต่อไปว่า ตกลงภาษาไทยมันเป็นยังไงกันแน่ (หัวเราะ) ในเมื่อรู้ว่าตัวเองใช้ผิด แล้วมีคนมาแนะนำให้ใช้ให้ถูก ทำไมถึงไม่อยากจะทำให้มันถูก หนูก็สงสัยเหมือนกัน คือถ้ามีช่องทางที่จะช่วยแนะนำตรงนี้ได้ ก็จะพยายามแปะไว้ให้ความรู้ เผื่อมีคนผ่านมาเห็น แล้วเขาจะได้เอาไปใช้
“มองในมุมหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่เราเองก็อยากที่จะทำให้วัยรุ่นทุกคนหันมาใช้ให้ถูกต้องเหมือนกันนะ เพราะส่วนใหญ่ใช้กันแล้วไม่มีใครไปเตือนเขานะว่าสะกดผิด บางคนก็เห็นว่ามันผิด แต่ก็ไม่ได้ไปเตือนเขา เพราะเขาคงคิดว่าไม่ได้สำคัญอะไร ปล่อยผ่านไป ซึ่งมันก็ไม่รู้เหมือนกันนะ อาจจะเป็นเพราะว่า เราอ่านหนังสือได้เร็วกว่าชาวบ้านเขาด้วยมั้ง คือหนูเพิ่งกลับไปถามแม่เหมือนกันว่า เริ่มซื้อหนังสือให้อ่านตั้งแต่เมื่อไหร่ แม่ก็บอกว่า ตอนอนุบาล 2 ขอให้แม่ซื้อให้ ก็คือไม่ซื้อของเล่นแต่ขอให้ซื้อหนังสือ ก็เริ่มจากหนังสือภาพก่อน ที่มันเริ่มมีแค่ 1 บรรทัด สักพักพอเริ่มอ่านหนังสือได้ ก็จะข้ามมาเป็นการ์ตูนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่เริ่มมีตัวหนังสือเยอะขึ้น จนมาเป็นนิยายที่ไม่มีภาพเลย
“ด้วยความที่พ่อหนูจะเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก หนูคิดว่าคงได้ทักษะการอ่านเร็วมาจากพ่อนี่แหละค่ะ บางคนอาจจะเป็นแบบปกติธรรมดา แต่หนูอาจจะอ่านเร็วกว่า คือพออ่านจบเร็ว ก็ซื้อหนังสือเพิ่ม หนูว่าภาษามันก็ได้มาจากหนังสือนะ คือเรารู้ว่าหนังสือมันพิมพ์มาถูก เราก็จำมาจากตรงนั้น ทั้งสำบัด สำนวน คำแปลกๆ เช่นว่า ถ้าอ่านประเภทนิยายผีของไทย ที่เป็นนิยายย้อนยุคหน่อย มันก็จะได้ศัพท์แปลกๆ มา จำได้เลยว่า ตอน ป.1 หนูเป็นคนที่สะกดคำว่า กบฏ ได้เป็นคนแรกในห้อง เพราะปกติแล้ว เด็กวัยนี้อาจจะยังไม่รู้ว่าแบ่งยังไง เนื่องจากมีตัวอักษรตั้ง 3 ตัว อาจจะเป็นเพราะว่าครูอนุบาลของหนู ท่านสอนให้เราและเพื่อนๆในห้องอ่านได้เร็วมาก กลายเป็นว่าตอนนี้ท่านเป็นเพื่อนสนิทกับแม่หนูไปแล้วเรียบร้อย หนูจำไม่ได้นะว่าท่านสอนว่ายังไง แต่ท่านก็สอนให้อย่างที่บอกน่ะค่ะ แล้วจำได้ว่า ตอนที่ไปสอบเข้าเรียนชั้นประถม เขาก็จะให้เราสอบร้องเพลง หนูก็สงสัยในตอนนั้นว่าจะให้ไปร้องเพลงทำไม พอแม่เห็น ก็เข้าใจ เลยไปบอกคุณครูว่าขอสอบเป็นอ่านหนังสือแทน เขาก็เลยหยิบหนังสือพิมพ์มาให้ หนูก็สอบด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ให้ฟังแทน เขาคงเห็นว่าอ่านแล้วไม่ติดขัด ก็รับเราเข้าเรียน (หัวเราะ)
“หนูว่าการอ่านมันทำให้หนูเป็นหนูในทุกวันนี้ เพราะว่ามันจะมีเรื่องเล่าจนกลับมาไม่ได้แล้ว (หัวเราะ) อย่างที่เราได้ทักษะการอ่านเร็ว มันเลยทำให้ความคิดความอ่านเราก็เร็วตาม ซึ่งไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องกับการคิดเลขเร็วด้วยมั้ย อาจจะส่งเสริมในการอ่าน แต่มันทำให้ลำดับความคิดเข้าใจอะไรได้เร็ว อย่างปัญหาเชาว์ หรือ เวลาที่ดูหนังยากๆ ถ้าเราสามารถหาจุดเชื่อมได้ มันก็จะเข้าใจในทุกอย่างเลย แต่บางทีก็ทำให้ดูหนังไม่สนุกเหมือนกันนะ เพราะว่ามันเดาได้หมดเลยนี่แหละ มันเลยกลายเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ที่เข้าใจอะไรง่าย แต่ก็เกินไป (หัวเราะเบาๆ) เพราะกลายเป็นว่ารู้ทันไปหมดเลย มันก็จะไม่สนุกไง แล้วเรื่องอ่านมันก็ทำให้หนูมีศัพท์ที่เยอะกว่าคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ อย่างเวลาที่ไปเขียนเรียงความ สามารถที่จะไปเขียนให้มันสละสลวยได้ หนูรู้สึกว่าภาษามันใช้ได้หลายอย่างนะ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือ เวลาพิมพ์แคปชัน มันเลยต้องใช้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้ว”
ความมั่นใจในตัวเอง
ไม่แปลกใจว่าทำไมคนเรียก ‘ลูกพี่’
จากภาพลักษณ์ของเจนนิษฐ์ที่มีความมั่นใจเป็นสิ่งนำ บวกกับความแข็งแกร่งซึ่งขัดแย้งกับเพื่อนสมาชิกในวง ทำให้บางครั้งคนทั่วไปอาจจะมองว่าดูความมั่นใจเกินวัยไปหรือเปล่า ซึ่งหากได้ลองมาสัมผัสจริงๆ แล้ว ความมั่นใจที่ฉายภาพออกไปนั้น เธอบอกว่าก็ต้องมีเหตุผลมารองรับด้วย นั่นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมแฟนคลับจึงให้ฉายาว่า ‘ลูกพี่’....
“บางคนอาจจะคิดว่าเราเป็นเด็กหัวนอก จะไม่เหมาะกับการอยู่กับผู้ใหญ่ที่คิดแบบเก่า เพราะว่าเดี๋ยวจะตีกัน เหมือนแบบว่า จะดูก้าวร้าว ไม่เคารพความคิดของผู้ใหญ่ที่เขาโตมาก่อน แต่ส่วนตัวเราคิดว่า ลำดับอาวุโส ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องผิดถูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เรารู้สึกว่าต้องทำให้มันถูก แต่ก็ไม่ได้ไปเถียงเขาแบบหยาบคาย แต่จะอธิบายว่าสิ่งที่ถูกคืออะไร เราควรเปลี่ยนมันมั้ย หนูก็เคยไปยกมือในห้องถามครูเหมือนกันว่า มันเป็นแบบนี้ไม่ใช่เหรอคะ ซึ่งเราก็เคยโดนด่ากลับมาเหมือนกัน คือความรู้สึกเรามันบอกว่า ครูสอนผิด มันอาจจะทำให้เพื่อนๆ ในห้องได้ความรู้ที่ไม่ถูกต้องไป ซึ่งบางครั้งพอเลิกเรียน เราจะคอยไปบอกเพื่อนทีหลังว่าครูสอนผิดเหมือนกันนะ แล้วก็ให้จำอันที่ถูกไป เพราะว่าอย่างโรงเรียนไทยมันมีห้องเยอะ คือเรียนเหมือนกัน แต่ครูคนละคน แล้วถ้าครูคนหนึ่งสอนผิด แต่ครูอีกคนสอนถูก มันก็ไม่ยุติธรรมกับอีกห้อง หนูก็มีความรู้สึกว่าก็ต้องทำให้มันถูก เพราะถ้าเพื่อนได้คะแนนน้อยจะทำยังไง แต่พอเป็นโรงเรียนอินเตอร์ เด็กยกกันทั้งห้องเลย เมื่อเทียบกับโรงเรียนไทยนี่คือไม่มีใครกล้ายกมือเลย คือเลือกเงียบเพื่อปลอดภัยกว่า ซึ่งพอไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์ที่มีห้องเรียน 10 กว่าคน พอผิดปุ๊บนี่แย่งกันทักเลย
“แล้วครูที่นี่ ถ้าเขาสอนแล้วไม่แน่ใจ เขาจะบอกกับนักเรียนว่า รอก่อนนะ แล้วเขาจะไปหาข้อมูลที่ถูกต้องให้ เพราะเขาบอกว่าไม่อยากที่จะสอนอะไรที่ผิดๆ และมั่วๆ ไป ซึ่งหนูมองว่า มันก็ไม่น่าจะก้าวร้าวอะไรนะ ถ้าเราเสนอให้สอนสิ่งที่ถูกแค่นั้นเอง เพราะมันก็ได้ประโยชน์ทั้งครูและนักเรียนด้วย หรืออย่างเรื่องอื่นๆ หนูก็แสดงความคิดเห็นที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ก้าวร้าวอะไรนะคะ หนูว่าก็มีคนอย่างหนูอีกเยอะแยะแหละ แต่ก็ยังอยู่ในขนบ จะไม่ใช่แบบว่าสุดโต่งหรือพยายามแหกทุกอย่างก็ไม่ใช่ ถามว่าหัวดื้อมั้ย ตอบเลยว่าดื้อ ถ้าเราคิดว่ามันถูก และมีเหตุผลมารองรับด้วย ฉันก็ดื้อของฉันนี่แหละ แต่ถ้าคุณมีเหตุผลมาแต่รู้สึกว่าเหตุผลนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะล้มเหตุผลได้ ก็ไม่ยอม เหมือนเป็นการดีเบตทุกเรื่องเลย
“ก็มีคนถามอยู่นะคะว่า เราไม่เสียดายชีวิตช่วง ม.ปลาย เหรอ หนูก็ตอบว่า หนูเที่ยวไปตั้งแต่ ม.ต้น แล้ว เที่ยวที่ไหน เที่ยวสยาม พญาไท เพราะว่าไปติวไง ซึ่งสำหรับเราก็ถือว่าเที่ยวนะ ไปดูหนัง กินข้าว เล่นโบว์ลิ่ง ก็ถือว่าพอแล้ว แต่เพียงแค่ไม่มีเที่ยวกลางคืน แล้วเราก็ไม่อยากเที่ยวด้วย ก็ถือว่าจบแล้ว พอแล้ว ซึ่งพอขึ้น ม.ปลาย เริ่มไม่รู้สึกในความอยากนี้แล้ว แต่จะมีความรู้สึกแค่ว่า เรียนเสร็จแล้วอยากกลับบ้านนอนมากกว่า ส่วนกิจกรรมในโรงเรียน ก็ทำแล้ว เป็นทั้งดรัมเมเยอร์ เป็นสภานักเรียน อยู่กับเพื่อนตลอด กว่าจะกลับบ้านก็กลับดึก ได้ใช้ชีวิต ม.ปลาย ก็คุ้มอยู่ แค่ไม่ได้ใช้ชีวิต ม.6 ที่มีแต่การสอบ เพราะว่าเราก็สอบไปก่อนล่วงหน้าแล้ว ก็กลายเป็นนั่งเชียร์เพื่อนแทน ส่วนเพื่อนที่ยังอยู่ก็สอบทีหลัง แต่เวลาที่มีงานรุ่น หนูก็ยังกลับไปอยู่นะ ไม่ได้รู้สึกว่าขาดอะไรไป ถามว่าไม่คิดถึงเพื่อนเหรอ (หันหน้าไปทางเพื่อนสมาชิกวง) ก็เนี่ย เต็มไปหมดเลย เจอหน้าทุกวัน เยอะเท่ากับเพื่อนในห้องเลย ไม่ได้ต่างกันเลย
“จากผลตอบรับที่เราได้รับมา เขาก็บอกว่าไม่ได้ว่าอะไรนะคะ เขาค่อนข้างโอเคและยอมรับในความคิดเราซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร ไม่ได้ใช้คำพูดที่ดูไม่ดี ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้ที่อาจจะพูดตรงไป แต่ตอนนี้อาจจะมีการพูดตะกุกตะกักบ้าง เนื่องจากจะเปลี่ยนคำจากสิ่งที่เราคิดให้มาใช้ในระหว่างพูดออกไป เพราะว่าบางทีปากที่เราพูดออกไปก็ไม่ทันกับสมองที่กำลังคิด คือเรามีคิดไปไกลแล้ว แต่ปากก็ยังพูดอยู่ ซึ่งบางครั้งเราเลือกที่จะเบรกเพื่อเปลี่ยนคำที่จะใช้ หรือจะใช้วิธีแบบว่า เรื่องนี้ไม่พูดดีกว่าแล้วเปลี่ยนเรื่องไปเลย ซึ่งในระหว่างทางที่เราบอกเมื่อกี้ ก็ค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ ล่ะค่ะ เพื่อจะได้พูดไหลลื่นขึ้น ถ้าเทียบกับเมื่อก่อน ถือว่าโอเคขึ้น เพราะว่าเมื่อก่อนพูดไม่รู้เรื่องเลย จะเป็นแบบว่า จะเข้าใจแต่ตัวเอง แบบเวลาเราคิดเอง จะเรียบเรียงแบบหนึ่ง แต่เวลาที่พูดออกไป ก็ต้องมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อจะได้เข้าใจ
“ถามถึงในตอนนี้ ก็มีความสุขค่ะ เพราะว่าหลังจากไปดูหนังเรื่อง Die Tomorrow ของพี่เต๋อ (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์) มา ก็รู้สึกว่า เราไม่ควรที่จะเสียเวลาในชีวิตอีกต่อไป เราอาจจะตายในวันพรุ่งนี้ก็ได้ ถ้าเราสนใจแต่ข่าวร้าย ก็มีความรู้สึกนี้เหมือนกันนะว่า ถ้าเกิดตายในวันพรุ่งนี้จะทำยังไงวะเนี่ย ยังไม่ทันได้มีความสุขเลย ถ้ามัวแต่อ่านคอมเมนต์แย่ๆ อยู่ หนูรู้สึกว่ามันทำให้เสียเวลาชีวิตมากๆ แทนที่เราควรจะคุยมีความสุขกับครอบครัว กับเพื่อน เพราะตอนนี้ก็อยู่กับแม่ 24 ชั่วโมง ก็เคยคิดเหมือนกันนะว่าถ้าแม่ตายคงแย่แน่เลย พอยิ่งไปดูหนังด้วยแล้ว มันยิ่งให้เตือนใจตลอดเวลา ประมาณว่า ฉันจะเสียเวลาไปกับอะไรที่ไม่เป็นเรื่องจริงๆ เหรอ ก็ใช้ชีวิตให้มีความสุขดีกว่ามั้ย เพราะว่ามีความสุขที่ได้เต้น ได้ร้องเพลง ได้ไปแสดง ได้ไปเล่นโฆษณา มีความสุขกับแฟนคลับที่เขาให้กำลังใจเรา ก็จบแล้วนี่ ไม่เห็นมีอะไรเลย
การทำงานอันหลากหลาย
เปิดประตูสู่โลกทัศน์
แน่นอนว่า การทำงานของเจนนิษฐ์นั้น อาจจะมีประสบการณ์เล็กๆ มาบ้าง จากภาพยนตร์เรื่อง แปดวัน แปลกคน (2551) แต่นั่นก็เป็นเพียงช่วงหนึ่งของชีวิตของตัวเธอเอง และการที่ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของวงนี่เอง ก็ถือได้ว่าเป็นการนับหนึ่งใหม่ในการทำงานในวงการอีกครั้ง...
“ถือว่าดีนะคะ แต่ว่าไม่ใช่แค่อยากเห็นเราเป็นไอดอล แต่หมายถึง อยากให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กรุ่นต่อไป การเป็นไอดอลไม่จำเป็นแค่เต้น หรือ ร้องอย่างเดียว แต่ก็เป็นแบบอย่างในด้านต่างๆ อาจจะเป็นเช่นว่า เป็นจิตอาสาซึ่งก็เป็นคนดีในแบบของเขา แต่นี่มาทางด้านบันเทิง ด้านเพลง แสดงให้คนดู อันนี้ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เป็นแรงบันดาลใจให้คน ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง คือแค่เป็นตัวอย่างที่ดี แค่นั้นเอง ไม่ใช่ให้โดนว่าเป็นเน็ตไอดอลที่เรียกไลค์แล้วเรียกผลประโยชน์เข้าหาตัวเองมากเกินไป แต่ส่วนที่เราเป็น มันจะเป็นอะไรที่ต่างคนต่างได้ เราก็ได้ทำในสิ่งที่เราชอบ และตอบโจทย์ในการทำงานของเราด้วย ส่วนเขาก็มีความสุขไปด้วย วินวินทั้งคู่
“บางทีคนก็จะชอบเป็นห่วงว่า อันดับจะขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งบางทีหนูก็จะพูดว่า หนูไม่เครียดหรอกค่ะ ก็มีคนถามเหมือนกันนะว่า ไม่มีไฟแล้ว หมดความพยายามแล้วเหรอ หนูก็คิดว่า มันไม่ใช่หรอก อาจจะเป็นเพราะว่าหนูโตขึ้นต่างหาก ซึ่งถามว่าอยากเป็นเซ็นเตอร์มั้ย ใครก็อยากเป็นอยู่แล้ว ซึ่งถ้าได้มันก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ มันจะต้องมานั่งเสียใจเหรอ ซึ่งเราก็ต้องทำหน้าที่ต่อไปในตำแหน่งของตัวเอง และเริ่มทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุขต่อไป จะได้ไม่เสียเวลานั่งนอยด์
“ในเรื่องของการแสดง อย่าเรียกว่าเคาะสนิมเลยค่ะ ต้องเรียกว่าสนิมเกาะจนเกือบจะไม่มีตัวตน และเรียกว่าไม่มีทักษะติดตัวมาเลยดีกว่า เพราะว่าตอนที่เล่นหนัง ก็ไม่ได้เรียน พอมาเรียน ก็ไม่ได้เล่นหนัง ต้องบอกว่าพอจะมีพื้นฐานและประสบการณ์จากการเล่นหนังบ้าง ไม่ได้เรียนแบบจริงจังอย่างที่นักแสดงเขาทำกัน จะเรียกว่ายังไม่สัมฤทธิผล อย่างงั้นก็ได้ คือเราเรียนการแสดงมาตั้งแต่ประถมตอนปลายถึงช่วงมัธยมต้น แล้วก็หายไปเลย ยังไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ถ้าไม่ได้ลงเล่นจริง ก็มีคนมาถามเหมือนกันว่า จะรีบมาเล่นทำไม เดี๋ยวก็มีอะไรดีๆ ตามมาอีก เราก็คิดว่าถ้าไม่ลองเริ่มต้น แล้วเมื่อไหร่มันจะได้ดี มันก็ไม่ไปไหน คือมีคนมาบอกเลยว่า นักแสดงคนอื่นก็ไม่ดี คือมันก็ไม่มีใครที่จะดีตั้งแต่เรื่องแรกหรอก บางคนที่เป็นเบอร์ใหญ่ในตอนนี้ ก็มาจากตัวประกอบเล็กๆ เขาก็มีการเล่นแข็งมาเหมือนกันแหละ แต่เขาก็เริ่มเล่นเยอะๆ ขึ้น เพื่อจะได้มาปรับปรุง ก็เหมือนเราออกไปโชว์ คือไม่ได้มาจากการซ้อมดีขึ้นอย่างเดียว เราโชว์ดีขึ้น เพราะว่าเราผ่านเวทีมาเยอะ เก็บประสบการณ์จริง”
การถูกคุกคาม
โจทย์ใหญ่ของการเป็นไอดอล
แม้ว่าสมาชิกของบีเอ็นเค 48 ในปัจจุบัน อาจจะยังไม่ถูกคุกคามในชีวิตส่วนตัวมากเท่ากับสมาชิกวงพี่สาวอย่าง เอเคบี 48 (AKB48) แต่นั่นถือได้ว่าก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทางสมาชิกของวงจะต้องประสบพบเจอในแต่ละวันของการทำงาน ซึ่งรวมถึงตัวของเจนนิษฐ์เอง ที่ก็ต้องพบเจอกับปัญหาดังกล่าวนี้ไม่เว้นแต่ละวัน และเป็นการบ้านที่สมาชิกทั้งวงต้องผ่านมันไปในแต่ละครั้ง...
“ที่หนักสุดที่เราโดนมา คือมีคนมาพยายามคุยกับแม่ที่กองถ่ายซีรีส์ แต่แค่ครั้งเดียว จบ ไม่มีอะไร แต่บางที คนทั่วไปอาจจะมองหนูว่าเสียมารยาท หรือไม่เฟรนด์ลี่ก็ได้นะ ถ้าเป็นนอกเวลาทำงาน ตอนไปซ้อมในสภาพโทรมๆ หรือ กำลังกลับจากกล้อง เพราะหนูรู้สึกว่าจบงานแล้ว หนูต้องการเวลาพัก แล้วก็ไม่อยากให้สภาพร่างกายแย่ไปกว่านี้ และหนูก็ต้องการเวลาส่วนตัวของหนู หนูก็เล่นโทรศัพท์ของหนูไป ซึ่งบางคนก็จะชอบเรียกให้หันมาหน่อย ซึ่งเราก็รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์ที่จะหันไปตลอดเวลา ถ้าเรารู้สึกว่าไม่อยากที่จะหันไปจริงๆ เราจะหันไปทักทายแบบเฟกๆ เพื่ออะไร เขาก็จะได้รับรู้ว่า นี่คือเวลาที่เราเหนื่อยจากการทำงาน ตอนนี้คืออยู่ในร่างของคนธรรมดาที่พักอยู่ บางคนก็อาจจะมองว่าไม่ค่อยเล่นเลย นิ่งเงียบ ซึ่งคนที่เข้าใจมันก็มี แต่คนที่ไม่เข้าใจมันก็มีเหมือนกัน เพราะเขาจะชอบเรียกชื่อเพื่อให้หันไปหากล้อง แต่หนูไม่ค่อยตามใจเท่าไหร่ เพราะเรามองว่าในอนาคตที่งานใหญ่กว่านี้ เราไม่สามารถที่จะไปหากล้องได้เลย หนูเลยไม่ตามใจตั้งแต่ตอนนี้ ตอนนี้ก็ยังมีบางคนที่ยังหันไปหากล้องอยู่ ซึ่งถ้าในอนาคตตามที่หนูบอกขึ้นมา อาจจะถูกมองว่า เธอเปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้ยังเฟรนด์ลี่กว่านี้เลย เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป เราเลยเป็นอย่างงี้แหละ เพราะว่าเราก็มีเหตุผลของเรา ซึ่งบางคนก็เข้าใจนะว่าจะถ่ายเฉยๆ ก็ได้ แต่บางคนก็จะเรียกแบบแปลกๆ บางคนก็ไม่ไหวแล้วนะ ยังจะมีแบบนี้อีกเหรอ
“แล้วประสบการณ์ล่าสุดที่เจอ ก็คือคอนเสิร์ตที่ตรังครั้งล่าสุด มันเป็นเวลาหลังโชว์เสร็จ แล้วเขาให้มาเชียร์ข้างเวที เขาก็เรียกให้ถ่ายรูป จนศิลปินบนเวทีถามว่า ยังจำผมได้อยู่มั้ย หนูรู้สึกว่า โคตรรู้สึกผิด คนดูมาสนใจเราอย่างเดียว แล้วโชว์บนเวทีคืออะไรล่ะ อันนี้หนูรู้สึกแย่มาก แต่ออกไปพูดไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะดรามายิ่งใหญ่แน่นอน คือรู้สึกว่ามันเป็นมารยาทหรือเปล่า ที่จะให้เกียรติผู้ทำการแสดง แต่คนดูกลับมาถ่ายรูป BNK อยู่ข้างล่าง เราแทบจะอยากหายไปในกลีบเมฆเลย ทำให้ฉันไม่ควรมายืนอยู่ตรงนี้ ถ้ามันดึงความสนใจของคนอื่นมา คือตอนที่เราโชว์เสร็จ เราเหนื่อยมาก ก็ลงมาดู คนดูก็มาถามว่า ไม่เต้นเหรอ หนูก็ตอบว่าไม่เต้นค่ะ ก็ยืนดูอยู่เฉยๆ แต่เมมเบอร์บางคนถ้าดีดก็ดีดไป เพราะว่าเรารู้สึกว่า ขอให้เป็นเวลางาน คือเวลางานเถอะ แล้วยิ่งเดี๋ยวนี้นะ ไม่มีเสียงเชียร์ในเวลาเต้นเลย คือถ่ายอย่างเดียว หนูว่ามันควรจะแบ่งกันถ่ายก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ถามว่าจะถ่ายทุกคนเลยเหรอ ไม่มีเสียงเชียร์เลย เงียบกริบกว่าตอนที่เปิดตัวเลย
“อย่างงานช่วงหลังที่ผ่านมา ไม่มีการร้องเพลงตาม ไม่มีเสียงเชียร์มิกซ์ อาจจะมีนิดนึง คือคนดูเยอะขึ้นก็จริง แต่ความรู้สึกเราคือมันไม่ได้สนุกเลย ไม่ได้สนุกไปกับโชว์เรา เราก็ไม่สนุกเหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น เขาไม่ให้ถ่ายรูปเลยนะ เพราะเขาต้องการให้คนดูสนุกตามไปกับโชว์ แต่พอมาเจออย่างงี้ คือตั้งใจมาเก็บภาพ แต่สนุกไปกับโชว์มั้ยก็ไม่รู้ คือมีงานเยอะแยะ ก็ไม่จำเป็นที่จะถ่ายทุกงานก็ได้ แล้วคนถ่ายก็มีเยอะแล้วด้วย จะเป็นแฟนคลับในบ้านต่างๆ หนูว่าน่าจะดูผ่านตาดีกว่าดูผ่านหน้าจอ คือทุกคนในวงก็รู้สึกแบบเดียวกับหนูแหละ ว่าแทบไม่มีเสียงเชียร์เลย คือมันเป็นดรามามาช่วงหนึ่งด้วย แต่ตอนนี้มันเริ่มชัดเกินไปแล้ว ว่าตกลงมาทำอะไรกัน
วันแรกของการพบเจอ
จุดมุ่งหมายสู่เป้าหมาย
แม้ว่าความสำเร็จจากซิงเกิล ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นที่รู้จักในวงกว้างของบีเอ็นเค 48 แต่ก็เป็นขั้นบันไดขั้นแรกของการเป็นจุดสูงสุดแห่งความสำเร็จนี้ ซึ่งทางวงก็ได้ปล่อยซิงเกิลใหม่นามว่า ‘วันแรก’ (Shonichi) เพื่อให้หวนไปถึงวันแรกที่ทางวงได้ทำความรู้จักให้กับวงการและสังคม รวมถึงการทำหน้าที่รองกัปตันทีม BIII ของเจนนิษฐ์ ซึ่งทีม BIII คือทีมที่ขึ้น เธียเตอร์ทำการแสดงในสถานที่ดังกล่าว ที่จะต้องฝ่าฟันโจทย์ครั้งใหญ่ เพื่อก้าวไปสู่บันไดขั้นต่อไปในวันข้างหน้า
“จริงๆ เพลงในเธียเตอร์ เราซ้อมมาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ว่ายังไม่มีตำแหน่ง จะเป็นการซ้อมในลักษณะว่า ยืนในตำแหน่งต่างๆ แต่บางครั้งคนไม่พอ ก็จะต้องมีการเต้นสลับตำแหน่งกันก็คือมีหนู ปัญ (ปัญสิกรณ์ ติยะกร : หัวหน้าทีม BIII), มิวสิค (แพรวา สุธรรมพงษ์) แล้วก็ พี่เฌอ (เฌอปราง อารีย์กุล) คือจะมีกี่รอบ ก็ต้องเต้นทุกรอบ เพราะว่าไม่มีคนแทน จำคนเดียวไปเลย ไม่มีเพื่อนแบ่ง เพราะว่ามันทีมละ 16 คน แล้วตอนนี้คนไม่พอ ก็ต้องขาดไป จำกันหัวแบะเลย คือก็มีการซ้อมกันปกติ แล้วเราต้องจำตำแหน่งให้ได้ว่าอยู่ตรงไหนบ้างในแต่ละรอบ แต่พอมาถึงของตัวเอง ก็จะมาจำใหม่อีกที อย่างน้อยก็รู้ว่าท่อนไหน รูปแบบหน้าตายังไง เพื่อที่จะได้เร็วขึ้น อย่างน้อยคนเดิมก็บอกได้ว่า อยู่ตรงนี้ๆ นะ มันก็จะจำได้ แล้วก็จะเร็ว ก็คือซ้อมไว้ทุกเพลง แล้วพอโดนเลือกก็ไปอัดเสียงใหม่อีกที
“ส่วนหน้าที่ที่ได้รับ จริงๆ ก็ไม่ค่อยต่างจากเดิม เพราะว่าปัญก็เคยพูดว่า เวลาทำงาน หนูในสายตาคนนอก จะเป็นแบบว่าต้องเป๊ะ อย่างน้อยก็ให้มันถูก อาจจะไม่ดีเลิศเลอ แต่อย่างน้อยก็ไม่ผิด แต่หนูก็เห็นคนที่เต้นผิดตลอดนะ อารมณ์เดียวกับตาไวเวลาคำศัพท์ผิด คือมันเตะตาเอง ไม่รู้ว่าเป็นคนขี้จับผิดหรือเปล่า แต่เวลาที่เห็นคนเต้นผิด หนูจะมองเห็นก่อนเพื่อนเลย ซึ่งปัญจะมองในเรื่องของภาพรวม ดูความสวยงามไป แต่หนูจะเป็นแบบผิด ก็คอยแก้ๆ ไป แล้วหนูจะเป็นคนที่จำรายละเอียดท่าเต้นทั้งหมดได้ ซึ่งก็ไม่รู้ทำไม อาจจะเป็นเพราะในสิ่งที่สนใจจะจำได้ไม่ลืม ขนาดท่าเต้นในตอนประถม หนูยังจำได้อยู่เลย คือฝังอยู่ในนี้เลย ไม่ต้องทบทวนก็จำได้ หนูจะเห็นรายละเอียดหมดเลยว่า ตรงไหนมันหายไป ก็ค่อยๆ แก้ๆ กันไป ซึ่งไม่ใช่ว่าพูดครั้งเดียวจะแก้ได้เลยนะ ค่อยๆ ปรับกันไป จะเป็นคนที่คอยพูดตลอดว่าท่านี้ๆ
“อย่างซิงเกิลใหม่ ‘วันแรก (Shonichi)’ รู้สึกว่าเป็นเพลงที่คนเป็นแฟนคลับอยู่แล้ว จะเข้าใจได้ดี แต่ถ้าเป็นคนนอก เขาอาจจะมองว่าเพลงแปลก ทั้งในเรื่องเมโลดี้ และภาษาไทยที่บังคับวรรณยุกต์ตามเมโลดี้ มันเลยอาจจะแปร่งๆไป ซึ่งที่เลือกมาเพราะว่าความหมาย ไม่ได้เลือกมาเพราะว่ามันติดหู มันจะแตกต่างจากซิงเกิล คุกกี้เสี่ยงทาย คือมันก็เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วว่า เพลงมันจะติดหูทุกเพลง แล้วก็ไม่ได้แต่งเพลงใหม่ด้วย ซึ่งต้องเลือกเพลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ณ ช่วงนั้น แล้วก็เรื่องราวของวง ซึ่งมันอาจจะไม่ดังเท่าซิงเกิลก่อนหน้านี้ได้ตลอด แล้วถ้าเปลี่ยนแนวเป็นการเล่าเรื่องราวเอาเนื้อหามาเสริม อาจจะมีสารคดี มันก็เข้ากันได้ มันก็น่าจะเป็นจุดขายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่ง วันแรก จะเป็นในลักษณะที่ว่า แปลต้องตรง คำเรียงต้องตรง ห้ามบิดเนื้อและเมโลดี้ สมมติว่าเนื้อท่อนแรก และท่อนสอง เราสลับกันก็ไม่ได้ ยังไงก็ต้องให้อย่างงี้ ต้องหาคำยังไงมาแทนที่ฟังแล้วไม่ประหลาด ไม่งั้นมันก็จะเป็นอื่นไปอีก
“ถ้าถามว่าจากความสำเร็จของวงที่เป็นอยู่ในตอนนี้ แล้วคิดว่าทิศทางทั้งตัวเราและวงในอนาคตข้างหน้าจะเป็นยังไงต่อเหรอคะ (นิ่งคิด) ตอนนี้ก็กำลังจะมีรุ่นสองแล้วด้วย คนนอกอาจจะคิดว่า มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกแล้ว มีเธียเตอร์ด้วย ซึ่งน่าจะมีช่องทางให้โปรโมตเยอะขึ้นด้วย ก็อาจจะมีชื่อเสียงมากกว่านี้ แล้วก็อาจจะได้แสดงความสามารถมากกว่าการเป็นไอดอล และแยกไปออกรายการนู่นนี่นั่น ก็จะทำให้เราไม่ได้มีดีแค่นี้ หรืออาจจะมีข้อดีให้น่าสนใจ หนูเห็นหลายคนที่มาติดตาม เพราะว่ามีคนติดตามมาจากรายการต่างๆ ทำให้เขาเห็นวาคนเรียนเก่งนะ มีคนทำอาหารนะ ถือว่าเป็นเรื่องดีค่ะ แล้วก็รู้สึกว่า น่าจะเติบโตขึ้น มันอาจจะไม่พุ่งแรงเท่าซิงเกิล คุกกี้เสี่ยงทาย ซึ่งทางเมมเบอร์เองก็พยายามที่จะทำนั่นทำนี่ที่เป็นประโยชน์ทั้งตัวเองและวงด้วย แล้วก็หาอะไรมาเสริม อย่างเช่นว่า ถ้ามันเป็นช่วงที่เราออกอีเวนต์เยอะๆ รุ่น 2 ก็คงไปที่ตู้ปลาหรือเธียเตอร์ ก็ช่วยๆ กัน ให้มันได้ทุกช่องทาง แต่อาจจะมีความยากตรงที่จะมีคนคาดหวังในเรื่องเพลงใหม่ไปเรื่อยๆ เขาอาจจะคิดไปก่อนว่า อาจจะทำดีกว่าเดิมแน่ๆ เลย หรือ เพลงใหม่จะดีกว่าซิงเกิลก่อนหน้านี้มั้ย หรือว่าความคาดหวังทุกอย่าง ทั้งเรื่องชุดคอสตูม หรือ เมมเบอร์จะตกคนได้มากขึ้นมั้ย เพราะว่ายิ่งมีชื่อเสียง ความคาดหวังมันก็จะยิ่งเยอะขึ้น เราก็ต้องมีความพยายามทั้งตัวเอง ตัววง และตัวบริษัท (บริษัท บีเอ็นเค48 ออฟฟิศ จำกัด) ด้วย ซึ่งตัวเมมเบอร์ก็โดนเซอร์ไพรส์ตลอดเลย (หัวเราะ)”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา