จากการรวมตัวของกลุ่มเด็กสาวหลากที่มาทั้งหมด 13 คน เพื่อจุดประสงค์หลักคือ การออกกำลังกายผสมการร้องการเต้นที่สนุกสนาน เพื่อเป้าหมายที่ว่า หยาดเหงื่อของวัยรุ่นที่พยายามวิ่งตามความฝัน ตามความหมายของชื่อวง วันนี้ วงไอดอลสาว “สเวทซิกซ์ทีน (Sweat16!)” พร้อมที่จะให้ทุกคนระเบิดความมุ้งมิ้งในการออกกำลังไปพร้อมๆ กัน !!!
• ช่วยเล่าถึงที่มาที่ไป ทั้งรูปแบบ และการจัดการ หน่อยครับ
วิม (มโนพิโมกษ์ : ประธาน บ.โยชิโมโต้ เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ ไทยแลนด์) : ในส่วนของผมก่อนแล้วกัน ที่มาที่ไปคือ เมื่อ 2 ปีก่อน เราได้มาทำการออดิชั่นคัดเลือกในโครงการ Asia Star Audition คือเราได้รับโจทย์จากทางบริษัท Yoshimoto ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของญี่ปุ่น แล้วก็ร่วมกับทางรัฐบาลญี่ปุ่นด้วย ในแง่ที่ว่า เราอยากจะทำไอดอล กรุ๊ป ในเมืองไทย เพื่อส่งเสริมทางคอนเทนต์ของญี่ปุ่นในประเทศไทย จากนั้น เราก็ได้มาทำการคัดเลือก ตอนนั้นน่าจะประมาณ 1200 คนได้ จนเหลือประมาณ 22 คน ในช่วงแรก แล้วเรามาฝึกฝน แต่ในระหว่างทาง ก็มีที่ไม่ไหวก็จากไป จากนั้น เราก็ได้คุณครูจากญี่ปุ่นมา ซึ่งคุณครูคนนี้ก็เคยสอนทาง AKB48 และ NMB48 มาก่อนอยู่แล้ว เราได้ครูมาทุก 2 อาทิตย์ แล้วได้มาฝึกซ้อมร้อง คือสมาชิกในวันเสาร์-อาทิตย์ มีแต่ในห้องซ้อมอย่างเดียว มาประมาณ 1 ปี มีโอกาสได้มาเปิดตัวตอนเดือนตุลาคม เมื่อปีที่แล้ว
บอย (โกสิยพงษ์ : ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ ของ Swaet16!) : ซึ่งก็ถือว่าเป็นความอึดที่อึดจริงๆ เพราะว่ากว่าเขาจะมาแสดงแบบนี้ได้ ซ้อมเต้น แล้วเหงื่อไม่ออกมาเนี่ยนะครับ (หัวเราะ) เพราะว่านั่นหมายความว่าร่างกายเขาฟิตมาก ก็ต้องอาศัยความอดทนและความพยายามมากจริงๆ เพราะว่าแต่ละคนก็มาจากพื้นฐานที่ไม่เท่ากันด้วย เพียงแต่ว่าทุกคนเก่งหมดเลย บางคนก็ถนัดเต้น บางคนก็ถนัดร้องเพลง หรือบางคนไม่ถนัดทั้ง 2 อย่างเลยก็มี แต่ก็เป็นจุดประกายอย่างหนึ่งว่า คนเราก็สามารถทำได้ถ้าตั้งใจ ซึ่งอย่างที่บอกว่า น้องๆ ใช้เวลา 1 ปี ฉะนั้นน้องๆ ก็ต้องใช้เวลาด้วย ใช้ความอึดด้วย
วิม : ณ ตอนนั้น ทางเราเองก็ยังโดดเดี่ยว แล้วพอมาถึงจุดหนึ่ง ผมก็มีความรู้สึกว่า เป็นเด็กไทย มีท่าเต้น แต่ร้องเพลงญี่ปุ่น เราก็เลยมีความรู้สึกว่า อาจจะไม่ได้ไปไกล ผมก็เลยชวนพี่บอยและพี่ไก่มาร่วมกัน มาสร้างสิ่งสิ่งนี้ด้วยกัน ในการเอาเพลงญี่ปุ่นมาคัฟเวอร์เป็นเพลงไทย
บอย : คือรูปแบบของ Sweat16! เป็นการสร้างขึ้นมาเอง จะเป็นรูปแบบที่ส่งเสริมในเรื่องการมีสุขภาพดี ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย เรื่องการรักษาหน้าที่ของตัวเอง เป็นลูกที่ดี เป็นนักเรียนที่ดี เป็นคนทำงานที่ดี ดังนั้นเราก็จะปรับเปลี่ยนทุกอย่างให้มันเหมาะสมให้เข้ากับสภาพสังคมไทย ดังนั้นในเรื่องเพลงก็เช่นกัน เราก็จะแต่งให้อยู่ในกรอบนี้
วิม : อย่างจุดดีของเราก็คือ เราอาจจะไม่ได้เหมือนกับทางญี่ปุ่นมากนัก อย่างวงเราก็จะคิดระบบของเราเอง มีคอนเซ็ปต์และทางบริษัทแม่คุยกัน ว่าอยากจะให้มาอยู่ในกรอบนี้ ก็พยายามทำอะไรในกรอบนี้ แต่ว่าเราก็เข้าใจว่า ทางเลิฟอิสเองก็มีภาพพจน์ตลาดว่าเป็นแบบไหนอยู่แล้ว แล้วเราก็อยากจะให้อยู่ในกลิ่นของเลิฟอิสด้วย สรุปคือเป็นเลิฟอิสผสมญี่ปุ่นประมาณนั้นครับ
• ในด้านดนตรี อยากให้เสริมข้อมูลเพิ่มเติมหน่อยครับ
ไก่ (สุธี แสงเสรีชน : เอ็กเซกคิวทีฟ โปรดิวเซอร์ ของ Sweat16!) ในส่วนของเรื่องเพลง ใน 2 ซิงเกิลที่ออกไป (เพลง วิ่ง และเพลง มุ้งมิ้ง) เราใช้ทำนองของทางญี่ปุ่น จากการที่น้องๆ ได้ฝึกซ้อมกันมาตลอด แล้วเราก็มาใช้ในไทย เพราะฉะนั้นเนี่ย ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของน้องๆ และได้โชว์ศักยภาพที่เขาฝึกมาตลอดด้วย ก็เป็นสิ่งที่เราทำมา ทีนี้อย่างที่คุณวิมบอก เราก็จะมีการทำเพลงที่เป็นต้นฉบับของเราเอง ให้มีความผสมๆ กัน ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นอันนี้ก็เป็นจุดหลักอย่างหนึ่งด้วย ถ้าถามว่าในส่วนของภาคดนตรีมีความยากมั้ย คือในทุกอย่างมันก็มีความยากนะ แต่ในจริงๆ แล้ว น้องๆ ก็ชัดเจนว่าเป็นวงสไตล์ป็อปแต่เราอาจจะมีการเพิ่มเติมในบีตที่ทำให้เขาเต้นได้ หรืออย่างเพลงซึ้งๆ เราก็มี แต่เดี๋ยวคงได้ฟังกัน (หัวเราะ)
• มันเหมือนกับว่า วัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้เริ่มกลับมาสู่วัฒนธรรม Pop Culture หลักในบ้านเราด้วยมั้ยครับ
วิม : จริงๆ แล้ว วัตถุประสงค์หลักที่ทาง yoshimoto เข้ามาในเมืองไทย ก็คือว่า เราก็อยากให้กระแส J-Pop หรือ Japan Culture กลับมา เพราะว่า เมืองไทยมีในเรื่อง K-Pop มานาน อย่างน้องๆ หลายคนที่เข้ามานี่คือ พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ แต่พูดภาษาเกาหลีได้เต็มเลย ตอนออดิชั่นมา นี่คือท่าเต้นแบบเคป็อปมากๆ เลย แต่ผมก็คิดว่า ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ดี ที่ไม่ว่าจะเป็นไอดอลก็ดี หรือ กิจกรรมอีเวนต์ต่างๆ แล้วคนไทยก็สนใจในเรื่องญี่ปุ่นมากขึ้น นอกจากเรื่องอาหารกับเรื่องเที่ยวแล้ว ก็มีด้านนี้ด้วย ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี แล้วผมคิดว่า สิ่งที่ทั้งทางเราได้จับมือกับทางเลิฟอิสเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เรานำด้านการทำเพลงของเลิฟอิส มาผสมผสานกับทางญี่ปุ่นด้วย ซึ่งใครจะไปรู้ว่า อาจจะมีศิลปินในทางเลิฟอิส เอง อาจจะได้ไปร่วมงานกับทางญี่ปุ่นก็ได้
ไก่ : โดยส่วนตัวผม ผมดีใจมากนะ เพราะว่า อย่างคนรุ่นเราทั้ง 3 คน เราโตมากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นทั้งหมดเลย ช่วงนั้นก็จะมีไอดอลญี่ปุ่นเยอะมากนะครับ ทั้ง Shonentai (วงบอยแบนด์ ทศวรรษที่ 1980) หรืออะไรต่างๆ หรือจะเป็นผ่านเพลง anime song เมื่อก่อนเราก็ร้องเพลงญี่ปุ่นนะ
บอย : ผมขอเสริมนะครับ คือด้วยวิธีการนำเข้ามา มันจะเป็นสร้างเข้ามา เพื่อเป็นความร่วมมือมากกว่าจะแค่ส่งออก หรือนำเข้า ผมเลยคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สมดุลดี ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นแต่ฝ่ายนำเข้าอย่างเดียว ซึ่งจะต่างจาก Dojo City ที่จะเป็นคนละรูปแบบ เพราะจะเป็นสไตล์แบบสาวข้างบ้าน
• ด้วยรูปแบบลักษณะอย่างงี้ ถือว่ายากและท้าทายมั้ยครับ ที่นำเข้ามาสู่วัฒนธรรมแบบไทยๆ
วิม : ถ้าถามว่ายากมั้ย ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ยากทั้งนั้น ยากจากอะไร น้อง 13 คน บางคนก็ไม่มีพื้นฐานเลย ต้องมาฝึกซ้อม ต้องรับอารมณ์ร้องไห้ รับอารมณ์ดีใจ ให้น้องๆ ได้เข้าใจว่า ในการฝึกซ้อมของญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ยาก คือมันเป็นสิ่งอะไรใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่สังคมไทย มันก็ยากอยู่แล้ว บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไมต้องมีการจัดการแบบนี้ มันก็เป็นสิ่งที่ยาก แต่ผมคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นการท้าทายนะครับ ขนาดน้อง 13 คน ที่พยายามมาทั้งปี หมายถึงว่า เขาก็เสียสละเวลาของเขา เทไปกับตรงนี้ แล้ววันธรรมดาก็กลับไปเป็นนักเรียนที่ดี ไปเป็นลูกที่ดี ไปเป็นพนักงานที่ดี เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ถ้าเทียบกับน้องๆ ที่เหนื่อยแล้ว เราก็คิดว่า จะทำได้มากกว่านี้
บอย : ผมว่ามันสนุกดีนะครับ การสร้างรูปแบบเอง แล้วก็มีคนเอารูปแบบนี้ไปใช้ มันเป็นเรื่องที่น่าชื่นใจดี แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะเดียวกัน มันก็เป็นเรื่องที่เราอยากจะพยายามด้วย
ไก่ : ผมก็คิดว่ามันก็น่าจะเป็นการจุดประกายในหลายๆ อย่างด้วยนะครับ การมีรูปแบบนี้ อย่างน้อยที่สุด เด็กๆ หรือคนรุ่นใหม่ก็ได้รู้ว่าศิลปิน หรือคนที่อยากแสดงออกอะไรก็ตาม สามารถที่จะได้รู้ว่า มาร่วมกันตรงนี้ได้ แล้วก็มาแสดงความสามารถ แล้วเราก็ได้มีสตาร์หรือศิลปินคนใหม่ต่างๆ ขึ้นมา คือน้องๆ อาจจะไม่ได้มีแค่ร้อง เต้น แต่อาจจะมีการพัฒนาในด้านอื่นๆ เช่น การแสดง หรือต่างๆ ก็จะเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นมา และสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความฝันให้กับเด็กๆ ด้วย
• ซึ่งก็ถือว่าเป็นบทสะท้อนอย่างหนึ่งด้วยว่า เทรนด์การออกกำลังกายกำลังมา แต่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เข้าใจต่อการมีชีวิตอยู่
วิม : ตั้งแต่ที่เราสร้างรูปแบบนี้ขึ้นมา เราก็มองว่า กลุ่มแฟนคลับมักจะอยู่ในกลุ่มที่สนใจแต่โลกออนไลน์ ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เราก็คิดว่า ตรงนี้แหละ เราอยากที่จะเปลี่ยนนะ ว่าให้ออกมาสนุก ออกมาออกกำลังกายกับวง ให้มาเหงื่อออกด้วยกัน ผมว่าเทรนด์นี้มันก็มาแล้วล่ะ แต่ว่า เราจะชักชวนคนที่ขี้เกียจมาร่วมกับเรายังไง ซึ่งตรงนี้เป็นรูปแบบที่เราพยายามทำ คือสมมติว่า ถ้าน้องๆ มาปลุกคุณให้ออกกำลังกายในทุกวัน แล้วมาเต้นกับคุณ จะทำยังไงบนโลกออนไลน์ ไม่ใช่ว่าคุณดูอย่างเดียวแล้วน้องเต้นอย่างเดียว ไม่ใช่อย่างงั้น แต่จะให้มาเต้นไปพร้อมๆ กัน ด้วยกัน
บอย : อย่างสมมติว่า ถ้าคุณได้สมัครสมาชิกกับทางวงแล้ว ก็อาจจะมีน้องคอยเคาะมาที่โทรศัพท์ของคุณว่า 1 ชั่วโมงแล้ว มาขยับร่างกายบ้าง แล้วเรามาขยับร่างกายพร้อมๆ กัน ซึ่งถ้ามีทุกครั้งที่ทำ ก็จะถูกเก็บคะแนน แต่คุณต้องถือโทรศัพท์ไปด้วยนะ ซึ่งคะแนนเหล่านั้นก็สามารถแลกคะแนนมาดูน้องๆ ที่เธียเตอร์ได้ แล้วการเข้ามาเธียเตอร์ ก็ไม่ใช่ว่ามานั่งดูนะครับ ต้องมาออกกำลังกายไปด้วย
วิม : ซึ่งในเรื่องเธียเตอร์ แน่นอนว่าจะต้องมีแหละ แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าจะมีอยู่ที่เดียว เพราะเรามีแค่ 13 คนเอง สามารถไปได้หมด อย่างไอเดียของพี่บอยที่ว่า เราก็พยายามที่จะไม่อยู่กรุงเทพฯ อย่างเดียว เราคิดว่าจะไปหัวเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเราคิดว่าให้แฟนคลับมาร่วมสนุกกับเราได้ หรือ อาจจะมีน้องๆ ไปเยี่ยมที่โรงเรียนด้วย (หัวเราะ) อีกด้านหนึ่งก็จะมีการร่วมมือในการคุยกันอยู่ เราก็ยังเลือกอยู่ว่าจะไปแนวไหน เป็นสถานที่ที่ตั้งเป็นการแสดงที่ขยับแข้งขยับขาได้ เพราะคนดูต้องขยับด้วย คือเหมือนกับว่า เราไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วแฟนคลับจะต้องมาที่นั่น เพราะว่าถ้าเราอยู่เฉยๆ อาจจะมีแบบว่ามาบ้าง ไม่มาบ้าง เพราะฉะนั้น เอาอย่างงี้เราจะไปหาเอง แล้วให้คุณมาออกกำลังกับเรา แล้วก็น้องๆ อาจจะมีเล่นกีฬาประเภทอื่นๆ บ้าง ประมาณนั้น
• ในส่วนของสมาชิกที่ ต่างคน ต่างที่มา อยากให้น้องๆ ช่วยพูดถึงอุปสรรคระหว่างที่ผ่านมาว่าเป็นยังไงกว่าที่จะมาตรงนี้ได้
แอ๊นท์ (วรินดา เนินเพิ่มพิสุทธิ์ : กัปตันของวง) : จริงๆ อุปสรรคก็มีหลายๆ เรื่องค่ะ เพราะว่าพวกเราก็อยู่กันหลายคนใช่มั้ยคะ อาจจะมีทั้งเรื่องเวลาที่พวกเรามาซ้อมกัน รวมไปถึงปัญหาต่างๆ โดยส่วนตัวของแต่ละคน แต่ว่าเราก็พยายามที่จะพูดคุยกัน และปรึกษากันว่า เราควรจะทำยังไงกันดีในแต่ละเรื่อง ก็คือพยายามแก้ไขปัญหาด้วยกัน ร่วมกันทั้งหมด เพื่อให้พวกเราได้ก้าวหน้าขึ้นไปในแต่ละสเต็ป และพวกเราก็ให้กำลังใจกันเอง เพราะพวกเราก็ผ่านความเหนื่อยยาก ความท้อต่างๆ ทั้งเครียด กดดัน เราผ่านมาด้วยกันหมดทุกรูปแบบเลยค่ะ พวกเราก็คอยแบบว่า ต้องจับมือสู้กันนะ เราจะต้องผ่านจุดนี้ไป เพื่อจะให้พวกเราประสบความสำเร็จ แบบที่พวกเราหวังไว้ เอาเป็นว่า ถ้ามี Sweat16 เราก็ฝ่าทุกอุปสรรคได้ (ยิ้มสวย)
• มันเหมือนกับว่า เราวางตัวตนของตัวเองไว้ชั่วครู่ แล้วมาเป็นในลักษณะนี้ด้วยมั้ยครับ
เพชร (พรรษา บุณยะกลัมพ) : จริงๆ มันไม่ใช่ว่าเราทิ้งตัวตนเพื่อที่จะมาเป็น Sweat นะคะ แต่การเป็น Sweat คือ เราทุกคนเป็นตัวเองค่ะ แต่เราเหมือนกับว่า ให้ทุกคนมารักในแบบที่เราเป็น ซึ่งเราก็พร้อมที่จะมอบความสุขให้กับทุกคน
มิ้น (ทสมา เทศน์ธรรม) : ใช่ค่ะ คือเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้คนมาชอบเรา คือเราก็ต้องเป็นตัวเองอยู่แล้ว เพราะว่าเราต้องมีหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ใช่เป็นแค่ไอดอล การเต้น การร้อง แต่เราก็มีหน้าที่ในเรื่องเรียน หรือว่าทุกคนก็ต้องทำงาน เป็นลูกที่ดี
• แน่นอนว่า นอกจากข้อจำกัดอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ยังมีข้อจำกัดอื่นอีกมั้ยครับ ที่คิดว่าเราต้องแลกมันมา
พิม (พิม ขจรเวคิน) : สำหรับพิมและทุกคน คิดว่าน่าจะมีข้อจำกัดอย่างหนึ่ง คือ ข้อจำกัดที่เรียกว่า ค่าเสียโอกาสค่ะ คือการที่เรามาอยู่ในจุดนี้ เราต้องแลกอะไรหลายๆ อย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น อย่างเรื่องการเรียน ซึ่งตัวเราเอง สมมติว่าไม่ได้อยู่วง เราก็มีความฝันว่า จะไปขอทุนเรียนต่อที่ญี่ปุ่นค่ะ แต่ในเมื่อเราเลือกมาแล้ว เราตั้งใจทำ เราก็รู้สึกว่า ข้อจำกัด เราสามารถก้าวผ่านมันไปได้ เวลาที่เรามีความฝัน ซึ่งความฝันของเราอย่างหนึ่ง ก็คือได้มาเป็นไอดอล และการที่ได้ส่งความสุขให้กับทุกๆ คน เราเลยรู้สึกว่า ข้อจำกัดเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ต้องผ่านไปให้ได้
ม่านมุก (ชดาธาร ด่านกุล) : โดยส่วนตัวเรา จริงๆ ก็คล้ายๆ พิม นะคะ เพราะว่าการที่เรามาอยู่ตรงนี้ เราก็ต้องเสียในสิ่งตัวเองรักและทำอยู่ อย่างเช่น อย่างน้องๆ ที่เรียนอยู่ อาจจะเสียเวลาที่จะได้ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ หรืออาจจะเสียช่วงชีวิตในวัยเรียนไปด้วย อย่างตัวเราเองที่เรียนจบแล้ว แต่เราก็มีสิ่งที่ต้องทิ้งเพื่อมาเข้าวง ก็ต้องเป็นสิ่งที่ยอมแลก ก็ต้องถามตัวเองว่า เราสามารถยอมแลกเพื่อวงได้มั้ย ซึ่งถามเราเราก็ตอบได้ว่า ยอมได้ค่ะ (ยิ้ม)
• ทราบมาว่าบางคนในวงที่แบบว่า ไม่เคยผ่านการร้องและเต้นมาก่อนเลย
เฟม (สุธาสินี เอมทอง) : ถ้าถามจริงๆ เราก็เคยผ่านการร้องการเต้นมานะคะ แต่ว่าน้อย โดยส่วนตัวเรา จะชอบในการเต้นคัฟเวอร์ เพราะว่ามันน่ารัก ก็เลยมีการเต้นอะไรพวกนี้อยู่แล้ว แล้วเราก็เป็นคนที่ไม่ชอบอยู่เฉย เพราะว่าถ้าอยู่เฉย เรารู้สึกว่าชีวิตมันดูเปลืองและเปล่าประโยชน์มาก จะหาอะไรทำ นอกจากที่ตัวเองเล็งไว้ ตอนแรกก็คิดว่ามันจะง่าย แต่พอได้มาอยู่ในนี้จริงๆ ทุกอย่างที่เราสะสมมา ต้องโละทิ้งใหม่หมดทุกอย่าง ทั้งความคิดเราด้วย ที่เราคิดว่าเราเต้นได้แล้วก็ตาม เราก็จะถูกล้างทิ้งไปหมดเลยค่ะ เพราะคำว่า ไม่ได้เลย อย่างการอ่อนตัว หรือ การ Stressing (การฉีกขา) อะไรก็ตาม คือ ไม่ได้เลยเหมือนกับตะเข็บญี่ปุ่น ที่เหมือนง้างแต่ยังไม่สุดซะที ความรู้สึกอย่างงั้นเลย แล้วตัวก็แข็งมาก คือสรุป ทักษะพื้นฐานเราคือ ไม่มีเลย หรือเรื่องการร้อง เราไม่เคยเลยเช่นกัน พอได้มาเริ่ม ก็รู้สึกว่าค่อนข้างยาก เพราะว่าเราต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่นเยอะมาก แล้วพอเรามาทำการซ้อมในทุกสัปดาห์ ที่จะให้แบบร้องเดี่ยวในทีละคน เราก็รู้สึกว่ามันกดดันนะ เราเห็นเพื่อนๆ คนอื่นทำได้ แต่เรารู้สึกว่าเราเป็นคนเดียวที่ถูกจี้ซ้ำๆ จนเรารู้สึกว่า อยากจะให้ทันเหมือนคนอื่นซะที อย่างการเต้น เราจะเป็นคนเดียวที่เร็วกว่าจังหวะตลอด เราเป็นคนเดียวที่ไลน์เต้นไม่เหมือนคนอื่นตลอดเลย มันก็เลยรู้สึกว่า ต้องให้ทัน ต้องทำให้ได้ ถึงแม้ว่ามันจะยาก ช่วงนั้นเหมือนกับว่า ทนไม่ไหวแล้ว ถึงขนาดที่เรานั่งมอเตอร์ไซค์แล้วบ่นๆ ไปเองเลย นี่คือประสบการณ์หนึ่งที่ได้รับมาค่ะ
• ด้วยความที่น้องๆ เติบโตมาแบบหนึ่ง แล้วเราต้องมาเป็นต้นแบบในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ถือว่าปรับตัวค่อนข้างยากมั้ยครับ
มิวสิค (จิดาภา จงสืบพันธ์ : เซ็นเตอร์ของวง) : โดยส่วนตัวปกติ เราไม่ค่อยอินกับแนวไอดอลเท่าไหร่ จะไปในทางอาร์แอนด์บี หรือ ป็อป และร็อก มากกว่า แต่พอมีโอกาสได้มาอยู่ตรงนี้ มันก็ผิดจากที่คิดไว้นะคะ ที่ก่อนหน้านี้คิดว่าจะมีแค่ความน่ารัก แค่นั้น มันไม่ใช่เลยค่ะ มันต้องผ่านความเหนื่อย ความท้อแท้ อะไรมาด้วยกัน ไหนจะท่าเต้นที่ยากมากๆ เพราะมีสมาชิกตั้งเยอะ คือการเต้นคนเดียวมันก็ยากแล้ว แล้วนี่มี 13 คน จะต้องจับท่า จับไลน์องศามือให้พร้อมๆ กัน รวมถึงเรื่องของการร้อง อย่างของเรา จะไม่ค่อยร้องเพลงแนวญี่ปุ่นเลย แล้วเราก็เป็นคนที่เสียงหนา ก็ต้องมาทำเสียงให้แบ๊วกว่าเดิม
พาด้า (ปภาดา ตันติประสงค์ชัย) : ของเราก็คล้ายมิวสิคนะคะ ชอบร้อง ชอบเต้นอยู่แล้ว พอมาอยู่ตรงนี้ เราก็ต้องฝึกภาษาญี่ปุ่นเพิ่ม ซึ่งก่อนหน้านี้ เราจะชอบประกวดในแนวเกาหลี แล้วก็คิดว่า แบบญี่ปุ่นจะคล้ายๆ กันหรือเปล่า แต่พอมาฝึกแบบนี้จริงๆ เรารู้สึกว่าการร้องต้องมีเสียงสูงมาก ทำให้ฝึกยากมาก ก็เลยทำให้กดดันตัวเองนิดนึง แต่ตอนนี้พัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ ตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว
ซอนญ่า (ซอนญ่า ชิษนุชา ดอนเนลลี่) : คือด้วยความที่เราเป็นคนที่ดูอนิเมะญี่ปุ่นอยู่แล้ว เราก็เลยพอมีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นมาบ้าง แต่ที่ต้องปรับตัวเยอะคือ ด้านคาแรกเตอร์และโทนเสียง เพราะตอนที่เข้ามาแรกๆ หนูจะโดนล้อเรื่องเสียงบ่อยมาก เนื่องจากเราเป็นคนที่เสียงต่ำมากๆ ก็จะโดนล้อบ่อย แล้วเรื่องคาแรกเตอร์เราในตอนแรกๆ จะเป็นแบบว่า หน้านิ่งๆ ไม่ยิ้ม และไม่ค่อยคุยกับคนเท่าไหร่ ซึ่งเราก็คุยกับคนได้นะ เราก็ชวนคนอื่นคุยด้วยนะ แต่เราจะเป็นคนที่ว่าไม่เริ่มต้นคุยเท่าไหร่ เราเลยชอบอยู่คนเดียว ซึ่งพอเราเข้ากลุ่มมา ก็ต้องปรับตัวเรื่องเสียง และคาแรกเตอร์ ก็พยายามทื่จะยิ้มให้มากขึ้น แล้วต้องสละเวลาส่วนตัวเพื่อมาอยู่กับเพื่อนๆ ทุกคน อะไรประมาณนี้
• แน่นอนว่าด้วยคอนเซ็ปต์ที่เป็นการก้าวผ่านไปอีกสถานะหนึ่ง น้องๆ ให้คำนิยามนี้ยังไงบ้างครับ
นิ้ง (พิชชาภา กันตพิชญาธร) : เราเชื่อว่าเด็กสมัยนี้ มีความ multi-function ค่ะ สามารถทำ 2 อย่างได้พร้อมกัน ไม่ว่าจะเรียนหรือทำงานไปด้วย ก็เลยคิดว่าเรื่องนี้เราสามารถปรับตัวกันได้รวดเร็วอยู่แล้วค่ะ ถ้าเรามีความมั่นใจและอยากที่จะได้มันมากพอ
แอ๊นท์ : เราเชื่อว่าทุกคนไม่ได้มีความฝันแค่อย่างเดียวที่เราทำในชีวิตแน่นอน สมมติว่าถ้าเราเปลี่ยนจากเด็กวัยรุ่นปกติ มาเป็นคนของสาธารณะมากขึ้น แค่เราตั้งใจในสิ่งที่ทำ และมองในแง่บวกและมุมกว้างมากขึ้น ว่าการที่มาเป็นคนของประชาชน มันก็มีในแง่ดีที่เข้ามาในชีวิตเหมือนกัน ก็ต้องยอมรับและแลกกับสิ่งที่ดีและไม่ดี แต่เราก็เก็บไว้เป็นประสบการณ์ของเราดีกว่า อย่างน้องๆ บางคนที่ยังเรียนอยู่ แล้วพอได้เข้ามาทำงาน ก็มีความรับผิดชอบมากขึ้น ก็สร้างวุฒิภาวะโตมากขึ้น
แอนนี่ (อรรฆพร สร้อยสุข) : สำหรับตัวเราเองที่ยังเรียนอยู่ แล้วอายุที่ยังไม่ถึงขั้นนั้น เราก็อยากมีความคิดที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น เราคิดเสมอว่า ถึงแม้ว่า หนูจะอายุ 14 คนที่มองมาที่เรา ต้องไม่คิดว่าเราเก่งแล้ว ต้องคิดแบบว่า อายุ 14 ทำได้ขนาดนี้ดีมาก คือถ้าเขามองเราอย่างที่บอก เราก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาต่อใช่มั้ยคะ แต่ถ้าเขามองว่า เรายังพัฒนาได้อีก สำหรับเรา ก็จะเป็นอีกแบบ แต่ถ้าเป็นคำนิยามของการก้าวผ่านมาเป็นไอดอลจริงๆ เป็นคำที่ ถ้ามีเสียก็ต้องมีได้ คือถ้าเราต้องยอมเสียสละอย่างหนึ่งไป เราก็ได้รับโอกาส ได้รับประสบการณ์กลับคืนมา
• ตอนนี้ถือว่ากระแสของวงกำลังเริ่มมาทีละนิดๆ ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีมั้ย
เอ๋ (วาสนา พิมพ์จันทร์) : มันต้องดีค่ะ เพราะพวกเราก็เริ่มฝึกซ้อมมากๆ จริงๆ ที่เรามีการฝึกซ้อมร่วมกัน ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แล้วมีกระจกล้อมรอบ เราเห็นแค่พวกเรากันเอง ที่ซ้อมกันอยู่ทุกวัน จนเป็นปี จนมาถึงวันที่เราได้ออกมาโชว์ให้กับแฟนๆ ได้ดูจริงๆ ที่ต่างคนต่างรอคอย มันเป็นความรู้สึกที่บ่งบอกเป็นคำพูดไม่ได้นอกจากความสุขจริงๆ มันเป็นความรู้สึกที่เราอยากจะตอบแทนในสิ่งที่เขาหวังไว้ อยากจะทำให้เต็มที่ที่สุด ซึ่งพอมาเป็นกระแสที่เริ่มมีการตอบรับขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกดีใจค่ะ เริ่มจากพวกเรากันเอง จนเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วก็มีคนมาติดตามเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จริงๆ แค่มีคนติดตามเพิ่มแค่คนเดียว พวกเราก็ดีใจแล้วค่ะ แต่นี่คือขยายวงกว้างขึ้น มีคนเข้ามารู้จักเรามากขึ้น รวมถึงคนใหม่ๆ ด้วย เราก็มีความรู้สึกที่อยากจะตอบแทนอย่างที่บอก (ปรบมือ)
• สมมติว่า ถ้าให้พวกเราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ผ่านการเป็นไอดอล คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร
ซอนญ่า : เราอยากจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักธรรมชาติและสัตว์โลกค่ะ เพราะว่าปัจจุบันนี้สัตว์หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปมากๆ มันทำให้หนูเสียใจมากเลย ก็เลยอยากที่จะดูแลรักษาโลกเอาไว้ค่ะ และในเรื่องออกกำลังกายด้วยค่ะ (ยิ้ม)
เพชร : ถ้าเป็นเรา ขอเป็นปัญหาวัยรุ่นแล้วกัน ก็คือเหมือนกับว่า ปัญหาสังคมในปัจจุบันนี้ที่น่าเป็นห่วง ก็คือเรื่องปัญหายาเสพติดซึ่งประเทศไทยก็ให้ความสำคัญ แล้วก็เน้นปัญหานี้มากๆ และพยายามแก้ไขปัญหานี้มานานมากแล้ว ซึ่งเราก็อยากเป็นตัวแทนวัยรุ่น ที่อยากให้ทุกคนหันมาสนใจการออกกำลังกายมากกว่าที่จะไปหมกมุ่นในเรื่องต่างๆ เช่นเรื่องติดเกม หรืออะไรก็ตาม ซึ่งเรามองว่าอยากจะให้ความสำคัญที่สุดเลยค่ะ
แอ๊นท์ : มีเรื่องหนึ่งที่เราอยากเปลี่ยนแปลงมากๆ ค่ะ คือ เรื่องความไม่มั่นใจในตัวเอง เราอยากเปลี่ยนแปลงตรงนี้มาก เพราะบางคนคิดในสิ่งที่ถูก และเป็นความคิดที่สร้างสรรค์และดีมากๆ แต่เขาไม่กล้าที่จะบอก จะพูดออกไป หนูเลยจะบอกไว้เลยว่า การที่เราคิดและพูดออกไป เราก็จะได้คำแนะนำกลับมา แต่ถ้าเราไม่ยอมพูด มันก็จะไม่เกิดสิ่งใหม่ๆ ด้วยค่ะ ก็เลยอยากจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ เพราะเรารู้สึกว่า เด็กไทยจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าไหร่ จะเห็นได้จากการตอบคำถามในห้องเรียน เราเลยอยากจะเป็นตัวแทนในเรื่องความมั่นใจและกล้าแสดงออก เพื่อที่จะพัฒนาประเทศของเราด้วย คือในโลกมันก็มีสิ่งที่ผิดและถูกด้วย
• ความคาดหวังทั้งจากทีมงาน และตัวน้องๆ เอง คิดว่า ถ้าวงได้เข้าสู่วงกว้าง จะเป็นยังไงต่อครับ
บอย : ผมหวังว่าน้องจะไม่ยอมแพ้นะครับ และหวังว่าสิ่งที่เขาพยายามจะประสบความสำเร็จ และจะเป็นตัวอย่างให้น้องๆ อีกหลายคน เพราะว่าสิ่งที่พวกเขาทำมันหนักจริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลัง เนื่องจากทุกคนต้องใช้หน้าที่ให้สอดคล้องกัน เป็นฟันเฟืองเพื่อที่จะให้นาฬิกาหมุน ดังนั้นถ้าทุกคนไม่ทำงานเพื่อสอดประสานกัน มีคนใดคนหนึ่งเฟืองหักไป ก็จะทำให้นาฬิกาเรือนนั้นเดินไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาต้องทำงานกันอย่างหนัก และพร้อมเพรียงกันจริงๆ และอยากให้สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกเห็น ถ้าถูกเห็นแล้ว มันจะเป็นตัวอย่างของสังคมได้ที่จะอยู่ด้วยกันแบบสอดประสานเหมือนกับนาฬิกา ต่างคนต่างเป็นอะไหล่ซึ่งกันและกัน
วิม : ในส่วนของผมเอง เราก็เห็นว่า น้องๆ ก็เสียสละมาขนาดนี้แล้ว ระยะเวลาก็ผ่านไปแค่ 2 ปี แต่ว่าผมก็อยากจะให้ทุกคนมีความฝันของตัวเอง พวกเราสามคน ก็ทำได้แค่ว่า ให้พวกเขาเข้าไปในความฝันได้ใกล้ขึ้น ที่เหลือก็อยู่ที่ความสามารถและความตั้งใจของตัวเอง ก็ขอให้น้องๆ ตั้งใจ และก็ให้ไปถึงกับน้องๆ ทุกคนดีกว่า
ไก่ : ก็อยากจะให้ทุกคนเปิดรับดูครับ ใครที่ไม่รู้จักก็ลองเปิดรับดู แล้วก็ให้น้องๆ เข้าไปทำงานในจิตใจดู อย่างเราเองเวลาที่ได้ดูทุกครั้งมันเกิดพลัง มันเกิดความสดชื่น สดใส มีหลายอย่างในชีวิตขึ้นมา ซึ่งตัวน้องๆ เอง ก็ถือว่ามีพลังงานที่ดีในการผลักดันชีวิตของเราส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็มาเติมความรู้สึกดีๆ กับ Sweat 16 ครับ
พราวด์ (ปัทมาริษา ปัดภัย) : สำหรับเรา ก็อยากให้ทั้งวัฒนธรรมแบบนี้ รวมถึงวงเรา และสมาชิกทุกคนเป็นที่รู้จักในประเทศไทย และต่างประเทศด้วยค่ะ (ยิ้ม)
มิ้น : ในส่วนของเราเอง อยากจะให้วงไปไกลที่สุดเท่าที่จะได้เนอะ แล้วก็อยากจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทุกคน และก็อยากจะเป็นจุดเริ่มต้นของความฝันทุกๆ คน เพราะเราเชื่อว่า น่าจะมีหลายๆ คนที่เป็นเหมือนกัน ว่าอยากจะเป็นเหมือนกับคนที่เราชื่นชอบ เราก็อยากจะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับเขาได้ค่ะ
แอ๊นท์ : อยากให้สมาชิกทุกคนประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังไว้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไหนก็ตาม ไม่ใช่เป็นแค่ไอดอลที่เราเป็นอยู่ อาจจะเป็นตามที่แต่ละคนได้ฝันไว้ อยากให้ทุกคนประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นๆ ให้ทุกคนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น แล้วก็อยากให้ทุกคนรู้จักเรามากขึ้นค่ะ และทุกคนที่ติดตามพวกเราอยู่ ก็คอยให้กำลังใจพวกเราด้วยนะคะ (ยิ้ม)
• ช่วยเล่าถึงที่มาที่ไป ทั้งรูปแบบ และการจัดการ หน่อยครับ
วิม (มโนพิโมกษ์ : ประธาน บ.โยชิโมโต้ เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ ไทยแลนด์) : ในส่วนของผมก่อนแล้วกัน ที่มาที่ไปคือ เมื่อ 2 ปีก่อน เราได้มาทำการออดิชั่นคัดเลือกในโครงการ Asia Star Audition คือเราได้รับโจทย์จากทางบริษัท Yoshimoto ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของญี่ปุ่น แล้วก็ร่วมกับทางรัฐบาลญี่ปุ่นด้วย ในแง่ที่ว่า เราอยากจะทำไอดอล กรุ๊ป ในเมืองไทย เพื่อส่งเสริมทางคอนเทนต์ของญี่ปุ่นในประเทศไทย จากนั้น เราก็ได้มาทำการคัดเลือก ตอนนั้นน่าจะประมาณ 1200 คนได้ จนเหลือประมาณ 22 คน ในช่วงแรก แล้วเรามาฝึกฝน แต่ในระหว่างทาง ก็มีที่ไม่ไหวก็จากไป จากนั้น เราก็ได้คุณครูจากญี่ปุ่นมา ซึ่งคุณครูคนนี้ก็เคยสอนทาง AKB48 และ NMB48 มาก่อนอยู่แล้ว เราได้ครูมาทุก 2 อาทิตย์ แล้วได้มาฝึกซ้อมร้อง คือสมาชิกในวันเสาร์-อาทิตย์ มีแต่ในห้องซ้อมอย่างเดียว มาประมาณ 1 ปี มีโอกาสได้มาเปิดตัวตอนเดือนตุลาคม เมื่อปีที่แล้ว
บอย (โกสิยพงษ์ : ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ ของ Swaet16!) : ซึ่งก็ถือว่าเป็นความอึดที่อึดจริงๆ เพราะว่ากว่าเขาจะมาแสดงแบบนี้ได้ ซ้อมเต้น แล้วเหงื่อไม่ออกมาเนี่ยนะครับ (หัวเราะ) เพราะว่านั่นหมายความว่าร่างกายเขาฟิตมาก ก็ต้องอาศัยความอดทนและความพยายามมากจริงๆ เพราะว่าแต่ละคนก็มาจากพื้นฐานที่ไม่เท่ากันด้วย เพียงแต่ว่าทุกคนเก่งหมดเลย บางคนก็ถนัดเต้น บางคนก็ถนัดร้องเพลง หรือบางคนไม่ถนัดทั้ง 2 อย่างเลยก็มี แต่ก็เป็นจุดประกายอย่างหนึ่งว่า คนเราก็สามารถทำได้ถ้าตั้งใจ ซึ่งอย่างที่บอกว่า น้องๆ ใช้เวลา 1 ปี ฉะนั้นน้องๆ ก็ต้องใช้เวลาด้วย ใช้ความอึดด้วย
วิม : ณ ตอนนั้น ทางเราเองก็ยังโดดเดี่ยว แล้วพอมาถึงจุดหนึ่ง ผมก็มีความรู้สึกว่า เป็นเด็กไทย มีท่าเต้น แต่ร้องเพลงญี่ปุ่น เราก็เลยมีความรู้สึกว่า อาจจะไม่ได้ไปไกล ผมก็เลยชวนพี่บอยและพี่ไก่มาร่วมกัน มาสร้างสิ่งสิ่งนี้ด้วยกัน ในการเอาเพลงญี่ปุ่นมาคัฟเวอร์เป็นเพลงไทย
บอย : คือรูปแบบของ Sweat16! เป็นการสร้างขึ้นมาเอง จะเป็นรูปแบบที่ส่งเสริมในเรื่องการมีสุขภาพดี ทั้งเรื่องการออกกำลังกาย เรื่องการรักษาหน้าที่ของตัวเอง เป็นลูกที่ดี เป็นนักเรียนที่ดี เป็นคนทำงานที่ดี ดังนั้นเราก็จะปรับเปลี่ยนทุกอย่างให้มันเหมาะสมให้เข้ากับสภาพสังคมไทย ดังนั้นในเรื่องเพลงก็เช่นกัน เราก็จะแต่งให้อยู่ในกรอบนี้
วิม : อย่างจุดดีของเราก็คือ เราอาจจะไม่ได้เหมือนกับทางญี่ปุ่นมากนัก อย่างวงเราก็จะคิดระบบของเราเอง มีคอนเซ็ปต์และทางบริษัทแม่คุยกัน ว่าอยากจะให้มาอยู่ในกรอบนี้ ก็พยายามทำอะไรในกรอบนี้ แต่ว่าเราก็เข้าใจว่า ทางเลิฟอิสเองก็มีภาพพจน์ตลาดว่าเป็นแบบไหนอยู่แล้ว แล้วเราก็อยากจะให้อยู่ในกลิ่นของเลิฟอิสด้วย สรุปคือเป็นเลิฟอิสผสมญี่ปุ่นประมาณนั้นครับ
• ในด้านดนตรี อยากให้เสริมข้อมูลเพิ่มเติมหน่อยครับ
ไก่ (สุธี แสงเสรีชน : เอ็กเซกคิวทีฟ โปรดิวเซอร์ ของ Sweat16!) ในส่วนของเรื่องเพลง ใน 2 ซิงเกิลที่ออกไป (เพลง วิ่ง และเพลง มุ้งมิ้ง) เราใช้ทำนองของทางญี่ปุ่น จากการที่น้องๆ ได้ฝึกซ้อมกันมาตลอด แล้วเราก็มาใช้ในไทย เพราะฉะนั้นเนี่ย ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของน้องๆ และได้โชว์ศักยภาพที่เขาฝึกมาตลอดด้วย ก็เป็นสิ่งที่เราทำมา ทีนี้อย่างที่คุณวิมบอก เราก็จะมีการทำเพลงที่เป็นต้นฉบับของเราเอง ให้มีความผสมๆ กัน ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นอันนี้ก็เป็นจุดหลักอย่างหนึ่งด้วย ถ้าถามว่าในส่วนของภาคดนตรีมีความยากมั้ย คือในทุกอย่างมันก็มีความยากนะ แต่ในจริงๆ แล้ว น้องๆ ก็ชัดเจนว่าเป็นวงสไตล์ป็อปแต่เราอาจจะมีการเพิ่มเติมในบีตที่ทำให้เขาเต้นได้ หรืออย่างเพลงซึ้งๆ เราก็มี แต่เดี๋ยวคงได้ฟังกัน (หัวเราะ)
• มันเหมือนกับว่า วัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้เริ่มกลับมาสู่วัฒนธรรม Pop Culture หลักในบ้านเราด้วยมั้ยครับ
วิม : จริงๆ แล้ว วัตถุประสงค์หลักที่ทาง yoshimoto เข้ามาในเมืองไทย ก็คือว่า เราก็อยากให้กระแส J-Pop หรือ Japan Culture กลับมา เพราะว่า เมืองไทยมีในเรื่อง K-Pop มานาน อย่างน้องๆ หลายคนที่เข้ามานี่คือ พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ แต่พูดภาษาเกาหลีได้เต็มเลย ตอนออดิชั่นมา นี่คือท่าเต้นแบบเคป็อปมากๆ เลย แต่ผมก็คิดว่า ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ดี ที่ไม่ว่าจะเป็นไอดอลก็ดี หรือ กิจกรรมอีเวนต์ต่างๆ แล้วคนไทยก็สนใจในเรื่องญี่ปุ่นมากขึ้น นอกจากเรื่องอาหารกับเรื่องเที่ยวแล้ว ก็มีด้านนี้ด้วย ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี แล้วผมคิดว่า สิ่งที่ทั้งทางเราได้จับมือกับทางเลิฟอิสเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เรานำด้านการทำเพลงของเลิฟอิส มาผสมผสานกับทางญี่ปุ่นด้วย ซึ่งใครจะไปรู้ว่า อาจจะมีศิลปินในทางเลิฟอิส เอง อาจจะได้ไปร่วมงานกับทางญี่ปุ่นก็ได้
ไก่ : โดยส่วนตัวผม ผมดีใจมากนะ เพราะว่า อย่างคนรุ่นเราทั้ง 3 คน เราโตมากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นทั้งหมดเลย ช่วงนั้นก็จะมีไอดอลญี่ปุ่นเยอะมากนะครับ ทั้ง Shonentai (วงบอยแบนด์ ทศวรรษที่ 1980) หรืออะไรต่างๆ หรือจะเป็นผ่านเพลง anime song เมื่อก่อนเราก็ร้องเพลงญี่ปุ่นนะ
บอย : ผมขอเสริมนะครับ คือด้วยวิธีการนำเข้ามา มันจะเป็นสร้างเข้ามา เพื่อเป็นความร่วมมือมากกว่าจะแค่ส่งออก หรือนำเข้า ผมเลยคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สมดุลดี ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นแต่ฝ่ายนำเข้าอย่างเดียว ซึ่งจะต่างจาก Dojo City ที่จะเป็นคนละรูปแบบ เพราะจะเป็นสไตล์แบบสาวข้างบ้าน
• ด้วยรูปแบบลักษณะอย่างงี้ ถือว่ายากและท้าทายมั้ยครับ ที่นำเข้ามาสู่วัฒนธรรมแบบไทยๆ
วิม : ถ้าถามว่ายากมั้ย ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ยากทั้งนั้น ยากจากอะไร น้อง 13 คน บางคนก็ไม่มีพื้นฐานเลย ต้องมาฝึกซ้อม ต้องรับอารมณ์ร้องไห้ รับอารมณ์ดีใจ ให้น้องๆ ได้เข้าใจว่า ในการฝึกซ้อมของญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ยาก คือมันเป็นสิ่งอะไรใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่สังคมไทย มันก็ยากอยู่แล้ว บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไมต้องมีการจัดการแบบนี้ มันก็เป็นสิ่งที่ยาก แต่ผมคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นการท้าทายนะครับ ขนาดน้อง 13 คน ที่พยายามมาทั้งปี หมายถึงว่า เขาก็เสียสละเวลาของเขา เทไปกับตรงนี้ แล้ววันธรรมดาก็กลับไปเป็นนักเรียนที่ดี ไปเป็นลูกที่ดี ไปเป็นพนักงานที่ดี เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ถ้าเทียบกับน้องๆ ที่เหนื่อยแล้ว เราก็คิดว่า จะทำได้มากกว่านี้
บอย : ผมว่ามันสนุกดีนะครับ การสร้างรูปแบบเอง แล้วก็มีคนเอารูปแบบนี้ไปใช้ มันเป็นเรื่องที่น่าชื่นใจดี แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะเดียวกัน มันก็เป็นเรื่องที่เราอยากจะพยายามด้วย
ไก่ : ผมก็คิดว่ามันก็น่าจะเป็นการจุดประกายในหลายๆ อย่างด้วยนะครับ การมีรูปแบบนี้ อย่างน้อยที่สุด เด็กๆ หรือคนรุ่นใหม่ก็ได้รู้ว่าศิลปิน หรือคนที่อยากแสดงออกอะไรก็ตาม สามารถที่จะได้รู้ว่า มาร่วมกันตรงนี้ได้ แล้วก็มาแสดงความสามารถ แล้วเราก็ได้มีสตาร์หรือศิลปินคนใหม่ต่างๆ ขึ้นมา คือน้องๆ อาจจะไม่ได้มีแค่ร้อง เต้น แต่อาจจะมีการพัฒนาในด้านอื่นๆ เช่น การแสดง หรือต่างๆ ก็จะเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นมา และสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความฝันให้กับเด็กๆ ด้วย
• ซึ่งก็ถือว่าเป็นบทสะท้อนอย่างหนึ่งด้วยว่า เทรนด์การออกกำลังกายกำลังมา แต่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เข้าใจต่อการมีชีวิตอยู่
วิม : ตั้งแต่ที่เราสร้างรูปแบบนี้ขึ้นมา เราก็มองว่า กลุ่มแฟนคลับมักจะอยู่ในกลุ่มที่สนใจแต่โลกออนไลน์ ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เราก็คิดว่า ตรงนี้แหละ เราอยากที่จะเปลี่ยนนะ ว่าให้ออกมาสนุก ออกมาออกกำลังกายกับวง ให้มาเหงื่อออกด้วยกัน ผมว่าเทรนด์นี้มันก็มาแล้วล่ะ แต่ว่า เราจะชักชวนคนที่ขี้เกียจมาร่วมกับเรายังไง ซึ่งตรงนี้เป็นรูปแบบที่เราพยายามทำ คือสมมติว่า ถ้าน้องๆ มาปลุกคุณให้ออกกำลังกายในทุกวัน แล้วมาเต้นกับคุณ จะทำยังไงบนโลกออนไลน์ ไม่ใช่ว่าคุณดูอย่างเดียวแล้วน้องเต้นอย่างเดียว ไม่ใช่อย่างงั้น แต่จะให้มาเต้นไปพร้อมๆ กัน ด้วยกัน
บอย : อย่างสมมติว่า ถ้าคุณได้สมัครสมาชิกกับทางวงแล้ว ก็อาจจะมีน้องคอยเคาะมาที่โทรศัพท์ของคุณว่า 1 ชั่วโมงแล้ว มาขยับร่างกายบ้าง แล้วเรามาขยับร่างกายพร้อมๆ กัน ซึ่งถ้ามีทุกครั้งที่ทำ ก็จะถูกเก็บคะแนน แต่คุณต้องถือโทรศัพท์ไปด้วยนะ ซึ่งคะแนนเหล่านั้นก็สามารถแลกคะแนนมาดูน้องๆ ที่เธียเตอร์ได้ แล้วการเข้ามาเธียเตอร์ ก็ไม่ใช่ว่ามานั่งดูนะครับ ต้องมาออกกำลังกายไปด้วย
วิม : ซึ่งในเรื่องเธียเตอร์ แน่นอนว่าจะต้องมีแหละ แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าจะมีอยู่ที่เดียว เพราะเรามีแค่ 13 คนเอง สามารถไปได้หมด อย่างไอเดียของพี่บอยที่ว่า เราก็พยายามที่จะไม่อยู่กรุงเทพฯ อย่างเดียว เราคิดว่าจะไปหัวเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเราคิดว่าให้แฟนคลับมาร่วมสนุกกับเราได้ หรือ อาจจะมีน้องๆ ไปเยี่ยมที่โรงเรียนด้วย (หัวเราะ) อีกด้านหนึ่งก็จะมีการร่วมมือในการคุยกันอยู่ เราก็ยังเลือกอยู่ว่าจะไปแนวไหน เป็นสถานที่ที่ตั้งเป็นการแสดงที่ขยับแข้งขยับขาได้ เพราะคนดูต้องขยับด้วย คือเหมือนกับว่า เราไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วแฟนคลับจะต้องมาที่นั่น เพราะว่าถ้าเราอยู่เฉยๆ อาจจะมีแบบว่ามาบ้าง ไม่มาบ้าง เพราะฉะนั้น เอาอย่างงี้เราจะไปหาเอง แล้วให้คุณมาออกกำลังกับเรา แล้วก็น้องๆ อาจจะมีเล่นกีฬาประเภทอื่นๆ บ้าง ประมาณนั้น
• ในส่วนของสมาชิกที่ ต่างคน ต่างที่มา อยากให้น้องๆ ช่วยพูดถึงอุปสรรคระหว่างที่ผ่านมาว่าเป็นยังไงกว่าที่จะมาตรงนี้ได้
แอ๊นท์ (วรินดา เนินเพิ่มพิสุทธิ์ : กัปตันของวง) : จริงๆ อุปสรรคก็มีหลายๆ เรื่องค่ะ เพราะว่าพวกเราก็อยู่กันหลายคนใช่มั้ยคะ อาจจะมีทั้งเรื่องเวลาที่พวกเรามาซ้อมกัน รวมไปถึงปัญหาต่างๆ โดยส่วนตัวของแต่ละคน แต่ว่าเราก็พยายามที่จะพูดคุยกัน และปรึกษากันว่า เราควรจะทำยังไงกันดีในแต่ละเรื่อง ก็คือพยายามแก้ไขปัญหาด้วยกัน ร่วมกันทั้งหมด เพื่อให้พวกเราได้ก้าวหน้าขึ้นไปในแต่ละสเต็ป และพวกเราก็ให้กำลังใจกันเอง เพราะพวกเราก็ผ่านความเหนื่อยยาก ความท้อต่างๆ ทั้งเครียด กดดัน เราผ่านมาด้วยกันหมดทุกรูปแบบเลยค่ะ พวกเราก็คอยแบบว่า ต้องจับมือสู้กันนะ เราจะต้องผ่านจุดนี้ไป เพื่อจะให้พวกเราประสบความสำเร็จ แบบที่พวกเราหวังไว้ เอาเป็นว่า ถ้ามี Sweat16 เราก็ฝ่าทุกอุปสรรคได้ (ยิ้มสวย)
• มันเหมือนกับว่า เราวางตัวตนของตัวเองไว้ชั่วครู่ แล้วมาเป็นในลักษณะนี้ด้วยมั้ยครับ
เพชร (พรรษา บุณยะกลัมพ) : จริงๆ มันไม่ใช่ว่าเราทิ้งตัวตนเพื่อที่จะมาเป็น Sweat นะคะ แต่การเป็น Sweat คือ เราทุกคนเป็นตัวเองค่ะ แต่เราเหมือนกับว่า ให้ทุกคนมารักในแบบที่เราเป็น ซึ่งเราก็พร้อมที่จะมอบความสุขให้กับทุกคน
มิ้น (ทสมา เทศน์ธรรม) : ใช่ค่ะ คือเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้คนมาชอบเรา คือเราก็ต้องเป็นตัวเองอยู่แล้ว เพราะว่าเราต้องมีหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ใช่เป็นแค่ไอดอล การเต้น การร้อง แต่เราก็มีหน้าที่ในเรื่องเรียน หรือว่าทุกคนก็ต้องทำงาน เป็นลูกที่ดี
• แน่นอนว่า นอกจากข้อจำกัดอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ยังมีข้อจำกัดอื่นอีกมั้ยครับ ที่คิดว่าเราต้องแลกมันมา
พิม (พิม ขจรเวคิน) : สำหรับพิมและทุกคน คิดว่าน่าจะมีข้อจำกัดอย่างหนึ่ง คือ ข้อจำกัดที่เรียกว่า ค่าเสียโอกาสค่ะ คือการที่เรามาอยู่ในจุดนี้ เราต้องแลกอะไรหลายๆ อย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น อย่างเรื่องการเรียน ซึ่งตัวเราเอง สมมติว่าไม่ได้อยู่วง เราก็มีความฝันว่า จะไปขอทุนเรียนต่อที่ญี่ปุ่นค่ะ แต่ในเมื่อเราเลือกมาแล้ว เราตั้งใจทำ เราก็รู้สึกว่า ข้อจำกัด เราสามารถก้าวผ่านมันไปได้ เวลาที่เรามีความฝัน ซึ่งความฝันของเราอย่างหนึ่ง ก็คือได้มาเป็นไอดอล และการที่ได้ส่งความสุขให้กับทุกๆ คน เราเลยรู้สึกว่า ข้อจำกัดเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ต้องผ่านไปให้ได้
ม่านมุก (ชดาธาร ด่านกุล) : โดยส่วนตัวเรา จริงๆ ก็คล้ายๆ พิม นะคะ เพราะว่าการที่เรามาอยู่ตรงนี้ เราก็ต้องเสียในสิ่งตัวเองรักและทำอยู่ อย่างเช่น อย่างน้องๆ ที่เรียนอยู่ อาจจะเสียเวลาที่จะได้ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ หรืออาจจะเสียช่วงชีวิตในวัยเรียนไปด้วย อย่างตัวเราเองที่เรียนจบแล้ว แต่เราก็มีสิ่งที่ต้องทิ้งเพื่อมาเข้าวง ก็ต้องเป็นสิ่งที่ยอมแลก ก็ต้องถามตัวเองว่า เราสามารถยอมแลกเพื่อวงได้มั้ย ซึ่งถามเราเราก็ตอบได้ว่า ยอมได้ค่ะ (ยิ้ม)
• ทราบมาว่าบางคนในวงที่แบบว่า ไม่เคยผ่านการร้องและเต้นมาก่อนเลย
เฟม (สุธาสินี เอมทอง) : ถ้าถามจริงๆ เราก็เคยผ่านการร้องการเต้นมานะคะ แต่ว่าน้อย โดยส่วนตัวเรา จะชอบในการเต้นคัฟเวอร์ เพราะว่ามันน่ารัก ก็เลยมีการเต้นอะไรพวกนี้อยู่แล้ว แล้วเราก็เป็นคนที่ไม่ชอบอยู่เฉย เพราะว่าถ้าอยู่เฉย เรารู้สึกว่าชีวิตมันดูเปลืองและเปล่าประโยชน์มาก จะหาอะไรทำ นอกจากที่ตัวเองเล็งไว้ ตอนแรกก็คิดว่ามันจะง่าย แต่พอได้มาอยู่ในนี้จริงๆ ทุกอย่างที่เราสะสมมา ต้องโละทิ้งใหม่หมดทุกอย่าง ทั้งความคิดเราด้วย ที่เราคิดว่าเราเต้นได้แล้วก็ตาม เราก็จะถูกล้างทิ้งไปหมดเลยค่ะ เพราะคำว่า ไม่ได้เลย อย่างการอ่อนตัว หรือ การ Stressing (การฉีกขา) อะไรก็ตาม คือ ไม่ได้เลยเหมือนกับตะเข็บญี่ปุ่น ที่เหมือนง้างแต่ยังไม่สุดซะที ความรู้สึกอย่างงั้นเลย แล้วตัวก็แข็งมาก คือสรุป ทักษะพื้นฐานเราคือ ไม่มีเลย หรือเรื่องการร้อง เราไม่เคยเลยเช่นกัน พอได้มาเริ่ม ก็รู้สึกว่าค่อนข้างยาก เพราะว่าเราต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่นเยอะมาก แล้วพอเรามาทำการซ้อมในทุกสัปดาห์ ที่จะให้แบบร้องเดี่ยวในทีละคน เราก็รู้สึกว่ามันกดดันนะ เราเห็นเพื่อนๆ คนอื่นทำได้ แต่เรารู้สึกว่าเราเป็นคนเดียวที่ถูกจี้ซ้ำๆ จนเรารู้สึกว่า อยากจะให้ทันเหมือนคนอื่นซะที อย่างการเต้น เราจะเป็นคนเดียวที่เร็วกว่าจังหวะตลอด เราเป็นคนเดียวที่ไลน์เต้นไม่เหมือนคนอื่นตลอดเลย มันก็เลยรู้สึกว่า ต้องให้ทัน ต้องทำให้ได้ ถึงแม้ว่ามันจะยาก ช่วงนั้นเหมือนกับว่า ทนไม่ไหวแล้ว ถึงขนาดที่เรานั่งมอเตอร์ไซค์แล้วบ่นๆ ไปเองเลย นี่คือประสบการณ์หนึ่งที่ได้รับมาค่ะ
• ด้วยความที่น้องๆ เติบโตมาแบบหนึ่ง แล้วเราต้องมาเป็นต้นแบบในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ถือว่าปรับตัวค่อนข้างยากมั้ยครับ
มิวสิค (จิดาภา จงสืบพันธ์ : เซ็นเตอร์ของวง) : โดยส่วนตัวปกติ เราไม่ค่อยอินกับแนวไอดอลเท่าไหร่ จะไปในทางอาร์แอนด์บี หรือ ป็อป และร็อก มากกว่า แต่พอมีโอกาสได้มาอยู่ตรงนี้ มันก็ผิดจากที่คิดไว้นะคะ ที่ก่อนหน้านี้คิดว่าจะมีแค่ความน่ารัก แค่นั้น มันไม่ใช่เลยค่ะ มันต้องผ่านความเหนื่อย ความท้อแท้ อะไรมาด้วยกัน ไหนจะท่าเต้นที่ยากมากๆ เพราะมีสมาชิกตั้งเยอะ คือการเต้นคนเดียวมันก็ยากแล้ว แล้วนี่มี 13 คน จะต้องจับท่า จับไลน์องศามือให้พร้อมๆ กัน รวมถึงเรื่องของการร้อง อย่างของเรา จะไม่ค่อยร้องเพลงแนวญี่ปุ่นเลย แล้วเราก็เป็นคนที่เสียงหนา ก็ต้องมาทำเสียงให้แบ๊วกว่าเดิม
พาด้า (ปภาดา ตันติประสงค์ชัย) : ของเราก็คล้ายมิวสิคนะคะ ชอบร้อง ชอบเต้นอยู่แล้ว พอมาอยู่ตรงนี้ เราก็ต้องฝึกภาษาญี่ปุ่นเพิ่ม ซึ่งก่อนหน้านี้ เราจะชอบประกวดในแนวเกาหลี แล้วก็คิดว่า แบบญี่ปุ่นจะคล้ายๆ กันหรือเปล่า แต่พอมาฝึกแบบนี้จริงๆ เรารู้สึกว่าการร้องต้องมีเสียงสูงมาก ทำให้ฝึกยากมาก ก็เลยทำให้กดดันตัวเองนิดนึง แต่ตอนนี้พัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ ตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว
ซอนญ่า (ซอนญ่า ชิษนุชา ดอนเนลลี่) : คือด้วยความที่เราเป็นคนที่ดูอนิเมะญี่ปุ่นอยู่แล้ว เราก็เลยพอมีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นมาบ้าง แต่ที่ต้องปรับตัวเยอะคือ ด้านคาแรกเตอร์และโทนเสียง เพราะตอนที่เข้ามาแรกๆ หนูจะโดนล้อเรื่องเสียงบ่อยมาก เนื่องจากเราเป็นคนที่เสียงต่ำมากๆ ก็จะโดนล้อบ่อย แล้วเรื่องคาแรกเตอร์เราในตอนแรกๆ จะเป็นแบบว่า หน้านิ่งๆ ไม่ยิ้ม และไม่ค่อยคุยกับคนเท่าไหร่ ซึ่งเราก็คุยกับคนได้นะ เราก็ชวนคนอื่นคุยด้วยนะ แต่เราจะเป็นคนที่ว่าไม่เริ่มต้นคุยเท่าไหร่ เราเลยชอบอยู่คนเดียว ซึ่งพอเราเข้ากลุ่มมา ก็ต้องปรับตัวเรื่องเสียง และคาแรกเตอร์ ก็พยายามทื่จะยิ้มให้มากขึ้น แล้วต้องสละเวลาส่วนตัวเพื่อมาอยู่กับเพื่อนๆ ทุกคน อะไรประมาณนี้
• แน่นอนว่าด้วยคอนเซ็ปต์ที่เป็นการก้าวผ่านไปอีกสถานะหนึ่ง น้องๆ ให้คำนิยามนี้ยังไงบ้างครับ
นิ้ง (พิชชาภา กันตพิชญาธร) : เราเชื่อว่าเด็กสมัยนี้ มีความ multi-function ค่ะ สามารถทำ 2 อย่างได้พร้อมกัน ไม่ว่าจะเรียนหรือทำงานไปด้วย ก็เลยคิดว่าเรื่องนี้เราสามารถปรับตัวกันได้รวดเร็วอยู่แล้วค่ะ ถ้าเรามีความมั่นใจและอยากที่จะได้มันมากพอ
แอ๊นท์ : เราเชื่อว่าทุกคนไม่ได้มีความฝันแค่อย่างเดียวที่เราทำในชีวิตแน่นอน สมมติว่าถ้าเราเปลี่ยนจากเด็กวัยรุ่นปกติ มาเป็นคนของสาธารณะมากขึ้น แค่เราตั้งใจในสิ่งที่ทำ และมองในแง่บวกและมุมกว้างมากขึ้น ว่าการที่มาเป็นคนของประชาชน มันก็มีในแง่ดีที่เข้ามาในชีวิตเหมือนกัน ก็ต้องยอมรับและแลกกับสิ่งที่ดีและไม่ดี แต่เราก็เก็บไว้เป็นประสบการณ์ของเราดีกว่า อย่างน้องๆ บางคนที่ยังเรียนอยู่ แล้วพอได้เข้ามาทำงาน ก็มีความรับผิดชอบมากขึ้น ก็สร้างวุฒิภาวะโตมากขึ้น
แอนนี่ (อรรฆพร สร้อยสุข) : สำหรับตัวเราเองที่ยังเรียนอยู่ แล้วอายุที่ยังไม่ถึงขั้นนั้น เราก็อยากมีความคิดที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น เราคิดเสมอว่า ถึงแม้ว่า หนูจะอายุ 14 คนที่มองมาที่เรา ต้องไม่คิดว่าเราเก่งแล้ว ต้องคิดแบบว่า อายุ 14 ทำได้ขนาดนี้ดีมาก คือถ้าเขามองเราอย่างที่บอก เราก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนาต่อใช่มั้ยคะ แต่ถ้าเขามองว่า เรายังพัฒนาได้อีก สำหรับเรา ก็จะเป็นอีกแบบ แต่ถ้าเป็นคำนิยามของการก้าวผ่านมาเป็นไอดอลจริงๆ เป็นคำที่ ถ้ามีเสียก็ต้องมีได้ คือถ้าเราต้องยอมเสียสละอย่างหนึ่งไป เราก็ได้รับโอกาส ได้รับประสบการณ์กลับคืนมา
• ตอนนี้ถือว่ากระแสของวงกำลังเริ่มมาทีละนิดๆ ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีมั้ย
เอ๋ (วาสนา พิมพ์จันทร์) : มันต้องดีค่ะ เพราะพวกเราก็เริ่มฝึกซ้อมมากๆ จริงๆ ที่เรามีการฝึกซ้อมร่วมกัน ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แล้วมีกระจกล้อมรอบ เราเห็นแค่พวกเรากันเอง ที่ซ้อมกันอยู่ทุกวัน จนเป็นปี จนมาถึงวันที่เราได้ออกมาโชว์ให้กับแฟนๆ ได้ดูจริงๆ ที่ต่างคนต่างรอคอย มันเป็นความรู้สึกที่บ่งบอกเป็นคำพูดไม่ได้นอกจากความสุขจริงๆ มันเป็นความรู้สึกที่เราอยากจะตอบแทนในสิ่งที่เขาหวังไว้ อยากจะทำให้เต็มที่ที่สุด ซึ่งพอมาเป็นกระแสที่เริ่มมีการตอบรับขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกดีใจค่ะ เริ่มจากพวกเรากันเอง จนเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วก็มีคนมาติดตามเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จริงๆ แค่มีคนติดตามเพิ่มแค่คนเดียว พวกเราก็ดีใจแล้วค่ะ แต่นี่คือขยายวงกว้างขึ้น มีคนเข้ามารู้จักเรามากขึ้น รวมถึงคนใหม่ๆ ด้วย เราก็มีความรู้สึกที่อยากจะตอบแทนอย่างที่บอก (ปรบมือ)
• สมมติว่า ถ้าให้พวกเราสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ผ่านการเป็นไอดอล คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร
ซอนญ่า : เราอยากจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักธรรมชาติและสัตว์โลกค่ะ เพราะว่าปัจจุบันนี้สัตว์หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปมากๆ มันทำให้หนูเสียใจมากเลย ก็เลยอยากที่จะดูแลรักษาโลกเอาไว้ค่ะ และในเรื่องออกกำลังกายด้วยค่ะ (ยิ้ม)
เพชร : ถ้าเป็นเรา ขอเป็นปัญหาวัยรุ่นแล้วกัน ก็คือเหมือนกับว่า ปัญหาสังคมในปัจจุบันนี้ที่น่าเป็นห่วง ก็คือเรื่องปัญหายาเสพติดซึ่งประเทศไทยก็ให้ความสำคัญ แล้วก็เน้นปัญหานี้มากๆ และพยายามแก้ไขปัญหานี้มานานมากแล้ว ซึ่งเราก็อยากเป็นตัวแทนวัยรุ่น ที่อยากให้ทุกคนหันมาสนใจการออกกำลังกายมากกว่าที่จะไปหมกมุ่นในเรื่องต่างๆ เช่นเรื่องติดเกม หรืออะไรก็ตาม ซึ่งเรามองว่าอยากจะให้ความสำคัญที่สุดเลยค่ะ
แอ๊นท์ : มีเรื่องหนึ่งที่เราอยากเปลี่ยนแปลงมากๆ ค่ะ คือ เรื่องความไม่มั่นใจในตัวเอง เราอยากเปลี่ยนแปลงตรงนี้มาก เพราะบางคนคิดในสิ่งที่ถูก และเป็นความคิดที่สร้างสรรค์และดีมากๆ แต่เขาไม่กล้าที่จะบอก จะพูดออกไป หนูเลยจะบอกไว้เลยว่า การที่เราคิดและพูดออกไป เราก็จะได้คำแนะนำกลับมา แต่ถ้าเราไม่ยอมพูด มันก็จะไม่เกิดสิ่งใหม่ๆ ด้วยค่ะ ก็เลยอยากจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ เพราะเรารู้สึกว่า เด็กไทยจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าไหร่ จะเห็นได้จากการตอบคำถามในห้องเรียน เราเลยอยากจะเป็นตัวแทนในเรื่องความมั่นใจและกล้าแสดงออก เพื่อที่จะพัฒนาประเทศของเราด้วย คือในโลกมันก็มีสิ่งที่ผิดและถูกด้วย
• ความคาดหวังทั้งจากทีมงาน และตัวน้องๆ เอง คิดว่า ถ้าวงได้เข้าสู่วงกว้าง จะเป็นยังไงต่อครับ
บอย : ผมหวังว่าน้องจะไม่ยอมแพ้นะครับ และหวังว่าสิ่งที่เขาพยายามจะประสบความสำเร็จ และจะเป็นตัวอย่างให้น้องๆ อีกหลายคน เพราะว่าสิ่งที่พวกเขาทำมันหนักจริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลัง เนื่องจากทุกคนต้องใช้หน้าที่ให้สอดคล้องกัน เป็นฟันเฟืองเพื่อที่จะให้นาฬิกาหมุน ดังนั้นถ้าทุกคนไม่ทำงานเพื่อสอดประสานกัน มีคนใดคนหนึ่งเฟืองหักไป ก็จะทำให้นาฬิกาเรือนนั้นเดินไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาต้องทำงานกันอย่างหนัก และพร้อมเพรียงกันจริงๆ และอยากให้สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกเห็น ถ้าถูกเห็นแล้ว มันจะเป็นตัวอย่างของสังคมได้ที่จะอยู่ด้วยกันแบบสอดประสานเหมือนกับนาฬิกา ต่างคนต่างเป็นอะไหล่ซึ่งกันและกัน
วิม : ในส่วนของผมเอง เราก็เห็นว่า น้องๆ ก็เสียสละมาขนาดนี้แล้ว ระยะเวลาก็ผ่านไปแค่ 2 ปี แต่ว่าผมก็อยากจะให้ทุกคนมีความฝันของตัวเอง พวกเราสามคน ก็ทำได้แค่ว่า ให้พวกเขาเข้าไปในความฝันได้ใกล้ขึ้น ที่เหลือก็อยู่ที่ความสามารถและความตั้งใจของตัวเอง ก็ขอให้น้องๆ ตั้งใจ และก็ให้ไปถึงกับน้องๆ ทุกคนดีกว่า
ไก่ : ก็อยากจะให้ทุกคนเปิดรับดูครับ ใครที่ไม่รู้จักก็ลองเปิดรับดู แล้วก็ให้น้องๆ เข้าไปทำงานในจิตใจดู อย่างเราเองเวลาที่ได้ดูทุกครั้งมันเกิดพลัง มันเกิดความสดชื่น สดใส มีหลายอย่างในชีวิตขึ้นมา ซึ่งตัวน้องๆ เอง ก็ถือว่ามีพลังงานที่ดีในการผลักดันชีวิตของเราส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็มาเติมความรู้สึกดีๆ กับ Sweat 16 ครับ
พราวด์ (ปัทมาริษา ปัดภัย) : สำหรับเรา ก็อยากให้ทั้งวัฒนธรรมแบบนี้ รวมถึงวงเรา และสมาชิกทุกคนเป็นที่รู้จักในประเทศไทย และต่างประเทศด้วยค่ะ (ยิ้ม)
มิ้น : ในส่วนของเราเอง อยากจะให้วงไปไกลที่สุดเท่าที่จะได้เนอะ แล้วก็อยากจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับทุกคน และก็อยากจะเป็นจุดเริ่มต้นของความฝันทุกๆ คน เพราะเราเชื่อว่า น่าจะมีหลายๆ คนที่เป็นเหมือนกัน ว่าอยากจะเป็นเหมือนกับคนที่เราชื่นชอบ เราก็อยากจะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับเขาได้ค่ะ
แอ๊นท์ : อยากให้สมาชิกทุกคนประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังไว้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไหนก็ตาม ไม่ใช่เป็นแค่ไอดอลที่เราเป็นอยู่ อาจจะเป็นตามที่แต่ละคนได้ฝันไว้ อยากให้ทุกคนประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นๆ ให้ทุกคนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น แล้วก็อยากให้ทุกคนรู้จักเรามากขึ้นค่ะ และทุกคนที่ติดตามพวกเราอยู่ ก็คอยให้กำลังใจพวกเราด้วยนะคะ (ยิ้ม)