“ดร.นิพนธ์” แจง “เอเอสทีวี” เป็นทีวีดาวเทียม จัดอยู่ในประเภท “ไม่ใช้คลื่นความถี่” จึงไม่น่าเข้าข่ายแพร่ภาพผิดตาม พ.ร.บ. วิทยุโทรทัศน์ 2498 อีกทั้งเมื่อปี 2549 ศาลปกครองเคยตัดสินให้ “เอเอสทีวี” ชนะคดีกรมประชาฯ ที่สั่ง กสท ระงับบริการ พร้อมให้ใช้ค่าเสียหาย 1.2 แสน ชี้ ถ้าดำเนินการไม่ถูก ศาลปกครองไม่น่ามีอำนาจสั่งการดังกล่าว ลั่นงง แต่เคารพการตัดสินของศาลอุทธรณ์
วันนี้ (19 ก.ค.) ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ “News Hour” ทางช่องนิวส์วัน ถึงกรณีที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม พร้อม 2 ผู้บริหารมีความผิดตาม พ.ร.บ. วิทยุโทรทัศน์ 2498 จากการที่ “เอเอสทีวี” แพร่ภาพผ่านระบบดาวเทียมช่วงปี 48 - 49 โดยให้จำคุกผู้บริหารคนละ 1 ปี 4 เดือน พร้อมปรับเงิน 6 หมื่น และปรับเป็นรายวันอีกวันละ 2 พันบาท
คำต่อคำ : รายการ “News Hour”
พิธีกร- สวัสดีครับ ขอถามเรื่องข้อเท็จจริงข้อกฎหมายในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งสัญญานแพร่ภาพของ ASTV ในช่วงปี 2548 - 2549 ซึ่งกลายมาเป็นคดีตอนนั้นมีการขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรครับ ขอทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนะครับ
ดร.นิพนธ์- ผมว่าอันนี้มันคงต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มต้นเลย มันมีข้อเท็จจริงพัฒนามาโดยตลอด มันเริ่มตั้งแต่สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่แรกนะ มันคือสถานีโทรทัศน์การศึกษาทางไกล ตั้งแต่ปี 2538 ส่วนของเราเขาเรียกฟรีทีวีผ่านดาวเทียม พวกนี้เรามาเริ่มปี 2545 นี้เป็นพวกบันเทิงนะครับ ต่อมาทางเนชั่นมีปัญหาเนชั่นก็มาเปิดปี 2546 ASTV มีปัญหาก็มาเปิดปี 2547 อันนี้ตามๆ กันมา พอปี 2547 คนมาดูทางนี้มากขึ้น ก็เริ่มมาเป็น 10 ช่อง 100 ช่อง เป็น 700 ช่อง ทุกวันนี้หลังจากมีระเบียบอะไรกันมากๆ มันก็เหลือ 300 ช่อง และถ้าถามว่า ASTV ดาวเทียมมันทำกันอย่างไร ก็เริ่มจากคนรับจ้างทำรายการก่อน หรือเจ้าของจะทำเองก็แล้วแต่เมื่อทำรายการแล้วต้องมอบให้กับคนที่ไปทำช่องทำรายการ ซึ่งเป็นคนเชื่อมเอาไปขึ้นดาวเทียม ไอ้คนที่ทำรายการนะ อาจเป็นคนทำ หรืออาจจะไปเช่าเวลาก็ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้จะเป็นคนเดียวหรือ 2 คน ASTV นะ เข้าเรื่องนะครับเริ่มจากรับจ้างทำรายการครั้งแรกก็ทำให้ช่อง 11/1 พวก ASTV คงจำกันได้นะครับและไปออกอากาศทาง UBC ใช่ไหม ต่อมาเป็นทรู ตอนนั้น UBC ก็ไม่ให้ทำ เราก็ทำ ASTV ก็ทำ ก็ส่งให้เอเชียทำ ทางฮ่องกง อันนี้คือขั้นตอนการทำงาน ถ้าถามว่าผิด พ.ร.บ.วิทยุโทรทัศน์ 2498 หรือไม่ เรื่องนี้ ผมไม่อยู่ในวิสัยที่จะออกความเห็น มันเป็นเรื่องของศาลว่าอย่างไรก็ว่ากันไป แต่เท่าที่ผมรู้และผมเคยสอนลูกศิษย์มาผมเริ่มสอนตามหลักฐานที่มีเริ่มตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ตั้งในนั้นมีอยู่ 3 มาตรา ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาตรา 40 กล่าว ถึงคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ อีกมาตราหนึ่ง 37 การตรวจจับกันหรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารทำไม่ได้เว้นแต่มีกฎหมายความมั่นคงแบบมาตรา 44 นี้ และมาตรา 39 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารจำกัดไม่ได้ สั่งปิดไม่ได้ ตรวจสอบก่อนไม่ได้ เว้นแต่อยู่ในภาวะสงคราม ดังนั้น ผู้บริหาร ASTV เหมือนผู้บริหารสื่ออื่นๆ ทั่วไป ให้ออกรายการได้ เข้าไปเซ็นเซอร์ไม่ได้ ผู้ที่ออกรายการต้องรับผิดชอบเอง เจ้าของสื่อจะผิดก็ตรงที่ยอมให้เขามาออก หรือผ่านเจ้าหน้าที่ของสื่อ มักจะถูก ที่ผ่านๆ มาคดีคือถูกหางเลขนะครับ ต้องออกค่าเสียหาย นี่คือ สิ่งที่ผ่านมา แต่หลังจากมีรัฐธรรมนูญ 2540 ประกาศใช้แล้วเนี่ย ไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาศึกษาเรื่องนี้นะครับ เพราะฉะนั้นไอความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.วิทยุโทศน์ พ.ศ. 2498 ซึ่งถูกปฏิรูปโดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ไปแล้ว มันไม่สอดคล้องกันเท่าไหร่ แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มันสอดคล้องกับ 2550 มีเนื้อหาคล้ายๆ กัน
นอกจากนี้แล้ว หลังปี 2550 มันก็มี พ.ร.บ. ประกอบกิจการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ 2551 ออกมากำกับ อันนี้น่าสนใจแล้วนะครับ น่าสนใจตรงนี้ พ.ร.บ. 2551 เขียนไว้ว่าการให้บริการโทรทัศน์มี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 ใช้คลื่นความถี่ คือ 3 5 7 9 อนาล็อก หรือดิจิตอลทีวี ช่องที่มีปัญหาอยู่ 20 กว่าช่องนั้นคือประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 ประเภทที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ พวกเคเบิลทีวี พวกดาวเทียม เราอยู่ในพวกดาวเทียมกันใช่ไหมครับ อันนี้ชัดยิ่งกว่านั้นไปอีก เมื่อมี กสทช. ขึ้นมา กสทช.มีประกาศขึ้นมาอีก ประกาศเรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ พุทธศักราช 2555 ในข้อ 5 เขาระบุไว้อย่างนี้ครับ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตมี 2 แบบ แบบที่ 1 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ แบบที่ 2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใบประกอบกิจการรายปี ASTV ไม่เคยเสียค่าธรรมเนียมในการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ และจะมีเรื่องความผิดตรงไหน แต่ ASTV เสียค่าธรรมเนียมอนุญาตใบประกอบกิจการรายปี ที่เราติดกันอยู่นี้ล่ะครับ ที่เป็นข่าว ASTV ติดอยู่ เพราะฉะนั้นในเมื่อ ASTV หรือโทรทัศน์จ่ายเฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการรายปี มันก็น่าจะไม่ใช้คลื่นความถี่ ไม่น่าจะไปเกี่ยวกับ พ.ร.บ. วิทยุ ตั้งแต่ปี 2498 ถูกไหมครับ หมายความว่า ไม่ใช้คลื่นความถี่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 ดังนั้น จะติดสินว่าเราใช้คลื่นความถี่ตรงค่าหรือเปล่า ถ้าบอกว่าใช้ ผมก็งง ผมก็ไปไม่ถูกเหมือนกัน เพราะผมไม่ได้เรียนกฎหมาย เพราะผมเรียนสื่อสาร ผมวิพากษ์วิจารณ์ศาลก็ไม่ได้ เพราะเราต้องเคารพการตัดสินของศาล อันนี้คือสิ่งที่ผมคิดว่าผมจะพูดให้เข้าใจกันหมด
พิธีกร- ตอนที่มีการฟ้อง ASTV นะครับฟ้องการแพร่ภาพช่วง เดือนกันยายน 2548 ถึง เดือนภุมภาพันธ์ 2549
ดร.นิพนธ์ - กันยา 2548 ถึง กุมภา 2549 มันหลังจากรัฐธรรมนูญปี 2540 นะครับ เพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวกับปี 2498 แต่ 2540 เป็นต้นมาไม่มีหน่วยงานของรัฐฯ หรือหน่วยงานใดมาอธิบายว่าใช้คลื่นความถี่จะมีความผิดอย่างไร เราก็ใช้ 3 4 7 ร้อยช่อง หลังจาก 2547 อธิบายว่า ทีวีมี 2 แบบ แบบที่ 1 มี 2 อย่าง เสียทั้งแบบใช้คลื่นความถี่ หรือทั้งใบอนุญาต ใช้แบบทีวี ASTV เสียอย่างเดียวคือ แบบประกอบกิจการรายปี เพราะฉะนั้นคลื่นความถี่เราไม่ได้เสีย ไม่ได้แปลว่าเราไม่ได้อยู่ในคลื่นความถี่ของชาติ ไม่รู้นะว่าใครงง หรือผมงงนะ แต่นี้คือเรื่องที่ผมเห็น อาจจะมีข้อกฎหมายมากกว่านี้
พิธีกร- การที่ ASTV ตอนนั้น โดยไทยเดย์ ด็อท คอม รับจ้างเอเชียไทมส์ออนไลน์ คือผลิตรายการให้เอเชียไทมส์ออนไลน์
ดร.นิพนธ์- เอาอย่างนี้ เอเชียไทมส์ออนไลน์ คือ ตัวที่รายการทั้ง 24 ชั่วโมง ASTV อาจจะไปออกทั้ง 24 ชั่วโมง เขาซื้อไป อะไรก็แล้วแต่ หรือ ASTV อยู่ต่อแค่ 18 ชั่วโมง เดี๋ยวมีบริษัทอื่นมาเช่าอีก 6 ชั่วโมง ก็เท่ากับว่า มันไม่ใช่เป็นเรื่อง ASTV มันเป็นเรื่องของ เอเชียไทมส์ออนไลน์ ที่ฮ่องกง
พิธีกร- ทีนี้ โดยขั้นตอนในการออกอากาศ ASTV ส่งสัญญาณภาพและเสียง ผ่านเคเบิลใยแก้วที่เช่าจาก กสท ถูกไหมครับ
ดร. นิพนธ์- ใครๆ เช่าได้ ไม่เกี่ยวกับคลื่นความถี่
พิธีกร- แล้วก็ส่งข้อมูลสัญญาณภาพและเสียงนั้นไปที่ฮ่องกง เราก็ส่งได้ ใครๆ ก็ส่งได้ เวลานี้ เราก็ส่งอะไรต่อมิอะไร ส่งไลน์ข้ามประเทศกันก็ได้ แล้วก็ส่งสัญญาณสาดลงมา กลับมาประเทศไทย
ดร. นิพนธ์- ส่งสัญญาณสาดลงมา กลับมาประเทศไทย เราก็ถามว่า แล้วมันเป็นกฎหมายไทยหรือเปล่า บังเอิญตอนนั้น ASTV เป็นสัญญาณ NSS6 ไม่ใช่ดาวเทียมของไทย แม้กระทั่งสัญญาณที่ลงมาก็เป็นสัญญาณระดับนานาประเทศ ไม่ใช่สัญญาณของไทย ไม่ได้เกี่ยวกับคลื่นของชาติเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปปิดอันนี้ เราก็ต้องไปปิดอีก 40 - 50 สัญญาณดาวเทียม ที่เป็นของนานาชาติ ถ้าของไทยก็คือไทยคม ไทยคม 1 - ไทยคม 8 คนละเรื่อง
พิธีกร- คือเขาฟ้องว่าเราส่งสัญญาณแบบนี้ โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผิดตาม พ.ร.บ. 2498
ดร. นิพนธ์- สัญญาณอะไรล่ะครับ
พิธีกร- การที่ส่งสัญญาณภาพและเสียงผ่านเคเบิลของ กสท และขึ้นไปที่ NSS6
ดร. นิพนธ์- ไปผ่านเคเบิลของ กสท มันตัดสินไปเรียบร้อยแล้ว เราเนี่ย รู้สึกว่า ASTV เป็นคนไปฟ้องกรมประชาสัมพันธ์กับ กสท. เราได้รับค่าปรับมา 1 แสนบาท ผมยังเอาตรงนี้ไปสอนลูกศิษย์เลย ASTV ชนะคดีเขามา ปิดเราโดยไม่มีอำนาจปิด
พิธีกร- เพราะฉะนั้นยืนยันว่าวิธีการส่งสัญญาณของ ASTV ช่วง 48 - 49 ตามที่่ว่ามา ผ่าน NSS6 แล้วสาดสัญญาณกลับมายังประเทศไทย อันนนี้ก็ถือว่าเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย
ดร. นิพนธ์- คือ ผมตอบไม่ได้ ต้องไปดูที่เขาตัดสิน ทำไมเขาให้เงิน ASTV มา 1 แสน ต้องไปดูตรงนั้น แล้วผมจำคำพูดชัดๆ ไม่ได้ แค่ห้ามเราส่งสัญญาณไปฮ่องกง รู้สึกจะ 3-5 วัน จำไม่ได้ แล้วเสียหาย ซึ่งศาลปกครองให้เราส่งและต่อมา มีการฟ้องร้องกัน เราก็ฟ้องร้องจะเอาบาท หรือ จะเอาแสน และ ASTV ก็ไปฟ้อง 1 แสน เข้าใจกรมประชาสัมพันธ์เป็นคนจ่าย
พิธีกร- เข้าใจว่าจะไปอ้างอิงศาลปกครองตรงนั้นด้วย ตอนนั้นศาลปกครองกลางให้กรมประชาสัมพันธ์เพิกถอนคำสั่ง ให้ กสท ระงับบริการดาวเทียมกับ ASTV เพิกถอนคำสั่ง กสท ระงับบริการ ASTV และชดใช้ค่าเสียหาย 1 แสน 2 หมื่นบาท ถ้าการดำเนินการตรงนี้ ไม่ถูกขั้นตอนกฎหมาย ศาลปกครองก็ไม่น่าจะมีอำนาจในการสั่งดังที่ว่านี้
ดร. นิพนธ์- ถูกต้อง อันนี้เราไม่ใช่ศาลนะ ต้องให้ศาลไปว่ากันเอง ตกลงใครถูก แต่ว่า ผมก็มีแบ็คอัพทางศาลปกครอง ทุกวันนี้ เราก็ไม่เสียค่าคลื่นความถี่ ASTV และดาวเทียมทุกช่องไม่เคยเสียค่าคลื่นความถี่ แต่เราเสียค่าใบอนุญาตจ้างให้เขามาดูเราทุกปีๆ 2 เปอร์เซ็นต์
พิธีกร- ว่ากันด้วยข้อเท็จจริงตรงนี้ก่อน