หากใครพอจะติดตามแวดวงภาพยนตร์อยู่บ้าง ก็คงอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากับบทบาทเด็กหนุ่มผู้ถูกรีไทร์จากมหาวิทยาลัย ผู้มาใช้ชีวิตแรงงานใน “มหา’ลัย เหมืองแร่” ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี และถือได้ว่า เป็นภาพจดจำติดตัวสำหรับ บี-พิชญะ วัชจิตพันธ์ จนยากลืมเลือนไปด้วย
ในอีกมุมหนึ่ง พิชญะ ก็มีความชอบและความสนใจส่วนตัวในพืชไม้อวบน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชจำพวกกระบองเพชรที่อาจจะใช้คำว่าคลั่งไคล้ก็ว่าได้ ซึ่งจากความชอบส่วนตัวนี่เอง ที่ทำให้เขาได้ต่อยอดไปสู่กิจการเล็กๆ จนสามารถเลื่อนขั้นไปสู่แหล่งเพาะพันธุ์พืชสวยงามชนิดดังกล่าวได้ด้วยตนเอง
• คุณสนใจพืชลักษณะนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
จริงๆ เราชอบมันมาตั้งแต่เด็ก และชอบหมดทุกอย่างที่เป็นต้นไม้ แล้วเราก็ลองปลูกมาทุกอย่าง ทั้งต้นเฟิร์น ต้นสับปะรดสี หรือ บอนไซ แต่เราก็ทำมันตายไปเรื่อยๆ เลี้ยงเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง จนถึงเวลาที่เราจะต้องไปต่างประเทศ ก็ไม่ค่อยได้ดูแลแล้ว ต้นไม้ที่เราปลูกไว้ก็เริ่มทยอยตายกันไป ทีนี้ก็ยังมีแต่พืชแคคตัสที่ยังอยู่รอดได้ เราเห็นแล้วก็รู้สึกว่ามันก็ทนดีนะ จนตอนไปเรียนและอาศัยอยู่ที่อเมริกาประมาณ 10 ปี เราก็ไปเห็นพืชแคคตัสแปลกๆ ประเทศไทยเรามีอยู่ไม่กี่แบบ แต่ที่นั่นมีความหลากหลาย มันยิ่งใหญ่อลังการมาก ไปดูพืชอวบน้ำต้นใหญ่ๆ ที่นั่น แล้วก็ไปดูสวนที่นั่น ไปดูงานโชว์ จนยิ่งไปกันใหญ่ บ้าไปเลย เพราะความหลากหลายมันสูง
ทีนี้ ผมไปเรียนด้านพืชอยู่แล้ว ก็ได้ไปคลุกคลีทำงาน เป็นคนสวนบ้าง ก็เลยได้อยู่กับต้นไม้ ได้อยู่กับพืชแคคตัส ก็เลยซื้อๆ เก็บไว้ เอากลับมาลองปลูกดูว่าในเมืองไทยมันปลูกได้มั้ย ซึ่งพืชบางตัวก็ตาย บางตัวก็ปลูกไม่ได้ หรือบางตัวก็ง่ายกว่าที่นู่น ก็เลยเริ่มมาโฟกัสที่พืชแบบนี้ เพราะว่ามันไม่ต้องดูแลอะไรเยอะ แล้วก็ไม่ต้องใช้พื้นที่อะไรมาก สมมติว่าผมไม่อยู่หลายๆ เดือน ผมก็ฝากแม่บ้านที่บ้านให้ดูแลไว้ ก็ไม่ต้องดูแลเอง ซึ่งก็มีตายบ้าง แต่ก็อยู่มาได้จนเรากลับ แล้วเราก็หาตัวใหม่ๆ มาเรื่อยๆ พอมันเริ่มเยอะ ประจวบเหมาะกับว่าผมเรียนจบและกลับมา เราก็เลยมาสร้างโรงเรือนที่นี่ เพราะว่าตอนนั้นมีที่ของครอบครัว ทิ้งไว้นานมากแล้ว ก็ซื้อไว้แล้วมาขอเขาใช้ มาทำที่ตรงนี้ไว้เป็นโรงเรือน ตอนแรกก็หลังเดียว สักพักก็ขยาย (หัวเราะเบาๆ) ขยายโรงเรือนขึ้นมาเรื่อยๆ จนตรงนี้เต็มแล้ว
• คุณชอบและหลงใหลอะไรในพืชลักษณะนี้ครับ
ผมว่ามันคือความแปลกด้วยแหละ และรูปทรงของมัน เพราะพืชแคคตัสมันไม่เหมือนต้นไม้ บางทีหน้าตามันดูแบบศิลปะ ดูเหมือนเป็นงานศิลป์อะไรซักอย่าง หรือว่าหน้าตาเป็นเอเลี่ยน ก็ดูแล้วแปลกดี ซึ่งมันก็เป็นพืชที่อวบน้ำกลุ่มหนึ่งนะ และมีความหลากหลายมาก สมมติว่าเราเล่นกล้วยไม้ เราก็มีความสุขกับการดูดอกมัน ออกดอกเสร็จมันก็มีความสุขอยู่ช่วงหนึ่ง พอดอกมันโรย เราก็เห็นแต่ต้นเขียวๆ เต็มบ้าน แล้วเราก็ต้องรอดอกใหม่ออก แต่พืชแคคตัสมันต่างตรงที่ว่า เรามีความสุขกับมันได้ตลอด เรามอง เราซื้อมาวางปุ๊บ มันก็สวยอยู่ของมันตลอด แถมบางต้นมีพิเศษตรงที่ดอกสวยอีกต่างหาก คือมันมีอะไรให้เราดูได้ไม่เบื่อ แล้วรูปทรงมันก็ไม่น่าเบื่อด้วย
• และแน่นอนว่า ตอนที่เริ่มเล่นใหม่ๆ ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร
ตอนนั้นเขามีแบบ พืชแคคตัสที่ขายมานานแล้วอยู่บางตัวที่เห็นกันบ่อยๆ นะครับ เช่น ถังทอง นิ้วทอง หรือ ดาวล้อมเดือน ซึ่งเป็นพืชแคคตัสที่โบร่ำโบราณก็ว่าได้ หรือถ้าที่เห็นทั่วไปที่เอามาขายตามสวนต่างๆ อย่าง Gymnocalycium ซี่งมีมานานมากแล้ว ทีนี้มันก็มีบางเจ้าที่เขานำเข้ามาแบบตัวแปลกๆ ที่เราไม่เคยเห็น มาจำหน่ายให้เราเห็น บวกกับที่เราไปเองด้วย มันก็เลยสนุก ได้เห็นความหลากหลาย แล้วตอนนั้นคนที่เล่นจริงจังก็มีไม่เยอะ เล่นกันเฉพาะกลุ่ม ก็เล่นไปเรื่อยๆ นะ ในตอนนั้น
• ความแตกต่างของสภาพอากาศระหว่างเมืองไทยกับอเมริกา ต่อพืชแคคตัส เป็นยังไงครับ
ถ้าเป็นในช่วงนั้น ผมอยู่ในรัฐหลักๆ 2 ที่ คือ เวอร์จิเนีย กับ แคลิฟอร์เนีย ทีนี้อากาศก็ไม่เหมือนกันแล้ว เพราะประเทศมันใหญ่มาก ตอนอยู่รัฐแรก เรารู้สึกว่า การเลี้ยงพืชแบบแคคตัสมันไม่ง่ายเลย แล้วพอเข้ามหาวิทยาลัยก็เลยเลือกที่จะย้ายไปอยู่ฝั่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีอากาศที่เหมาะกับการเลี้ยงแล้ว ทีนี้มันก็เหมือนกับว่า อากาศที่นั่นมันเป็นแหล่งกำเนิดของพืชชนิดนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นที่ที่แห้ง อากาศหน้าร้อนมันแห้งมาก แล้วหน้าฝนก็จะตกในบางช่วงเท่านั้น แล้วถ้ายิ่งเราขับรถลงใต้ไปแถวลอส แองเจลิส หรือซานติอาโก แถวนั้นนี่คือเป็นชนบทของแคคตัสเลย พอออกไปนอกเมืองก็เป็นทะเลทรายแล้ว เราก็จะได้เห็นพืชทะเลทรายต่างๆ ซึ่งนอกจากแคคตัส เราก็เห็นต้นไม้ทนแล้งแบบอื่นด้วย แถมสภาพแวดล้อมมันดีมาก แล้วผมชอบอากาศแบบนั้น เพราะอยู่แล้วมันสบาย ไม่อบอ้าวเหมือนบ้านเรา ซึ่งเมืองไทยจะเป็นอากาศที่อาบน้ำเรียบร้อยพอเดินไปปากซอยจะเหงื่อโชกแล้ว (หัวเราะเบาๆ) แต่อยู่ที่นั่น คือมันร้อนนะ แต่มันร้อนแบบแห้ง คือเราหลบร่ม แต่มันก็เย็น กลางคืนนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย คือมันหนาวเย็นเลย ใส่เสื้อหนาว แต่ว่ากลางวันนี่คือร้อนอบอุ่น
ทีนี้ พืชแคคตัสจะชอบอุณหภูมิที่สมดุลต่างกันมาก ง่ายๆ ก็คือ กลางวันอาจจะร้อน กลางคืนอาจจะหนาวเลยก็ได้ นี่แหละคืออากาศที่ดีมาก ผมถึงบอกเลยว่าในกรุงเทพฯ เนี่ย ไม่ใช่อากาศที่ดีเลยสำหรับการเลี้ยงสิ่งนี้ ฉะนั้นคนที่จะเลี้ยงก็ต้องมีใจรักที่ชอบมาก มันไม่ใช่แบบทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วคนเล่นก็อีกแบบ ซึ่งตอนนั้น เมืองไทยก็เล่นไม่หลากหลายนะ เรื่องสปีชีส์ก็ไม่หลากหลาย แต่ว่าที่นั่นเขาเล่นหลายสปีชีส์และเล่นกันมานานแล้ว เล่นมาเป็นร้อยๆ ปี ฉะนั้น ความหลากหลายมันต่างจากเราเยอะ ยิ่งเขาอยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติ เขาก็มีตัวแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เล่นอยู่เรื่อยๆ นักพฤกษศาสตร์จากทั่วโลกก็บินไปดู พูดง่ายๆ คือ เมืองไทยก็ยังตามเขาอยู่ ไปซื้อจากอเมริกาบ้าง ไปซื้อจากญี่ปุ่นบ้าง เข้ามาทดลองเลี้ยง เข้ามาทดลองว่าจะดีมั้ยในบ้านเรา ซึ่งหลายๆ ตัวก็เลี้ยงไม่ได้ หลายตัวก็เลี้ยงได้
• พอลงรายละเอียดลึกลงไป แล้วด้วยข้อจำกัดที่คุณว่ามา ถือว่าเป็นโจทย์ยากและท้าทายประมาณนั้นมั้ยครับ
ท้าทายนะ เพราะว่าทุกวันนี้ก็ทำต้นไม้ตายเป็นเบือเลย ซึ่งผมเชื่อว่าทุกสวนก็ต้องเจอ เป็นเรื่องปกติครับ เพราะพอเจออากาศแบบนี้ปุ๊บ ก็จะเจอเรื่องโรค เชื้อราที่จะมาในช่วงหน้าฝน ใบแดง เพลี้ย หนูแทะ หนอนมากิน เยอะไปหมด มันเป็นความท้าทาย ฉะนั้น ใครมาเล่นก็ต้องเจอแบบนี้แหละ ส่วนที่เจอหายนะบ่อยๆ ก็คงชินแหละ จริงๆ นะ มันหนักมาตลอดครับ ทุกวันนี้ก็ยังมี ด้วยความที่เราเล่นต้นไม้ที่มีความหลากหลายสูง แล้วแต่ละสปีชีส์ก็จะเจอปัญหาที่ไม่เหมือนกันด้วย
สมมติว่าเราเล่นพืชแคคตัส บางชนิดโดนไรแดงเล่นงาน บางชนิดอาจจะโดนเพลี้ยแป้งเล่นงาน แล้วบางชนิดก็จะเจอเพลี้ยที่เรามองไม่เห็นอยู่ในราก และบางชนิดก็เน่าง่าย แบบนึกจะเน่าก็เน่าเลย หรือบางต้นที่เลี้ยงมา 10 กว่าปีแล้ว กำลังสวยเลย อยู่ๆ ก็เน่าเฉยเลย ก็เลยต้องทำใจแบบปลงๆ นิดหนึ่งเวลาเลี้ยงต้นไม้แบบนี้ มันก็อยู่กับเราได้ถึงจุดหนึ่งนะ คือมันก็มีชีวิตของมัน คือมันจะไปหรือเราจะไปก่อนก็ไม่รู้ ออกแนวปลงชีวิต แต่มันก็ดีนะ พอเราเล่นพวกนี้ เราก็เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งต่างกับช่วงใหม่ๆ มันจะเสียดาย ประเด็นคือเสียดายเงินนี่แหละ (หัวเราะเบาๆ) แต่ถ้าเลี้ยงนานๆ เราจะเสียดายเวลาที่เราผูกพันกับมันเป็น 10 ปี
แต่บางชนิดก็คือหาใหม่ไม่ได้แล้ว อาจจะเป็นแบบว่าเหลือแค่ต้นเดียวในบ้าน และอาจจะหามาสำรองได้ แล้วมันดันตายไป ก็คือสูญพันธุ์ไปเลย แล้วไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน เพราะว่าบางชนิด เคยมีลูกค้าคนหนึ่งเขาเข้ามาซื้อแล้วก็มาเลี้ยง เนื่องจากในสวนเขาตายหมดแล้ว และไม่สามารถหาได้ในแหล่งธรรมชาติแล้ว ซึ่งโชคดีที่เราได้เก็บพันธุ์นั้นไว้ กลายเป็นว่าช่วยชีวิตต้นมันไว้ได้
• กลายเป็นว่าพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ก็เป็นประเด็นใหญ่เลยนะครับ
อย่างในอเมริกาก็จะมีปัญหาในเรื่องอากาศที่มีความหนาวผิดปกติ ซึ่งทำให้ทำลายทั้งสวนได้ ทีนี้ถ้ามันเกิดจากสวนแห่งไหนก็ตาม เท่ากับว่าต้นไม้ที่เกิดมีที่เดียวจะสูญพันธุ์ไปหมด แล้วบังเอิญบางตัวที่เราได้มันมาก่อนเกิดเรื่อง จึงทำให้สปีชีส์นั้นยังไม่สูญหายไป ก็ยังอยู่ที่เรา ทำให้เขาสามารถกลับมาซื้อจากเราได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของการปลูกนะ ผมมองว่าถ้านักอนุรักษ์บอกว่าต้นไม้ควรอยู่กับป่า ไม่ควรมาปลูก แต่ผมกลับมองว่าถ้าเอาต้นไม้จับมาปลูกและจับมันมาขยายพันธุ์ทดแทนออกไป มันก็เป็นการอนุรักษ์อีกทางหนึ่ง คือหนึ่ง เราลดจำนวนที่จะไปเก็บในป่า สอง เราก็อนุรักษ์ในแบบของเรา คือมันไม่ต้องสูญสิ้นไป พูดง่ายๆ ว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นในป่า สมมติว่าป่าถูกเผาทิ้งหรือถูกทำลายล้างไป หลายๆ อย่างก็ยังคงอยู่
แล้วในสวนของผมก็จะเน้นการขยายพันธุ์ไปทางนี้ ผมไม่ค่อยเน้นการนำเข้ามาขาย เพราะโดยพื้นฐานแล้ว เราไม่ใช่พ่อค้าไง ไม่ได้ชอบการค้าขายเลย ที่ขายอยู่ทุกวันนี้เพราะว่าเลี้ยงชีพจากสิ่งที่เราขยายพันธุ์ได้ คือเราทำได้ และมีจำนวนพอที่จะเอาไปแบ่งให้คนอื่นได้ด้วย ผมมองแบบนี้มากกว่า ผมไม่เคยมองว่ามันเป็นธุรกิจที่เราต้องขายให้มันได้กำไรเยอะๆ อย่างงั้นมันไม่ใช่ เราขายที่เราแบบว่าให้พอมี ถ้าเรามีเกิน เราก็ขายไป ก็แค่นั้นเอง ซึ่งทุกวันนี้ต้นไม้มันก็เลี้ยงเราน่ะครับ แค่เราดูแลและขยายพันธุ์มัน พอมันขายได้ มันก็เลี้ยงเรา มันก็อยู่ได้ คือไม่ได้รวยอะไรมาก แต่มันเป็นธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียน เอามาซื้อต้นไม้ใหม่เล่นไปวันๆ ได้ (หัวเราะเบาๆ) แต่ก็ไม่ได้รวยอู้ฟู่ขนาดนั้น
• เท่ากับว่า การเริ่มธุรกิจแบบนี้ มันมาจากความไม่ตั้งใจ ประมาณนั้น
ผมว่ามันเหมือนกับที่เขาบอก คือถ้าเราทำอะไร อย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง เหมือนกับว่าเราชอบทำมัน แค่นั้นพอ แล้วมันจะทำได้ดีเอง ผมรู้สึกว่า ถ้าเราอยากได้เงินนะ ขายต้นไม้ดีกว่า มันจะเหนื่อย และเครียด เพราะจะเป็นแบบว่า เฮ้ย ต้นที่เข้ามาใหม่ดันมาตายหมดเลย อะไรอย่างงี้ ซึ่งมันเกิดขึ้นอยู่แล้ว หรือต้นแปลงนี้เพลี้ยขึ้น เสียโฉม ขายไม่ได้อีก ซึ่งตัวผมยังทึ่งเลยนะกับคนที่ทำได้นะ ซึ่งมันมีคนทำได้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไง แต่ก็เป็นความสามารถอีกแบบหนึ่ง ความสามารถในทางการค้า ซึ่งผมก็ยอมรับว่าเขาเก่งและทำได้ แต่ตัวผมทำไม่ได้ (หัวเราะ) คือเราตั้งจากที่เราชอบก่อน เราชอบอะไร เราทำอย่างนั้น เราชอบต้นนี้ เราผลิตต้นนี้ เราไม่ชอบต้นอื่นก็ไม่ต้องผลิตมัน แต่ว่าโชคดีที่มันชอบหลากหลาย พอถ้าหลากหลายก็เลยทำเยอะ ซึ่งถ้าผมชอบแค่ 5 อย่าง ป่านนี้ผมคงไม่มีอะไรกินแล้ว (หัวเราะ) ก็โอเค หลากหลายดี
• แล้วตอนที่เริ่มธุรกิจใหม่ๆ กระแสที่เริ่มปลูกพืชลักษณะอย่างงี้ เริ่มมารึยังครับ
ค่อยๆ มานะ แต่ยังไม่เท่ากับยุคนี้ ซึ่งยุคนี้มันได้กระแสฮิปสเตอร์ (หัวเราะเบาๆ) เลี้ยงแมว จิบกาแฟ ใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เรามองว่ากระแสนี้ดี คือผมว่าก็มันเหมาะกับคนยุคปัจจุบัน เพราะว่าคอนโดขึ้นเต็มไปหมด คือที่ไม่มี เวลาไม่มี และพืชนี้ก็ตอบโจทย์ได้ดีสุด เพราะแค่รดน้ำอาทิตย์ละครั้งเอง มีปลูกแข่งกันในออฟฟิศ ซึ่งถ้าไม่สนใจอะไรเลย 2-3 อาทิตย์ ก็แค่โทรมลง บางต้นก็ไม่ถึงกับตาย ซึ่งคล้ายว่า พืชลักษณะนี้ตอบโจทย์ให้กับคนยุคปัจจุบันด้วย
• ขณะเดียวกัน จากกระแสที่ว่า มันทำให้คนในยุคปัจจุบัน กลับมาสนใจธรรมชาติด้วย
ผมว่าเดี๋ยวนี้มันมีกระแสอย่างหนึ่ง คือกระแสรักษ์โลก และมีอีกกระแสคือ คนหนุ่มสาวสมัยนี้ เริ่มที่จะเมินงานออฟฟิศในเมืองใหญ่ เหมือนกับคนที่มาจากต่างจังหวัด จะกลับบ้านไปทำเกษตร เหมือนกับว่าอาชีพเกษตรกรมันไม่ได้ดูแย่เหมือนสมัยก่อนแล้ว เดี๋ยวนี้กลายเป็นว่าดูเท่ขึ้น เพราะมันมีกระแสที่ว่า รักความเป็นสมถะ อยู่บ้านดิน ปลูกสวนอะไรอย่างงี้ ซึ่งเท่าๆ ที่ดูมา บางคนจบต่างประเทศมา เป็นคนมีความรู้ แต่ไปใช้ชีวิตอย่างงั้น คนก็เลยสนใจว่าทำไมเขาถึงไม่ทำงานที่เป็นแบบธุรกิจ ทำไมถึงมาทำสวน มันก็เลยมีคนที่สนใจเยอะขึ้น คือกลายเป็นว่า ทำอย่างงี้รายได้ดีกว่าไปทำงานประจำ และไม่เครียดด้วย เลยกลายเป็นว่าคนเป็นเกษตรกรดูเท่และดูรวยเลย เทียบกับสมัยก่อนนี่แตกต่างกันเลย เพราะว่าคำว่าเกษตรกรในก่อนหน้านี้จะนึกถึงคนจนเป็นหลักเลย ซึ่งผมมองว่า มันไม่เกี่ยวนะ เกษตรกรสามารถทำให้รวยก็ได้ ซึ่งมันก็อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคน
• อะไรที่ทำให้พืชลักษณะนี้กลายเป็นพืชแห่งยุคสมัยครับ
ผมว่าบ้านเราจะมีเรื่องของกระแสด้วย ซึ่งเวลาไปต่างประเทศ เราจะเห็นงานโชว์ความหลากหลายของสายพันธุ์เยอะกว่าในบ้านเรา เพราะว่าในบ้านเราจะได้กระแสแฟชั่นมาจากนักเล่นที่ญี่ปุ่นเป็นหลัก สมมติว่าญี่ปุ่นพัฒนาสายพันธุ์หนึ่ง คนไทยก็จะชอบเล่นตามเขา ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะที่นั่นเขาทำกันมา 100 ปี เขาพัฒนาสายพันธุ์จนสวย เห็นยังไงก็ต้องชอบ คือสวยจนเรายอมรับ แล้วคนไทยก็ชอบคล้ายกัน ผมว่ามันเป็นแฟชั่นของคนเอเชียโดยรวมด้วยแหละ ที่ชอบอะไรที่สวยๆ อาจจะดูไม่ค่อยถึกเท่าไหร่
แต่ถ้าเป็นอเมริกา จะเป็นในลักษณะว่า ไม่เห็นสวยเลย แต่จะถึกมาก หรือว่าไม่ดีแต่มันหายากและปลูกยากมาก กว่าจะได้เท่านี้ แต่คนไทยจะชอบแบบสวยงาม เห้นแล้วร้องว้าว คือมันดูมีคุณค่ามากกว่า สิ่งที่มาจากสปีชีส์จากธรรมชาติ ที่ดูแล้วอะไรก็ไม่รู้ แต่ปรากฏว่ามันเจ๋ง คือผมเห็นความแตกต่างของการเล่นที่คนไทย คือไม้สายที่เกิดจากการพัฒนาในที่เลี้ยง กับที่อเมริกาและยุโรปจะชอบไม้สายแท้จากธรรมชาติ แล้วก็ดูจากฝีมือการเลี้ยงที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากกว่า ซึ่งคนไทยจะชอบเนี้ยบๆ มีรอยไม่ได้ ซึ่งพอเราเป็นกรรมการ ก็ต้องตามเขา ซึ่งกรรมการก็มีเป็นทีม อาจจะให้คะแนนไม่เหมือนกัน แต่ผมจะชอบความหลากหลายมากกว่า ที่จะเห็นการเล่นไม่กี่แบบ
• ความคาดหวังเกี่ยวกับพืชลักษณะนี้ในบ้านเราครับ
ผมมองตามหลักความจริงว่า ทุกอย่างมันก็ต้องมีกระแสมีขึ้นและมีลง เรามองตามความจริงก็คือว่า ณ ตอนนี้กระแสกำลังบูม แต่ถ้าถึงจุดหนึ่ง มันอาจจะลงเลย แต่แคคตัส มันจะไม่เหมือนพืชหลายๆ กลุ่มที่หวือหวา เช่น โป๊ยเซียน หรือชวนชม ที่มีกระแสขึ้น แล้วก็ดับไปเลย ส่วนพืชแคคตัส มันจะมีขึ้นบ้าง แต่มันก็ลง แต่ทีนี้ มันจะค่อยเป็นค่อยไป แล้วก็ขึ้นมาใหม่ ซึ่งตลอด 20 ปีที่เลี้ยงมา ผมไม่เคยเห็นว่ามันจะดับไปเลยจากวงการนะ มันก็ยังมีคนเล่นเรื่อยๆ ราคาก็ไม่ได้ตกอะไร ยังทรงๆ อยู่ แต่อาจจะเปลี่ยนเทรนด์ว่า ช่วงนี้ฮิตอันนี้ แล้วมันขึ้นลง ผมมองว่ามันเป็นวัฏจักร มองว่า เราไม่ได้ไปคาดหวังอะไร เพราะถ้ามันเป็นอย่างงี้ คนเล่นเยอะ คนมันก็ขายเยอะ พอถึงจุดหนึ่งที่มันดร็อปบ้าง บางคนอาจจะเลิกทำไปแล้ว ก็อาจจะเหลืออยู่บางเจ้าที่เป็นหลักๆ ที่อยู่กันมานานแล้ว ก็อยู่กันไป อยู่ไปเรื่อยๆ เหมือนต้นไม้อย่างอื่น เหมือนวงการต้นไม้ทุกอย่าง มีขึ้นๆ ลงๆ
สนใจซื้อพืชแคคตัส ติดต่อได้ที่
ตลาดนัดสวนจตุจักร โครงการ 23 ทุกวันอังคาร 18:30-22:30
หรือโทร. ผึ้ง 06-1549-8365 (ช่วงเวลา 12.00 - 18.00 น.)
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
ในอีกมุมหนึ่ง พิชญะ ก็มีความชอบและความสนใจส่วนตัวในพืชไม้อวบน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชจำพวกกระบองเพชรที่อาจจะใช้คำว่าคลั่งไคล้ก็ว่าได้ ซึ่งจากความชอบส่วนตัวนี่เอง ที่ทำให้เขาได้ต่อยอดไปสู่กิจการเล็กๆ จนสามารถเลื่อนขั้นไปสู่แหล่งเพาะพันธุ์พืชสวยงามชนิดดังกล่าวได้ด้วยตนเอง
• คุณสนใจพืชลักษณะนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
จริงๆ เราชอบมันมาตั้งแต่เด็ก และชอบหมดทุกอย่างที่เป็นต้นไม้ แล้วเราก็ลองปลูกมาทุกอย่าง ทั้งต้นเฟิร์น ต้นสับปะรดสี หรือ บอนไซ แต่เราก็ทำมันตายไปเรื่อยๆ เลี้ยงเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง จนถึงเวลาที่เราจะต้องไปต่างประเทศ ก็ไม่ค่อยได้ดูแลแล้ว ต้นไม้ที่เราปลูกไว้ก็เริ่มทยอยตายกันไป ทีนี้ก็ยังมีแต่พืชแคคตัสที่ยังอยู่รอดได้ เราเห็นแล้วก็รู้สึกว่ามันก็ทนดีนะ จนตอนไปเรียนและอาศัยอยู่ที่อเมริกาประมาณ 10 ปี เราก็ไปเห็นพืชแคคตัสแปลกๆ ประเทศไทยเรามีอยู่ไม่กี่แบบ แต่ที่นั่นมีความหลากหลาย มันยิ่งใหญ่อลังการมาก ไปดูพืชอวบน้ำต้นใหญ่ๆ ที่นั่น แล้วก็ไปดูสวนที่นั่น ไปดูงานโชว์ จนยิ่งไปกันใหญ่ บ้าไปเลย เพราะความหลากหลายมันสูง
ทีนี้ ผมไปเรียนด้านพืชอยู่แล้ว ก็ได้ไปคลุกคลีทำงาน เป็นคนสวนบ้าง ก็เลยได้อยู่กับต้นไม้ ได้อยู่กับพืชแคคตัส ก็เลยซื้อๆ เก็บไว้ เอากลับมาลองปลูกดูว่าในเมืองไทยมันปลูกได้มั้ย ซึ่งพืชบางตัวก็ตาย บางตัวก็ปลูกไม่ได้ หรือบางตัวก็ง่ายกว่าที่นู่น ก็เลยเริ่มมาโฟกัสที่พืชแบบนี้ เพราะว่ามันไม่ต้องดูแลอะไรเยอะ แล้วก็ไม่ต้องใช้พื้นที่อะไรมาก สมมติว่าผมไม่อยู่หลายๆ เดือน ผมก็ฝากแม่บ้านที่บ้านให้ดูแลไว้ ก็ไม่ต้องดูแลเอง ซึ่งก็มีตายบ้าง แต่ก็อยู่มาได้จนเรากลับ แล้วเราก็หาตัวใหม่ๆ มาเรื่อยๆ พอมันเริ่มเยอะ ประจวบเหมาะกับว่าผมเรียนจบและกลับมา เราก็เลยมาสร้างโรงเรือนที่นี่ เพราะว่าตอนนั้นมีที่ของครอบครัว ทิ้งไว้นานมากแล้ว ก็ซื้อไว้แล้วมาขอเขาใช้ มาทำที่ตรงนี้ไว้เป็นโรงเรือน ตอนแรกก็หลังเดียว สักพักก็ขยาย (หัวเราะเบาๆ) ขยายโรงเรือนขึ้นมาเรื่อยๆ จนตรงนี้เต็มแล้ว
• คุณชอบและหลงใหลอะไรในพืชลักษณะนี้ครับ
ผมว่ามันคือความแปลกด้วยแหละ และรูปทรงของมัน เพราะพืชแคคตัสมันไม่เหมือนต้นไม้ บางทีหน้าตามันดูแบบศิลปะ ดูเหมือนเป็นงานศิลป์อะไรซักอย่าง หรือว่าหน้าตาเป็นเอเลี่ยน ก็ดูแล้วแปลกดี ซึ่งมันก็เป็นพืชที่อวบน้ำกลุ่มหนึ่งนะ และมีความหลากหลายมาก สมมติว่าเราเล่นกล้วยไม้ เราก็มีความสุขกับการดูดอกมัน ออกดอกเสร็จมันก็มีความสุขอยู่ช่วงหนึ่ง พอดอกมันโรย เราก็เห็นแต่ต้นเขียวๆ เต็มบ้าน แล้วเราก็ต้องรอดอกใหม่ออก แต่พืชแคคตัสมันต่างตรงที่ว่า เรามีความสุขกับมันได้ตลอด เรามอง เราซื้อมาวางปุ๊บ มันก็สวยอยู่ของมันตลอด แถมบางต้นมีพิเศษตรงที่ดอกสวยอีกต่างหาก คือมันมีอะไรให้เราดูได้ไม่เบื่อ แล้วรูปทรงมันก็ไม่น่าเบื่อด้วย
• และแน่นอนว่า ตอนที่เริ่มเล่นใหม่ๆ ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร
ตอนนั้นเขามีแบบ พืชแคคตัสที่ขายมานานแล้วอยู่บางตัวที่เห็นกันบ่อยๆ นะครับ เช่น ถังทอง นิ้วทอง หรือ ดาวล้อมเดือน ซึ่งเป็นพืชแคคตัสที่โบร่ำโบราณก็ว่าได้ หรือถ้าที่เห็นทั่วไปที่เอามาขายตามสวนต่างๆ อย่าง Gymnocalycium ซี่งมีมานานมากแล้ว ทีนี้มันก็มีบางเจ้าที่เขานำเข้ามาแบบตัวแปลกๆ ที่เราไม่เคยเห็น มาจำหน่ายให้เราเห็น บวกกับที่เราไปเองด้วย มันก็เลยสนุก ได้เห็นความหลากหลาย แล้วตอนนั้นคนที่เล่นจริงจังก็มีไม่เยอะ เล่นกันเฉพาะกลุ่ม ก็เล่นไปเรื่อยๆ นะ ในตอนนั้น
• ความแตกต่างของสภาพอากาศระหว่างเมืองไทยกับอเมริกา ต่อพืชแคคตัส เป็นยังไงครับ
ถ้าเป็นในช่วงนั้น ผมอยู่ในรัฐหลักๆ 2 ที่ คือ เวอร์จิเนีย กับ แคลิฟอร์เนีย ทีนี้อากาศก็ไม่เหมือนกันแล้ว เพราะประเทศมันใหญ่มาก ตอนอยู่รัฐแรก เรารู้สึกว่า การเลี้ยงพืชแบบแคคตัสมันไม่ง่ายเลย แล้วพอเข้ามหาวิทยาลัยก็เลยเลือกที่จะย้ายไปอยู่ฝั่งแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีอากาศที่เหมาะกับการเลี้ยงแล้ว ทีนี้มันก็เหมือนกับว่า อากาศที่นั่นมันเป็นแหล่งกำเนิดของพืชชนิดนี้เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นที่ที่แห้ง อากาศหน้าร้อนมันแห้งมาก แล้วหน้าฝนก็จะตกในบางช่วงเท่านั้น แล้วถ้ายิ่งเราขับรถลงใต้ไปแถวลอส แองเจลิส หรือซานติอาโก แถวนั้นนี่คือเป็นชนบทของแคคตัสเลย พอออกไปนอกเมืองก็เป็นทะเลทรายแล้ว เราก็จะได้เห็นพืชทะเลทรายต่างๆ ซึ่งนอกจากแคคตัส เราก็เห็นต้นไม้ทนแล้งแบบอื่นด้วย แถมสภาพแวดล้อมมันดีมาก แล้วผมชอบอากาศแบบนั้น เพราะอยู่แล้วมันสบาย ไม่อบอ้าวเหมือนบ้านเรา ซึ่งเมืองไทยจะเป็นอากาศที่อาบน้ำเรียบร้อยพอเดินไปปากซอยจะเหงื่อโชกแล้ว (หัวเราะเบาๆ) แต่อยู่ที่นั่น คือมันร้อนนะ แต่มันร้อนแบบแห้ง คือเราหลบร่ม แต่มันก็เย็น กลางคืนนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย คือมันหนาวเย็นเลย ใส่เสื้อหนาว แต่ว่ากลางวันนี่คือร้อนอบอุ่น
ทีนี้ พืชแคคตัสจะชอบอุณหภูมิที่สมดุลต่างกันมาก ง่ายๆ ก็คือ กลางวันอาจจะร้อน กลางคืนอาจจะหนาวเลยก็ได้ นี่แหละคืออากาศที่ดีมาก ผมถึงบอกเลยว่าในกรุงเทพฯ เนี่ย ไม่ใช่อากาศที่ดีเลยสำหรับการเลี้ยงสิ่งนี้ ฉะนั้นคนที่จะเลี้ยงก็ต้องมีใจรักที่ชอบมาก มันไม่ใช่แบบทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วคนเล่นก็อีกแบบ ซึ่งตอนนั้น เมืองไทยก็เล่นไม่หลากหลายนะ เรื่องสปีชีส์ก็ไม่หลากหลาย แต่ว่าที่นั่นเขาเล่นหลายสปีชีส์และเล่นกันมานานแล้ว เล่นมาเป็นร้อยๆ ปี ฉะนั้น ความหลากหลายมันต่างจากเราเยอะ ยิ่งเขาอยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติ เขาก็มีตัวแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เล่นอยู่เรื่อยๆ นักพฤกษศาสตร์จากทั่วโลกก็บินไปดู พูดง่ายๆ คือ เมืองไทยก็ยังตามเขาอยู่ ไปซื้อจากอเมริกาบ้าง ไปซื้อจากญี่ปุ่นบ้าง เข้ามาทดลองเลี้ยง เข้ามาทดลองว่าจะดีมั้ยในบ้านเรา ซึ่งหลายๆ ตัวก็เลี้ยงไม่ได้ หลายตัวก็เลี้ยงได้
• พอลงรายละเอียดลึกลงไป แล้วด้วยข้อจำกัดที่คุณว่ามา ถือว่าเป็นโจทย์ยากและท้าทายประมาณนั้นมั้ยครับ
ท้าทายนะ เพราะว่าทุกวันนี้ก็ทำต้นไม้ตายเป็นเบือเลย ซึ่งผมเชื่อว่าทุกสวนก็ต้องเจอ เป็นเรื่องปกติครับ เพราะพอเจออากาศแบบนี้ปุ๊บ ก็จะเจอเรื่องโรค เชื้อราที่จะมาในช่วงหน้าฝน ใบแดง เพลี้ย หนูแทะ หนอนมากิน เยอะไปหมด มันเป็นความท้าทาย ฉะนั้น ใครมาเล่นก็ต้องเจอแบบนี้แหละ ส่วนที่เจอหายนะบ่อยๆ ก็คงชินแหละ จริงๆ นะ มันหนักมาตลอดครับ ทุกวันนี้ก็ยังมี ด้วยความที่เราเล่นต้นไม้ที่มีความหลากหลายสูง แล้วแต่ละสปีชีส์ก็จะเจอปัญหาที่ไม่เหมือนกันด้วย
สมมติว่าเราเล่นพืชแคคตัส บางชนิดโดนไรแดงเล่นงาน บางชนิดอาจจะโดนเพลี้ยแป้งเล่นงาน แล้วบางชนิดก็จะเจอเพลี้ยที่เรามองไม่เห็นอยู่ในราก และบางชนิดก็เน่าง่าย แบบนึกจะเน่าก็เน่าเลย หรือบางต้นที่เลี้ยงมา 10 กว่าปีแล้ว กำลังสวยเลย อยู่ๆ ก็เน่าเฉยเลย ก็เลยต้องทำใจแบบปลงๆ นิดหนึ่งเวลาเลี้ยงต้นไม้แบบนี้ มันก็อยู่กับเราได้ถึงจุดหนึ่งนะ คือมันก็มีชีวิตของมัน คือมันจะไปหรือเราจะไปก่อนก็ไม่รู้ ออกแนวปลงชีวิต แต่มันก็ดีนะ พอเราเล่นพวกนี้ เราก็เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งต่างกับช่วงใหม่ๆ มันจะเสียดาย ประเด็นคือเสียดายเงินนี่แหละ (หัวเราะเบาๆ) แต่ถ้าเลี้ยงนานๆ เราจะเสียดายเวลาที่เราผูกพันกับมันเป็น 10 ปี
แต่บางชนิดก็คือหาใหม่ไม่ได้แล้ว อาจจะเป็นแบบว่าเหลือแค่ต้นเดียวในบ้าน และอาจจะหามาสำรองได้ แล้วมันดันตายไป ก็คือสูญพันธุ์ไปเลย แล้วไม่รู้จะไปหาได้ที่ไหน เพราะว่าบางชนิด เคยมีลูกค้าคนหนึ่งเขาเข้ามาซื้อแล้วก็มาเลี้ยง เนื่องจากในสวนเขาตายหมดแล้ว และไม่สามารถหาได้ในแหล่งธรรมชาติแล้ว ซึ่งโชคดีที่เราได้เก็บพันธุ์นั้นไว้ กลายเป็นว่าช่วยชีวิตต้นมันไว้ได้
• กลายเป็นว่าพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ก็เป็นประเด็นใหญ่เลยนะครับ
อย่างในอเมริกาก็จะมีปัญหาในเรื่องอากาศที่มีความหนาวผิดปกติ ซึ่งทำให้ทำลายทั้งสวนได้ ทีนี้ถ้ามันเกิดจากสวนแห่งไหนก็ตาม เท่ากับว่าต้นไม้ที่เกิดมีที่เดียวจะสูญพันธุ์ไปหมด แล้วบังเอิญบางตัวที่เราได้มันมาก่อนเกิดเรื่อง จึงทำให้สปีชีส์นั้นยังไม่สูญหายไป ก็ยังอยู่ที่เรา ทำให้เขาสามารถกลับมาซื้อจากเราได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของการปลูกนะ ผมมองว่าถ้านักอนุรักษ์บอกว่าต้นไม้ควรอยู่กับป่า ไม่ควรมาปลูก แต่ผมกลับมองว่าถ้าเอาต้นไม้จับมาปลูกและจับมันมาขยายพันธุ์ทดแทนออกไป มันก็เป็นการอนุรักษ์อีกทางหนึ่ง คือหนึ่ง เราลดจำนวนที่จะไปเก็บในป่า สอง เราก็อนุรักษ์ในแบบของเรา คือมันไม่ต้องสูญสิ้นไป พูดง่ายๆ ว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นในป่า สมมติว่าป่าถูกเผาทิ้งหรือถูกทำลายล้างไป หลายๆ อย่างก็ยังคงอยู่
แล้วในสวนของผมก็จะเน้นการขยายพันธุ์ไปทางนี้ ผมไม่ค่อยเน้นการนำเข้ามาขาย เพราะโดยพื้นฐานแล้ว เราไม่ใช่พ่อค้าไง ไม่ได้ชอบการค้าขายเลย ที่ขายอยู่ทุกวันนี้เพราะว่าเลี้ยงชีพจากสิ่งที่เราขยายพันธุ์ได้ คือเราทำได้ และมีจำนวนพอที่จะเอาไปแบ่งให้คนอื่นได้ด้วย ผมมองแบบนี้มากกว่า ผมไม่เคยมองว่ามันเป็นธุรกิจที่เราต้องขายให้มันได้กำไรเยอะๆ อย่างงั้นมันไม่ใช่ เราขายที่เราแบบว่าให้พอมี ถ้าเรามีเกิน เราก็ขายไป ก็แค่นั้นเอง ซึ่งทุกวันนี้ต้นไม้มันก็เลี้ยงเราน่ะครับ แค่เราดูแลและขยายพันธุ์มัน พอมันขายได้ มันก็เลี้ยงเรา มันก็อยู่ได้ คือไม่ได้รวยอะไรมาก แต่มันเป็นธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียน เอามาซื้อต้นไม้ใหม่เล่นไปวันๆ ได้ (หัวเราะเบาๆ) แต่ก็ไม่ได้รวยอู้ฟู่ขนาดนั้น
• เท่ากับว่า การเริ่มธุรกิจแบบนี้ มันมาจากความไม่ตั้งใจ ประมาณนั้น
ผมว่ามันเหมือนกับที่เขาบอก คือถ้าเราทำอะไร อย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง เหมือนกับว่าเราชอบทำมัน แค่นั้นพอ แล้วมันจะทำได้ดีเอง ผมรู้สึกว่า ถ้าเราอยากได้เงินนะ ขายต้นไม้ดีกว่า มันจะเหนื่อย และเครียด เพราะจะเป็นแบบว่า เฮ้ย ต้นที่เข้ามาใหม่ดันมาตายหมดเลย อะไรอย่างงี้ ซึ่งมันเกิดขึ้นอยู่แล้ว หรือต้นแปลงนี้เพลี้ยขึ้น เสียโฉม ขายไม่ได้อีก ซึ่งตัวผมยังทึ่งเลยนะกับคนที่ทำได้นะ ซึ่งมันมีคนทำได้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไง แต่ก็เป็นความสามารถอีกแบบหนึ่ง ความสามารถในทางการค้า ซึ่งผมก็ยอมรับว่าเขาเก่งและทำได้ แต่ตัวผมทำไม่ได้ (หัวเราะ) คือเราตั้งจากที่เราชอบก่อน เราชอบอะไร เราทำอย่างนั้น เราชอบต้นนี้ เราผลิตต้นนี้ เราไม่ชอบต้นอื่นก็ไม่ต้องผลิตมัน แต่ว่าโชคดีที่มันชอบหลากหลาย พอถ้าหลากหลายก็เลยทำเยอะ ซึ่งถ้าผมชอบแค่ 5 อย่าง ป่านนี้ผมคงไม่มีอะไรกินแล้ว (หัวเราะ) ก็โอเค หลากหลายดี
• แล้วตอนที่เริ่มธุรกิจใหม่ๆ กระแสที่เริ่มปลูกพืชลักษณะอย่างงี้ เริ่มมารึยังครับ
ค่อยๆ มานะ แต่ยังไม่เท่ากับยุคนี้ ซึ่งยุคนี้มันได้กระแสฮิปสเตอร์ (หัวเราะเบาๆ) เลี้ยงแมว จิบกาแฟ ใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เรามองว่ากระแสนี้ดี คือผมว่าก็มันเหมาะกับคนยุคปัจจุบัน เพราะว่าคอนโดขึ้นเต็มไปหมด คือที่ไม่มี เวลาไม่มี และพืชนี้ก็ตอบโจทย์ได้ดีสุด เพราะแค่รดน้ำอาทิตย์ละครั้งเอง มีปลูกแข่งกันในออฟฟิศ ซึ่งถ้าไม่สนใจอะไรเลย 2-3 อาทิตย์ ก็แค่โทรมลง บางต้นก็ไม่ถึงกับตาย ซึ่งคล้ายว่า พืชลักษณะนี้ตอบโจทย์ให้กับคนยุคปัจจุบันด้วย
• ขณะเดียวกัน จากกระแสที่ว่า มันทำให้คนในยุคปัจจุบัน กลับมาสนใจธรรมชาติด้วย
ผมว่าเดี๋ยวนี้มันมีกระแสอย่างหนึ่ง คือกระแสรักษ์โลก และมีอีกกระแสคือ คนหนุ่มสาวสมัยนี้ เริ่มที่จะเมินงานออฟฟิศในเมืองใหญ่ เหมือนกับคนที่มาจากต่างจังหวัด จะกลับบ้านไปทำเกษตร เหมือนกับว่าอาชีพเกษตรกรมันไม่ได้ดูแย่เหมือนสมัยก่อนแล้ว เดี๋ยวนี้กลายเป็นว่าดูเท่ขึ้น เพราะมันมีกระแสที่ว่า รักความเป็นสมถะ อยู่บ้านดิน ปลูกสวนอะไรอย่างงี้ ซึ่งเท่าๆ ที่ดูมา บางคนจบต่างประเทศมา เป็นคนมีความรู้ แต่ไปใช้ชีวิตอย่างงั้น คนก็เลยสนใจว่าทำไมเขาถึงไม่ทำงานที่เป็นแบบธุรกิจ ทำไมถึงมาทำสวน มันก็เลยมีคนที่สนใจเยอะขึ้น คือกลายเป็นว่า ทำอย่างงี้รายได้ดีกว่าไปทำงานประจำ และไม่เครียดด้วย เลยกลายเป็นว่าคนเป็นเกษตรกรดูเท่และดูรวยเลย เทียบกับสมัยก่อนนี่แตกต่างกันเลย เพราะว่าคำว่าเกษตรกรในก่อนหน้านี้จะนึกถึงคนจนเป็นหลักเลย ซึ่งผมมองว่า มันไม่เกี่ยวนะ เกษตรกรสามารถทำให้รวยก็ได้ ซึ่งมันก็อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคน
• อะไรที่ทำให้พืชลักษณะนี้กลายเป็นพืชแห่งยุคสมัยครับ
ผมว่าบ้านเราจะมีเรื่องของกระแสด้วย ซึ่งเวลาไปต่างประเทศ เราจะเห็นงานโชว์ความหลากหลายของสายพันธุ์เยอะกว่าในบ้านเรา เพราะว่าในบ้านเราจะได้กระแสแฟชั่นมาจากนักเล่นที่ญี่ปุ่นเป็นหลัก สมมติว่าญี่ปุ่นพัฒนาสายพันธุ์หนึ่ง คนไทยก็จะชอบเล่นตามเขา ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะที่นั่นเขาทำกันมา 100 ปี เขาพัฒนาสายพันธุ์จนสวย เห็นยังไงก็ต้องชอบ คือสวยจนเรายอมรับ แล้วคนไทยก็ชอบคล้ายกัน ผมว่ามันเป็นแฟชั่นของคนเอเชียโดยรวมด้วยแหละ ที่ชอบอะไรที่สวยๆ อาจจะดูไม่ค่อยถึกเท่าไหร่
แต่ถ้าเป็นอเมริกา จะเป็นในลักษณะว่า ไม่เห็นสวยเลย แต่จะถึกมาก หรือว่าไม่ดีแต่มันหายากและปลูกยากมาก กว่าจะได้เท่านี้ แต่คนไทยจะชอบแบบสวยงาม เห้นแล้วร้องว้าว คือมันดูมีคุณค่ามากกว่า สิ่งที่มาจากสปีชีส์จากธรรมชาติ ที่ดูแล้วอะไรก็ไม่รู้ แต่ปรากฏว่ามันเจ๋ง คือผมเห็นความแตกต่างของการเล่นที่คนไทย คือไม้สายที่เกิดจากการพัฒนาในที่เลี้ยง กับที่อเมริกาและยุโรปจะชอบไม้สายแท้จากธรรมชาติ แล้วก็ดูจากฝีมือการเลี้ยงที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากกว่า ซึ่งคนไทยจะชอบเนี้ยบๆ มีรอยไม่ได้ ซึ่งพอเราเป็นกรรมการ ก็ต้องตามเขา ซึ่งกรรมการก็มีเป็นทีม อาจจะให้คะแนนไม่เหมือนกัน แต่ผมจะชอบความหลากหลายมากกว่า ที่จะเห็นการเล่นไม่กี่แบบ
• ความคาดหวังเกี่ยวกับพืชลักษณะนี้ในบ้านเราครับ
ผมมองตามหลักความจริงว่า ทุกอย่างมันก็ต้องมีกระแสมีขึ้นและมีลง เรามองตามความจริงก็คือว่า ณ ตอนนี้กระแสกำลังบูม แต่ถ้าถึงจุดหนึ่ง มันอาจจะลงเลย แต่แคคตัส มันจะไม่เหมือนพืชหลายๆ กลุ่มที่หวือหวา เช่น โป๊ยเซียน หรือชวนชม ที่มีกระแสขึ้น แล้วก็ดับไปเลย ส่วนพืชแคคตัส มันจะมีขึ้นบ้าง แต่มันก็ลง แต่ทีนี้ มันจะค่อยเป็นค่อยไป แล้วก็ขึ้นมาใหม่ ซึ่งตลอด 20 ปีที่เลี้ยงมา ผมไม่เคยเห็นว่ามันจะดับไปเลยจากวงการนะ มันก็ยังมีคนเล่นเรื่อยๆ ราคาก็ไม่ได้ตกอะไร ยังทรงๆ อยู่ แต่อาจจะเปลี่ยนเทรนด์ว่า ช่วงนี้ฮิตอันนี้ แล้วมันขึ้นลง ผมมองว่ามันเป็นวัฏจักร มองว่า เราไม่ได้ไปคาดหวังอะไร เพราะถ้ามันเป็นอย่างงี้ คนเล่นเยอะ คนมันก็ขายเยอะ พอถึงจุดหนึ่งที่มันดร็อปบ้าง บางคนอาจจะเลิกทำไปแล้ว ก็อาจจะเหลืออยู่บางเจ้าที่เป็นหลักๆ ที่อยู่กันมานานแล้ว ก็อยู่กันไป อยู่ไปเรื่อยๆ เหมือนต้นไม้อย่างอื่น เหมือนวงการต้นไม้ทุกอย่าง มีขึ้นๆ ลงๆ
สนใจซื้อพืชแคคตัส ติดต่อได้ที่
ตลาดนัดสวนจตุจักร โครงการ 23 ทุกวันอังคาร 18:30-22:30
หรือโทร. ผึ้ง 06-1549-8365 (ช่วงเวลา 12.00 - 18.00 น.)
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พลภัทร วรรณดี