เป็นเวลากว่าขวบปีที่ชายคนนี้ส่งเสียงเรียกร้องผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสัญญะแห่งท้องทะเลอย่างวาฬบรูด้า เขาใช้เวลาและความรู้ความคิดติดต่อประสานหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งขอความร่วมมือในการลงรายชื่อจากประชาชนเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว และ ณ วันนี้ ความปรารถนาดีของ “ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” ได้ทำให้บรรดาสัตว์อนุรักษ์..หากพวกมันรับรู้...ยิ้มได้ เฉกเช่นคนไทยทุกคน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทำงานด้านการอนุรักษ์ทะเล กล่าวได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล อีกทั้งยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับ “ทะเล” ที่ขายดีมาแล้วหลายเล่ม ยกตัวอย่างเช่น “ใต้ทะเลมีความรัก” และ “101 ปลาทะเลไทย”
ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา “ดร.ธรณ์” หรือ “อาจารย์ธรณ์” ตามคำเรียกขานของใครต่อใคร ได้เดินหน้าแคมเปญรณรงค์ผลักดันให้มีกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่หายากและมีแนวโน้มว่ากำลังจะสูญพันธุ์อย่าง “วาฬบรูด้า” และนั่นก็นำไปสู่สิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมานานตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้วาฬบรูด้ามีสถานะเป็นสัตว์สงวน
ยิ่งไปกว่านั้น อาจารย์ธรณ์ยังได้ชักชวน “ผองเพื่อนใต้ทะเลของวาฬบรูด้า” แนบรายชื่อเข้ามาในฐานะสัตว์สงวนตามกฎหมายฉบับฉบับนี้ด้วย ทั้งวาฬโอมูระ ฉลามวาฬ และ เต่ามะเฟือง ขณะเดียวกัน ไหนๆ ก็ไหนๆ มาถึงขั้นนี้แล้ว จึงรวมเอาสิ่งมีชีวิตอีก 12 ชนิดมาติดไว้ในประกาศ ในฐานะสัตว์คุ้มครองด้วย
จากความสำเร็จนั้น นำไปสู่สิ่งที่อาจารย์ใช้คำว่า “สะใจ” จนมิอาจสกัดเก็บความรู้สึกนั้นไว้ได้ และนั่นก็เป็นที่มาของหนังสือเล่มล่าสุดที่ใช้เวลาเขียนเพียงแค่ 2 วัน... “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ”...
• ภายหลังการต่อสู้ผลักดันกันมายาวนาน ตรงนี้ เรียนถามความเห็นโดยรวมของอาจารย์เกี่ยวกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นครับ
เบื้องต้น ผมอยากเล่าอย่างนี้ก่อนครับว่า เรื่องของสัตว์สงวนหรือสัตว์คุ้มครอง เป็นประเด็นหนึ่งซึ่งทำมาค่อนข้างนาน เพราะสงสัยมาตลอดว่า ประมาณ 20-30 ปีที่ผ่านมา เวลาท่องชื่อสัตว์สงวน แล้วให้ลูกท่องตาม มันก็วนอยู่ที่เดิม คือสัตว์สงวนมี 15 ชนิด ตัวสุดท้ายคือพะยูน เป็นสัตว์สงวนทางทะเลชนิดเดียว สงวนจนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว สมัน แรด เรียกว่าแทบสูญพันธุ์ไปแล้ว กระซู่ ตอนเด็กๆ เคยเห็นในเขาดิน ตัวอื่นๆ อย่างกูปรี หลายคนคงไม่รู้จัก
ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือว่า รายชื่อสัตว์สงวน 15 ชนิดนี้มีติดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ที่มี พรบ.ออกประกาศรายชื่อสัตว์สงวน คำถามก็คือมันสามารถมีตัวที่ 16 ได้ไหม แต่กล่าวได้ว่า 30 ปีที่ผ่าน ไม่มีเพิ่มเลย มีเพียง 15 ตัวเท่านั้น ทั้งๆ ที่ 7 สัตว์ที่มีอยู่ในประเทศไทย อยู่ในภาวะที่โคตรจะสงวนได้แล้ว หมายความว่าถ้าไม่สงวนตอนนี้ก็ไม่ต้องสงวน หรือจะรอให้มันสูญพันธุ์ก่อนค่อยสงวนตามใจ เพราะฉะนั้น เราเลยมานั่งคิดว่า จริงๆ แล้ว สัตว์ทะเลก็ควรได้รับการสงวนด้วย
ถามว่าต้องเป็นสัตว์ทะเล ทำไมไม่เป็นสัตว์บก เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะอาจารย์ ธรณ์ทำงานด้านทะเล คนอื่นที่ทำงานบนบกเขาก็ไปสงวนต่อเอง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราต้องการมีอยู่ 2 ประการ
ประการแรก ผมใช้คำว่าทำลายกำแพงสัตว์สงวนที่กั้นไว้อยู่ 30 ปี ด้วยเหตุผลว่าเราศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รัฐบาลทุกรัฐบาลก็พูด ใครก็พูด ทุกคนพูดหมด แล้วจะศึกษาไปทำไมถ้าไม่มีกฎหมายไปดูแลมัน อย่างน้อยที่สุด ผมเห็นว่าเราต้องมีการศึกษา ศึกษาเพื่ออะไร เพื่อถ่ายรูปให้คนดูเล่นอย่างเดียว หรือศึกษาเพื่อที่จะทำให้สามารถจัดการมันได้ ศึกษาเพื่อรักษา หรือศึกษาเพื่อดูเล่น หรือเพื่อเอาไว้นำเสนองานเพื่อที่จะได้ตำแหน่ง
แต่จริงๆ ที่สำคัญที่สุด คือศึกษาเพื่อรักษา แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีก็คือ พอศึกษาจบแล้วมันไม่ถึงตอนจบสักที เพราะมันไม่มีกฎหมายขั้นสูงสุดสำหรับสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มันก็ตาเหลือกทั้งนั้น หลายคนบอกมันสงวนแล้วสูญพันธุ์ใช่ไหม ฐานะของสัตว์สงวนมันจะต่างกันเยอะ ผมยกตัวอย่าง “นกแต้วแร้วท้องดำ” อย่างน้อยที่สุดก็เป็นข่าว สำนักข่าวอื่นๆ ก็ออกข่าวเยอะแยะ ออกกันจนอุตลุดว่าเหลือตัวเดียว แล้วถ้าเกิดมันเป็น “นกแต้วแร้วท้องแดง” ใครจะสนใจมัน (หัวเราะ)
เพราะฉะนั้น ถ้าเราศึกษากันอย่างเดียว ทำออกมาไม่รู้กี่พันกี่หมื่น เยอะแยะ มากมาย แต่เราไม่คิดทำกฎหมายต่างๆ ขึ้นมาแล้วเราจะศึกษาไปทำไม นั่นคือคำตอบของผม เพราะฉะนั้น เราก็เลยพยายามทำลายกำแพงนี้ นั่นก็คือวัตถุประสงค์ประการที่หนึ่ง
ประการที่ 2 ผมทำเรื่องทะเลสัตว์ทะเลจะสูญพันธุ์ ผมก็ต้องควรที่จะสงวนรักษามันไว้ อันนี้มันก็ชัดเจน ตรงไปตรงมา เราก็มาวางแผน แต่ไม่ได้บอกหน่วยงานภาครัฐเลยนะ กลัวเขาจะตกใจ คือหน่วยงานภาครัฐประเทศไทยตกใจง่ายนะ เข้าใจตรงกันนะ (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น เราก็เลยลองศึกษาดูก่อน เพราะถ้าหน้าแตกขึ้นมา ผมก็จะได้หน้าแตกคนเดียว เป็นห่วงรัฐ กลัวเขาจะหน้าแตกด้วย (ยิ้ม)
ผมก็เลยเขียนไปในเฟซบุ๊กส่วนตัวของผมว่า ลองคิดดูไหม ถ้า “วาฬบรูด้า” เป็นสัตว์สงวนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น โอ้! คนกดไลค์ไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ เป็นหลายพัน เกือบหมื่นเลยครั้งแรก คนอาจจะถามว่าทำไมต้องเป็นวาฬบรูด้า ข้อที่หนึ่ง ก็ขนาดที่พี่ติ๊ก (เจษฎาภรณ์ ผลดี) ยังเคยพานักท่องเที่ยวไปดูวาฬบรูด้าออกรายการเยอะแยะ ใครคนไทยก็รู้จัก วาฬบรูด้าโพสอ้าปากพะงาบๆ เยอะเลยที่สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ข้อที่ 2 เราคิดว่าเราจะสงวนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ วาฬบรูด้ามีความยาวถึง 17 เมตร น้ำหนักเท่ากับช้างเรียงกันหลายตัว แล้ววาฬมันเป็นสัญลักษณ์ของทะเล เด็กอังกฤษ เด็กไอซ์แลนด์ เด็กอเมริกา หรือเด็กไทยก็รู้จักว่า นี่คือวาฬ ภาพลักษณ์สูง และข้อต่อมา จำนวนของวาฬบรูด้าทั้งประเทศไทยเหลืออยู่ 65 ตัว พะยูนซึ่งเป็นสัตว์สงวนอันดับที่ 15 นั้น เรามีอยู่ประมาณ 200 กว่าตัว เพราะฉะนั้น วาฬบรูด้ามีน้อยกว่าพะยูน แล้วทำไมเราจะไม่สงวน เท่านี้เหตุผลก็นับว่าเพียงพอแล้ว เราสงวนพะยูนได้ แล้วทำไมเราจะสงวนวาฬบรูด้าไม่ได้
ที่สำคัญ มันไม่ได้ว่ายน้ำไปมา หลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันผ่านไปผ่านมา จริงๆ แล้ว วาฬบรูด้าที่มาอยู่ในอ่าวไทย มันชอบเมืองไทย อยู่ถาวร แต่เดิมเราเข้าใจว่ามันจะเข้ามาเฉพาะบางช่วงของปีเท่านั้น หลังๆ มีการศึกษาวาฬกันมากขึ้น เราพบว่ามันอยู่ทั้งปี เพียงแต่ว่าอาจจะมีช่วงที่เข้ามาใกล้ฝั่ง และมีช่วงที่ไกลฝั่ง แต่ถือว่าเป็นสัตว์ประจำถิ่น ไม่ใช่สัตว์อพยพ นี่ก็เป็นเหตุผลว่าเราต้องสงวนเขา เพราะเขามาอยู่ในเมืองไทย เข้าใจนะครับ
เพราะฉะนั้น ตรงนั้น เราก็เสนอโครงการไป และเริ่มไปคุยกับหน่วยงานบางแห่ง หน่วยงานที่ไปคุยคือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แล้วไปคุยกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็โชคดีว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เขาก็ทำงานเรื่องนั้นพอสมควร อีกทั้งท่านเกษมสันต์ ปลัดกระทรวง ท่านเคยเป็นอธิบดีกรมนี้ พอดีผมรู้จักท่านมานานแล้ว ท่านก็เคยไปดูวาฬบรูด้าแล้ว ท่านก็บอกว่าโอเค เอาเลย ลุยเลย เพราะฉะนั้น เราได้ภาครัฐมา เราได้ภาคประชาชนมา แต่เพื่อความให้มันมั่นใจ เพราะอย่าลืมว่านี่คือกำแพงสัตว์สงวน 30 ปี ไม่เคยมีใครถล่ม
นอกจากนั้น เราก็ไปทำโครงการเพิ่ม ก็คือออกแคมเปญกับทาง Change.org คุยกับ change แล้ว change ก็ขอให้ออกรวบรวมรายชื่อให้ได้ห้าหมื่นรายชื่อ ซึ่งผมพูดตามตรงเลยนะครับ ยังไม่เคยมีการอนุรักษ์ที่ไหนที่ได้ 50,000 รายชื่อ อย่าว่าแต่สัตว์สงวนเลยนะ แม้แต่จะคัดค้านที่ไหน อย่างโรงไฟฟ้า ก็ไม่เคยมีถึง 50,000 แต่เราก็ทำได้ 50,000 สำหรับการสงวนพันธุ์สัตว์หนึ่งชนิด พอได้มา 50,000 รายชื่อปุ๊บ เราก็เอา 50,000 ไปยื่นรัฐมนตรี จริงๆ ผมคุยกับท่านดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากร ฯ ขณะนั้น ท่านก็โอเค ไม่มีปัญหา จนกระทั่งท่านดาว์พงษ์ย้ายไปกระทรวงศึกษาธิการ มีท่านพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เข้ามาแทน เราก็เริ่มกระบวนการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็ต้องไปผ่านการพิจารณาของกระทรวงเกษตร ที่กรมประมง เสร็จแล้วก็กลับมาที่กระทรวงทรัพยากร ฯ กลับไปกลับมาหลายรอบมาก
• จากจุดเริ่มถึงจุดสำเร็จอย่างทุกวันนี้ ใช้เวลานานแค่ไหนครับ
จริงๆ แล้ว เริ่มโครงการมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนปีที่แล้ว (พ.ศ.2558) รวมๆ แล้วก็หนึ่งปีเต็มๆ ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดแล้วล่ะ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราผลักดันเรื่องวาฬบรูด้า เราก็คิดว่าน้ำขึ้นให้รีบตักไปเลยก็ดี ก็รวมเอาสัตว์ตัวใหม่เข้ามาด้วย นั่นก็คือวาฬโอมูระซึ่งหายากกว่าวาฬบรูด้าด้วยซ้ำ คนไม่ค่อยรู้จักหน้าตามันเหมือนกัน ตัวที่ 3 คือ “ฉลามวาฬ” ซึ่งใครก็รู้จักดี เรื่องฉลามวาฬ ผมทำตั้งแต่สมัยท่านรัฐมนตรีปองพล อดิเรกสาร ตอนนั้นมีกลุ่มรักฉลามวาฬ เราก็ไปหาท่านรัฐมนตรีปองพลแล้วขอให้เป็นสัตว์ห้ามล่าในการประมง ก็ประสบผลสำเร็จเป็นตัวแรกเลยที่มีการห้ามล่าทางการประมง
จากนั้น พอนึกถึงฉลามวาฬที่เราใส่เข้าไปเป็นอันดับ 3 ตัวสุดท้ายที่เรารวมเข้าไปอีกก็คือ “เต่ามะเฟือง” ที่เป็นเต่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก แล้วก็เคยอยู่ในประเทศไทยมากมาย แต่มีปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ เราก็เลยใส่เต่ามะเฟืองเข้าไปเป็นสัตว์สงวนด้วย รวมเป็น 4 ตัว
นอกจากนี้ เรายังมีการผลักดันรายชื่อสัตว์คุ้มครองเข้าไปอีก 12 ชนิด เช่น กระเบนแมนต้า, กลุ่มปลาโรนิน, กระเบนปีศาจ ฯ ซึ่งบางชนิดก็เป็นสัตว์แปลกๆ ที่หายและสูญพันธุ์ไปหมด แต่เพื่อให้เป็นพาร์ทิชั่นของประเทศไทย เราก็เอาปลาฉนาก เข้าไปด้วยซึ่งมันสูญพันธุ์ไปแล้ว ไม่มีใครเจอแล้ว แต่ถามว่าแล้วใส่ทำไม ก็ใส่เข้ามาเพื่อให้มันเป็นพาร์ทิชั่นของประเทศไทย บางตัวมันสูญพันธุ์ไปแล้วค่อยคุ้มครอง (ยิ้ม)
เพราะฉะนั้น ก็รวมเป็นว่า มีสัตว์สงวน 4 ตัว สัตว์คุ้มครอง 12 ตัว ระหว่างนี้ก็มีการจัดแคมเปญเยอะแยะมากมาย เพราะว่าผมต้องการให้คนหันกลับมาสนใจทะเลไทยด้วย ไม่ใช่ต้องการสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครองอย่างเดียว แล้วคนก็ให้ความร่วมมือเยอะมาก ตัวอย่างเช่น ผมไปจัดนิทรรศการวาฬแห่งสยาม ที่สยามเซ็นเตอร์ เขาให้ความร่วมมือมากมาย เด็กวัยรุ่นแห่มาชม มีนักร้องมา มีใครต่อใครมาแบบไม่เอาค่าตัวเลยด้วยซ้ำ
• แสดงว่าก็มีความตื่นตัวสูงมากในเรื่องอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในทะเลไทย?
ก็นับว่ามีคนให้ความสนใจ... อย่างปลายปีที่แล้ว มีการจัดงานประชุมนู่นนี่นั่น ท่านรัฐมนตรีการท่องเที่ยว ท่านกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ก็มา พร้อมกับมีการพูดถึงแคมเปญต่างๆ ที่เราออกไป ยกตัวอย่างเช่น “สัตว์สงวนแห่งกรุงเทพมหานคร” เพราะวาฬบรูด้านี้มีรูปถ่ายติดสะพานภูมิพล วงแหวนด้านใต้ อีกรูปหนึ่งถ่ายติดคอนโดมีเนียมแถวๆ พระราม 3 เพราะฉะนั้น เราจึงใช้คำพูดว่า สัตว์สงวนแห่งกรุงเทพมหานครมันเป้งมันโดน
แล้วอีกอันหนึ่งซึ่งเราพยายามจะเสนอ และมันเป็นสถานการณ์แบบ “วิน-วิน” ด้วยกันทั้งสองทาง (Win-Win Situation) ก็เนื่องจากว่า การท่องเที่ยวดูวาฬมีเยอะแยะในโลก หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าธุรกิจการท่องเที่ยวชมวาฬในโลกปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท และตัวเลขก็พุ่งขึ้นตลอด ขณะที่อีกอย่างซึ่งอาจจะไม่ทราบกัน คือนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ไปดูวาฬ ไม่ใช่ฝรั่งนะ แต่เป็นใคร รู้ปะ? คนจีนครับ คนจีนชอบดูวาฬมาก ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่มันเป็นอย่างนั้น 40% และประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดของการท่องเที่ยวมูลค่าหนึ่งแสนล้านนั้น เพียง 1 ล้านบาท ทำไมมันน้อยจัง ทั้งที่วาฬอ้าปากหงายให้เราเห็นในพื้นที่ซึ่งไม่ห่างจากพระราม 3 แค่ 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ตรงนั้นมันก็คือวิน-วิน อย่างที่ผมว่า หมายความว่าการท่องเที่ยวก็จะได้ประโยชน์ด้วย เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักของประเทศไทยตอนนี้เป็นคนจีน มี 8 ล้านคนและจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านในไม่ช้า เพราะฉะนั้น เขาก็คือคนกลุ่มหลักของนักท่องเที่ยวดูวาฬอยู่แล้ว พอพูดอย่างนี้ หลายคนอาจจะมีคำถามว่า แล้ววาฬมันจะไม่เดือนร้อนหรอ? ผมก็จะบอกว่า ถ้าเราไม่วางกฎกติกามารยาทในการชมที่มันถูกต้อง แล้วอยู่ดีๆ มันบูมขึ้นมา ก็จะกลายเป็นเหมือนทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น “ภูทับเบิก” หรือที่อื่นๆ คือไม่มีกฎกติกา เกาะพีพีไม่มีกฎกติกา พอบูมขึ้นมาเป็นอย่างไร ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าเราทำให้มันเป็นสัตว์สงวน แล้วจะไม่บูม เพราะถ้ามันบูม มันก็จะบูมอยู่แล้ว มีคนไปดูอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราไปทำให้เกิดกฎกติกา ก็จะดีกว่าไหม ในแง่ของการทำให้ดูได้ แต่ไม่ทำร้ายเขา
• นี่คือ “วิน-วิน” ในแบบของอาจารย์
ในแบบของโลก ไม่ใช่ในแบบของธรณ์ครับ คนทั้งโลกคิดอย่างนี้ คือไม่ใช่ผมคนเดียว เมืองนอกก็มีการใช้แคมเปญด้วย อย่างเช่น Meet Us Don’t Eat Us เพราะมีบางประเทศกินวาฬ ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ... อันนี้อาจจะลึกซึ้งนิดหนึ่ง แต่ต้องอธิบายให้เข้าใจนะครับ คือประเทศไทยเราโดนบีบมาโดยตลอด ในเรื่องการค้าประมงไอยูยู (IUU Fishing) ให้ใบเหลืองปีละหลายแสนล้าน แล้วถ้าเกิดเขาตัดสิทธิ์บีบเราเรื่อยๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านนายกฯ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ถึงเป็นเดือดเป็นร้อนกับประมงใบเหลืองนัก ทำไมออกกติกากฎหมายมาเต็มไปหมด และเป็นที่ประชุมเดียวที่ท่านนายกฯ นั่งเป็นประธานทุกครั้งในที่ประชุม
เหตุผลง่ายๆ คือ มูลค่ามันไม่ใช่จับปลาทูหนึ่งชิ้น มูลค่ามันหลายแสนล้านบาท ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องมากที่สุดในโลก เพราะฉะนั้น ผลกระทบเข้ามาบีบเราขึ้นเรื่อยๆ เขาว่าเราทำลายล้างทรัพยากร เขาบีบกำแพงภาษี ไม่ลดกำแพงภาษี ไม่ทำโน่นทำนี่ คนที่เดือดร้อนอาจจะเป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย อาจเป็นพี่น้องที่ทำงานโรงงาน อย่างนี้มันก็เจ๊งกันหมด เศรษฐกิจก็เจ๊งตามโลจิสติกส์ไม่ส่งของตามวงจรลูกโซ่
ในขณะที่อย่างยุโรปบีบเราว่าเราทำลายล้างทะเล แต่การที่เราผลักดันวาฬบรูด้ากับสัตว์ทั้ง 4 ชนิดเป็นสัตว์สงวน อันนี้ไม่เรียกว่าสนใจทะเลแล้วจะเรียกว่าสนใจอะไร โทษทีพี่ ประเทศในยุโรปหลายประเทศก็ยังล่าวาฬอยู่นะจ๊ะ ทั้งที่วาฬก็เป็นสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ทางทะเลที่คนทั้งโลกเข้าใจ มีบางตัวด้วยซ้ำที่ไซเตส (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์) ยังไม่ได้เอาขึ้นเลย เราดักหน้าเอาขึ้นก่อน เพราะไซเตสเขามีบัญชีรายชื่อสัตว์แอบห้ามค้าขายระหว่างประเทศของเราอยู่ เรารู้ว่าเขาจะเอาขึ้นปลายปีนี้ แต่เราชิงขึ้นก่อนเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้น เราได้หน้าที่สำคัญมากในการต่อรองการค้าระหว่างประเทศ เพราะการค้าระหว่างประเทศปัจจุบันมันไม่เหมือนการค้าเมื่อก่อน เน้นกันว่าคุณต้องทำแบบ Green Business
นี่แหละ ถ้าเกิดมองให้ครบทุกภาค มันจะใช่เรื่องของการทำสัตว์สงวนเพียงอย่างเดียว เราต้องมองให้ครบ เช่น นักท่องเที่ยวที่จะต้องมีส่วนกว่านี้ ดูแลวาฬให้มากกว่านี้ การค้าระดับโลกเรื่องของประมงใบเหลืองที่เราโดนบีบอยู่ และท้ายสุดคือเรื่องของการเรียนรู้ ก็ต้องดีกว่านี้ ไม่ใช่ใส่ชื่อผิดตัวมั่วไปหมด กูปรีเป็นควายป่าแอฟริกา ลูกหลานคนไหนเห็นควายป่าแอฟริกาแล้วเรียกว่ากูปรีก็อย่าแปลกใจนะครับ เพราะว่าตั้งแต่ไอแพดที่เขาแจกให้เรา แล้วให้ไอแพดไปเล่มเกม ก็ได้รับมอบความรู้ผิดๆ มาตลอด
เพราะฉะนั้น เมื่อเราพูดถึงสัตว์สงวน เราอาจจะมีพิพิธภัณฑ์ สร้างการเรียนรู้ สร้างการท่องเที่ยวด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างพิพิธภัณฑ์ที่ผมไปดูมาหลายประเทศ เช่นที่ไอซ์แลนด์ เขามีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ไม่ต้องใหญ่อย่างบ้านเรา เวลาจะสร้างพิพิธภัณฑ์สักหนึ่งแห่ง อย่างแรกก็คือ ตั้งไว้ให้ไกลสุดกู่ไปเลย แต่พิพิธภัณฑ์เมืองอื่นเขาตั้งอยู่ใจกลางเมือง ไปให้ง่ายที่สุด ส่วนของเราเด็กจะได้ไป ก็ต้องไปทัศนศึกษากับโรงเรียนครั้งเดียวเท่านั้น พ่อแม่จะพาลูกไปพิพิธภัณฑ์ ก็คิดว่ากูจะไปคลอง 5 ยังไงโว้ย อันนั้นคือจุดที่สำคัญที่สุด ถ้าเราทำพิพิธภัณฑ์ง่ายๆ พวกอาคารข้างนอก ไม่ต้องทาสีแกรนิตก็ได้ครับ เข้าใจว่าหินแกรนิตมันแพง เงินทอนมันเยอะ เก็บไปทอนอย่างอื่นก็ได้นะ ให้มันได้ประโยชน์ ลักษณะอย่างนี้เราทำได้ และมันไม่ได้ให้ความรู้อย่างเดียว ได้หน้าด้วย
ผมเช็กมาหมดแล้วในอาเซียน จุดเดียวที่เหมาะสมจะกลายเป็นผู้นำของการดูวาฬก็คือกรุงเทพฯ นี่แหละ ผมไปดูวาฬมาแล้วทั่วโลก ทั้งออสเตรีย ฮาวาย อลาสก้า และล่าสุดไปดูที่ไอซ์แลนด์และกลับมาเขียนหนังสือเกี่ยวกับไอซ์แลนด์ ที่ไอซ์แลนด์คนแห่ไปดูคึกคักจนภาพลักษณ์ฝังหัวว่าทุกคนมาไอซ์แลนด์ต้องดูวาฬ แต่รู้ไหม ค่าดูเท่าไหร่ นั่งเรือ 2 ชั่วโมง 3,000 บาท และถ้าเป็นเรือเร็ว 6,000 บาท
เพราะฉะนั้น นี่คือการเพิ่มมูลค่าให้กับการท่องเที่ยว พูดตามตรง ผมดูวาฬที่ไอซ์แลนด์ 2-3 รอบ กับดูวาฬบรูด้าเมืองไทยที่ไม่ต้องถามต่อ ว่าผมไปดูมากี่รอบแล้ว วาฬบรูด้าเมืองไทยมันเห็นโคตรง่าย ง่ายมาก เพราะฉะนั้น ถ้าจะไปดูที่วาฬนิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ ฮาวาย ดูมันว่ายน้ำชูหาง ราคา 3,000 บาทแต่วาฬบรูด้าเมืองไทยดูเพียง 300 บาทจิบน้ำผลไม้ชมวาฬ นั่นแหละคือความหมายที่ผมพูด
ถ้าเราทำสิ่งดีๆ วาฬจะสมัครใจชูหัวชูหางอยู่แล้วทุกวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำให้มันดีๆ มันจะเป็นอะไรที่เปิดตลาดสตาร์ทอัพก็ว่าได้ เราเรียกว่าใช้กึ๋น คือเอาของดีๆ มีประโยชน์มาสร้างให้เกิดประโยชน์ แต่ไม่ใช่แห่ไปดูแบบเอาเจ็ตสกีเข้าไปวิ่งตาม
• ก็ต้องมีกฎกติกา
พอดีว่า วาฬมันไม่ได้เกิดมาให้เราดูน่ะครับ แต่เราแสล็นจะไปดูมันเอง ดังนั้น ถ้าเราจะไปดูวาฬ เราควรทำกติกาให้มันอยู่ในกรอบความเข้าใจของวาฬ ไม่ใช่ความเข้าใจของคนที่แค่อยากเข้าไปดูวาฬให้ใกล้ที่สุดหรือมีส่วนอยากเอาขนมปังเข้าไปในปากวาฬ
• เมื่อสักครู่ อาจารย์กล่าวว่าน่าจะมีพิพิธภัณฑ์เสริมการเรียนรู้ ก็ดูจะคล้ายๆ กับหนังสือซึ่งอาจารย์เขียนเล่มล่าสุด “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ”
ที่เขียนก็เพราะว่าไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วเขียนหนังสือทางทะเลที่ไม่ค่อยมีคนเขียน มีคนเขียนอยู่คนเดียว หลังๆ เราก็เขียนเรื่อง “ใต้ทะเลมีความรัก” พิมพ์ใหม่ คนก็เฮฮาปาร์ตี้ ซึ่งเราการันตีว่าเป็นหนังสือทางทะเลที่ขายดีมากที่สุด เนื่องจากไม่มีหนังสือทางทะเลเล่มอื่น ขายดีที่สุดปราศจากคู่แข่ง เป็นหนึ่งไม่มีสอง (หัวเราะ) แล้วเด็กๆ ก็ชอบ คุณแม่หลายท่านก็เขียนถามมาว่า เมื่อวาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน อาจารย์ช่วยเขียนลงเฟซบุ๊กเยอะๆ หน่อย ผมก็บอก...พี่คะ เฟซบุ๊กของฟรีนะ อาจารย์ธรณ์ก็มีลูกเหมือนกัน ตอนนี้กำลังจะเข้ามหา’ลัย ต้องใช้เงินเยอะเหมือนกัน ฉะนั้น ผมก็เขียนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าผมเขียนแปดบรรทัดไม่ค่อยเป็น ขนาดแปดสิบบรรทัด ผมยังไม่ค่อยเขียนเลยครับ ส่วนใหญ่ผมจะเขียนออกมาในทาง 800 บรรทัดมากกว่า แปดร้อยก็ยังเขียนไม่ได้นะครับเดียวนี้ เพราะฉะนั้น ก็เลยทำเป็นหนังสือเลยดีกว่า (ยิ้ม)
ทีแรก กะว่าจะเขียนทั่วไปแบบง่ายๆ เร็วๆ ข้อมูลมันก็มีอยู่หมดแล้ว รูปก็มีเยอะแยะ ก็เอารูปมาแปะๆ ข้อมูลทั่วไป ผมก็รู้อยู่แล้ว เรียกว่าง่ายมากๆ แต่ผมรู้สึกว่าเรื่องอย่างนั้น กรมทรัพยากรธรรมชาติเขาก็ต้องทำอยู่แล้ว ผมจะทำทำไม คำพูดที่ดูดี ก็คืออย่าไปตัดหน้าเขาเลย แต่ใจจริงๆ ต้องบอกว่าเขาแจกฟรี แต่กูขาย กูเจ๊งแน่เลยว่ะ (หัวเราะ) เข้าใจนะครับมันต่างกัน เพราะฉะนั้น ก็เลยเกิดไอเดียที่จะต้องเขียนดีๆ ให้ได้ อันนี้ค่อยข้างจะรับประกันอยู่ รับประกัน 20 ปี คือผมเขียนสไตล์นี้อยู่ ไอเดียเริ่มต้นก็ใช้สไตล์หลายเล่มมาผสมผสาน ใช้แฮร์รี่ พอตเตอร์ ใช้ทไวไลท์ เอาวายร้ายมาฟัดกัน
อันนี้คือเรื่องจริงนะ ทั้งหมดนี้คือเรื่องจริง อาจารย์ธรณ์ไม่เคยพูดเล่นนะครับ ฟังแล้วเหมือนพูดเล่น แต่ไอเดียผมมันเป็นอย่างนี้ ก็เลยตั้งชื่อว่า “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ” ถ้าใครอ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็คงจะมองออก แต่ของเราเนี่ย ปรับเปลี่ยนมุกหน่อย เดี๋ยวมันจะเป็นการเลียนแบบมากเกินไป เดี๋ยวโดน เจ. เค. โรว์ลิ่ง ฟ้อง (เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์)
ส่วน “ปริศนา” ของเรา จะเป็นสถานที่ที่ผมอยากให้เด็กไทยเมื่ออ่านจบแล้วก็ควรได้รู้จักด้วย ไม่ว่าจะเป็นเกาะกระ ซึ่งคนก็ไม่ค่อยรู้จักว่ามีเกาะแห่งนี้อยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งปริศนาแต่ละแห่งคนไทยก็จะไม่รู้จัก ทั้งๆ ที่มันอยู่ในเมืองไทย จริงๆ มันสวยด้วย แต่ผมไม่บอกหรอก เพราะว่าเดี๋ยวคนแห่กันไปเที่ยว ผมอยากมีที่เที่ยวสงบส่วนตัวในการท่องเที่ยวของผมบ้าง ถ้าใครซื้อหนังสือ เป็นลูกค้าเรา ก็ไปสงบด้วยกันได้ แต่ถ้ายังไม่ซื้อ ก็สงบยังไม่ได้ (ยิ้ม) ฉะนั้น ก็เลยเป็นที่มาของชื่อปก “ปริศนา 7 ประการ”
ต้องบอกว่า เป็นเวลานานเหมือนกันที่ผมไม่ได้เขียนหนังสือ “ทะเล” แม้ว่า “ใต้ทะเลมีความรัก” และ “101 ปลาทะเลไทย” จะขายดีจนตกใจ แต่นั่นก็แค่เอาของเก่ามาทำใหม่ ด้วยเหตุผลว่าผมเขียนไม่ได้ หากปราศจากแรงบันดาลใจอะไรสักอย่าง และเผอิญ แรงนั้นมันมาแล้ว มาหลังจากที่ ครม.เห็นชอบให้วาฬบรูด้าและผองเพื่อนเป็นสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง ในคืนนั้นเอง ผมลงมือเขียน เขียนสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เป็นงานหลุดโลกที่สุดของอาจารย์ธรณ์ หากเคยอ่าน “ใต้ทะเลมีความรัก” บอกได้เลยว่านั่นเป็นแค่น้ำจิ้ม เขียนตั้งแต่เริ่มหัดเดินในโลกวรรณกรรม
สะใจจริงมันต้องอย่างนี้ “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ” เขียน 2 วันจบ! ไม่ต้องแก้ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องวางพล็อต วัดใจกันไปเลย เอาให้คุณอ่านแล้วร้องจ๊าก พ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง รับรองร้องจ๊ากแล้วรักกันหวานแหวว เพิ่มความอบอุ่นในครอบครัวถึงขีดสุด
อะไรคือปริศนาทั้งเจ็ด วาฬบรูด้าจะไปเจอกับสัตว์สงวนรายอื่นได้ยังไง วาฬที่คุณก็รู้ว่าใคร จะพ่ายแพ้หรือไม่? แล้วทำไมกล่องถึงแตก สายถึงหลุด? หากคุณอ่านแล้วส่ายหน้า มุกเดิมๆ พล็อตซ้ำๆ ลอกฝรั่งเค้ามา ผมยินดีพาไปกินแคนเดิ้ลไลท์ดินเนอร์ มิชลิน 50 ดาวก็จะพาไป หรือจะซัดบุฟเฟ่ต์วัววากิวทั้งตัว จากหัวจรดหาง จะจ่ายตังค์เลี้ยงโดยไม่ปริปากสักคำ
คือรักอยากจะฉลองสัตว์สงวนในรอบ 30 ปีทั้งที มันต้องระดับนี้เท่านั้นครับ!!
เรื่อง : ทีมข่าวสัมภาษณ์
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทำงานด้านการอนุรักษ์ทะเล กล่าวได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล อีกทั้งยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับ “ทะเล” ที่ขายดีมาแล้วหลายเล่ม ยกตัวอย่างเช่น “ใต้ทะเลมีความรัก” และ “101 ปลาทะเลไทย”
ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา “ดร.ธรณ์” หรือ “อาจารย์ธรณ์” ตามคำเรียกขานของใครต่อใคร ได้เดินหน้าแคมเปญรณรงค์ผลักดันให้มีกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่หายากและมีแนวโน้มว่ากำลังจะสูญพันธุ์อย่าง “วาฬบรูด้า” และนั่นก็นำไปสู่สิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมานานตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้วาฬบรูด้ามีสถานะเป็นสัตว์สงวน
ยิ่งไปกว่านั้น อาจารย์ธรณ์ยังได้ชักชวน “ผองเพื่อนใต้ทะเลของวาฬบรูด้า” แนบรายชื่อเข้ามาในฐานะสัตว์สงวนตามกฎหมายฉบับฉบับนี้ด้วย ทั้งวาฬโอมูระ ฉลามวาฬ และ เต่ามะเฟือง ขณะเดียวกัน ไหนๆ ก็ไหนๆ มาถึงขั้นนี้แล้ว จึงรวมเอาสิ่งมีชีวิตอีก 12 ชนิดมาติดไว้ในประกาศ ในฐานะสัตว์คุ้มครองด้วย
จากความสำเร็จนั้น นำไปสู่สิ่งที่อาจารย์ใช้คำว่า “สะใจ” จนมิอาจสกัดเก็บความรู้สึกนั้นไว้ได้ และนั่นก็เป็นที่มาของหนังสือเล่มล่าสุดที่ใช้เวลาเขียนเพียงแค่ 2 วัน... “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ”...
• ภายหลังการต่อสู้ผลักดันกันมายาวนาน ตรงนี้ เรียนถามความเห็นโดยรวมของอาจารย์เกี่ยวกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นครับ
เบื้องต้น ผมอยากเล่าอย่างนี้ก่อนครับว่า เรื่องของสัตว์สงวนหรือสัตว์คุ้มครอง เป็นประเด็นหนึ่งซึ่งทำมาค่อนข้างนาน เพราะสงสัยมาตลอดว่า ประมาณ 20-30 ปีที่ผ่านมา เวลาท่องชื่อสัตว์สงวน แล้วให้ลูกท่องตาม มันก็วนอยู่ที่เดิม คือสัตว์สงวนมี 15 ชนิด ตัวสุดท้ายคือพะยูน เป็นสัตว์สงวนทางทะเลชนิดเดียว สงวนจนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว สมัน แรด เรียกว่าแทบสูญพันธุ์ไปแล้ว กระซู่ ตอนเด็กๆ เคยเห็นในเขาดิน ตัวอื่นๆ อย่างกูปรี หลายคนคงไม่รู้จัก
ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือว่า รายชื่อสัตว์สงวน 15 ชนิดนี้มีติดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ที่มี พรบ.ออกประกาศรายชื่อสัตว์สงวน คำถามก็คือมันสามารถมีตัวที่ 16 ได้ไหม แต่กล่าวได้ว่า 30 ปีที่ผ่าน ไม่มีเพิ่มเลย มีเพียง 15 ตัวเท่านั้น ทั้งๆ ที่ 7 สัตว์ที่มีอยู่ในประเทศไทย อยู่ในภาวะที่โคตรจะสงวนได้แล้ว หมายความว่าถ้าไม่สงวนตอนนี้ก็ไม่ต้องสงวน หรือจะรอให้มันสูญพันธุ์ก่อนค่อยสงวนตามใจ เพราะฉะนั้น เราเลยมานั่งคิดว่า จริงๆ แล้ว สัตว์ทะเลก็ควรได้รับการสงวนด้วย
ถามว่าต้องเป็นสัตว์ทะเล ทำไมไม่เป็นสัตว์บก เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะอาจารย์ ธรณ์ทำงานด้านทะเล คนอื่นที่ทำงานบนบกเขาก็ไปสงวนต่อเอง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราต้องการมีอยู่ 2 ประการ
ประการแรก ผมใช้คำว่าทำลายกำแพงสัตว์สงวนที่กั้นไว้อยู่ 30 ปี ด้วยเหตุผลว่าเราศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รัฐบาลทุกรัฐบาลก็พูด ใครก็พูด ทุกคนพูดหมด แล้วจะศึกษาไปทำไมถ้าไม่มีกฎหมายไปดูแลมัน อย่างน้อยที่สุด ผมเห็นว่าเราต้องมีการศึกษา ศึกษาเพื่ออะไร เพื่อถ่ายรูปให้คนดูเล่นอย่างเดียว หรือศึกษาเพื่อที่จะทำให้สามารถจัดการมันได้ ศึกษาเพื่อรักษา หรือศึกษาเพื่อดูเล่น หรือเพื่อเอาไว้นำเสนองานเพื่อที่จะได้ตำแหน่ง
แต่จริงๆ ที่สำคัญที่สุด คือศึกษาเพื่อรักษา แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีก็คือ พอศึกษาจบแล้วมันไม่ถึงตอนจบสักที เพราะมันไม่มีกฎหมายขั้นสูงสุดสำหรับสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มันก็ตาเหลือกทั้งนั้น หลายคนบอกมันสงวนแล้วสูญพันธุ์ใช่ไหม ฐานะของสัตว์สงวนมันจะต่างกันเยอะ ผมยกตัวอย่าง “นกแต้วแร้วท้องดำ” อย่างน้อยที่สุดก็เป็นข่าว สำนักข่าวอื่นๆ ก็ออกข่าวเยอะแยะ ออกกันจนอุตลุดว่าเหลือตัวเดียว แล้วถ้าเกิดมันเป็น “นกแต้วแร้วท้องแดง” ใครจะสนใจมัน (หัวเราะ)
เพราะฉะนั้น ถ้าเราศึกษากันอย่างเดียว ทำออกมาไม่รู้กี่พันกี่หมื่น เยอะแยะ มากมาย แต่เราไม่คิดทำกฎหมายต่างๆ ขึ้นมาแล้วเราจะศึกษาไปทำไม นั่นคือคำตอบของผม เพราะฉะนั้น เราก็เลยพยายามทำลายกำแพงนี้ นั่นก็คือวัตถุประสงค์ประการที่หนึ่ง
ประการที่ 2 ผมทำเรื่องทะเลสัตว์ทะเลจะสูญพันธุ์ ผมก็ต้องควรที่จะสงวนรักษามันไว้ อันนี้มันก็ชัดเจน ตรงไปตรงมา เราก็มาวางแผน แต่ไม่ได้บอกหน่วยงานภาครัฐเลยนะ กลัวเขาจะตกใจ คือหน่วยงานภาครัฐประเทศไทยตกใจง่ายนะ เข้าใจตรงกันนะ (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น เราก็เลยลองศึกษาดูก่อน เพราะถ้าหน้าแตกขึ้นมา ผมก็จะได้หน้าแตกคนเดียว เป็นห่วงรัฐ กลัวเขาจะหน้าแตกด้วย (ยิ้ม)
ผมก็เลยเขียนไปในเฟซบุ๊กส่วนตัวของผมว่า ลองคิดดูไหม ถ้า “วาฬบรูด้า” เป็นสัตว์สงวนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น โอ้! คนกดไลค์ไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ เป็นหลายพัน เกือบหมื่นเลยครั้งแรก คนอาจจะถามว่าทำไมต้องเป็นวาฬบรูด้า ข้อที่หนึ่ง ก็ขนาดที่พี่ติ๊ก (เจษฎาภรณ์ ผลดี) ยังเคยพานักท่องเที่ยวไปดูวาฬบรูด้าออกรายการเยอะแยะ ใครคนไทยก็รู้จัก วาฬบรูด้าโพสอ้าปากพะงาบๆ เยอะเลยที่สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ข้อที่ 2 เราคิดว่าเราจะสงวนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ วาฬบรูด้ามีความยาวถึง 17 เมตร น้ำหนักเท่ากับช้างเรียงกันหลายตัว แล้ววาฬมันเป็นสัญลักษณ์ของทะเล เด็กอังกฤษ เด็กไอซ์แลนด์ เด็กอเมริกา หรือเด็กไทยก็รู้จักว่า นี่คือวาฬ ภาพลักษณ์สูง และข้อต่อมา จำนวนของวาฬบรูด้าทั้งประเทศไทยเหลืออยู่ 65 ตัว พะยูนซึ่งเป็นสัตว์สงวนอันดับที่ 15 นั้น เรามีอยู่ประมาณ 200 กว่าตัว เพราะฉะนั้น วาฬบรูด้ามีน้อยกว่าพะยูน แล้วทำไมเราจะไม่สงวน เท่านี้เหตุผลก็นับว่าเพียงพอแล้ว เราสงวนพะยูนได้ แล้วทำไมเราจะสงวนวาฬบรูด้าไม่ได้
ที่สำคัญ มันไม่ได้ว่ายน้ำไปมา หลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันผ่านไปผ่านมา จริงๆ แล้ว วาฬบรูด้าที่มาอยู่ในอ่าวไทย มันชอบเมืองไทย อยู่ถาวร แต่เดิมเราเข้าใจว่ามันจะเข้ามาเฉพาะบางช่วงของปีเท่านั้น หลังๆ มีการศึกษาวาฬกันมากขึ้น เราพบว่ามันอยู่ทั้งปี เพียงแต่ว่าอาจจะมีช่วงที่เข้ามาใกล้ฝั่ง และมีช่วงที่ไกลฝั่ง แต่ถือว่าเป็นสัตว์ประจำถิ่น ไม่ใช่สัตว์อพยพ นี่ก็เป็นเหตุผลว่าเราต้องสงวนเขา เพราะเขามาอยู่ในเมืองไทย เข้าใจนะครับ
เพราะฉะนั้น ตรงนั้น เราก็เสนอโครงการไป และเริ่มไปคุยกับหน่วยงานบางแห่ง หน่วยงานที่ไปคุยคือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แล้วไปคุยกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็โชคดีว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เขาก็ทำงานเรื่องนั้นพอสมควร อีกทั้งท่านเกษมสันต์ ปลัดกระทรวง ท่านเคยเป็นอธิบดีกรมนี้ พอดีผมรู้จักท่านมานานแล้ว ท่านก็เคยไปดูวาฬบรูด้าแล้ว ท่านก็บอกว่าโอเค เอาเลย ลุยเลย เพราะฉะนั้น เราได้ภาครัฐมา เราได้ภาคประชาชนมา แต่เพื่อความให้มันมั่นใจ เพราะอย่าลืมว่านี่คือกำแพงสัตว์สงวน 30 ปี ไม่เคยมีใครถล่ม
นอกจากนั้น เราก็ไปทำโครงการเพิ่ม ก็คือออกแคมเปญกับทาง Change.org คุยกับ change แล้ว change ก็ขอให้ออกรวบรวมรายชื่อให้ได้ห้าหมื่นรายชื่อ ซึ่งผมพูดตามตรงเลยนะครับ ยังไม่เคยมีการอนุรักษ์ที่ไหนที่ได้ 50,000 รายชื่อ อย่าว่าแต่สัตว์สงวนเลยนะ แม้แต่จะคัดค้านที่ไหน อย่างโรงไฟฟ้า ก็ไม่เคยมีถึง 50,000 แต่เราก็ทำได้ 50,000 สำหรับการสงวนพันธุ์สัตว์หนึ่งชนิด พอได้มา 50,000 รายชื่อปุ๊บ เราก็เอา 50,000 ไปยื่นรัฐมนตรี จริงๆ ผมคุยกับท่านดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากร ฯ ขณะนั้น ท่านก็โอเค ไม่มีปัญหา จนกระทั่งท่านดาว์พงษ์ย้ายไปกระทรวงศึกษาธิการ มีท่านพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เข้ามาแทน เราก็เริ่มกระบวนการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็ต้องไปผ่านการพิจารณาของกระทรวงเกษตร ที่กรมประมง เสร็จแล้วก็กลับมาที่กระทรวงทรัพยากร ฯ กลับไปกลับมาหลายรอบมาก
• จากจุดเริ่มถึงจุดสำเร็จอย่างทุกวันนี้ ใช้เวลานานแค่ไหนครับ
จริงๆ แล้ว เริ่มโครงการมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนปีที่แล้ว (พ.ศ.2558) รวมๆ แล้วก็หนึ่งปีเต็มๆ ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดแล้วล่ะ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราผลักดันเรื่องวาฬบรูด้า เราก็คิดว่าน้ำขึ้นให้รีบตักไปเลยก็ดี ก็รวมเอาสัตว์ตัวใหม่เข้ามาด้วย นั่นก็คือวาฬโอมูระซึ่งหายากกว่าวาฬบรูด้าด้วยซ้ำ คนไม่ค่อยรู้จักหน้าตามันเหมือนกัน ตัวที่ 3 คือ “ฉลามวาฬ” ซึ่งใครก็รู้จักดี เรื่องฉลามวาฬ ผมทำตั้งแต่สมัยท่านรัฐมนตรีปองพล อดิเรกสาร ตอนนั้นมีกลุ่มรักฉลามวาฬ เราก็ไปหาท่านรัฐมนตรีปองพลแล้วขอให้เป็นสัตว์ห้ามล่าในการประมง ก็ประสบผลสำเร็จเป็นตัวแรกเลยที่มีการห้ามล่าทางการประมง
จากนั้น พอนึกถึงฉลามวาฬที่เราใส่เข้าไปเป็นอันดับ 3 ตัวสุดท้ายที่เรารวมเข้าไปอีกก็คือ “เต่ามะเฟือง” ที่เป็นเต่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก แล้วก็เคยอยู่ในประเทศไทยมากมาย แต่มีปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ เราก็เลยใส่เต่ามะเฟืองเข้าไปเป็นสัตว์สงวนด้วย รวมเป็น 4 ตัว
นอกจากนี้ เรายังมีการผลักดันรายชื่อสัตว์คุ้มครองเข้าไปอีก 12 ชนิด เช่น กระเบนแมนต้า, กลุ่มปลาโรนิน, กระเบนปีศาจ ฯ ซึ่งบางชนิดก็เป็นสัตว์แปลกๆ ที่หายและสูญพันธุ์ไปหมด แต่เพื่อให้เป็นพาร์ทิชั่นของประเทศไทย เราก็เอาปลาฉนาก เข้าไปด้วยซึ่งมันสูญพันธุ์ไปแล้ว ไม่มีใครเจอแล้ว แต่ถามว่าแล้วใส่ทำไม ก็ใส่เข้ามาเพื่อให้มันเป็นพาร์ทิชั่นของประเทศไทย บางตัวมันสูญพันธุ์ไปแล้วค่อยคุ้มครอง (ยิ้ม)
เพราะฉะนั้น ก็รวมเป็นว่า มีสัตว์สงวน 4 ตัว สัตว์คุ้มครอง 12 ตัว ระหว่างนี้ก็มีการจัดแคมเปญเยอะแยะมากมาย เพราะว่าผมต้องการให้คนหันกลับมาสนใจทะเลไทยด้วย ไม่ใช่ต้องการสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครองอย่างเดียว แล้วคนก็ให้ความร่วมมือเยอะมาก ตัวอย่างเช่น ผมไปจัดนิทรรศการวาฬแห่งสยาม ที่สยามเซ็นเตอร์ เขาให้ความร่วมมือมากมาย เด็กวัยรุ่นแห่มาชม มีนักร้องมา มีใครต่อใครมาแบบไม่เอาค่าตัวเลยด้วยซ้ำ
• แสดงว่าก็มีความตื่นตัวสูงมากในเรื่องอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในทะเลไทย?
ก็นับว่ามีคนให้ความสนใจ... อย่างปลายปีที่แล้ว มีการจัดงานประชุมนู่นนี่นั่น ท่านรัฐมนตรีการท่องเที่ยว ท่านกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ก็มา พร้อมกับมีการพูดถึงแคมเปญต่างๆ ที่เราออกไป ยกตัวอย่างเช่น “สัตว์สงวนแห่งกรุงเทพมหานคร” เพราะวาฬบรูด้านี้มีรูปถ่ายติดสะพานภูมิพล วงแหวนด้านใต้ อีกรูปหนึ่งถ่ายติดคอนโดมีเนียมแถวๆ พระราม 3 เพราะฉะนั้น เราจึงใช้คำพูดว่า สัตว์สงวนแห่งกรุงเทพมหานครมันเป้งมันโดน
แล้วอีกอันหนึ่งซึ่งเราพยายามจะเสนอ และมันเป็นสถานการณ์แบบ “วิน-วิน” ด้วยกันทั้งสองทาง (Win-Win Situation) ก็เนื่องจากว่า การท่องเที่ยวดูวาฬมีเยอะแยะในโลก หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าธุรกิจการท่องเที่ยวชมวาฬในโลกปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท และตัวเลขก็พุ่งขึ้นตลอด ขณะที่อีกอย่างซึ่งอาจจะไม่ทราบกัน คือนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ไปดูวาฬ ไม่ใช่ฝรั่งนะ แต่เป็นใคร รู้ปะ? คนจีนครับ คนจีนชอบดูวาฬมาก ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่มันเป็นอย่างนั้น 40% และประเทศไทยมีส่วนแบ่งการตลาดของการท่องเที่ยวมูลค่าหนึ่งแสนล้านนั้น เพียง 1 ล้านบาท ทำไมมันน้อยจัง ทั้งที่วาฬอ้าปากหงายให้เราเห็นในพื้นที่ซึ่งไม่ห่างจากพระราม 3 แค่ 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ตรงนั้นมันก็คือวิน-วิน อย่างที่ผมว่า หมายความว่าการท่องเที่ยวก็จะได้ประโยชน์ด้วย เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักของประเทศไทยตอนนี้เป็นคนจีน มี 8 ล้านคนและจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านในไม่ช้า เพราะฉะนั้น เขาก็คือคนกลุ่มหลักของนักท่องเที่ยวดูวาฬอยู่แล้ว พอพูดอย่างนี้ หลายคนอาจจะมีคำถามว่า แล้ววาฬมันจะไม่เดือนร้อนหรอ? ผมก็จะบอกว่า ถ้าเราไม่วางกฎกติกามารยาทในการชมที่มันถูกต้อง แล้วอยู่ดีๆ มันบูมขึ้นมา ก็จะกลายเป็นเหมือนทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น “ภูทับเบิก” หรือที่อื่นๆ คือไม่มีกฎกติกา เกาะพีพีไม่มีกฎกติกา พอบูมขึ้นมาเป็นอย่างไร ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าเราทำให้มันเป็นสัตว์สงวน แล้วจะไม่บูม เพราะถ้ามันบูม มันก็จะบูมอยู่แล้ว มีคนไปดูอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราไปทำให้เกิดกฎกติกา ก็จะดีกว่าไหม ในแง่ของการทำให้ดูได้ แต่ไม่ทำร้ายเขา
• นี่คือ “วิน-วิน” ในแบบของอาจารย์
ในแบบของโลก ไม่ใช่ในแบบของธรณ์ครับ คนทั้งโลกคิดอย่างนี้ คือไม่ใช่ผมคนเดียว เมืองนอกก็มีการใช้แคมเปญด้วย อย่างเช่น Meet Us Don’t Eat Us เพราะมีบางประเทศกินวาฬ ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ... อันนี้อาจจะลึกซึ้งนิดหนึ่ง แต่ต้องอธิบายให้เข้าใจนะครับ คือประเทศไทยเราโดนบีบมาโดยตลอด ในเรื่องการค้าประมงไอยูยู (IUU Fishing) ให้ใบเหลืองปีละหลายแสนล้าน แล้วถ้าเกิดเขาตัดสิทธิ์บีบเราเรื่อยๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านนายกฯ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ถึงเป็นเดือดเป็นร้อนกับประมงใบเหลืองนัก ทำไมออกกติกากฎหมายมาเต็มไปหมด และเป็นที่ประชุมเดียวที่ท่านนายกฯ นั่งเป็นประธานทุกครั้งในที่ประชุม
เหตุผลง่ายๆ คือ มูลค่ามันไม่ใช่จับปลาทูหนึ่งชิ้น มูลค่ามันหลายแสนล้านบาท ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องมากที่สุดในโลก เพราะฉะนั้น ผลกระทบเข้ามาบีบเราขึ้นเรื่อยๆ เขาว่าเราทำลายล้างทรัพยากร เขาบีบกำแพงภาษี ไม่ลดกำแพงภาษี ไม่ทำโน่นทำนี่ คนที่เดือดร้อนอาจจะเป็นคนที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย อาจเป็นพี่น้องที่ทำงานโรงงาน อย่างนี้มันก็เจ๊งกันหมด เศรษฐกิจก็เจ๊งตามโลจิสติกส์ไม่ส่งของตามวงจรลูกโซ่
ในขณะที่อย่างยุโรปบีบเราว่าเราทำลายล้างทะเล แต่การที่เราผลักดันวาฬบรูด้ากับสัตว์ทั้ง 4 ชนิดเป็นสัตว์สงวน อันนี้ไม่เรียกว่าสนใจทะเลแล้วจะเรียกว่าสนใจอะไร โทษทีพี่ ประเทศในยุโรปหลายประเทศก็ยังล่าวาฬอยู่นะจ๊ะ ทั้งที่วาฬก็เป็นสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ทางทะเลที่คนทั้งโลกเข้าใจ มีบางตัวด้วยซ้ำที่ไซเตส (อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์) ยังไม่ได้เอาขึ้นเลย เราดักหน้าเอาขึ้นก่อน เพราะไซเตสเขามีบัญชีรายชื่อสัตว์แอบห้ามค้าขายระหว่างประเทศของเราอยู่ เรารู้ว่าเขาจะเอาขึ้นปลายปีนี้ แต่เราชิงขึ้นก่อนเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้น เราได้หน้าที่สำคัญมากในการต่อรองการค้าระหว่างประเทศ เพราะการค้าระหว่างประเทศปัจจุบันมันไม่เหมือนการค้าเมื่อก่อน เน้นกันว่าคุณต้องทำแบบ Green Business
นี่แหละ ถ้าเกิดมองให้ครบทุกภาค มันจะใช่เรื่องของการทำสัตว์สงวนเพียงอย่างเดียว เราต้องมองให้ครบ เช่น นักท่องเที่ยวที่จะต้องมีส่วนกว่านี้ ดูแลวาฬให้มากกว่านี้ การค้าระดับโลกเรื่องของประมงใบเหลืองที่เราโดนบีบอยู่ และท้ายสุดคือเรื่องของการเรียนรู้ ก็ต้องดีกว่านี้ ไม่ใช่ใส่ชื่อผิดตัวมั่วไปหมด กูปรีเป็นควายป่าแอฟริกา ลูกหลานคนไหนเห็นควายป่าแอฟริกาแล้วเรียกว่ากูปรีก็อย่าแปลกใจนะครับ เพราะว่าตั้งแต่ไอแพดที่เขาแจกให้เรา แล้วให้ไอแพดไปเล่มเกม ก็ได้รับมอบความรู้ผิดๆ มาตลอด
เพราะฉะนั้น เมื่อเราพูดถึงสัตว์สงวน เราอาจจะมีพิพิธภัณฑ์ สร้างการเรียนรู้ สร้างการท่องเที่ยวด้วย แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างพิพิธภัณฑ์ที่ผมไปดูมาหลายประเทศ เช่นที่ไอซ์แลนด์ เขามีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ไม่ต้องใหญ่อย่างบ้านเรา เวลาจะสร้างพิพิธภัณฑ์สักหนึ่งแห่ง อย่างแรกก็คือ ตั้งไว้ให้ไกลสุดกู่ไปเลย แต่พิพิธภัณฑ์เมืองอื่นเขาตั้งอยู่ใจกลางเมือง ไปให้ง่ายที่สุด ส่วนของเราเด็กจะได้ไป ก็ต้องไปทัศนศึกษากับโรงเรียนครั้งเดียวเท่านั้น พ่อแม่จะพาลูกไปพิพิธภัณฑ์ ก็คิดว่ากูจะไปคลอง 5 ยังไงโว้ย อันนั้นคือจุดที่สำคัญที่สุด ถ้าเราทำพิพิธภัณฑ์ง่ายๆ พวกอาคารข้างนอก ไม่ต้องทาสีแกรนิตก็ได้ครับ เข้าใจว่าหินแกรนิตมันแพง เงินทอนมันเยอะ เก็บไปทอนอย่างอื่นก็ได้นะ ให้มันได้ประโยชน์ ลักษณะอย่างนี้เราทำได้ และมันไม่ได้ให้ความรู้อย่างเดียว ได้หน้าด้วย
ผมเช็กมาหมดแล้วในอาเซียน จุดเดียวที่เหมาะสมจะกลายเป็นผู้นำของการดูวาฬก็คือกรุงเทพฯ นี่แหละ ผมไปดูวาฬมาแล้วทั่วโลก ทั้งออสเตรีย ฮาวาย อลาสก้า และล่าสุดไปดูที่ไอซ์แลนด์และกลับมาเขียนหนังสือเกี่ยวกับไอซ์แลนด์ ที่ไอซ์แลนด์คนแห่ไปดูคึกคักจนภาพลักษณ์ฝังหัวว่าทุกคนมาไอซ์แลนด์ต้องดูวาฬ แต่รู้ไหม ค่าดูเท่าไหร่ นั่งเรือ 2 ชั่วโมง 3,000 บาท และถ้าเป็นเรือเร็ว 6,000 บาท
เพราะฉะนั้น นี่คือการเพิ่มมูลค่าให้กับการท่องเที่ยว พูดตามตรง ผมดูวาฬที่ไอซ์แลนด์ 2-3 รอบ กับดูวาฬบรูด้าเมืองไทยที่ไม่ต้องถามต่อ ว่าผมไปดูมากี่รอบแล้ว วาฬบรูด้าเมืองไทยมันเห็นโคตรง่าย ง่ายมาก เพราะฉะนั้น ถ้าจะไปดูที่วาฬนิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ ฮาวาย ดูมันว่ายน้ำชูหาง ราคา 3,000 บาทแต่วาฬบรูด้าเมืองไทยดูเพียง 300 บาทจิบน้ำผลไม้ชมวาฬ นั่นแหละคือความหมายที่ผมพูด
ถ้าเราทำสิ่งดีๆ วาฬจะสมัครใจชูหัวชูหางอยู่แล้วทุกวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำให้มันดีๆ มันจะเป็นอะไรที่เปิดตลาดสตาร์ทอัพก็ว่าได้ เราเรียกว่าใช้กึ๋น คือเอาของดีๆ มีประโยชน์มาสร้างให้เกิดประโยชน์ แต่ไม่ใช่แห่ไปดูแบบเอาเจ็ตสกีเข้าไปวิ่งตาม
• ก็ต้องมีกฎกติกา
พอดีว่า วาฬมันไม่ได้เกิดมาให้เราดูน่ะครับ แต่เราแสล็นจะไปดูมันเอง ดังนั้น ถ้าเราจะไปดูวาฬ เราควรทำกติกาให้มันอยู่ในกรอบความเข้าใจของวาฬ ไม่ใช่ความเข้าใจของคนที่แค่อยากเข้าไปดูวาฬให้ใกล้ที่สุดหรือมีส่วนอยากเอาขนมปังเข้าไปในปากวาฬ
• เมื่อสักครู่ อาจารย์กล่าวว่าน่าจะมีพิพิธภัณฑ์เสริมการเรียนรู้ ก็ดูจะคล้ายๆ กับหนังสือซึ่งอาจารย์เขียนเล่มล่าสุด “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ”
ที่เขียนก็เพราะว่าไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วเขียนหนังสือทางทะเลที่ไม่ค่อยมีคนเขียน มีคนเขียนอยู่คนเดียว หลังๆ เราก็เขียนเรื่อง “ใต้ทะเลมีความรัก” พิมพ์ใหม่ คนก็เฮฮาปาร์ตี้ ซึ่งเราการันตีว่าเป็นหนังสือทางทะเลที่ขายดีมากที่สุด เนื่องจากไม่มีหนังสือทางทะเลเล่มอื่น ขายดีที่สุดปราศจากคู่แข่ง เป็นหนึ่งไม่มีสอง (หัวเราะ) แล้วเด็กๆ ก็ชอบ คุณแม่หลายท่านก็เขียนถามมาว่า เมื่อวาฬบรูด้าเป็นสัตว์สงวน อาจารย์ช่วยเขียนลงเฟซบุ๊กเยอะๆ หน่อย ผมก็บอก...พี่คะ เฟซบุ๊กของฟรีนะ อาจารย์ธรณ์ก็มีลูกเหมือนกัน ตอนนี้กำลังจะเข้ามหา’ลัย ต้องใช้เงินเยอะเหมือนกัน ฉะนั้น ผมก็เขียนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าผมเขียนแปดบรรทัดไม่ค่อยเป็น ขนาดแปดสิบบรรทัด ผมยังไม่ค่อยเขียนเลยครับ ส่วนใหญ่ผมจะเขียนออกมาในทาง 800 บรรทัดมากกว่า แปดร้อยก็ยังเขียนไม่ได้นะครับเดียวนี้ เพราะฉะนั้น ก็เลยทำเป็นหนังสือเลยดีกว่า (ยิ้ม)
ทีแรก กะว่าจะเขียนทั่วไปแบบง่ายๆ เร็วๆ ข้อมูลมันก็มีอยู่หมดแล้ว รูปก็มีเยอะแยะ ก็เอารูปมาแปะๆ ข้อมูลทั่วไป ผมก็รู้อยู่แล้ว เรียกว่าง่ายมากๆ แต่ผมรู้สึกว่าเรื่องอย่างนั้น กรมทรัพยากรธรรมชาติเขาก็ต้องทำอยู่แล้ว ผมจะทำทำไม คำพูดที่ดูดี ก็คืออย่าไปตัดหน้าเขาเลย แต่ใจจริงๆ ต้องบอกว่าเขาแจกฟรี แต่กูขาย กูเจ๊งแน่เลยว่ะ (หัวเราะ) เข้าใจนะครับมันต่างกัน เพราะฉะนั้น ก็เลยเกิดไอเดียที่จะต้องเขียนดีๆ ให้ได้ อันนี้ค่อยข้างจะรับประกันอยู่ รับประกัน 20 ปี คือผมเขียนสไตล์นี้อยู่ ไอเดียเริ่มต้นก็ใช้สไตล์หลายเล่มมาผสมผสาน ใช้แฮร์รี่ พอตเตอร์ ใช้ทไวไลท์ เอาวายร้ายมาฟัดกัน
อันนี้คือเรื่องจริงนะ ทั้งหมดนี้คือเรื่องจริง อาจารย์ธรณ์ไม่เคยพูดเล่นนะครับ ฟังแล้วเหมือนพูดเล่น แต่ไอเดียผมมันเป็นอย่างนี้ ก็เลยตั้งชื่อว่า “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ” ถ้าใครอ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็คงจะมองออก แต่ของเราเนี่ย ปรับเปลี่ยนมุกหน่อย เดี๋ยวมันจะเป็นการเลียนแบบมากเกินไป เดี๋ยวโดน เจ. เค. โรว์ลิ่ง ฟ้อง (เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์)
ส่วน “ปริศนา” ของเรา จะเป็นสถานที่ที่ผมอยากให้เด็กไทยเมื่ออ่านจบแล้วก็ควรได้รู้จักด้วย ไม่ว่าจะเป็นเกาะกระ ซึ่งคนก็ไม่ค่อยรู้จักว่ามีเกาะแห่งนี้อยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งปริศนาแต่ละแห่งคนไทยก็จะไม่รู้จัก ทั้งๆ ที่มันอยู่ในเมืองไทย จริงๆ มันสวยด้วย แต่ผมไม่บอกหรอก เพราะว่าเดี๋ยวคนแห่กันไปเที่ยว ผมอยากมีที่เที่ยวสงบส่วนตัวในการท่องเที่ยวของผมบ้าง ถ้าใครซื้อหนังสือ เป็นลูกค้าเรา ก็ไปสงบด้วยกันได้ แต่ถ้ายังไม่ซื้อ ก็สงบยังไม่ได้ (ยิ้ม) ฉะนั้น ก็เลยเป็นที่มาของชื่อปก “ปริศนา 7 ประการ”
ต้องบอกว่า เป็นเวลานานเหมือนกันที่ผมไม่ได้เขียนหนังสือ “ทะเล” แม้ว่า “ใต้ทะเลมีความรัก” และ “101 ปลาทะเลไทย” จะขายดีจนตกใจ แต่นั่นก็แค่เอาของเก่ามาทำใหม่ ด้วยเหตุผลว่าผมเขียนไม่ได้ หากปราศจากแรงบันดาลใจอะไรสักอย่าง และเผอิญ แรงนั้นมันมาแล้ว มาหลังจากที่ ครม.เห็นชอบให้วาฬบรูด้าและผองเพื่อนเป็นสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง ในคืนนั้นเอง ผมลงมือเขียน เขียนสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เป็นงานหลุดโลกที่สุดของอาจารย์ธรณ์ หากเคยอ่าน “ใต้ทะเลมีความรัก” บอกได้เลยว่านั่นเป็นแค่น้ำจิ้ม เขียนตั้งแต่เริ่มหัดเดินในโลกวรรณกรรม
สะใจจริงมันต้องอย่างนี้ “วาฬบรูด้า กับปริศนา 7 ประการ” เขียน 2 วันจบ! ไม่ต้องแก้ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องวางพล็อต วัดใจกันไปเลย เอาให้คุณอ่านแล้วร้องจ๊าก พ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง รับรองร้องจ๊ากแล้วรักกันหวานแหวว เพิ่มความอบอุ่นในครอบครัวถึงขีดสุด
อะไรคือปริศนาทั้งเจ็ด วาฬบรูด้าจะไปเจอกับสัตว์สงวนรายอื่นได้ยังไง วาฬที่คุณก็รู้ว่าใคร จะพ่ายแพ้หรือไม่? แล้วทำไมกล่องถึงแตก สายถึงหลุด? หากคุณอ่านแล้วส่ายหน้า มุกเดิมๆ พล็อตซ้ำๆ ลอกฝรั่งเค้ามา ผมยินดีพาไปกินแคนเดิ้ลไลท์ดินเนอร์ มิชลิน 50 ดาวก็จะพาไป หรือจะซัดบุฟเฟ่ต์วัววากิวทั้งตัว จากหัวจรดหาง จะจ่ายตังค์เลี้ยงโดยไม่ปริปากสักคำ
คือรักอยากจะฉลองสัตว์สงวนในรอบ 30 ปีทั้งที มันต้องระดับนี้เท่านั้นครับ!!
พิเศษสุด เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 4 สัตว์สงวนชนิดใหม่ กับหนังสือชุดปกแข็ง Limited Edition พร้อมลายเซ็นผู้เขียน ราคาปกติ 350 บาท เหลือเพียง 280 บาท ซื้อทั้งชุด 2 เล่ม เก็บไว้ 1 เล่ม และอีก 1 เล่ม เพื่อบริจาคให้ห้องสมุดหรือเยาวชนในถิ่นกันดาร เหลือเพียง 500 บาท หมายเหตุ : ชุดปกแข็ง ไม่มีวางจำหน่ายในร้านหนังสือทั่วไป หมดเขตสั่งจองภายใน 31 สิงหาคมนี้ ท่านจะได้รับหนังสือพร้อมลายเซ็นภายใน 15 กันยายนนี้ ผู้สนใจสั่งจองผ่านทาง paypal คลิกที่ http://mgr.manager.co.th/banner/baanphraathit35.html หรือติดต่อสั่งจองได้ 3 ช่องทางออนไลน์สะดวกรวดเร็ว 1. inbox : FB สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ 2. ID Line : baan_athit 3. ID Line@ : @baan_athit |
เรื่อง : ทีมข่าวสัมภาษณ์
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช