“คักกะด้อกะเดี้ย” สำหรับภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวูด Now you see me 2 เวอร์ชั่นเสียงพากย์อีสาน ที่เพียงแค่ถูกปล่อยตัวอย่างหนัง ผลตอบรับที่ได้กลับล้นหลามนั้น และก่อให้เกิดการพากย์เสียงอีสานขึ้นอีกครั้งในโรงภาพยนตร์

เปิดโต... 3 อาชา หรือ 3 ม้าผู้บ่าว นักพากย์หนังเรื่องดังกล่าว นำทีมโดย เฒ่าคม “คมหลอ-นิคม สุนทรพิทักษ์” ผู้ให้เสียงพากย์อีสานที่เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเมืองไทย เจ้าของเสียงพากย์ “ชาร์ลี แชปลิน เวอร์ชั่นอีสาน”
“ทางสหมงคลฟิล์มติดต่อมา โดยผ่านทางคุณโต๊ะ พันธมิตร เขาถามว่าใช่เราไหมที่พากย์ ชาร์ลี แชปลิน เสียงอีสาน พอบอกว่าใช่ เขาก็ติดต่อให้เราไปพากย์หนังตัวอย่างเรื่องนี้เป็นเสียงอีสาน หลังจากนั้นฟีดแบคดี เขาก็เลยให้เราพากย์หนังเต็มเรื่อง” เฒ่าคม ชาร์ลี เผย
จากจุดเริ่มด้วยคนๆ หนึ่ง นำพาให้เราได้รู้จักทีมพากย์เสียงอีสานที่น้อยคนนักจะรู้จัก “กัน-กันต์ พลสงคราม” และ “ฟู-กิตติกร สุทธิสน” ทีมงานคนรุ่นใหม่ที่ต่อยอดฟิล์มทั้งเรื่อง เรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของคนไทยทั้งประเทศในเวอร์ชั่นอีสาน

• สามหนุ่มนี้คือทีมพากย์เสียงอีสานทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่อง Now You See Me
ลุงนิคม : ยังมีน้องนุชผู้หญิง (อรนุช ลาดพันนา) อีกหนึ่งคนครับ เป็นผู้ที่ให้เสียงตัวละครหญิง หลักๆ ก็คือนางเอกของเรื่อง เรามีทั้งหมด 4 คน ซึ่งเราก็พากย์ให้กับบริษัท MV ของคนไทยเราส่งไปที่เวียงจันทน์ แต่เป็นหนังของประเทศจีน แนวชีวิต แนวบู๊ แนวตลก และซีรีย์ ไม่ใช่หนังทางฝั่งฮอลลีวูด ก็เพิ่งจะตั้งทีมทำมาไม่นาน ปีกว่าๆ เท่านั้นเอง
• แสดงว่าจากในรอบหลายสิบกว่าปีที่ผ่านมา Now you see me คือหนังเรื่องแรกที่ให้เสียงพากย์อีสานลงโรงหนังภาพยนตร์
ลุงนิคม : ใช่...จะกล่าวอย่างนั้นก็ได้ เพราะไม่เคยรู้ว่าเกิดขึ้นมาก่อนหรือเปล่า แต่เราก็เคยทำเองเล่นๆ พากย์หนังใหญ่ลงโรงเป็นภาษาอีสานช่วงก่อนจะทำ ชาร์ลี แชปลิน พากย์ลาว คือเรื่องของเรื่อง ตอนนั้นเราพากย์หนังให้โรงโพธิ์แหงน บริษัทไกลลาศ เป็นหนังสายอีสาน แล้วมีวันหนึ่งเฮียเจ้าของโทรมาบอกว่าให้เอาหนังมาลงที่ อ.พังโคน จังหวัดสกลนคร เราก็ตีรถจากจังหวัดอุบลราชธานี ไปถึงที่นั่นประมาณตี 3 ก็สังเกตว่าทำไมคนดูหัวเราะขำกลิ้งกันอยู่เลยตอนเวลาอย่างนั้น ก็รีบเปิดประตูรถออกไปยืนดู สักพักเดียว เราก็หัวเราะจนงอหายเหมือนคนอื่นๆ เพราะว่าหนังคาวบอย แต่ดันพากย์เสียงเป็นภาษาอีสาน อันนั้นคือส่วนตัวที่เห็นครั้งแรกในชีวิต คือเห็นจากกลางแปลงจอของโพธิ์แหงน จากลุงคนนั้น ซึ่งเราก็จำชื่อเขาไม่ได้ เขาลุกแล้วเราก็ไปพากย์ต่อจากลุงคนนั้น เสร็จแล้วมันก็อยู่ในความรู้สึกในหัวของเราตลอด มันขำดี แต่ไม่ได้คิดว่าจะเอามาพากย์
จนช่วงใกล้ๆ จะได้เข้ามากรุงเทพฯ ก่อนจะเป็นจุดเริ่มทำ ชาร์ลี แชปลิน พากย์ลาว เราเบื่อๆ จากการพากย์หนังกลางแปลง บวกกับบริษัทเขาปิดตัว ก็ออกมาเป็นผู้จัดการโรงหนัง ที่จังหวัดสกลนคร โรงอิมพีเรียม อยู่ 5-6 เดือน บังเอิญรอบหนังเรื่อง “ลูกมังกรหยก” ที่ “โกญจนาท” พากย์ เขาตีค่าฉาย 7 วัน แต่พอ 5 วันมันกำไรมากเกือบเท่าตัวแล้ว เราก็คันไม้คันมืออยากตอบสนองตันหาการเป็นนักพากย์ที่ไม่ได้พากย์มานาน ก็เลยนึกสนุกลองเอาความคิดแบบหนังกลางแปลงตั้งรอบพากย์ภาษาอีสานขึ้น เช้าขึ้น สั่งให้เด็กเขียนป้ายไปแห่เลย วันนี้รอบเที่ยงจะมีพากย์ภาษาอีสาน ปรากฏว่ารอบเที่ยงมีคนดูอยู่ประมาณ 27 - 28 คน เราก็เลยสั่งเด็กว่ามึงลบป้ายเลย ไม่ต้องแห่ เย็นนี้ก็ไม่พากย์แล้ว เอาโกญจนาทพากย์อย่างเก่าดีกว่า (หัวเราะ)

แต่ทีนี้ เสร็จเรียบร้อย ช่วงเย็นราวๆ 6 โมงครึ่งได้ เด็กขายตั๋วรีบวิ่งมาบอกขอเบิกตั๋ว คนมาจองตั๋วเต็มไปหมดแล้ว เต็มจนไม่มีที่เข้า ที่นั่งจุคนได้ประมาณเกือบ 1 พันกว่าที่นั่ง ทั้งชั้นบน-ล่าง ก็ขายได้ 2 วัน แล้วเด็กที่เป็นมือเทปก็แอบอัดเสียงพากย์ของเราไว้แล้วก็ไปจัดบ้าง เป็นรอบมิดไนท์โรงหนังเนวาด้า จังหวัดอุบลราชธานี คนก็ให้การตอบรับเป็นอย่างมาก ก็เสริมอีก 2 โรง ทั้งเนวาด้าและนิมิตร แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจ เฉยๆ เราแค่สนองความต้องการเรา หลังเสร็จจากนั้นก็เลยมากรุงเทพฯ นั่นก็จะเป็นยุคพากย์เสียงหนัง ชาร์ลี แชปลิน ที่ใครๆ รู้จัก เรียกว่ายุคเฟื่องฟู่สุดก็ได้ แต่ไม่ได้ลงโรง เสียงหนังโรงที่พากย์อีสานก็จะมีแต่หนังไทย หนังของอาจารย์คุณาวุฒิ ผู้กำกับเรื่อง “ลูกอีสาน” “ครูข้าวเหนียว” “ครูวิบาก” “ลูกแม่มูล” ของน้อยดวงกมลฟิล์ม คือคนซื้อหนังมาแล้วก็จ้างเราไปพากย์ ไปฉายตามโรงมิดไนท์ต่างๆ ทางจังหวัดภาคอีสาน แค่นั้น
• ทีมที่ก่อตั้งขึ้นเพียงหนึ่งปีและครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ใหญ่เลยก็ว่าได้ แต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
กัน : แรกๆ ก็เกร็งๆ บ้างครับ แต่จะเป็นเรื่องของระยะเวลามากกว่า เนื่องจากตอนแรกเขาติดต่อมา เขาแจ้งว่าจะให้พากย์ลงแค่ตัวอย่างหนัง เป็นทีเซอร์ภาษาอีสาน ก็คิดว่าทำเล่นๆ ขำๆ ไม่ได้จริงจัง แต่พอเสียงตอบรับดี เขาให้เราไปพากย์หนังลงโรงทั้งเรื่องเลย ก็จะฉุกละหุกหน่อยตรงนั้น แต่ตอนพากย์ก็ไม่กังวลอะไร ตามสไตล์หนัง เหมือนๆ พากย์หนังทั่วไป หนังไทย หนังจีน ซีรีย์ เป็นภาษากลาง แต่เรื่องนี้แปลงเป็นภาษาอีสาน พากย์ก็พากย์ตามบท มีแค่บางช่วงบางตอนที่เราใส่มุกใส่แก๊กของเรา
ฟู : คือเราให้เกียรติหนัง เพราะเป็นหนังฟอร์มใหญ่ เราก็มีมานั่งปรึกษากันก่อนว่าจะพากย์อย่างนั้นอย่างนี้ จะทำให้หนังเขาเสียไหม ก็ถามลุงนิคม เพราะลุงเขามีประสบการณ์ช่ำชองทางด้านนี้ (หัวเราะ)


ลุงนิคม : เราเป็นนักพากย์อาชีพอยู่แล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้พากย์หนังอีสานนานแล้ว แต่เราก็พากย์หนังเป็นลาวเวียงจันทน์ ภาษาต้นของอีสานอยู่แล้ว นี่ก็เพิ่งหยุดไปได้ 4-5 เดือน ที่หยุดก็เพราะนักพากย์ที่เขาอยู่เวียงจันทน์ เขาได้งานน้อยลงจากบริษัท mv ประเทศไทยเรา เขาก็หาว่าเราเสียงไม่เป็นลาวแท้ ไม่ได้อรรถรส จากตอนแรกที่เขาบอกว่าเราพากย์ดีมาก พากย์ฮา คนชอบ แต่พองานน้อยลง เขาก็บอกว่าเราไม่ผ่าน เสียงเราไม่ผ่าน เราก็เลยต้องหยุดแค่นั้น
ฉะนั้น การพากย์เรื่องนี้ ถ้าถามความรู้สึกก็เลยธรรมดา แม้ว่าจะมีเสียงตอบรับบางส่วนที่ว่าการพากย์แบบนี้ทำให้หนังเขาเสียเรื่อง แต่ไม่ว่าหนังเรื่องนี้หรือหลายๆ เรื่องที่เราพากย์เป็นภาษาอีสาน บางคนก็บอกว่าจะหาดูที่ไหนได้ ฮาบรม บางคนบอกเอาอะไรมาพูด ไม่ดูเสียดีกว่า อย่างนี้เสียหนังเขา อย่างนี้อย่างนั้นอย่างโน้น ก็คนเราไม่เหมือนกัน ขนาดเพื่อนกันนิสัยแบบเดียวกันเดินกอดคอไป 7 คน ยังไม่กินก๋วยเตี๋ยวเหมือนกันหรือพร้อมกันเลย บางคนกินข้าวมันไก่ บางคนกินผัดซีอิ้ว เราก็ไม่ได้คิดอะไร เราถือว่าเราได้ทำตามโจทย์ของทางบริษัทที่ให้มา ฮา ฮา ฮา 3 คำ คนฮาก็ฮา คนไม่ฮาก็แล้วแต่เขา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดีก็คือว่า กระแสผลตอบรับอย่างไรจะมากกว่ากัน เราต้องมาดูทั้งเชิงลบและบวก เชิงลบ อาจจะไม่เนียนเท่าที่ควร เราก็ว่า...ถ้ามีงานหน้า ก็จะระมัดระวังมากขึ้นในงานของเรา แต่ถ้าเชิงบวกก็เป็นกำลังใจ อันนี้ก็เป็นความสุขของตัวพวกเราเองที่เราเป็นคนทำงาน ถึงคนจะไม่ค่อยรู้ว่าเราเป็นคนทำงานนี้ก็ตาม
• แต่กระแสตอบกลับมาก็ดีเกินคาดจนต้องพากย์เต็มเรื่อง
ลุงนิคม : ก็ดีใจ แต่ส่วนตัวยังรู้สึกว่าไม่ได้อรรถรส เพราะว่าพอมันเป็นหนังเรื่อง มันไม่ใช่หนังตัวอย่าง เราไม่สามารถจะแก้คำพูดจากคำพูดของภาษากลางให้ไปเป็นภาษาอีสานที่ลึกลงไป อย่างเช่น เราอยากจะพูดคำลึกๆ ของอีสานอย่าง 'เซาแหมะ' ที่แปลงว่า หยุดนะ หรืออย่าง น้ำครำ น้ำสกปรก น้ำใต้ถุนบ้าน จะพูดเป็นภาษาอีสาน “ขี้สีก” “มึงอย่ามื้อนั่งขี้สีกเด้อ” คนกรุงเทพฯ บางคนอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง แม้กระทั่งคนอีสานแท้ๆ ที่เกิดยุคใหม่ยุคปัจจุบัน ก็อาจจะไม่รู้ว่า คืออะไร นั่นคือน้ำคำ เราก็คำนึงถึงตรงนี้ด้วย เราก็เลยไม่สามารถที่จะใส่ภาษาให้มันมากมาย ให้ครบอรรถรสความเป็นอีสาน เพราะไม่อยากให้เขารู้สึกว่า พากย์อะไรวะ เหมือนกับหมากัดกัน (หัวเราะ)
กัน : แต่พอทางผู้จ้างโทรมาบอกว่าคนหัวเราะกัน เขายังหัวเราะ แม้ว่าเป็นคนภาคกลาง เราก็ใจชื้นขึ้นมามาก ก็ต้องขอบคุณลุงนิคมเพราะท่านเป็นกูรู จะมีคำโน่นนี่นนั่นเยอะแยะ ซึ่งเราจะถนัดภาษาอีสานที่ว่าเทียบเคียงแล้วมันจะใกล้เคียงกับภาษากลางมากกว่า แต่ก็จะมีคำบางคำที่เป็นคำอีสานแท้ๆ ที่เราได้ยินมา เราก็จะเก็บสะสมแล้วพอมาเจอ ก็เปลี่ยนเป็นคำนี้ดีไหม

• เรื่องของยุคสมัยก็เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ด้วยสำหรับการใช้ภาษา
กัน : ใช่ เพราะอย่างที่เราพากย์เสียงส่งทางเวียงจันทร์ ก็มีการซื้อหนังสือภาษาของทางเขาแท้ๆ มานั่งศึกษาคำกันเลย เนื่องจากว่าคำภาษาลาว บางคำก็เหมือนทางภาคอีสาน บางคำก็เหมือนทางภาคเหนือ อย่างคำว่า ครับ ก็ต้อง เจ้า ผม ก็ต้อง ข้าน้อย คือเราไม่ได้ศึกษามาโดยตรง จะทันก็แค่ตอนที่สมัยพากย์หน้าแผ่น ชาลี ก่อนหน้านี้ก็ทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุ ให้เสียงพวกงานสปอร์ตวิทยุ งานพรีเซนเทชั่น แล้วก็มีความสนใจเรื่องงานพากย์ ก็ไปศึกษาไป ที่ไหนมีอบรม มีแนะนำ ก็ไปหมดศึกษาตรงนั้นมาด้วย คืออยากรู้ว่างานพากย์หนังพากย์เป็นอย่างไร
แต่ไม่ได้คิดว่าจะพากย์อีสาน คือจับพลัดจับผลู หลังจากไปเรียนไปอบรม รู้เรื่องงานพากย์ ก็ยังหาช่องทางที่จะเจาะเข้ามาในวงการนี้ไมได้ พอดีว่าช่วงนั้นมีน้องที่รู้จักกันมาพากย์ลาวกับทีมนี้ แล้วบังเอิญเขาขาดเรื่องเสียงตัวประกอบชาย ที่จะหาคนเข้ามาเสริมทีม ก็ติดต่อมาก็ได้มาร่วมทีม แต่ก็ไม่ได้ให้มาพากย์อีสาน พากย์ภาษาไทยกลาง แล้วต่อยอดเป็นละครวิทยุภาษาอีสาน จนทางบริษัทที่นำเข้าเรื่องนี้ติดต่อมาก็เพิ่งจะได้ชิมลางครั้งแรกของภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่
ฟู : ก็เหมือนๆ กันครับ คือเราทำงานด้านดนตรี เป็นนักดนตรี ทำเพลง แล้วก็เปิดห้องอัดบันทึกเสียงเองที่บ้าน ก็เลยมีโอกาสได้พูดสปอร์ต ทีนี้ก็บังเอิญมีรุ่นพี่ชวนมาเล่นละครวิทยุของคณะเกศทิพย์ แล้วข้างบนเขามีพากย์หนังภาษาเวียงจันทน์ เราก็ชอบมาแอบดูทุกวัน พอได้จังหวะก็เลยเสียบ ถึงตอนนี้ก็ 2 ปี แล้วที่พากย์
ลุงนิคม : สำหรับคนที่อยากได้ภาษาท้องถิ่นจริงๆ ถ้ามีโอกาสต่อไป เรายินดีเลย เราจะพยายามทำให้มันดีกว่านี้ เป็นคำพูดของคนภาคอีสานแท้ๆ ซึ่งเราทั้งหมดเป็นลูกอีสาน ผมจังหวัดขอนแก่น กันจังหวัดบุรีรัมย์ ฟูจังหวัดร้อยเอ็ด นุชก็คนจังหวัดขอนแก่น ถ้าคนดูประสงค์ เราสามารถทำให้ได้ ทำให้อย่างที่พากย์ส่งเวียงจันทน์เป็นภาษาลาวแท้ๆ ทางเราก็อีสานแท้ๆ เนื้อก็ทำให้ได้ ปริมาณเราก็ทำได้ เพราะพากย์ส่งที่โน่น ซีรีย์เรื่องหนึ่ง 30-40 ตอน ต้องจบภายใน 10-20 วัน ฮิตจริงๆ หนังจะมากองรอเลย เรื่องนี้เสร็จไปเรื่องนี้ ทำกันอุตลุด ตีสองตีสาม มีเวลาว่างก็จอยกัน ไม่อย่างนั้นไม่ทัน

• เสียงความสำเร็จจากทางบ้านเราเกินกว่าครึ่ง แล้วทางฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีได้ดูเวอร์ชั่นนี้ของเราบ้านหรือไม่ และเป็นอย่างไรบ้าง
ลุงนิคม : เขาลงโรงก่อนเราด้วย ลงโรงเมเจอร์เวียงจันทน์ตั้งแต่รอบเช้าของวันที่ 15 มิถุนายน ก่อนของเราที่เปิดรอบปฐมทัศน์ช่วงเย็นที่เมเจอร์รัชโยธิน วันหนึ่งก็ 8 รอบ เสริมทุกวัน คนแน่น ม่วนหลาย เพื่อนที่โน่นโทรมาบอก เขาก็ชอบกัน กระแสทางโน้นดีมากเลย
กัน : คือจริงๆ ฝังโน้นเขาชอบฟังภาคกลางของเรามากที่สุด เพราะว่าละครเขาของเราแทบทุกเรื่อง ช่อง 3 5 7 9 เขาติดกันมาก แต่บางทีเวลาที่เขาข้ามฝั่งมาดูหนังทางบ้านเรา เสร็จปุ๊บเป็นหนังฮอลลีวูดซาวด์แทรก เขาบอกว่าอ่านตัวหนังสือไทยที่อยู่ข้างใต้อ่านไม่ทัน มีพากย์อย่างนี้ไม่ต้องอ่าน เขายิ่งชอบ เขายิ่งเข้าใจง่าย
ฟู : เรื่องของมุกก็เลยไม่ต่างกัน เพราะมุกบ้านเราฝั่งเขาฟังชัดเลย รู้เรื่อง มุกบ้านเขาต่างหาก ถ้าเราพูดไป เขาอาจจะไม่ขำ เพราะมันไม่ได้อรรถรสสำเนียง อย่างบ้านเรา บักห่าเอ๊ย ทางโน้นฟังเหมือนกับเรา แต่ถ้าเราจะไปพูดทางเขาไม่ได้เลย เรื่องของพากย์นอกบท เราก็ต้องอินกระแส ดูเทรนด์เขาด้วย แต่จริงๆ ที่เวียงจันทน์เขาอาจจะก้าวไกลกว่าเราก็ได้ คำพูดบางคำเขาอาจจะมากกว่าเราก็ได้ แต่เราไม่ได้อยู่ที่นั้น เราก็เลยไม่รู้ เราก็เลยจะคิดไว้ก่อน ก่อนใช้ เราจึงไม่ค่อยให้คำไว้ว่าเล่นอย่างนี้ไปต้องขำ บางทีเขาอาจจะขำจนเหนื่อยแล้ว ไม่ขำแล้ว ก็ได้เสียงตอบรับที่ดีจากทางฝั่งเพื่อนบ้านเรา
• ผลเป็นที่น่าพอใจส่วนตัวคิดกันว่าบ้างไหมว่าน่าจะมีเรื่องอื่นอีกไหมในเวอร์ชั่นภาคอีสานอีก
ลุงนิคม : ก็ภาวนาให้คนชมมาตอบสนองความรู้สึกในการทำงานของเรา เพราะทางด้านมาร์เก็ตติ้ง เขาก็บอกฟีดแบคดีเกินความคาดหมาย เราก็ได้แต่ยกมือกับหลวงพ่อต่างๆ ว่าให้มีเกิดขึ้น แล้วเราก็จะได้มีโอกาสได้ตอบสนองเต็มเม็ดกว่านี้ และจะทำให้ดีกว่านี้ 100 เท่า 1,000 เท่า จะพยายามด้วยวิชาชีพของนักพากย์ ที่บรมครูทิศเขียว หรือนาย ศิลป์ ศรีบุญเรือง ผู้เป็นคนต้นกำเนิดอาชีพนักพากย์คนแรกของประเทศไทย
กัน : คือนอกเหนือจากขึ้นอยู่กับบริษัทว่าเขามองเห็นทางด้านของเรื่องมูลค่าทางการตลาดของเขา มันสมควรที่จะเป็นการลงทุนเพิ่ม สิ่งที่สำคัญก็คือถ้ามีเกิดขึ้นอีก มันก็เป็นทางเลือกให้คนด้วย ณ ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะคนภาคอีสาน คนภาคอื่นๆ กรุงเทพฯ มันเป็นที่รวมของคนทั่วประเทศ มีชาวต่างชาติด้วย


ลุงนิคม : จริงๆ อยากขอให้คิดกันว่าเหมือนกับฟังเพลง เพลงหมอลำหรือว่าเพลงลูกทุ่งอีสาน เราดื่มกันเมาๆ แล้วรำได้ หัวเราะได้ ตบมือได้ คนพูดภาษานั้นๆ เขาก็เป็นอย่างนั้น คำไหนที่ไม่เข้าใจ ถาม มันจะเป็นเรื่องตลกขบขันเฮฮาของกลุ่มพวกคุณด้วย ผมว่าภาษาอีสานเป็นภาษาที่สนุกมาก ด่ากันเนี่ย บักห่ามึง มันไม่เจ็บเลยนะ ภาษาอีสานเหมือนคำพังเพย บักห่า บักฮูขี่ บักเสาโทรเลข มันฟังแล้ว มันพูดอะไรวะ ด่าหรือบ่น
กัน : คือบางที คำภาคอีสาน ถ้าคนไม่เข้าใจ จะมองว่ามันเป็นคำหยาบ คำทะลึ่ง คำสองแง่งาม แต่จะคิดไปอย่างนั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจตนาคนพูดว่าจะต้องการสื่ออะไร แต่โดยรวมๆ ทั่วๆ ไป คำของเรา อย่างเรียกลูก บักหำ จริงๆ มันคือคำหยาบ แต่ความหมายมันไม่ได้หยาบอย่างนั้น คือเราเรียกลูกด้วยความเอ็นดู แต่คนอีสานจะถืออย่างเดียว “บักหำใหญ่” เรียกไม่ได้ เพราะไปเรียกพ่อเขา การมีตรงนี้เข้ามาถามว่าช่วยลดทำให้คนไม่มองอย่างนั้นหรือไม่ ก็ส่วนหนึ่ง
แต่อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องของการขยายตัว เรื่องของโอกาส ความเจริญกระจายออกไป ภาคอีสานเดี๋ยวนี้ก็ค่อนข้างเยอะ คงไม่มีนายทุนคนไหนที่สุ่มเข้าไปทำธุรกิจโดยที่เขาไม่ได้ศึกษาว่าจังหวัดนี้มันน่าลงทุนหรือไม่ คนภาคนี้มีรายได้เยอะขึ้นหรือไม่ คนดูหนังเยอะไหม เพราะตอนนี้ก็เหมือนคล้ายๆ กรุงเทพฯ ย่อมๆ แล้ว ภาคอีสานมีการขยายตัว ได้รับความเจริญเยอะ อย่างจังหวัดใหญ่ๆ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร มีโรงหนังโรงอะไร มีห้างสรรพสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปเปิดสาขาที่โน้นเยอะเลย
ฟู : ความรู้สึกก็ไม่เคยมองว่าภาษาบ้านเราหรือว่าภาษาท้องถิ่นไหนๆ จะเป็นตัวลักษณะกำหนดความต่างชั้นวรรณะกัน ก็เป็นภาษาเหมือนกัน แต่การที่เขาจะมองเรื่องตรงนี้เป็นอย่างนั้น อันนี้มันเป็นเฉพาะบุคคลคน ที่เวลามากรุงเทพฯ หรือเวลามาในเมือง เก้อเขิน ไม่อยากจะพูดภาษาอีสาน กลัวเขาบอกว่าบ้านนอกเข้ากรุง แต่คนส่วนใหญ่เขาก็มีความภูมิใจ เพราะเรื่องภาษามันเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของท้องถิ่น แล้วก็เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมของเราเองให้เพื่อนๆ มันดูดีออก เดี๋ยวนี้ถ้าเราเห็น ยุคสมัยนี้ โลกโซเชียลเยอะ ก็จะมีทำคงทำคลิป ภาษานั่นนี่ แล้วภาษาที่ได้รับความนิยมก็คืออีสาน คือคนที่มาจากอีสาน หรือคำว่า “เซาถะแหมะ” ทุกวันนี้ก็ยังสามารถติดแฮชแท็กในเฟซบุ๊กได้


• คือทุกภาษาก็มีเอกลักษณ์ความเป็นตัวของตัวเอง มีเสน่ห์ของภาษาตัวเอง ที่เราควรภูมิใจ
ลุงนิคม : ใช่ เสน่ห์ของภาษาอีสานก็อย่างที่กล่าว ถ้าอยากด่าให้เจ็บต้องใส่อารมณ์เข้าไป เพิ่มสีหน้าเขาไปอีก นี่กำลังด่าอยู่ กว่าจะด่าได้มันเหนื่อย มันต้องสุดๆ บักห่ามึงเอ๊ย.. คือด่า แต่ไม่ได้ตั้งใจด่า อาจจะบ่น สบถออกมา แค่นี้ มันมีระดับของมันอยู่ คือคำพูดของอีสานต้องกริยาบท ท่าทางของผู้พูดด้วย ถึงจะรู้ว่าเจ็บแสบหรือไม่เจ็บแสบ อยู่ที่การแสดงของบุคคลที่กระทำกับเราเวลานั้น
กัน : เรื่องของภาษามันมีความน่าสนใจทุกภาษา โดยเฉพาะคำของแต่ละภาค เขาก็จะมีของเขา แล้วด้วยความที่เราไม่เคยชิน แต่จริงๆ มันคือความหมายเดียวกัน เราพอได้ยินได้ฟัง เราจะขำกับศัพท์ กับคำ พูดอย่างนี้มาได้อย่างไง ก็เหมือนกับเรื่องนี้ ที่มันมีคำหลายๆ คำ ที่เราก็ไปหยิบจากสิ่งที่เราผ่านมา หรือบางที เราก็ดูว่าตรงนี้มันเล่นได้ ใส่ได้ มันน่าจะทำให้เขารู้สึกอย่างนั้น
เช่นคำที่พระเอกบอกในหนัง นาว ยู ซี มี พูดว่า หยุด ตอนใช้กลหยุดฝนพรางตาคน จริงๆ จะบอกภาษาอีสานคำอื่นๆ ที่มีความหมายว่าหยุดก็ เช่น 'ยุด' หรือ “ยุดซ่ะ” ก็ได้ มันเหมือนภาษากลางก็ได้ เราไม่ต้องไป “เซาถะแหมะ” แต่ว่าเราอยากให้มันมีอะไรที่มากกว่านั้น ที่เป็นอัตลักษณ์ของภาษานั้นๆ ให้คน จนเอามาแคปชั่นพูดกัน เป็นคำที่สามารถขึ้นแฮชแท็กคำนี้ได้ หรือแม้แต่คำตอนที่อีกฉากเปิดตัว แดเนียล เรดคลิฟฟ์ เสียงซาวด์ขึ้นมา ต้าดาด้า เราจะพูด ตาดาด้า ก็ได้ในสำเนียงภาษาอีสาน เราใช้ “โอ้ล่ะน้อนางเอย”
ฟู : หรือจะไปโผล่ที่รู ทางหนีตอนวางแผน ก็ใช้ “แป้ว” แทน คือถ้าคนอีสานจะรู้ว่า 'แป้ว' คืออะไร คือรูสำรอง มาจากรูแย้ แย้มันจะมีรูหลัก แล้วมันจะทำรูสำรองเพื่อหนีภัย หรือแม้แต่คำว่า 'ป้องเอี่ยม' แปลว่า หน้าต่าง เราก็จะยายามสันหาคำที่เขาไม่ค่อยได้ใช้กัน ตอนนี้ก็มีอีกคำที่ว่า 'งูเห่ากัดจอนฟอน' จอนฟอนมันคืออีหยัง คือพังพอน เล่นกลงูเห่ากัดพังพอนตามงานวัด เราก็บอกว่ากลคณะนี้ไม่ใช่กลที่เล่นแบบตามงานวัด คือกลนี้ไม่ใช่กลงูเห่ากัดกับพังพอน จะบอกว่ากลที่เราจะได้ดูในหนังเรื่องนี้มันไม่ใช่ธรรมดานะ มันยิ่งใหญ่ อันนั้นมันเห็นได้ทั่วไป

• ในฐานะลูกอีสานคนหนึ่งที่การได้พากย์เสียงเรื่องนี้มีความรู้สึกอย่างไร
ฟู : มีสองแบบ หนึ่งคือมีแอบๆ หวั่นเพราะเรามีคนน้อย พากย์ไปแล้วเสียงจะคล้ายหรือเหมือนจนคนดูแยกไม่ออกไหม แล้วพอเขาใส่เสียงใส่ซาวด์จะอลังการหรือเป็นอย่างไร สองคือภูมิใจ ในภาษาบ้านเราที่ได้กลับมาอยู่ในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง ก็อยากให้หลังจากเรื่องนี้ คนหันมาพูดภาษาท้องถิ่นของตัวเองเยอะขึ้น เดินไปตลาดเจอทั้งคำพูดอีสาน กลาง ใต้ เหนือ คงจะสร้างความครื้นเครงน่าดู ที่สำคัญคือเราสื่อออกมาเพื่อให้เขาเอนเตอร์เทน เขาดูแล้วเอนเตอร์เทน เขามีความสุข เราก็ภูมิใจ
ลุงนิคม : ง่ายๆ เอกลักษณ์ภาษามันจะติดตัวอยู่ทุกคน ต่อให้มาอยู่กรุงเทพฯ พยายามพูดภาคกลาง มันก็จะต้องมีคำหนึ่งที่เป็นภาคของคุณออกมาในคำพูดคำนั้น อย่างเพื่อนนักพากย์ด้วยกัน เขาเป็นคนอีสาน แต่เขาไม่เคยพูดอีสานกับเราเลย พูดกลางตลอด แต่พอเขาเผลอพลาดทำตัวเจ็บ เขาก็อุทาน อื่ออื้อ อุทานเป็นอีสาน แทน โอ๊ย อุ๊ย เจ็บ นั้นคือเอกลักษณ์ของภาษา
หรืออย่างในรายการทีวีหรืออะไรก็ตามสมัยนี้ เล่นมุก พูดกัน ยังเป็นภาษาอีสาน นักพากย์หนังเป็นคนใต้ คนเหนือ คนกรุงเทพฯ มาพากย์หนัง เวลาใส่มุกตลกก็ยังต้องมีคำอีสานลง หรือแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ยังพูดเป็นภาษาอีสาน ยังเล่นมุกเป็นภาษาอีสาน เราก็ภูมิใจมากๆ ที่ภาษาอีสานของบ้านเฮาทำให้คนฟังแล้วได้อรรถรส ฟังแล้วอารมณ์ดี

• หากจะเกิดเป็นการต่อยอดนำไปสู่ภาคภาษาอื่นๆ ทั้งในเรื่องของทางเลือกและรวมไปถึงการผสานวัฒนธรรมความต่างเขาด้วยกัน การทำหนังพากย์เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ยิ่งดี
ลุงนิคม : ยิ่งดี เราก็ยินดีส่งเสริม ชี้แนะ ก็อยากจะกราบเรียนท่านผู้ชมผู้ฟัง อย่าได้แบ่งชนชั้นวรรณะว่า อีสานต่ำอย่างนั้นอย่างนี้ ภาษาอีสานบ้านนอก รวมไปถึงภาคอื่นๆ ด้วย มองให้เป็นความต่างของกันและกันที่เมื่อรวมกันจะสวยงาม อย่างเพลงที่เราร้อง เล่น เต้นและรำ ก็อยากให้มองอย่างนั้น และอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะให้ช่วยกัน คือเรื่องของการที่ท่านพากย์ภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคเหนือ หรือภาคใต้ ท่านอาจจะศึกษามาจากมหาวิทยาลัย ท่านอาจจะพากย์หนังได้เองด้วยพรสวรรค์ อยากให้ลำลึกถึงคนที่คิดค้นว่าอาชีพนี้เกิดมาจากใครเป็นคนแรก ปู่บรมครูทิศเขียว ขอให้นึกถึงและกราบไหว้ท่านบ้าง นึกถึงปุถุชนคนที่สร้างอาชีพนี้ให้เราทุกวันนี้
กัน : ก็อยากจะขอฝากไว้เรื่องของภาษา ไม่ว่าภาษาท้องถิ่นไหนก็แล้วแต่ ทุกภาษามีคุณค่าในตัวอยู่แล้ว อยากให้ภูมิใจ แล้วยิ่งหยิบมาลงในงานบันเทิงฮอลลีวูดระดับนี้คิดว่ามันก็เป็นโอกาสหนึ่งที่จะเปิดโอกาสให้นักพากย์ทั้งหน้าใหม่และเก่า คนที่กำลังมีใจรักทางด้านนี้ น่าจะสร้างแรงบันดาลใจหลายๆ อย่างสำหรับคนที่พากย์หนังจุดหนึ่ง เพราะคนที่ไม่เคยคุยกัน แต่ทำงานแขนงเดียวแต่ไม่รู้จักกันยังทักเข้ามาว่าถ้ามีอีกให้ชวนไปด้วยเรื่องหน้า
ฟู : เพราะภาษาของท้องถิ่นใครก็เป็นภาษาที่ยิ่งใหญ่ เราคนอีสานภาษาอีสานก็เป็นภาษาที่ยิ่งใหญ่ ก็อยากจะฝากผลงานเรื่องนี้ Now You See Me 2 เวอร์ชั่นอีสาน ให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะที่กรุงเทพฯ แล้วก็ภาคอีสาน ให้มีไปภาคเหนือ ภาคใต้ เพราะพี่น้องเฮาออกไปสู้ชีวิตสร้างอนาคตตัวตนอยู่ทั่ว เพื่อจะได้มีเสียงตอบรับที่ดี จะได้มีงานที่ยิ่งใหญ่หรือโด่งดังไปถึงเมืองนอกเมืองนา


เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
เปิดโต... 3 อาชา หรือ 3 ม้าผู้บ่าว นักพากย์หนังเรื่องดังกล่าว นำทีมโดย เฒ่าคม “คมหลอ-นิคม สุนทรพิทักษ์” ผู้ให้เสียงพากย์อีสานที่เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเมืองไทย เจ้าของเสียงพากย์ “ชาร์ลี แชปลิน เวอร์ชั่นอีสาน”
“ทางสหมงคลฟิล์มติดต่อมา โดยผ่านทางคุณโต๊ะ พันธมิตร เขาถามว่าใช่เราไหมที่พากย์ ชาร์ลี แชปลิน เสียงอีสาน พอบอกว่าใช่ เขาก็ติดต่อให้เราไปพากย์หนังตัวอย่างเรื่องนี้เป็นเสียงอีสาน หลังจากนั้นฟีดแบคดี เขาก็เลยให้เราพากย์หนังเต็มเรื่อง” เฒ่าคม ชาร์ลี เผย
จากจุดเริ่มด้วยคนๆ หนึ่ง นำพาให้เราได้รู้จักทีมพากย์เสียงอีสานที่น้อยคนนักจะรู้จัก “กัน-กันต์ พลสงคราม” และ “ฟู-กิตติกร สุทธิสน” ทีมงานคนรุ่นใหม่ที่ต่อยอดฟิล์มทั้งเรื่อง เรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของคนไทยทั้งประเทศในเวอร์ชั่นอีสาน
• สามหนุ่มนี้คือทีมพากย์เสียงอีสานทั้งหมดของภาพยนตร์เรื่อง Now You See Me
ลุงนิคม : ยังมีน้องนุชผู้หญิง (อรนุช ลาดพันนา) อีกหนึ่งคนครับ เป็นผู้ที่ให้เสียงตัวละครหญิง หลักๆ ก็คือนางเอกของเรื่อง เรามีทั้งหมด 4 คน ซึ่งเราก็พากย์ให้กับบริษัท MV ของคนไทยเราส่งไปที่เวียงจันทน์ แต่เป็นหนังของประเทศจีน แนวชีวิต แนวบู๊ แนวตลก และซีรีย์ ไม่ใช่หนังทางฝั่งฮอลลีวูด ก็เพิ่งจะตั้งทีมทำมาไม่นาน ปีกว่าๆ เท่านั้นเอง
• แสดงว่าจากในรอบหลายสิบกว่าปีที่ผ่านมา Now you see me คือหนังเรื่องแรกที่ให้เสียงพากย์อีสานลงโรงหนังภาพยนตร์
ลุงนิคม : ใช่...จะกล่าวอย่างนั้นก็ได้ เพราะไม่เคยรู้ว่าเกิดขึ้นมาก่อนหรือเปล่า แต่เราก็เคยทำเองเล่นๆ พากย์หนังใหญ่ลงโรงเป็นภาษาอีสานช่วงก่อนจะทำ ชาร์ลี แชปลิน พากย์ลาว คือเรื่องของเรื่อง ตอนนั้นเราพากย์หนังให้โรงโพธิ์แหงน บริษัทไกลลาศ เป็นหนังสายอีสาน แล้วมีวันหนึ่งเฮียเจ้าของโทรมาบอกว่าให้เอาหนังมาลงที่ อ.พังโคน จังหวัดสกลนคร เราก็ตีรถจากจังหวัดอุบลราชธานี ไปถึงที่นั่นประมาณตี 3 ก็สังเกตว่าทำไมคนดูหัวเราะขำกลิ้งกันอยู่เลยตอนเวลาอย่างนั้น ก็รีบเปิดประตูรถออกไปยืนดู สักพักเดียว เราก็หัวเราะจนงอหายเหมือนคนอื่นๆ เพราะว่าหนังคาวบอย แต่ดันพากย์เสียงเป็นภาษาอีสาน อันนั้นคือส่วนตัวที่เห็นครั้งแรกในชีวิต คือเห็นจากกลางแปลงจอของโพธิ์แหงน จากลุงคนนั้น ซึ่งเราก็จำชื่อเขาไม่ได้ เขาลุกแล้วเราก็ไปพากย์ต่อจากลุงคนนั้น เสร็จแล้วมันก็อยู่ในความรู้สึกในหัวของเราตลอด มันขำดี แต่ไม่ได้คิดว่าจะเอามาพากย์
จนช่วงใกล้ๆ จะได้เข้ามากรุงเทพฯ ก่อนจะเป็นจุดเริ่มทำ ชาร์ลี แชปลิน พากย์ลาว เราเบื่อๆ จากการพากย์หนังกลางแปลง บวกกับบริษัทเขาปิดตัว ก็ออกมาเป็นผู้จัดการโรงหนัง ที่จังหวัดสกลนคร โรงอิมพีเรียม อยู่ 5-6 เดือน บังเอิญรอบหนังเรื่อง “ลูกมังกรหยก” ที่ “โกญจนาท” พากย์ เขาตีค่าฉาย 7 วัน แต่พอ 5 วันมันกำไรมากเกือบเท่าตัวแล้ว เราก็คันไม้คันมืออยากตอบสนองตันหาการเป็นนักพากย์ที่ไม่ได้พากย์มานาน ก็เลยนึกสนุกลองเอาความคิดแบบหนังกลางแปลงตั้งรอบพากย์ภาษาอีสานขึ้น เช้าขึ้น สั่งให้เด็กเขียนป้ายไปแห่เลย วันนี้รอบเที่ยงจะมีพากย์ภาษาอีสาน ปรากฏว่ารอบเที่ยงมีคนดูอยู่ประมาณ 27 - 28 คน เราก็เลยสั่งเด็กว่ามึงลบป้ายเลย ไม่ต้องแห่ เย็นนี้ก็ไม่พากย์แล้ว เอาโกญจนาทพากย์อย่างเก่าดีกว่า (หัวเราะ)
แต่ทีนี้ เสร็จเรียบร้อย ช่วงเย็นราวๆ 6 โมงครึ่งได้ เด็กขายตั๋วรีบวิ่งมาบอกขอเบิกตั๋ว คนมาจองตั๋วเต็มไปหมดแล้ว เต็มจนไม่มีที่เข้า ที่นั่งจุคนได้ประมาณเกือบ 1 พันกว่าที่นั่ง ทั้งชั้นบน-ล่าง ก็ขายได้ 2 วัน แล้วเด็กที่เป็นมือเทปก็แอบอัดเสียงพากย์ของเราไว้แล้วก็ไปจัดบ้าง เป็นรอบมิดไนท์โรงหนังเนวาด้า จังหวัดอุบลราชธานี คนก็ให้การตอบรับเป็นอย่างมาก ก็เสริมอีก 2 โรง ทั้งเนวาด้าและนิมิตร แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจ เฉยๆ เราแค่สนองความต้องการเรา หลังเสร็จจากนั้นก็เลยมากรุงเทพฯ นั่นก็จะเป็นยุคพากย์เสียงหนัง ชาร์ลี แชปลิน ที่ใครๆ รู้จัก เรียกว่ายุคเฟื่องฟู่สุดก็ได้ แต่ไม่ได้ลงโรง เสียงหนังโรงที่พากย์อีสานก็จะมีแต่หนังไทย หนังของอาจารย์คุณาวุฒิ ผู้กำกับเรื่อง “ลูกอีสาน” “ครูข้าวเหนียว” “ครูวิบาก” “ลูกแม่มูล” ของน้อยดวงกมลฟิล์ม คือคนซื้อหนังมาแล้วก็จ้างเราไปพากย์ ไปฉายตามโรงมิดไนท์ต่างๆ ทางจังหวัดภาคอีสาน แค่นั้น
• ทีมที่ก่อตั้งขึ้นเพียงหนึ่งปีและครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ใหญ่เลยก็ว่าได้ แต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
กัน : แรกๆ ก็เกร็งๆ บ้างครับ แต่จะเป็นเรื่องของระยะเวลามากกว่า เนื่องจากตอนแรกเขาติดต่อมา เขาแจ้งว่าจะให้พากย์ลงแค่ตัวอย่างหนัง เป็นทีเซอร์ภาษาอีสาน ก็คิดว่าทำเล่นๆ ขำๆ ไม่ได้จริงจัง แต่พอเสียงตอบรับดี เขาให้เราไปพากย์หนังลงโรงทั้งเรื่องเลย ก็จะฉุกละหุกหน่อยตรงนั้น แต่ตอนพากย์ก็ไม่กังวลอะไร ตามสไตล์หนัง เหมือนๆ พากย์หนังทั่วไป หนังไทย หนังจีน ซีรีย์ เป็นภาษากลาง แต่เรื่องนี้แปลงเป็นภาษาอีสาน พากย์ก็พากย์ตามบท มีแค่บางช่วงบางตอนที่เราใส่มุกใส่แก๊กของเรา
ฟู : คือเราให้เกียรติหนัง เพราะเป็นหนังฟอร์มใหญ่ เราก็มีมานั่งปรึกษากันก่อนว่าจะพากย์อย่างนั้นอย่างนี้ จะทำให้หนังเขาเสียไหม ก็ถามลุงนิคม เพราะลุงเขามีประสบการณ์ช่ำชองทางด้านนี้ (หัวเราะ)
ลุงนิคม : เราเป็นนักพากย์อาชีพอยู่แล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้พากย์หนังอีสานนานแล้ว แต่เราก็พากย์หนังเป็นลาวเวียงจันทน์ ภาษาต้นของอีสานอยู่แล้ว นี่ก็เพิ่งหยุดไปได้ 4-5 เดือน ที่หยุดก็เพราะนักพากย์ที่เขาอยู่เวียงจันทน์ เขาได้งานน้อยลงจากบริษัท mv ประเทศไทยเรา เขาก็หาว่าเราเสียงไม่เป็นลาวแท้ ไม่ได้อรรถรส จากตอนแรกที่เขาบอกว่าเราพากย์ดีมาก พากย์ฮา คนชอบ แต่พองานน้อยลง เขาก็บอกว่าเราไม่ผ่าน เสียงเราไม่ผ่าน เราก็เลยต้องหยุดแค่นั้น
ฉะนั้น การพากย์เรื่องนี้ ถ้าถามความรู้สึกก็เลยธรรมดา แม้ว่าจะมีเสียงตอบรับบางส่วนที่ว่าการพากย์แบบนี้ทำให้หนังเขาเสียเรื่อง แต่ไม่ว่าหนังเรื่องนี้หรือหลายๆ เรื่องที่เราพากย์เป็นภาษาอีสาน บางคนก็บอกว่าจะหาดูที่ไหนได้ ฮาบรม บางคนบอกเอาอะไรมาพูด ไม่ดูเสียดีกว่า อย่างนี้เสียหนังเขา อย่างนี้อย่างนั้นอย่างโน้น ก็คนเราไม่เหมือนกัน ขนาดเพื่อนกันนิสัยแบบเดียวกันเดินกอดคอไป 7 คน ยังไม่กินก๋วยเตี๋ยวเหมือนกันหรือพร้อมกันเลย บางคนกินข้าวมันไก่ บางคนกินผัดซีอิ้ว เราก็ไม่ได้คิดอะไร เราถือว่าเราได้ทำตามโจทย์ของทางบริษัทที่ให้มา ฮา ฮา ฮา 3 คำ คนฮาก็ฮา คนไม่ฮาก็แล้วแต่เขา ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดีก็คือว่า กระแสผลตอบรับอย่างไรจะมากกว่ากัน เราต้องมาดูทั้งเชิงลบและบวก เชิงลบ อาจจะไม่เนียนเท่าที่ควร เราก็ว่า...ถ้ามีงานหน้า ก็จะระมัดระวังมากขึ้นในงานของเรา แต่ถ้าเชิงบวกก็เป็นกำลังใจ อันนี้ก็เป็นความสุขของตัวพวกเราเองที่เราเป็นคนทำงาน ถึงคนจะไม่ค่อยรู้ว่าเราเป็นคนทำงานนี้ก็ตาม
• แต่กระแสตอบกลับมาก็ดีเกินคาดจนต้องพากย์เต็มเรื่อง
ลุงนิคม : ก็ดีใจ แต่ส่วนตัวยังรู้สึกว่าไม่ได้อรรถรส เพราะว่าพอมันเป็นหนังเรื่อง มันไม่ใช่หนังตัวอย่าง เราไม่สามารถจะแก้คำพูดจากคำพูดของภาษากลางให้ไปเป็นภาษาอีสานที่ลึกลงไป อย่างเช่น เราอยากจะพูดคำลึกๆ ของอีสานอย่าง 'เซาแหมะ' ที่แปลงว่า หยุดนะ หรืออย่าง น้ำครำ น้ำสกปรก น้ำใต้ถุนบ้าน จะพูดเป็นภาษาอีสาน “ขี้สีก” “มึงอย่ามื้อนั่งขี้สีกเด้อ” คนกรุงเทพฯ บางคนอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง แม้กระทั่งคนอีสานแท้ๆ ที่เกิดยุคใหม่ยุคปัจจุบัน ก็อาจจะไม่รู้ว่า คืออะไร นั่นคือน้ำคำ เราก็คำนึงถึงตรงนี้ด้วย เราก็เลยไม่สามารถที่จะใส่ภาษาให้มันมากมาย ให้ครบอรรถรสความเป็นอีสาน เพราะไม่อยากให้เขารู้สึกว่า พากย์อะไรวะ เหมือนกับหมากัดกัน (หัวเราะ)
กัน : แต่พอทางผู้จ้างโทรมาบอกว่าคนหัวเราะกัน เขายังหัวเราะ แม้ว่าเป็นคนภาคกลาง เราก็ใจชื้นขึ้นมามาก ก็ต้องขอบคุณลุงนิคมเพราะท่านเป็นกูรู จะมีคำโน่นนี่นนั่นเยอะแยะ ซึ่งเราจะถนัดภาษาอีสานที่ว่าเทียบเคียงแล้วมันจะใกล้เคียงกับภาษากลางมากกว่า แต่ก็จะมีคำบางคำที่เป็นคำอีสานแท้ๆ ที่เราได้ยินมา เราก็จะเก็บสะสมแล้วพอมาเจอ ก็เปลี่ยนเป็นคำนี้ดีไหม
• เรื่องของยุคสมัยก็เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ด้วยสำหรับการใช้ภาษา
กัน : ใช่ เพราะอย่างที่เราพากย์เสียงส่งทางเวียงจันทร์ ก็มีการซื้อหนังสือภาษาของทางเขาแท้ๆ มานั่งศึกษาคำกันเลย เนื่องจากว่าคำภาษาลาว บางคำก็เหมือนทางภาคอีสาน บางคำก็เหมือนทางภาคเหนือ อย่างคำว่า ครับ ก็ต้อง เจ้า ผม ก็ต้อง ข้าน้อย คือเราไม่ได้ศึกษามาโดยตรง จะทันก็แค่ตอนที่สมัยพากย์หน้าแผ่น ชาลี ก่อนหน้านี้ก็ทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุ ให้เสียงพวกงานสปอร์ตวิทยุ งานพรีเซนเทชั่น แล้วก็มีความสนใจเรื่องงานพากย์ ก็ไปศึกษาไป ที่ไหนมีอบรม มีแนะนำ ก็ไปหมดศึกษาตรงนั้นมาด้วย คืออยากรู้ว่างานพากย์หนังพากย์เป็นอย่างไร
แต่ไม่ได้คิดว่าจะพากย์อีสาน คือจับพลัดจับผลู หลังจากไปเรียนไปอบรม รู้เรื่องงานพากย์ ก็ยังหาช่องทางที่จะเจาะเข้ามาในวงการนี้ไมได้ พอดีว่าช่วงนั้นมีน้องที่รู้จักกันมาพากย์ลาวกับทีมนี้ แล้วบังเอิญเขาขาดเรื่องเสียงตัวประกอบชาย ที่จะหาคนเข้ามาเสริมทีม ก็ติดต่อมาก็ได้มาร่วมทีม แต่ก็ไม่ได้ให้มาพากย์อีสาน พากย์ภาษาไทยกลาง แล้วต่อยอดเป็นละครวิทยุภาษาอีสาน จนทางบริษัทที่นำเข้าเรื่องนี้ติดต่อมาก็เพิ่งจะได้ชิมลางครั้งแรกของภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่
ฟู : ก็เหมือนๆ กันครับ คือเราทำงานด้านดนตรี เป็นนักดนตรี ทำเพลง แล้วก็เปิดห้องอัดบันทึกเสียงเองที่บ้าน ก็เลยมีโอกาสได้พูดสปอร์ต ทีนี้ก็บังเอิญมีรุ่นพี่ชวนมาเล่นละครวิทยุของคณะเกศทิพย์ แล้วข้างบนเขามีพากย์หนังภาษาเวียงจันทน์ เราก็ชอบมาแอบดูทุกวัน พอได้จังหวะก็เลยเสียบ ถึงตอนนี้ก็ 2 ปี แล้วที่พากย์
ลุงนิคม : สำหรับคนที่อยากได้ภาษาท้องถิ่นจริงๆ ถ้ามีโอกาสต่อไป เรายินดีเลย เราจะพยายามทำให้มันดีกว่านี้ เป็นคำพูดของคนภาคอีสานแท้ๆ ซึ่งเราทั้งหมดเป็นลูกอีสาน ผมจังหวัดขอนแก่น กันจังหวัดบุรีรัมย์ ฟูจังหวัดร้อยเอ็ด นุชก็คนจังหวัดขอนแก่น ถ้าคนดูประสงค์ เราสามารถทำให้ได้ ทำให้อย่างที่พากย์ส่งเวียงจันทน์เป็นภาษาลาวแท้ๆ ทางเราก็อีสานแท้ๆ เนื้อก็ทำให้ได้ ปริมาณเราก็ทำได้ เพราะพากย์ส่งที่โน่น ซีรีย์เรื่องหนึ่ง 30-40 ตอน ต้องจบภายใน 10-20 วัน ฮิตจริงๆ หนังจะมากองรอเลย เรื่องนี้เสร็จไปเรื่องนี้ ทำกันอุตลุด ตีสองตีสาม มีเวลาว่างก็จอยกัน ไม่อย่างนั้นไม่ทัน
• เสียงความสำเร็จจากทางบ้านเราเกินกว่าครึ่ง แล้วทางฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีได้ดูเวอร์ชั่นนี้ของเราบ้านหรือไม่ และเป็นอย่างไรบ้าง
ลุงนิคม : เขาลงโรงก่อนเราด้วย ลงโรงเมเจอร์เวียงจันทน์ตั้งแต่รอบเช้าของวันที่ 15 มิถุนายน ก่อนของเราที่เปิดรอบปฐมทัศน์ช่วงเย็นที่เมเจอร์รัชโยธิน วันหนึ่งก็ 8 รอบ เสริมทุกวัน คนแน่น ม่วนหลาย เพื่อนที่โน่นโทรมาบอก เขาก็ชอบกัน กระแสทางโน้นดีมากเลย
กัน : คือจริงๆ ฝังโน้นเขาชอบฟังภาคกลางของเรามากที่สุด เพราะว่าละครเขาของเราแทบทุกเรื่อง ช่อง 3 5 7 9 เขาติดกันมาก แต่บางทีเวลาที่เขาข้ามฝั่งมาดูหนังทางบ้านเรา เสร็จปุ๊บเป็นหนังฮอลลีวูดซาวด์แทรก เขาบอกว่าอ่านตัวหนังสือไทยที่อยู่ข้างใต้อ่านไม่ทัน มีพากย์อย่างนี้ไม่ต้องอ่าน เขายิ่งชอบ เขายิ่งเข้าใจง่าย
ฟู : เรื่องของมุกก็เลยไม่ต่างกัน เพราะมุกบ้านเราฝั่งเขาฟังชัดเลย รู้เรื่อง มุกบ้านเขาต่างหาก ถ้าเราพูดไป เขาอาจจะไม่ขำ เพราะมันไม่ได้อรรถรสสำเนียง อย่างบ้านเรา บักห่าเอ๊ย ทางโน้นฟังเหมือนกับเรา แต่ถ้าเราจะไปพูดทางเขาไม่ได้เลย เรื่องของพากย์นอกบท เราก็ต้องอินกระแส ดูเทรนด์เขาด้วย แต่จริงๆ ที่เวียงจันทน์เขาอาจจะก้าวไกลกว่าเราก็ได้ คำพูดบางคำเขาอาจจะมากกว่าเราก็ได้ แต่เราไม่ได้อยู่ที่นั้น เราก็เลยไม่รู้ เราก็เลยจะคิดไว้ก่อน ก่อนใช้ เราจึงไม่ค่อยให้คำไว้ว่าเล่นอย่างนี้ไปต้องขำ บางทีเขาอาจจะขำจนเหนื่อยแล้ว ไม่ขำแล้ว ก็ได้เสียงตอบรับที่ดีจากทางฝั่งเพื่อนบ้านเรา
• ผลเป็นที่น่าพอใจส่วนตัวคิดกันว่าบ้างไหมว่าน่าจะมีเรื่องอื่นอีกไหมในเวอร์ชั่นภาคอีสานอีก
ลุงนิคม : ก็ภาวนาให้คนชมมาตอบสนองความรู้สึกในการทำงานของเรา เพราะทางด้านมาร์เก็ตติ้ง เขาก็บอกฟีดแบคดีเกินความคาดหมาย เราก็ได้แต่ยกมือกับหลวงพ่อต่างๆ ว่าให้มีเกิดขึ้น แล้วเราก็จะได้มีโอกาสได้ตอบสนองเต็มเม็ดกว่านี้ และจะทำให้ดีกว่านี้ 100 เท่า 1,000 เท่า จะพยายามด้วยวิชาชีพของนักพากย์ ที่บรมครูทิศเขียว หรือนาย ศิลป์ ศรีบุญเรือง ผู้เป็นคนต้นกำเนิดอาชีพนักพากย์คนแรกของประเทศไทย
กัน : คือนอกเหนือจากขึ้นอยู่กับบริษัทว่าเขามองเห็นทางด้านของเรื่องมูลค่าทางการตลาดของเขา มันสมควรที่จะเป็นการลงทุนเพิ่ม สิ่งที่สำคัญก็คือถ้ามีเกิดขึ้นอีก มันก็เป็นทางเลือกให้คนด้วย ณ ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะคนภาคอีสาน คนภาคอื่นๆ กรุงเทพฯ มันเป็นที่รวมของคนทั่วประเทศ มีชาวต่างชาติด้วย
ลุงนิคม : จริงๆ อยากขอให้คิดกันว่าเหมือนกับฟังเพลง เพลงหมอลำหรือว่าเพลงลูกทุ่งอีสาน เราดื่มกันเมาๆ แล้วรำได้ หัวเราะได้ ตบมือได้ คนพูดภาษานั้นๆ เขาก็เป็นอย่างนั้น คำไหนที่ไม่เข้าใจ ถาม มันจะเป็นเรื่องตลกขบขันเฮฮาของกลุ่มพวกคุณด้วย ผมว่าภาษาอีสานเป็นภาษาที่สนุกมาก ด่ากันเนี่ย บักห่ามึง มันไม่เจ็บเลยนะ ภาษาอีสานเหมือนคำพังเพย บักห่า บักฮูขี่ บักเสาโทรเลข มันฟังแล้ว มันพูดอะไรวะ ด่าหรือบ่น
กัน : คือบางที คำภาคอีสาน ถ้าคนไม่เข้าใจ จะมองว่ามันเป็นคำหยาบ คำทะลึ่ง คำสองแง่งาม แต่จะคิดไปอย่างนั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจตนาคนพูดว่าจะต้องการสื่ออะไร แต่โดยรวมๆ ทั่วๆ ไป คำของเรา อย่างเรียกลูก บักหำ จริงๆ มันคือคำหยาบ แต่ความหมายมันไม่ได้หยาบอย่างนั้น คือเราเรียกลูกด้วยความเอ็นดู แต่คนอีสานจะถืออย่างเดียว “บักหำใหญ่” เรียกไม่ได้ เพราะไปเรียกพ่อเขา การมีตรงนี้เข้ามาถามว่าช่วยลดทำให้คนไม่มองอย่างนั้นหรือไม่ ก็ส่วนหนึ่ง
แต่อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องของการขยายตัว เรื่องของโอกาส ความเจริญกระจายออกไป ภาคอีสานเดี๋ยวนี้ก็ค่อนข้างเยอะ คงไม่มีนายทุนคนไหนที่สุ่มเข้าไปทำธุรกิจโดยที่เขาไม่ได้ศึกษาว่าจังหวัดนี้มันน่าลงทุนหรือไม่ คนภาคนี้มีรายได้เยอะขึ้นหรือไม่ คนดูหนังเยอะไหม เพราะตอนนี้ก็เหมือนคล้ายๆ กรุงเทพฯ ย่อมๆ แล้ว ภาคอีสานมีการขยายตัว ได้รับความเจริญเยอะ อย่างจังหวัดใหญ่ๆ นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร มีโรงหนังโรงอะไร มีห้างสรรพสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปเปิดสาขาที่โน้นเยอะเลย
ฟู : ความรู้สึกก็ไม่เคยมองว่าภาษาบ้านเราหรือว่าภาษาท้องถิ่นไหนๆ จะเป็นตัวลักษณะกำหนดความต่างชั้นวรรณะกัน ก็เป็นภาษาเหมือนกัน แต่การที่เขาจะมองเรื่องตรงนี้เป็นอย่างนั้น อันนี้มันเป็นเฉพาะบุคคลคน ที่เวลามากรุงเทพฯ หรือเวลามาในเมือง เก้อเขิน ไม่อยากจะพูดภาษาอีสาน กลัวเขาบอกว่าบ้านนอกเข้ากรุง แต่คนส่วนใหญ่เขาก็มีความภูมิใจ เพราะเรื่องภาษามันเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของท้องถิ่น แล้วก็เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมของเราเองให้เพื่อนๆ มันดูดีออก เดี๋ยวนี้ถ้าเราเห็น ยุคสมัยนี้ โลกโซเชียลเยอะ ก็จะมีทำคงทำคลิป ภาษานั่นนี่ แล้วภาษาที่ได้รับความนิยมก็คืออีสาน คือคนที่มาจากอีสาน หรือคำว่า “เซาถะแหมะ” ทุกวันนี้ก็ยังสามารถติดแฮชแท็กในเฟซบุ๊กได้
• คือทุกภาษาก็มีเอกลักษณ์ความเป็นตัวของตัวเอง มีเสน่ห์ของภาษาตัวเอง ที่เราควรภูมิใจ
ลุงนิคม : ใช่ เสน่ห์ของภาษาอีสานก็อย่างที่กล่าว ถ้าอยากด่าให้เจ็บต้องใส่อารมณ์เข้าไป เพิ่มสีหน้าเขาไปอีก นี่กำลังด่าอยู่ กว่าจะด่าได้มันเหนื่อย มันต้องสุดๆ บักห่ามึงเอ๊ย.. คือด่า แต่ไม่ได้ตั้งใจด่า อาจจะบ่น สบถออกมา แค่นี้ มันมีระดับของมันอยู่ คือคำพูดของอีสานต้องกริยาบท ท่าทางของผู้พูดด้วย ถึงจะรู้ว่าเจ็บแสบหรือไม่เจ็บแสบ อยู่ที่การแสดงของบุคคลที่กระทำกับเราเวลานั้น
กัน : เรื่องของภาษามันมีความน่าสนใจทุกภาษา โดยเฉพาะคำของแต่ละภาค เขาก็จะมีของเขา แล้วด้วยความที่เราไม่เคยชิน แต่จริงๆ มันคือความหมายเดียวกัน เราพอได้ยินได้ฟัง เราจะขำกับศัพท์ กับคำ พูดอย่างนี้มาได้อย่างไง ก็เหมือนกับเรื่องนี้ ที่มันมีคำหลายๆ คำ ที่เราก็ไปหยิบจากสิ่งที่เราผ่านมา หรือบางที เราก็ดูว่าตรงนี้มันเล่นได้ ใส่ได้ มันน่าจะทำให้เขารู้สึกอย่างนั้น
เช่นคำที่พระเอกบอกในหนัง นาว ยู ซี มี พูดว่า หยุด ตอนใช้กลหยุดฝนพรางตาคน จริงๆ จะบอกภาษาอีสานคำอื่นๆ ที่มีความหมายว่าหยุดก็ เช่น 'ยุด' หรือ “ยุดซ่ะ” ก็ได้ มันเหมือนภาษากลางก็ได้ เราไม่ต้องไป “เซาถะแหมะ” แต่ว่าเราอยากให้มันมีอะไรที่มากกว่านั้น ที่เป็นอัตลักษณ์ของภาษานั้นๆ ให้คน จนเอามาแคปชั่นพูดกัน เป็นคำที่สามารถขึ้นแฮชแท็กคำนี้ได้ หรือแม้แต่คำตอนที่อีกฉากเปิดตัว แดเนียล เรดคลิฟฟ์ เสียงซาวด์ขึ้นมา ต้าดาด้า เราจะพูด ตาดาด้า ก็ได้ในสำเนียงภาษาอีสาน เราใช้ “โอ้ล่ะน้อนางเอย”
ฟู : หรือจะไปโผล่ที่รู ทางหนีตอนวางแผน ก็ใช้ “แป้ว” แทน คือถ้าคนอีสานจะรู้ว่า 'แป้ว' คืออะไร คือรูสำรอง มาจากรูแย้ แย้มันจะมีรูหลัก แล้วมันจะทำรูสำรองเพื่อหนีภัย หรือแม้แต่คำว่า 'ป้องเอี่ยม' แปลว่า หน้าต่าง เราก็จะยายามสันหาคำที่เขาไม่ค่อยได้ใช้กัน ตอนนี้ก็มีอีกคำที่ว่า 'งูเห่ากัดจอนฟอน' จอนฟอนมันคืออีหยัง คือพังพอน เล่นกลงูเห่ากัดพังพอนตามงานวัด เราก็บอกว่ากลคณะนี้ไม่ใช่กลที่เล่นแบบตามงานวัด คือกลนี้ไม่ใช่กลงูเห่ากัดกับพังพอน จะบอกว่ากลที่เราจะได้ดูในหนังเรื่องนี้มันไม่ใช่ธรรมดานะ มันยิ่งใหญ่ อันนั้นมันเห็นได้ทั่วไป
• ในฐานะลูกอีสานคนหนึ่งที่การได้พากย์เสียงเรื่องนี้มีความรู้สึกอย่างไร
ฟู : มีสองแบบ หนึ่งคือมีแอบๆ หวั่นเพราะเรามีคนน้อย พากย์ไปแล้วเสียงจะคล้ายหรือเหมือนจนคนดูแยกไม่ออกไหม แล้วพอเขาใส่เสียงใส่ซาวด์จะอลังการหรือเป็นอย่างไร สองคือภูมิใจ ในภาษาบ้านเราที่ได้กลับมาอยู่ในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง ก็อยากให้หลังจากเรื่องนี้ คนหันมาพูดภาษาท้องถิ่นของตัวเองเยอะขึ้น เดินไปตลาดเจอทั้งคำพูดอีสาน กลาง ใต้ เหนือ คงจะสร้างความครื้นเครงน่าดู ที่สำคัญคือเราสื่อออกมาเพื่อให้เขาเอนเตอร์เทน เขาดูแล้วเอนเตอร์เทน เขามีความสุข เราก็ภูมิใจ
ลุงนิคม : ง่ายๆ เอกลักษณ์ภาษามันจะติดตัวอยู่ทุกคน ต่อให้มาอยู่กรุงเทพฯ พยายามพูดภาคกลาง มันก็จะต้องมีคำหนึ่งที่เป็นภาคของคุณออกมาในคำพูดคำนั้น อย่างเพื่อนนักพากย์ด้วยกัน เขาเป็นคนอีสาน แต่เขาไม่เคยพูดอีสานกับเราเลย พูดกลางตลอด แต่พอเขาเผลอพลาดทำตัวเจ็บ เขาก็อุทาน อื่ออื้อ อุทานเป็นอีสาน แทน โอ๊ย อุ๊ย เจ็บ นั้นคือเอกลักษณ์ของภาษา
หรืออย่างในรายการทีวีหรืออะไรก็ตามสมัยนี้ เล่นมุก พูดกัน ยังเป็นภาษาอีสาน นักพากย์หนังเป็นคนใต้ คนเหนือ คนกรุงเทพฯ มาพากย์หนัง เวลาใส่มุกตลกก็ยังต้องมีคำอีสานลง หรือแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ยังพูดเป็นภาษาอีสาน ยังเล่นมุกเป็นภาษาอีสาน เราก็ภูมิใจมากๆ ที่ภาษาอีสานของบ้านเฮาทำให้คนฟังแล้วได้อรรถรส ฟังแล้วอารมณ์ดี
• หากจะเกิดเป็นการต่อยอดนำไปสู่ภาคภาษาอื่นๆ ทั้งในเรื่องของทางเลือกและรวมไปถึงการผสานวัฒนธรรมความต่างเขาด้วยกัน การทำหนังพากย์เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ยิ่งดี
ลุงนิคม : ยิ่งดี เราก็ยินดีส่งเสริม ชี้แนะ ก็อยากจะกราบเรียนท่านผู้ชมผู้ฟัง อย่าได้แบ่งชนชั้นวรรณะว่า อีสานต่ำอย่างนั้นอย่างนี้ ภาษาอีสานบ้านนอก รวมไปถึงภาคอื่นๆ ด้วย มองให้เป็นความต่างของกันและกันที่เมื่อรวมกันจะสวยงาม อย่างเพลงที่เราร้อง เล่น เต้นและรำ ก็อยากให้มองอย่างนั้น และอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะให้ช่วยกัน คือเรื่องของการที่ท่านพากย์ภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคเหนือ หรือภาคใต้ ท่านอาจจะศึกษามาจากมหาวิทยาลัย ท่านอาจจะพากย์หนังได้เองด้วยพรสวรรค์ อยากให้ลำลึกถึงคนที่คิดค้นว่าอาชีพนี้เกิดมาจากใครเป็นคนแรก ปู่บรมครูทิศเขียว ขอให้นึกถึงและกราบไหว้ท่านบ้าง นึกถึงปุถุชนคนที่สร้างอาชีพนี้ให้เราทุกวันนี้
กัน : ก็อยากจะขอฝากไว้เรื่องของภาษา ไม่ว่าภาษาท้องถิ่นไหนก็แล้วแต่ ทุกภาษามีคุณค่าในตัวอยู่แล้ว อยากให้ภูมิใจ แล้วยิ่งหยิบมาลงในงานบันเทิงฮอลลีวูดระดับนี้คิดว่ามันก็เป็นโอกาสหนึ่งที่จะเปิดโอกาสให้นักพากย์ทั้งหน้าใหม่และเก่า คนที่กำลังมีใจรักทางด้านนี้ น่าจะสร้างแรงบันดาลใจหลายๆ อย่างสำหรับคนที่พากย์หนังจุดหนึ่ง เพราะคนที่ไม่เคยคุยกัน แต่ทำงานแขนงเดียวแต่ไม่รู้จักกันยังทักเข้ามาว่าถ้ามีอีกให้ชวนไปด้วยเรื่องหน้า
ฟู : เพราะภาษาของท้องถิ่นใครก็เป็นภาษาที่ยิ่งใหญ่ เราคนอีสานภาษาอีสานก็เป็นภาษาที่ยิ่งใหญ่ ก็อยากจะฝากผลงานเรื่องนี้ Now You See Me 2 เวอร์ชั่นอีสาน ให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะที่กรุงเทพฯ แล้วก็ภาคอีสาน ให้มีไปภาคเหนือ ภาคใต้ เพราะพี่น้องเฮาออกไปสู้ชีวิตสร้างอนาคตตัวตนอยู่ทั่ว เพื่อจะได้มีเสียงตอบรับที่ดี จะได้มีงานที่ยิ่งใหญ่หรือโด่งดังไปถึงเมืองนอกเมืองนา
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร