ประสบการณ์จริงในกรงขังและชีวิตผุพังข้างถนนกว่า 30 ปี ของ “ติ๊ก-สิริทัศน์ สมเสงี่ยม” อดีตเด็กเกเร อันธพาล โจรขโมยรถ คนค้ายาบ้า กระทั่งแมงดา ก่อนจะกลับตัวเปลี่ยนใจ ใช้ประสบการณ์ “โจร” สร้างความสำเร็จ ก้าวขึ้นเป็นเจ้าของกิจการเงินล้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว “เตี่ยวมั๊ยวะ”, จิ้มจุ่มหม้อเบ้อเร่อ, สุกี้หม้อเบ้อเร่อ หรือแม้แต่เป็นนักเขียนและวิทยากรสอนธุรกิจ
“สิริทัศน์ สมเสงี่ยม” จาก “ไอ้ติ๊กร้อยร้าน” เพราะเปิดกี่ร้านต่อกี่ร้าน ก็ไม่ได้แม้สักล้าน... แต่สุดท้ายกลายเป็น “ไอ้ติ๊กเงินล้าน” ได้อย่างไร?
นี่คือบทสัมภาษณ์ที่ไม่อยากให้พลาด ไม่ว่าคุณจะอยากรวย หรือแค่อยากจะปรับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นคนที่ดีขึ้น เรื่องราวของ “ติ๊ก-สิริทัศน์ สมเสงี่ยม” ล้วนเพียบพร้อมในสิ่งนั้น...
ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา
จากโจรธรรมดา สู่วงการยานรก
“ผมเป็นคนโคราช เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เกิดมาในสลัม หน้าปากซอยบ้านผม มีผู้หญิงค้าประเวณี ท้ายซอยขายยาเสพติด เดินไปทางขวาบ่อนการพนัน เดินทางซ้าย แก๊งนักเลงอันธพาล ผมก็เลยค่อนข้างเดียงสาเกินวัย แล้วประกอบกับตอนนั้นก็ติดเกมมาก เกมแฟมิลี่ เกมมาริโอ้ เกมคอนทร้า เกมรถแข่ง ติดมาก เด็กในซอยติดหมดทุกคน แล้วเขามีร้านเปิดเป็นแบบเช่าเครื่องคิดราคา 15 บาทต่อชั่วโมง หรือเกมละ 2 บาท คอนทร้า 3 ตัว ตายหมด จบ รถแข่ง แข่งหมดเกม 2 บาท ทีนี้บ้านเรายากจน ไม่มีเงิน เราก็ขโมยเพื่อมาเล่น ขโมยถังแก๊สแม่มาขาย ขโมยพระเครื่องพ่อมาขาย แล้วก็ลามไปบ้านคนอื่น บ้านนั้นที บ้านโน้นที”
ชายหนุ่มเบื้องหน้าเล่าช่วงเหตุการณ์ชีวิตวัยเยาว์ที่คลุกเคล้าอยู่ในโลกมืดหม่น
“ก็โตมาอย่างนั้น จบแค่ ป.6 เพราะ ม.1 ได้แค่เทอมเดียว มีเรื่องทะเลาะวิวาท ก็ออก หลังจากนั้นก็ไปกันใหญ่ พ่อแม่เริ่มทนไม่ไหว เขาก็พยายามสอนให้เราเป็นคนดี บ้านช่องก็เลยไม่ค่อยได้อยู่แล้ว ไปอยู่บ้านเพื่อนเป็นเดือนๆ ก็ทำโน่นนี่นั่น ทำงานหาเงิน จนอายุ 15 จุดเปลี่ยนชีวิตอย่างเต็มตัวก็มา คือพอได้บัตรประชาชนตอนเช้า ตอนบ่ายนั่งรถมากรุงเทพฯ เลย ด้วยเงินร้อยกว่าบาท
“เพราะได้ยินได้ฟังเรื่องเล่ากรุงเทพฯ ก็อยากมาเจอแสงสีอย่างที่เขาว่ากัน ด้วยความที่เป็นวัยรุ่น แล้วก็อยากมีเงิน แต่มาถึงลงหมอชิต (เก่า) ก็มาเจอความซวยเลย เงินหาย ตังค์ 40 บาท หลังหักค่ารถ 90 บาท หาย ไม่รู้ว่าหายบนรถหรือที่ไหน ในตัวตอนนั้นเลยมีอยู่เหลือแค่ 2 อย่าง บัตรประชาชน แล้วก็เศษกระดาษที่จดเบอร์โทรศัพท์ของรุ่นพี่ที่เขาจะหางานให้ทำ
“ก็ตกใจมาก เราอยู่ในเมืองที่ไม่รู้จักใครเลย แล้วไม่มีเงินสักบาท ก็เดินวนไปวนมาในหมอชิตหลายสิบรอบ ทีนี้เริ่มหิวข้าวมาก เดินทางมา ยังไม่ได้กินอะไรเลย ก็ตัดสินใจสั่งก๋วยเตี๋ยวพิเศษลูกชิ้นเยอะๆ แล้วน้ำอัดลมเย็นๆ 1 ขวด ด้วยความที่กระหายน้ำมาก ก็อยากกินอะไรที่มันอิ่มๆ เย็นๆ ชื่นใจ ทั้งๆ ที่ไม่มีเงิน กินเสร็จ ก็มองซ้าย มองขวา ไม่มีใคร ก็เลยวิ่ง”
วิ่งหนี วิ่งอย่างสุดชีวิต ขึ้นไปบนสะพานลอยเพื่อที่จะข้ามฝั่ง ทว่าฝีเท้ายังอ่อนชั้น ความผิดกระทงแรกในเมืองต่างถิ่น จึงลงเอยด้วยการถูกพิพากษาโดยบาทาพนักงาน
“คือไอ้ลูกจ้างของร้านก๋วยเตี๋ยวมันวิ่งเก่ง วิ่งตามมาทันและกระทืบคาสะพานลอย เลือดกบปากเลย แล้วก็ลากไปหาเจ้าของร้าน เขาก็บอกว่าไม่เอาเรื่องปล่อยมันไปเถอะ ด้วยความที่เราตัวเล็ก ท้องอิ่มแล้วโดนกระทืบอีก ก็เดินไปผล็อยหลับบนสะพานลอยนั้น รู้ตัวอีกทีก็ตะวันแยงตา ตื่นมาก็มีเศษเหรียญบาท เหรียญ 5 บาท รวมแล้ว 20 กว่าบาทได้ เพราะเขาคิดว่าเป็นขอทาน แต่ก็ได้เงินตรงนั้นเป็นค่าโทรศัพท์ไปหาพี่ เขาก็เลยบอกว่าให้นั่งรถเมล์สาย 8 ไปที่ซอยลาดพร้าว 122 หรือซอยมหาดไทย
“แล้วคือจุดพลิกผันเลยที่นี่”
สิริทัศน์ กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ไม่ต้องถามต่อว่าเขาจะเบนเข็มชีวิตไปในทิศทางไหน ในซอยที่มีความหลากหลาย ทั้งพื้นเพภูมิภาค ความเป็นอยู่ระดับล่าง-ระดับบน และคนดีกับคนเลว ต่างปะปนอยู่รวมกัน
“แรกๆ ก็ยังดีอยู่ มาทำงานครั้งแรกเป็นพนักงานแจกใบปลิว เขาก็จะมารับจากที่พัก เพราะแถวนั้นจะมีเด็กๆ นักศึกษาเยอะที่ทำงานแจกใบปลิว เวลาไม่มีชั่วโมงวันเรียน ก็จะมารับไปวางไว้ตามจุด แจกเสร็จก็จะกลับมารับเงินที่ออฟฟิศ ทำอยู่ประมาณ 2-3 เดือน ชีวิตตอนนั้นก็ยังคิดอะไรไม่ได้ เช้าทำงาน เย็นเลิกงาน ซื้อเบียร์กิน กินไปจนรู้จักพรรคพวกแถวนั้น และบังเอิญว่ากลุ่มที่รู้จัก เขาขโมยรถมอเตอร์ไซค์กันอยู่ เขาก็ชวนเรา เราก็ไป คือด้วยความที่บอกไปว่าอยากมีเงิน และด้วยความที่อยากเห็นแสงสี มาอยู่กรุงเทพฯ เราก็อยากมีอยากได้ ทำทั้งแบบยาก ทำสุจริตก็ทำ แบบง่าย ผิดกฎหมายก็ทำ เพื่อให้มันได้เงิน เนื่องจากกิเลสมันมากกว่า เราต้องใช้จ่าย เป็นความจำเป็นของวัยรุ่น ก็ไปขโมยรถกับเขา
“ขโมยรถมอเตอร์ไซค์กันทุกวัน ตอนนั้นรุ่นที่นิยมกันมากคือ โนวาแดช ขโมยมาเรื่อยๆ จากนั้นก็มีรุ่นพี่เขาบอก ข้อหาขโมยรถ จะรถเล็ก รถใหญ่ โทษเท่ากัน แต่เวลาขายรถใหญ่ ราคาดีกว่าหายเท่า ก็เปลี่ยนมาขโมยรถใหญ่ จนมีเงินกลับบ้านเกือบล้านภายใน 1 ปี
“แต่มันก็ไม่เหลือ สมัยนั้นเด็กมาก 16 นิดๆ ตอนกลับบ้าน เงินที่มีก็ไม่ได้ฝากธนาคาร เอาเงินใส่กระเป๋าแล้วขี่มอเตอร์ไซค์ที่ขโมยด้วยกลับไปบ้าน ที่บ้านก็ไม่รู้ว่าเรามีเงิน เราไม่ได้บอก ก็ไปใช้ชีวิตไปอยู่กับเพื่อนๆ เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงหญิง โดนผู้หญิงหลอกบ้าง เพราะไปติดสาวคาราโอเกะ เขาเห็นเราเป็นเด็ก หน้าตาบ้านนอกๆ คนหนึ่งแล้วเสือกมีเงิน เขาก็หลอกเอาเงิน ให้ซื้อของ ด้วยความที่เราชอบเขาด้วย ก็หมดตัว”
จะกลับลำมาทำต่อก็ไม่ได้ เพราะวงทางกรุงเทพฯ ต่างแตกแยกย้าย เนื่องจากกลิ่นไม่ดี ทางไม่โปร่ง จึงต้องจำใจอยู่บ้านใช้ชีวิตเรี่ยดินอีกครั้ง
“ชีวิตตอนขายก๋วยเตี๋ยวอึดอัดมาก ทั้งอึดอัดทั้งอาย จากเคยกินข้าว เลี้ยงสาว มื้อละเป็นหมื่น ปิดห้องคาราโอเกะเลี้ยงสาวก็เคย ตอนนั้นไม่มีเงินไง เคยไปไหนมีแต่คนดูแลอย่างดี เด็กเสิร์ฟยันผู้จัดการไหว้ตั้งแต่หน้าประตู ไหว้เด็กอายุ 16 แต่ช่วงระยะเวลานิดเดียวไม่กี่เดือนเอง มาเป็นไอ้เด็กล้างชามก๋วยเตี๋ยวข้างถนนช่วยแม่ เพราะมันหมดทางไป
“ทำอย่างนั้นอยู่นานหลายเดือน จนเจอเพื่อนที่เขาขายยาบ้า ก็เอาเลย ไปขายกับเขาเลย ไม่ไหว จำได้สมัยนั้นเม็ดละ 150 บาท ราคารับเม็ดละ 70-80 บาท กำไรครึ่งหนึ่ง ก็รับมาคอกหนึ่ง 200 เม็ด ขายไปได้หน่อย ระหว่างที่กำลังจะเอาไปส่งเขา ก็โดนจับ ขายครั้งแรกโดนจับเลย”
ด้วยข้อหามีไว้เพื่อจำหน่าย เข้าไปนอนในซังเต ความรู้สึกจึงไม่ต่างอะไรกับคนตกเหว เสียงวิ้งๆ ลอยคว้างอยู่เต็มหัว เนื้อตัวสั่นเทา ทั้งๆ ที่มีประสบการณ์ค่อนข้างจะโชกโชน ถ้าเทียบตามวันวัยเลขอายุ
“วันแรกนอนร้องห่มร้องไห้ แม้ว่าอายุเราจะเป็นเยาวชน กฎหมายบ้านเราคุ้มครอง แต่ติดคุกครั้งแรก ใครจะไม่กลัวบ้าง แต่โชคดีตำรวจเขาสอบแล้วบอกว่าถ้าเราให้ข้อมูล เขาจะกันตัวไว้เป็นพยาน เราก็มีสิทธิ์รอดสูง ก็ให้ข้อมูลเขา แล้วก็จริงๆ ถ้าตามกระบวนการศาลจะต้องสั่งผลัดฟ้องครั้งละ 12 วัน ทั้งหมด 4 ผลัด ถ้าใน 4 ผลัด หาหลักฐานเอาผิดไม่ได้ก็จะรอดเป็นอิสระ ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะตำรวจเขาช่วยทำสำนวนให้อ่อน ก็รอด ติดทั้งหมด 11 วัน
“เข้าไปในนั้นได้อะไรดีๆ เยอะ ที่บอกอย่างนี้เพราะเมื่อก่อนเราเคยมองแต่ตัวเอง สนใจแต่ชีวิตตัวเอง รู้แค่เรื่องของเรา แต่พอเข้าไปในคุก ได้เห็นชีวิตคนอื่น ได้รู้เรื่องคนอื่น แล้วก็ได้มองคนอื่น ไอ้นั่นก็ขายยาเหมือนกัน ไอ้นั่นก็ขโมยรถ ไอ้นั่นพยายามฆ่า ไอ้นั่นโทรมหญิง โลกเรากว้างขึ้น เข้าใจต่างเหตุต่างผล บางคนทำด้วยความคึกคะนอง บางคนจำเป็น คำสวยหรูรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มี ทำโดยสันดานก็เยอะ
“พอมอง เราคิดได้ เราก็ไม่โดนกลืนอย่างที่ใครๆ หลายคนเป็น เรากลายเป็นความเข็ดขยาด กลัว เพราะข้างในมันนรกจริงๆ ต้องนอนเบียดกันเรียงๆ ถึงหน้าโถส้วม แล้วมันเป็นพื้นไม้ เวลาหนาว หนาวจับใจ เพราะเราไม่มีผ้าห่ม เราไม่ใช่ขาใหญ่ พวกขาใหญ่เขาจะมีหมอน มีผ้าห่ม มีฟูกอย่างดี เราเด็กปลายแถว เรานอนกระดาน เก่งที่สุดมีแค่หมอนเท่านั้น เวลาฝนตกฟ้าร้อง นอนคิดถึงบ้าน”
นี่ยังไม่นับเรื่องต้องระวังประตูหลัง จากความที่ด้วยอายุและหน้าตาเจี๋ยมเจี้ยม สำหรับเด็กใหม่อย่างเขา จัดว่าเป็นคนสวย ในโลกหลังตะรางเหล็กนั้น
“มันเจ็บปวดแสนทรมานถึงขั้วกระดูก ก็เลยทำให้เข็ด และเรื่องที่ทำให้ผมเข็ด บอกตัวเองเลยว่าจะไม่กลับเข้าไปอยู่ในนั้นอีก คือเรื่องคืนวันสุดท้าย เพื่อนที่รู้จักกัน นอนใกล้ๆ กัน ไม่รู้ไปทำความผิดอะไรให้พวกขาใหญ่เขาไม่พอใจ คืนนั้นมันโดนคนทั้งหอรุมกระทืบจนสลบ สลบแล้วก็เอาน้ำสาดให้มันฟื้นแล้วก็กระทืบใหม่ กระทืบห่างจากเรานิดเดียว เรานอนร้องไห้ทั้งๆ ที่ไม่ได้โดนกระทืบเอง แต่ความรู้สึกคือทำไมชีวิตโหดร้ายกันขนาดนี้
“มันเป็นโลกอีกด้านหนึ่ง เพราะว่าขาใหญ่ในนั้น เขาใหญ่จริงๆ หมายความว่าจะหนีเขาไปไหนได้ ถ้าข้างนอกไปแจกกล้วยเขา ไปตีเขา ก็แยกย้ายกลับบ้าน แต่ในนั้นมันวนอยู่แค่พื้นที่แค่นั้น สี่เหลี่ยม ที่ว่าเก๋าๆ เก่งๆ ข้างนอก เข้าไปเป็นหมาทุกตัวเลย เดินกุมเป้าทั้งนั้นเข้าไป อยู่ข้างนอกเก๋าบรม มันเป็นความโหดร้าย น่ากลัว
“เราก็ได้แต่บอกกับตัวเองว่าจะไม่กลับมาอีกแล้ว เราไม่อยากเข้าไปอยู่ตรงนั้นอีกแล้ว อยากนอนเตียงอุ่นๆ ได้ดูทีวีอย่างที่ชอบ ก็เลยตั้งไว้ในใจว่าจะกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี แล้วก็จะไม่กลับไปที่ตรงนั้นอีก แล้วผมก็ทำได้ แต่ที่ทำได้ ไม่ใช่ว่าผมเก่ง แท้ที่จริง ผมกลัวที่จะต้องกลับไปอยู่ตรงนั้นอีก มันโหดร้ายมาก”
เลิกโง่...แล้วทำ
แค่คิดชีวิตก็เปลี่ยน
“กลับออกมาก็ไม่ได้ไปทำอะไรที่เกี่ยวข้องหรือว่าใกล้คุกอีกเลย อาจจะมีบ้างที่เป็นสีเทาๆ”
สิริทัศน์เผยความรู้สึกนึกคิด ที่แม้จะเปลี่ยน ไม่คิดกลับไปทำอะไรที่ผิดกฎหมาย แต่ก็ยังไม่ใช่คนดีคืนสู่สังคมเต็มรูปแบบ เพียงแต่เปลี่ยนย้ายสีให้อยู่กึ่งกลาง
“ตอนนั้นออกมาก็บังเอิญไปเจอเพื่อนที่ติดคุกด้วยกัน เขามีเมียเป็นหมอนวด เจอเขาก็ถามว่าเป็นยังไงบ้าง ทักทายตามประสา พอรู้ว่าเราแย่ๆ ยังไม่ได้ทำอะไร ก็ชักชวนให้ไปทำงานที่อาบอบนวด เราก็ไม่รู้หรอกว่าให้ไปทำอะไรยังไง เราเป็นผู้ชาย จะไปขายก็ไม่ได้ มันบอกให้ไปๆ เหอะ”
เก็บงำความสงสัย แต่ด้วยชีวิตที่ต้องการเงินเป็นปัจจัยสำคัญ จึงต้องไปลองตามคำชักชวน
“ก็ไปเป็นพนักงานรับรถ แต่ทำไปทำมา มีแฟนเป็นหมอนวด เพราะเจอกันทุกวัน ทีนี้จากนั้นก็ขยับเป็นเด็กเสิร์ฟ เสร็จแล้วก็เชียร์แขก แล้วก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาถึงขั้นบริหาร เป็นเอเยนซี หาเด็กมาลงเอง ได้รายได้เอง
“แต่เราก็ไม่ลืมเรื่องที่จะกลับตัวนะ เราก็กลับตัว ไม่ทำผิดกฎหมาย อาบอบนวดในแง่ของกฎหมายช่วงนั้นมันเป็นสีเทา แถมมันยังไม่มีกฎหมายค้ามนุษย์ด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าเราไม่เอาเด็กไปส่งนอกรอบโดยที่ไม่ผ่านร้านอาบอบนวด เราไม่โดนจับผิดกฎหมาย ชื่อมันก็บอก อาบ-อบ-นวด 3 อย่าง ไม่มีเรื่องเพศ แต่จริงๆ มันก็คือค้ามนุษย์ ค้าประเวณี แค่ต่างวิธีการ แต่จุดหมายเดียวกัน
“เราคิดแค่ว่าไม่ผิดกฎหมายเป็นพอ ผิดศีลธรรม รู้ทั้งรู้ก็ทำ เพราะเราไม่ได้ไปหลอกเขา ไปจับเขามา มันมีแต่ในหนังที่แมงดาไปทุบตี ข่มเหงรังแก ยิ่งสมัยนี้แค่บอกเขาตรงๆ ทำงานอาบอบนวดไหม เงินแบบนี้ รายได้เป็นแสน เขาตัดสินใจมาเองเยอะแยะไป”
ภาคอีสาน นับจำนวนเด่นๆ ที่อุดรฯ ขอนแก่น ภาคตะวันออกมีหลักๆ ที่จังหวัดระยอง รวมถึงในกรุงเทพฯ อีกหลายต่อหลายที่ พูดง่ายๆ จังหวัดไหนที่มีอาบอบนวด ปีกของเขาจะสยายบินไปเกาะอย่างทั่วถึงเกือบหมดทั้งสิ้น
“ชีวิตการเงินตอนนั้นรุ่งโรจน์มาก มีรายได้เดือนไม่น้อยกว่าหลักแสน ขับรถเก๋งสี่ประตู ซื้อโน่นนี่นั่นได้หมด ตามที่อยากได้ แต่สุดท้ายก็ไม่เหลือ ไปพลาดเรื่องการพนัน รอบแรกติดหญิง รอบนี้การพนัน ติดเกือบทุกอย่าง ตู้ม้านี่เราหยอดอย่างเซียน คืนๆ หนึ่งเสียเป็นแสนก็ทำมาแล้ว ก็กลับมาตกต่ำอีกชีวิต หมดตัว เลิกกับแฟนหมอนวด พอมีแฟนหมอนวดคนใหม่ก็รุ่งอีก
“คือวงการแมงดาจะมีกินมีใช้ได้ ต้องมีเมียเป็นหมอนวด ต่อให้มีเด็กเยอะ ก็ไม่เท่ากับมีเมียเป็นหมอนวดคนเดียว เนื่องจากว่ารายได้จากเมียคนเดียว วันๆ หนึ่ง 6 พัน 7 พัน ถึง 1 หมื่นบาทได้ แล้วไม่ปวดหัวมาก เราดูแลคนๆ เดียว ก็อยู่อย่างนั้นประมาณ 10 ปี ตกต่ำก็ทำต่อ
“จนตกบ่อยๆ เข้า ทีนี้เริ่มเบื่อหน่าย มันเริ่มรู้ เพราะสบายๆ ไม่ทันไร ตกอีกแล้ว ไม่ต่างจากตอนเป็นเด็กขโมยรถ เรารู้ตัวก็นั่งคิดถึงตัวเอง เราขึ้นสูงสุดแล้วเราก็ต่ำๆๆ ต่ำจะบ่อยกว่ารุ่งอีก ชีวิตเราทำไมเป็นอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เงินดี ใครมาทำอย่างนี้ก็หวังกองทอง เขาถึงเรียกว่ารวยทางลัด แต่เราก็ยังไม่รวยสักที ก็เลยลองมองคนข้างๆ
“ศัพท์วงการอ่าง คนเชียร์แขก คนที่เป็นเอเยนซีจัดหา เขาจะเรียกว่าป๋า เรียกว่าเฮีย เฮียนั้นทำส่งเด็กมาก่อนเราอีก ก็ไม่เห็นจะรวย ป๋านั้นเชียร์แขกอายุ 60 ปีแล้ว แก่คาตู้ก็ไม่มีเงินเยอะ เงินจากทิป เงินจากคอมมิชชั่น ไหนจะเงินที่ขูดรีดเอาจากเด็กอีกต่างหาก เดือนๆ หนึ่งเป็นแสนสองแสน ทำไมพวกนี้ไม่เหลือเลย ก็เลยเกิดการตั้งคำถามในใจ และคำตอบก็คือมันเป็นเงินสกปรก ก็เลยมานั่งคิดได้ว่า ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน เราไม่มีวันรวยเท่าอาบอบนวดแน่นอน
“ยิ่งเราหาเด็กมาลงมาก อาบยิ่งรวยมาก เราก็มีชีวิตเหมือนเดิม เช่นเดียวกับที่เราไม่มีทางเอาชนะบ่อนได้ เราเป็นแค่แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ มีเท่าไหร่ก็หมด ก็เลยค่อยๆ ถอนตัว เงินก็มีน้อยลง ฝากเด็กไว้ 3 ที่ ที่ละคน เก็บจากเด็กรอบละ 100 บาท เฉลี่ยวันๆ เด็กขึ้น 3 รอบต่อวันต่อคนก็ 900 บาท”
“ก็พอ...ได้ซื้อเบียร์กินทุกวัน”
เล่าถึงตรงนี้น้ำเสียงสัมผัสได้ถึงความแห้งผากด้านชาอันเป็นผลมาจากความสำนึกผิด เพราะแม้จะผ่านเลยวันเวลานั้นและกลับตัวกลับใจ แต่กรรม--อย่างที่ใครเรียกใช้ หรือ ความโง่—ที่เจ้าตัวยกมากล่าว เสมือนเงาที่ตามไล่ชีวิตตั้งแต่นั้นมา จนไม่เหลือซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
“จากที่ไม่เชื่อ ทุกวันนี้เชื่อเลย คือตอนนั้นพอมีแฟนเป็นคนธรรมดา ทำงานเป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้า ก็เลยเลิกทำอาบอบนวด เลิกก็ไม่มีเงินเก็บ สิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีงานทำ ขอเงินแฟนใช้ เขาทำงานเงินเดือน 6-7 พันบาท รวมคอมมิชชั่นก็ 9 พันบาทหน่อยๆ มันก็ไม่พอ เพราะตอนนั้นมันติดเหล้ากับบุหรี่มาจากวงการสีดำ เงินที่เขาให้แรกๆ วันละ 100 เอามาซื้อบุหรี่กับดื่ม แล้วก็ค่าข้าวหนึ่งมื้อ มันก็ไม่พอ หลังๆ แฟนมีปัญหากับที่บ้าน ต้องออกมาเช่าห้องพักอีก เขาก็มีรายจ่ายมากขึ้น เงินที่ให้เราได้ก็น้อยลง เหลือ 70-50 บาท จนสุดท้ายเขาให้ได้แค่วันละ 20 บาท เรื่องข้าวก็ต้องอาศัยซื้อลูกชิ้นหนึ่งไม้ เป็นกับข้าวและอาศัยผัก ซื้อข้าว 5 บาท แบ่งครึ่งๆ กิน 2 มื้อ มื้อเข้ากับเย็น
“แล้วเราเป็นคนสูบบุหรี่ ประหยัดๆ ค่าบุหรี่ก็ 3 มวน 10 บาทแล้ว ก็ต้องไปขอข้าววัดกิน เพื่อจะได้มีเงินสูบบุหรี่ สิ้นไร้ไม้ตอกขนาดนั้น ไม่เหลือแล้วศักดิ์ศรี แต่เราไม่อยากย้อนกลับไปติดคุก เลยเลือกที่จะขอข้าววัดกิน ก็ไปทุกวัน วัดหงษาราม จำได้แม่นเลย บางวันมีกับข้าว บางวันไม่มี ถ้านอนตื่นสายไม่ทันเด็กวัด เด็กวัดมันจะกินกันก่อน บางทีก็ไปรับจ้างกวาดลานวัด กวาดกุฏิเขาก็ให้ 20 บาทบ้าง 30 บาทบ้าง แต่ก็ยังไม่พอสูบ ก็เริ่มขอเพื่อน อาศัยว่าเพื่อนเยอะ เพื่อนมานั่งคุยๆ ขอดูด ชั่วโมงนี้ขอไอ้นี่ ชั่วโมงต่อมาขอไอ้นี่ เหล้าก็กินกับเพื่อน จนกลายเป็นที่รังเกียจ จากที่เคยให้มาขอเขา มาหาทุกทีต้องเลี้ยงเหล้าทุกครั้ง บุหรี่ขนาดเพื่อนสตาร์ทรถกลับบ้าน รถล้อกำลังวิ่งแล้ว เรายังไปขอตัวหนึ่งเอาไว้ดูดกลางคืน หลังๆ เลยไม่มีใครคบเลย ไปจากชีวิตผมทั้งเพื่อนรักและไม่รัก ไปหมด
“ตอนนั้นยังไม่คิด ยังโง่ โง่แบบที่เขียนในเฟซบุ๊กเรื่อง “จนแล้วเสือกโง่” เรื่องนี้สำคัญมาก คนรุ่นใหม่ๆ ต้องรู้ จนไม่มีจะแดกแล้วยังเสือกจะแดกเหล้าอีกเหรอ ซื้อบุหรี่สูบอีกเหรอ มึงจนแล้วมึงไม่เจียมตัว”
สิริทัศน์ในวันเวลานี้ที่หลุดพ้นโคลนตมและบ่วงพันธนาการตรงนั้น เผย
“ค่าบุหรี่ตีวันละ 1 ซอง ซองละ 80 เดือนหนึ่ง 2,400 บาท ค่าเบียร์ขวดละ 60 บาท คนดื่มประจำ เฉลี่ยเลยดื่มวันละ 2 ขวด เท่ากับ 160 บาท เท่านั้นไม่พอรถลูกชิ้นรถเข็นผ่านมา เอาซะหน่อย กับแกล้ม 30 บาท เบ็ดเสร็จ 270 บาท สมมติค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะพออะไร นี่ยังไม่รวมค่าข้าวกลางวันที่ต้องกิน แล้วรู้หรือยังทำไมถึงจน
“สาเหตุของการจนของคนเป็นอย่างนี้ เราอยู่มาหลายวงการ หลายชุมชน เห็นมาหลายคนที่ยังจนๆ อยู่ เป็นเพราะอย่างนี้หมด หนุ่มโรงงานตอนอยู่ในโรงงานพักกลางวัน บางทีมีสวัสดิการเลี้ยงอาหารฟรี กินกันแบบเผื่อพรุ่งนี้ แต่พอเลิกงานมานั่งสั่งเบียร์กินอย่างหรูเลย เต๊ะท่าสูบบุหรี่อย่างเท่ คือคุณไม่รู้สาเหตุของการจน คุณไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ คุณต้องรู้สาเหตุก่อน รู้รอยรั่วของเรือก่อน ก่อนที่คุณจะออกทะเล ต้องสำรวจเรือของคุณให้ดีก่อนว่ามีรอยรั่วตรงไหน คุณต้องซ่อมตั้งแต่อยู่บนฝั่ง มันไม่มีใครไปซ่อมรอยรั่วกลางทะเล
“เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะออกไปใช้ชีวิต ก่อนที่จะตั้งเป้าหมายอยากประสบความสำเร็จ ต้องรู้ตัวเองก่อน เรามีข้อเสียตรงไหน เอาไงดี ถ้าเลิกไม่ได้ก็ลด ข้อแรกเลย ข้อที่สอง ถ้าลดไม่ได้ ก็ต้องหาเงินเพิ่ม หนทางเดียวที่เราจะไม่เดือดร้อน”
ในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นโชคดีที่ “ความโง่” เป็นสิ่งที่ทำให้เขาคิดได้ ก่อนจะต่อยอดพัฒนาแตกจากมุมปากท้องสู่การเริ่มต้นชีวิตใหม่ กลายเป็นนักธุรกิจรวยระดับล้าน
“ตอนนั้นผมเองก็ยังไม่เลิก ก็ใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไปรับแฟนที่ห้าง ระหว่างจอดรถรอรับ ก็สังเกตคนที่สูบบุหรี่กำลังเดินเข้าห้าง เขาจะดูดไม่หมดแล้วดับบุหรี่ไว้ทุกคนเลย สั้นบ้างยาวบ้าง อัดให้ได้มาก ให้เต็มปอดที่สุด แล้วก็ดับทิ้งไว้ ผมสังเกตแล้วก็คิดว่าเราไม่ต้องซื้อบุหรี่แล้วนี่หว่า ก็เอาถุงพลาสติกใบขนาด 6 คูณ 9 ไปใส่ ได้ดูดทุกยี่ห้อเลย ตั้งแต่ถูกไปแพง เอากลับมาดูดไม่อายด้วย เดินไปหยิบอย่างนั้น ก็เป็นทางออกตอนนั้น แต่ก็ยังโง่อยู่ แล้วชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้นมา แค่ท้องไม่หิว อิ่มปอด
“แต่ก็ถือเป็นความโชคดี เมื่อไม่มีเพื่อน ก็ทำให้เรามีแรงแอกทีฟ เงินไม่มี ศักดิ์ศรีไม่มี คนเวลามันหมดหนทาง มันจะมีอยู่สองทางคือ สู้ให้สุดชีวิต ไปให้สุดทางฝัน กับอะไรกูก็ยอม เราเลือกอย่างหลัง ศักดิ์ศรีไม่มีในตัวแล้วตอนนั้น บอกตามตรงไม่อาย ก่อนหน้าที่จะคิดใหม่ได้”
ตั้งตัว
แค่ตั้งใจ...
“พอคิดได้อย่างนั้น มีจังหวะงานเข้ามา ไม่ตกงานแล้ว เราก็ทำอย่างที่คิด ตอนนั้นทำงานแผงหมู เป็นคนชำแหละหมู ได้ค่าแรงวันละ 600 บาท ความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น เราเริ่มเลิกโง่แล้ว ทีนี้ด้วยนิสัยการเติบโต เราไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร ก็เก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง ก็ตัดสินใจไปเปิดร้าน ทำธุรกิจของตัวเอง”
สิริทัศน์กล่าวแซมยิ้ม หลังชีวิตเลื่อนออกจากความด่างพร้อย สู่แสงสว่างด้วยความหวังที่จะก้าวหน้า เฉกเช่นปุถุชนทั่วไปที่เมื่อละเลิกอบายมุข คิดสร้างอนาคต
“ก็ไปรับกระเป๋ามือสองมาขาย เพราะเห็นเขาขายกันตามตลาดนัดแล้วรวย ผลปรากกฎว่าเจ๊ง เดือนเดียวเจ๊งเลย ก็กลับไปเป็นลูกจ้างแล่เนื้อหมูอีกรอบ แล้วก็เหมือนเดิม เก็บเงินได้สักก้อนก็ทำธุรกิจอีก ทีนี้ไปเปิดร้านขายน้ำปั่นที่เขากำลังฮิตกันที่โคราช เจ๊งเหมือนเดิม ก็บากหน้ากลับไปแผงแล่หมู แผงเก่าบ้างใหม่บ้าง ด้วยความที่พอรู้จักและตลาดแรงงานด้านนี้ยังขาด
“ทำของเล่นเด็กขาย ก็เจ๊ง ก๋วยเตี๋ยวก็เจ๊ง ลูกชิ้นปิ้งก็เจ๊ง ก็กลับมาตลาด กลับมาทุกครั้งก็ได้ยินคำดูถูกทุกครั้ง บอกไอ้ติ๊ก คนอย่างมึงไม่มีวันเป็นเจ้าของธุรกิจได้หรอก คนอย่างมึงเป็นได้แค่ขี้ข้า เราก็เจ็บใจ แต่ด้วยความที่ตอนนั้นไม่มีศักดิ์ศรีอะไรเลย ศักดิ์ศรีเอาไปแลกก๋วยเตี๋ยวกินไม่ได้ ใครจะด่าอย่างไรก็ด่าไป”
ในขณะที่ใครอาจจะล้มให้กับแรงเสียดทานเหล่านั้น ถอยให้กับคำว่าเจ๊ง เขากลับมุ่งมั่นเอาเป็นแรงผลักดันให้สู้ และมุ่งหาประสบการณ์อย่างไม่ลดละ ประหนึ่งโจรที่มุ่งหมายทำผิด ก็จักหาวิธีการให้สำเร็จลุล่วง โดยไม่ต้องรับโทษ
“เราก็เก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นแรงผลักดัน ไม่เข็ด เป็นคนอื่นแค่เจ๊งครั้งเดียว เขาจะเลือกเป็นพนักงานประจำไปตลอดชีวิตเลย เห็นจากเพื่อนหลายๆ คน ดูจากคนรอบตัว แต่เราไม่ เพราะผมไม่อยากเป็นลูกน้องใคร แล้วมันเป็นภาพติดตาที่เราเห็นทุกวัน เราไปทำงานสามทุ่มเลิกสามโมงเช้า รับเงิน 600 บาท กลับบ้าน แต่เถ้าแก่ ทำเท่ากัน เขารับเงิน 6-7 แสนกลับบ้าน เพราะเขาเป็นเจ้าของแผงหมู เราเป็นลูกน้อง ภาพภาพนี้ทำให้รู้สึกว่าเราจะต้องเป็นเจ้าของกิจการให้ได้ เพราะเราก็ทำงานเหนื่อยกว่า แต่ผลที่ได้รับไม่เท่าเขา”
“กูทำงานมากกว่า แต่มึงได้เงินเยอะกว่า”
สิริทัศน์เอ่ยถึงความรู้สึกที่อยากจะเจริญก้าวหน้าที่ถึงกับต้องสร้างขวัญกำลังใจถึงขั้นขึ้น “กู” “มึง” ในใจตัวเอง
“ความต่างมันมีต่อกันนิดเดียว ก็มึงขี้ข้าไงติ๊ก เขาเป็นเจ้าของกิจการไงติ๊ก แล้วทำอย่างไรมึงจะได้วันหนึ่งเยอะๆ มึงก็ต้องขึ้นมาเป็นเหมือนเขา เป็นเจ้าของกิจการไงติ๊ก เราคิดและบอกตัวเองอย่างนั้นในใจ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองแอกทีฟ”
หมอดูไพ่ยิปซี ก็เคยเป็น ขายเสื้อผ้า ก็เคยขาย แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าคนนายคนสักที เสี่ย--เฮีย--ป๋า กระทั่งคำว่า “ล้าน” หลักเงินตราสรรพนามฉายาที่เรียกขานห้อยท้ายก็ได้แค่พ้องเสียง ร.เรือ เท่านั้น
“เขาก็เรียกเราว่าไอ้ติ๊กร้อยร้าน ร.เรือ นะ ไม่ใช่ล้าน ล.ลิง ทำอะไรก็เจ๊งๆ แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้ประสบความสำเร็จ เพราะพอเจ๊งเยอะๆ รอบรู้เพิ่ม ใครก็หลอกไม่ได้แล้ว สมมติแก้วน้ำดื่มกระดาษ มองปุ๊บรู้เลยว่าต้นทุนเท่าไหร่ ทำที่ไหน วัตถุดิบอะไร หรือตกแต่งร้าน ไม้ฝาผนังซื้อที่ไหน ต้นทุนช่างเขาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ บวกเราเท่าไหร่ โกงเราไหม เพราะเราเจ๊งจนเรารู้รอบด้าน เจ๊งจนเข้าใจ
“เห็นเขาขายดี ไม่ได้แปลว่าเราไปขายข้างๆ เขา ขายแทนที่เขาแล้วจะขายดี คนส่วนมากจะมองแค่ตรงนั้น แต่ไม่ได้มองความพยายามของเขา แล้วก็ส่งผลให้ทำได้ไม่เท่าเขา เราดูแต่ผลประกอบการ ผลสำเร็จเขา แต่ไม่เคยเห็นตอนที่เขาพยายามเลย และที่สำคัญ เราพยายามได้ไม่เท่าเขา เลยเจ๊ง
“นี่คือคำตอบ ยกตัวอย่างตอนขายเสื้อผ้า ร้านก็อยู่ซอยติดกัน ทำไมเขาขายได้วันละ 2-3 หมื่นบาท เราขายได้ 4-5 พันบาท ทั้งๆ ที่น้อง 2 คนนี้เขาเป็นนักศึกษาด้วยซ้ำ เขามีภาระทั้งเรื่องเรียนด้วยอีก 2 ต่อ 3 ต่อ เรียนเสร็จบ่ายมาขาย เสาร์-อาทิตย์ นั่งรถทัวร์ไปกรุงเทพฯ แบกใส่ถุงสายรุ้ง ยัดใส่รถทัวร์กลับมา ความพยายามเขาขนาดนั้น ลดต้นทุนทุกอย่าง เราล่ะ? ไปสั่งแล้วเอามาขาย ขายเสร็จกินเหล้าถึงตี 3-4 ตื่นบ่ายๆ เกือบเย็น แค่เวลาก็แพ้เขาแล้ว หลังจากตรองๆ จึงรู้เลยว่าเราต้องพยายามเท่าเขาสิวะ ต้องมุ่งมั่น”
นั่นจึงทำให้แม้ครั้งสุดท้ายจะหันมาขายเพียงแค่ลูกชิ้นทอดไม้ละ 5-10 บาท กระนั้นเขาก็สามารถมีรายได้หลักแสนต่อเดือน
“คือพอคิดได้อย่างนั้น เราได้เรื่องของแผนการทำงาน เรารู้ต้นทุน รายจ่าย กำไร ทีนี้ก็ไปรู้จักทฤษฎีกล่องวิเศษ เรื่องนี้เขียนในเฟซบุ๊กในชื่อว่า 'ไอ้เอส สองแสน' คือเรื่องของเรื่อง ไอ้เอสมีร้านกาแฟอยู่ร้านหนึ่ง กำไรต่อเดือน 5-6 หมื่นบาท มีพนักงานลูกจ้าง 3 คน แล้วบอกว่าใครทำงานครบตามที่กำหนด สั้นๆ ง่ายๆ 1 ปี 6 เดือนผ่านการทดสอบ จะยกร้านให้ฟรี แต่มีข้อแม้ว่าหลังจากที่ยกให้แล้ว จะได้กำไรเดือนละกี่หมื่นกี่แสนก็ช่าง ขอจากร้านเดือนละ 2 หมื่นบาท
“4 ปี ที่ทำแบบนี้ มีร้านกาแฟไป 7 ที่ จากลูกน้องที่สร้างขึ้นมาเป็นเจ้าของร้านร้านละ 2 หมื่นบาท 7 สาขา เป็นเงิน 1 แสน 4 หมื่นบาท ฟรีๆ โดยที่สามารถนอนตากพัดลมอยู่บ้าน”
“ทุกคนสงสัยว่าทำไมทำแบบนั้น”
เขาย้อนถาม ก่อนจะตอบอย่างรวดเร็ว เพราะรู้คำตอบที่ได้รับจากกลวิธีนี้ที่คนส่วนใหญ่มักคิดไม่ถึง
“การที่ทำแบบนี้ เราไม่ต้องจ้างใคร เราไม่ต้องมานั่งกังวลว่าลูกน้องจะทำงานดีหรือไม่ ทำเต็มที่หรือไม่ จะโกงเราหรือเปล่า หากเราใช้วิธีนี้ ปัญหาเหล่านั้นจะไม่มี ทั้งเรื่องลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ ลูกน้องโกง เพราะเงินไม่พอกิน ขี้เกียจเพราะเงินเดือนน้อย ไม่ตั้งใจทำงานเพราะมองไม่เห็นอนาคต... เพราะเราให้อนาคตเขา ทีนี้นอกจากเราจะได้พนักงานที่ดี พนังงานที่ตั้งใจทำงาน ยังได้สร้างคน
“ผลที่ได้คือ วินๆ ทั้งสองฝ่าย เอสได้ผลกำไรจากร้านคืนทุกเดือน และได้สร้างคนขึ้นมาหาเงินให้ใช้ โดยที่มันไม่ต้องเสียค่าจ้างคนที่มาหาเงินให้ใช้ ได้เป็นเถ้าแก่โดยไม่ต้องลงทุน และได้ร้านฟรีโดยมียอดกำไรที่ชัดเจนแล้วด้วย นี่คือคิดแบบโจรและแบบตำรวจ โจรอยากเปิดบ่อนต้องจ่ายตำรวจ ไม่จ่ายเปิดไม่ได้ โจรคำนวณแล้วว่าจ่ายส่วยเท่านี้แล้วคุ้ม จึงยอมจ่ายตำรวจ เอสก็เหมือนโจรเปิดบ่อน แล้วให้ลูกน้องที่อยากเป็นเจ้าของบ่อน อยากเปิดบ่อนต้องจ่ายส่วย”
เรียกให้สวยคือ 'ทฤษฎีกล่องวิเศษ' เช้ามาเอาเงินใส่ แล้วตกเย็นมาเปิด มีเงินเพิ่มขึ้น
“แรกๆ ก็มีคนสงสัย เราติดป้ายรับสมัครพนักงานขายลูกชิ้น ไม่มีเงินเดือน คนมาสมัครงานก็ถาม เราก็บอกว่าได้กำไรเท่านี้ๆ ทุกวัน คุณมาขายแต่ตัว เย็นแบ่งเงิน หลายๆ คนก็เลือกที่จะขอเป็นรายวัน วันละ 200 เพราะไม่คิดว่าจะเป็นอย่างที่เราบอก สุดท้ายก็มาขอเปลี่ยนเป็นแบ่งครึ่งๆ แต่เรามีกฎว่าจะมาเปลี่ยนตอนหลังไม่ได้”
และเมื่อประสบความสำเร็จจากร้านลูกชิ้นทอด 3 สาขา รายได้หลักแสนด้วยวิธีคิดแบบนี้ เพียงในระยะเวลาไม่กี่ปีก็กลายเป็นเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยว “เตี๋ยวมั๊ยวะ” อันโด่งดังทั่วประเทศ มียอดร้านแฟรนไชส์กว่า 15 ร้าน ขนาด ตี๋อ้วน พิธีกรชวนชิมอาหารชื่อดังยังต้องมาลอง ก่อนที่จะขยับเป็นเจ้าของธุรกิจ จิ้มจุ่มหม้อเบ้อเร่อ ทำเงินกว่าล้านบาทเมื่อ 7 เดือนที่ผ่านมา
“คือเราก็ต่อยอดหาความรู้เพิ่มเติมขึ้น เราไม่อยากล้มเหลวอีกแล้ว เพราะพอเราดีขึ้นมาตอนร้านลูกชิ้นและร้านก๋วยเตี๋ยว เราผยอง ใครติดเราไม่ได้ ไปเปิดร้านนมก็เจ๊งอีก เราก็คิดได้ว่าเราต้องรับฟัง เราต้องเป็นผู้ตามบ้าง ก็คิดแบบโจรกับตำรวจเหมือนเดิม ตำรวจนายร้อยยศพัน บางทียังต้องถามจ่าที่มีประสบการณ์ โจรต่อให้เป็นหัวหน้ายังต้องศึกษาวางแผน นอกจากเป้าหมาย ยังต้องหาข้อมูล ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ ต้องรู้ที่มาของความต้องการและรู้ว่าตลาดต้องการอะไรก่อนลงมือ
“ตอนนี้ที่ขายแฟรนไชส์ร้านจิ้มจุ่มหม้อเบ้อเร่อกว่า 70 ร้าน ทั่วประเทศ สุกี้หม้อเบ้อเร่อ เพิ่งเปิดขายยังไม่ถึงอาทิตย์ มีคนจองสั่งแฟรนไชส์ 15 ร้าน เรื่องนี้นอกจากวิธีการคิดตรงนั้นที่สร้างเราขึ้นมาได้ ก็ต้องยกความดีความชอบให้กับคนๆ หนึ่ง ผมยกให้เขาเป็นครู ครูข้างถนน ที่ทำให้เรามีวันนี้ คือเขาสอนว่า ถ้าคิดจะทำอะไรขึ้นมาสักอย่าง ถ้าทำได้แค่เหมือน อย่าทำ ถ้าทำได้ห่วยกว่า อย่าทำ ถ้าทำแค่เท่าเขาก็อย่าทำ จะทำอะไรสักอย่างต้องดีกว่า ถึงจะอยู่รอด ร้านก๋วยเตี๋ยวมั๊ยวะ เราก็เลยได้เรื่องไอเดียชื่อ แล้วก็พอวันแรกๆ ขายไม่ได้ เรานึกถึงตอนเราจนขอข้าววัดกิน เราอยากกินก๋วยเตี๋ยวแล้วดันขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปซื้อแล้วโดนจับ ก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ได้กิน แถมเสียค่าปรับอีก เราก็เห็นว่าด่านขยันตั้งกันมาก เลยโพสต์โปรโมชันลงเฟซบุ๊กเลย ใครมีใบสั่งมากินฟรี กี่คนๆ วันนี้ถึงวันนี้ เขาเอาไปแชร์ๆ ต่อกัน ก็บูมเลย
“แล้วก็อาจารย์สมคิด ลวางกูร ที่ท่านสอนในหนังสือ เคยอ่านที่จำแม่นเลยคือ คนที่จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่คนโง่ ต้องอ่านหนังสือ ก็เริ่มอ่าน พ่อรวยสอนลูก ที่เกี่ยวกับธุรกิจ ค้าขาย การสร้างแบรนด์ อะไรอ่านหมด อ่านก็ไม่ได้มีเงิน ไปอ่านฟรี พูดง่ายๆ ขโมยความรู้ ไม่ค่อยเสียเงิน ซื้อเหล้าซื้อได้ แต่ไม่ซื้อหนังสือ จากหัวสมองโล่งๆ ไปอ่านเสร็จ หนังสืออยู่ที่เดิม แต่ได้ความรู้ออกมาจากร้าน
“ทีนี้พอรู้ว่าต้องไม่เหมือน ไม่ซ้ำ ไม่ห่วย ต้องดีกว่า ตั้งแต่นั้นมา ชีวิตก็เปลี่ยนเลย ทำการค้าอะไรก็เป็นที่ 1 เกือบทุกวงการ”
สิริทัศน์กล่าวแซมยิ้มเต็มดวงหน้า เพราะนอกจากวิธีคิดเหล่านี้จะให้ความสำเร็จในทางธุรกิจแล้ว ในเชิงชีวิตยังสามารถตีความแปรให้เป็นแนวทางการทำตนให้เป็นคนดีได้อีกด้วย
“เพราะตั้งตัวง่ายๆ แค่ตั้งใจ คำนี้มันจบในนี้เลย ถ้าคุณอยากจะตั้งตัวได้ คุณต้องตั้งใจ เป็นกฎเหล็ก คำลายเซ็นผมเลย คติประจำใจ จริงๆ จะใช้คำว่าศรัทธาอย่างที่หลายๆ คนชอบใช้ก็ได้ แต่คำว่าตั้งตัวมันเป็นตัวแทนของคำว่าความสำเร็จที่จับต้องได้ง่ายกว่า พูดอีกมุมก็คือ อยากสำเร็จต้องตั้งใจ คำว่าอยากสำเร็จต้องตั้งใจมันไม่ชัดไง ตั้งตัวชัดกว่า ตั้งตัวได้ง่ายๆ ก็คือต้องตั้งใจ
“ฉะนั้น ถ้าตั้งใจก็ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราตั้งใจ ตั้งใจอย่างเดียวมันทำได้อยู่แล้ว เรื่องนี้สามารถใช้ได้ในทุกเรื่อง แม้กระทั่งชีวิตจากประสบการณ์ผมที่ผ่านมา จะดีหรือเลว อยู่ที่เราตั้งใจ”
ล้มเหลวหรือสำเร็จ ตัวกำหนด
บทส่งท้ายจากใจอดีตโจร
“คือคนส่วนใหญ่เสียเวลากับการค้นหาความเป็นตัวเอง แต่ผมผมสร้างตัวเองขึ้นมา จะไปนั่งค้นทำไมเป็นสิบปี เดี๋ยวพอไปเห็นนักร้องเกาหลี ก็อยากแต่งตัวเกาหลีเหมือนเขา พอไปเห็นโน่นนี่ เดี๋ยวก็โอนเอนตามไป โอกาสหาตัวเองเจอ ยากมาก และก็ไม่แน่ว่าจะเจอด้วย แต่ถ้าสร้างตัว ปีนี้เราสร้างขึ้นมาได้เลย สร้างเลย เพราะเรารู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ก็สร้างมันขึ้นมาเลย”
สิริทัศน์กล่าวฝากถึงคนที่คิดอยากจะเริ่มต้น
“ยกตัวอย่างธุรกิจจิ้มจุ่ม ตอนแรกทำแล้วเจ๊ง เหตุผลที่มาทำอีกครั้งก็เพราะว่า คิดๆ นึกย้อนดู เราทำแล้วมีความสุขที่สุด เราชอบดื่มเหล้า แต่ดันไปเปิดร้านนม มันก็ไม่ใช่ หลักง่ายๆ เริ่มจากตรงนี้ก่อนก็ได้ หากจะสร้าง ทีนี้ พอทำร้านจิ้มจุ่ม ใครๆ ก็ดื่มเหล้าเบียร์เป็นเรื่องปกติ เราก็ทานด้วยทำงานด้วยได้”
“และที่เขียนหนังสือ เพราะรู้ว่าเป็นคนปากหมา พูดตรงไปตรงมา เป็นคนชอบสังเกตและเล่าเรื่อง ก็เขียนหนังสือเลย เราสร้างตัวตนของเราได้”
ก่อนหน้าเล่ม “พลิกชีวิตคิดแบบโจร” มีผลงานเขียน ' UNSEEN เปลือยชีวิตสาวอาบอบนวด' ล่าสุดที่กำลังจะวางแผง “เปิดปากแมงดา” และเตรียมขึ้นทอล์กโชว์พูดแนะนำการทำธุรกิจร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง อาจารย์สมคิด ลวางกูร
“พลิกชีวิตคิดแบบโจร เกิดขึ้นได้จากกระแสตอบรับการแชร์ที่ล้นหลาม จนคุณจเร ณาธร โฮมทณาวงค์ เขาบังเอิญเห็นบทความหลายๆ บทความ แล้วสะกิดสนใจในนั้น ทำให้ได้พิมพ์ออกมาอ่านกัน แม้ว่าจะมีกระแสเรื่องการใช้ภาษาของเราที่ค่อนข้างแรง หลายๆ คนก็ถามและถึงขนาดตั้งกระทู้ถามกันในเว็บไซต์พันทิป จริงๆ เจตนาเราไม่ได้ดูถูกคนอื่นๆ ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือเหยียดหยามคนที่เป็นพนักงานลูกจ้างมนุษย์เงินเดือน
“ผมเคยตั้งคำถามกลับคืนไปแก่คนเหล่านี้ แต่ก่อนผมเคยเป็นแบบเขา แต่ตอนนี้ส่วนตัวเป็นเจ้าของกิจการ จึงเห็นความต่างของทั้งสองอย่าง ถ้ามองสาระสำคัญที่มันซ่อนในบทความ คุณจะรู้ว่ากำลังจะบอกอะไรคุณอยู่ คือพยายามจะบอกว่า คุณครับ คุณเป็นพนักงานประจำ คุณไม่รวยนะครับ นี่คือใจความ แต่ผมแค่ปากร้ายและอยากจะกระตุ้นอย่างตอนผมอยู่แผงหมู”
อาจจะจริงดั่งว่า เพราะบางครั้ง คำด่าว่าก็เสมือนยาขม ที่กลายเป็นแรงผลักชั้นดี โดยที่เราไม่ทันคาดคิดรู้ตัว
“ถ้าพูดนิ่มๆ บางทีไม่สะกิดใจ ความหมั่นไส้ทำให้เกิดความคิด เพราะคนตีความจากตัวหนังสือไม่เหมือนกัน ตรงไปตรงมาเลย จะไปอ้อมค้อมทำไม ทั้งๆ ที่สังคมก็รู้ แต่ก็ยังปิดปาก
“จริงอยู่ที่ว่ามันก็ไม่ประสบความสำเร็จทุกคน มีคนพูดใส่เรา มึงรวยแล้วมึงก็พูดได้ ถามว่าทำได้อย่างเราก็ไม่มีใครเป็นลูกจ้างเราหรอก เขาไปเป็นเจ้าของกิจการหมดแล้ว ก็ใช่ แต่นั่นไม่ใช่ใจความ ใจความก็อย่างที่บอก และคุณก็อย่าลืมว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณทำงาน เหตุผลที่คุณทำงานเพราะมีภาระค่าใช้จ่าย ต้องการเงินใช้ชีวิต คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ คุณทำเพราะรักในงานคุณหรือเปล่า ถ้าเปล่า นี่ก็ไม่ใช่การดูถูกหรือเหยียดหยาม แต่เป็นการให้มุมแง่คิด
“การที่เราไม่เปลี่ยน ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่กล้า เราไม่อยากเสียอะไร แต่อย่าลืมว่าก่อนหน้าที่จะได้ เราก็เสียทั้งเงินถ่ายรูปติดบัตร เสียทั้งแรงเดินออกไปหางานตั้งกี่ที่ต่อกี่ที่ กู-มึง กูทำได้ มึงก็ทำได้ ผมถึงใช้คำว่า “กู” และ “มึง” กระตุ้นด้วยใจ หัวอกเดียวกัน นี่คือสิ่งที่อยากจะสื่อสาร จริงๆ เราไม่พูดก็ได้ แต่เราผ่านมาแล้ว เราก็มีชีวิตดีขึ้น ทีนี้อย่างที่บอกอีก พอเริ่มเป็นคนดี เราก็อยากจะส่งต่อให้คนอื่นดีเหมือนเราบ้าง จะได้ไม่ต้องไปทุกข์หรือเมื่อสิ้นไร้ไม้ตอกแบบเรา เลือกที่จะไปกระทำความผิด
“แล้วต้องให้เขาไปยืนรอมองลอดลูกกรง คิดจากประสบการณ์หรือ น้อยคนนักที่จะเข้าไปแล้วได้บทเรียนดีๆ ก็เคยได้รับเชิญให้ไปพูดในคุกที่เคยติด เรายินดีมาก เพราะจุดจบอยู่ที่ตรงไหน รู้อยู่แล้ว เราสามารถเลือกจุดจบของชีวิตตัวเราเองได้ ในร้านผมเอง พนักงานในร้านยังบอกเลยว่าถ้ามีทางที่ดีกว่า ลาออกไปเลย อันนี้ไม่ได้ไล่กัน พูดกับทุกคนทุกวัน แต่ถ้าอยากอยู่ด้วย ก็ดีใจ แต่วันไหนดีกว่า ไปได้ก็ไป บอกพี่ติ๊ก หนูอยากจะไปขายของ เดินมาบอกเลย ไม่ว่าเลย จะสอนบอกแนะนำทุกอย่างที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์แก่เขาให้ด้วย”
“สู้ก็เจ็บ ไม่สู้...กูก็เจ็บ” เรื่องต่อยตีจากประสบการณ์วัยมัธยมจนต้องหนีไปขอความช่วยเหลือ แต่แล้วรอดจากเรื่องวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ก็ต้องโดน เพราะวิ่งไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา ซึ่งหากนำมาพลิกใช้กับการทำงาน การที่เป็นพนักงานกินเงินเดือน เราไม่มีทางหนีพ้นการเกษียณอายุ ทั้งหมดขึ้นอยู่ว่าเราจะเลือกเวลาไหน
หรือบทความเรื่อง “พนักงาน...ดีเด่น ที่โลกไม่จำ” คล้อยหลังก็ลืม แม้ว่าจะมีประสบการณ์ความสามารถติดตัว อาจจะมีเบี้ยโบนัสพิเศษ แต่ก็หลีกหนีไม่พ้น ทำงานเป็นลูกจ้าง หากไม่คิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นนายกิจการของตัวเอง ความสามารถนั้นก็จะสูญ ตายไปกับเรา หรือไม่ก็ถ่ายทอดกับคนอื่นแล้วสร้างงานให้บริษัทร้านเขา
“โลกไม่จำเขาหรอก สมมติมีป้าถูพื้นร้านอาหารที่คุณไปทานประจำชื่อป้าจำเนียง แกถูพื้นเก่งที่สุดในร้าน เราจำได้ไหม ไม่ได้ แต่บริษัทสร้างแผนนี้ขึ้นมาเพื่อหลอกใช้พนักงาน ให้พนักงานแข่งขันกันเองในองค์กร แข่งขันกันทำงาน เพื่อให้ขึ้นป้ายนี้เป็นกุศโลบายใช้คน ถ้าฉันทำงานดี จะได้ขึ้นป่ายนี้ แล้วยังไงต่อ...เรารู้ๆ กันอยู่
“เดี๋ยวนี้ก็เลยเพลาๆ ลงบ้างแล้ว เพราะเราก็ค่อยๆ โต ค่อยเรียนรู้ อันไหนที่พลาด อย่างไปเขียนเรียกเขาว่า “ตัว” ก็น้อมรับปรับปรุง ดูในเฟซบุ๊กได้ ไม่ลบ เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจ แต่ก็ยังเขียนมุมมองและประสบการณ์จากตัวเองเพื่อให้ค้นทางของตัวเองเจอ ส่วนตัวยังมองว่าทุกคนต้องมีทางของตัวเอง ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับทุกคน แต่เหมาะเฉพาะกับคนที่สู้จริง เอาจริง เราก็ต้องรู้ตัวเอง รู้เป้าหมายตัวเอง แล้วต้องมุ่งมั่น ทำจริง
“ถ้าคำว่าต้นทุนชีวิตคนเราไม่เท่ากัน ผมจบแค่ ป.6 เรียน ม.1 ได้ครึ่งเทอมไปตีกับเขาจนต้องออกจากโรงเรียน ออกมาเป็นกุ๊ยอันธพาลจนไปเป็นโจรขโมย กระทั่งค้ายา ยังกลับตัวได้ และกลับมาเป็นเจ้าของกิจการหลายอย่าง แต่ละอย่างยอดขายหลักร้าน ผมถามคุณคำเดียว ผมมีต้นทุนมากกว่าใครตรงไหน”
คิดถูกหรือผิด--ไม่มีใครรู้ ทว่านี่คือเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของอดีตโจรข้างถนน ที่กลับลำเปลี่ยนชีวิตเป็นเจ้าของกิจการเงินล้านและพลิกกลับเป็นคนที่ดีขึ้น
“ก็ขอฝากข้อคิดทั้งสำหรับคนที่ทำธุรกิจและอยากมีชีวิตที่ดี นอกจากที่บอกกล่าวเล่าไปแล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ ไม่ว่าธุรกิจอะไรก็ตามถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการเอาเปรียบลูกค้า คุณพัง คุณเจ๊งแน่นอน เริ่มตั้งแต่วันที่คุณคิดอย่างนั้นแล้ว เพราะพอเขามาใช้บริการของเรา เขารู้ว่าเราเอาเปรียบ เขาจะมาแค่หนเดียวแล้วไม่มาอีกเลย ตรงกันข้าม หากเราแฟร์ๆ สมน้ำสมเนื้อกันทั้งสองฝ่าย เขาก็จะมาหาเราอีก ทำอาหารเหมือนให้แม่เรากิน เรื่องคุณภาพต้องดี บริการต้องทำเหมือนเพื่อนมาบ้าน คนเขาก็จะมา
“มันเป็นวิถีคนไทย ใจเขาใจเรา ชีวิตก็ไม่ต่างกัน เราไม่ชอบให้เขาทำไม่ดีกับเรา เราก็อย่าทำไม่ดีกับเขา คิดดีทำดีก็ได้ดี อาจจะฟังดูเชย แต่มันยั่งยืน ตอนนี้กำลังมีความสุขกับการเป็นคนดีมาก แม้จะยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มีความสุขมาก เวลาที่ทำดีแล้วมันได้ดีคืนกลับมาจริงๆ บริจาคเงินให้คนตาบอด คนก็มาช่วยกันเต็มไปหมด พอเป็นคนดี พวกคนไม่ดีก็จะไม่ได้อยู่กับเราแล้ว คบกับเราไม่ได้ เคมีไม่ตรงกัน รอบตัวเราก็จะมีแต่คนดีๆ สิ่งแวดล้อมสำคัญ เราเป็นคนชนิดไหน เราก็จะดึงดูดคนชนิดเดียวกันเข้ามาอยู่
“ผีเสื้อไม่เคยตอมขี้ ฉันใด แมลงวันก็ไม่ตอมดอกไม้ ฉันนั้น ทำตัวแบบใด คุณก็จะได้สิ่งแวดล้อมแบบนั้น”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
“สิริทัศน์ สมเสงี่ยม” จาก “ไอ้ติ๊กร้อยร้าน” เพราะเปิดกี่ร้านต่อกี่ร้าน ก็ไม่ได้แม้สักล้าน... แต่สุดท้ายกลายเป็น “ไอ้ติ๊กเงินล้าน” ได้อย่างไร?
นี่คือบทสัมภาษณ์ที่ไม่อยากให้พลาด ไม่ว่าคุณจะอยากรวย หรือแค่อยากจะปรับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นคนที่ดีขึ้น เรื่องราวของ “ติ๊ก-สิริทัศน์ สมเสงี่ยม” ล้วนเพียบพร้อมในสิ่งนั้น...
ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา
จากโจรธรรมดา สู่วงการยานรก
“ผมเป็นคนโคราช เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เกิดมาในสลัม หน้าปากซอยบ้านผม มีผู้หญิงค้าประเวณี ท้ายซอยขายยาเสพติด เดินไปทางขวาบ่อนการพนัน เดินทางซ้าย แก๊งนักเลงอันธพาล ผมก็เลยค่อนข้างเดียงสาเกินวัย แล้วประกอบกับตอนนั้นก็ติดเกมมาก เกมแฟมิลี่ เกมมาริโอ้ เกมคอนทร้า เกมรถแข่ง ติดมาก เด็กในซอยติดหมดทุกคน แล้วเขามีร้านเปิดเป็นแบบเช่าเครื่องคิดราคา 15 บาทต่อชั่วโมง หรือเกมละ 2 บาท คอนทร้า 3 ตัว ตายหมด จบ รถแข่ง แข่งหมดเกม 2 บาท ทีนี้บ้านเรายากจน ไม่มีเงิน เราก็ขโมยเพื่อมาเล่น ขโมยถังแก๊สแม่มาขาย ขโมยพระเครื่องพ่อมาขาย แล้วก็ลามไปบ้านคนอื่น บ้านนั้นที บ้านโน้นที”
ชายหนุ่มเบื้องหน้าเล่าช่วงเหตุการณ์ชีวิตวัยเยาว์ที่คลุกเคล้าอยู่ในโลกมืดหม่น
“ก็โตมาอย่างนั้น จบแค่ ป.6 เพราะ ม.1 ได้แค่เทอมเดียว มีเรื่องทะเลาะวิวาท ก็ออก หลังจากนั้นก็ไปกันใหญ่ พ่อแม่เริ่มทนไม่ไหว เขาก็พยายามสอนให้เราเป็นคนดี บ้านช่องก็เลยไม่ค่อยได้อยู่แล้ว ไปอยู่บ้านเพื่อนเป็นเดือนๆ ก็ทำโน่นนี่นั่น ทำงานหาเงิน จนอายุ 15 จุดเปลี่ยนชีวิตอย่างเต็มตัวก็มา คือพอได้บัตรประชาชนตอนเช้า ตอนบ่ายนั่งรถมากรุงเทพฯ เลย ด้วยเงินร้อยกว่าบาท
“เพราะได้ยินได้ฟังเรื่องเล่ากรุงเทพฯ ก็อยากมาเจอแสงสีอย่างที่เขาว่ากัน ด้วยความที่เป็นวัยรุ่น แล้วก็อยากมีเงิน แต่มาถึงลงหมอชิต (เก่า) ก็มาเจอความซวยเลย เงินหาย ตังค์ 40 บาท หลังหักค่ารถ 90 บาท หาย ไม่รู้ว่าหายบนรถหรือที่ไหน ในตัวตอนนั้นเลยมีอยู่เหลือแค่ 2 อย่าง บัตรประชาชน แล้วก็เศษกระดาษที่จดเบอร์โทรศัพท์ของรุ่นพี่ที่เขาจะหางานให้ทำ
“ก็ตกใจมาก เราอยู่ในเมืองที่ไม่รู้จักใครเลย แล้วไม่มีเงินสักบาท ก็เดินวนไปวนมาในหมอชิตหลายสิบรอบ ทีนี้เริ่มหิวข้าวมาก เดินทางมา ยังไม่ได้กินอะไรเลย ก็ตัดสินใจสั่งก๋วยเตี๋ยวพิเศษลูกชิ้นเยอะๆ แล้วน้ำอัดลมเย็นๆ 1 ขวด ด้วยความที่กระหายน้ำมาก ก็อยากกินอะไรที่มันอิ่มๆ เย็นๆ ชื่นใจ ทั้งๆ ที่ไม่มีเงิน กินเสร็จ ก็มองซ้าย มองขวา ไม่มีใคร ก็เลยวิ่ง”
วิ่งหนี วิ่งอย่างสุดชีวิต ขึ้นไปบนสะพานลอยเพื่อที่จะข้ามฝั่ง ทว่าฝีเท้ายังอ่อนชั้น ความผิดกระทงแรกในเมืองต่างถิ่น จึงลงเอยด้วยการถูกพิพากษาโดยบาทาพนักงาน
“คือไอ้ลูกจ้างของร้านก๋วยเตี๋ยวมันวิ่งเก่ง วิ่งตามมาทันและกระทืบคาสะพานลอย เลือดกบปากเลย แล้วก็ลากไปหาเจ้าของร้าน เขาก็บอกว่าไม่เอาเรื่องปล่อยมันไปเถอะ ด้วยความที่เราตัวเล็ก ท้องอิ่มแล้วโดนกระทืบอีก ก็เดินไปผล็อยหลับบนสะพานลอยนั้น รู้ตัวอีกทีก็ตะวันแยงตา ตื่นมาก็มีเศษเหรียญบาท เหรียญ 5 บาท รวมแล้ว 20 กว่าบาทได้ เพราะเขาคิดว่าเป็นขอทาน แต่ก็ได้เงินตรงนั้นเป็นค่าโทรศัพท์ไปหาพี่ เขาก็เลยบอกว่าให้นั่งรถเมล์สาย 8 ไปที่ซอยลาดพร้าว 122 หรือซอยมหาดไทย
“แล้วคือจุดพลิกผันเลยที่นี่”
สิริทัศน์ กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ไม่ต้องถามต่อว่าเขาจะเบนเข็มชีวิตไปในทิศทางไหน ในซอยที่มีความหลากหลาย ทั้งพื้นเพภูมิภาค ความเป็นอยู่ระดับล่าง-ระดับบน และคนดีกับคนเลว ต่างปะปนอยู่รวมกัน
“แรกๆ ก็ยังดีอยู่ มาทำงานครั้งแรกเป็นพนักงานแจกใบปลิว เขาก็จะมารับจากที่พัก เพราะแถวนั้นจะมีเด็กๆ นักศึกษาเยอะที่ทำงานแจกใบปลิว เวลาไม่มีชั่วโมงวันเรียน ก็จะมารับไปวางไว้ตามจุด แจกเสร็จก็จะกลับมารับเงินที่ออฟฟิศ ทำอยู่ประมาณ 2-3 เดือน ชีวิตตอนนั้นก็ยังคิดอะไรไม่ได้ เช้าทำงาน เย็นเลิกงาน ซื้อเบียร์กิน กินไปจนรู้จักพรรคพวกแถวนั้น และบังเอิญว่ากลุ่มที่รู้จัก เขาขโมยรถมอเตอร์ไซค์กันอยู่ เขาก็ชวนเรา เราก็ไป คือด้วยความที่บอกไปว่าอยากมีเงิน และด้วยความที่อยากเห็นแสงสี มาอยู่กรุงเทพฯ เราก็อยากมีอยากได้ ทำทั้งแบบยาก ทำสุจริตก็ทำ แบบง่าย ผิดกฎหมายก็ทำ เพื่อให้มันได้เงิน เนื่องจากกิเลสมันมากกว่า เราต้องใช้จ่าย เป็นความจำเป็นของวัยรุ่น ก็ไปขโมยรถกับเขา
“ขโมยรถมอเตอร์ไซค์กันทุกวัน ตอนนั้นรุ่นที่นิยมกันมากคือ โนวาแดช ขโมยมาเรื่อยๆ จากนั้นก็มีรุ่นพี่เขาบอก ข้อหาขโมยรถ จะรถเล็ก รถใหญ่ โทษเท่ากัน แต่เวลาขายรถใหญ่ ราคาดีกว่าหายเท่า ก็เปลี่ยนมาขโมยรถใหญ่ จนมีเงินกลับบ้านเกือบล้านภายใน 1 ปี
“แต่มันก็ไม่เหลือ สมัยนั้นเด็กมาก 16 นิดๆ ตอนกลับบ้าน เงินที่มีก็ไม่ได้ฝากธนาคาร เอาเงินใส่กระเป๋าแล้วขี่มอเตอร์ไซค์ที่ขโมยด้วยกลับไปบ้าน ที่บ้านก็ไม่รู้ว่าเรามีเงิน เราไม่ได้บอก ก็ไปใช้ชีวิตไปอยู่กับเพื่อนๆ เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงหญิง โดนผู้หญิงหลอกบ้าง เพราะไปติดสาวคาราโอเกะ เขาเห็นเราเป็นเด็ก หน้าตาบ้านนอกๆ คนหนึ่งแล้วเสือกมีเงิน เขาก็หลอกเอาเงิน ให้ซื้อของ ด้วยความที่เราชอบเขาด้วย ก็หมดตัว”
จะกลับลำมาทำต่อก็ไม่ได้ เพราะวงทางกรุงเทพฯ ต่างแตกแยกย้าย เนื่องจากกลิ่นไม่ดี ทางไม่โปร่ง จึงต้องจำใจอยู่บ้านใช้ชีวิตเรี่ยดินอีกครั้ง
“ชีวิตตอนขายก๋วยเตี๋ยวอึดอัดมาก ทั้งอึดอัดทั้งอาย จากเคยกินข้าว เลี้ยงสาว มื้อละเป็นหมื่น ปิดห้องคาราโอเกะเลี้ยงสาวก็เคย ตอนนั้นไม่มีเงินไง เคยไปไหนมีแต่คนดูแลอย่างดี เด็กเสิร์ฟยันผู้จัดการไหว้ตั้งแต่หน้าประตู ไหว้เด็กอายุ 16 แต่ช่วงระยะเวลานิดเดียวไม่กี่เดือนเอง มาเป็นไอ้เด็กล้างชามก๋วยเตี๋ยวข้างถนนช่วยแม่ เพราะมันหมดทางไป
“ทำอย่างนั้นอยู่นานหลายเดือน จนเจอเพื่อนที่เขาขายยาบ้า ก็เอาเลย ไปขายกับเขาเลย ไม่ไหว จำได้สมัยนั้นเม็ดละ 150 บาท ราคารับเม็ดละ 70-80 บาท กำไรครึ่งหนึ่ง ก็รับมาคอกหนึ่ง 200 เม็ด ขายไปได้หน่อย ระหว่างที่กำลังจะเอาไปส่งเขา ก็โดนจับ ขายครั้งแรกโดนจับเลย”
ด้วยข้อหามีไว้เพื่อจำหน่าย เข้าไปนอนในซังเต ความรู้สึกจึงไม่ต่างอะไรกับคนตกเหว เสียงวิ้งๆ ลอยคว้างอยู่เต็มหัว เนื้อตัวสั่นเทา ทั้งๆ ที่มีประสบการณ์ค่อนข้างจะโชกโชน ถ้าเทียบตามวันวัยเลขอายุ
“วันแรกนอนร้องห่มร้องไห้ แม้ว่าอายุเราจะเป็นเยาวชน กฎหมายบ้านเราคุ้มครอง แต่ติดคุกครั้งแรก ใครจะไม่กลัวบ้าง แต่โชคดีตำรวจเขาสอบแล้วบอกว่าถ้าเราให้ข้อมูล เขาจะกันตัวไว้เป็นพยาน เราก็มีสิทธิ์รอดสูง ก็ให้ข้อมูลเขา แล้วก็จริงๆ ถ้าตามกระบวนการศาลจะต้องสั่งผลัดฟ้องครั้งละ 12 วัน ทั้งหมด 4 ผลัด ถ้าใน 4 ผลัด หาหลักฐานเอาผิดไม่ได้ก็จะรอดเป็นอิสระ ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะตำรวจเขาช่วยทำสำนวนให้อ่อน ก็รอด ติดทั้งหมด 11 วัน
“เข้าไปในนั้นได้อะไรดีๆ เยอะ ที่บอกอย่างนี้เพราะเมื่อก่อนเราเคยมองแต่ตัวเอง สนใจแต่ชีวิตตัวเอง รู้แค่เรื่องของเรา แต่พอเข้าไปในคุก ได้เห็นชีวิตคนอื่น ได้รู้เรื่องคนอื่น แล้วก็ได้มองคนอื่น ไอ้นั่นก็ขายยาเหมือนกัน ไอ้นั่นก็ขโมยรถ ไอ้นั่นพยายามฆ่า ไอ้นั่นโทรมหญิง โลกเรากว้างขึ้น เข้าใจต่างเหตุต่างผล บางคนทำด้วยความคึกคะนอง บางคนจำเป็น คำสวยหรูรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มี ทำโดยสันดานก็เยอะ
“พอมอง เราคิดได้ เราก็ไม่โดนกลืนอย่างที่ใครๆ หลายคนเป็น เรากลายเป็นความเข็ดขยาด กลัว เพราะข้างในมันนรกจริงๆ ต้องนอนเบียดกันเรียงๆ ถึงหน้าโถส้วม แล้วมันเป็นพื้นไม้ เวลาหนาว หนาวจับใจ เพราะเราไม่มีผ้าห่ม เราไม่ใช่ขาใหญ่ พวกขาใหญ่เขาจะมีหมอน มีผ้าห่ม มีฟูกอย่างดี เราเด็กปลายแถว เรานอนกระดาน เก่งที่สุดมีแค่หมอนเท่านั้น เวลาฝนตกฟ้าร้อง นอนคิดถึงบ้าน”
นี่ยังไม่นับเรื่องต้องระวังประตูหลัง จากความที่ด้วยอายุและหน้าตาเจี๋ยมเจี้ยม สำหรับเด็กใหม่อย่างเขา จัดว่าเป็นคนสวย ในโลกหลังตะรางเหล็กนั้น
“มันเจ็บปวดแสนทรมานถึงขั้วกระดูก ก็เลยทำให้เข็ด และเรื่องที่ทำให้ผมเข็ด บอกตัวเองเลยว่าจะไม่กลับเข้าไปอยู่ในนั้นอีก คือเรื่องคืนวันสุดท้าย เพื่อนที่รู้จักกัน นอนใกล้ๆ กัน ไม่รู้ไปทำความผิดอะไรให้พวกขาใหญ่เขาไม่พอใจ คืนนั้นมันโดนคนทั้งหอรุมกระทืบจนสลบ สลบแล้วก็เอาน้ำสาดให้มันฟื้นแล้วก็กระทืบใหม่ กระทืบห่างจากเรานิดเดียว เรานอนร้องไห้ทั้งๆ ที่ไม่ได้โดนกระทืบเอง แต่ความรู้สึกคือทำไมชีวิตโหดร้ายกันขนาดนี้
“มันเป็นโลกอีกด้านหนึ่ง เพราะว่าขาใหญ่ในนั้น เขาใหญ่จริงๆ หมายความว่าจะหนีเขาไปไหนได้ ถ้าข้างนอกไปแจกกล้วยเขา ไปตีเขา ก็แยกย้ายกลับบ้าน แต่ในนั้นมันวนอยู่แค่พื้นที่แค่นั้น สี่เหลี่ยม ที่ว่าเก๋าๆ เก่งๆ ข้างนอก เข้าไปเป็นหมาทุกตัวเลย เดินกุมเป้าทั้งนั้นเข้าไป อยู่ข้างนอกเก๋าบรม มันเป็นความโหดร้าย น่ากลัว
“เราก็ได้แต่บอกกับตัวเองว่าจะไม่กลับมาอีกแล้ว เราไม่อยากเข้าไปอยู่ตรงนั้นอีกแล้ว อยากนอนเตียงอุ่นๆ ได้ดูทีวีอย่างที่ชอบ ก็เลยตั้งไว้ในใจว่าจะกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี แล้วก็จะไม่กลับไปที่ตรงนั้นอีก แล้วผมก็ทำได้ แต่ที่ทำได้ ไม่ใช่ว่าผมเก่ง แท้ที่จริง ผมกลัวที่จะต้องกลับไปอยู่ตรงนั้นอีก มันโหดร้ายมาก”
เลิกโง่...แล้วทำ
แค่คิดชีวิตก็เปลี่ยน
“กลับออกมาก็ไม่ได้ไปทำอะไรที่เกี่ยวข้องหรือว่าใกล้คุกอีกเลย อาจจะมีบ้างที่เป็นสีเทาๆ”
สิริทัศน์เผยความรู้สึกนึกคิด ที่แม้จะเปลี่ยน ไม่คิดกลับไปทำอะไรที่ผิดกฎหมาย แต่ก็ยังไม่ใช่คนดีคืนสู่สังคมเต็มรูปแบบ เพียงแต่เปลี่ยนย้ายสีให้อยู่กึ่งกลาง
“ตอนนั้นออกมาก็บังเอิญไปเจอเพื่อนที่ติดคุกด้วยกัน เขามีเมียเป็นหมอนวด เจอเขาก็ถามว่าเป็นยังไงบ้าง ทักทายตามประสา พอรู้ว่าเราแย่ๆ ยังไม่ได้ทำอะไร ก็ชักชวนให้ไปทำงานที่อาบอบนวด เราก็ไม่รู้หรอกว่าให้ไปทำอะไรยังไง เราเป็นผู้ชาย จะไปขายก็ไม่ได้ มันบอกให้ไปๆ เหอะ”
เก็บงำความสงสัย แต่ด้วยชีวิตที่ต้องการเงินเป็นปัจจัยสำคัญ จึงต้องไปลองตามคำชักชวน
“ก็ไปเป็นพนักงานรับรถ แต่ทำไปทำมา มีแฟนเป็นหมอนวด เพราะเจอกันทุกวัน ทีนี้จากนั้นก็ขยับเป็นเด็กเสิร์ฟ เสร็จแล้วก็เชียร์แขก แล้วก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาถึงขั้นบริหาร เป็นเอเยนซี หาเด็กมาลงเอง ได้รายได้เอง
“แต่เราก็ไม่ลืมเรื่องที่จะกลับตัวนะ เราก็กลับตัว ไม่ทำผิดกฎหมาย อาบอบนวดในแง่ของกฎหมายช่วงนั้นมันเป็นสีเทา แถมมันยังไม่มีกฎหมายค้ามนุษย์ด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าเราไม่เอาเด็กไปส่งนอกรอบโดยที่ไม่ผ่านร้านอาบอบนวด เราไม่โดนจับผิดกฎหมาย ชื่อมันก็บอก อาบ-อบ-นวด 3 อย่าง ไม่มีเรื่องเพศ แต่จริงๆ มันก็คือค้ามนุษย์ ค้าประเวณี แค่ต่างวิธีการ แต่จุดหมายเดียวกัน
“เราคิดแค่ว่าไม่ผิดกฎหมายเป็นพอ ผิดศีลธรรม รู้ทั้งรู้ก็ทำ เพราะเราไม่ได้ไปหลอกเขา ไปจับเขามา มันมีแต่ในหนังที่แมงดาไปทุบตี ข่มเหงรังแก ยิ่งสมัยนี้แค่บอกเขาตรงๆ ทำงานอาบอบนวดไหม เงินแบบนี้ รายได้เป็นแสน เขาตัดสินใจมาเองเยอะแยะไป”
ภาคอีสาน นับจำนวนเด่นๆ ที่อุดรฯ ขอนแก่น ภาคตะวันออกมีหลักๆ ที่จังหวัดระยอง รวมถึงในกรุงเทพฯ อีกหลายต่อหลายที่ พูดง่ายๆ จังหวัดไหนที่มีอาบอบนวด ปีกของเขาจะสยายบินไปเกาะอย่างทั่วถึงเกือบหมดทั้งสิ้น
“ชีวิตการเงินตอนนั้นรุ่งโรจน์มาก มีรายได้เดือนไม่น้อยกว่าหลักแสน ขับรถเก๋งสี่ประตู ซื้อโน่นนี่นั่นได้หมด ตามที่อยากได้ แต่สุดท้ายก็ไม่เหลือ ไปพลาดเรื่องการพนัน รอบแรกติดหญิง รอบนี้การพนัน ติดเกือบทุกอย่าง ตู้ม้านี่เราหยอดอย่างเซียน คืนๆ หนึ่งเสียเป็นแสนก็ทำมาแล้ว ก็กลับมาตกต่ำอีกชีวิต หมดตัว เลิกกับแฟนหมอนวด พอมีแฟนหมอนวดคนใหม่ก็รุ่งอีก
“คือวงการแมงดาจะมีกินมีใช้ได้ ต้องมีเมียเป็นหมอนวด ต่อให้มีเด็กเยอะ ก็ไม่เท่ากับมีเมียเป็นหมอนวดคนเดียว เนื่องจากว่ารายได้จากเมียคนเดียว วันๆ หนึ่ง 6 พัน 7 พัน ถึง 1 หมื่นบาทได้ แล้วไม่ปวดหัวมาก เราดูแลคนๆ เดียว ก็อยู่อย่างนั้นประมาณ 10 ปี ตกต่ำก็ทำต่อ
“จนตกบ่อยๆ เข้า ทีนี้เริ่มเบื่อหน่าย มันเริ่มรู้ เพราะสบายๆ ไม่ทันไร ตกอีกแล้ว ไม่ต่างจากตอนเป็นเด็กขโมยรถ เรารู้ตัวก็นั่งคิดถึงตัวเอง เราขึ้นสูงสุดแล้วเราก็ต่ำๆๆ ต่ำจะบ่อยกว่ารุ่งอีก ชีวิตเราทำไมเป็นอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เงินดี ใครมาทำอย่างนี้ก็หวังกองทอง เขาถึงเรียกว่ารวยทางลัด แต่เราก็ยังไม่รวยสักที ก็เลยลองมองคนข้างๆ
“ศัพท์วงการอ่าง คนเชียร์แขก คนที่เป็นเอเยนซีจัดหา เขาจะเรียกว่าป๋า เรียกว่าเฮีย เฮียนั้นทำส่งเด็กมาก่อนเราอีก ก็ไม่เห็นจะรวย ป๋านั้นเชียร์แขกอายุ 60 ปีแล้ว แก่คาตู้ก็ไม่มีเงินเยอะ เงินจากทิป เงินจากคอมมิชชั่น ไหนจะเงินที่ขูดรีดเอาจากเด็กอีกต่างหาก เดือนๆ หนึ่งเป็นแสนสองแสน ทำไมพวกนี้ไม่เหลือเลย ก็เลยเกิดการตั้งคำถามในใจ และคำตอบก็คือมันเป็นเงินสกปรก ก็เลยมานั่งคิดได้ว่า ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหน เราไม่มีวันรวยเท่าอาบอบนวดแน่นอน
“ยิ่งเราหาเด็กมาลงมาก อาบยิ่งรวยมาก เราก็มีชีวิตเหมือนเดิม เช่นเดียวกับที่เราไม่มีทางเอาชนะบ่อนได้ เราเป็นแค่แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ มีเท่าไหร่ก็หมด ก็เลยค่อยๆ ถอนตัว เงินก็มีน้อยลง ฝากเด็กไว้ 3 ที่ ที่ละคน เก็บจากเด็กรอบละ 100 บาท เฉลี่ยวันๆ เด็กขึ้น 3 รอบต่อวันต่อคนก็ 900 บาท”
“ก็พอ...ได้ซื้อเบียร์กินทุกวัน”
เล่าถึงตรงนี้น้ำเสียงสัมผัสได้ถึงความแห้งผากด้านชาอันเป็นผลมาจากความสำนึกผิด เพราะแม้จะผ่านเลยวันเวลานั้นและกลับตัวกลับใจ แต่กรรม--อย่างที่ใครเรียกใช้ หรือ ความโง่—ที่เจ้าตัวยกมากล่าว เสมือนเงาที่ตามไล่ชีวิตตั้งแต่นั้นมา จนไม่เหลือซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
“จากที่ไม่เชื่อ ทุกวันนี้เชื่อเลย คือตอนนั้นพอมีแฟนเป็นคนธรรมดา ทำงานเป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้า ก็เลยเลิกทำอาบอบนวด เลิกก็ไม่มีเงินเก็บ สิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีงานทำ ขอเงินแฟนใช้ เขาทำงานเงินเดือน 6-7 พันบาท รวมคอมมิชชั่นก็ 9 พันบาทหน่อยๆ มันก็ไม่พอ เพราะตอนนั้นมันติดเหล้ากับบุหรี่มาจากวงการสีดำ เงินที่เขาให้แรกๆ วันละ 100 เอามาซื้อบุหรี่กับดื่ม แล้วก็ค่าข้าวหนึ่งมื้อ มันก็ไม่พอ หลังๆ แฟนมีปัญหากับที่บ้าน ต้องออกมาเช่าห้องพักอีก เขาก็มีรายจ่ายมากขึ้น เงินที่ให้เราได้ก็น้อยลง เหลือ 70-50 บาท จนสุดท้ายเขาให้ได้แค่วันละ 20 บาท เรื่องข้าวก็ต้องอาศัยซื้อลูกชิ้นหนึ่งไม้ เป็นกับข้าวและอาศัยผัก ซื้อข้าว 5 บาท แบ่งครึ่งๆ กิน 2 มื้อ มื้อเข้ากับเย็น
“แล้วเราเป็นคนสูบบุหรี่ ประหยัดๆ ค่าบุหรี่ก็ 3 มวน 10 บาทแล้ว ก็ต้องไปขอข้าววัดกิน เพื่อจะได้มีเงินสูบบุหรี่ สิ้นไร้ไม้ตอกขนาดนั้น ไม่เหลือแล้วศักดิ์ศรี แต่เราไม่อยากย้อนกลับไปติดคุก เลยเลือกที่จะขอข้าววัดกิน ก็ไปทุกวัน วัดหงษาราม จำได้แม่นเลย บางวันมีกับข้าว บางวันไม่มี ถ้านอนตื่นสายไม่ทันเด็กวัด เด็กวัดมันจะกินกันก่อน บางทีก็ไปรับจ้างกวาดลานวัด กวาดกุฏิเขาก็ให้ 20 บาทบ้าง 30 บาทบ้าง แต่ก็ยังไม่พอสูบ ก็เริ่มขอเพื่อน อาศัยว่าเพื่อนเยอะ เพื่อนมานั่งคุยๆ ขอดูด ชั่วโมงนี้ขอไอ้นี่ ชั่วโมงต่อมาขอไอ้นี่ เหล้าก็กินกับเพื่อน จนกลายเป็นที่รังเกียจ จากที่เคยให้มาขอเขา มาหาทุกทีต้องเลี้ยงเหล้าทุกครั้ง บุหรี่ขนาดเพื่อนสตาร์ทรถกลับบ้าน รถล้อกำลังวิ่งแล้ว เรายังไปขอตัวหนึ่งเอาไว้ดูดกลางคืน หลังๆ เลยไม่มีใครคบเลย ไปจากชีวิตผมทั้งเพื่อนรักและไม่รัก ไปหมด
“ตอนนั้นยังไม่คิด ยังโง่ โง่แบบที่เขียนในเฟซบุ๊กเรื่อง “จนแล้วเสือกโง่” เรื่องนี้สำคัญมาก คนรุ่นใหม่ๆ ต้องรู้ จนไม่มีจะแดกแล้วยังเสือกจะแดกเหล้าอีกเหรอ ซื้อบุหรี่สูบอีกเหรอ มึงจนแล้วมึงไม่เจียมตัว”
สิริทัศน์ในวันเวลานี้ที่หลุดพ้นโคลนตมและบ่วงพันธนาการตรงนั้น เผย
“ค่าบุหรี่ตีวันละ 1 ซอง ซองละ 80 เดือนหนึ่ง 2,400 บาท ค่าเบียร์ขวดละ 60 บาท คนดื่มประจำ เฉลี่ยเลยดื่มวันละ 2 ขวด เท่ากับ 160 บาท เท่านั้นไม่พอรถลูกชิ้นรถเข็นผ่านมา เอาซะหน่อย กับแกล้ม 30 บาท เบ็ดเสร็จ 270 บาท สมมติค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะพออะไร นี่ยังไม่รวมค่าข้าวกลางวันที่ต้องกิน แล้วรู้หรือยังทำไมถึงจน
“สาเหตุของการจนของคนเป็นอย่างนี้ เราอยู่มาหลายวงการ หลายชุมชน เห็นมาหลายคนที่ยังจนๆ อยู่ เป็นเพราะอย่างนี้หมด หนุ่มโรงงานตอนอยู่ในโรงงานพักกลางวัน บางทีมีสวัสดิการเลี้ยงอาหารฟรี กินกันแบบเผื่อพรุ่งนี้ แต่พอเลิกงานมานั่งสั่งเบียร์กินอย่างหรูเลย เต๊ะท่าสูบบุหรี่อย่างเท่ คือคุณไม่รู้สาเหตุของการจน คุณไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ คุณต้องรู้สาเหตุก่อน รู้รอยรั่วของเรือก่อน ก่อนที่คุณจะออกทะเล ต้องสำรวจเรือของคุณให้ดีก่อนว่ามีรอยรั่วตรงไหน คุณต้องซ่อมตั้งแต่อยู่บนฝั่ง มันไม่มีใครไปซ่อมรอยรั่วกลางทะเล
“เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะออกไปใช้ชีวิต ก่อนที่จะตั้งเป้าหมายอยากประสบความสำเร็จ ต้องรู้ตัวเองก่อน เรามีข้อเสียตรงไหน เอาไงดี ถ้าเลิกไม่ได้ก็ลด ข้อแรกเลย ข้อที่สอง ถ้าลดไม่ได้ ก็ต้องหาเงินเพิ่ม หนทางเดียวที่เราจะไม่เดือดร้อน”
ในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นโชคดีที่ “ความโง่” เป็นสิ่งที่ทำให้เขาคิดได้ ก่อนจะต่อยอดพัฒนาแตกจากมุมปากท้องสู่การเริ่มต้นชีวิตใหม่ กลายเป็นนักธุรกิจรวยระดับล้าน
“ตอนนั้นผมเองก็ยังไม่เลิก ก็ใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไปรับแฟนที่ห้าง ระหว่างจอดรถรอรับ ก็สังเกตคนที่สูบบุหรี่กำลังเดินเข้าห้าง เขาจะดูดไม่หมดแล้วดับบุหรี่ไว้ทุกคนเลย สั้นบ้างยาวบ้าง อัดให้ได้มาก ให้เต็มปอดที่สุด แล้วก็ดับทิ้งไว้ ผมสังเกตแล้วก็คิดว่าเราไม่ต้องซื้อบุหรี่แล้วนี่หว่า ก็เอาถุงพลาสติกใบขนาด 6 คูณ 9 ไปใส่ ได้ดูดทุกยี่ห้อเลย ตั้งแต่ถูกไปแพง เอากลับมาดูดไม่อายด้วย เดินไปหยิบอย่างนั้น ก็เป็นทางออกตอนนั้น แต่ก็ยังโง่อยู่ แล้วชีวิตก็ไม่ได้ดีขึ้นมา แค่ท้องไม่หิว อิ่มปอด
“แต่ก็ถือเป็นความโชคดี เมื่อไม่มีเพื่อน ก็ทำให้เรามีแรงแอกทีฟ เงินไม่มี ศักดิ์ศรีไม่มี คนเวลามันหมดหนทาง มันจะมีอยู่สองทางคือ สู้ให้สุดชีวิต ไปให้สุดทางฝัน กับอะไรกูก็ยอม เราเลือกอย่างหลัง ศักดิ์ศรีไม่มีในตัวแล้วตอนนั้น บอกตามตรงไม่อาย ก่อนหน้าที่จะคิดใหม่ได้”
ตั้งตัว
แค่ตั้งใจ...
“พอคิดได้อย่างนั้น มีจังหวะงานเข้ามา ไม่ตกงานแล้ว เราก็ทำอย่างที่คิด ตอนนั้นทำงานแผงหมู เป็นคนชำแหละหมู ได้ค่าแรงวันละ 600 บาท ความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น เราเริ่มเลิกโง่แล้ว ทีนี้ด้วยนิสัยการเติบโต เราไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร ก็เก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง ก็ตัดสินใจไปเปิดร้าน ทำธุรกิจของตัวเอง”
สิริทัศน์กล่าวแซมยิ้ม หลังชีวิตเลื่อนออกจากความด่างพร้อย สู่แสงสว่างด้วยความหวังที่จะก้าวหน้า เฉกเช่นปุถุชนทั่วไปที่เมื่อละเลิกอบายมุข คิดสร้างอนาคต
“ก็ไปรับกระเป๋ามือสองมาขาย เพราะเห็นเขาขายกันตามตลาดนัดแล้วรวย ผลปรากกฎว่าเจ๊ง เดือนเดียวเจ๊งเลย ก็กลับไปเป็นลูกจ้างแล่เนื้อหมูอีกรอบ แล้วก็เหมือนเดิม เก็บเงินได้สักก้อนก็ทำธุรกิจอีก ทีนี้ไปเปิดร้านขายน้ำปั่นที่เขากำลังฮิตกันที่โคราช เจ๊งเหมือนเดิม ก็บากหน้ากลับไปแผงแล่หมู แผงเก่าบ้างใหม่บ้าง ด้วยความที่พอรู้จักและตลาดแรงงานด้านนี้ยังขาด
“ทำของเล่นเด็กขาย ก็เจ๊ง ก๋วยเตี๋ยวก็เจ๊ง ลูกชิ้นปิ้งก็เจ๊ง ก็กลับมาตลาด กลับมาทุกครั้งก็ได้ยินคำดูถูกทุกครั้ง บอกไอ้ติ๊ก คนอย่างมึงไม่มีวันเป็นเจ้าของธุรกิจได้หรอก คนอย่างมึงเป็นได้แค่ขี้ข้า เราก็เจ็บใจ แต่ด้วยความที่ตอนนั้นไม่มีศักดิ์ศรีอะไรเลย ศักดิ์ศรีเอาไปแลกก๋วยเตี๋ยวกินไม่ได้ ใครจะด่าอย่างไรก็ด่าไป”
ในขณะที่ใครอาจจะล้มให้กับแรงเสียดทานเหล่านั้น ถอยให้กับคำว่าเจ๊ง เขากลับมุ่งมั่นเอาเป็นแรงผลักดันให้สู้ และมุ่งหาประสบการณ์อย่างไม่ลดละ ประหนึ่งโจรที่มุ่งหมายทำผิด ก็จักหาวิธีการให้สำเร็จลุล่วง โดยไม่ต้องรับโทษ
“เราก็เก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นแรงผลักดัน ไม่เข็ด เป็นคนอื่นแค่เจ๊งครั้งเดียว เขาจะเลือกเป็นพนักงานประจำไปตลอดชีวิตเลย เห็นจากเพื่อนหลายๆ คน ดูจากคนรอบตัว แต่เราไม่ เพราะผมไม่อยากเป็นลูกน้องใคร แล้วมันเป็นภาพติดตาที่เราเห็นทุกวัน เราไปทำงานสามทุ่มเลิกสามโมงเช้า รับเงิน 600 บาท กลับบ้าน แต่เถ้าแก่ ทำเท่ากัน เขารับเงิน 6-7 แสนกลับบ้าน เพราะเขาเป็นเจ้าของแผงหมู เราเป็นลูกน้อง ภาพภาพนี้ทำให้รู้สึกว่าเราจะต้องเป็นเจ้าของกิจการให้ได้ เพราะเราก็ทำงานเหนื่อยกว่า แต่ผลที่ได้รับไม่เท่าเขา”
“กูทำงานมากกว่า แต่มึงได้เงินเยอะกว่า”
สิริทัศน์เอ่ยถึงความรู้สึกที่อยากจะเจริญก้าวหน้าที่ถึงกับต้องสร้างขวัญกำลังใจถึงขั้นขึ้น “กู” “มึง” ในใจตัวเอง
“ความต่างมันมีต่อกันนิดเดียว ก็มึงขี้ข้าไงติ๊ก เขาเป็นเจ้าของกิจการไงติ๊ก แล้วทำอย่างไรมึงจะได้วันหนึ่งเยอะๆ มึงก็ต้องขึ้นมาเป็นเหมือนเขา เป็นเจ้าของกิจการไงติ๊ก เราคิดและบอกตัวเองอย่างนั้นในใจ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองแอกทีฟ”
หมอดูไพ่ยิปซี ก็เคยเป็น ขายเสื้อผ้า ก็เคยขาย แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าคนนายคนสักที เสี่ย--เฮีย--ป๋า กระทั่งคำว่า “ล้าน” หลักเงินตราสรรพนามฉายาที่เรียกขานห้อยท้ายก็ได้แค่พ้องเสียง ร.เรือ เท่านั้น
“เขาก็เรียกเราว่าไอ้ติ๊กร้อยร้าน ร.เรือ นะ ไม่ใช่ล้าน ล.ลิง ทำอะไรก็เจ๊งๆ แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้ประสบความสำเร็จ เพราะพอเจ๊งเยอะๆ รอบรู้เพิ่ม ใครก็หลอกไม่ได้แล้ว สมมติแก้วน้ำดื่มกระดาษ มองปุ๊บรู้เลยว่าต้นทุนเท่าไหร่ ทำที่ไหน วัตถุดิบอะไร หรือตกแต่งร้าน ไม้ฝาผนังซื้อที่ไหน ต้นทุนช่างเขาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ บวกเราเท่าไหร่ โกงเราไหม เพราะเราเจ๊งจนเรารู้รอบด้าน เจ๊งจนเข้าใจ
“เห็นเขาขายดี ไม่ได้แปลว่าเราไปขายข้างๆ เขา ขายแทนที่เขาแล้วจะขายดี คนส่วนมากจะมองแค่ตรงนั้น แต่ไม่ได้มองความพยายามของเขา แล้วก็ส่งผลให้ทำได้ไม่เท่าเขา เราดูแต่ผลประกอบการ ผลสำเร็จเขา แต่ไม่เคยเห็นตอนที่เขาพยายามเลย และที่สำคัญ เราพยายามได้ไม่เท่าเขา เลยเจ๊ง
“นี่คือคำตอบ ยกตัวอย่างตอนขายเสื้อผ้า ร้านก็อยู่ซอยติดกัน ทำไมเขาขายได้วันละ 2-3 หมื่นบาท เราขายได้ 4-5 พันบาท ทั้งๆ ที่น้อง 2 คนนี้เขาเป็นนักศึกษาด้วยซ้ำ เขามีภาระทั้งเรื่องเรียนด้วยอีก 2 ต่อ 3 ต่อ เรียนเสร็จบ่ายมาขาย เสาร์-อาทิตย์ นั่งรถทัวร์ไปกรุงเทพฯ แบกใส่ถุงสายรุ้ง ยัดใส่รถทัวร์กลับมา ความพยายามเขาขนาดนั้น ลดต้นทุนทุกอย่าง เราล่ะ? ไปสั่งแล้วเอามาขาย ขายเสร็จกินเหล้าถึงตี 3-4 ตื่นบ่ายๆ เกือบเย็น แค่เวลาก็แพ้เขาแล้ว หลังจากตรองๆ จึงรู้เลยว่าเราต้องพยายามเท่าเขาสิวะ ต้องมุ่งมั่น”
นั่นจึงทำให้แม้ครั้งสุดท้ายจะหันมาขายเพียงแค่ลูกชิ้นทอดไม้ละ 5-10 บาท กระนั้นเขาก็สามารถมีรายได้หลักแสนต่อเดือน
“คือพอคิดได้อย่างนั้น เราได้เรื่องของแผนการทำงาน เรารู้ต้นทุน รายจ่าย กำไร ทีนี้ก็ไปรู้จักทฤษฎีกล่องวิเศษ เรื่องนี้เขียนในเฟซบุ๊กในชื่อว่า 'ไอ้เอส สองแสน' คือเรื่องของเรื่อง ไอ้เอสมีร้านกาแฟอยู่ร้านหนึ่ง กำไรต่อเดือน 5-6 หมื่นบาท มีพนักงานลูกจ้าง 3 คน แล้วบอกว่าใครทำงานครบตามที่กำหนด สั้นๆ ง่ายๆ 1 ปี 6 เดือนผ่านการทดสอบ จะยกร้านให้ฟรี แต่มีข้อแม้ว่าหลังจากที่ยกให้แล้ว จะได้กำไรเดือนละกี่หมื่นกี่แสนก็ช่าง ขอจากร้านเดือนละ 2 หมื่นบาท
“4 ปี ที่ทำแบบนี้ มีร้านกาแฟไป 7 ที่ จากลูกน้องที่สร้างขึ้นมาเป็นเจ้าของร้านร้านละ 2 หมื่นบาท 7 สาขา เป็นเงิน 1 แสน 4 หมื่นบาท ฟรีๆ โดยที่สามารถนอนตากพัดลมอยู่บ้าน”
“ทุกคนสงสัยว่าทำไมทำแบบนั้น”
เขาย้อนถาม ก่อนจะตอบอย่างรวดเร็ว เพราะรู้คำตอบที่ได้รับจากกลวิธีนี้ที่คนส่วนใหญ่มักคิดไม่ถึง
“การที่ทำแบบนี้ เราไม่ต้องจ้างใคร เราไม่ต้องมานั่งกังวลว่าลูกน้องจะทำงานดีหรือไม่ ทำเต็มที่หรือไม่ จะโกงเราหรือเปล่า หากเราใช้วิธีนี้ ปัญหาเหล่านั้นจะไม่มี ทั้งเรื่องลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ ลูกน้องโกง เพราะเงินไม่พอกิน ขี้เกียจเพราะเงินเดือนน้อย ไม่ตั้งใจทำงานเพราะมองไม่เห็นอนาคต... เพราะเราให้อนาคตเขา ทีนี้นอกจากเราจะได้พนักงานที่ดี พนังงานที่ตั้งใจทำงาน ยังได้สร้างคน
“ผลที่ได้คือ วินๆ ทั้งสองฝ่าย เอสได้ผลกำไรจากร้านคืนทุกเดือน และได้สร้างคนขึ้นมาหาเงินให้ใช้ โดยที่มันไม่ต้องเสียค่าจ้างคนที่มาหาเงินให้ใช้ ได้เป็นเถ้าแก่โดยไม่ต้องลงทุน และได้ร้านฟรีโดยมียอดกำไรที่ชัดเจนแล้วด้วย นี่คือคิดแบบโจรและแบบตำรวจ โจรอยากเปิดบ่อนต้องจ่ายตำรวจ ไม่จ่ายเปิดไม่ได้ โจรคำนวณแล้วว่าจ่ายส่วยเท่านี้แล้วคุ้ม จึงยอมจ่ายตำรวจ เอสก็เหมือนโจรเปิดบ่อน แล้วให้ลูกน้องที่อยากเป็นเจ้าของบ่อน อยากเปิดบ่อนต้องจ่ายส่วย”
เรียกให้สวยคือ 'ทฤษฎีกล่องวิเศษ' เช้ามาเอาเงินใส่ แล้วตกเย็นมาเปิด มีเงินเพิ่มขึ้น
“แรกๆ ก็มีคนสงสัย เราติดป้ายรับสมัครพนักงานขายลูกชิ้น ไม่มีเงินเดือน คนมาสมัครงานก็ถาม เราก็บอกว่าได้กำไรเท่านี้ๆ ทุกวัน คุณมาขายแต่ตัว เย็นแบ่งเงิน หลายๆ คนก็เลือกที่จะขอเป็นรายวัน วันละ 200 เพราะไม่คิดว่าจะเป็นอย่างที่เราบอก สุดท้ายก็มาขอเปลี่ยนเป็นแบ่งครึ่งๆ แต่เรามีกฎว่าจะมาเปลี่ยนตอนหลังไม่ได้”
และเมื่อประสบความสำเร็จจากร้านลูกชิ้นทอด 3 สาขา รายได้หลักแสนด้วยวิธีคิดแบบนี้ เพียงในระยะเวลาไม่กี่ปีก็กลายเป็นเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยว “เตี๋ยวมั๊ยวะ” อันโด่งดังทั่วประเทศ มียอดร้านแฟรนไชส์กว่า 15 ร้าน ขนาด ตี๋อ้วน พิธีกรชวนชิมอาหารชื่อดังยังต้องมาลอง ก่อนที่จะขยับเป็นเจ้าของธุรกิจ จิ้มจุ่มหม้อเบ้อเร่อ ทำเงินกว่าล้านบาทเมื่อ 7 เดือนที่ผ่านมา
“คือเราก็ต่อยอดหาความรู้เพิ่มเติมขึ้น เราไม่อยากล้มเหลวอีกแล้ว เพราะพอเราดีขึ้นมาตอนร้านลูกชิ้นและร้านก๋วยเตี๋ยว เราผยอง ใครติดเราไม่ได้ ไปเปิดร้านนมก็เจ๊งอีก เราก็คิดได้ว่าเราต้องรับฟัง เราต้องเป็นผู้ตามบ้าง ก็คิดแบบโจรกับตำรวจเหมือนเดิม ตำรวจนายร้อยยศพัน บางทียังต้องถามจ่าที่มีประสบการณ์ โจรต่อให้เป็นหัวหน้ายังต้องศึกษาวางแผน นอกจากเป้าหมาย ยังต้องหาข้อมูล ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ ต้องรู้ที่มาของความต้องการและรู้ว่าตลาดต้องการอะไรก่อนลงมือ
“ตอนนี้ที่ขายแฟรนไชส์ร้านจิ้มจุ่มหม้อเบ้อเร่อกว่า 70 ร้าน ทั่วประเทศ สุกี้หม้อเบ้อเร่อ เพิ่งเปิดขายยังไม่ถึงอาทิตย์ มีคนจองสั่งแฟรนไชส์ 15 ร้าน เรื่องนี้นอกจากวิธีการคิดตรงนั้นที่สร้างเราขึ้นมาได้ ก็ต้องยกความดีความชอบให้กับคนๆ หนึ่ง ผมยกให้เขาเป็นครู ครูข้างถนน ที่ทำให้เรามีวันนี้ คือเขาสอนว่า ถ้าคิดจะทำอะไรขึ้นมาสักอย่าง ถ้าทำได้แค่เหมือน อย่าทำ ถ้าทำได้ห่วยกว่า อย่าทำ ถ้าทำแค่เท่าเขาก็อย่าทำ จะทำอะไรสักอย่างต้องดีกว่า ถึงจะอยู่รอด ร้านก๋วยเตี๋ยวมั๊ยวะ เราก็เลยได้เรื่องไอเดียชื่อ แล้วก็พอวันแรกๆ ขายไม่ได้ เรานึกถึงตอนเราจนขอข้าววัดกิน เราอยากกินก๋วยเตี๋ยวแล้วดันขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปซื้อแล้วโดนจับ ก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ได้กิน แถมเสียค่าปรับอีก เราก็เห็นว่าด่านขยันตั้งกันมาก เลยโพสต์โปรโมชันลงเฟซบุ๊กเลย ใครมีใบสั่งมากินฟรี กี่คนๆ วันนี้ถึงวันนี้ เขาเอาไปแชร์ๆ ต่อกัน ก็บูมเลย
“แล้วก็อาจารย์สมคิด ลวางกูร ที่ท่านสอนในหนังสือ เคยอ่านที่จำแม่นเลยคือ คนที่จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ใช่คนโง่ ต้องอ่านหนังสือ ก็เริ่มอ่าน พ่อรวยสอนลูก ที่เกี่ยวกับธุรกิจ ค้าขาย การสร้างแบรนด์ อะไรอ่านหมด อ่านก็ไม่ได้มีเงิน ไปอ่านฟรี พูดง่ายๆ ขโมยความรู้ ไม่ค่อยเสียเงิน ซื้อเหล้าซื้อได้ แต่ไม่ซื้อหนังสือ จากหัวสมองโล่งๆ ไปอ่านเสร็จ หนังสืออยู่ที่เดิม แต่ได้ความรู้ออกมาจากร้าน
“ทีนี้พอรู้ว่าต้องไม่เหมือน ไม่ซ้ำ ไม่ห่วย ต้องดีกว่า ตั้งแต่นั้นมา ชีวิตก็เปลี่ยนเลย ทำการค้าอะไรก็เป็นที่ 1 เกือบทุกวงการ”
สิริทัศน์กล่าวแซมยิ้มเต็มดวงหน้า เพราะนอกจากวิธีคิดเหล่านี้จะให้ความสำเร็จในทางธุรกิจแล้ว ในเชิงชีวิตยังสามารถตีความแปรให้เป็นแนวทางการทำตนให้เป็นคนดีได้อีกด้วย
“เพราะตั้งตัวง่ายๆ แค่ตั้งใจ คำนี้มันจบในนี้เลย ถ้าคุณอยากจะตั้งตัวได้ คุณต้องตั้งใจ เป็นกฎเหล็ก คำลายเซ็นผมเลย คติประจำใจ จริงๆ จะใช้คำว่าศรัทธาอย่างที่หลายๆ คนชอบใช้ก็ได้ แต่คำว่าตั้งตัวมันเป็นตัวแทนของคำว่าความสำเร็จที่จับต้องได้ง่ายกว่า พูดอีกมุมก็คือ อยากสำเร็จต้องตั้งใจ คำว่าอยากสำเร็จต้องตั้งใจมันไม่ชัดไง ตั้งตัวชัดกว่า ตั้งตัวได้ง่ายๆ ก็คือต้องตั้งใจ
“ฉะนั้น ถ้าตั้งใจก็ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้าเราตั้งใจ ตั้งใจอย่างเดียวมันทำได้อยู่แล้ว เรื่องนี้สามารถใช้ได้ในทุกเรื่อง แม้กระทั่งชีวิตจากประสบการณ์ผมที่ผ่านมา จะดีหรือเลว อยู่ที่เราตั้งใจ”
ล้มเหลวหรือสำเร็จ ตัวกำหนด
บทส่งท้ายจากใจอดีตโจร
“คือคนส่วนใหญ่เสียเวลากับการค้นหาความเป็นตัวเอง แต่ผมผมสร้างตัวเองขึ้นมา จะไปนั่งค้นทำไมเป็นสิบปี เดี๋ยวพอไปเห็นนักร้องเกาหลี ก็อยากแต่งตัวเกาหลีเหมือนเขา พอไปเห็นโน่นนี่ เดี๋ยวก็โอนเอนตามไป โอกาสหาตัวเองเจอ ยากมาก และก็ไม่แน่ว่าจะเจอด้วย แต่ถ้าสร้างตัว ปีนี้เราสร้างขึ้นมาได้เลย สร้างเลย เพราะเรารู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ก็สร้างมันขึ้นมาเลย”
สิริทัศน์กล่าวฝากถึงคนที่คิดอยากจะเริ่มต้น
“ยกตัวอย่างธุรกิจจิ้มจุ่ม ตอนแรกทำแล้วเจ๊ง เหตุผลที่มาทำอีกครั้งก็เพราะว่า คิดๆ นึกย้อนดู เราทำแล้วมีความสุขที่สุด เราชอบดื่มเหล้า แต่ดันไปเปิดร้านนม มันก็ไม่ใช่ หลักง่ายๆ เริ่มจากตรงนี้ก่อนก็ได้ หากจะสร้าง ทีนี้ พอทำร้านจิ้มจุ่ม ใครๆ ก็ดื่มเหล้าเบียร์เป็นเรื่องปกติ เราก็ทานด้วยทำงานด้วยได้”
“และที่เขียนหนังสือ เพราะรู้ว่าเป็นคนปากหมา พูดตรงไปตรงมา เป็นคนชอบสังเกตและเล่าเรื่อง ก็เขียนหนังสือเลย เราสร้างตัวตนของเราได้”
ก่อนหน้าเล่ม “พลิกชีวิตคิดแบบโจร” มีผลงานเขียน ' UNSEEN เปลือยชีวิตสาวอาบอบนวด' ล่าสุดที่กำลังจะวางแผง “เปิดปากแมงดา” และเตรียมขึ้นทอล์กโชว์พูดแนะนำการทำธุรกิจร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง อาจารย์สมคิด ลวางกูร
“พลิกชีวิตคิดแบบโจร เกิดขึ้นได้จากกระแสตอบรับการแชร์ที่ล้นหลาม จนคุณจเร ณาธร โฮมทณาวงค์ เขาบังเอิญเห็นบทความหลายๆ บทความ แล้วสะกิดสนใจในนั้น ทำให้ได้พิมพ์ออกมาอ่านกัน แม้ว่าจะมีกระแสเรื่องการใช้ภาษาของเราที่ค่อนข้างแรง หลายๆ คนก็ถามและถึงขนาดตั้งกระทู้ถามกันในเว็บไซต์พันทิป จริงๆ เจตนาเราไม่ได้ดูถูกคนอื่นๆ ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือเหยียดหยามคนที่เป็นพนักงานลูกจ้างมนุษย์เงินเดือน
“ผมเคยตั้งคำถามกลับคืนไปแก่คนเหล่านี้ แต่ก่อนผมเคยเป็นแบบเขา แต่ตอนนี้ส่วนตัวเป็นเจ้าของกิจการ จึงเห็นความต่างของทั้งสองอย่าง ถ้ามองสาระสำคัญที่มันซ่อนในบทความ คุณจะรู้ว่ากำลังจะบอกอะไรคุณอยู่ คือพยายามจะบอกว่า คุณครับ คุณเป็นพนักงานประจำ คุณไม่รวยนะครับ นี่คือใจความ แต่ผมแค่ปากร้ายและอยากจะกระตุ้นอย่างตอนผมอยู่แผงหมู”
อาจจะจริงดั่งว่า เพราะบางครั้ง คำด่าว่าก็เสมือนยาขม ที่กลายเป็นแรงผลักชั้นดี โดยที่เราไม่ทันคาดคิดรู้ตัว
“ถ้าพูดนิ่มๆ บางทีไม่สะกิดใจ ความหมั่นไส้ทำให้เกิดความคิด เพราะคนตีความจากตัวหนังสือไม่เหมือนกัน ตรงไปตรงมาเลย จะไปอ้อมค้อมทำไม ทั้งๆ ที่สังคมก็รู้ แต่ก็ยังปิดปาก
“จริงอยู่ที่ว่ามันก็ไม่ประสบความสำเร็จทุกคน มีคนพูดใส่เรา มึงรวยแล้วมึงก็พูดได้ ถามว่าทำได้อย่างเราก็ไม่มีใครเป็นลูกจ้างเราหรอก เขาไปเป็นเจ้าของกิจการหมดแล้ว ก็ใช่ แต่นั่นไม่ใช่ใจความ ใจความก็อย่างที่บอก และคุณก็อย่าลืมว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณทำงาน เหตุผลที่คุณทำงานเพราะมีภาระค่าใช้จ่าย ต้องการเงินใช้ชีวิต คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ คุณทำเพราะรักในงานคุณหรือเปล่า ถ้าเปล่า นี่ก็ไม่ใช่การดูถูกหรือเหยียดหยาม แต่เป็นการให้มุมแง่คิด
“การที่เราไม่เปลี่ยน ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่กล้า เราไม่อยากเสียอะไร แต่อย่าลืมว่าก่อนหน้าที่จะได้ เราก็เสียทั้งเงินถ่ายรูปติดบัตร เสียทั้งแรงเดินออกไปหางานตั้งกี่ที่ต่อกี่ที่ กู-มึง กูทำได้ มึงก็ทำได้ ผมถึงใช้คำว่า “กู” และ “มึง” กระตุ้นด้วยใจ หัวอกเดียวกัน นี่คือสิ่งที่อยากจะสื่อสาร จริงๆ เราไม่พูดก็ได้ แต่เราผ่านมาแล้ว เราก็มีชีวิตดีขึ้น ทีนี้อย่างที่บอกอีก พอเริ่มเป็นคนดี เราก็อยากจะส่งต่อให้คนอื่นดีเหมือนเราบ้าง จะได้ไม่ต้องไปทุกข์หรือเมื่อสิ้นไร้ไม้ตอกแบบเรา เลือกที่จะไปกระทำความผิด
“แล้วต้องให้เขาไปยืนรอมองลอดลูกกรง คิดจากประสบการณ์หรือ น้อยคนนักที่จะเข้าไปแล้วได้บทเรียนดีๆ ก็เคยได้รับเชิญให้ไปพูดในคุกที่เคยติด เรายินดีมาก เพราะจุดจบอยู่ที่ตรงไหน รู้อยู่แล้ว เราสามารถเลือกจุดจบของชีวิตตัวเราเองได้ ในร้านผมเอง พนักงานในร้านยังบอกเลยว่าถ้ามีทางที่ดีกว่า ลาออกไปเลย อันนี้ไม่ได้ไล่กัน พูดกับทุกคนทุกวัน แต่ถ้าอยากอยู่ด้วย ก็ดีใจ แต่วันไหนดีกว่า ไปได้ก็ไป บอกพี่ติ๊ก หนูอยากจะไปขายของ เดินมาบอกเลย ไม่ว่าเลย จะสอนบอกแนะนำทุกอย่างที่เราคิดว่าเป็นประโยชน์แก่เขาให้ด้วย”
“สู้ก็เจ็บ ไม่สู้...กูก็เจ็บ” เรื่องต่อยตีจากประสบการณ์วัยมัธยมจนต้องหนีไปขอความช่วยเหลือ แต่แล้วรอดจากเรื่องวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ก็ต้องโดน เพราะวิ่งไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา ซึ่งหากนำมาพลิกใช้กับการทำงาน การที่เป็นพนักงานกินเงินเดือน เราไม่มีทางหนีพ้นการเกษียณอายุ ทั้งหมดขึ้นอยู่ว่าเราจะเลือกเวลาไหน
หรือบทความเรื่อง “พนักงาน...ดีเด่น ที่โลกไม่จำ” คล้อยหลังก็ลืม แม้ว่าจะมีประสบการณ์ความสามารถติดตัว อาจจะมีเบี้ยโบนัสพิเศษ แต่ก็หลีกหนีไม่พ้น ทำงานเป็นลูกจ้าง หากไม่คิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นนายกิจการของตัวเอง ความสามารถนั้นก็จะสูญ ตายไปกับเรา หรือไม่ก็ถ่ายทอดกับคนอื่นแล้วสร้างงานให้บริษัทร้านเขา
“โลกไม่จำเขาหรอก สมมติมีป้าถูพื้นร้านอาหารที่คุณไปทานประจำชื่อป้าจำเนียง แกถูพื้นเก่งที่สุดในร้าน เราจำได้ไหม ไม่ได้ แต่บริษัทสร้างแผนนี้ขึ้นมาเพื่อหลอกใช้พนักงาน ให้พนักงานแข่งขันกันเองในองค์กร แข่งขันกันทำงาน เพื่อให้ขึ้นป้ายนี้เป็นกุศโลบายใช้คน ถ้าฉันทำงานดี จะได้ขึ้นป่ายนี้ แล้วยังไงต่อ...เรารู้ๆ กันอยู่
“เดี๋ยวนี้ก็เลยเพลาๆ ลงบ้างแล้ว เพราะเราก็ค่อยๆ โต ค่อยเรียนรู้ อันไหนที่พลาด อย่างไปเขียนเรียกเขาว่า “ตัว” ก็น้อมรับปรับปรุง ดูในเฟซบุ๊กได้ ไม่ลบ เก็บไว้เป็นเครื่องเตือนใจ แต่ก็ยังเขียนมุมมองและประสบการณ์จากตัวเองเพื่อให้ค้นทางของตัวเองเจอ ส่วนตัวยังมองว่าทุกคนต้องมีทางของตัวเอง ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับทุกคน แต่เหมาะเฉพาะกับคนที่สู้จริง เอาจริง เราก็ต้องรู้ตัวเอง รู้เป้าหมายตัวเอง แล้วต้องมุ่งมั่น ทำจริง
“ถ้าคำว่าต้นทุนชีวิตคนเราไม่เท่ากัน ผมจบแค่ ป.6 เรียน ม.1 ได้ครึ่งเทอมไปตีกับเขาจนต้องออกจากโรงเรียน ออกมาเป็นกุ๊ยอันธพาลจนไปเป็นโจรขโมย กระทั่งค้ายา ยังกลับตัวได้ และกลับมาเป็นเจ้าของกิจการหลายอย่าง แต่ละอย่างยอดขายหลักร้าน ผมถามคุณคำเดียว ผมมีต้นทุนมากกว่าใครตรงไหน”
คิดถูกหรือผิด--ไม่มีใครรู้ ทว่านี่คือเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของอดีตโจรข้างถนน ที่กลับลำเปลี่ยนชีวิตเป็นเจ้าของกิจการเงินล้านและพลิกกลับเป็นคนที่ดีขึ้น
“ก็ขอฝากข้อคิดทั้งสำหรับคนที่ทำธุรกิจและอยากมีชีวิตที่ดี นอกจากที่บอกกล่าวเล่าไปแล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ ไม่ว่าธุรกิจอะไรก็ตามถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการเอาเปรียบลูกค้า คุณพัง คุณเจ๊งแน่นอน เริ่มตั้งแต่วันที่คุณคิดอย่างนั้นแล้ว เพราะพอเขามาใช้บริการของเรา เขารู้ว่าเราเอาเปรียบ เขาจะมาแค่หนเดียวแล้วไม่มาอีกเลย ตรงกันข้าม หากเราแฟร์ๆ สมน้ำสมเนื้อกันทั้งสองฝ่าย เขาก็จะมาหาเราอีก ทำอาหารเหมือนให้แม่เรากิน เรื่องคุณภาพต้องดี บริการต้องทำเหมือนเพื่อนมาบ้าน คนเขาก็จะมา
“มันเป็นวิถีคนไทย ใจเขาใจเรา ชีวิตก็ไม่ต่างกัน เราไม่ชอบให้เขาทำไม่ดีกับเรา เราก็อย่าทำไม่ดีกับเขา คิดดีทำดีก็ได้ดี อาจจะฟังดูเชย แต่มันยั่งยืน ตอนนี้กำลังมีความสุขกับการเป็นคนดีมาก แม้จะยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มีความสุขมาก เวลาที่ทำดีแล้วมันได้ดีคืนกลับมาจริงๆ บริจาคเงินให้คนตาบอด คนก็มาช่วยกันเต็มไปหมด พอเป็นคนดี พวกคนไม่ดีก็จะไม่ได้อยู่กับเราแล้ว คบกับเราไม่ได้ เคมีไม่ตรงกัน รอบตัวเราก็จะมีแต่คนดีๆ สิ่งแวดล้อมสำคัญ เราเป็นคนชนิดไหน เราก็จะดึงดูดคนชนิดเดียวกันเข้ามาอยู่
“ผีเสื้อไม่เคยตอมขี้ ฉันใด แมลงวันก็ไม่ตอมดอกไม้ ฉันนั้น ทำตัวแบบใด คุณก็จะได้สิ่งแวดล้อมแบบนั้น”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี