กว่าหนึ่งทศวรรษกับการศึกษาปฏิบัติอย่างมีฉันทะ “พศิน อินทรวงค์” ปลดวางองค์แห่งนักแต่งเพลงป็อป ก้าวสู่ความเห็นชอบในธรรมะ ปฏิบัติด้วยตน ก่อนถ่ายโอนประสบการณ์เหล่านั้นสู่งานเขียนหลายสิบเล่ม เป็นวิทยากรผู้ชี้แสงแห่งความสุขในโลกที่คนทุกข์ล้นหล้า
“พศิน อินทรวงค์” อดีตนักสร้างความสุขด้วยเนื้อหาทำนองเพลง ที่พบปัญหาชีวิต คิดไม่ตก เป็นนักสร้างความสุข แต่ภายในใจหาได้สุขโดยแท้จริง และ ณ จุดนั้นได้ผลักดันให้เขาเริ่มต้นค้นหา ค้นคว้าความรู้ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ
ณ ตอนนี้ เราหรือใครคงไม่อาจกล่าวได้ว่าเขาบรรลุในศีลาจารวัตรถึงขั้นใด แต่ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีมานี้ ในวัยเพียง 28 เขาได้ลงลึกศึกษาและนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง รวมทั้งแบ่งปันแก่นสารความคิดเพื่อชีวิตที่ดีมีความสุข ผ่านงานเขียนในฐานะคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารหลายเล่ม หนังสือพ็อกเกตบุ๊กอีกหลายสิบเล่ม รวมทั้งงานบรรยายในฐานะวิทยากร...
“ธรรมะ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ปฐมบทจากนักแต่งเพลงสู่นักแต่งธรรม
“นักแต่งเพลงเป็นความฝัน ความอยาก ตั้งแต่สมัย ม.ปลาย ก็เริ่มจากซ้อม หัดเล่น แต่งเพลงแล้วเอาไปให้เพื่อนฟัง ทีนี้เพื่อนบอกว่าเพราะดี เราก็เลยฝันตั้งแต่ตอนนั้นว่าจะเป็นนักแต่งเพลง ก็แต่งเพลงเอง ตั้งแต่เล่นกีตาร์เป็นไม่กี่คอร์ด”
นักเขียนและวิทยากรแนวธรรมะ ในวัย 28 ปี กล่าวย้อนถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ในเวลาต่อมา ชีวิตบ่ายหน้าจาก “ทางโลก” สู่ “ทางธรรม”
“แต่ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าแต่งเพลงแล้วมันจะเอาไปทำมาหากินได้ เราอยากเป็น เราก็แต่ง แค่นั้น แต่ทีนี้การจะแต่งเพลงได้เราต้องมีภาษาในคลังมาเขียนเนื้อเพลง ต้องมีพล็อตเรื่อง ก็ทำให้เราต้องอ่านหนังสือเยอะมาก อ่านทุกแนว เพื่อให้ได้ไอเดีย ทำให้เราติดการอ่านหนังสือ อีกทั้งคุณพ่อก็ปลูกฝังให้เป็นคนอ่านหนังสือ และที่บ้านหนังสือก็เยอะมาก
“ช่วงนั้น ผมก็แต่งเพลงไว้เยอะเหมือนกัน จนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 4 ที่อัสสัมชัญ (เอแบค) บังเอิญว่ามีการประกวดแต่งเพลงในคลาสที่เรียนแต่งเพลง คัดจากประมาณ 200-300 คน จนเหลือประมาณ 50 คน แล้วเราได้ ก็เลยตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัย ไม่เรียนต่อ เพราะส่วนหนึ่งเราเกเร ไม่ตั้งใจเรียนเท่าไหร่ด้วย และเราก็รู้สึกว่าการเป็นนักแต่งเพลง รายได้มันเยอะ แถมมีงานอื่นๆ อีกด้วย ก็มุ่งมาทางนี้เลย
“ฝึกหัดเป็นนักแต่งเพลงอยู่ครึ่งปี ก่อนจะก้าวเข้ามาเป็นนักแต่งเพลงประจำ ตอนนั้นเหมือนเราจะเป็นนักแต่งเพลงในค่ายใหญ่ที่อายุน้อยสุดด้วย คือประมาณ 22 ปี เพลงส่วนมากที่แต่งก็อย่างแต่งให้วง UHT เพลงคำว่ารัก วงอินคา แล้วก็ศิลปินเดี่ยวก็มี แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพลงที่ไม่ใช่เพลงโปรโมต”
แต่ก็เรียกได้ว่าชีวิตกำลังดำเนินไปในทิศทางที่วาดหวัง จนกระทั่งเกิดวิกฤต “เทปผี” ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการ อุตสาหกรรมอยู่ลำบาก นักแต่งเพลงหลายต่อหลายคนล้มหาย ซึ่งพศินก็คือหนึ่งในนั้น
“นอกจากเรื่องเทปผีแล้ว มันก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่าง ก็ยอมรับว่าอกหักเล็กน้อย เพราะเราใช้ความตั้งใจเป็นระยะเวลายาวนาน พอได้มาเป็น ก็ดันมีเรื่องนี้เข้ามาอีก ตอนนั้นก็เลยเบื่อ ลาออก แล้วมาเปิดบริษัทรับผลิตสื่ออย่างพวกโบรชัวร์ วิดีโอ พรีเซนเทชัน แต่งเพลงองค์กรให้กับบริษัทเล็กใหญ่ต่างๆ กำลังรุ่งๆ เพราะตอนแรกยังไม่มีคนมาทำเท่าไหร่ คนรู้จักเพลงองค์กรน้อย ธุรกิจมันก็ดีมาก เพลงหนึ่งบางทีตกแสนกว่าบาทเลย บางเดือนมาสองสามเพลง บางเดือนนี่แต่งจนทำไม่ทัน แล้วพอทำไปสัก 3 ปีกว่าๆ วงการเพลงที่เจอเทปผีก็ออกมาทำกันบ้าง ก็ตัดราคากันฉับๆ
“ตอนนั้นผมก็อายุประมาณ 27 มีบ้าน มีรถ แต่ก็ไม่ร่ำรวยอะไร แค่เราพึ่งตัวเองได้แล้ว เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว เป็นเจ้าของบริษัท มีเงินหมุน มีอะไร มีลูกน้อง จริงๆ มันก็มีความสุขดีตามที่ควร แต่พอเราทำงานตรงนี้ จิตเราไม่ได้เป็นอิสระ จะรู้สึกตลอดว่าทำไมเวลาเราไปส่งงานลูกค้า ต้องคิดกลัวอยู่ตลอดเวลา คิดล่วงหน้าว่ามันจะต้องเป็นอย่างไร ความกลัวที่ว่านี้อาจจะเป็นเรื่องลึกซึ้ง คือมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความกลัว กลัวสายตาที่คนมองว่าเราจะเป็นอย่างไรในสายตาเขา เช่น สมมติว่าเราอยู่บ้าน เราแต่งตัวธรรมดา เราไม่สน เราก็มีความคิดว่าทำไมเราออกไปข้างนอก เราต้องแต่งตัวให้มันดี อันนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของทุกคน แต่เรากลับรู้สึกว่าเรื่องนี้มันไม่ธรรมดา มันแสดงว่าเราต้องการให้คนอื่นมองว่าเราดี แล้วไอ้สิ่งนี้มันเป็นข้อจำกัด มันเป็นเรื่องที่ทำให้คนไม่มีความสุข
“ผมรู้สึกอย่างนั้น และก่อนหน้านี้ที่บอกว่าอ่านหนังสือดึกดื่น นอนน้อย วันละ 3-4 ชั่วโมง รู้สึกว่าเราคิดตลอด เวลานอน เราไม่นอน เรานอนแล้วคิด แล้วก็เขียน เหมือนเป็นคนฟุ้งซ่าน หยุดความคิดตัวเองไม่ได้ เพื่อนๆ ก็จะรู้ เวลามีเรื่องอะไรก็มักจะโทร.มาปรึกษาเรา ตี 3-4 เพราะเราคือคนเดียวที่ยังไม่นอน ก็ใช้ชีวิตอย่างนี้มาเรื่อยๆ แล้วบางทีสังเกตตัวเอง มีความทุกข์ ทั้งๆ ที่นอนอยู่ในห้องแอร์ ห้องดีๆ แต่ทำไมเรามีความทุกข์ ก็จะเริ่มมีคำคำหนึ่ง คนเรานี้มันทุกข์เพราะความคิด มันไม่ได้ทุกข์เพราะอย่างอื่นเลย ถึงคุณจะพิการ คุณเลิกคิด คุณก็ไม่ทุกข์ มันมีแค่หิวข้าว หิวข้าว เราก็ไปหาข้าวกิน แต่ความทุกข์ของคนส่วนใหญ่มันไม่ได้เป็นไปในแง่ร่างกาย มันเป็นไปในแง่จิตใจ ศาสนาที่ได้ศึกษามาจากการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กๆ จากคุณพ่อที่ท่านพาไปวัด ไปไหว้พระ ที่ท่านเล่าเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาให้ฟัง เรื่องพระอรหันต์ ยังจำได้เลยว่าท่านอยากให้เราเป็นวิศวกรเหมือนท่าน เราก็ยังถามว่าแล้วระหว่างพระอรหันต์กับวิศวกรอะไรดีกว่ากัน ท่านก็บอกว่าพระอรหันต์ ตั้งแต่เด็กๆ ก็เลยคิดอยู่ลึกๆ ว่า พระอรหันต์นี้ดี ท่านเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ เราเลยรู้สึกว่าการที่คนคนหนึ่งไม่มีความทุกข์เป็นเรื่องมหัศจรรย์ มันเหมือนเป็นศรัทธาที่อยู่ลึกๆ เพียงแต่เราใช้ชีวิต เราไม่ได้ไปสนใจ
“เมื่อรวมกับเรื่องนี้ ก็ทำให้เราคิดย้อน ความกลัวในบางคน อาจจะกลัวไม่มีกิน กลัวไม่มีอะไร อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสไว้ว่า มนุษย์คนหนึ่ง ถ้าไม่กลัวเสียผลประโยชน์ ไม่กลัวถูกคนอื่นติฉินนินทา ไม่กลัวเสื่อมอำนาจ ไม่กลัวเสียความสุข ถ้ามนุษย์ไม่กลัว 4 อย่างนี้ได้ เขาจะมีอิสรภาพสูงสุด ผมรู้สึกว่ามันยิ่งใหญ่มาก แล้วผมอ่านหนังสือปรัชญาอะไรต่างๆ นานา ทุกคนเป็นอย่างนี้หมด คือทุกคนรู้สึกว่าถูกจำกัดอิสรภาพ ถ้าด้วยภาษาธรรมมะ เขาเรียกว่า โลกธรรม 8 เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ก็มีความทุกข์ แต่ถ้ามนุษย์คนหนึ่งฝึกฝนจิตใจให้ไม่กลัวตรงนี้ได้ คนคนนั้นก็จะพบชีวิตอีกแบบหนึ่ง สังคมก็จะทำอะไรเขาไม่ได้
“พอคิดเรื่องพวกนี้ ผมก็เลยอยากฝึกฝนตัวเองให้หลุดจากตรงนั้น”
เริ่มไล่อ่านตั้งแต่หนังสือฮาวทู ไปจนถึงปรัชญาของนักคิดนักเขียนชื่อดังอย่าง “คาลิล ยิบราน” และ “รพินทรนาถ ฐากูร” คุรุเทพเลืองนาม ศึกษากระทั่งคำสอนศาสดาของศาสนาอื่นอย่างจริงจัง
“อ่านหมด...อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเขามีสิ่งหนึ่งที่มันเหมือนกัน คือคนเรามันทุกข์เพราะความติดยึด ทุกข์เพราะอัตตา แต่ทุกคนมันเหมือนกันตรงที่ว่า ศาสดาทุกองค์ กูรูทุกคน เขารู้ว่าเขาทุกข์เพราอะไร แต่เขาไม่มีหนทางที่จะมาทำให้มันดับไปถึงตรงนั้น ทีนี้ ผมก็เลยมาศึกษาพระพุทธเจ้า ก็รู้สึกว่ามันมีความเป็นไปได้ที่สุด แล้วก็แมตช์กับความศรัทธาของเราตั้งแต่เด็กๆ
“คือเรื่องศรัทธา มันบอกไม่ได้หรอกว่ามาตอนไหน บทมันจะมา ก็มา เพียงแต่ว่ามันรอวันที่ชีวิตตอนนั้นมันมีปัญหาขึ้นมา โป้ง! แล้วเราหันไปค้นลึกๆ ของเรา แล้วเราก็เจอ ดังนั้น เรื่องความสนใจก็จะมาเป็นสเต็ปๆ อย่างตอนแต่งเพลง ผมก็สนใจเรื่องของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เพียงแต่ความสนใจมันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนมิติเหลี่ยมของศาสนา ตอนเด็กๆ เราสนใจในแง่ของอภินิหาร ฟังแล้วมันเหมือนนิทานสนุกดี พอโตมาหน่อย เราสนใจในเชิงปรัชญา เหมือนเอาไว้คุยเท่ๆ อวดๆ กัน พอตอนโตขึ้นมาหน่อยที่ชีวิตมันมีปัญหา เรารู้สึกว่ามันต้องเอามาทำแล้ว ก็เริ่มจะมาปฏิบัติ ฝึกสมาธิเอง ฝึกอานาปานสติเอง แล้วก็รู้สึกว่ามันดีกับเรา อยากที่จะทำชีวิตให้มันเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ไปเลยร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ก็เลยลดเรื่องงานบริษัทแต่งเพลง แล้วก็เริ่มเขียนหนังสือธรรมะ”
จาก “สมถะเท้าขวา วิปัสสนาเท้าซ้าย”, “วิถีปลาเป็น”, “The Ticket ตีตั๋วดูตัวตน” สู่งานเขียนกว่า 20 เล่ม ซึ่งเชื่อมโยงถ่ายทอดให้แง่คิดมุมมองร่วมสมัย
“หลายคนอาจจะสงสัยว่าทั้งสองอย่างเข้ากันได้อย่างไร”
“จะยากไหมในการปรับตัว” อดีตนักเขียนเพลงย้อนถาม
“คือธรรมะมันเข้าได้กับทุกอย่าง มันอยู่ที่เรา อย่างตอนนี้ที่ดำเนินชีวิตเป็นวิทยากรด้วย หลักๆ เวลาไปบรรยาย เราจะพยายามพูดให้เข้าใจว่าธรรมะมันเกี่ยวกับเราอย่างไร ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้ามนุษย์คนหนึ่งเวลาจะทำงานแล้วอยู่กับงานได้ ประสิทธิภาพงานเขาจะเพิ่มใช่ไหม เหมือนกัน ผมเขียนหนังสือแล้วเรียกสมาธิอยู่กับงานมันได้ งานมันก็เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น พอประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เงินก็เพิ่มขึ้น ฉะนั้นแสดงว่าสมาธิสามารถใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่มีเรื่องอะไรในโลกนี้ที่ไม่ใช้สมาธิ แม้แต่ที่เรากำลังคุยกันอยู่ ความเฉียบคมของสติปัญญา มันใช้สมาธิ ในเมื่อธรรมะให้สมาธิ สมาธิให้ทุกอย่าง ธรรมะก็เป็นพื้นของทุกอย่าง สมาธิเป็นพื้นฐานของทุกอย่างในชีวิต
“แล้วถ้ามนุษย์คนหนึ่งไม่มีสมาธิจะเป็นอย่างไร เพราะวันหนึ่ง มนุษย์คิด 5 หมื่นกว่าเรื่อง ความคิดที่แล่นปุ๊บๆ เข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัวในระยะที่เร็วมาก มันทำให้ประสิทธิภาพการตั้งใจคุณลดลง ทีนี้ คนที่เขาฝึกสมาธิ เขาอาจจะคิดเหลือแค่ 2 หมื่นเรื่องต่อวัน สิ่งนี้ส่งผลให้เวลาที่เขาทำอะไร เขาโฟกัสอยู่กับสิ่งนั้นได้ มันกลายเป็นทำงานน้อยกว่า แต่เชิงประสิทธิภาพสูงกว่า และความทุกข์น้อยลง เนื่องจากไม่ปรุงแต่ง ทุกวันนี้ที่มีคำถามว่าเราไม่ใช่พระ เราต้องปฏิบัติธรรมไหม การปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับอาชีพครีเอทีฟ อาชีพสถาปนิก นักแต่งเพลงไหม เกี่ยวกับรัฐมนตรีไหม เพราะเขาไม่รู้ว่าปฏิบัติธรรมคืออะไร”
ธรรมะครอบคลุมไม่เว้นกระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการที่บุพการีบิดามารดา มีทายาท ในเวลาที่ลูกร้องกลางดึก หากไม่ควบคุมจิตข่มระงับโทสะ ผลเสียเหล่านั้นก็จะตกมาถึงแก่ลูกโดยไม่รู้ตัว
“ลูกก็เติบโตมาเป็นเด็กขาดความอบอุ่นบ้างอะไรบ้าง ทุกอย่างใช้ธรรมะหมด แล้วแต่ว่าเราเรียกมันว่าอะไร ถ้าเราเรียกมันว่าธรรมะ ใส่ชุดขาวอยู่ในวัด มันก็เป็นเฉพาะกลุ่ม แต่ถ้าเราเปลี่ยนธรรมะใหม่ เป็นการพัฒนาจิต เราเรียกว่าการพัฒนาจิต มันก็จะเกี่ยวกับทุกสาขาอาชีพ แต่ปัญหานี้มันไม่เกิดกับคนที่เขามีสมาธิ ฉะนั้น สมาธิดี มันทำให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แล้วให้คุณมีความสุขเพิ่มขึ้น มีความทุกข์น้อยลง สมมติคนนินทา ถ้าจิตมันไม่ไปแวบเรื่องที่เขานินทา มันก็คือจบ แต่ที่มันไม่จบ เพราะจิตมันคิดซ้ำไปซ้ำมา มันล็อกความคิดเรา
“แต่คนมักจะชอบคิดกันว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ไกลตัวเลย เพราะมันไม่มีชุดความรู้อื่นใดแล้ว ชุดความรู้ที่พระพุทธเจ้าให้ มีอยู่ครบ แต่มันมีปัญหาอยู่ หนึ่ง ด้วยภาษาที่คนเข้าไม่ถึง สอง ถ้าคนไม่มีความรู้เลย เขาจะไม่รู้ว่าเขาจะใช้ชุดความรู้ไหนที่เหมาะกับเขา เพราะหลักธรรมมันเยอะมาก และถ้าเอาทั้งหมด มันยาวมาก เขาไม่สามารถประมวลได้ทั้งหมด ไม่สามารถจัดระบบความคิดได้
“แต่ถ้าเราจัดการระบบได้ อย่างสังเกตตัวเอง เมื่อก่อนจะเป็นคนอารมณ์ร้อน เกเรด้วย แต่พอศึกษาธรรมะไปเรื่อยๆ เราจะเห็นโทษของความโกรธ โทษของการทำตัวไม่ดี เราจะเห็นด้วยปัญญาอย่างแท้จริง เราไม่ได้ฟังใครเขามา เราจะรู้สึกว่าการโกรธ ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ไม่ได้ทำอะไรดีขึ้น และบวกกับการที่ทำสมาธิ ทำอานาปานสติ จิตมันฟุ้งซ่านน้อยลง มันมีกำลังที่จะระงับความโกรธได้มากขึ้น เพราะว่าการระงับกิเลส มันมี 3 ระดับ คือหนึ่ง ตั้งสติแล้วคิดบวก สมมติเราคิดอะไรไม่ดี ตั้งสติแล้วคิดไปในทางสว่างทางบวก ภาษาธรรมะก็คือคิดในทางกุศล อันนี้ก็ละชั่วได้
“อย่างที่สอง พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ว่า ข่มชนะด้วยสมาธิ คือคนมีสมาธิ เขาจะมีอำนาจที่ข่มอารมณ์ได้ จิตเขาจะหนักแน่น เขาสามารถข่มอารมณ์ได้ ข่มความกลัวได้ ข่มกิเลสได้ อีกอันหนึ่งเขาเรียกว่า “ละ” หรือ “นิโรธ” คือดับสนิท อันนั้นคือชั้นบรรลุธรรม ใน 3 ระดับนี้ การคิดบวกเป็นอะไรที่เทียบกับสมาธิชั้นสูงไม่ได้ เพราะการคิดบวก คนเกิดมาก็ทำเป็นแล้ว มันเป็นวิธีระงับความชั่วธรรมชาติที่มนุษย์พึงมี ขณะที่สมาธิระงับความชั่ว เป็นมนุษย์ที่เริ่มฝึกจิตมา แต่ถ้าขั้นนิโรธคือจิตสูง
“คือมนุษย์ส่วนใหญ่จะทำอะไรไปตามสัญชาตญาณ แต่คนที่เขาศึกษาปฏิบัติธรรมลึกซึ้ง เขาจะเพ่งไปที่ความไม่ดีของตัวเอง เวลาที่เราทำสมาธิ วิปัสสนา เราเพ่งความชั่ว ความเลวทรามต่ำช้า แล้วเราก็จะจัดการตัวเอง เราจะไม่ไปยุ่งกับชาวบ้านเขา เราจะจัดการตัวเรา พอเราจัดการเสร็จ เราจะรู้สึกว่าหวงแหนจิตใจที่มันดี สุดท้าย ผมก็เลยพักเรื่องงานบริษัท ปัจจุบัน หลักๆ นอกจากเขียนหนังสือแนวธรรมะ ก็เป็นวิทยากร เพราะเราเห็นว่ามันมีประโยชน์เยอะมาก”
ใจคือศิลปะ เราคือศิลปิน
สุข-ทุกข์ เรากำหนด
• ท่ามกลางกระแสสังคมที่แข่งขัน ถ้าเราปฏิบัติอย่างนั้นแล้วจะอยู่รอดได้อย่างไร
ผมเคยเขียนหนังสือเรื่องหนึ่ง "ใจคือศิลปะ เราคือศิลปิน" หมายความว่าเราเป็นอาร์ทิสต์ที่จัดการจิตใจเราให้มันดีขึ้นไป โดยไม่เกี่ยวกับคนอื่น คนอื่นเขาจะดีกว่าเรา หรือเลวกว่าเรา เรื่องของเขา คือเราทำตัวเราเท่านั้น พอเราทำตัวเราไปเรื่อยๆ มันเหมือนกับเรามีต้นทุนทางใจที่ดี เราก็ไม่อยากทำอะไรที่ไม่ดี เรารู้สึกว่าเราฝึกฝนจิตใจมาขนาดนี้ แล้วทำไมต้องเอาตัวไปแลก สมมติว่าเราทะเลาะกับเขาแล้วเราจะไปทะเลาะกับเขากลับ คือเราไม่ได้ว่าเรากับเขา เรามองว่าเรากับเรา เรามองแค่ว่าเราจะแพ้ตัวเองอีกแล้วหรือ เราชนะมาแล้ว แล้วเราจะกลับไปแพ้ตัวเอง เพราะว่าปัญหาแค่นั้นเท่านั้นหรือ
หลายๆ อย่าง เรื่องงานเรื่องอะไร บางทีคิดไม่ตรงกัน เมื่อก่อนเราก็จะรู้สึกว่าอย่างนี้ถึงจะดี แต่เดี๋ยวนี้ บางทีเราก็ค้างไว้ในสิ่งที่เราไม่ชอบ แล้วก็มองมันไป มองว่าเราไม่ชอบอันนี้ ทำไมมันมีอิทธิพลกับใจเราจัง คือมองความโง่ของตัวเอง แค่นี้เหรอ สิ่งแค่นี้เหรอ ทำให้เรามานั่งคิดที่บ้าน แล้วเรามีความทุกข์ ทำไมจิตใจเรามันอ่อนไหวขนาดนั้น แต่มนุษย์เป็นอย่างนี้ คนส่วนใหญ่ทั้งหมด พูดได้เลยว่า 99 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้มีความสุขกับชีวิตตัวเองอย่างแท้จริง
• เหมือนกับว่าเรากลับมาตั้งศูนย์ที่ตัวเอง
คือธรรมะเป็นเรื่องของตัวเองนะ ไม่เกี่ยวกับใคร สมมติว่าเขาตบหน้าเรา อย่างที่พระเยซูท่านตรัส มันเป็นเรื่องลึกซึ้งมาก เขาตบแก้มขวาเรา เราไม่มีสิทธิ์ไปตอบโต้เขาด้วยความรุนแรง การที่เขารุนแรงกับเรา มันเป็นความชั่วของเขา แต่ถ้าเราไปรุนแรงกับเขา นั่นคือความชั่วของเรา ความดี ความเลวมันแยกกัน มันไม่ได้มาหักลบกัน มันไม่ได้ว่าเขาโกงเรา เราเลยโกงเขาบ้าง อย่างนี้ไม่ใช่ เขาทำไม่ดี ก็เรื่องของเขา แต่ถ้าเราทำไม่ดี มันเรื่องของเรา
ธรรมะมันไม่ใช่เรื่องตาต่อตา ฟันต่อฟัน แล้วมันไม่ใช่เรื่องแข่งกับใคร มันเป็นเรื่องแข่งกับตัวเอง แม้ว่าคนดีกว่าเรา เราก็ไม่ต้องไปแข่งกับเขา มันเป็นเรื่องของตัวเอง พิจารณาตัวเอง แล้วถ้าเราพิจารณาตัวเรา บางทีเราไม่รู้จะไปด่าใคร เพราะว่าตัวเราเลวสุดแล้ว ถ้าเรามองตัวเอง ทุกคน อิจฉาริษยา ขี้เกียจสันหลังยาว ติฉิน นินทา ปากปลาร้า เป็นกันหมด แต่เราไม่มองตัวเรา แล้วเราปกปิดด้วยถ้อยคำสวยหรู เช่นสมมติว่าเราอิจฉาเขา เราก็บอกว่าเขาไม่ได้ดีจริง แต่จริงๆ เราหมั่นไส้เขา เราอิจฉาเขาเพราะความเลวที่มันอยู่ในใจเรา
แต่ทั้งนี้ คนที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้แปลว่าเขาจะดี แต่แปลว่าเขาเป็นคนที่รู้ตัว และเขากำลังลอกคราบอยู่ ซึ่งการปฏิบัติธรรม ถ้าคุณไม่ยอมเจ็บเลย ไม่ยอมขัดเกลา คุณไม่มีวันลอกคราบได้ มันเหมือนหนอน หนอนจะเป็นผีเสื้อ มันต้องเจ็บ ต้องใช้เวลาที่จะลอกคราบเก่าออก ฉะนั้นบางทีมันต้องยอมให้เขาด่า ยอมเสียเปรียบ เพื่อที่เราจะรักษาจิตใจเรา เพราะถ้าเราไม่ยอม มันไม่สามารถที่จะพัฒนาจิตใจตัวเองได้ ตรงนี้สำคัญกว่าการทำสมาธิ วิปัสสนา หรือการทำอะไร
คนที่เขายิ่งใหญ่ในโลกนี้ ทำจิตใจให้สูงได้ ล้วนแล้วแต่ฝึกฝนตรงนี้ทั้งนั้น คือยอมรับแรงกระแทกให้มากที่สุด ผมเคยถามคนที่มาร่วมฟังในกรณีประเด็นผู้หญิงโดนทำร้ายในที่สาธารณะ ก็มีคนยกมือแล้วบอกว่าการช่วยเหลือใคร มันก็ต้องดูด้วย บางทีถ้าเราเข้าไปยุ่งกับเขา เราอาจจะโดนว่าโดนอะไรกลับมา ทีนี้ ผมเปรียบเทียบให้ฟังจากที่เคยขึ้นไปพบหลวงตามหาบัว (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี) บนศาลาวัดของท่าน ข้างบนศาลาเขียนว่า “เมตตาคือยอมเสียเปรียบ” ถ้าเราไม่ยอมเสียเปรียบ ไม่ยอมเจ็บตัว เราจะเข้าไปสู่ความเมตตาไม่ได้ ถ้าเราเข้าไปยุ่งกับเขาผัวเมีย เดี๋ยวเราโดนด่า แต่อย่างมากเราแค่โดนด่า เราต้องยอมเข้าไป คือการช่วยเหลือคนหรือการเมตตาอะไรต่างๆ เป็นเหมือนการที่พระโพธิสัตว์เห็นปลาฉลามหิว แล้วจึงตัดแขนให้ปลาฉลามกิน อย่างนั้นคือเมตตา แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น เราก็อยู่ได้ เราก็อยู่ไปเรื่อยๆ แต่จิตใจมันแห้งแล้ง บางทีมันต้องยอมเสียเปรียบบ้างอะไรบ้าง
• จำเป็นต้องประเสริฐถึงขั้นนั้น?
ที่ผมพูด...ไม่ได้แปลว่าผมดีเลิศประเสริฐศรี แต่ทิศทางของการพัฒนาตัวเองมันเป็นแบบนั้น ทุกคนถ้าอยากพัฒนาตัวเอง ต้องไปถึงจุดนั้น แล้วไปถึงจุดนั้นถามว่าคนเราเสียเปรียบโน่นนี่นั่น หรือว่าถ้าไปแข่งขันกัน ลำบาก โดนคนอื่นเอาเปรียบแล้วชีวิตมันจะดีอย่างไร ชีวิตของคนที่พัฒนาจิต เขาจะพัฒนาไปสู่อีกระดับ คนมีหลายระดับ ระดับต่ำสุด คือคนที่ตามโลก มีอะไรวิ่งตามโลกตลอด เก่งมาหน่อยคือคนเปลี่ยนโลก เหมือนที่สังคมเราพยายามสอนให้เป็นคนเปลี่ยนโลก สร้างอะไรสักอย่างขึ้นมา
เก่งมาอีกคือคนเหนือโลก คือโลกทำอะไรเขาไม่ได้ สังคมทำอะไรเขาไม่ได้ คนรอบข้างทำอะไรเขาไม่ได้ เขาวางจิตตัวเองอยู่เหนือสภาพแวดล้อม แต่ไม่ใช่ไม่เอาอะไรเลย อยู่กับโลกแต่วางตัวเหนือโลก มันเหมือนจิตว่าง ทำทุกอย่างไปตามหน้าที่ แต่ใจแยกออกมา อันสุดท้าย คือพระอรหันต์ ทิ้งโลก โลกทำอะไรเขาไม่ได้ คนมีศักยภาพในจิตวิญญาณมันพัฒนาไปได้หลายระดับ ทีนี้ คนที่วางตัวให้อยู่เหนือโลกหรือว่าทิ้งโลก มีน้อยมาก เวลาเราฟัง เราฟังแต่ระบบการแข่งขัน ว่าเราต้องแข่งกับคนอื่นเขา ต้องทำให้ดีกว่าเขา
• ถ้าไม่ทำ ก็จะขับเคลื่อนไม่ได้ทั้งชีวิตและสังคม แล้วเราควรจะทำกันอย่างไร
การทำงาน สังคมทุกวันนี้สอนว่าเวลาที่เรามีแรงบันดาลใจหรือแพสชั่น (Passion) ต่างๆ ที่เขาพูดกัน แรงขับเคลื่อนชีวิตมันมีอยู่สองแบบ 1. คือความอยากมีอยากได้อยากเป็น สมมติตัวผมอยากเป็นนักแต่งเพลง ผมไขว่คว้าทะเยอทะยานเพื่อที่จะได้เป็น นี่คือแรงขับเคลื่อนชนิดหนึ่ง ซึ่งแรงขับเคลื่อนชนิดนี้พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าตัณหา มีตัณหาที่ไหน มีความทุกข์ที่นั่น อย่างที่เล่ามา มันจะมาเป็นแพกเกจจิ้ง ไม่มีใครมีตัณหาแล้วไม่มีทุกข์โศก แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทำไม่ได้ มีตัณหาที่ไหน มีความทุกข์ที่นั่น มีความริษยาที่นั่นตามมาด้วย และเวลากิเลสมันมา มันไม่ได้มาอันเดียว มันเข้ามาเป็นพวง พระพุทธเจ้าท่านเลยให้เปลี่ยนแรงขับเคลื่อนชีวิตเป็นฉันทะ คือการรักในสิ่งที่ทำ แล้วทำไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างต้นไม้ต้นหนึ่ง มีคน 3 คน คนที่ 1 อยากให้ต้นไม้โตมาก อยากให้ออกดอกออกผลมากเลย แล้วก็ไปรดน้ำพรวนดินทุกวัน คนที่ 2 เขาไม่ได้อยากอะไร เขาแค่ทำหน้าที่เดินไปรดน้ำพรวนดินทุกวัน คนที่ 3 อยากมากเหมือนกัน แต่ไม่ออกไปรดน้ำพรวนดิน ถามว่าต้นไม้ใครจะโต ก็คนที่ 1-2 ต้นไม้โต แต่เพราะอะไรต้นไม้ถึงโต เพราะว่าเราไปรดน้ำพรวนดิน ความอยากไม่เกี่ยว ตัดความอยากออกไป เหลือแต่การรดน้ำพรวนดิน นี่คือฉันทะ ถ้าสังคมทำงานด้วยฉันทะสังคมจะไม่เกิดการแข่งขันแบบผิดๆ จะไม่เกิดการต่อสู้แย่งชิง จะไม่เกิดการริษยา เป็นสังคมที่ทำงานแบบมีมิตรไมตรี แบบที่ไม่ฆ่ากัน
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ากิเลสเหมือนน้ำ ถ้าเราไม่ดูแล มันจะไหลลงต่ำ จิตมนุษย์ทุกคนถ้าไม่ได้รับการดูแลด้วยกระบวนการที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่คิดเอง มันจะไหลลงต่ำ ทีนี้ทำไมถามว่าคนขับเคลื่อนชีวิตด้วยตันหาเยอะ มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณสัตว์ สัตว์เดรัจฉานน่ะ พูดกันง่ายๆ เราลองสังเกตสุนัข สุนัขหนึ่งตัว ถ้ามันไม่อยากกิน มันจะไม่ไปหา สิงโตไม่หิวไม่ล่า มนุษย์ขับเคลื่อนอันนี้เหมือนกัน มนุษย์ประเภทนี้คือ มนุษย์ชั้นล่างสุด ต้องใส่ความอยากมีอยากได้ก่อน เพื่อจะออกไปล่า แต่มนุษย์อีกประเภทหนึ่งคือมนุษย์ที่มีสติแบ่งแยกระหว่างหน้าที่ อันนี้คือความอยาก อันนี้คือหน้าที่ มนุษย์สามารถฝึกตัวเองให้ทำตามหน้าที่โดยไม่มีความอยาก ในหลวงทรงเรียกสิ่งนี้ว่าเศรษฐกิจพอเพียง ท่านพุทธทาสเรียกว่าทำงานด้วยจิตว่าง พุทธเจ้าเรียกว่าทำงานด้วยฉันทะ
เวลาที่คุณทำงานด้วยความอยากได้อยากมี คุณจะมองคนอื่นด้วยว่าคนอื่นเขาถึงไหน เวลาคนอื่นเขาได้อะไร คุณจะรู้สึกว่าทำไมเรายังไม่เหมือนเขา คนนี้เริ่มต้น ทำไมเงินเดือนเท่านี้ แต่ตอนนี้ไปถึงนี้แล้ว มันเกิดการเปรียบเทียบ พอเกิดการเปรียบเทียบก็เกิดความทุกข์ เกิดความทุกข์ก็เกิดการหมดกำลังใจ แต่ถ้าทำงานด้วยฉันทะ มันเหมือนกับคุณทำหน้าที่ของคุณให้เสร็จเรียบร้อย แล้วคุณไม่ได้มองใคร คุณแข่งกับตัวเอง มันจะดีขึ้นเป็นสเต็ปๆ แต่มันอาจจะไม่หวือหวาให้เห็นในเร็ววัน แต่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบธุรกิจต่างๆ คนโดนปั่นหัวด้วยระบบตัณหา คือสอนให้อยากมีอยากได้อยากเป็น สอนให้มโนภาพ คุณต้องคิดว่าคุณเป็นแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมันตรงกันข้ามกับพุทธศาสนาทั้งหมด มันเป็นการคิดในอนาคตถึงสิ่งที่เรายังไม่ได้มี สิ่งนี้มันกระตุ้นให้เราทำงานจริง แต่มันก็จะเกิดความทุกข์ เกิดการริษยาด้วย มันทำไปพร้อมกับทุกข์ ทำไปพร้อมกับแรงกดดัน เปรียบเทียบง่ายๆ ตัณหาเหมือนกับคุณทำงานโดยการกินยาบ้า ทำงานได้ ประสบความสำเร็จได้ แต่ท้ายที่สุดมันก็ทำลายร่างกายคุณ
ขณะที่การทำงานแบบฉันทะ เหมือนกินวิตามิน เหมือนคุณออกกำลังกาย มันดูไม่หวือหวา แต่ระยะยาวมันดีกว่า คนที่ใช้ฉันทะทำงาน ยิ่งทำมากๆ จิตใจเขายิ่งสูง ยิ่งทำมากๆ ความสำเร็จมันจะค่อยเติบโต ช้าแต่ยั่งยืน เรื่องนี้ แม้กระทั่งทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกาเขาก็ให้ความสนใจ เพราะปัญหาการล้มละลายของเขา คือค่ารักษาพยาบาล คุณทำงานเพื่อมาใช้รักษาตัวเอง ยิ่งด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์แนวโน้มอายุคนเราจะยืนยาวมากขึ้น ไม่ใช่ว่าเรามีบุญ เพราะเราอยู่อย่างเจ็บออดๆ แอดๆ ตอนนี้เขาก็เลยเริ่มทำงานโดยไม่มุ่งเน้นเรื่องของรายได้อย่างเดียว แต่งานอะไรที่ทำให้เขาได้สุขภาพไปด้วย ก็ต้องเลือก
ถ้าเราจะหาวิธี อยากด้วย แต่ไม่อิจฉา มันเป็นไปไม่ได้ เขาบอกว่าเขาต้องการความสุข เขาจะได้ความทุกข์ด้วย เพราะเขายังวนเวียนอยู่ในความต้องการความสุข เขาก็จะมองหาแต่ความสุข เวลาเขาได้ความทุกข์ เขาจะไม่ชอบมัน เพราะเขาอยากได้แต่ความสุข ส่วนการไม่ชอบ การพยายามผลักความทุกข์ออก มันจะสร้างทุกข์อีกสเต็ปหนึ่ง มันไม่มีความสุข ความทุกข์อะไรที่รักษาได้ เราอยากมีความสุขนานๆ ก็รักษาไม่ได้ ศาสนาพุทธสอนให้ไปไกลกว่านั้น คืออยู่เหนือสุข ทุกข์ พอได้ความทุกข์มา เราก็โอเค เข้าใจยอมรับว่ามันเป็นความทุกข์ เวลาได้ความสุข เราก็โอเค เข้าใจยอมรับว่ามันเป็นความสุข แล้วก็อยู่กลางๆ จิตมันก็จะมีความเสถียร ไม่ขึ้นไม่ลง
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มที่ตื่นรู้
ทำก่อนสำเร็จก่อน
ท่ามกลางกระแสที่หลั่งไหลไปในทางขึ้นและลงตลอดเวลาอย่างที่อดีตนักแต่งเพลงที่ศึกษาธรรมะจนเข้าถึงหนทางแห่งชีวิต ฟังดูแล้วไม่ต่างจากประโยคของท่านพุทธทาสที่กล่าวไว้ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” ซึ่งนับเป็นคำถามที่น่าคิดต่อว่า สังคมบ้านเราปัจจุบันเดินทางมาถึงจุดนั้นแล้วหรือยัง
• ส่วนตัวในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม รวมไปถึงเผยแผ่ธรรมะ มองว่าปัจจุบันสังคมบ้านเรามองถึงขั้นวิกฤตนั้นแล้วหรือยัง
มันก็จะเป็นเรื่อยๆ เพราะสังคมโลกทุกวันนี้มันมีความซับซ้อนกว่าเดิมเยอะ ไม่เหมือนสังคมเมื่อก่อน เราสามารถมีความสุขอยู่กันได้ เราไม่มีข้อเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างห้างสรรพสินค้าสมัยก่อนราวๆ 30-40 ปี ที่แล้ว คนจนคนรวยเที่ยวห้างเดียวกัน คนจนคนรวยเที่ยวสวนสัตว์เดียวกัน คนจนคนรวยใส่เสื้อผ้ายี่ห้อคล้ายๆ กัน แต่ยุคนี้มีห้างคนรวย ห้างคนจน ห้างคนรากหญ้า ห้างมหาเศรษฐี รองเท้าคนจน รองเท้าคนรวย รองเท้ามหาเศรษฐี มันมีซอยย่อย ซึ่งซอยย่อย ถ้ามองในทางโลกก็คือทำมาสำหรับตอบสนองทุกความต้องการ แต่ถ้ามองทางธรรม มันคือการมีสิ่งที่มันไม่ใช่คุณค่าชีวิตเพื่อล่อกิเลสมนุษย์มากขึ้น เหมือนคุณค่าแท้คุณค่าเทียมมันซับซ้อนขึ้น ทุกวันนี้เราใส่รองเท้าคู่หนึ่ง เราไม่รู้ว่ารองเท้ามันเอาไว้ทำอะไรแล้ว จริงๆ มันแค่เอาไว้กันเท้าบาดเจ็บจากเศษหิน แต่ทุกวันนี้รองเท้ามันทำอะไรที่ได้มากกว่านั้น มันเป็นการตอบว่าเราเป็นใครได้ หรือบอกว่าเราเป็นบางสิ่งบางอย่างได้ เสื้อผ้า กระเป๋า ก็เหมือนกัน กระเป๋าเดิมทำขึ้นเพื่อให้มันมีไว้ใส่ของ แต่เดี๋ยวนี้มันมีพัฒนาการขึ้น
ง่ายๆ ที่มองเห็นคือเรื่องของอาหาร เมื่อก่อนอาหาร พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าเป็นปัจจัย 4 ในนัยยะของพระพุทธเจ้าคือการกินอาหารกินเพื่อดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพื่อสร้างคุณค่าบางอย่าง แต่ทุกวันนี้อาหารวิวัฒนาการเป็นศิลปะ อาหารคือศิลปะชนิดหนึ่ง ถ้ามองในทางเศรษฐกิจ มันเพิ่มมูลค่า แต่ถ้ามองในทางกิเลสมันซับซ้อนขึ้น จนทุกวันนี้มนุษย์กินอาหารคำหนึ่ง อาจจะบอกว่าเรากำลังซื้อศิลปะกินอยู่ก็ได้ ถ้ามองกิเลสมันใช่ มองแง่เศรษฐกิจมันใช่ เศรษฐกิจดี มีการพัฒนามากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจิตใจคนจะสูงขึ้น ตรงกันข้าม ทั้งที่การพัฒนามันดี ไม่ใช่ไม่ดี แต่ว่าถ้าคนความรู้น้อยเกินไป การพัฒนานั้นมันก็เหมือนดาบสองคม เหมือนปืน เหมือนมีด มีดมันมีประโยชน์ แต่ถ้าไปอยู่ในมือเด็กก็อันตราย คนทุกวันนี้เหมือนวุฒิภาวะเขาต่ำ ขาดสติปัญญา ความทนทานกิเลสเหมือนเด็ก แต่ในขณะที่เทคโนโลยีมันถาโถมเข้ามามากเกินไป มันเกิดการเปรียบเทียบตลอด หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเปิด เห็นคนนั้นคนนี้โพสต์ ก็คิดว่าทำไมเขากินดีอยู่ดีกว่าเรา ทั้งที่จริงๆ เขาก็อาจจะไม่ได้กินดีอยู่ดี เขาถ่ายเป็นบางมื้อ แต่ทุกมื้อที่เขาถ่ายมันมีคนคนหนึ่งอยู่บ้านแล้วก็มองว่าทำไมชีวิตฉันมันไม่ดีเหมือนคนอื่นเขา คนมันเปรียบเทียบตลอด
มีอยู่คำหนึ่งที่เขาบอกว่าถ้าคุณไม่เปลี่ยนตัวเอง โลกจะเปลี่ยนตามคุณ คำนี้มันเป็นเหมือนกับกิเลสครองโลก จริงๆ แล้วมนุษย์ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรนะ มนุษย์ต้องคุมจิตภายในตัวเอง แล้วภายนอกทำไป คุณเปลี่ยนตามสังคมทุกอย่าง คุณเปลี่ยนไม่ไหวหรอก กระแสระบบทุนปั่นให้คุณวิ่งเข้าไปอย่างนั้น แล้วมันมีคนอย่างนั้น เราเกิดมายังไม่ทันคิดอะไรได้เองเลย เด็กสมัยนี้เป็นอันตรายมาก เกิดมายังไม่มีกระบวนการคิดของตัวเองเลย ทุกอย่างมันเป็นการใส่เข้ามาในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในไอแพดหรือในอะไรก็ตามแต่ เร็วมากจนเขายังไม่ทันตั้งสติแล้วถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตที่มีความสุขคืออะไร เขายังไม่รู้คุณค่าความหมายของมันเลย รุ่นผู้ใหญ่กว่ารุ่นเรากว่าจะรู้คุณค่าความหมายที่แท้จริง มันยาวนานมาก คำนี้มันเป็นคำถามโง่ๆ แต่ความหมายมันกว้างไกลมาก บางคนคิดตลอดชีวิต แต่เด็กเหล่านี้เขาถูกแพ็กความหมายชีวิตมาให้เขาแล้วโดยเขาไม่รู้ตัว
สุดท้ายก็จะเกิดปัญหาตรงที่ว่า วันหนึ่ง การเติบโตทางจิตวิญญาณเขาถูกครอบงำ เขาไม่สามารถเป็นดอกบัวที่ผลิบานได้ เพราะโคลน ปลัก เลน เต็มไปหมด ต่างจากสมัยก่อนมีโคลนจริง แต่บางทีถ้าเราแข็งแกร่งมาหน่อยก็ยังมีพื้นที่ให้โผล่จนเหนือน้ำได้ แถมสมัยนี้นอกจากโคลนเยอะ ยังเหมือนโตในบ่อซีเมนต์ ถ้าดอกบัวสักดอกจะแทงขึ้นมาได้ ต้องเก่งมาก เพราะเขาต้องทนกระแสรอบข้าง ทันทีที่คนคนหนึ่งจะใช้ชีวิตพอเพียง จะมีเสียงด่าเขามาเลยว่า “เฮ้ย...พอเพียง อยากพอเพียง อยากจนๆ ก็เอาไป” มันจะมีอย่างนี้ จริงๆ แล้วคำว่าพอเพียงมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความจนเลย แต่พอเราจะทำอะไรที่มันดีงาม มันกลายเป็นว่าจะมีกระแสหนึ่งเข้ามา มันเลยทำให้คนไม่กล้าจะทำอะไรที่มันถูกต้องมากขึ้น ทั้งอะไรที่มันไม่ถูกไม่ควรเข้ามาเยอะ
• ไม่เหมือนก็ผิด ถ้าแตกต่างและสังคมไม่ยอมรับก็ผิด คือรูปแบบการดำเนินชีวิตของสังคมปัจจุบัน?
ยกตัวอย่างเหมือนคุณพ่อคุณแม่ สมัยนี้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความกลัว เช่นลูกเรา 3-4 ขวบ ยังวาดรูปไม่ได้ แต่ลูกคนอื่นเขาวาดได้แล้ว เราก็ส่งให้ไปเรียนเพื่อให้ต้องวาดรูปให้ได้ แต่จริงๆ แล้ว เด็กทุกยุคทุกสมัย 3-4 ขวบ ก็ไม่เคยวาดรูปกันเป็น แต่พอโตขึ้นมาก็ทำกันได้ทุกคน แต่นี่...เอ๊ย ทำไมลูกเราไม่เป็น ลูกคนนี้เขาเป็น การวาดรูปไม่เป็นตอน 3 ขวบมันไม่ใช่ความผิด แต่พ่อแม่กลัว เลยจับให้ไปวาดรูป เพื่อจะได้เป็น ทีนี้ก็กลายเป็นว่าลูกต้องแข่งกับสังคมโดยที่เขาไม่รู้อะไรเลย มันเหมือนคนที่ใช้ชีวิตเกิดมาแล้วงง สมมติว่ามีคนมาบอกคุณว่าไม่ต้องแข่งก็ได้ เราจะงง เด็กเขาจะงง ผู้ใหญ่บางคนก็จะงง เพราะเราถูกสอนมาว่าชีวิตคือการแข่งขันๆ แต่ถ้าลองไปศึกษา อย่างพระพุทธเจ้าชีวิตคือการแข่งขันหรือเปล่า ถามโสเครติส มหาตมะคานธี คนที่เขามีปัญญาทุกคนจะบอกว่าชีวิตไม่ใช่การแข่งขัน เพราะการแข่งขันสร้างความทุกข์ ชีวิตคือการที่คุณชนะตัวเองไปเรื่อยๆ อยู่กับตัวเอง พัฒนาตัวเองขึ้นทุกวัน ทั้งเรื่องงาน เรื่องจิตใจ หรือเรื่องทุกอย่าง
คนไม่เคยคิดว่าคุณภาพชีวิตคืออะไร จริงๆ ชีวิตที่ดีคืออะไร คุณต้องมีหน้าที่การงานที่ดี บ้าน รถ อะไรก็แล้วแต่ มีสุขภาพที่ดี อยู่กับครอบครัวได้ มีจิตอาสาทำให้คนอื่นได้บ้าง มีการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อ่านหนังสือที่มันเป็นความรู้ อีกอันคือได้ทำอะไรที่มันรื่นรมย์ อันนี้คือคุณภาพชีวิต ซึ่งคุณภาพชีวิต 6 มิติ มันควรทำทุกวัน ทุกวันต้องมี 6 มิติอยู่ในชีวิต วันหนึ่งเราทำงาน โอเคมันมีอะไรที่รื่นรมย์ในชีวิตเราบ้าง เราลองไปนับ น้อยมากที่จะมี แล้วต่อมา นับอีก มันมีอะไรที่ครอบครัวเราบ้าง สุขภาพเรา การตอบแทนคนอื่น สังคม โลกใบนี้ มันก็ไม่มี พัฒนาจิตให้จิตเรามันสูงขึ้นไป ก็ไม่มี แสดงว่าหนึ่งวัน เราทำเพื่อเรื่องงานเราอย่างเดียว แล้วเราบอกว่าถ้าเราทำงานทุกอย่างสำเร็จ เราจะมีทุกอย่าง ทุกมิติ ทุกอย่าง แต่เราไม่เคยคิดเลยว่า ชีวิตมนุษย์มีเวลา 24 ชั่วโมง จำกัด แล้วทุกอย่างที่พูดมา มันทำยากทั้งหมด มันไม่สามารถให้เวลาไปอันหนึ่งอันใดได้ ฉะนั้น ชีวิตที่ถูกต้อง ในหนึ่งวันคุณต้องทำทุกช่อง
คือเวลาคนเราคิด คนเราคิดว่าใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ แล้วตอนแก่จะปลง จริงๆ จิตใจเราเหมือนผ้าขี้ริ้ว เราเช็ดทุกวัน แต่เราไม่เคยซักมัน แก่ไม่ใช่ว่ามันยิ่งปลง ความคิดที่ว่าอายุยิ่งมาก ยิ่งปลง ไม่ถูกต้องเสมอ เผลอๆ อาจจะหนักกว่าเดิม เพราะเขาถูกโลกบีบให้เขาเป็นคนตกโลก แต่อัตตาเขาเท่าเดิม เขาก็จะดีดดิ้นกับลูกหลาน ทำตัวขวางโลก ว่าลูกว่าหลาน เข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ สิ่งนี้มันเกิดจากว่าเขาไม่ได้ขัดเกลากิเลสจริงๆ จิตใจคนเป็นไปตามประสบการณ์ เด็กที่เขามีวุฒิภาวะ ที่ถูกเลี้ยงมาแบบจิตตื่นรู้ เด็กอายุ 7 ขวบ อย่างพระราหุลสามารถบรรลุได้ อายุ 7 ขวบเป็นวัยที่วุฒิภาวะของมนุษย์เต็มแล้ว ที่เหลือคือการทำซ้ำทั้งหมด เพียงแต่เปลี่ยนเรื่อง ตอนเด็กเคยอิจฉาเพื่อนที่เรียนได้ที่ 1 โตมาก็เปลี่ยนเรื่องอิจฉาแค่นั้นเอง ใส่ๆ เข้าไป เพราะฉะนั้น คนที่วุฒิภาวะถูกตั้งมาในทางที่ถูก พระพุทธเจ้าเรียกว่า สัมมาทิฐิ หรือความเห็นที่ถูกต้อง
มนุษย์นี่ต้องรีบตั้งให้เร็ว ความคิดที่มันถูกต้อง ต้องรีบโปรแกรมเข้ามาเร็วๆ แล้วสมมติว่าคุณอายุ 30 ปี คุณต้องรู้ว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไร พอคุณเอาความรู้ตรงนี้ เอาสัมมาทิฐิของพระพุทธเจ้ามาเทียบว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไรแล้ว คุณต้องเขี่ยสิ่งที่ไม่ตรงกับที่ท่านกล่าวออกไปก่อน พยายามเขี่ย แล้วก็พยายามเบี่ยงมาเดินทางนี้แล้วใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในการทำให้มันตรงกับความเป็นจริง คุณก็จะเดินไปในทิศทางที่มันดี มนุษย์ทุกคนต้องรู้สัมมาทิฐิให้เร็วที่สุด เพราะไม่อย่างนั้น คุณจะตั้งต้นไม่ได้เลย เปรียบง่ายๆ ที่ดิน คุณเป็นที่ดิน ที่มีแต่ขยะ คุณจะรู้ก็ต่อเมื่อคุณต้องได้แปลนบ้านมาเร็ว เพื่อที่คุณจะเคลียร์ขยะออกแล้วเริ่มสร้าง แต่มนุษย์ทุกวันนี้ไม่ได้แปลนบ้านมาก่อน มีแต่โครงของชีวิต
• ด้วยเหตุนี้หรือเปล่า จึงมีโอกาสพังง่าย เมื่อเจอปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด
เพราะทุกคนไม่รู้ จริงๆ ชีวิตมันคือสัจธรรมสูงสุด ชีวิตทุกคนเหมือนกัน อย่างพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งมนุษย์แต่ละคนก็จะคิดไม่เหมือนกัน บางคนคิดว่าชีวิตคือการท่องเที่ยว ชีวิตคือความสุข คือการให้ นี่คือเราคิดเอง ไม่ใช่แก่นชีวิตจริงๆ นั่นคือเราไม่รู้จักชีวิตตามความเป็นจริง ขันธ์ 5 คืออะไร ขันธ์ 5 คือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารวบรวมขึ้นมา เช่น ฝนตกจะมีเมฆ มันเป็นของมันอยู่แล้ว แล้วท่านก็รวบรวมสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์จำแนก ความสุขคืออะไร คือได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ทีนี้ ถ้าตอบแบบนี้เราก็จะทำอย่างนี้ ทุกคนบอกว่าความสุขของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าตอบในแบบความรู้ทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าความสุขมันคืออารมณ์ชนิดหนึ่งที่มันโปร่งโล่งสบาย เย็น ถ้าเราสัมผัสอารมณ์นี้เมื่อไหร่คือความสุข ถ้าตรงกันข้าม อึดอัด มืดมน บีบคั้น เค้น นี่คือทุกข์ เราไปสังเกตได้เลย ทุกชีวิต ทุกภาษา ความสุขความทุกข์เป็นอย่างนี้หมด
ทีนี้ความสุขมันมีหลายระบบ ระดับแรกท่านเรียกว่า กามสุข คือ กิน ถ่าย มีเพศสัมพันธ์ นอนพักผ่อน ทุกอย่างเงินซื้อได้ สุขที่สองคือสุขใจ เช่นทำให้พ่อแม่มีความสุขหรือท่องเที่ยวชมวิวเห็นพระอาทิตย์ขึ้น การได้ทำในสิ่งที่ชอบ สุขที่สามคือสุขจากสมาธิ เป็นความสุขรูปแบบหนึ่ง สุขที่สี่คือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปนานๆ ให้สังเกตเวลาคุณเพลินกับการทำอะไร จะรู้สึกว่าแทบหายจากจักรวาลชั่วคราว มันจะหายๆ ไปเลย มารู้ตัวอีกที 4-5 ชั่วโมงผ่านไปแล้ว สุขสุดท้ายคือสุขจากวิมุตติ (ความหลุดพ้น) ความสุขมันมีแค่นี้ ไม่ว่าจะพูดไปกี่เล่มกี่ตำรามันมีแค่นี้ แล้วมันมีวิธีเข้าถึงทั้งหมด
กามสุข ถ้าเสพบ่อยๆ พุทธเจ้าท่านบอกว่าความอยากจะมากขึ้น เหมือนเสพยาบ้า วันนี้ 1 เม็ด พรุ่งนี้ต้อง 2 เม็ด อาทิตย์หน้าต้อง 5 เม็ด มันจะเพิ่มมากขึ้น กิเลสจะฟูขึ้นมา แล้วจะมีความชั่ว จิตใจจะต่ำลงเรื่อยๆ สองที่บอกว่าสุขใจ ความรัก คุณรักอะไร รักใคร คุณมีความสุข แต่ทำให้เกิดการยึดติด คุณรักเขา คุณจะยึดติดเขา คุณจะเป็นทาสเขาในบางสิ่งบางอย่าง คุณรักงานของคุณมาก คุณจะยึดติดงานมาก สุขอีกอันที่บอกว่ามีสมาธิกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ไม่มีข้อเสียเลย จะเสียอย่างเดียวคือสุขมันจะหายไปตอนที่เลิกทำสมาธิหรือเลิกทำ และท้ายที่สุด สุขจากวิมุตติ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นี่คือสัจธรรมความจริง ชุดความรู้อันนี้ มนุษย์ทุกคนควรจะรู้ เพราะจิตเหมือนต้องงับความสุขอันใดอันหนึ่ง ไม่ต่างจากเรื่องการกิน ถ้าไม่มีเงินกินของแพง ก็ต้องกินของถูก แต่ถ้าได้มีเงินกินของแพงแล้ว มันก็จะคายของถูกออกมาเอง ก็จะไปกินของดีๆ
คนที่รับความสุขแบบหยาบ ให้เขาโลภน้อยลง ทุกข์จะน้อยลง คือให้เขาเสพความสุขแบบละเอียด แล้วเขาจะต้องการสุขแบบหยาบๆ น้อยลง กามสุขจะน้อยลงออโตเมติกเลย สมมติว่าคนมาทำสมาธิทุกวัน เขาจะต้องการความสุขจากการไปเที่ยววิ่งตามความโลภหรือกิเลสน้อยลง อย่างเวลาที่เรามองพระป่าเหมือนกัน นั่นเพราะท่านเสพแบบละเอียด จึงต้องการความหยาบน้อยลง แต่ถ้าพระท่านไหนไม่ได้ปฏิบัติ พระก็จะมากินของหยาบ นี่เขาเรียกว่าสัจธรรม
• คือมีวิธีการปฏิบัติ การทำ การฝึก ที่เราสามารถทำได้หากเข้าใจ
ใช่...แล้วพระพุทธเจ้าก็สอนว่าความคิดมีกี่แบบ มีกี่หมวด หมวดความคิดที่เราเรียกว่าความคิด วิธีที่ควบคุมมันเป็นอย่างไร จะอยู่เหนือมันเป็นอย่างไร ความทุกข์มีกี่แบบไล่มา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้ามนุษย์ไม่รู้ เราจะคิดเองไม่ได้ ยกตัวอย่าง เคยได้ยินที่พูดกันว่า "เราไม่มีเรา แท้จริงไม่มีเรา" เราจะไม่มีวันคิดสิ่งนี้ออก เพราะว่าเวลาเราคิดคราวใด เราก็มีเราทุกที เวลาเราคิด มันจะมีเราเป็นผู้คิด แต่พุทธเจ้าท่านฝึกสติจนสติมันเห็นความคิดแตกมาเป็นส่วนๆ จนไม่มีตัวท่านอยู่อย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการนี้ ท่านคิดได้เป็นคนแรก เพราะฉะนั้น ความรู้ในพระพุทธศาสนาหลายๆ อย่าง เราจะไม่สามารถคิดได้ด้วยปัญญามนุษย์ เราเหมือนกับปลาที่ว่ายน้ำ แล้วมีนกบินมาบอกว่าลมเย็นนะ เราจะไม่เข้าใจลมเย็นคืออะไร เพราะมันเป็นเรื่องของมิติทางจิต
แต่มนุษย์มีหน้าที่รู้ให้เร็วที่สุดว่าชีวิตคืออะไร แล้วใช้ชีวิตที่เหลือทั้งหมดทำให้ความจริงนั้นสำเร็จ ความจริงนั้นสำเร็จคืออะไร คือมนุษย์แต่ละคนมีหน้าที่ยกระดับจิตวิญญาณตัวเองให้อยู่เหนือสภาพแวดล้อมทุกอย่างในชีวิต ทุกคนมีหน้าที่ยกให้ได้หนึ่งตัน ปัญหาทุกย่างในโลกมันจะไม่มีทางหนักกว่า 1 ตัน จิตคุณจะอยู่เหนือสถานการณ์ทั้งหมด แต่ทีนี้มนุษย์จะชอบเปลี่ยนสถานการณ์ พยายามต่อสู้สถานการณ์ไปตามเหตุปัจจัย ตามหน้าที่ แต่จริงๆ จิตต้องยกให้มันอยู่เหนือ อันนี้คือหน้าที่มนุษย์
หลอมรวมผสาน
สรรพสิ่งล้วนเกื้อหนุน
"ภายนอกทำหน้าที่ ภายในหมั่นพัฒนา"
หลังลัดเลาะเส้นทางการเปลี่ยนผ่านจากชีวิตนักแต่งเพลงนักแต่งธรรมะและศึกษาอย่างจริงจังถึงขนาดเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมะ การใช้ชีวิตด้วยธรรมะ อีกสิ่งหนึ่งซึ่งเขาย้ำ คือการหลอมรวมผสมผสาน ระหว่างธรรมกับชีวิตให้เข้ากัน
“เคยได้ยินคนเถียงกันสองคน คนหนึ่งบอกว่าเข้าวัดปฏิบัติธรรม ต้องใส่ชุดขาวถึงจะดี อีกคนหนนึ่งบอกว่านี่แค่เปลือก จะมาอะไรหนักหนา ธรรมก็คือธรรม จริงๆ มันผิดทั้งสองอัน คือถ้าในเมื่อมันเป็นเปลือกก็ใส่ไปสิ จะได้ไม่ต้องทะเลาะกับเขา ใส่ไปให้มันเป็นระเบียบ เขาอาจจะอยากให้มันเป็นระบบ ก็ใส่ไป แล้วก็ปฏิบัติไป ส่วนคนที่บอกว่าธรรมะเป็นชุด คุณก็อย่าไปยึดติดอะไรมันมากเลย คนเขามาปฏิบัติธรรม
“คือธรรมะมีหลายรูปแบบ อย่างที่กล่าวมาก็มีหลากหลายแบ่งย่อยแยก ฉะนั้นธรรมะต้องเข้าไปให้ถึงแก่นของมัน แล้วจะพบว่ามันหลอมไปได้ทุกอย่าง”
วิทยากรและนักเขียนแนวธรรมะยกตัวอย่างกรณีศึกษา ก่อนจะอธิบายเสริม
“ธรรมะหลอมกับทุกอย่าง ทั้งเรื่องงาน เรื่องเพลง เพลงรักแต่งได้ไหม เราก็ศึกษาคน คนเราเวลาจะรักกันเป็นอย่างไร ก็พบว่าการที่เราแต่งเพลงรัก หรือแต่งหนังสือ เราก็ยังเขียนเรื่องความรักอยู่เลย คนเขาบอกว่าอยากมีความรักแท้ ธรรมะสอนว่าความรักแท้มันไม่ใช่เรื่องความสัมพันธ์ รักแท้มันต้องผุดขึ้นเองในตัวเอง ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ฉันเธอ แต่มันเป็นเรื่องที่เราต้องสร้างขึ้นมาของเราเอง อย่างมหาตมะคานธี ท่านมีรักแท้ ท่านผุดของท่าน แต่องค์ประกอบที่เข้ามาก็คือจะได้รับจากท่านไป แต่ไม่ได้แปลว่าท่านจะต้องมีความสัมพันธ์ก่อนมันถึงจะผุดขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่สร้างมาจากความเมตตาของตัวเอง แล้วคนที่เป็นอย่างนี้ ก็มีรักแท้กับทุกคน อันนี้คือธรรมะในมิติที่ลึกซึ้งมากกว่า มันเหมือนเวลาเขาว่าเรา บางทีเราคิดว่าเขาไม่ดี แต่จริงๆ ถ้าปฏิบัติ ถ้าเพ่งเข้าไปในจิตเรา จิตเรามันไม่ดีต่างหาก เพราะฉะนั้น ทุกอย่างอยู่ที่จิต เราต้องจัดการที่จิตเรา ไม่ใช่จัดการที่เขา จัดการที่เขาคือคุยธรรมดา แต่จัดการที่เราคือเรื่องจิตเรา มันเป็นการเฝ้ามองตัวเองตลอดเวลา สะสางขยะในใจเราตลอดเวลา แล้วพอทำไปถึงระดับหนึ่ง มันก็เกิดความสนุก เกิดความย้อนแย้งบางอย่างกับการอยู่ในสังคม แต่มันไม่ใช่ขัดแย้ง
“ชีวิตเราก็จะดำเนินควบคู่กันไป มีหน้าที่ทำ เราทำ ทำเต็มศักยภาพ แต่ภายในคุณต้องปล่อยวาง อย่างไปบรรยาย เราอาจจะอยากพูดให้มันดีที่สุด ก็พูดให้มันดีที่สุด แต่ถ้าเขาฟังแล้วไม่ชอบก็ต้องปล่อย คือเท่านั้น เราไปเตือนใคร เราก็เตือนให้ดีที่สุด ถ้าเขาไม่ฟัง เราก็ปล่อย หรือเขียนงานให้ดีที่สุด ขายไม่ได้ก็ปล่อย แต่ไม่ใช่ปล่อยวางแบบไม่เข้าใจ ทิ้งทุกอย่าง ไม่รับผิดชอบ หน้าที่ทางโลกมันมีภายในภายนอกตลอดเวลา ภายนอกทำไป ภายในวาง ต้องจัดให้บาลานซ์ ทำไปแรกๆ อาจจะงงกับตัวเอง แต่ทำให้เต็มที่ มันก็จะออกมาดี เนื่องจากปกติมนุษย์ถูกฝึกมาอย่างนี้ เวลาทำอะไรหนักๆ ทุ่มเทมากก็คาดหวังมาก เป็นวิถีทางไปตามกิเลส แต่คนที่ปฏิบัติธรรม เขาทำเต็มที่แล้ว เขาก็พยายามปล่อยวางให้มันมากสุด เราก็ต้องเล่นกับใจตัวเองไปเรื่อยๆ”
ยิ่งรู้แง่มุมธรรมะอย่างแท้จริง ยิ่งง่าย
ยิ่งนำมาปรับใช้ ยิ่งสามารถทำได้ทุกเวลาและสถานที่
“ถ้าคนที่จะรู้ธรรมะ มันก็จะง่าย อย่างไปบรรยาย คนรุ่นใหม่เขาก็มีความรู้ แต่อาจจะไม่ถึงแก่น จึงยากที่จะไปพูดให้เขาคลิกว่าธรรมะคือการนำไปใช้ได้จริงๆ อันนี้ยาก เราก็ต้องเป็นแบบที่เราเป็น ไม่ต้องเป็นพระ ไม่ต้องแต่งตัวเรียบร้อย สบายๆ เขาจะได้รู้สึกว่าเราก็เหมือนเขา เราเหมือนกัน แล้วคุยด้วยภาษาพูดทั่วๆ ไป แต่ที่สำคัญคือเราต้องมาประมวลเอามาใช้เองก่อน ไม่เช่นนั้น เราก็จะไปบอกเขาไม่ได้ เราก็จะงง คือตัวเราต้องรู้ธรรมะ มันง่าย คนทุกวันนี้รู้ธรรมะกันเยอะมาก แต่ถ้าไม่สามารถหลอมธรรมะเข้ากับชีวิตได้ ธรรมะก็คือแค่ความรู้ ยังไม่ใช่ปัญญา เป็นแค่ความฉลาดทางทฤษฏี
“พระพุทธเจ้าบอกว่าความรู้มีระดับที่เรียกว่า “สุตะมะยะปัญญา” สุตะคือการอ่าน การฟัง การพูดคุยกัน การเรียน ระบบการเรียนต่างๆ อีกอันคือ “จินตามะยะปัญญา” คือคิด พอรู้เสร็จคุณมาประมวลผล แต่ส่วนใหญ่คนจะหยุด หยุดอยู่แค่นี้ หยุดอยู่แค่สองอัน ไม่ไปสู่ “ภาวนามะยะปัญญา” การเอามาทำมาปฏิบัติจนจิตมันเข้าใจ จิตเข้าใจกับความรู้ความเข้าใจมันต่างกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าวันนี้เรานั่งคุยกันเรื่องผี มีศาสตราจารย์มาพูดเรื่องป่าช้าไม่น่ากลัว 3 วันติดกัน แล้ววันที่ 4 ปล่อยให้ไปตั้งแคมป์กลางป่าช้าวัดดอน คุณจะกลัวไหม ก็กลัวอยู่ดี แล้วทำไมความรู้มันไม่ทำให้ไม่กลัว นั่นคือสมองกับจิต สมองเราเรียนธรรมะกันได้หมด แต่ถ้าไม่พาจิตเข้าไปรู้ มันก็ช่วยอะไรไม่ได้ ธรรมะมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร ทุกวันนี้คนจะเรียนธรรมะกันในแง่ปรัชญา เรียนไว้คุยกัน ซึ่งมันไม่ได้มีประโยชน์อะไร มันสู้ตาสีตาสาชาวบ้านที่เขาเข้าวัดนั่งสมาธิไม่ได้ มันวัดกันตรงนี้มากกว่า ธรรมะในใจ ไม่ได้วัดกันที่ความรู้ ต้องหลอมมันเข้ามา”
“วิธีหลอม ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของพระพุทธเจ้า ศีลคนชอบคิดว่ามันเป็นข้อห้าม จริงๆ อยากให้เปลี่ยนแนวคิดใหม่ ให้คิดว่าศีลมันคือความท้าทายการใช้ชีวิต คือทำ 5 ข้อให้ได้ มันไม่ใช่เรื่อง่าย ถ้าเราท้าทายตัวเองให้ทำได้ อย่างเราจะทำมาหากินยังไงโดยไม่ให้เราโกหก บิดเบือนความจริง มันทำยาก ยิ่งถ้าคนที่อยู่ในสังคมนี้ อาชีพที่จะขาย เป็นเซลส์ เราจะทำอย่างไร ไม่โกหก บิดเบือน แต่ขายได้ มันทำยาก คนเลยโกหกบิดเบือน แต่ถ้ามีคนคนหนึ่งตั้งว่าศีล 5 คือความท้าทาย จะเอาให้ได้ ทำให้ได้ มันจะเกิดความสนุก เราไม่ได้มองศีลเหมือนคนแก่ กินสุรานิดๆ หน่อยๆ ผิด ในสายตาผม คนจิบไวน์ นิดๆ หน่อยๆ ผมไม่ได้มองว่านี่คือการผิดศีลร้ายแรง มันมองที่ตัวแก่นแท้ว่าเขาขัดเกลาตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน
“อีกอย่างที่อยากให้เปลี่ยนแนวคิดคือ สมาธิกับการวิปัสสนา”
วิทยากรนักเขียนหนุ่มกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการกระทำเดิมที่สั่งสมของการนั่งสมาธิและวิปัสสนา ต้องอยู่ในสถานที่สงบ เงียบ ไร้ซึ่งสิ่งรบกวนใดๆ
“คือถ้าคุณคิดว่าเป็นการนั่งอยู่กับที่แล้วเมื่อไหร่มันจะได้ทำ ก็ไม่ได้ทำ มันก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ถ้าครีเอตให้มันมาอยู่ในชีวิตได้ หลอมให้มันเข้ามาว่าคุณจะดีไซน์อย่างไรให้คุณนั่งดูลมหายใจได้ขณะที่ทำงาน ขับรถ ให้มันเข้ามา ในเรื่องศีล สมาธิแล้วแพ็กมัน สองอันนี้แล้วใส่เข้าไปในทุกกิจกรรมในชีวิตของคุณ สมมติว่าผมจะขายหนังสือเล่มหนึ่ง มีคนถามว่าดีไหม ผมจะพูดอย่างไรให้มันตรง ไม่เวอร์ แต่รู้สึกว่ามันดี ให้เขาซื้อ หรือไปบรรยาย จะพูดอย่างไรให้ไม่โกหก คือมันเป็นความท้าทาย ถ้าเราทำสองสิ่งนี้ได้ สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็คือ
“หนึ่ง เราจะเป็นคนกล้าพูด เพราะคนที่ไม่กล้าพูดคือเขาทำผิด กลัวคนโจมตี ถ้าคนคนหนึ่งไม่ได้ทำผิดอะไร จะไม่กลัวอะไร มีความกล้าหาญเพิ่มขึ้น สอง เวลาเราทำ เราสำรวจตัวเอง เราจะรู้สึกว่าตัวเราเลวจังเลย ไม่ใช่ว่าเราดี สำรวจไปจะพบแต่ความชั่วช้าสามานย์ของตัวเอง เวลาคนอื่นเขาทำอะไร เราจะได้ไม่ไปด่าเขาเยอะ มันเหมือนตัวเราก็ไม่ได้ดีอะไร เราจะเห็นคนอื่นเขาเป็นเพื่อนมากขึ้น แล้วมันจะเกิดสติปัญญา มันจะมาจากสมาธิ ทุกอย่างมันจะมาพร้อมกัน มันเหมือนเราหาเงินได้เยอะขึ้นด้วย เพราะว่าประสิทธิภาพการทำงานเรามันเยอะขึ้น ในขณะที่กิเลสเราลดลง ช่องว่างระหว่างเงินกับสิ่งที่เราอยากจะซื้อมันห่างกันเยอะ เราก็กลายเป็นคนที่ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน
“ถ้าเราหาเงินอย่างเดียว กิเลสเราก็ท่วมไปด้วย กิเลสมันเหมือนหลังคา คุณจะไม่มีวันโตสูงกว่าหลังคา เงินที่คุณมี ไม่มีวันสูงกว่าหลังคา คุณโตแค่ไหน หลังคามันสูงขึ้นตามไป เพราะฉะนั้น เราต้องดับความต้องการของเรา ขณะที่ประสิทธิภาพเราเพิ่มขึ้น แล้วมันก็เพิ่มเร็วขึ้น ชีวิตมันสมบูรณ์ วันนี้เราโกรธเรื่องนี้ วันหน้าเราต้องไม่โกรธ หรือคนนี้ไม่ชอบเรา เราอยากชนะตัวเอง เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เฉยๆ กับเขาให้ได้ ทำงานร่วมกันได้ โดยรู้ว่าเขาไม่ชอบเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ทำง่ายๆ มันต้องต่อสู้กับตัวเอง ต่อสู้กับตัวเองไปเรื่อยๆ จิตมันก็อิสระไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่อยู่ภายใต้อารมณ์ของใคร มันไม่อยู่ภายใต้กิเลส วัตถุเงินทองทำอะไรเราได้น้อยลงไปเรื่อยๆ มันก็มีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ
“ไม่อย่างนั้น เราก็ไม่สามารถพบตรงนี้ได้ เพราะเรายังไม่ทันอยากได้อยากมี มันมีมากระตุ้นแล้ว เรายังไม่ทันคิดเลยว่าชีวิตเรามันดีหรือไม่ดี มันมีคนมาบอกแล้วว่าชีวิตเรามีปัญหา ทุกวันนี้ ระบบการขายทุกอย่าง หนึ่ง เขาจะพูดอะไรก็ตามให้รู้สึกว่าชีวิตคุณมีปัญหา หรือไม่ก็ความเป็นคุณไม่พอแล้วอีกต่อไป บางทีเราอาจจะมีความสุขของเราอยู่แล้ว บางทีเราพอ เรายังไม่ทันคิดว่าเราพอไหม แต่มีคนเดินมาบอกว่าเรายังขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องพัฒนาตัวเอง”
สิ่งไม่ดีกลายเป็นสิ่งที่ดี
จากผู้ขายกลายเป็นผู้ให้
การขอบคุณกลายเป็นการค้า
คือสิ่งที่ส่อเค้าแววซับซ้อนจนอยากจะมองเห็นความจริง
“เหมือนคุณจ่ายเงินให้ผม แต่ผมให้คุณ แล้วคุณก็งงผมให้คุณหรือคุณให้ผม เหมือนการขอบคุณกลายเป็นการค้า ผมทำอันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการขอบคุณคุณ แต่คุณต้องมาซื้อผมนะ ซึ่งมันผิด ทุกอย่างมันกลายเป็นการซื้อขายกันหมดในโลกนี้ วิชาความรู้เอย จนมันมีคำว่า "ของอะไรก็ตามหรือคุณมีสินค้าอะไรก็ตาม ถ้าคุณให้เขาฟรีๆ มันกลายเป็นทำให้ระบบรวน" กลายเป็นว่าการที่คุณให้อะไรใครฟรีๆ เป็นการทำลายระบบแล้ว คือจริงๆ แล้ว มันเป็นการเมตตา แต่การเมตตานี่ทำลายระบบ ที่เขากำลังเกิดการค้าขายกันอยู่ ระบบพวกนี้มันส่งต่อกันมา ระบบพวกนี้เป็นการทำให้ทุกคนมันเชื่อแบบนี้กันหมด แล้วกระจายความเชื่อแบบนี้ไปสู่สังคม
“ฉะนั้น ยิ่งสิ่งเร้าเยอะ เรายิ่งต้องดูตัวเองมากๆ เพราะเราไปเปลี่ยนโลกไม่ได้ มันเป็นแบบนี้ แต่มันอยู่ที่เราจะรักษาใจตัวเองอย่างไร ระบบอะไรทุกอย่างมันก็เป็นไปของมัน เราทำได้แค่ว่ารู้ว่าความพอดีคืออะไร อยู่ตรงไหน หน้าที่ที่แท้จริงอยู่ตรงไหน ของส่วนใหญ่ที่คุณมี บางทีไม่ได้มีเพื่อตัวเอง มีเพื่อให้คนอื่นมองว่าเราดี เราพิเศษ ถ้าเป็นอย่างนี้มันเหนื่อย มันคือการที่คุณก็ต้องทำใจทำไป แต่ลองนั่งคิดดูสิว่าทำไม ตอนเด็กๆ เรามีเงินซื้อของเล่น เรามีความสุขแล้ว แต่ทุกวันนี้ เรามีเงินซื้อของเล่นตั้งเยอะแยะ เราไม่มีความสุข มันแปลว่าความต้องการของเรามันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามันมีมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถหยุดความต้องการได้ คนคนนั้นก็จะไม่มีวันเป็นหนี้ ไม่มีอะไรแล้ว เมื่อเขาไม่เป็นหนี้ เขาทำงาน ตั้งใจทำ เงินทองเพิ่มขึ้นมา เขาก็รวย จะใช้ จะเอาไปให้คนโน้นคนนี้ก็ได้
“สรุป ถ้ากิเลสน้อย ความสามารถสูง ยังไงก็อยู่ได้ เมื่อก่อนเรามีความเชื่อว่า ต้องตั้งใจขยันทำงานหนัก ถึงจะมีชีวิตมั่นคง แต่คนทุกวันนี้ไม่ต้องการทำงาน แต่ต้องการให้เงินไหลเข้ามา มันเกิดความคิดอย่างนี้ แล้วเด็กรุ่นใหม่ๆ เป็นอย่างนี้หมด ไม่ได้มองหางานที่เป็นงาน ไม่ได้มองหางานที่ต้องทำ แต่มองหางานที่ไม่ต้องทำ มองมุมหนึ่งมันเป็นความฉลาดก็ใช่ แต่มองมุมหนึ่งมันเป็นความคิดที่ไม่ถูกไหม บางทีมันก็ไม่ถูก เพราะงาน ถ้าเรามองว่ามันเป็นแค่เครื่องมือปั๊มเงิน ก็คิดต่ำไปหน่อย งานมันคือวิถีชีวิต ความรู้สึกผม ถ้าถูกลอตเตอรี่พันล้าน ผมก็ต้องเขียนหนังสือต่อไป เพราะมันไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว คือคนถ้าทำอะไรแล้วมันเป็นสิ่งที่ชอบทำ ก็เป็นสุข พอเป็นสุขก็ทำให้พร้อมปล่อยวางภายใน เราเป็นคนกำหนด จัดระบบสมาธิได้ เราก็เข้าใจชีวิต”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วชิร สายจำปา
“พศิน อินทรวงค์” อดีตนักสร้างความสุขด้วยเนื้อหาทำนองเพลง ที่พบปัญหาชีวิต คิดไม่ตก เป็นนักสร้างความสุข แต่ภายในใจหาได้สุขโดยแท้จริง และ ณ จุดนั้นได้ผลักดันให้เขาเริ่มต้นค้นหา ค้นคว้าความรู้ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ
ณ ตอนนี้ เราหรือใครคงไม่อาจกล่าวได้ว่าเขาบรรลุในศีลาจารวัตรถึงขั้นใด แต่ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีมานี้ ในวัยเพียง 28 เขาได้ลงลึกศึกษาและนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง รวมทั้งแบ่งปันแก่นสารความคิดเพื่อชีวิตที่ดีมีความสุข ผ่านงานเขียนในฐานะคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารหลายเล่ม หนังสือพ็อกเกตบุ๊กอีกหลายสิบเล่ม รวมทั้งงานบรรยายในฐานะวิทยากร...
“ธรรมะ” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ปฐมบทจากนักแต่งเพลงสู่นักแต่งธรรม
“นักแต่งเพลงเป็นความฝัน ความอยาก ตั้งแต่สมัย ม.ปลาย ก็เริ่มจากซ้อม หัดเล่น แต่งเพลงแล้วเอาไปให้เพื่อนฟัง ทีนี้เพื่อนบอกว่าเพราะดี เราก็เลยฝันตั้งแต่ตอนนั้นว่าจะเป็นนักแต่งเพลง ก็แต่งเพลงเอง ตั้งแต่เล่นกีตาร์เป็นไม่กี่คอร์ด”
นักเขียนและวิทยากรแนวธรรมะ ในวัย 28 ปี กล่าวย้อนถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ในเวลาต่อมา ชีวิตบ่ายหน้าจาก “ทางโลก” สู่ “ทางธรรม”
“แต่ตอนนั้นก็ไม่รู้หรอกว่าแต่งเพลงแล้วมันจะเอาไปทำมาหากินได้ เราอยากเป็น เราก็แต่ง แค่นั้น แต่ทีนี้การจะแต่งเพลงได้เราต้องมีภาษาในคลังมาเขียนเนื้อเพลง ต้องมีพล็อตเรื่อง ก็ทำให้เราต้องอ่านหนังสือเยอะมาก อ่านทุกแนว เพื่อให้ได้ไอเดีย ทำให้เราติดการอ่านหนังสือ อีกทั้งคุณพ่อก็ปลูกฝังให้เป็นคนอ่านหนังสือ และที่บ้านหนังสือก็เยอะมาก
“ช่วงนั้น ผมก็แต่งเพลงไว้เยอะเหมือนกัน จนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 4 ที่อัสสัมชัญ (เอแบค) บังเอิญว่ามีการประกวดแต่งเพลงในคลาสที่เรียนแต่งเพลง คัดจากประมาณ 200-300 คน จนเหลือประมาณ 50 คน แล้วเราได้ ก็เลยตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัย ไม่เรียนต่อ เพราะส่วนหนึ่งเราเกเร ไม่ตั้งใจเรียนเท่าไหร่ด้วย และเราก็รู้สึกว่าการเป็นนักแต่งเพลง รายได้มันเยอะ แถมมีงานอื่นๆ อีกด้วย ก็มุ่งมาทางนี้เลย
“ฝึกหัดเป็นนักแต่งเพลงอยู่ครึ่งปี ก่อนจะก้าวเข้ามาเป็นนักแต่งเพลงประจำ ตอนนั้นเหมือนเราจะเป็นนักแต่งเพลงในค่ายใหญ่ที่อายุน้อยสุดด้วย คือประมาณ 22 ปี เพลงส่วนมากที่แต่งก็อย่างแต่งให้วง UHT เพลงคำว่ารัก วงอินคา แล้วก็ศิลปินเดี่ยวก็มี แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพลงที่ไม่ใช่เพลงโปรโมต”
แต่ก็เรียกได้ว่าชีวิตกำลังดำเนินไปในทิศทางที่วาดหวัง จนกระทั่งเกิดวิกฤต “เทปผี” ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการ อุตสาหกรรมอยู่ลำบาก นักแต่งเพลงหลายต่อหลายคนล้มหาย ซึ่งพศินก็คือหนึ่งในนั้น
“นอกจากเรื่องเทปผีแล้ว มันก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่าง ก็ยอมรับว่าอกหักเล็กน้อย เพราะเราใช้ความตั้งใจเป็นระยะเวลายาวนาน พอได้มาเป็น ก็ดันมีเรื่องนี้เข้ามาอีก ตอนนั้นก็เลยเบื่อ ลาออก แล้วมาเปิดบริษัทรับผลิตสื่ออย่างพวกโบรชัวร์ วิดีโอ พรีเซนเทชัน แต่งเพลงองค์กรให้กับบริษัทเล็กใหญ่ต่างๆ กำลังรุ่งๆ เพราะตอนแรกยังไม่มีคนมาทำเท่าไหร่ คนรู้จักเพลงองค์กรน้อย ธุรกิจมันก็ดีมาก เพลงหนึ่งบางทีตกแสนกว่าบาทเลย บางเดือนมาสองสามเพลง บางเดือนนี่แต่งจนทำไม่ทัน แล้วพอทำไปสัก 3 ปีกว่าๆ วงการเพลงที่เจอเทปผีก็ออกมาทำกันบ้าง ก็ตัดราคากันฉับๆ
“ตอนนั้นผมก็อายุประมาณ 27 มีบ้าน มีรถ แต่ก็ไม่ร่ำรวยอะไร แค่เราพึ่งตัวเองได้แล้ว เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว เป็นเจ้าของบริษัท มีเงินหมุน มีอะไร มีลูกน้อง จริงๆ มันก็มีความสุขดีตามที่ควร แต่พอเราทำงานตรงนี้ จิตเราไม่ได้เป็นอิสระ จะรู้สึกตลอดว่าทำไมเวลาเราไปส่งงานลูกค้า ต้องคิดกลัวอยู่ตลอดเวลา คิดล่วงหน้าว่ามันจะต้องเป็นอย่างไร ความกลัวที่ว่านี้อาจจะเป็นเรื่องลึกซึ้ง คือมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความกลัว กลัวสายตาที่คนมองว่าเราจะเป็นอย่างไรในสายตาเขา เช่น สมมติว่าเราอยู่บ้าน เราแต่งตัวธรรมดา เราไม่สน เราก็มีความคิดว่าทำไมเราออกไปข้างนอก เราต้องแต่งตัวให้มันดี อันนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของทุกคน แต่เรากลับรู้สึกว่าเรื่องนี้มันไม่ธรรมดา มันแสดงว่าเราต้องการให้คนอื่นมองว่าเราดี แล้วไอ้สิ่งนี้มันเป็นข้อจำกัด มันเป็นเรื่องที่ทำให้คนไม่มีความสุข
“ผมรู้สึกอย่างนั้น และก่อนหน้านี้ที่บอกว่าอ่านหนังสือดึกดื่น นอนน้อย วันละ 3-4 ชั่วโมง รู้สึกว่าเราคิดตลอด เวลานอน เราไม่นอน เรานอนแล้วคิด แล้วก็เขียน เหมือนเป็นคนฟุ้งซ่าน หยุดความคิดตัวเองไม่ได้ เพื่อนๆ ก็จะรู้ เวลามีเรื่องอะไรก็มักจะโทร.มาปรึกษาเรา ตี 3-4 เพราะเราคือคนเดียวที่ยังไม่นอน ก็ใช้ชีวิตอย่างนี้มาเรื่อยๆ แล้วบางทีสังเกตตัวเอง มีความทุกข์ ทั้งๆ ที่นอนอยู่ในห้องแอร์ ห้องดีๆ แต่ทำไมเรามีความทุกข์ ก็จะเริ่มมีคำคำหนึ่ง คนเรานี้มันทุกข์เพราะความคิด มันไม่ได้ทุกข์เพราะอย่างอื่นเลย ถึงคุณจะพิการ คุณเลิกคิด คุณก็ไม่ทุกข์ มันมีแค่หิวข้าว หิวข้าว เราก็ไปหาข้าวกิน แต่ความทุกข์ของคนส่วนใหญ่มันไม่ได้เป็นไปในแง่ร่างกาย มันเป็นไปในแง่จิตใจ ศาสนาที่ได้ศึกษามาจากการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กๆ จากคุณพ่อที่ท่านพาไปวัด ไปไหว้พระ ที่ท่านเล่าเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาให้ฟัง เรื่องพระอรหันต์ ยังจำได้เลยว่าท่านอยากให้เราเป็นวิศวกรเหมือนท่าน เราก็ยังถามว่าแล้วระหว่างพระอรหันต์กับวิศวกรอะไรดีกว่ากัน ท่านก็บอกว่าพระอรหันต์ ตั้งแต่เด็กๆ ก็เลยคิดอยู่ลึกๆ ว่า พระอรหันต์นี้ดี ท่านเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ เราเลยรู้สึกว่าการที่คนคนหนึ่งไม่มีความทุกข์เป็นเรื่องมหัศจรรย์ มันเหมือนเป็นศรัทธาที่อยู่ลึกๆ เพียงแต่เราใช้ชีวิต เราไม่ได้ไปสนใจ
“เมื่อรวมกับเรื่องนี้ ก็ทำให้เราคิดย้อน ความกลัวในบางคน อาจจะกลัวไม่มีกิน กลัวไม่มีอะไร อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสไว้ว่า มนุษย์คนหนึ่ง ถ้าไม่กลัวเสียผลประโยชน์ ไม่กลัวถูกคนอื่นติฉินนินทา ไม่กลัวเสื่อมอำนาจ ไม่กลัวเสียความสุข ถ้ามนุษย์ไม่กลัว 4 อย่างนี้ได้ เขาจะมีอิสรภาพสูงสุด ผมรู้สึกว่ามันยิ่งใหญ่มาก แล้วผมอ่านหนังสือปรัชญาอะไรต่างๆ นานา ทุกคนเป็นอย่างนี้หมด คือทุกคนรู้สึกว่าถูกจำกัดอิสรภาพ ถ้าด้วยภาษาธรรมมะ เขาเรียกว่า โลกธรรม 8 เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ก็มีความทุกข์ แต่ถ้ามนุษย์คนหนึ่งฝึกฝนจิตใจให้ไม่กลัวตรงนี้ได้ คนคนนั้นก็จะพบชีวิตอีกแบบหนึ่ง สังคมก็จะทำอะไรเขาไม่ได้
“พอคิดเรื่องพวกนี้ ผมก็เลยอยากฝึกฝนตัวเองให้หลุดจากตรงนั้น”
เริ่มไล่อ่านตั้งแต่หนังสือฮาวทู ไปจนถึงปรัชญาของนักคิดนักเขียนชื่อดังอย่าง “คาลิล ยิบราน” และ “รพินทรนาถ ฐากูร” คุรุเทพเลืองนาม ศึกษากระทั่งคำสอนศาสดาของศาสนาอื่นอย่างจริงจัง
“อ่านหมด...อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเขามีสิ่งหนึ่งที่มันเหมือนกัน คือคนเรามันทุกข์เพราะความติดยึด ทุกข์เพราะอัตตา แต่ทุกคนมันเหมือนกันตรงที่ว่า ศาสดาทุกองค์ กูรูทุกคน เขารู้ว่าเขาทุกข์เพราอะไร แต่เขาไม่มีหนทางที่จะมาทำให้มันดับไปถึงตรงนั้น ทีนี้ ผมก็เลยมาศึกษาพระพุทธเจ้า ก็รู้สึกว่ามันมีความเป็นไปได้ที่สุด แล้วก็แมตช์กับความศรัทธาของเราตั้งแต่เด็กๆ
“คือเรื่องศรัทธา มันบอกไม่ได้หรอกว่ามาตอนไหน บทมันจะมา ก็มา เพียงแต่ว่ามันรอวันที่ชีวิตตอนนั้นมันมีปัญหาขึ้นมา โป้ง! แล้วเราหันไปค้นลึกๆ ของเรา แล้วเราก็เจอ ดังนั้น เรื่องความสนใจก็จะมาเป็นสเต็ปๆ อย่างตอนแต่งเพลง ผมก็สนใจเรื่องของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เพียงแต่ความสนใจมันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนมิติเหลี่ยมของศาสนา ตอนเด็กๆ เราสนใจในแง่ของอภินิหาร ฟังแล้วมันเหมือนนิทานสนุกดี พอโตมาหน่อย เราสนใจในเชิงปรัชญา เหมือนเอาไว้คุยเท่ๆ อวดๆ กัน พอตอนโตขึ้นมาหน่อยที่ชีวิตมันมีปัญหา เรารู้สึกว่ามันต้องเอามาทำแล้ว ก็เริ่มจะมาปฏิบัติ ฝึกสมาธิเอง ฝึกอานาปานสติเอง แล้วก็รู้สึกว่ามันดีกับเรา อยากที่จะทำชีวิตให้มันเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ไปเลยร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ก็เลยลดเรื่องงานบริษัทแต่งเพลง แล้วก็เริ่มเขียนหนังสือธรรมะ”
จาก “สมถะเท้าขวา วิปัสสนาเท้าซ้าย”, “วิถีปลาเป็น”, “The Ticket ตีตั๋วดูตัวตน” สู่งานเขียนกว่า 20 เล่ม ซึ่งเชื่อมโยงถ่ายทอดให้แง่คิดมุมมองร่วมสมัย
“หลายคนอาจจะสงสัยว่าทั้งสองอย่างเข้ากันได้อย่างไร”
“จะยากไหมในการปรับตัว” อดีตนักเขียนเพลงย้อนถาม
“คือธรรมะมันเข้าได้กับทุกอย่าง มันอยู่ที่เรา อย่างตอนนี้ที่ดำเนินชีวิตเป็นวิทยากรด้วย หลักๆ เวลาไปบรรยาย เราจะพยายามพูดให้เข้าใจว่าธรรมะมันเกี่ยวกับเราอย่างไร ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้ามนุษย์คนหนึ่งเวลาจะทำงานแล้วอยู่กับงานได้ ประสิทธิภาพงานเขาจะเพิ่มใช่ไหม เหมือนกัน ผมเขียนหนังสือแล้วเรียกสมาธิอยู่กับงานมันได้ งานมันก็เพิ่มประสิทธิภาพขึ้น พอประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เงินก็เพิ่มขึ้น ฉะนั้นแสดงว่าสมาธิสามารถใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่มีเรื่องอะไรในโลกนี้ที่ไม่ใช้สมาธิ แม้แต่ที่เรากำลังคุยกันอยู่ ความเฉียบคมของสติปัญญา มันใช้สมาธิ ในเมื่อธรรมะให้สมาธิ สมาธิให้ทุกอย่าง ธรรมะก็เป็นพื้นของทุกอย่าง สมาธิเป็นพื้นฐานของทุกอย่างในชีวิต
“แล้วถ้ามนุษย์คนหนึ่งไม่มีสมาธิจะเป็นอย่างไร เพราะวันหนึ่ง มนุษย์คิด 5 หมื่นกว่าเรื่อง ความคิดที่แล่นปุ๊บๆ เข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัวในระยะที่เร็วมาก มันทำให้ประสิทธิภาพการตั้งใจคุณลดลง ทีนี้ คนที่เขาฝึกสมาธิ เขาอาจจะคิดเหลือแค่ 2 หมื่นเรื่องต่อวัน สิ่งนี้ส่งผลให้เวลาที่เขาทำอะไร เขาโฟกัสอยู่กับสิ่งนั้นได้ มันกลายเป็นทำงานน้อยกว่า แต่เชิงประสิทธิภาพสูงกว่า และความทุกข์น้อยลง เนื่องจากไม่ปรุงแต่ง ทุกวันนี้ที่มีคำถามว่าเราไม่ใช่พระ เราต้องปฏิบัติธรรมไหม การปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับอาชีพครีเอทีฟ อาชีพสถาปนิก นักแต่งเพลงไหม เกี่ยวกับรัฐมนตรีไหม เพราะเขาไม่รู้ว่าปฏิบัติธรรมคืออะไร”
ธรรมะครอบคลุมไม่เว้นกระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการที่บุพการีบิดามารดา มีทายาท ในเวลาที่ลูกร้องกลางดึก หากไม่ควบคุมจิตข่มระงับโทสะ ผลเสียเหล่านั้นก็จะตกมาถึงแก่ลูกโดยไม่รู้ตัว
“ลูกก็เติบโตมาเป็นเด็กขาดความอบอุ่นบ้างอะไรบ้าง ทุกอย่างใช้ธรรมะหมด แล้วแต่ว่าเราเรียกมันว่าอะไร ถ้าเราเรียกมันว่าธรรมะ ใส่ชุดขาวอยู่ในวัด มันก็เป็นเฉพาะกลุ่ม แต่ถ้าเราเปลี่ยนธรรมะใหม่ เป็นการพัฒนาจิต เราเรียกว่าการพัฒนาจิต มันก็จะเกี่ยวกับทุกสาขาอาชีพ แต่ปัญหานี้มันไม่เกิดกับคนที่เขามีสมาธิ ฉะนั้น สมาธิดี มันทำให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แล้วให้คุณมีความสุขเพิ่มขึ้น มีความทุกข์น้อยลง สมมติคนนินทา ถ้าจิตมันไม่ไปแวบเรื่องที่เขานินทา มันก็คือจบ แต่ที่มันไม่จบ เพราะจิตมันคิดซ้ำไปซ้ำมา มันล็อกความคิดเรา
“แต่คนมักจะชอบคิดกันว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ไกลตัวเลย เพราะมันไม่มีชุดความรู้อื่นใดแล้ว ชุดความรู้ที่พระพุทธเจ้าให้ มีอยู่ครบ แต่มันมีปัญหาอยู่ หนึ่ง ด้วยภาษาที่คนเข้าไม่ถึง สอง ถ้าคนไม่มีความรู้เลย เขาจะไม่รู้ว่าเขาจะใช้ชุดความรู้ไหนที่เหมาะกับเขา เพราะหลักธรรมมันเยอะมาก และถ้าเอาทั้งหมด มันยาวมาก เขาไม่สามารถประมวลได้ทั้งหมด ไม่สามารถจัดระบบความคิดได้
“แต่ถ้าเราจัดการระบบได้ อย่างสังเกตตัวเอง เมื่อก่อนจะเป็นคนอารมณ์ร้อน เกเรด้วย แต่พอศึกษาธรรมะไปเรื่อยๆ เราจะเห็นโทษของความโกรธ โทษของการทำตัวไม่ดี เราจะเห็นด้วยปัญญาอย่างแท้จริง เราไม่ได้ฟังใครเขามา เราจะรู้สึกว่าการโกรธ ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ไม่ได้ทำอะไรดีขึ้น และบวกกับการที่ทำสมาธิ ทำอานาปานสติ จิตมันฟุ้งซ่านน้อยลง มันมีกำลังที่จะระงับความโกรธได้มากขึ้น เพราะว่าการระงับกิเลส มันมี 3 ระดับ คือหนึ่ง ตั้งสติแล้วคิดบวก สมมติเราคิดอะไรไม่ดี ตั้งสติแล้วคิดไปในทางสว่างทางบวก ภาษาธรรมะก็คือคิดในทางกุศล อันนี้ก็ละชั่วได้
“อย่างที่สอง พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ว่า ข่มชนะด้วยสมาธิ คือคนมีสมาธิ เขาจะมีอำนาจที่ข่มอารมณ์ได้ จิตเขาจะหนักแน่น เขาสามารถข่มอารมณ์ได้ ข่มความกลัวได้ ข่มกิเลสได้ อีกอันหนึ่งเขาเรียกว่า “ละ” หรือ “นิโรธ” คือดับสนิท อันนั้นคือชั้นบรรลุธรรม ใน 3 ระดับนี้ การคิดบวกเป็นอะไรที่เทียบกับสมาธิชั้นสูงไม่ได้ เพราะการคิดบวก คนเกิดมาก็ทำเป็นแล้ว มันเป็นวิธีระงับความชั่วธรรมชาติที่มนุษย์พึงมี ขณะที่สมาธิระงับความชั่ว เป็นมนุษย์ที่เริ่มฝึกจิตมา แต่ถ้าขั้นนิโรธคือจิตสูง
“คือมนุษย์ส่วนใหญ่จะทำอะไรไปตามสัญชาตญาณ แต่คนที่เขาศึกษาปฏิบัติธรรมลึกซึ้ง เขาจะเพ่งไปที่ความไม่ดีของตัวเอง เวลาที่เราทำสมาธิ วิปัสสนา เราเพ่งความชั่ว ความเลวทรามต่ำช้า แล้วเราก็จะจัดการตัวเอง เราจะไม่ไปยุ่งกับชาวบ้านเขา เราจะจัดการตัวเรา พอเราจัดการเสร็จ เราจะรู้สึกว่าหวงแหนจิตใจที่มันดี สุดท้าย ผมก็เลยพักเรื่องงานบริษัท ปัจจุบัน หลักๆ นอกจากเขียนหนังสือแนวธรรมะ ก็เป็นวิทยากร เพราะเราเห็นว่ามันมีประโยชน์เยอะมาก”
ใจคือศิลปะ เราคือศิลปิน
สุข-ทุกข์ เรากำหนด
• ท่ามกลางกระแสสังคมที่แข่งขัน ถ้าเราปฏิบัติอย่างนั้นแล้วจะอยู่รอดได้อย่างไร
ผมเคยเขียนหนังสือเรื่องหนึ่ง "ใจคือศิลปะ เราคือศิลปิน" หมายความว่าเราเป็นอาร์ทิสต์ที่จัดการจิตใจเราให้มันดีขึ้นไป โดยไม่เกี่ยวกับคนอื่น คนอื่นเขาจะดีกว่าเรา หรือเลวกว่าเรา เรื่องของเขา คือเราทำตัวเราเท่านั้น พอเราทำตัวเราไปเรื่อยๆ มันเหมือนกับเรามีต้นทุนทางใจที่ดี เราก็ไม่อยากทำอะไรที่ไม่ดี เรารู้สึกว่าเราฝึกฝนจิตใจมาขนาดนี้ แล้วทำไมต้องเอาตัวไปแลก สมมติว่าเราทะเลาะกับเขาแล้วเราจะไปทะเลาะกับเขากลับ คือเราไม่ได้ว่าเรากับเขา เรามองว่าเรากับเรา เรามองแค่ว่าเราจะแพ้ตัวเองอีกแล้วหรือ เราชนะมาแล้ว แล้วเราจะกลับไปแพ้ตัวเอง เพราะว่าปัญหาแค่นั้นเท่านั้นหรือ
หลายๆ อย่าง เรื่องงานเรื่องอะไร บางทีคิดไม่ตรงกัน เมื่อก่อนเราก็จะรู้สึกว่าอย่างนี้ถึงจะดี แต่เดี๋ยวนี้ บางทีเราก็ค้างไว้ในสิ่งที่เราไม่ชอบ แล้วก็มองมันไป มองว่าเราไม่ชอบอันนี้ ทำไมมันมีอิทธิพลกับใจเราจัง คือมองความโง่ของตัวเอง แค่นี้เหรอ สิ่งแค่นี้เหรอ ทำให้เรามานั่งคิดที่บ้าน แล้วเรามีความทุกข์ ทำไมจิตใจเรามันอ่อนไหวขนาดนั้น แต่มนุษย์เป็นอย่างนี้ คนส่วนใหญ่ทั้งหมด พูดได้เลยว่า 99 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้มีความสุขกับชีวิตตัวเองอย่างแท้จริง
• เหมือนกับว่าเรากลับมาตั้งศูนย์ที่ตัวเอง
คือธรรมะเป็นเรื่องของตัวเองนะ ไม่เกี่ยวกับใคร สมมติว่าเขาตบหน้าเรา อย่างที่พระเยซูท่านตรัส มันเป็นเรื่องลึกซึ้งมาก เขาตบแก้มขวาเรา เราไม่มีสิทธิ์ไปตอบโต้เขาด้วยความรุนแรง การที่เขารุนแรงกับเรา มันเป็นความชั่วของเขา แต่ถ้าเราไปรุนแรงกับเขา นั่นคือความชั่วของเรา ความดี ความเลวมันแยกกัน มันไม่ได้มาหักลบกัน มันไม่ได้ว่าเขาโกงเรา เราเลยโกงเขาบ้าง อย่างนี้ไม่ใช่ เขาทำไม่ดี ก็เรื่องของเขา แต่ถ้าเราทำไม่ดี มันเรื่องของเรา
ธรรมะมันไม่ใช่เรื่องตาต่อตา ฟันต่อฟัน แล้วมันไม่ใช่เรื่องแข่งกับใคร มันเป็นเรื่องแข่งกับตัวเอง แม้ว่าคนดีกว่าเรา เราก็ไม่ต้องไปแข่งกับเขา มันเป็นเรื่องของตัวเอง พิจารณาตัวเอง แล้วถ้าเราพิจารณาตัวเรา บางทีเราไม่รู้จะไปด่าใคร เพราะว่าตัวเราเลวสุดแล้ว ถ้าเรามองตัวเอง ทุกคน อิจฉาริษยา ขี้เกียจสันหลังยาว ติฉิน นินทา ปากปลาร้า เป็นกันหมด แต่เราไม่มองตัวเรา แล้วเราปกปิดด้วยถ้อยคำสวยหรู เช่นสมมติว่าเราอิจฉาเขา เราก็บอกว่าเขาไม่ได้ดีจริง แต่จริงๆ เราหมั่นไส้เขา เราอิจฉาเขาเพราะความเลวที่มันอยู่ในใจเรา
แต่ทั้งนี้ คนที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้แปลว่าเขาจะดี แต่แปลว่าเขาเป็นคนที่รู้ตัว และเขากำลังลอกคราบอยู่ ซึ่งการปฏิบัติธรรม ถ้าคุณไม่ยอมเจ็บเลย ไม่ยอมขัดเกลา คุณไม่มีวันลอกคราบได้ มันเหมือนหนอน หนอนจะเป็นผีเสื้อ มันต้องเจ็บ ต้องใช้เวลาที่จะลอกคราบเก่าออก ฉะนั้นบางทีมันต้องยอมให้เขาด่า ยอมเสียเปรียบ เพื่อที่เราจะรักษาจิตใจเรา เพราะถ้าเราไม่ยอม มันไม่สามารถที่จะพัฒนาจิตใจตัวเองได้ ตรงนี้สำคัญกว่าการทำสมาธิ วิปัสสนา หรือการทำอะไร
คนที่เขายิ่งใหญ่ในโลกนี้ ทำจิตใจให้สูงได้ ล้วนแล้วแต่ฝึกฝนตรงนี้ทั้งนั้น คือยอมรับแรงกระแทกให้มากที่สุด ผมเคยถามคนที่มาร่วมฟังในกรณีประเด็นผู้หญิงโดนทำร้ายในที่สาธารณะ ก็มีคนยกมือแล้วบอกว่าการช่วยเหลือใคร มันก็ต้องดูด้วย บางทีถ้าเราเข้าไปยุ่งกับเขา เราอาจจะโดนว่าโดนอะไรกลับมา ทีนี้ ผมเปรียบเทียบให้ฟังจากที่เคยขึ้นไปพบหลวงตามหาบัว (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี) บนศาลาวัดของท่าน ข้างบนศาลาเขียนว่า “เมตตาคือยอมเสียเปรียบ” ถ้าเราไม่ยอมเสียเปรียบ ไม่ยอมเจ็บตัว เราจะเข้าไปสู่ความเมตตาไม่ได้ ถ้าเราเข้าไปยุ่งกับเขาผัวเมีย เดี๋ยวเราโดนด่า แต่อย่างมากเราแค่โดนด่า เราต้องยอมเข้าไป คือการช่วยเหลือคนหรือการเมตตาอะไรต่างๆ เป็นเหมือนการที่พระโพธิสัตว์เห็นปลาฉลามหิว แล้วจึงตัดแขนให้ปลาฉลามกิน อย่างนั้นคือเมตตา แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้น เราก็อยู่ได้ เราก็อยู่ไปเรื่อยๆ แต่จิตใจมันแห้งแล้ง บางทีมันต้องยอมเสียเปรียบบ้างอะไรบ้าง
• จำเป็นต้องประเสริฐถึงขั้นนั้น?
ที่ผมพูด...ไม่ได้แปลว่าผมดีเลิศประเสริฐศรี แต่ทิศทางของการพัฒนาตัวเองมันเป็นแบบนั้น ทุกคนถ้าอยากพัฒนาตัวเอง ต้องไปถึงจุดนั้น แล้วไปถึงจุดนั้นถามว่าคนเราเสียเปรียบโน่นนี่นั่น หรือว่าถ้าไปแข่งขันกัน ลำบาก โดนคนอื่นเอาเปรียบแล้วชีวิตมันจะดีอย่างไร ชีวิตของคนที่พัฒนาจิต เขาจะพัฒนาไปสู่อีกระดับ คนมีหลายระดับ ระดับต่ำสุด คือคนที่ตามโลก มีอะไรวิ่งตามโลกตลอด เก่งมาหน่อยคือคนเปลี่ยนโลก เหมือนที่สังคมเราพยายามสอนให้เป็นคนเปลี่ยนโลก สร้างอะไรสักอย่างขึ้นมา
เก่งมาอีกคือคนเหนือโลก คือโลกทำอะไรเขาไม่ได้ สังคมทำอะไรเขาไม่ได้ คนรอบข้างทำอะไรเขาไม่ได้ เขาวางจิตตัวเองอยู่เหนือสภาพแวดล้อม แต่ไม่ใช่ไม่เอาอะไรเลย อยู่กับโลกแต่วางตัวเหนือโลก มันเหมือนจิตว่าง ทำทุกอย่างไปตามหน้าที่ แต่ใจแยกออกมา อันสุดท้าย คือพระอรหันต์ ทิ้งโลก โลกทำอะไรเขาไม่ได้ คนมีศักยภาพในจิตวิญญาณมันพัฒนาไปได้หลายระดับ ทีนี้ คนที่วางตัวให้อยู่เหนือโลกหรือว่าทิ้งโลก มีน้อยมาก เวลาเราฟัง เราฟังแต่ระบบการแข่งขัน ว่าเราต้องแข่งกับคนอื่นเขา ต้องทำให้ดีกว่าเขา
• ถ้าไม่ทำ ก็จะขับเคลื่อนไม่ได้ทั้งชีวิตและสังคม แล้วเราควรจะทำกันอย่างไร
การทำงาน สังคมทุกวันนี้สอนว่าเวลาที่เรามีแรงบันดาลใจหรือแพสชั่น (Passion) ต่างๆ ที่เขาพูดกัน แรงขับเคลื่อนชีวิตมันมีอยู่สองแบบ 1. คือความอยากมีอยากได้อยากเป็น สมมติตัวผมอยากเป็นนักแต่งเพลง ผมไขว่คว้าทะเยอทะยานเพื่อที่จะได้เป็น นี่คือแรงขับเคลื่อนชนิดหนึ่ง ซึ่งแรงขับเคลื่อนชนิดนี้พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าตัณหา มีตัณหาที่ไหน มีความทุกข์ที่นั่น อย่างที่เล่ามา มันจะมาเป็นแพกเกจจิ้ง ไม่มีใครมีตัณหาแล้วไม่มีทุกข์โศก แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทำไม่ได้ มีตัณหาที่ไหน มีความทุกข์ที่นั่น มีความริษยาที่นั่นตามมาด้วย และเวลากิเลสมันมา มันไม่ได้มาอันเดียว มันเข้ามาเป็นพวง พระพุทธเจ้าท่านเลยให้เปลี่ยนแรงขับเคลื่อนชีวิตเป็นฉันทะ คือการรักในสิ่งที่ทำ แล้วทำไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างต้นไม้ต้นหนึ่ง มีคน 3 คน คนที่ 1 อยากให้ต้นไม้โตมาก อยากให้ออกดอกออกผลมากเลย แล้วก็ไปรดน้ำพรวนดินทุกวัน คนที่ 2 เขาไม่ได้อยากอะไร เขาแค่ทำหน้าที่เดินไปรดน้ำพรวนดินทุกวัน คนที่ 3 อยากมากเหมือนกัน แต่ไม่ออกไปรดน้ำพรวนดิน ถามว่าต้นไม้ใครจะโต ก็คนที่ 1-2 ต้นไม้โต แต่เพราะอะไรต้นไม้ถึงโต เพราะว่าเราไปรดน้ำพรวนดิน ความอยากไม่เกี่ยว ตัดความอยากออกไป เหลือแต่การรดน้ำพรวนดิน นี่คือฉันทะ ถ้าสังคมทำงานด้วยฉันทะสังคมจะไม่เกิดการแข่งขันแบบผิดๆ จะไม่เกิดการต่อสู้แย่งชิง จะไม่เกิดการริษยา เป็นสังคมที่ทำงานแบบมีมิตรไมตรี แบบที่ไม่ฆ่ากัน
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ากิเลสเหมือนน้ำ ถ้าเราไม่ดูแล มันจะไหลลงต่ำ จิตมนุษย์ทุกคนถ้าไม่ได้รับการดูแลด้วยกระบวนการที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่คิดเอง มันจะไหลลงต่ำ ทีนี้ทำไมถามว่าคนขับเคลื่อนชีวิตด้วยตันหาเยอะ มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณสัตว์ สัตว์เดรัจฉานน่ะ พูดกันง่ายๆ เราลองสังเกตสุนัข สุนัขหนึ่งตัว ถ้ามันไม่อยากกิน มันจะไม่ไปหา สิงโตไม่หิวไม่ล่า มนุษย์ขับเคลื่อนอันนี้เหมือนกัน มนุษย์ประเภทนี้คือ มนุษย์ชั้นล่างสุด ต้องใส่ความอยากมีอยากได้ก่อน เพื่อจะออกไปล่า แต่มนุษย์อีกประเภทหนึ่งคือมนุษย์ที่มีสติแบ่งแยกระหว่างหน้าที่ อันนี้คือความอยาก อันนี้คือหน้าที่ มนุษย์สามารถฝึกตัวเองให้ทำตามหน้าที่โดยไม่มีความอยาก ในหลวงทรงเรียกสิ่งนี้ว่าเศรษฐกิจพอเพียง ท่านพุทธทาสเรียกว่าทำงานด้วยจิตว่าง พุทธเจ้าเรียกว่าทำงานด้วยฉันทะ
เวลาที่คุณทำงานด้วยความอยากได้อยากมี คุณจะมองคนอื่นด้วยว่าคนอื่นเขาถึงไหน เวลาคนอื่นเขาได้อะไร คุณจะรู้สึกว่าทำไมเรายังไม่เหมือนเขา คนนี้เริ่มต้น ทำไมเงินเดือนเท่านี้ แต่ตอนนี้ไปถึงนี้แล้ว มันเกิดการเปรียบเทียบ พอเกิดการเปรียบเทียบก็เกิดความทุกข์ เกิดความทุกข์ก็เกิดการหมดกำลังใจ แต่ถ้าทำงานด้วยฉันทะ มันเหมือนกับคุณทำหน้าที่ของคุณให้เสร็จเรียบร้อย แล้วคุณไม่ได้มองใคร คุณแข่งกับตัวเอง มันจะดีขึ้นเป็นสเต็ปๆ แต่มันอาจจะไม่หวือหวาให้เห็นในเร็ววัน แต่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบธุรกิจต่างๆ คนโดนปั่นหัวด้วยระบบตัณหา คือสอนให้อยากมีอยากได้อยากเป็น สอนให้มโนภาพ คุณต้องคิดว่าคุณเป็นแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมันตรงกันข้ามกับพุทธศาสนาทั้งหมด มันเป็นการคิดในอนาคตถึงสิ่งที่เรายังไม่ได้มี สิ่งนี้มันกระตุ้นให้เราทำงานจริง แต่มันก็จะเกิดความทุกข์ เกิดการริษยาด้วย มันทำไปพร้อมกับทุกข์ ทำไปพร้อมกับแรงกดดัน เปรียบเทียบง่ายๆ ตัณหาเหมือนกับคุณทำงานโดยการกินยาบ้า ทำงานได้ ประสบความสำเร็จได้ แต่ท้ายที่สุดมันก็ทำลายร่างกายคุณ
ขณะที่การทำงานแบบฉันทะ เหมือนกินวิตามิน เหมือนคุณออกกำลังกาย มันดูไม่หวือหวา แต่ระยะยาวมันดีกว่า คนที่ใช้ฉันทะทำงาน ยิ่งทำมากๆ จิตใจเขายิ่งสูง ยิ่งทำมากๆ ความสำเร็จมันจะค่อยเติบโต ช้าแต่ยั่งยืน เรื่องนี้ แม้กระทั่งทางฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกาเขาก็ให้ความสนใจ เพราะปัญหาการล้มละลายของเขา คือค่ารักษาพยาบาล คุณทำงานเพื่อมาใช้รักษาตัวเอง ยิ่งด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์แนวโน้มอายุคนเราจะยืนยาวมากขึ้น ไม่ใช่ว่าเรามีบุญ เพราะเราอยู่อย่างเจ็บออดๆ แอดๆ ตอนนี้เขาก็เลยเริ่มทำงานโดยไม่มุ่งเน้นเรื่องของรายได้อย่างเดียว แต่งานอะไรที่ทำให้เขาได้สุขภาพไปด้วย ก็ต้องเลือก
ถ้าเราจะหาวิธี อยากด้วย แต่ไม่อิจฉา มันเป็นไปไม่ได้ เขาบอกว่าเขาต้องการความสุข เขาจะได้ความทุกข์ด้วย เพราะเขายังวนเวียนอยู่ในความต้องการความสุข เขาก็จะมองหาแต่ความสุข เวลาเขาได้ความทุกข์ เขาจะไม่ชอบมัน เพราะเขาอยากได้แต่ความสุข ส่วนการไม่ชอบ การพยายามผลักความทุกข์ออก มันจะสร้างทุกข์อีกสเต็ปหนึ่ง มันไม่มีความสุข ความทุกข์อะไรที่รักษาได้ เราอยากมีความสุขนานๆ ก็รักษาไม่ได้ ศาสนาพุทธสอนให้ไปไกลกว่านั้น คืออยู่เหนือสุข ทุกข์ พอได้ความทุกข์มา เราก็โอเค เข้าใจยอมรับว่ามันเป็นความทุกข์ เวลาได้ความสุข เราก็โอเค เข้าใจยอมรับว่ามันเป็นความสุข แล้วก็อยู่กลางๆ จิตมันก็จะมีความเสถียร ไม่ขึ้นไม่ลง
คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มที่ตื่นรู้
ทำก่อนสำเร็จก่อน
ท่ามกลางกระแสที่หลั่งไหลไปในทางขึ้นและลงตลอดเวลาอย่างที่อดีตนักแต่งเพลงที่ศึกษาธรรมะจนเข้าถึงหนทางแห่งชีวิต ฟังดูแล้วไม่ต่างจากประโยคของท่านพุทธทาสที่กล่าวไว้ว่า “ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” ซึ่งนับเป็นคำถามที่น่าคิดต่อว่า สังคมบ้านเราปัจจุบันเดินทางมาถึงจุดนั้นแล้วหรือยัง
• ส่วนตัวในฐานะเป็นหนึ่งในผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม รวมไปถึงเผยแผ่ธรรมะ มองว่าปัจจุบันสังคมบ้านเรามองถึงขั้นวิกฤตนั้นแล้วหรือยัง
มันก็จะเป็นเรื่อยๆ เพราะสังคมโลกทุกวันนี้มันมีความซับซ้อนกว่าเดิมเยอะ ไม่เหมือนสังคมเมื่อก่อน เราสามารถมีความสุขอยู่กันได้ เราไม่มีข้อเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างห้างสรรพสินค้าสมัยก่อนราวๆ 30-40 ปี ที่แล้ว คนจนคนรวยเที่ยวห้างเดียวกัน คนจนคนรวยเที่ยวสวนสัตว์เดียวกัน คนจนคนรวยใส่เสื้อผ้ายี่ห้อคล้ายๆ กัน แต่ยุคนี้มีห้างคนรวย ห้างคนจน ห้างคนรากหญ้า ห้างมหาเศรษฐี รองเท้าคนจน รองเท้าคนรวย รองเท้ามหาเศรษฐี มันมีซอยย่อย ซึ่งซอยย่อย ถ้ามองในทางโลกก็คือทำมาสำหรับตอบสนองทุกความต้องการ แต่ถ้ามองทางธรรม มันคือการมีสิ่งที่มันไม่ใช่คุณค่าชีวิตเพื่อล่อกิเลสมนุษย์มากขึ้น เหมือนคุณค่าแท้คุณค่าเทียมมันซับซ้อนขึ้น ทุกวันนี้เราใส่รองเท้าคู่หนึ่ง เราไม่รู้ว่ารองเท้ามันเอาไว้ทำอะไรแล้ว จริงๆ มันแค่เอาไว้กันเท้าบาดเจ็บจากเศษหิน แต่ทุกวันนี้รองเท้ามันทำอะไรที่ได้มากกว่านั้น มันเป็นการตอบว่าเราเป็นใครได้ หรือบอกว่าเราเป็นบางสิ่งบางอย่างได้ เสื้อผ้า กระเป๋า ก็เหมือนกัน กระเป๋าเดิมทำขึ้นเพื่อให้มันมีไว้ใส่ของ แต่เดี๋ยวนี้มันมีพัฒนาการขึ้น
ง่ายๆ ที่มองเห็นคือเรื่องของอาหาร เมื่อก่อนอาหาร พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าเป็นปัจจัย 4 ในนัยยะของพระพุทธเจ้าคือการกินอาหารกินเพื่อดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพื่อสร้างคุณค่าบางอย่าง แต่ทุกวันนี้อาหารวิวัฒนาการเป็นศิลปะ อาหารคือศิลปะชนิดหนึ่ง ถ้ามองในทางเศรษฐกิจ มันเพิ่มมูลค่า แต่ถ้ามองในทางกิเลสมันซับซ้อนขึ้น จนทุกวันนี้มนุษย์กินอาหารคำหนึ่ง อาจจะบอกว่าเรากำลังซื้อศิลปะกินอยู่ก็ได้ ถ้ามองกิเลสมันใช่ มองแง่เศรษฐกิจมันใช่ เศรษฐกิจดี มีการพัฒนามากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจิตใจคนจะสูงขึ้น ตรงกันข้าม ทั้งที่การพัฒนามันดี ไม่ใช่ไม่ดี แต่ว่าถ้าคนความรู้น้อยเกินไป การพัฒนานั้นมันก็เหมือนดาบสองคม เหมือนปืน เหมือนมีด มีดมันมีประโยชน์ แต่ถ้าไปอยู่ในมือเด็กก็อันตราย คนทุกวันนี้เหมือนวุฒิภาวะเขาต่ำ ขาดสติปัญญา ความทนทานกิเลสเหมือนเด็ก แต่ในขณะที่เทคโนโลยีมันถาโถมเข้ามามากเกินไป มันเกิดการเปรียบเทียบตลอด หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเปิด เห็นคนนั้นคนนี้โพสต์ ก็คิดว่าทำไมเขากินดีอยู่ดีกว่าเรา ทั้งที่จริงๆ เขาก็อาจจะไม่ได้กินดีอยู่ดี เขาถ่ายเป็นบางมื้อ แต่ทุกมื้อที่เขาถ่ายมันมีคนคนหนึ่งอยู่บ้านแล้วก็มองว่าทำไมชีวิตฉันมันไม่ดีเหมือนคนอื่นเขา คนมันเปรียบเทียบตลอด
มีอยู่คำหนึ่งที่เขาบอกว่าถ้าคุณไม่เปลี่ยนตัวเอง โลกจะเปลี่ยนตามคุณ คำนี้มันเป็นเหมือนกับกิเลสครองโลก จริงๆ แล้วมนุษย์ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรนะ มนุษย์ต้องคุมจิตภายในตัวเอง แล้วภายนอกทำไป คุณเปลี่ยนตามสังคมทุกอย่าง คุณเปลี่ยนไม่ไหวหรอก กระแสระบบทุนปั่นให้คุณวิ่งเข้าไปอย่างนั้น แล้วมันมีคนอย่างนั้น เราเกิดมายังไม่ทันคิดอะไรได้เองเลย เด็กสมัยนี้เป็นอันตรายมาก เกิดมายังไม่มีกระบวนการคิดของตัวเองเลย ทุกอย่างมันเป็นการใส่เข้ามาในระยะเวลาอันรวดเร็ว ในไอแพดหรือในอะไรก็ตามแต่ เร็วมากจนเขายังไม่ทันตั้งสติแล้วถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตที่มีความสุขคืออะไร เขายังไม่รู้คุณค่าความหมายของมันเลย รุ่นผู้ใหญ่กว่ารุ่นเรากว่าจะรู้คุณค่าความหมายที่แท้จริง มันยาวนานมาก คำนี้มันเป็นคำถามโง่ๆ แต่ความหมายมันกว้างไกลมาก บางคนคิดตลอดชีวิต แต่เด็กเหล่านี้เขาถูกแพ็กความหมายชีวิตมาให้เขาแล้วโดยเขาไม่รู้ตัว
สุดท้ายก็จะเกิดปัญหาตรงที่ว่า วันหนึ่ง การเติบโตทางจิตวิญญาณเขาถูกครอบงำ เขาไม่สามารถเป็นดอกบัวที่ผลิบานได้ เพราะโคลน ปลัก เลน เต็มไปหมด ต่างจากสมัยก่อนมีโคลนจริง แต่บางทีถ้าเราแข็งแกร่งมาหน่อยก็ยังมีพื้นที่ให้โผล่จนเหนือน้ำได้ แถมสมัยนี้นอกจากโคลนเยอะ ยังเหมือนโตในบ่อซีเมนต์ ถ้าดอกบัวสักดอกจะแทงขึ้นมาได้ ต้องเก่งมาก เพราะเขาต้องทนกระแสรอบข้าง ทันทีที่คนคนหนึ่งจะใช้ชีวิตพอเพียง จะมีเสียงด่าเขามาเลยว่า “เฮ้ย...พอเพียง อยากพอเพียง อยากจนๆ ก็เอาไป” มันจะมีอย่างนี้ จริงๆ แล้วคำว่าพอเพียงมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความจนเลย แต่พอเราจะทำอะไรที่มันดีงาม มันกลายเป็นว่าจะมีกระแสหนึ่งเข้ามา มันเลยทำให้คนไม่กล้าจะทำอะไรที่มันถูกต้องมากขึ้น ทั้งอะไรที่มันไม่ถูกไม่ควรเข้ามาเยอะ
• ไม่เหมือนก็ผิด ถ้าแตกต่างและสังคมไม่ยอมรับก็ผิด คือรูปแบบการดำเนินชีวิตของสังคมปัจจุบัน?
ยกตัวอย่างเหมือนคุณพ่อคุณแม่ สมัยนี้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความกลัว เช่นลูกเรา 3-4 ขวบ ยังวาดรูปไม่ได้ แต่ลูกคนอื่นเขาวาดได้แล้ว เราก็ส่งให้ไปเรียนเพื่อให้ต้องวาดรูปให้ได้ แต่จริงๆ แล้ว เด็กทุกยุคทุกสมัย 3-4 ขวบ ก็ไม่เคยวาดรูปกันเป็น แต่พอโตขึ้นมาก็ทำกันได้ทุกคน แต่นี่...เอ๊ย ทำไมลูกเราไม่เป็น ลูกคนนี้เขาเป็น การวาดรูปไม่เป็นตอน 3 ขวบมันไม่ใช่ความผิด แต่พ่อแม่กลัว เลยจับให้ไปวาดรูป เพื่อจะได้เป็น ทีนี้ก็กลายเป็นว่าลูกต้องแข่งกับสังคมโดยที่เขาไม่รู้อะไรเลย มันเหมือนคนที่ใช้ชีวิตเกิดมาแล้วงง สมมติว่ามีคนมาบอกคุณว่าไม่ต้องแข่งก็ได้ เราจะงง เด็กเขาจะงง ผู้ใหญ่บางคนก็จะงง เพราะเราถูกสอนมาว่าชีวิตคือการแข่งขันๆ แต่ถ้าลองไปศึกษา อย่างพระพุทธเจ้าชีวิตคือการแข่งขันหรือเปล่า ถามโสเครติส มหาตมะคานธี คนที่เขามีปัญญาทุกคนจะบอกว่าชีวิตไม่ใช่การแข่งขัน เพราะการแข่งขันสร้างความทุกข์ ชีวิตคือการที่คุณชนะตัวเองไปเรื่อยๆ อยู่กับตัวเอง พัฒนาตัวเองขึ้นทุกวัน ทั้งเรื่องงาน เรื่องจิตใจ หรือเรื่องทุกอย่าง
คนไม่เคยคิดว่าคุณภาพชีวิตคืออะไร จริงๆ ชีวิตที่ดีคืออะไร คุณต้องมีหน้าที่การงานที่ดี บ้าน รถ อะไรก็แล้วแต่ มีสุขภาพที่ดี อยู่กับครอบครัวได้ มีจิตอาสาทำให้คนอื่นได้บ้าง มีการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อ่านหนังสือที่มันเป็นความรู้ อีกอันคือได้ทำอะไรที่มันรื่นรมย์ อันนี้คือคุณภาพชีวิต ซึ่งคุณภาพชีวิต 6 มิติ มันควรทำทุกวัน ทุกวันต้องมี 6 มิติอยู่ในชีวิต วันหนึ่งเราทำงาน โอเคมันมีอะไรที่รื่นรมย์ในชีวิตเราบ้าง เราลองไปนับ น้อยมากที่จะมี แล้วต่อมา นับอีก มันมีอะไรที่ครอบครัวเราบ้าง สุขภาพเรา การตอบแทนคนอื่น สังคม โลกใบนี้ มันก็ไม่มี พัฒนาจิตให้จิตเรามันสูงขึ้นไป ก็ไม่มี แสดงว่าหนึ่งวัน เราทำเพื่อเรื่องงานเราอย่างเดียว แล้วเราบอกว่าถ้าเราทำงานทุกอย่างสำเร็จ เราจะมีทุกอย่าง ทุกมิติ ทุกอย่าง แต่เราไม่เคยคิดเลยว่า ชีวิตมนุษย์มีเวลา 24 ชั่วโมง จำกัด แล้วทุกอย่างที่พูดมา มันทำยากทั้งหมด มันไม่สามารถให้เวลาไปอันหนึ่งอันใดได้ ฉะนั้น ชีวิตที่ถูกต้อง ในหนึ่งวันคุณต้องทำทุกช่อง
คือเวลาคนเราคิด คนเราคิดว่าใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ แล้วตอนแก่จะปลง จริงๆ จิตใจเราเหมือนผ้าขี้ริ้ว เราเช็ดทุกวัน แต่เราไม่เคยซักมัน แก่ไม่ใช่ว่ามันยิ่งปลง ความคิดที่ว่าอายุยิ่งมาก ยิ่งปลง ไม่ถูกต้องเสมอ เผลอๆ อาจจะหนักกว่าเดิม เพราะเขาถูกโลกบีบให้เขาเป็นคนตกโลก แต่อัตตาเขาเท่าเดิม เขาก็จะดีดดิ้นกับลูกหลาน ทำตัวขวางโลก ว่าลูกว่าหลาน เข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ สิ่งนี้มันเกิดจากว่าเขาไม่ได้ขัดเกลากิเลสจริงๆ จิตใจคนเป็นไปตามประสบการณ์ เด็กที่เขามีวุฒิภาวะ ที่ถูกเลี้ยงมาแบบจิตตื่นรู้ เด็กอายุ 7 ขวบ อย่างพระราหุลสามารถบรรลุได้ อายุ 7 ขวบเป็นวัยที่วุฒิภาวะของมนุษย์เต็มแล้ว ที่เหลือคือการทำซ้ำทั้งหมด เพียงแต่เปลี่ยนเรื่อง ตอนเด็กเคยอิจฉาเพื่อนที่เรียนได้ที่ 1 โตมาก็เปลี่ยนเรื่องอิจฉาแค่นั้นเอง ใส่ๆ เข้าไป เพราะฉะนั้น คนที่วุฒิภาวะถูกตั้งมาในทางที่ถูก พระพุทธเจ้าเรียกว่า สัมมาทิฐิ หรือความเห็นที่ถูกต้อง
มนุษย์นี่ต้องรีบตั้งให้เร็ว ความคิดที่มันถูกต้อง ต้องรีบโปรแกรมเข้ามาเร็วๆ แล้วสมมติว่าคุณอายุ 30 ปี คุณต้องรู้ว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไร พอคุณเอาความรู้ตรงนี้ เอาสัมมาทิฐิของพระพุทธเจ้ามาเทียบว่าชีวิตที่แท้จริงคืออะไรแล้ว คุณต้องเขี่ยสิ่งที่ไม่ตรงกับที่ท่านกล่าวออกไปก่อน พยายามเขี่ย แล้วก็พยายามเบี่ยงมาเดินทางนี้แล้วใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในการทำให้มันตรงกับความเป็นจริง คุณก็จะเดินไปในทิศทางที่มันดี มนุษย์ทุกคนต้องรู้สัมมาทิฐิให้เร็วที่สุด เพราะไม่อย่างนั้น คุณจะตั้งต้นไม่ได้เลย เปรียบง่ายๆ ที่ดิน คุณเป็นที่ดิน ที่มีแต่ขยะ คุณจะรู้ก็ต่อเมื่อคุณต้องได้แปลนบ้านมาเร็ว เพื่อที่คุณจะเคลียร์ขยะออกแล้วเริ่มสร้าง แต่มนุษย์ทุกวันนี้ไม่ได้แปลนบ้านมาก่อน มีแต่โครงของชีวิต
• ด้วยเหตุนี้หรือเปล่า จึงมีโอกาสพังง่าย เมื่อเจอปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด
เพราะทุกคนไม่รู้ จริงๆ ชีวิตมันคือสัจธรรมสูงสุด ชีวิตทุกคนเหมือนกัน อย่างพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งมนุษย์แต่ละคนก็จะคิดไม่เหมือนกัน บางคนคิดว่าชีวิตคือการท่องเที่ยว ชีวิตคือความสุข คือการให้ นี่คือเราคิดเอง ไม่ใช่แก่นชีวิตจริงๆ นั่นคือเราไม่รู้จักชีวิตตามความเป็นจริง ขันธ์ 5 คืออะไร ขันธ์ 5 คือสิ่งที่พระพุทธเจ้ารวบรวมขึ้นมา เช่น ฝนตกจะมีเมฆ มันเป็นของมันอยู่แล้ว แล้วท่านก็รวบรวมสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์จำแนก ความสุขคืออะไร คือได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ทีนี้ ถ้าตอบแบบนี้เราก็จะทำอย่างนี้ ทุกคนบอกว่าความสุขของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าตอบในแบบความรู้ทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าความสุขมันคืออารมณ์ชนิดหนึ่งที่มันโปร่งโล่งสบาย เย็น ถ้าเราสัมผัสอารมณ์นี้เมื่อไหร่คือความสุข ถ้าตรงกันข้าม อึดอัด มืดมน บีบคั้น เค้น นี่คือทุกข์ เราไปสังเกตได้เลย ทุกชีวิต ทุกภาษา ความสุขความทุกข์เป็นอย่างนี้หมด
ทีนี้ความสุขมันมีหลายระบบ ระดับแรกท่านเรียกว่า กามสุข คือ กิน ถ่าย มีเพศสัมพันธ์ นอนพักผ่อน ทุกอย่างเงินซื้อได้ สุขที่สองคือสุขใจ เช่นทำให้พ่อแม่มีความสุขหรือท่องเที่ยวชมวิวเห็นพระอาทิตย์ขึ้น การได้ทำในสิ่งที่ชอบ สุขที่สามคือสุขจากสมาธิ เป็นความสุขรูปแบบหนึ่ง สุขที่สี่คือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปนานๆ ให้สังเกตเวลาคุณเพลินกับการทำอะไร จะรู้สึกว่าแทบหายจากจักรวาลชั่วคราว มันจะหายๆ ไปเลย มารู้ตัวอีกที 4-5 ชั่วโมงผ่านไปแล้ว สุขสุดท้ายคือสุขจากวิมุตติ (ความหลุดพ้น) ความสุขมันมีแค่นี้ ไม่ว่าจะพูดไปกี่เล่มกี่ตำรามันมีแค่นี้ แล้วมันมีวิธีเข้าถึงทั้งหมด
กามสุข ถ้าเสพบ่อยๆ พุทธเจ้าท่านบอกว่าความอยากจะมากขึ้น เหมือนเสพยาบ้า วันนี้ 1 เม็ด พรุ่งนี้ต้อง 2 เม็ด อาทิตย์หน้าต้อง 5 เม็ด มันจะเพิ่มมากขึ้น กิเลสจะฟูขึ้นมา แล้วจะมีความชั่ว จิตใจจะต่ำลงเรื่อยๆ สองที่บอกว่าสุขใจ ความรัก คุณรักอะไร รักใคร คุณมีความสุข แต่ทำให้เกิดการยึดติด คุณรักเขา คุณจะยึดติดเขา คุณจะเป็นทาสเขาในบางสิ่งบางอย่าง คุณรักงานของคุณมาก คุณจะยึดติดงานมาก สุขอีกอันที่บอกว่ามีสมาธิกับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ ไม่มีข้อเสียเลย จะเสียอย่างเดียวคือสุขมันจะหายไปตอนที่เลิกทำสมาธิหรือเลิกทำ และท้ายที่สุด สุขจากวิมุตติ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นี่คือสัจธรรมความจริง ชุดความรู้อันนี้ มนุษย์ทุกคนควรจะรู้ เพราะจิตเหมือนต้องงับความสุขอันใดอันหนึ่ง ไม่ต่างจากเรื่องการกิน ถ้าไม่มีเงินกินของแพง ก็ต้องกินของถูก แต่ถ้าได้มีเงินกินของแพงแล้ว มันก็จะคายของถูกออกมาเอง ก็จะไปกินของดีๆ
คนที่รับความสุขแบบหยาบ ให้เขาโลภน้อยลง ทุกข์จะน้อยลง คือให้เขาเสพความสุขแบบละเอียด แล้วเขาจะต้องการสุขแบบหยาบๆ น้อยลง กามสุขจะน้อยลงออโตเมติกเลย สมมติว่าคนมาทำสมาธิทุกวัน เขาจะต้องการความสุขจากการไปเที่ยววิ่งตามความโลภหรือกิเลสน้อยลง อย่างเวลาที่เรามองพระป่าเหมือนกัน นั่นเพราะท่านเสพแบบละเอียด จึงต้องการความหยาบน้อยลง แต่ถ้าพระท่านไหนไม่ได้ปฏิบัติ พระก็จะมากินของหยาบ นี่เขาเรียกว่าสัจธรรม
• คือมีวิธีการปฏิบัติ การทำ การฝึก ที่เราสามารถทำได้หากเข้าใจ
ใช่...แล้วพระพุทธเจ้าก็สอนว่าความคิดมีกี่แบบ มีกี่หมวด หมวดความคิดที่เราเรียกว่าความคิด วิธีที่ควบคุมมันเป็นอย่างไร จะอยู่เหนือมันเป็นอย่างไร ความทุกข์มีกี่แบบไล่มา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้ามนุษย์ไม่รู้ เราจะคิดเองไม่ได้ ยกตัวอย่าง เคยได้ยินที่พูดกันว่า "เราไม่มีเรา แท้จริงไม่มีเรา" เราจะไม่มีวันคิดสิ่งนี้ออก เพราะว่าเวลาเราคิดคราวใด เราก็มีเราทุกที เวลาเราคิด มันจะมีเราเป็นผู้คิด แต่พุทธเจ้าท่านฝึกสติจนสติมันเห็นความคิดแตกมาเป็นส่วนๆ จนไม่มีตัวท่านอยู่อย่างแท้จริง ซึ่งกระบวนการนี้ ท่านคิดได้เป็นคนแรก เพราะฉะนั้น ความรู้ในพระพุทธศาสนาหลายๆ อย่าง เราจะไม่สามารถคิดได้ด้วยปัญญามนุษย์ เราเหมือนกับปลาที่ว่ายน้ำ แล้วมีนกบินมาบอกว่าลมเย็นนะ เราจะไม่เข้าใจลมเย็นคืออะไร เพราะมันเป็นเรื่องของมิติทางจิต
แต่มนุษย์มีหน้าที่รู้ให้เร็วที่สุดว่าชีวิตคืออะไร แล้วใช้ชีวิตที่เหลือทั้งหมดทำให้ความจริงนั้นสำเร็จ ความจริงนั้นสำเร็จคืออะไร คือมนุษย์แต่ละคนมีหน้าที่ยกระดับจิตวิญญาณตัวเองให้อยู่เหนือสภาพแวดล้อมทุกอย่างในชีวิต ทุกคนมีหน้าที่ยกให้ได้หนึ่งตัน ปัญหาทุกย่างในโลกมันจะไม่มีทางหนักกว่า 1 ตัน จิตคุณจะอยู่เหนือสถานการณ์ทั้งหมด แต่ทีนี้มนุษย์จะชอบเปลี่ยนสถานการณ์ พยายามต่อสู้สถานการณ์ไปตามเหตุปัจจัย ตามหน้าที่ แต่จริงๆ จิตต้องยกให้มันอยู่เหนือ อันนี้คือหน้าที่มนุษย์
หลอมรวมผสาน
สรรพสิ่งล้วนเกื้อหนุน
"ภายนอกทำหน้าที่ ภายในหมั่นพัฒนา"
หลังลัดเลาะเส้นทางการเปลี่ยนผ่านจากชีวิตนักแต่งเพลงนักแต่งธรรมะและศึกษาอย่างจริงจังถึงขนาดเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมะ การใช้ชีวิตด้วยธรรมะ อีกสิ่งหนึ่งซึ่งเขาย้ำ คือการหลอมรวมผสมผสาน ระหว่างธรรมกับชีวิตให้เข้ากัน
“เคยได้ยินคนเถียงกันสองคน คนหนึ่งบอกว่าเข้าวัดปฏิบัติธรรม ต้องใส่ชุดขาวถึงจะดี อีกคนหนนึ่งบอกว่านี่แค่เปลือก จะมาอะไรหนักหนา ธรรมก็คือธรรม จริงๆ มันผิดทั้งสองอัน คือถ้าในเมื่อมันเป็นเปลือกก็ใส่ไปสิ จะได้ไม่ต้องทะเลาะกับเขา ใส่ไปให้มันเป็นระเบียบ เขาอาจจะอยากให้มันเป็นระบบ ก็ใส่ไป แล้วก็ปฏิบัติไป ส่วนคนที่บอกว่าธรรมะเป็นชุด คุณก็อย่าไปยึดติดอะไรมันมากเลย คนเขามาปฏิบัติธรรม
“คือธรรมะมีหลายรูปแบบ อย่างที่กล่าวมาก็มีหลากหลายแบ่งย่อยแยก ฉะนั้นธรรมะต้องเข้าไปให้ถึงแก่นของมัน แล้วจะพบว่ามันหลอมไปได้ทุกอย่าง”
วิทยากรและนักเขียนแนวธรรมะยกตัวอย่างกรณีศึกษา ก่อนจะอธิบายเสริม
“ธรรมะหลอมกับทุกอย่าง ทั้งเรื่องงาน เรื่องเพลง เพลงรักแต่งได้ไหม เราก็ศึกษาคน คนเราเวลาจะรักกันเป็นอย่างไร ก็พบว่าการที่เราแต่งเพลงรัก หรือแต่งหนังสือ เราก็ยังเขียนเรื่องความรักอยู่เลย คนเขาบอกว่าอยากมีความรักแท้ ธรรมะสอนว่าความรักแท้มันไม่ใช่เรื่องความสัมพันธ์ รักแท้มันต้องผุดขึ้นเองในตัวเอง ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ฉันเธอ แต่มันเป็นเรื่องที่เราต้องสร้างขึ้นมาของเราเอง อย่างมหาตมะคานธี ท่านมีรักแท้ ท่านผุดของท่าน แต่องค์ประกอบที่เข้ามาก็คือจะได้รับจากท่านไป แต่ไม่ได้แปลว่าท่านจะต้องมีความสัมพันธ์ก่อนมันถึงจะผุดขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่สร้างมาจากความเมตตาของตัวเอง แล้วคนที่เป็นอย่างนี้ ก็มีรักแท้กับทุกคน อันนี้คือธรรมะในมิติที่ลึกซึ้งมากกว่า มันเหมือนเวลาเขาว่าเรา บางทีเราคิดว่าเขาไม่ดี แต่จริงๆ ถ้าปฏิบัติ ถ้าเพ่งเข้าไปในจิตเรา จิตเรามันไม่ดีต่างหาก เพราะฉะนั้น ทุกอย่างอยู่ที่จิต เราต้องจัดการที่จิตเรา ไม่ใช่จัดการที่เขา จัดการที่เขาคือคุยธรรมดา แต่จัดการที่เราคือเรื่องจิตเรา มันเป็นการเฝ้ามองตัวเองตลอดเวลา สะสางขยะในใจเราตลอดเวลา แล้วพอทำไปถึงระดับหนึ่ง มันก็เกิดความสนุก เกิดความย้อนแย้งบางอย่างกับการอยู่ในสังคม แต่มันไม่ใช่ขัดแย้ง
“ชีวิตเราก็จะดำเนินควบคู่กันไป มีหน้าที่ทำ เราทำ ทำเต็มศักยภาพ แต่ภายในคุณต้องปล่อยวาง อย่างไปบรรยาย เราอาจจะอยากพูดให้มันดีที่สุด ก็พูดให้มันดีที่สุด แต่ถ้าเขาฟังแล้วไม่ชอบก็ต้องปล่อย คือเท่านั้น เราไปเตือนใคร เราก็เตือนให้ดีที่สุด ถ้าเขาไม่ฟัง เราก็ปล่อย หรือเขียนงานให้ดีที่สุด ขายไม่ได้ก็ปล่อย แต่ไม่ใช่ปล่อยวางแบบไม่เข้าใจ ทิ้งทุกอย่าง ไม่รับผิดชอบ หน้าที่ทางโลกมันมีภายในภายนอกตลอดเวลา ภายนอกทำไป ภายในวาง ต้องจัดให้บาลานซ์ ทำไปแรกๆ อาจจะงงกับตัวเอง แต่ทำให้เต็มที่ มันก็จะออกมาดี เนื่องจากปกติมนุษย์ถูกฝึกมาอย่างนี้ เวลาทำอะไรหนักๆ ทุ่มเทมากก็คาดหวังมาก เป็นวิถีทางไปตามกิเลส แต่คนที่ปฏิบัติธรรม เขาทำเต็มที่แล้ว เขาก็พยายามปล่อยวางให้มันมากสุด เราก็ต้องเล่นกับใจตัวเองไปเรื่อยๆ”
ยิ่งรู้แง่มุมธรรมะอย่างแท้จริง ยิ่งง่าย
ยิ่งนำมาปรับใช้ ยิ่งสามารถทำได้ทุกเวลาและสถานที่
“ถ้าคนที่จะรู้ธรรมะ มันก็จะง่าย อย่างไปบรรยาย คนรุ่นใหม่เขาก็มีความรู้ แต่อาจจะไม่ถึงแก่น จึงยากที่จะไปพูดให้เขาคลิกว่าธรรมะคือการนำไปใช้ได้จริงๆ อันนี้ยาก เราก็ต้องเป็นแบบที่เราเป็น ไม่ต้องเป็นพระ ไม่ต้องแต่งตัวเรียบร้อย สบายๆ เขาจะได้รู้สึกว่าเราก็เหมือนเขา เราเหมือนกัน แล้วคุยด้วยภาษาพูดทั่วๆ ไป แต่ที่สำคัญคือเราต้องมาประมวลเอามาใช้เองก่อน ไม่เช่นนั้น เราก็จะไปบอกเขาไม่ได้ เราก็จะงง คือตัวเราต้องรู้ธรรมะ มันง่าย คนทุกวันนี้รู้ธรรมะกันเยอะมาก แต่ถ้าไม่สามารถหลอมธรรมะเข้ากับชีวิตได้ ธรรมะก็คือแค่ความรู้ ยังไม่ใช่ปัญญา เป็นแค่ความฉลาดทางทฤษฏี
“พระพุทธเจ้าบอกว่าความรู้มีระดับที่เรียกว่า “สุตะมะยะปัญญา” สุตะคือการอ่าน การฟัง การพูดคุยกัน การเรียน ระบบการเรียนต่างๆ อีกอันคือ “จินตามะยะปัญญา” คือคิด พอรู้เสร็จคุณมาประมวลผล แต่ส่วนใหญ่คนจะหยุด หยุดอยู่แค่นี้ หยุดอยู่แค่สองอัน ไม่ไปสู่ “ภาวนามะยะปัญญา” การเอามาทำมาปฏิบัติจนจิตมันเข้าใจ จิตเข้าใจกับความรู้ความเข้าใจมันต่างกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าวันนี้เรานั่งคุยกันเรื่องผี มีศาสตราจารย์มาพูดเรื่องป่าช้าไม่น่ากลัว 3 วันติดกัน แล้ววันที่ 4 ปล่อยให้ไปตั้งแคมป์กลางป่าช้าวัดดอน คุณจะกลัวไหม ก็กลัวอยู่ดี แล้วทำไมความรู้มันไม่ทำให้ไม่กลัว นั่นคือสมองกับจิต สมองเราเรียนธรรมะกันได้หมด แต่ถ้าไม่พาจิตเข้าไปรู้ มันก็ช่วยอะไรไม่ได้ ธรรมะมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร ทุกวันนี้คนจะเรียนธรรมะกันในแง่ปรัชญา เรียนไว้คุยกัน ซึ่งมันไม่ได้มีประโยชน์อะไร มันสู้ตาสีตาสาชาวบ้านที่เขาเข้าวัดนั่งสมาธิไม่ได้ มันวัดกันตรงนี้มากกว่า ธรรมะในใจ ไม่ได้วัดกันที่ความรู้ ต้องหลอมมันเข้ามา”
“วิธีหลอม ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของพระพุทธเจ้า ศีลคนชอบคิดว่ามันเป็นข้อห้าม จริงๆ อยากให้เปลี่ยนแนวคิดใหม่ ให้คิดว่าศีลมันคือความท้าทายการใช้ชีวิต คือทำ 5 ข้อให้ได้ มันไม่ใช่เรื่อง่าย ถ้าเราท้าทายตัวเองให้ทำได้ อย่างเราจะทำมาหากินยังไงโดยไม่ให้เราโกหก บิดเบือนความจริง มันทำยาก ยิ่งถ้าคนที่อยู่ในสังคมนี้ อาชีพที่จะขาย เป็นเซลส์ เราจะทำอย่างไร ไม่โกหก บิดเบือน แต่ขายได้ มันทำยาก คนเลยโกหกบิดเบือน แต่ถ้ามีคนคนหนึ่งตั้งว่าศีล 5 คือความท้าทาย จะเอาให้ได้ ทำให้ได้ มันจะเกิดความสนุก เราไม่ได้มองศีลเหมือนคนแก่ กินสุรานิดๆ หน่อยๆ ผิด ในสายตาผม คนจิบไวน์ นิดๆ หน่อยๆ ผมไม่ได้มองว่านี่คือการผิดศีลร้ายแรง มันมองที่ตัวแก่นแท้ว่าเขาขัดเกลาตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน
“อีกอย่างที่อยากให้เปลี่ยนแนวคิดคือ สมาธิกับการวิปัสสนา”
วิทยากรนักเขียนหนุ่มกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการกระทำเดิมที่สั่งสมของการนั่งสมาธิและวิปัสสนา ต้องอยู่ในสถานที่สงบ เงียบ ไร้ซึ่งสิ่งรบกวนใดๆ
“คือถ้าคุณคิดว่าเป็นการนั่งอยู่กับที่แล้วเมื่อไหร่มันจะได้ทำ ก็ไม่ได้ทำ มันก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ถ้าครีเอตให้มันมาอยู่ในชีวิตได้ หลอมให้มันเข้ามาว่าคุณจะดีไซน์อย่างไรให้คุณนั่งดูลมหายใจได้ขณะที่ทำงาน ขับรถ ให้มันเข้ามา ในเรื่องศีล สมาธิแล้วแพ็กมัน สองอันนี้แล้วใส่เข้าไปในทุกกิจกรรมในชีวิตของคุณ สมมติว่าผมจะขายหนังสือเล่มหนึ่ง มีคนถามว่าดีไหม ผมจะพูดอย่างไรให้มันตรง ไม่เวอร์ แต่รู้สึกว่ามันดี ให้เขาซื้อ หรือไปบรรยาย จะพูดอย่างไรให้ไม่โกหก คือมันเป็นความท้าทาย ถ้าเราทำสองสิ่งนี้ได้ สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็คือ
“หนึ่ง เราจะเป็นคนกล้าพูด เพราะคนที่ไม่กล้าพูดคือเขาทำผิด กลัวคนโจมตี ถ้าคนคนหนึ่งไม่ได้ทำผิดอะไร จะไม่กลัวอะไร มีความกล้าหาญเพิ่มขึ้น สอง เวลาเราทำ เราสำรวจตัวเอง เราจะรู้สึกว่าตัวเราเลวจังเลย ไม่ใช่ว่าเราดี สำรวจไปจะพบแต่ความชั่วช้าสามานย์ของตัวเอง เวลาคนอื่นเขาทำอะไร เราจะได้ไม่ไปด่าเขาเยอะ มันเหมือนตัวเราก็ไม่ได้ดีอะไร เราจะเห็นคนอื่นเขาเป็นเพื่อนมากขึ้น แล้วมันจะเกิดสติปัญญา มันจะมาจากสมาธิ ทุกอย่างมันจะมาพร้อมกัน มันเหมือนเราหาเงินได้เยอะขึ้นด้วย เพราะว่าประสิทธิภาพการทำงานเรามันเยอะขึ้น ในขณะที่กิเลสเราลดลง ช่องว่างระหว่างเงินกับสิ่งที่เราอยากจะซื้อมันห่างกันเยอะ เราก็กลายเป็นคนที่ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน
“ถ้าเราหาเงินอย่างเดียว กิเลสเราก็ท่วมไปด้วย กิเลสมันเหมือนหลังคา คุณจะไม่มีวันโตสูงกว่าหลังคา เงินที่คุณมี ไม่มีวันสูงกว่าหลังคา คุณโตแค่ไหน หลังคามันสูงขึ้นตามไป เพราะฉะนั้น เราต้องดับความต้องการของเรา ขณะที่ประสิทธิภาพเราเพิ่มขึ้น แล้วมันก็เพิ่มเร็วขึ้น ชีวิตมันสมบูรณ์ วันนี้เราโกรธเรื่องนี้ วันหน้าเราต้องไม่โกรธ หรือคนนี้ไม่ชอบเรา เราอยากชนะตัวเอง เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เฉยๆ กับเขาให้ได้ ทำงานร่วมกันได้ โดยรู้ว่าเขาไม่ชอบเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ทำง่ายๆ มันต้องต่อสู้กับตัวเอง ต่อสู้กับตัวเองไปเรื่อยๆ จิตมันก็อิสระไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่อยู่ภายใต้อารมณ์ของใคร มันไม่อยู่ภายใต้กิเลส วัตถุเงินทองทำอะไรเราได้น้อยลงไปเรื่อยๆ มันก็มีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ
“ไม่อย่างนั้น เราก็ไม่สามารถพบตรงนี้ได้ เพราะเรายังไม่ทันอยากได้อยากมี มันมีมากระตุ้นแล้ว เรายังไม่ทันคิดเลยว่าชีวิตเรามันดีหรือไม่ดี มันมีคนมาบอกแล้วว่าชีวิตเรามีปัญหา ทุกวันนี้ ระบบการขายทุกอย่าง หนึ่ง เขาจะพูดอะไรก็ตามให้รู้สึกว่าชีวิตคุณมีปัญหา หรือไม่ก็ความเป็นคุณไม่พอแล้วอีกต่อไป บางทีเราอาจจะมีความสุขของเราอยู่แล้ว บางทีเราพอ เรายังไม่ทันคิดว่าเราพอไหม แต่มีคนเดินมาบอกว่าเรายังขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องพัฒนาตัวเอง”
สิ่งไม่ดีกลายเป็นสิ่งที่ดี
จากผู้ขายกลายเป็นผู้ให้
การขอบคุณกลายเป็นการค้า
คือสิ่งที่ส่อเค้าแววซับซ้อนจนอยากจะมองเห็นความจริง
“เหมือนคุณจ่ายเงินให้ผม แต่ผมให้คุณ แล้วคุณก็งงผมให้คุณหรือคุณให้ผม เหมือนการขอบคุณกลายเป็นการค้า ผมทำอันนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการขอบคุณคุณ แต่คุณต้องมาซื้อผมนะ ซึ่งมันผิด ทุกอย่างมันกลายเป็นการซื้อขายกันหมดในโลกนี้ วิชาความรู้เอย จนมันมีคำว่า "ของอะไรก็ตามหรือคุณมีสินค้าอะไรก็ตาม ถ้าคุณให้เขาฟรีๆ มันกลายเป็นทำให้ระบบรวน" กลายเป็นว่าการที่คุณให้อะไรใครฟรีๆ เป็นการทำลายระบบแล้ว คือจริงๆ แล้ว มันเป็นการเมตตา แต่การเมตตานี่ทำลายระบบ ที่เขากำลังเกิดการค้าขายกันอยู่ ระบบพวกนี้มันส่งต่อกันมา ระบบพวกนี้เป็นการทำให้ทุกคนมันเชื่อแบบนี้กันหมด แล้วกระจายความเชื่อแบบนี้ไปสู่สังคม
“ฉะนั้น ยิ่งสิ่งเร้าเยอะ เรายิ่งต้องดูตัวเองมากๆ เพราะเราไปเปลี่ยนโลกไม่ได้ มันเป็นแบบนี้ แต่มันอยู่ที่เราจะรักษาใจตัวเองอย่างไร ระบบอะไรทุกอย่างมันก็เป็นไปของมัน เราทำได้แค่ว่ารู้ว่าความพอดีคืออะไร อยู่ตรงไหน หน้าที่ที่แท้จริงอยู่ตรงไหน ของส่วนใหญ่ที่คุณมี บางทีไม่ได้มีเพื่อตัวเอง มีเพื่อให้คนอื่นมองว่าเราดี เราพิเศษ ถ้าเป็นอย่างนี้มันเหนื่อย มันคือการที่คุณก็ต้องทำใจทำไป แต่ลองนั่งคิดดูสิว่าทำไม ตอนเด็กๆ เรามีเงินซื้อของเล่น เรามีความสุขแล้ว แต่ทุกวันนี้ เรามีเงินซื้อของเล่นตั้งเยอะแยะ เราไม่มีความสุข มันแปลว่าความต้องการของเรามันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามันมีมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถหยุดความต้องการได้ คนคนนั้นก็จะไม่มีวันเป็นหนี้ ไม่มีอะไรแล้ว เมื่อเขาไม่เป็นหนี้ เขาทำงาน ตั้งใจทำ เงินทองเพิ่มขึ้นมา เขาก็รวย จะใช้ จะเอาไปให้คนโน้นคนนี้ก็ได้
“สรุป ถ้ากิเลสน้อย ความสามารถสูง ยังไงก็อยู่ได้ เมื่อก่อนเรามีความเชื่อว่า ต้องตั้งใจขยันทำงานหนัก ถึงจะมีชีวิตมั่นคง แต่คนทุกวันนี้ไม่ต้องการทำงาน แต่ต้องการให้เงินไหลเข้ามา มันเกิดความคิดอย่างนี้ แล้วเด็กรุ่นใหม่ๆ เป็นอย่างนี้หมด ไม่ได้มองหางานที่เป็นงาน ไม่ได้มองหางานที่ต้องทำ แต่มองหางานที่ไม่ต้องทำ มองมุมหนึ่งมันเป็นความฉลาดก็ใช่ แต่มองมุมหนึ่งมันเป็นความคิดที่ไม่ถูกไหม บางทีมันก็ไม่ถูก เพราะงาน ถ้าเรามองว่ามันเป็นแค่เครื่องมือปั๊มเงิน ก็คิดต่ำไปหน่อย งานมันคือวิถีชีวิต ความรู้สึกผม ถ้าถูกลอตเตอรี่พันล้าน ผมก็ต้องเขียนหนังสือต่อไป เพราะมันไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว คือคนถ้าทำอะไรแล้วมันเป็นสิ่งที่ชอบทำ ก็เป็นสุข พอเป็นสุขก็ทำให้พร้อมปล่อยวางภายใน เราเป็นคนกำหนด จัดระบบสมาธิได้ เราก็เข้าใจชีวิต”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วชิร สายจำปา