“แค่เด็กบ้านๆ แค่เด็กเลี้ยงวัว เนื้อตัวไม่ใสสะอาด
ไม่ได้ถือกระดาษ พี่ถือแต่เคี้ยวตัดหญ้า มหา’ลัยวัวชน...”
เป็นเนื้อร้องและทำนองที่คุ้นชิน ติดอกติดใจใครหลายคนจนร้องตามกันทั่วทั้งประเทศ สำหรับผลงานซิงเกิ้ลเพลง “มหา’ลัยวัวชน” ของ 6 หนุ่มจากกลุ่มศิลปินวง “พัทลุง”
และแม้จะปล่อยซิงเกิ้ลมาแล้วหลายปี ล่าสุด เนื้อร้องทำนองนี้ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษก็ได้รับกระแสตอบรับในความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอแนวทางของทางวงอย่างชัดเจน
“เจ๋ง” “เพราะ” “โดนใจ” คือคำกล่าวยืนยันของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง
จากเด็กบ้านๆ โนเนมในโลกกว้าง ความรักความชอบในดนตรีคือดัชนีชี้ทางให้ย่างก้าว จากหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดพัทลุง ปัจจุบัน “พัทลุง” พุ่งแรง ด้วยแสงแห่งความสามารถ โดยมีความคิดเรื่องอนุรักษ์เอกลักษณ์เป็นเสาหลักค้ำยัน เชื่อว่าบทสัมภาษณ์นี้ จะทำให้คุณรู้สึกรัก “เด็กบ้านๆ” แห่งมหา’ลัยวัวชนกลุ่มนี้...
แค่เด็กบ้านๆ แค่เด็กเลี้ยงวัว
ที่อยากมีเพลงเป็นของตัวเอง
“พวกเราทั้งหมดเป็นเพื่อนกันในหมู่บ้าน ก็เจอกันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วบังเอิญมีความรักความชอบทางด้านนี้เหมือนกัน ก็เลยเกิดการรวมตัวทำวงกันขึ้นมาเล่นในช่วงชั้นมัธยมปลาย ก็ไม่ได้คิดว่าจะมีชื่อเสียง เราแค่อยากเล่นให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้ฟัง และก็อยากจะถ่ายทอดผลงานของศิลปินที่เราชื่นชอบครับ”
“เทอดพงศ์ เภอบาล” นักร้องนำผู้ขับขานเนื้อร้องวัย 22 ปี กล่าวเล่าจุดเริ่มต้นแห่งการรวมตัวกันของสมาชิกวง “พัทลุง” ณ ตอนนั้นที่ก่อร่างสร้างตัวมาจากความรักความชอบ โดยที่ไม่รู้ว่าจะกลายมาเป็นศิลปินกลุ่มเยาวชนที่โด่งดัง มีซิงเกิ้ลผลงานฮิตติดปากติดใจผู้คนทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งมีเอกลักษณ์ในวิถีปักษ์ใต้
“พอเรารวมตัวกัน ช่วงนั้นก็ซ้อมและเล่นที่โรงเรียนบ้างตามประสาพวกเรา แล้วบังเอิญมีผู้ใหญ่ใจดีท่านให้โอกาสพวกเรา ท่านได้ให้ไปเล่นในสถานบันเทิง คือแถวๆ บ้านจะมีผับแห่งหนึ่ง เราก็ไปเล่น ก็มีทั้งชอบบ้างไม่ชอบบ้าง (หัวเราะ) แต่เราก็ไปเล่นด้วยใจ เพลงที่เล่นก็เพลงตลาดทั่วไป มีแซมๆ เพลงของภาคใต้บ้าง อย่างเพลงของพี่เอ๋ สันติภาพ เพลงของอาจารย์ไข่ มาลีฮวนน่า ณ เวลานั้น พวกเราก็ยังไม่ได้มีเอกลักษณ์หรืออุดมการณ์ที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้บ้านเรา จะออกแนวสตริงจ๋าด้วยซ้ำ
“เวลาเล่นดนตรีของพวกเราก็มีชนกับการเรียนบ้าง เนื่องจากว่า เราเล่นเวลาตี2-4 ตอนหัวรุ่ง กลับมาถึงบ้านก็ประมาณตี 5 อาบน้ำแต่งตัว 6-7 โมงไปโรงเรียน อาศัยหลับตอนช่วงพักเที่ยง ไม่อย่างนั้นไม่รอด (หัวเราะ) ช่วงนั้นก็เป็นอย่างนี้ เล่นไปเรื่อยๆ เกือบๆ 3 ปี
“ทางบ้านก็ไม่เห็นด้วยว่าทำไมต้องไปเล่นดนตรีดึกๆ ดื่นๆ กลับมาบ้านตอนเช้าก็ไปต้องไปโรงเรียนเลย ซึ่งตอนนั้นผมแทบไม่ได้เจอพ่อแม่เลย เพราะว่าเวลาไม่ตรงกัน ตอนเย็นกลับมาก็ต้องซ้อมดนตรีแล้วนอนได้หน่อย หนึ่งตื่น ไปเล่นดนตรี กลับมาจากเล่นดนตรี พ่อแม่ก็พาไปกรีดยาง กรีดยางถึงเช้า ผมกลับมา ก็ไปเรียน
“อย่างเรื่องการประกวด ก็ทะเยอทะยานเหมือนกันตามประสา มีวงก็จะต้องไปหาเวทีประกวด ไปหาเวทีที่เราจะนำเสนอตัวตนของเราหรือเพลงของเราที่เราชื่นชอบ จนได้มาเจอกับพี่โอ พารา (ทิวากร แก้วบุญส่ง)”
ณ ตรงนั้น ชื่อของวง “พัทลุง” จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2556 ด้วยพลพรรคสมาชิก 6 ชีวิต ประกอบด้วย นายเทอดพงศ์ เภอบาล(พงศ์) ตำแหน่ง ร้องนำ นายวรากร แป้นสดใส (พีร์) ตำแหน่ง กีตาร์ นายจิรายุทธ กูลสุวรรณ์(เค) ตำแหน่ง กีตาร์ นายณัฐวุฒิ ถึงเกื้อ(บิว) ตำแหน่ง เบส นายทศพล ยางสูง(กาย) ตำแหน่ง คีบอร์ด นายอรรถพงศ์ ชุมแก้ว(ต๊ะ) ตำแหน่ง กลอง
“พี่โอแกเป็นศิลปินที่ดังมากๆ ของบ้านเราเมื่อก่อน แกแต่งเพลง “รักนี้ไม่มีพรมแดน” เพลง “ยางผลัดใบ” เพลง “คิดถึงเรื่อยๆ” เพลง “กลับใจ” และชีวิตแกก็ผ่านอะไรมาเยอะ ออกเผชิญเส้นทางฝัน ค้นหาชีวิตวัยหนุ่มบ้านนอกตั้งแต่อายุ 17 เข้าทำงานร้านอาหาร ทำงานห้าง พนักงานโรงแรมระหว่างเรียนเทียบจนจบ ม.6 เสร็จแล้วก็มาต่อปริญญาตรี ทำงานกลางคืนควบคู่ไปด้วย จนได้เป็นนักดนตรีในผับอย่างที่ตั้งใจ ก่อนจะสร้างผลงานขึ้นมา
“พวกเราก็ชอบ และอยากจะเป็นแบบพี่เขา แต่ตอนแรกเราไม่รู้ว่าพี่เขาเป็นคนบ้านเดียวกับเรา เพิ่งมารู้ทีหลัง ตอนนั้นพี่โอเขาเรียนจบปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต ศิลปกรรมดนตรี เอกเปียโน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต แล้วกลับมาอยู่บ้าน ถึงได้เจอ พอเจอพอรู้ว่าเป็นศิลปินที่เราชื่นชอบ เราก็เข้าไปหาพี่เขาบ่อยมาก”
ก่อให้เกิดการซึมซับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันและกันของพี่บ่าวกับน้องบ่าว
“ก็ใช้ระยะเวลาอยู่พักหนึ่ง ถึงจะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นโดยที่เราไม่โต้แย้ง เพราะเราก็ยังมีความคิดแบบเด็กๆ ของเราอยู่ อย่างเรื่องความฝันการทำเพลง ถ้าเราจะทำเพลง เราก็อยากทำเพลงที่วัยรุ่นจ๋าหรือเพลงที่สาวๆ ได้กรี๊ดกัน”
นักร้องหนุ่มเผยช่วงเวลานั้นพลางลั่นเสียงหัวเราะ
“แต่พี่โอเขาก็ค่อยบอกค่อยกล่าว สอนเรื่องการใช้ชีวิตจริงๆ ควรเป็นอย่างไร เรื่องนิสัย สอนถึงชีวิตนักดนตรี ก็ทำให้เราได้รู้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแบบก้าวกระโดด พี่แกค่อยพูดค่อยบอกให้รู้ว่าต้องอย่างนี้ๆ นะ แกก็สอนหมดเลย ดนตรี ชีวิต เพลง เหมือนเราเป็นคนหนึ่งของครอบครัว
“และในระหว่างที่แวะเวียนไปมา พี่โอเขาก็ก่อตั้ง 'พาราฮัทมิวสิค' เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 ซึ่งคล้ายๆ ค่ายเพลง แต่เราเรียกว่าโรงเรียน เพราะไม่ได้มีอาคารหรือตึก ไม่ได้มีนายทุน เป็นเพียงกระท่อมหลังเล็กๆ ในสวนยางพารา เป็นที่รวมตัวของพวกเรา ผู้อำนวยการไปจนถึงภารโรงก็เป็นคนคนเดียวกัน คือพี่โอ เป็นผู้ที่แต่งเพลงให้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนทางดนตรีให้ แล้วก็เป็นผู้ที่อบรมบ่มนิสัยน้องๆ
“จากนั้นพี่โอตั้งชื่อวงให้เราว่า 'พัทลุง' ด้วยความตั้งใจที่จะเชิดชูจังหวัดบ้านเกิดของพวกเราซึ่งถือเป็นจังหวัดที่ให้กำเนิดศิลปะท้องถิ่น หนังตะลุงกับมโนราห์ประจำภาคใต้ ฉะนั้น เราควรเสนอความเป็นท้องถิ่น ไม่ต้องให้สาวๆ กรี๊ด แต่ว่าให้มีคุณค่า มีความหมาย และตัวตนของพวกเรา”
ความเป็นตัวตนของวง 'พัทลุง' จึงเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมตรงนั้น ก่อนที่จะรังสรรค์ออกมาเป็นท่วงทำนองเพลง “มหา'ลัยวัวชน” มหาลัยชีวิตของเด็กชนบทที่หยิบเอาความรู้สึกของเด็กบ้านนอกมาถ่ายทอด
“ถึงแม้ไม่มีใบปริญญา ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เป็นแค่เด็กเลี้ยงวัวชนธรรมดาๆ คนหนึ่ง แต่มีความรัก ความจริงใจให้กับผู้หญิงที่ตัวเองชอบอย่างเปี่ยมล้น เป็นมนต์เสน่ห์ของชาวใต้ ก็อยู่ที่ความจริงใจของพวกเรา อันนี้ในความรู้สึกของผมนะครับ ถึงแม้หน้าตาจะไม่หล่อ หรือว่าไม่ใช่สเป็กของสาวๆ แต่ความจริงใจที่เรามีต่อเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารัก เรามีให้เต็มเปี่ยมครับ นี่คือคนปักษ์ใต้บ้านเรา”
มหา'ลัยวัวชน
จากหมู่บ้าน ตำบล จนประเทศ
“พอได้เพลงมหาลัย'วัวชน พวกเราก็เป็นแค่เด็กในชุมชนที่ไม่มีต้นทุนในการทำเพลงหรือว่าแต่งเพลงขึ้นเองได้ ตอนที่เราทำเพลงมหา’ลัยวัวชน พวกเราก็ต้องยืมจากพ่อแม่ทุกคนในวง ยืมพี่โอ เอาไปใช้อัดเพลงนี้ อัดเสร็จ ตอนทำมิวสิควิดีโอก็ไม่ได้เตรียมอะไรเลย เสื้อผ้าหน้าผมก็ไม่ได้เตรียม ชุดเดิมๆ ที่เราใส่เดินทางไปซ้อมเพลง (หัวเราะ) รถเก๋งก็ยืมพี่ๆ แถวบ้านเอา วัวก็วัวของพี่ๆ แถวบ้าน พี่โอเขาก็ยืมมาให้ จากนั้นก็อัปลงยูทูปแล้วไปฝากเพื่อนๆ ที่โรงเรียนแชร์
“วันแรกกระแสตอบรับก็ไม่ได้ถึงหลักพัน ผ่านไปเดือนหนึ่งยังไม่ถึงแสนยอดวิวด้วยซ้ำ คือดังอยู่ในโซนบ้านเรา แต่ก็พอดีมันเข้ากับคอนเซ็ปต์ที่ว่าเราทำเพลงเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเรา แล้วก็ทำเพลงให้คนในชุมชนได้ฟังกันก่อน ให้คนในหมู่บ้านได้ฟังกันก่อน แล้วถ้าคนในหมู่บ้านได้ฟัง ยอมรับ ทุกคนในหมู่บ้านก็จะช่วยกันกระจายไปยังตำบล แล้วก็กระจายไปยังตัวอำเภอ ตัวจังหวัด แล้วไปภาค”
นักร้องหนุ่มเผยถึงขั้นตอนผลงานเพลงมหาลัย'วัวชน โดยที่ไม่รู้ว่าจำเนียรกาลผ่านมา บทเพลงของพวกเขาจะกลายเป็นติดท็อปฮิตทั่วฟ้าเมืองไทย
“ก็เกือบที่จะไม่ได้มีพวกเราในวันนี้แล้วเหมือนกันครับ เพราะช่วงนั้นที่ทำเพลงออกมาก็ประมาณ ม.6 เทอม 2 พอดี เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับต้องเลือกเส้นทางว่าจะเรียนหรือมุ่งทางด้านดนตรี เพราะเราจะเรียนจบแล้ว ทว่าเพลงเราก็ยังไม่มีกระแสมากมาย ยังไม่มีงานเข้า ยังไม่มีคอนเสิร์ต ก็มีคิดกันไว้บ้าง สองจิตสองใจ เรียนหรือดนตรี
“บังเอิญว่า พอเข้าเดือนที่ 3 กระแสเพลงมหาลัย'วัวชน มันเข้ามามากมาย ทั้งในเฟซบุ๊กและในยูทูป”
นักร้องหนุ่มเผย ก่อนรีบเล่าเรื่องราวที่พลิกเปลี่ยนชีวิตอย่างฉับพลัน
“คือมีคนติดต่อให้ออกงานเล่น แต่ก็ไม่มาก อาทิตย์ละครั้งสองครั้ง เป็นงานประจำปีในท้องถิ่นบ้าง งานบวชบ้าง งานแต่งบ้าง ตอนนั้นก็รับหมด ช่วงนั้น คนแถวๆ บ้านหรือในจังหวัดใกล้เคียง ก็พอจะร้องตามได้แล้ว หน้าเวทีก็มีกระแสตอบรับประมาณหนึ่ง ทีนี้ พอเดือนที่ 5-6 ก็เริ่มมีกระแสในภาคใต้ ก็มีจังหวัดใกล้เคียงบ้าง”
“เราก็เลยคุยกันและตัดสินใจมาเส้นทางนี้”
นักร้องหนุ่มกล่าวถึงการเลือกก้าวเดินต่อ ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงซิงเกิ้ลที่ดังได้เพียงแค่ในท้องถิ่น กระนั้นก็ยังยึดมั่นฝ่าฟันอย่างแน่วแน่ ไม่แปรเปลี่ยน กระทั่งโด่งดังมีชื่อเสียงอย่างทุกวันนี้
“เพราะอย่างที่บอกไปตอนต้นว่าความฝันของพวกเรา ณ ตอนนั้นที่เริ่มกันขึ้น เราต้องการแค่อยากมีเพลงของตัวเองสักหนึ่งเพลง เราไม่คิดว่าจะเป็นเพลงดัง ไม่คิดเลย คิดอย่างเดียวคืออยากจะมีเพลงเป็นของตัวเองสักเพลงหนึ่ง เป็นความภาคภูมิใจของพวกเรา แต่พอเราถ่ายถอดออกไป มีกลุ่มคนให้การตอบรับ เล็งเห็นในสิ่งที่เราทำ ก็เกิดความภาคภูมิใจ
“ก็ต้องขอบพระคุณมากๆ ขอบพระคุณจริงๆ ที่พี่ๆ น้องๆ หรือว่าตลาดให้โอกาสเรา แล้วพี่โอก็ได้หยิบยื่นโอกาสดีๆ ให้กับพวกเรา นอกจากสอนพวกเราในเรื่องต่างๆ ยังแต่งเพลงให้พวกเราทั้งหมด เราเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะตรงนี้ เป็นอะไรที่มีคุณค่าต่อชีวิตพวกเรามากๆ พวกเราก็พยายามรักษาตรงนี้ไว้ให้ดีที่สุด”
หลังจากนั้นก็ได้เงินทุนจากการเล่นคอนเสิร์ตมาทำเพลงผลงานต่อๆ มาอย่าง เพลง “คบแล้วจะรัก” เพลง “มดแดงเฝ้าม่วง” และเพลง “ที่อยู่ตรงนี้ก็มีหัวใจ”
“แต่ด้วยความที่เราไม่ได้เป็นค่ายยักษ์ใหญ่อะไร เราอยู่กันแบบครอบครัว พวกเราไม่มีนายทุน ไม่มีระบบธุรกิจอะไร เงินทุนก็ได้จากการเล่นคอนเสิร์ต เราก็แบ่งเงินทุกก้อนไว้เป็นกองกลางเพื่อจะได้เอาไว้ทำเพลงและเอาไว้ถ่ายเอ็มวีของทางค่าย พี่ช่วยน้องครับ
“ปัจจุบันพวกเรามีกัน 60 กว่าคน ที่มีความรักในเสียงเพลง พวกเราไม่ได้เล่นดนตรีอย่างเดียว เพราะเมื่อเล่นดนตรีได้เงินมา เราก็อยากให้คืนกับสังคมบ้าง โดยมีโครงการในค่ายของพวกเราคือ หนึ่งเดือนหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นการคืนกำไรให้กับสังคมที่ช่วยผลักดันให้เรามา ไม่ว่าจะจัดคอนเสิร์ตที่บ้าน เมื่อวันที่ 14 เดือนที่ผ่านมาก็จัดคอนเสิร์ตในตัวอำเภอ จังหวัด รายได้ทั้งหมดไปมอบให้กับวัด โรงเรียน
“เพราะเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราเดินทางต่อไป ถ้าเราไม่ได้โอกาสจากพี่โอ เราก็ไม่มีตรงนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ก็เหมือนเราต่อจากรุ่นสู่รุ่น ถึงยึดตรงนี้อย่างเหนียวแน่น เพราะว่าไปอยู่ตรงนั้นมันมีความเป็นครอบครัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บ้านพี่สู่บ้านน้อง"
ไม่ดังก็ขอร้อง
"พัทลุง" ด้วยความภูมิใจ
หลังจากลัดเลาะชีวิตจุดเริ่มต้นและแนวความคิดจนประจักษ์ชัด คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวตนที่หนักแน่นของพวกเขาเป็นธงนำที่กำหนดชี้ทางให้เด็กบ้านๆ โด่งดังจนเป็นที่รู้จักระดับเด็กเมืองกว่าทั่วประเทศ คำถามที่น่าคิดก็คือว่าในยุคที่กระแสเพลงมีความหลากหลายของผู้เสพเป็นตัวกำหนด หากไม่เปรี้ยงปร้างมีชื่อ การคงอยู่บนทางสายนี้อาจไม่ถาวร
“คือพวกเราไม่ได้มีความรู้สึกถึงตรงนั้น แล้วก็ไม่ได้ไปยึดติดมากเกินไปว่าจะดังหรือไม่ดัง อย่างที่บอกตอนต้นว่าจุดประสงค์การรวมตัวเราเป็นอย่างไร เราแค่อยากจะนำเสนอวิถีของปักษ์ใต้บ้านเราเท่านั้น
“พวกผมเริ่มมาจากศูนย์ จนตอนนี้ได้ 4-5 ก็ถือว่าเป็นกำไรของพวกเราแล้ว ซึ่งผู้ใหญ่หลายๆ ท่านที่คอยเป็นต้นแบบให้เราเดินแนวทาง ไม่ว่าเราจะไปเจอผู้ใหญ่ในวงการ พี่ๆ ในวงการ เขาก็บอกว่าเราต้องรักษาไว้ ณ ตรงนี้ ผมก็ถือว่าเป็นตัวแทนผู้เยาว์ชนที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งวิถีใต้ ภาคใต้
“ส่วนเพลงมหาลัย'วัวชน ที่เราทำออกมาเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ก็เพราะว่า อยากจะนำเสนอวิถีชีวิตคนไทยภาคใต้ให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ไม่ได้มาปลุกกระแสหลังจากที่เพลงนี้ออกไปนานแล้วเพื่อให้คนไม่ลืมเรา”
“แต่ก็ยอมรับว่าดีใจที่เพลงเรายังคงอยู่และกระแสก็ให้การยอมรับ ในความรู้สึกของผมก็ให้เพลงมันต่อยอดตัวเอง การทำเพลงของเราทั้ง 6 ก็ทำอย่างเต็มที่เต็มความสามารถเพื่อให้สมกับที่แฟนเพลงให้การยอมรับ ส่วนเรื่องการดำเนินชีวิตต่อไปเราก็พยายามอ่อนน้อมถ่อมตน มีชื่อเสียงแล้วก็ยังมีความเป็นเราเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเด็กบ้านๆ (หัวเราะ) ก็ยังใช้ชีวิตแบบเดิม ยังช่วยงานพ่อแม่ ไม่ว่าจะกรีดยาง ทำไร่สัปปะรดหรือว่าตัดต้นปาล์ม ก็เหมือนเดิม ช่วยที่บ้านเหมือนเดิม
“มือเบสของวงก็ยังช่วยที่บ้านเลี้ยงวัวอยู่”
นักร้องหนุ่มหยอกเอินเส้นทางชีวิตของเพื่อนและตัวเองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงด้วยอารมณ์สีหน้าเปี่ยมสุขที่สัมผัสได้อย่างเข้าถึง ก่อนจะกล่าวเสริมเส้นทางในอนาคตของบ่าวเกลอ
“เรื่องคอนเซ็ปต์ตรงของพวกเราก็ยังคงเอาไว้ดังเดิม เป็นเพลงบ้านๆ เพลงท้องถิ่น เพลงภาษาใต้ นำเสนอวิถีชีวิต วิถีใต้ เพลงใต้ ภาษาท้องถิ่น ก็อยู่ที่แฟนคลับและแฟนเพลงจะตอบรับพวกเรา แต่ว่าดังแค่นี้ มันมากพอสำหรับพวกเราแล้ว ถ้าถามความรู้สึก มันเยอะมาก เพียงแต่ว่าพวกเราก็จะพยายามทำให้เต็มที่ที่สุด ก้าวช้าๆ อย่างมั่นคง
“ก็รู้สึกดีใจครับที่ได้เป็นวันรุ่นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งได้เสนอความเป็นท้องถิ่นของปักษ์ใต้และวิถีชีวิต นำเสนอความเป็นวิถีชีวิตให้คนอื่นหรือว่าให้ชาวต่างชาติได้รับรู้แล้วก็ได้รับชมกัน บทเพลงจากค่ายพาราฮัท มิวสิค ยังคงเป็นเพลงใต้ ภาษาท้องถิ่น ในรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชนบท พวกเราขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์เอาไว้ซึ่งเพลงใต้ เพลงท้องถิ่นให้มีลมหายใจต่อไป"
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วงพัทลุง
ไม่ได้ถือกระดาษ พี่ถือแต่เคี้ยวตัดหญ้า มหา’ลัยวัวชน...”
เป็นเนื้อร้องและทำนองที่คุ้นชิน ติดอกติดใจใครหลายคนจนร้องตามกันทั่วทั้งประเทศ สำหรับผลงานซิงเกิ้ลเพลง “มหา’ลัยวัวชน” ของ 6 หนุ่มจากกลุ่มศิลปินวง “พัทลุง”
และแม้จะปล่อยซิงเกิ้ลมาแล้วหลายปี ล่าสุด เนื้อร้องทำนองนี้ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษก็ได้รับกระแสตอบรับในความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอแนวทางของทางวงอย่างชัดเจน
“เจ๋ง” “เพราะ” “โดนใจ” คือคำกล่าวยืนยันของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง
จากเด็กบ้านๆ โนเนมในโลกกว้าง ความรักความชอบในดนตรีคือดัชนีชี้ทางให้ย่างก้าว จากหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดพัทลุง ปัจจุบัน “พัทลุง” พุ่งแรง ด้วยแสงแห่งความสามารถ โดยมีความคิดเรื่องอนุรักษ์เอกลักษณ์เป็นเสาหลักค้ำยัน เชื่อว่าบทสัมภาษณ์นี้ จะทำให้คุณรู้สึกรัก “เด็กบ้านๆ” แห่งมหา’ลัยวัวชนกลุ่มนี้...
แค่เด็กบ้านๆ แค่เด็กเลี้ยงวัว
ที่อยากมีเพลงเป็นของตัวเอง
“พวกเราทั้งหมดเป็นเพื่อนกันในหมู่บ้าน ก็เจอกันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วบังเอิญมีความรักความชอบทางด้านนี้เหมือนกัน ก็เลยเกิดการรวมตัวทำวงกันขึ้นมาเล่นในช่วงชั้นมัธยมปลาย ก็ไม่ได้คิดว่าจะมีชื่อเสียง เราแค่อยากเล่นให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้ฟัง และก็อยากจะถ่ายทอดผลงานของศิลปินที่เราชื่นชอบครับ”
“เทอดพงศ์ เภอบาล” นักร้องนำผู้ขับขานเนื้อร้องวัย 22 ปี กล่าวเล่าจุดเริ่มต้นแห่งการรวมตัวกันของสมาชิกวง “พัทลุง” ณ ตอนนั้นที่ก่อร่างสร้างตัวมาจากความรักความชอบ โดยที่ไม่รู้ว่าจะกลายมาเป็นศิลปินกลุ่มเยาวชนที่โด่งดัง มีซิงเกิ้ลผลงานฮิตติดปากติดใจผู้คนทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งมีเอกลักษณ์ในวิถีปักษ์ใต้
“พอเรารวมตัวกัน ช่วงนั้นก็ซ้อมและเล่นที่โรงเรียนบ้างตามประสาพวกเรา แล้วบังเอิญมีผู้ใหญ่ใจดีท่านให้โอกาสพวกเรา ท่านได้ให้ไปเล่นในสถานบันเทิง คือแถวๆ บ้านจะมีผับแห่งหนึ่ง เราก็ไปเล่น ก็มีทั้งชอบบ้างไม่ชอบบ้าง (หัวเราะ) แต่เราก็ไปเล่นด้วยใจ เพลงที่เล่นก็เพลงตลาดทั่วไป มีแซมๆ เพลงของภาคใต้บ้าง อย่างเพลงของพี่เอ๋ สันติภาพ เพลงของอาจารย์ไข่ มาลีฮวนน่า ณ เวลานั้น พวกเราก็ยังไม่ได้มีเอกลักษณ์หรืออุดมการณ์ที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้บ้านเรา จะออกแนวสตริงจ๋าด้วยซ้ำ
“เวลาเล่นดนตรีของพวกเราก็มีชนกับการเรียนบ้าง เนื่องจากว่า เราเล่นเวลาตี2-4 ตอนหัวรุ่ง กลับมาถึงบ้านก็ประมาณตี 5 อาบน้ำแต่งตัว 6-7 โมงไปโรงเรียน อาศัยหลับตอนช่วงพักเที่ยง ไม่อย่างนั้นไม่รอด (หัวเราะ) ช่วงนั้นก็เป็นอย่างนี้ เล่นไปเรื่อยๆ เกือบๆ 3 ปี
“ทางบ้านก็ไม่เห็นด้วยว่าทำไมต้องไปเล่นดนตรีดึกๆ ดื่นๆ กลับมาบ้านตอนเช้าก็ไปต้องไปโรงเรียนเลย ซึ่งตอนนั้นผมแทบไม่ได้เจอพ่อแม่เลย เพราะว่าเวลาไม่ตรงกัน ตอนเย็นกลับมาก็ต้องซ้อมดนตรีแล้วนอนได้หน่อย หนึ่งตื่น ไปเล่นดนตรี กลับมาจากเล่นดนตรี พ่อแม่ก็พาไปกรีดยาง กรีดยางถึงเช้า ผมกลับมา ก็ไปเรียน
“อย่างเรื่องการประกวด ก็ทะเยอทะยานเหมือนกันตามประสา มีวงก็จะต้องไปหาเวทีประกวด ไปหาเวทีที่เราจะนำเสนอตัวตนของเราหรือเพลงของเราที่เราชื่นชอบ จนได้มาเจอกับพี่โอ พารา (ทิวากร แก้วบุญส่ง)”
ณ ตรงนั้น ชื่อของวง “พัทลุง” จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2556 ด้วยพลพรรคสมาชิก 6 ชีวิต ประกอบด้วย นายเทอดพงศ์ เภอบาล(พงศ์) ตำแหน่ง ร้องนำ นายวรากร แป้นสดใส (พีร์) ตำแหน่ง กีตาร์ นายจิรายุทธ กูลสุวรรณ์(เค) ตำแหน่ง กีตาร์ นายณัฐวุฒิ ถึงเกื้อ(บิว) ตำแหน่ง เบส นายทศพล ยางสูง(กาย) ตำแหน่ง คีบอร์ด นายอรรถพงศ์ ชุมแก้ว(ต๊ะ) ตำแหน่ง กลอง
“พี่โอแกเป็นศิลปินที่ดังมากๆ ของบ้านเราเมื่อก่อน แกแต่งเพลง “รักนี้ไม่มีพรมแดน” เพลง “ยางผลัดใบ” เพลง “คิดถึงเรื่อยๆ” เพลง “กลับใจ” และชีวิตแกก็ผ่านอะไรมาเยอะ ออกเผชิญเส้นทางฝัน ค้นหาชีวิตวัยหนุ่มบ้านนอกตั้งแต่อายุ 17 เข้าทำงานร้านอาหาร ทำงานห้าง พนักงานโรงแรมระหว่างเรียนเทียบจนจบ ม.6 เสร็จแล้วก็มาต่อปริญญาตรี ทำงานกลางคืนควบคู่ไปด้วย จนได้เป็นนักดนตรีในผับอย่างที่ตั้งใจ ก่อนจะสร้างผลงานขึ้นมา
“พวกเราก็ชอบ และอยากจะเป็นแบบพี่เขา แต่ตอนแรกเราไม่รู้ว่าพี่เขาเป็นคนบ้านเดียวกับเรา เพิ่งมารู้ทีหลัง ตอนนั้นพี่โอเขาเรียนจบปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต ศิลปกรรมดนตรี เอกเปียโน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต แล้วกลับมาอยู่บ้าน ถึงได้เจอ พอเจอพอรู้ว่าเป็นศิลปินที่เราชื่นชอบ เราก็เข้าไปหาพี่เขาบ่อยมาก”
ก่อให้เกิดการซึมซับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันและกันของพี่บ่าวกับน้องบ่าว
“ก็ใช้ระยะเวลาอยู่พักหนึ่ง ถึงจะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นโดยที่เราไม่โต้แย้ง เพราะเราก็ยังมีความคิดแบบเด็กๆ ของเราอยู่ อย่างเรื่องความฝันการทำเพลง ถ้าเราจะทำเพลง เราก็อยากทำเพลงที่วัยรุ่นจ๋าหรือเพลงที่สาวๆ ได้กรี๊ดกัน”
นักร้องหนุ่มเผยช่วงเวลานั้นพลางลั่นเสียงหัวเราะ
“แต่พี่โอเขาก็ค่อยบอกค่อยกล่าว สอนเรื่องการใช้ชีวิตจริงๆ ควรเป็นอย่างไร เรื่องนิสัย สอนถึงชีวิตนักดนตรี ก็ทำให้เราได้รู้ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแบบก้าวกระโดด พี่แกค่อยพูดค่อยบอกให้รู้ว่าต้องอย่างนี้ๆ นะ แกก็สอนหมดเลย ดนตรี ชีวิต เพลง เหมือนเราเป็นคนหนึ่งของครอบครัว
“และในระหว่างที่แวะเวียนไปมา พี่โอเขาก็ก่อตั้ง 'พาราฮัทมิวสิค' เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 ซึ่งคล้ายๆ ค่ายเพลง แต่เราเรียกว่าโรงเรียน เพราะไม่ได้มีอาคารหรือตึก ไม่ได้มีนายทุน เป็นเพียงกระท่อมหลังเล็กๆ ในสวนยางพารา เป็นที่รวมตัวของพวกเรา ผู้อำนวยการไปจนถึงภารโรงก็เป็นคนคนเดียวกัน คือพี่โอ เป็นผู้ที่แต่งเพลงให้ เป็นผู้ที่ฝึกฝนทางดนตรีให้ แล้วก็เป็นผู้ที่อบรมบ่มนิสัยน้องๆ
“จากนั้นพี่โอตั้งชื่อวงให้เราว่า 'พัทลุง' ด้วยความตั้งใจที่จะเชิดชูจังหวัดบ้านเกิดของพวกเราซึ่งถือเป็นจังหวัดที่ให้กำเนิดศิลปะท้องถิ่น หนังตะลุงกับมโนราห์ประจำภาคใต้ ฉะนั้น เราควรเสนอความเป็นท้องถิ่น ไม่ต้องให้สาวๆ กรี๊ด แต่ว่าให้มีคุณค่า มีความหมาย และตัวตนของพวกเรา”
ความเป็นตัวตนของวง 'พัทลุง' จึงเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมตรงนั้น ก่อนที่จะรังสรรค์ออกมาเป็นท่วงทำนองเพลง “มหา'ลัยวัวชน” มหาลัยชีวิตของเด็กชนบทที่หยิบเอาความรู้สึกของเด็กบ้านนอกมาถ่ายทอด
“ถึงแม้ไม่มีใบปริญญา ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย เป็นแค่เด็กเลี้ยงวัวชนธรรมดาๆ คนหนึ่ง แต่มีความรัก ความจริงใจให้กับผู้หญิงที่ตัวเองชอบอย่างเปี่ยมล้น เป็นมนต์เสน่ห์ของชาวใต้ ก็อยู่ที่ความจริงใจของพวกเรา อันนี้ในความรู้สึกของผมนะครับ ถึงแม้หน้าตาจะไม่หล่อ หรือว่าไม่ใช่สเป็กของสาวๆ แต่ความจริงใจที่เรามีต่อเพื่อนฝูงหรือคนที่เรารัก เรามีให้เต็มเปี่ยมครับ นี่คือคนปักษ์ใต้บ้านเรา”
มหา'ลัยวัวชน
จากหมู่บ้าน ตำบล จนประเทศ
“พอได้เพลงมหาลัย'วัวชน พวกเราก็เป็นแค่เด็กในชุมชนที่ไม่มีต้นทุนในการทำเพลงหรือว่าแต่งเพลงขึ้นเองได้ ตอนที่เราทำเพลงมหา’ลัยวัวชน พวกเราก็ต้องยืมจากพ่อแม่ทุกคนในวง ยืมพี่โอ เอาไปใช้อัดเพลงนี้ อัดเสร็จ ตอนทำมิวสิควิดีโอก็ไม่ได้เตรียมอะไรเลย เสื้อผ้าหน้าผมก็ไม่ได้เตรียม ชุดเดิมๆ ที่เราใส่เดินทางไปซ้อมเพลง (หัวเราะ) รถเก๋งก็ยืมพี่ๆ แถวบ้านเอา วัวก็วัวของพี่ๆ แถวบ้าน พี่โอเขาก็ยืมมาให้ จากนั้นก็อัปลงยูทูปแล้วไปฝากเพื่อนๆ ที่โรงเรียนแชร์
“วันแรกกระแสตอบรับก็ไม่ได้ถึงหลักพัน ผ่านไปเดือนหนึ่งยังไม่ถึงแสนยอดวิวด้วยซ้ำ คือดังอยู่ในโซนบ้านเรา แต่ก็พอดีมันเข้ากับคอนเซ็ปต์ที่ว่าเราทำเพลงเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเรา แล้วก็ทำเพลงให้คนในชุมชนได้ฟังกันก่อน ให้คนในหมู่บ้านได้ฟังกันก่อน แล้วถ้าคนในหมู่บ้านได้ฟัง ยอมรับ ทุกคนในหมู่บ้านก็จะช่วยกันกระจายไปยังตำบล แล้วก็กระจายไปยังตัวอำเภอ ตัวจังหวัด แล้วไปภาค”
นักร้องหนุ่มเผยถึงขั้นตอนผลงานเพลงมหาลัย'วัวชน โดยที่ไม่รู้ว่าจำเนียรกาลผ่านมา บทเพลงของพวกเขาจะกลายเป็นติดท็อปฮิตทั่วฟ้าเมืองไทย
“ก็เกือบที่จะไม่ได้มีพวกเราในวันนี้แล้วเหมือนกันครับ เพราะช่วงนั้นที่ทำเพลงออกมาก็ประมาณ ม.6 เทอม 2 พอดี เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับต้องเลือกเส้นทางว่าจะเรียนหรือมุ่งทางด้านดนตรี เพราะเราจะเรียนจบแล้ว ทว่าเพลงเราก็ยังไม่มีกระแสมากมาย ยังไม่มีงานเข้า ยังไม่มีคอนเสิร์ต ก็มีคิดกันไว้บ้าง สองจิตสองใจ เรียนหรือดนตรี
“บังเอิญว่า พอเข้าเดือนที่ 3 กระแสเพลงมหาลัย'วัวชน มันเข้ามามากมาย ทั้งในเฟซบุ๊กและในยูทูป”
นักร้องหนุ่มเผย ก่อนรีบเล่าเรื่องราวที่พลิกเปลี่ยนชีวิตอย่างฉับพลัน
“คือมีคนติดต่อให้ออกงานเล่น แต่ก็ไม่มาก อาทิตย์ละครั้งสองครั้ง เป็นงานประจำปีในท้องถิ่นบ้าง งานบวชบ้าง งานแต่งบ้าง ตอนนั้นก็รับหมด ช่วงนั้น คนแถวๆ บ้านหรือในจังหวัดใกล้เคียง ก็พอจะร้องตามได้แล้ว หน้าเวทีก็มีกระแสตอบรับประมาณหนึ่ง ทีนี้ พอเดือนที่ 5-6 ก็เริ่มมีกระแสในภาคใต้ ก็มีจังหวัดใกล้เคียงบ้าง”
“เราก็เลยคุยกันและตัดสินใจมาเส้นทางนี้”
นักร้องหนุ่มกล่าวถึงการเลือกก้าวเดินต่อ ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงซิงเกิ้ลที่ดังได้เพียงแค่ในท้องถิ่น กระนั้นก็ยังยึดมั่นฝ่าฟันอย่างแน่วแน่ ไม่แปรเปลี่ยน กระทั่งโด่งดังมีชื่อเสียงอย่างทุกวันนี้
“เพราะอย่างที่บอกไปตอนต้นว่าความฝันของพวกเรา ณ ตอนนั้นที่เริ่มกันขึ้น เราต้องการแค่อยากมีเพลงของตัวเองสักหนึ่งเพลง เราไม่คิดว่าจะเป็นเพลงดัง ไม่คิดเลย คิดอย่างเดียวคืออยากจะมีเพลงเป็นของตัวเองสักเพลงหนึ่ง เป็นความภาคภูมิใจของพวกเรา แต่พอเราถ่ายถอดออกไป มีกลุ่มคนให้การตอบรับ เล็งเห็นในสิ่งที่เราทำ ก็เกิดความภาคภูมิใจ
“ก็ต้องขอบพระคุณมากๆ ขอบพระคุณจริงๆ ที่พี่ๆ น้องๆ หรือว่าตลาดให้โอกาสเรา แล้วพี่โอก็ได้หยิบยื่นโอกาสดีๆ ให้กับพวกเรา นอกจากสอนพวกเราในเรื่องต่างๆ ยังแต่งเพลงให้พวกเราทั้งหมด เราเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะตรงนี้ เป็นอะไรที่มีคุณค่าต่อชีวิตพวกเรามากๆ พวกเราก็พยายามรักษาตรงนี้ไว้ให้ดีที่สุด”
หลังจากนั้นก็ได้เงินทุนจากการเล่นคอนเสิร์ตมาทำเพลงผลงานต่อๆ มาอย่าง เพลง “คบแล้วจะรัก” เพลง “มดแดงเฝ้าม่วง” และเพลง “ที่อยู่ตรงนี้ก็มีหัวใจ”
“แต่ด้วยความที่เราไม่ได้เป็นค่ายยักษ์ใหญ่อะไร เราอยู่กันแบบครอบครัว พวกเราไม่มีนายทุน ไม่มีระบบธุรกิจอะไร เงินทุนก็ได้จากการเล่นคอนเสิร์ต เราก็แบ่งเงินทุกก้อนไว้เป็นกองกลางเพื่อจะได้เอาไว้ทำเพลงและเอาไว้ถ่ายเอ็มวีของทางค่าย พี่ช่วยน้องครับ
“ปัจจุบันพวกเรามีกัน 60 กว่าคน ที่มีความรักในเสียงเพลง พวกเราไม่ได้เล่นดนตรีอย่างเดียว เพราะเมื่อเล่นดนตรีได้เงินมา เราก็อยากให้คืนกับสังคมบ้าง โดยมีโครงการในค่ายของพวกเราคือ หนึ่งเดือนหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นการคืนกำไรให้กับสังคมที่ช่วยผลักดันให้เรามา ไม่ว่าจะจัดคอนเสิร์ตที่บ้าน เมื่อวันที่ 14 เดือนที่ผ่านมาก็จัดคอนเสิร์ตในตัวอำเภอ จังหวัด รายได้ทั้งหมดไปมอบให้กับวัด โรงเรียน
“เพราะเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราเดินทางต่อไป ถ้าเราไม่ได้โอกาสจากพี่โอ เราก็ไม่มีตรงนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ก็เหมือนเราต่อจากรุ่นสู่รุ่น ถึงยึดตรงนี้อย่างเหนียวแน่น เพราะว่าไปอยู่ตรงนั้นมันมีความเป็นครอบครัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บ้านพี่สู่บ้านน้อง"
ไม่ดังก็ขอร้อง
"พัทลุง" ด้วยความภูมิใจ
หลังจากลัดเลาะชีวิตจุดเริ่มต้นและแนวความคิดจนประจักษ์ชัด คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวตนที่หนักแน่นของพวกเขาเป็นธงนำที่กำหนดชี้ทางให้เด็กบ้านๆ โด่งดังจนเป็นที่รู้จักระดับเด็กเมืองกว่าทั่วประเทศ คำถามที่น่าคิดก็คือว่าในยุคที่กระแสเพลงมีความหลากหลายของผู้เสพเป็นตัวกำหนด หากไม่เปรี้ยงปร้างมีชื่อ การคงอยู่บนทางสายนี้อาจไม่ถาวร
“คือพวกเราไม่ได้มีความรู้สึกถึงตรงนั้น แล้วก็ไม่ได้ไปยึดติดมากเกินไปว่าจะดังหรือไม่ดัง อย่างที่บอกตอนต้นว่าจุดประสงค์การรวมตัวเราเป็นอย่างไร เราแค่อยากจะนำเสนอวิถีของปักษ์ใต้บ้านเราเท่านั้น
“พวกผมเริ่มมาจากศูนย์ จนตอนนี้ได้ 4-5 ก็ถือว่าเป็นกำไรของพวกเราแล้ว ซึ่งผู้ใหญ่หลายๆ ท่านที่คอยเป็นต้นแบบให้เราเดินแนวทาง ไม่ว่าเราจะไปเจอผู้ใหญ่ในวงการ พี่ๆ ในวงการ เขาก็บอกว่าเราต้องรักษาไว้ ณ ตรงนี้ ผมก็ถือว่าเป็นตัวแทนผู้เยาว์ชนที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งวิถีใต้ ภาคใต้
“ส่วนเพลงมหาลัย'วัวชน ที่เราทำออกมาเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ก็เพราะว่า อยากจะนำเสนอวิถีชีวิตคนไทยภาคใต้ให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ไม่ได้มาปลุกกระแสหลังจากที่เพลงนี้ออกไปนานแล้วเพื่อให้คนไม่ลืมเรา”
“แต่ก็ยอมรับว่าดีใจที่เพลงเรายังคงอยู่และกระแสก็ให้การยอมรับ ในความรู้สึกของผมก็ให้เพลงมันต่อยอดตัวเอง การทำเพลงของเราทั้ง 6 ก็ทำอย่างเต็มที่เต็มความสามารถเพื่อให้สมกับที่แฟนเพลงให้การยอมรับ ส่วนเรื่องการดำเนินชีวิตต่อไปเราก็พยายามอ่อนน้อมถ่อมตน มีชื่อเสียงแล้วก็ยังมีความเป็นเราเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นเด็กบ้านๆ (หัวเราะ) ก็ยังใช้ชีวิตแบบเดิม ยังช่วยงานพ่อแม่ ไม่ว่าจะกรีดยาง ทำไร่สัปปะรดหรือว่าตัดต้นปาล์ม ก็เหมือนเดิม ช่วยที่บ้านเหมือนเดิม
“มือเบสของวงก็ยังช่วยที่บ้านเลี้ยงวัวอยู่”
นักร้องหนุ่มหยอกเอินเส้นทางชีวิตของเพื่อนและตัวเองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงด้วยอารมณ์สีหน้าเปี่ยมสุขที่สัมผัสได้อย่างเข้าถึง ก่อนจะกล่าวเสริมเส้นทางในอนาคตของบ่าวเกลอ
“เรื่องคอนเซ็ปต์ตรงของพวกเราก็ยังคงเอาไว้ดังเดิม เป็นเพลงบ้านๆ เพลงท้องถิ่น เพลงภาษาใต้ นำเสนอวิถีชีวิต วิถีใต้ เพลงใต้ ภาษาท้องถิ่น ก็อยู่ที่แฟนคลับและแฟนเพลงจะตอบรับพวกเรา แต่ว่าดังแค่นี้ มันมากพอสำหรับพวกเราแล้ว ถ้าถามความรู้สึก มันเยอะมาก เพียงแต่ว่าพวกเราก็จะพยายามทำให้เต็มที่ที่สุด ก้าวช้าๆ อย่างมั่นคง
“ก็รู้สึกดีใจครับที่ได้เป็นวันรุ่นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งได้เสนอความเป็นท้องถิ่นของปักษ์ใต้และวิถีชีวิต นำเสนอความเป็นวิถีชีวิตให้คนอื่นหรือว่าให้ชาวต่างชาติได้รับรู้แล้วก็ได้รับชมกัน บทเพลงจากค่ายพาราฮัท มิวสิค ยังคงเป็นเพลงใต้ ภาษาท้องถิ่น ในรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชนบท พวกเราขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์เอาไว้ซึ่งเพลงใต้ เพลงท้องถิ่นให้มีลมหายใจต่อไป"
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : วงพัทลุง