จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการไปเดินงานสวนผักคนเมือง ก่อให้เกิดไอเดียการปลูกผักโดยใช้ที่พักย่านกลางเมืองเป็นแปลงปลูก นำพาสู่ความสุขแบบปลอดสารที่ไม่เพียงทานได้เอง หากแต่ยังจำหน่ายจ่ายแจกด้วย และจากความสำเร็จนี้ ก็ทำให้เธอเป็นที่รู้จัก กระทั่งนำไปสู่บทบาทของการเป็นคนต้นแบบสำหรับมนุษย์ในเมืองที่ฝันอยากจะมีแปลงผักเป็นของตนเอง
“ป้อม-ศิริกุล ซื่อต่อชาติ” คือวิทยากรคนสำคัญคนหนึ่งในเครือข่ายของศูนย์อบรมที่ “สวนผักบ้านคุณตา” ซึ่งใช้ประสบการณ์ล้วนๆ ในการชี้ชวนให้คนปลูกผักกินเอง แม้คุณจะมีที่พักอาศัยไม่มากมาย แต่ถ้ามีใจให้กับผักจริงๆ สิ่งนี้ก็ใช่ว่าจะยากเกินจะทำได้ เช่นเดียวกับ “ป้าป้อม” ที่ริเริ่มจากจุดเล็กๆ แต่มีความรักในผักอย่างเต็มเปี่ยม...
• ป้าป้อมเริ่มปลูกผักมานานเท่าไหร่แล้วคะ
ก็ตั้งแต่ปี 2553 ค่ะ ตอนนั้นก็ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรมาก แค่ไปเดินดูงานตามตลาดสีเขียวแล้วได้เห็นว่าเขามีการออกบูทของสวนผักคนเมือง ซึ่งเราเห็นเขาว่ามีการสอนปลูกผัก ก็เลยขอแผ่นพับเขามาอ่าน อ่านแล้วทำเลยค่ะ คือปกติเราเป็นคนที่ชอบทำกับข้าวอยู่แล้ว เลยรู้สึกว่าถ้าเราปลูกผักเอง บางอย่าง ถ้าเราไปต้องออกไปซื้อข้างนอก มันน่าจะดี ก็เลยทำ (ยิ้ม)
จากนั้นเราก็เริ่มปลูกที่บ้านตรงนี้เลย เริ่มจากระเบียงข้างบนก่อน เพราะตอนนั้นเรายังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไรมากแค่ไหน ด้วยความที่บ้านเราอยู่ในเมือง ไม่มีพื้นดิน เลยต้องปลูกในกระถางหมด พยายามปลูกสิ่งที่มันอยู่ในกระถางได้ เช่น ผักบุ้ง แทนที่จะปลูกในแปลง เราก็ย่อส่วนให้เหลือในกระถางได้ ซึ่งการปลูกผักต้องเริ่มจากการปรุงดิน เราก็ต้องปรุงดินก่อน ไม่ใช่ดินที่ซื้อตามท้องตลาดค่ะ ปรุงดินจากอินทรียวัตถุ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงค่ะ
ตอนนี้ที่ปลูกอยู่ประจำ จะเป็นผักสลัด เพราะเป็นคนชอบทานสลัด แล้วก็ผักที่ชอบกิน จำพวกคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาด
• การปลูกผักในเมืองมีความยากง่ายยังไงบ้าง
พูดตามจริง ถ้าเรามัวแต่เครียดเรื่องมลภาวะรอบตัว ชีวิตนี้เราก็จะไม่มีความสุขแล้วมันจะเครียด ต้องทำชีวิตให้สบายๆ ถามว่ายากไหม มันยากตรงที่ว่าแสงแดดหายาก เพราะผักเขาต้องการแสงแดดเต็มที่ ป้าป้อมเลยใช้วิธีปลูกตรงกำแพงบ้าน เพราะในซอยที่ป้าอยู่ พระอาทิตย์จะสาดเข้ากำแพงบ้านช่วงบ่าย แต่มันมีผลเสียคือผักที่อยู่ในกระถางจะร้อนมาก มันไม่เหมือนปลูกในแปลง เพราะในแปลงจะกระจายความร้อนในพื้นดิน แต่ถ้าอยู่ในกระถาง เขาจะอบอยู่ในนี้แค่นี้ เราเลยต้องอาศัยรดน้ำบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง
อย่างที่สอง เรื่องปรุงดินจะสำคัญที่สุด ถ้าปรุงดินเป็นแล้วเราอยากปลูกอะไรก็ได้เลย การปรุงดินก็เอาดินที่ซื้อมา นำไปผสมกับอินทรียวัตถุ คือต้องมีปุ๋ยคอก เศษใบไม้ เศษผัก ป้าจะปรุงด้วยน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์แล้วก็ใส่น้ำตาลนิดหน่อยให้เป็นอาหารจุลินทรีย์ ให้ความชื้นอยู่ในระดับที่จุลินทรีย์ทำงานดี อยู่ได้ ความชื้นอยู่ได้ในที่นี้คือก้อนดินต้องกำแล้วไม่แตก สามารถปั้นเป็นก้อนแล้วตั้งได้
ส่วนเรื่องวิธีการปลูกก็สามารถศึกษาได้ในอินเทอร์เน็ตเลยค่ะ เพราะว่าง่ายมาก เดี๋ยวนี้พิมพ์ว่าอยากปลูกผัก ก็จะมีขึ้นมาเต็มเลยค่ะ (ยิ้ม) แต่อย่างแรกเลยแนะนำว่าถ้าอยากกินอะไร ให้ปลูกอันนั้น แต่ต้องดูว่าสิ่งที่อยากกิน มันเกินความสามารถตัวเองไหม ต้องศึกษาก่อน ถ้าคนในเมืองจริงๆ ถ้าจะปลูก มันก็มีหลายแบบ มีทั้งคอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว ข้อจำกัดแต่ละอย่างจะไม่เหมือนกัน บางครั้งอยากจะกินผักสลัด แต่ฉันอยู่คอนโด แถมไปซื้อคอนโดห้องที่ตะวันส่องไม่ถึง ก็อาจจะทำยาก
ส่วนใหญ่ที่จะปลูกได้ก็เป็นกะเพรา โหระพา อ่อมแซบ พริกขี้หนู เพราะปลูกง่าย ปักชำก็ขึ้น เหมาะกับคนเมืองที่สุด เพราะดูแลง่าย เอาเท่าที่เขาทำได้เพราะคนเมืองต้องทำงาน พื้นที่จำกัด แสงแดดก็น้อย อย่างที่บ้านป้าพอตะวันเปลี่ยนทิศผักที่ปลูกก็จะได้รับแสงแดดต่างกันเพราะฉะนั้นเราก็ต้องคอยขยับให้ผักโดนแสงแดด (ยิ้ม)
• ดูเหมือนการปลูกผักในเมืองจะไม่ง่ายเท่าไหร่ ตั้งแต่ปลูกผักมา ผักเคยเสียหายบ้างไหมคะ แล้วเราเคยคิดที่จะเลิกปลูกไหม
เวลาป้าเดินทางไปต่างจังหวัดแล้วกลับมาเห็นผักตาย มันจะมีแวบหนึ่งเหมือนกัน ช่วงนั้นคิดว่าเราน่าจะเลิกทำนะ อย่างล่าสุดกลับมาจากปากช่อง ผักบุ้งที่เราปลูก ไปกองอยู่ที่พื้นหมดเลย มันก็มีแวบมาว่าไม่อยากปลูกเลย มันเป็นภาระมาก แต่มันก็จะเป็นแค่แวบแรกประมาณสัก 10 นาทีที่เราจะเสียใจผิดหวัง แต่หลังจากนั้นก็จะหายไป (ยิ้ม)
• แสดงว่าเราก็หลงใหลการปลูกผักไปแล้วจริงๆ
ใช่ค่ะ (ยิ้ม) เป็นส่วนหนึ่ง เหมือนเป็นโลโก้ติดตัวไปแล้ว มันเป็นงานประจำที่เราต้องทำ อีกอย่าง เราก็เป็นเครือข่ายปลูกผักคนเมืองด้วย ออกไปเป็นวิทยากรด้วย ออกสื่อด้วย ยังคิดเหมือนกันว่าถ้าสักวัน เราไม่ได้ปลูกผัก เราเบื่อมันจะเป็นยังไง เราจะอยู่ยังไง คงอยู่ยากเหมือนกัน (หัวเราะ)
ผักเหมือนเป็นลูกเราเลย (ยิ้ม) เพราะว่าเราก็ไม่มีลูก ทุกวันนี้จะรู้สึกว่าเวลาเราร้อน เราหลบแดดได้ แต่ผักร้อนมันหลบแดดไม่ได้ ฉะนั้น ถ้าเราอยากช่วยให้เขามีชีวิตอยู่รอด เราต้องออกไปช่วยให้เขาหายร้อน ไม่ใช่ปลูกไปแล้วปล่อยไป ถ้าปลูกผักแล้วอยากกิน เราต้องดูแลเอาใจใส่เขา เราถึงจะได้กิน เพราะฉะนั้น เวลาที่ป้าตัดเขาไปกินแล้ว อย่างน้อยป้าจะให้รางวัลเขาหน่อย อย่างเช่น เติมดินให้ ใส่ปุ๋ยเพิ่ม เขาจะได้โตให้เราได้กินอีก เราให้ความสนใจเขาแค่ไหน เขาจะตอบแทนให้เราเท่านั้น (ยิ้ม)
• นอกจากจะปลูกผักทานเอง เห็นว่ามีการทำจำหน่ายด้วยใช่ไหมคะ
เพราะผักบางอย่าง ถ้าปลูกเยอะ กินไม่หมด ก็จะให้ ในซอยนี้ก็จะมี 3-4 บ้านที่เราแบ่งให้ ขณะที่เพื่อนบ้านก็นำสิ่งที่คิดว่าเราน่าจะชอบ มาแบ่งให้เหมือนกัน อย่างคนใต้ก็ชอบเอาใบเหลียงมาให้ปลูก เราก็ถูกใจ (ยิ้ม)
จริงๆ ป้าไม่คิดจะปลูกขาย ยกเว้นว่ามันเยอะจริงๆ ประจวบกับมีเพื่อนในกลุ่มบอกว่ามีร้านอาหารเขาสนใจ ซึ่งเขาก็จะเข้ามาซื้อเองถึงที่ ที่ขายเป็นเรื่องเป็นราวน่าจะเป็นโหระพาอิตาลี โดยมีเพื่อนเป็นคนกลางของคนทำเกษตร เมื่อเกษตรกรส่งสินค้ามาให้ เขาก็จะติดต่อพวกร้านอาหารหรือโรงแรม พอเขารู้ว่าป้าป้อมปลูกโหระพาอิตาลีเยอะ เขาก็มารับถึงบ้าน แต่นานๆ ทีนะคะ ไม่ได้ว่าจะมีบ่อยๆ แต่เราก็ภูมิใจนะว่าเราปลูกแค่นี้เอง แต่เราก็สามารถขายได้ (ยิ้ม)
ตรงนี้เราคิดว่าประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะหาเงิน เรื่องเงินมันเป็นรอง เพราะเราก็ไม่ได้ใช้เยอะ เราคิดแค่ว่าเราไปเด็ดผักที่เราปลูกมาทำกับข้าว มันมั่นใจว่าเราทำเองกับมือ ไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาซื้ออะไรแบบนี้ มันสุขมากกว่าค่ะ (ยิ้ม)
• ป้าป้อมไปเป็นวิทยากรสอนคนปลูกผักด้วยใช่ไหมคะ
ใช่ค่ะ อย่างถ้าสวนผักคนเมืองเขาจัดงาน ป้าก็จะไปในฐานะเครือข่าย ล่าสุดที่ไปมาก็คือที่สวนโมกข์ ซึ่งเขามาชวนให้เราไปร่วมปลูกผักภาวนา ตอนนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของสวนโมกข์เลย กิจกรรมจะทำเดือนเว้นเดือน
อีกอย่าง ตอนนี้เรากำลังจะทำโครงการกับทางโรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฎคีรีวัน เขาใหญ่ ตรงนี้เกิดจากการที่เราไปเที่ยวแล้วได้ไปเห็นแปลงผักเล็กๆ ที่ครูทำไว้อยู่แล้ว เราเลยคิดว่าน่าจะทำอย่างอื่นให้เขาได้ จะเป็นการสอนเจ้าหน้าที่เพื่อจะทำแปลงปลูกผักให้เด็กๆ พอไปเห็นสิ่งที่เขาปลูก มีทั้งผักบุ้ง ผักกาดขาวซึ่งก็ปลูกไม่ยาก อีกอย่างเด็กๆ ก็ชอบ เราเลยลองเสนอตัวไปว่าเราจะทำให้เขา ซึ่งเขาก็สนใจดีค่ะ เลยคิดว่าโครงการนี้จะให้เสร็จภายในเดือนมกราคมปีหน้าค่ะ (ยิ้ม)
โครงการนี้จะเน้นปลูกผักให้ดูสวยงามเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งเรามองเห็นแล้วอยากทำ แต่ว่าเราต้องดูด้วยว่าเราทำให้เขามันจะยั่งยืนหรือเปล่า แต่เพราะเห็นว่าเขามีคนดูแลต่อ เราก็เลยทำให้ เราได้งบจากสวนผักคนเมืองมาส่วนหนึ่งแล้วก็กำลังหาเงินเพิ่มกันอยู่ ขณะที่ก็มีกัลยามิตรที่ยินดีช่วยเหลือเราเยอะแยะเลยค่ะ แต่ที่ให้ตรงนี้เราไม่ได้คาดหวังอะไรนะคะ เพราะรู้สึกสุขใจที่ได้ให้ สุขใจที่ได้ทำมากกว่า
• คนในเมืองให้ความสนใจเรื่องนี้เยอะไหมคะ จากที่เราได้ไปเป็นวิทยากรมา
ช่วงหลังเยอะมากค่ะ แล้วก็ออกมาในลักษณะที่ว่าเขาทำได้ดีกว่าเราด้วยซ้ำ มีเด็กรุ่นใหม่ที่สนใจแล้วสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นคนสอนด้วย ป้าว่าหลายคนทำได้ดีเพราะคนรุ่นใหม่เขาเก่งกว่าเรา ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ด้านความคิดการออกแบบต่างๆ ส่วนเราก็ไม่รู้ว่ามีใครจะมองว่าเชี่ยวชาญหรือเปล่านะคะ เพราะเราเองก็ยังไม่รู้อะไรอีกเยอะ เวลาสอนใครปลูกผัก บอกเลยว่า ถ้าหวังจะเอาวิชาการจากป้าป้อม จะไม่มีเลย เพราะเรารู้แค่สิ่งที่ตัวเองทำเป็นเท่านั้น ซึ่งถ้าอยากรู้อะไรมากกว่านี้ ป้าว่ายังมีคนที่เชี่ยวชาญอีกมากมายที่จะสามารถตอบคำถามสิ่งนั้นๆ ได้ (ยิ้ม)
• คิดว่าการทำสิ่งนี้ให้อะไรกับชีวิตเราในด้านไหนบ้างคะ
คือโดยส่วนตัว เราเป็นคนที่ชอบธรรมชาติ ชอบใช้ชีวิตแบบพอเพียง อาจจะเป็นเพราะช่วงวัยด้วยมั้งคะ เลยทำให้เราไม่ต้องไปหาแสงสีอะไร แต่ก็มีบ้างที่ต้องไปงานเลี้ยง ถ้าเราปฏิเสธได้ ก็จะปฏิเสธ
เราชอบใช้ชีวิตแบบพอเพียงและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะไม่เบียดเบียนชีวิตตนเองมากเกินไป ส่วนใหญ่เราจะใช้สิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ แต่คำว่าพอเพียงของแต่ละคน ระดับจะไม่เท่ากัน บางคนทำเท่านั้นคือพอพียงของเขา ของเราก็ทำได้เท่านี้ ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเราไม่พอเพียง เพราะยังเห็นว่าเรายังขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดอยู่เลย อันนี้เอามาเทียบกันไม่ได้ ป้าป้อมคิดว่าเท่านี้คือป้าป้อม พอในระดับที่ป้าป้อมทำได้ แล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อน (ยิ้ม)
ส่วนสิ่งที่ได้รับจริงๆ คือได้ความสุขค่ะ (ยิ้ม) ผลพลอยได้ที่เห็นชัดๆ เลยคือทางด้านจิตใจ เราได้เยอะมาก เราใจเย็น ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้นมาก ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่อยากได้อะไรมาก เหมือนกับว่าเราได้เข้ามาในวิถีชีวิตแบบนี้แล้ว เราอยากจะพึ่งตนเองมากขึ้น รู้จักพอมากขึ้น แต่ก่อนช่วงมาปลูกผักใหม่ๆ เรายังไม่รู้จักคำว่าพอเลยนะ แต่เมื่อได้เข้ามาเรื่อยๆ สังคมและสิ่งแวดล้อมมันสอนเราไปเอง
ส่วนทางด้านสุขภาพร่างกายเราก็ได้อยู่แล้ว เพราะว่าเราได้กินผักปลอดสารที่ปลูกเอง เรามั่นใจว่ามันไม่มีสารพิษจริงๆ เราได้เดินเหิน ได้รดน้ำดูแลผัก เหมือนได้ออกกำลังกายไปในตัว (ยิ้ม)
อีกอย่างการปลูกผักของป้าช่วยลดขยะไปในตัวนะ เพราะการปรุงดินของเราหลักๆ เราจะเอาขยะจากที่เราทำกับข้าว อย่างเศษผักต่างๆ มาทำเป็นดินที่ปรุง ขยะในบ้านจะน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเหลือแต่ขยะแห้งเท่านั้นค่ะ (ยิ้ม)
ป้าป้อมอยากให้คนที่สนใจการปลูกผักลองปลูกดู แล้วคำว่าพอมันจะตามมาเอง เพราะมันได้รู้จักการพึ่งตนเอง ต้องลองค่ะ เดี๋ยวก็จะมีความพอเกิดขึ้นจริงๆ (ยิ้ม)
เมนูอาหารจากผักบ้านป้าป้อม
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, อนงค์นาฏ ชนะกุล
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
“ป้อม-ศิริกุล ซื่อต่อชาติ” คือวิทยากรคนสำคัญคนหนึ่งในเครือข่ายของศูนย์อบรมที่ “สวนผักบ้านคุณตา” ซึ่งใช้ประสบการณ์ล้วนๆ ในการชี้ชวนให้คนปลูกผักกินเอง แม้คุณจะมีที่พักอาศัยไม่มากมาย แต่ถ้ามีใจให้กับผักจริงๆ สิ่งนี้ก็ใช่ว่าจะยากเกินจะทำได้ เช่นเดียวกับ “ป้าป้อม” ที่ริเริ่มจากจุดเล็กๆ แต่มีความรักในผักอย่างเต็มเปี่ยม...
• ป้าป้อมเริ่มปลูกผักมานานเท่าไหร่แล้วคะ
ก็ตั้งแต่ปี 2553 ค่ะ ตอนนั้นก็ไม่ได้มีจุดประสงค์อะไรมาก แค่ไปเดินดูงานตามตลาดสีเขียวแล้วได้เห็นว่าเขามีการออกบูทของสวนผักคนเมือง ซึ่งเราเห็นเขาว่ามีการสอนปลูกผัก ก็เลยขอแผ่นพับเขามาอ่าน อ่านแล้วทำเลยค่ะ คือปกติเราเป็นคนที่ชอบทำกับข้าวอยู่แล้ว เลยรู้สึกว่าถ้าเราปลูกผักเอง บางอย่าง ถ้าเราไปต้องออกไปซื้อข้างนอก มันน่าจะดี ก็เลยทำ (ยิ้ม)
จากนั้นเราก็เริ่มปลูกที่บ้านตรงนี้เลย เริ่มจากระเบียงข้างบนก่อน เพราะตอนนั้นเรายังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไรมากแค่ไหน ด้วยความที่บ้านเราอยู่ในเมือง ไม่มีพื้นดิน เลยต้องปลูกในกระถางหมด พยายามปลูกสิ่งที่มันอยู่ในกระถางได้ เช่น ผักบุ้ง แทนที่จะปลูกในแปลง เราก็ย่อส่วนให้เหลือในกระถางได้ ซึ่งการปลูกผักต้องเริ่มจากการปรุงดิน เราก็ต้องปรุงดินก่อน ไม่ใช่ดินที่ซื้อตามท้องตลาดค่ะ ปรุงดินจากอินทรียวัตถุ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงค่ะ
ตอนนี้ที่ปลูกอยู่ประจำ จะเป็นผักสลัด เพราะเป็นคนชอบทานสลัด แล้วก็ผักที่ชอบกิน จำพวกคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาด
• การปลูกผักในเมืองมีความยากง่ายยังไงบ้าง
พูดตามจริง ถ้าเรามัวแต่เครียดเรื่องมลภาวะรอบตัว ชีวิตนี้เราก็จะไม่มีความสุขแล้วมันจะเครียด ต้องทำชีวิตให้สบายๆ ถามว่ายากไหม มันยากตรงที่ว่าแสงแดดหายาก เพราะผักเขาต้องการแสงแดดเต็มที่ ป้าป้อมเลยใช้วิธีปลูกตรงกำแพงบ้าน เพราะในซอยที่ป้าอยู่ พระอาทิตย์จะสาดเข้ากำแพงบ้านช่วงบ่าย แต่มันมีผลเสียคือผักที่อยู่ในกระถางจะร้อนมาก มันไม่เหมือนปลูกในแปลง เพราะในแปลงจะกระจายความร้อนในพื้นดิน แต่ถ้าอยู่ในกระถาง เขาจะอบอยู่ในนี้แค่นี้ เราเลยต้องอาศัยรดน้ำบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง
อย่างที่สอง เรื่องปรุงดินจะสำคัญที่สุด ถ้าปรุงดินเป็นแล้วเราอยากปลูกอะไรก็ได้เลย การปรุงดินก็เอาดินที่ซื้อมา นำไปผสมกับอินทรียวัตถุ คือต้องมีปุ๋ยคอก เศษใบไม้ เศษผัก ป้าจะปรุงด้วยน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์แล้วก็ใส่น้ำตาลนิดหน่อยให้เป็นอาหารจุลินทรีย์ ให้ความชื้นอยู่ในระดับที่จุลินทรีย์ทำงานดี อยู่ได้ ความชื้นอยู่ได้ในที่นี้คือก้อนดินต้องกำแล้วไม่แตก สามารถปั้นเป็นก้อนแล้วตั้งได้
ส่วนเรื่องวิธีการปลูกก็สามารถศึกษาได้ในอินเทอร์เน็ตเลยค่ะ เพราะว่าง่ายมาก เดี๋ยวนี้พิมพ์ว่าอยากปลูกผัก ก็จะมีขึ้นมาเต็มเลยค่ะ (ยิ้ม) แต่อย่างแรกเลยแนะนำว่าถ้าอยากกินอะไร ให้ปลูกอันนั้น แต่ต้องดูว่าสิ่งที่อยากกิน มันเกินความสามารถตัวเองไหม ต้องศึกษาก่อน ถ้าคนในเมืองจริงๆ ถ้าจะปลูก มันก็มีหลายแบบ มีทั้งคอนโด ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว ข้อจำกัดแต่ละอย่างจะไม่เหมือนกัน บางครั้งอยากจะกินผักสลัด แต่ฉันอยู่คอนโด แถมไปซื้อคอนโดห้องที่ตะวันส่องไม่ถึง ก็อาจจะทำยาก
ส่วนใหญ่ที่จะปลูกได้ก็เป็นกะเพรา โหระพา อ่อมแซบ พริกขี้หนู เพราะปลูกง่าย ปักชำก็ขึ้น เหมาะกับคนเมืองที่สุด เพราะดูแลง่าย เอาเท่าที่เขาทำได้เพราะคนเมืองต้องทำงาน พื้นที่จำกัด แสงแดดก็น้อย อย่างที่บ้านป้าพอตะวันเปลี่ยนทิศผักที่ปลูกก็จะได้รับแสงแดดต่างกันเพราะฉะนั้นเราก็ต้องคอยขยับให้ผักโดนแสงแดด (ยิ้ม)
• ดูเหมือนการปลูกผักในเมืองจะไม่ง่ายเท่าไหร่ ตั้งแต่ปลูกผักมา ผักเคยเสียหายบ้างไหมคะ แล้วเราเคยคิดที่จะเลิกปลูกไหม
เวลาป้าเดินทางไปต่างจังหวัดแล้วกลับมาเห็นผักตาย มันจะมีแวบหนึ่งเหมือนกัน ช่วงนั้นคิดว่าเราน่าจะเลิกทำนะ อย่างล่าสุดกลับมาจากปากช่อง ผักบุ้งที่เราปลูก ไปกองอยู่ที่พื้นหมดเลย มันก็มีแวบมาว่าไม่อยากปลูกเลย มันเป็นภาระมาก แต่มันก็จะเป็นแค่แวบแรกประมาณสัก 10 นาทีที่เราจะเสียใจผิดหวัง แต่หลังจากนั้นก็จะหายไป (ยิ้ม)
• แสดงว่าเราก็หลงใหลการปลูกผักไปแล้วจริงๆ
ใช่ค่ะ (ยิ้ม) เป็นส่วนหนึ่ง เหมือนเป็นโลโก้ติดตัวไปแล้ว มันเป็นงานประจำที่เราต้องทำ อีกอย่าง เราก็เป็นเครือข่ายปลูกผักคนเมืองด้วย ออกไปเป็นวิทยากรด้วย ออกสื่อด้วย ยังคิดเหมือนกันว่าถ้าสักวัน เราไม่ได้ปลูกผัก เราเบื่อมันจะเป็นยังไง เราจะอยู่ยังไง คงอยู่ยากเหมือนกัน (หัวเราะ)
ผักเหมือนเป็นลูกเราเลย (ยิ้ม) เพราะว่าเราก็ไม่มีลูก ทุกวันนี้จะรู้สึกว่าเวลาเราร้อน เราหลบแดดได้ แต่ผักร้อนมันหลบแดดไม่ได้ ฉะนั้น ถ้าเราอยากช่วยให้เขามีชีวิตอยู่รอด เราต้องออกไปช่วยให้เขาหายร้อน ไม่ใช่ปลูกไปแล้วปล่อยไป ถ้าปลูกผักแล้วอยากกิน เราต้องดูแลเอาใจใส่เขา เราถึงจะได้กิน เพราะฉะนั้น เวลาที่ป้าตัดเขาไปกินแล้ว อย่างน้อยป้าจะให้รางวัลเขาหน่อย อย่างเช่น เติมดินให้ ใส่ปุ๋ยเพิ่ม เขาจะได้โตให้เราได้กินอีก เราให้ความสนใจเขาแค่ไหน เขาจะตอบแทนให้เราเท่านั้น (ยิ้ม)
• นอกจากจะปลูกผักทานเอง เห็นว่ามีการทำจำหน่ายด้วยใช่ไหมคะ
เพราะผักบางอย่าง ถ้าปลูกเยอะ กินไม่หมด ก็จะให้ ในซอยนี้ก็จะมี 3-4 บ้านที่เราแบ่งให้ ขณะที่เพื่อนบ้านก็นำสิ่งที่คิดว่าเราน่าจะชอบ มาแบ่งให้เหมือนกัน อย่างคนใต้ก็ชอบเอาใบเหลียงมาให้ปลูก เราก็ถูกใจ (ยิ้ม)
จริงๆ ป้าไม่คิดจะปลูกขาย ยกเว้นว่ามันเยอะจริงๆ ประจวบกับมีเพื่อนในกลุ่มบอกว่ามีร้านอาหารเขาสนใจ ซึ่งเขาก็จะเข้ามาซื้อเองถึงที่ ที่ขายเป็นเรื่องเป็นราวน่าจะเป็นโหระพาอิตาลี โดยมีเพื่อนเป็นคนกลางของคนทำเกษตร เมื่อเกษตรกรส่งสินค้ามาให้ เขาก็จะติดต่อพวกร้านอาหารหรือโรงแรม พอเขารู้ว่าป้าป้อมปลูกโหระพาอิตาลีเยอะ เขาก็มารับถึงบ้าน แต่นานๆ ทีนะคะ ไม่ได้ว่าจะมีบ่อยๆ แต่เราก็ภูมิใจนะว่าเราปลูกแค่นี้เอง แต่เราก็สามารถขายได้ (ยิ้ม)
ตรงนี้เราคิดว่าประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะหาเงิน เรื่องเงินมันเป็นรอง เพราะเราก็ไม่ได้ใช้เยอะ เราคิดแค่ว่าเราไปเด็ดผักที่เราปลูกมาทำกับข้าว มันมั่นใจว่าเราทำเองกับมือ ไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาซื้ออะไรแบบนี้ มันสุขมากกว่าค่ะ (ยิ้ม)
• ป้าป้อมไปเป็นวิทยากรสอนคนปลูกผักด้วยใช่ไหมคะ
ใช่ค่ะ อย่างถ้าสวนผักคนเมืองเขาจัดงาน ป้าก็จะไปในฐานะเครือข่าย ล่าสุดที่ไปมาก็คือที่สวนโมกข์ ซึ่งเขามาชวนให้เราไปร่วมปลูกผักภาวนา ตอนนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของสวนโมกข์เลย กิจกรรมจะทำเดือนเว้นเดือน
อีกอย่าง ตอนนี้เรากำลังจะทำโครงการกับทางโรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฎคีรีวัน เขาใหญ่ ตรงนี้เกิดจากการที่เราไปเที่ยวแล้วได้ไปเห็นแปลงผักเล็กๆ ที่ครูทำไว้อยู่แล้ว เราเลยคิดว่าน่าจะทำอย่างอื่นให้เขาได้ จะเป็นการสอนเจ้าหน้าที่เพื่อจะทำแปลงปลูกผักให้เด็กๆ พอไปเห็นสิ่งที่เขาปลูก มีทั้งผักบุ้ง ผักกาดขาวซึ่งก็ปลูกไม่ยาก อีกอย่างเด็กๆ ก็ชอบ เราเลยลองเสนอตัวไปว่าเราจะทำให้เขา ซึ่งเขาก็สนใจดีค่ะ เลยคิดว่าโครงการนี้จะให้เสร็จภายในเดือนมกราคมปีหน้าค่ะ (ยิ้ม)
โครงการนี้จะเน้นปลูกผักให้ดูสวยงามเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งเรามองเห็นแล้วอยากทำ แต่ว่าเราต้องดูด้วยว่าเราทำให้เขามันจะยั่งยืนหรือเปล่า แต่เพราะเห็นว่าเขามีคนดูแลต่อ เราก็เลยทำให้ เราได้งบจากสวนผักคนเมืองมาส่วนหนึ่งแล้วก็กำลังหาเงินเพิ่มกันอยู่ ขณะที่ก็มีกัลยามิตรที่ยินดีช่วยเหลือเราเยอะแยะเลยค่ะ แต่ที่ให้ตรงนี้เราไม่ได้คาดหวังอะไรนะคะ เพราะรู้สึกสุขใจที่ได้ให้ สุขใจที่ได้ทำมากกว่า
• คนในเมืองให้ความสนใจเรื่องนี้เยอะไหมคะ จากที่เราได้ไปเป็นวิทยากรมา
ช่วงหลังเยอะมากค่ะ แล้วก็ออกมาในลักษณะที่ว่าเขาทำได้ดีกว่าเราด้วยซ้ำ มีเด็กรุ่นใหม่ที่สนใจแล้วสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นคนสอนด้วย ป้าว่าหลายคนทำได้ดีเพราะคนรุ่นใหม่เขาเก่งกว่าเรา ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ด้านความคิดการออกแบบต่างๆ ส่วนเราก็ไม่รู้ว่ามีใครจะมองว่าเชี่ยวชาญหรือเปล่านะคะ เพราะเราเองก็ยังไม่รู้อะไรอีกเยอะ เวลาสอนใครปลูกผัก บอกเลยว่า ถ้าหวังจะเอาวิชาการจากป้าป้อม จะไม่มีเลย เพราะเรารู้แค่สิ่งที่ตัวเองทำเป็นเท่านั้น ซึ่งถ้าอยากรู้อะไรมากกว่านี้ ป้าว่ายังมีคนที่เชี่ยวชาญอีกมากมายที่จะสามารถตอบคำถามสิ่งนั้นๆ ได้ (ยิ้ม)
• คิดว่าการทำสิ่งนี้ให้อะไรกับชีวิตเราในด้านไหนบ้างคะ
คือโดยส่วนตัว เราเป็นคนที่ชอบธรรมชาติ ชอบใช้ชีวิตแบบพอเพียง อาจจะเป็นเพราะช่วงวัยด้วยมั้งคะ เลยทำให้เราไม่ต้องไปหาแสงสีอะไร แต่ก็มีบ้างที่ต้องไปงานเลี้ยง ถ้าเราปฏิเสธได้ ก็จะปฏิเสธ
เราชอบใช้ชีวิตแบบพอเพียงและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะไม่เบียดเบียนชีวิตตนเองมากเกินไป ส่วนใหญ่เราจะใช้สิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ แต่คำว่าพอเพียงของแต่ละคน ระดับจะไม่เท่ากัน บางคนทำเท่านั้นคือพอพียงของเขา ของเราก็ทำได้เท่านี้ ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเราไม่พอเพียง เพราะยังเห็นว่าเรายังขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดอยู่เลย อันนี้เอามาเทียบกันไม่ได้ ป้าป้อมคิดว่าเท่านี้คือป้าป้อม พอในระดับที่ป้าป้อมทำได้ แล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อน (ยิ้ม)
ส่วนสิ่งที่ได้รับจริงๆ คือได้ความสุขค่ะ (ยิ้ม) ผลพลอยได้ที่เห็นชัดๆ เลยคือทางด้านจิตใจ เราได้เยอะมาก เราใจเย็น ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้นมาก ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่อยากได้อะไรมาก เหมือนกับว่าเราได้เข้ามาในวิถีชีวิตแบบนี้แล้ว เราอยากจะพึ่งตนเองมากขึ้น รู้จักพอมากขึ้น แต่ก่อนช่วงมาปลูกผักใหม่ๆ เรายังไม่รู้จักคำว่าพอเลยนะ แต่เมื่อได้เข้ามาเรื่อยๆ สังคมและสิ่งแวดล้อมมันสอนเราไปเอง
ส่วนทางด้านสุขภาพร่างกายเราก็ได้อยู่แล้ว เพราะว่าเราได้กินผักปลอดสารที่ปลูกเอง เรามั่นใจว่ามันไม่มีสารพิษจริงๆ เราได้เดินเหิน ได้รดน้ำดูแลผัก เหมือนได้ออกกำลังกายไปในตัว (ยิ้ม)
อีกอย่างการปลูกผักของป้าช่วยลดขยะไปในตัวนะ เพราะการปรุงดินของเราหลักๆ เราจะเอาขยะจากที่เราทำกับข้าว อย่างเศษผักต่างๆ มาทำเป็นดินที่ปรุง ขยะในบ้านจะน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเหลือแต่ขยะแห้งเท่านั้นค่ะ (ยิ้ม)
ป้าป้อมอยากให้คนที่สนใจการปลูกผักลองปลูกดู แล้วคำว่าพอมันจะตามมาเอง เพราะมันได้รู้จักการพึ่งตนเอง ต้องลองค่ะ เดี๋ยวก็จะมีความพอเกิดขึ้นจริงๆ (ยิ้ม)
เมนูอาหารจากผักบ้านป้าป้อม
เมนูต้มส้มผักบุ้ง ส่วนผสม - ผักบุ้งไทยต้นใหญ่ๆ (แบบที่ใส่ในเย็นตาโฟ) - เต้าหู้ยี้แบบสีแดง (มีทั้งแบบห่อด้วยใบไผ่และบรรจุในโหล) 1-2 ก้อน - เนื้อวัวหรือเนื้อหมูตามชอบใจ - พริกขี้หนู - มะนาว - น้ำปลาปรุงรส วิธีทำ - ต้มน้ำให้เดือด กะให้พอดีกับผักบุ้งที่ใช้ แบ่งน้ำมานิดหน่อยเพื่อใช้ละลายเต้าหู้ยี้ให้แหลก ละลายทีละก้อนก่อน กะว่าใช้ 1 ก้อนต่อแกง 1 ชาม ไม่พอค่อยๆ เพิ่ม - ใส่เต้าหู้ยี้ในน้ำเดือด ใส่ผักบุ้ง เนื้อ และเครื่องปรุงรส ลองชิมดูให้มีรสกลมกล่อมแบบน้ำต้มยำ ก็จะได้แกงส้มที่อร่อยและหอมกลิ่นเต้าหู้ยี้ |
เมนูหนมเส้น ส่วนผสม - ขนมจีนหรือหนมเส้น - พริกขี้หนูซอย - ปลากรอบป่นละเอียด - ถั่วงอก - ต้นอ่อนทานตะวัน - ใบแมงลัก - น้ำยำที่มีส่วนผสม คือ น้ำมะขามเปียก - น้ำปลา น้ำตาลปึก การเตรียมน้ำยำ ละลายมะขามเปียกโดยใช้วิธีต้มในน้ำเดือด กรองเอาแต่น้ำ เคี่ยวน้ำมะขามเปียก น้ำเปล่า น้ำตาลปึกให้เข้มข้น ชิมให้ได้แบบ 3 รส ถ้าทำคราวละมากหน่อยก็เหลือเก็บเข้าตู้เย็นไว้ใช้ทำเมนูอื่นได้อีก เช่น ไข่ลูกเขย ผัดไทย วิธีทำ - เอาขนมจีนใส่กะละมังหรือภาชนะที่ปากกว้างใหญ่หน่อยเพื่อความสะดวกในการคลุก - ใส่เครื่องทุกอย่างลงไป คือ ปลากรอบป่น ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน พริกขี้หนู ใบแมงลัก น้ำยำ คลุกให้ทั่ว ชิมรส เพิ่มรสกันตามใจชอบ |
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, อนงค์นาฏ ชนะกุล
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร