คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“บิ๊กตู่” ส่ง 10 ข้อเสนอ คสช.ให้ กรธ.ประกอบการร่าง รธน. ด้าน “มีชัย” บอกไม่ต้องทำตาม คสช.ทุกข้อ เพราะบางเรื่องมีอยู่แล้ว!
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. มีรายงานข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 11 พ.ย. ถึงนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ กรธ.ได้มีหนังสือถึงหัวหน้า คสช.เพื่อขอรับความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักการที่สมควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อ กรธ.จะได้นำไปประกอบการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป คสช.ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็น 10 ข้อ
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะของ คสช.10 ข้อดังกล่าว โดยสรุปคือ 1.รัฐธรรมนูญต้องมีบทบัญญัติที่สำคัญอย่างครบถ้วนและมีข้อความชัดเจนแน่นอน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม 2. รัฐธรรมนูญไม่ควรยาวเกินไป เพราะหากมีรายละเอียดยืดยาว จะทำให้มีการตีความยุ่งยากมากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญก็ต้องไม่สั้นเกินไปจนขาดสาระสำคัญในความเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ 3.ควรกำหนดวิธีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ เพราะรัฐธรรมนูญต้องมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อป้องกันการล้มล้างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้กำลัง โดยเฉพาะการปฏิวัติและรัฐประหาร 4.รัฐธรรมนูญต้องครอบคลุมหลักการสำคัญของกระบวนการเมืองการปกครอง เช่น มีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติรัฐ มีบทบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการบัญญัติถึงสถาบันทางการเมือง รวมถึงการใช้อำนาจตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการเมืองของสถาบันต่างๆ อย่างรัดกุม ป้องกันการบิดเบือน เพราะจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองหรือการแก้วิกฤติด้วยวิธีนอกระบบ 5.การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จะต้องสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ในประเทศอย่างแท้จริง ไม่ทำให้ประชาชนมีความสำคัญแค่ก่อนหรือขณะเลือกตั้งเท่านั้น
6.เนื่องจากปัญหาวิกฤตหรือความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นได้เสมอ และรัฐธรรมนูญอาจเกิดภาวะทางตัน ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญควรบัญญัติช่องทางเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคตในการผ่าทางตันไว้ด้วย โดยเฉพาะการเกิดสุญญากาศทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเดินต่อได้ 7.แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ยังคงต้องบัญญัติให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ การใช้กำลังทหารโดยสุจริตเพื่อความมั่นคงของรัฐจากภัยทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องรับโทษทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง 8.ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะทหาร จะต้องมีสิทธิเสรีภาพในทุกๆ ด้าน เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ไม่ควรถูกจำกัดหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง 9. ควรกำหนดให้การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีมีวาระ 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ เพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเผด็จการทางการเมือง และสอดคล้องกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยของอารยประเทศ และ 10.ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องถูกต่อต้านและขจัดไปจากประเทศ โดยผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก เฉียบขาด และรุนแรง ต้องถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนและข้าราชการเกิดสำนึกที่ดีต่อประเทศชาติ
ด้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เผยวันต่อมา(19 พ.ย.) ว่า ได้นำข้อเสนอ 10 ข้อของ คสช. ให้อนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเช่นเดียวกับข้อเสนอจากฝ่ายอื่นๆ แล้ว ไม่ถือว่าพิเศษไปกว่าข้อเสนอของคนอื่น เช่น สนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) สปท.(สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) รวมถึงพรรคการเมืองที่ทยอยส่งกันมา และว่า คณะกรรมการไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อเสนอของ คสช.ทั้งหมด เพราะบางข้อมีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนเพิ่มอีก เช่น ข้อ 7 ที่เสนอให้เขียนว่า การใช้กำลังทางทหารโดยสุจริตเพื่อความมั่นคงของรัฐจากภัยที่มาทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องรับโทษทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง ไม่จำเป็นต้องเขียน เนื่องจากเป็นหลักในกฎหมายอาญาอยู่แล้ว และไม่คิดว่า ข้อเสนอของ คสช.จะมีจุดประสงค์เพื่อนิรโทษกรรมล่วงหน้า เพราะมีกฎหมายปกติรับรองอยู่แล้ว รวมถึงข้อ 8 ที่เสนอว่า ให้ทหารมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกทางการเมืองเช่นเดียวกับประชาชน ก็ไม่จำเป็นต้องระบุตามที่เสนอมา เนื่องจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องทำภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมเชื่อว่า การไม่ปฏิบัติตาม คสช.ทุกเรื่อง จะไม่มีปัญหา เพราะสามารถชี้แจงได้
2.“วิษณุ” แถลงยันคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจำนำข้าว ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ฟ้อง ปชช. รัฐบาลใช้อำนาจแทนศาล!
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า แบ่งผู้ถูกกล่าวหาออกเป็น 4 กลุ่ม ทั้งนี้ นายวิษณุ ไม่พูดชื่อเต็มของผู้ถูกกล่าวหา แต่ใช้อักษรย่อแทน คือ 1.”กลุ่ม ย.” ซึ่ง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและส่งให้ สนช.ถอดถอนออกจากตำแหน่ง จากนั้นส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และส่งจดหมายถึงกระทรวงการคลังให้เรียกค่าเสียหาย 2.”กลุ่ม บ.” และพวก ซึ่ง ป.ป.ช.กล่าวหาว่าทุจริตขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ส่งให้ สนช.ถอดถอน ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯ และส่งจดหมายถึงกระทรวงพาณิชย์ให้เรียกค่าเสียหาย 3.”กลุ่ม ภ.” และพวก ความผิดคล้ายกับกลุ่ม 2 และดำเนินการทางกฎหมายเช่นกัน 4.กลุ่มเอกชน 15 ราย ที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้ประโยชน์ในการทุจริตโครงการจำหน่ายข้าวแบบจีทูจี โดยได้ฟ้องอาญาพ่วงไปกับกลุ่ม 1 และ 2
สำหรับวิธีเรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกกล่าวหานั้น นายวิษณุ กล่าวว่า มี 2 วิธี 1.ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการละเมิด ซึ่งเป็นคดีละเมิดธรรมดา สู้กัน 3 ศาล และ 2. ใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 เนื่องจากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างไรก็ตาม จากการปรึกษาหารือกับหลายฝ่ายเห็นว่าควรใช้วิธีที่ 2 คือออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งต่อฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา
ส่วนขั้นตอนการดำเนินการตามวิธีที่ 2 นี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องมีการตรวจสอบหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการรับผิดทางแพ่ง ถ้าเห็นว่ามีมูลความผิด ต้องออกคำสั่งทางปกครอง ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หากผู้ถูกกล่าวหาเห็นว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ฟังขึ้นก็จบ แต่ถ้าเห็นว่าผิด จะให้คืนเงินเท่าไร ก็จะออกเป็นคำสั่งทางปกครอง ถ้าผู้ถูกกล่าวหายอมชดใช้เงินก็จบ แต่ถ้าคิดว่าไม่เป็นธรรม สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ หากศาลปกครองชั้นต้นตัดสินแล้ว ยังไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้
ทั้งนี้ นายวิษณุ เผยว่า การใช้คำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้มานานกว่า 19 ปีแล้ว ดำเนินการไปกว่า 5,000 คดี ไม่ใช่กฎหมายใหม่ หรือ คสช.เพิ่งคิดขึ้นปีนี้ เพื่อกลั่นแกล้งหรือเล่นงานใครโดยเฉพาะ สำหรับคดีที่เคยใช้คำสั่งทางปกครอง ได้แก่ คดีคลองด่าน คดีทุจริตจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง คดีเรือขุด คดีที่ดินหมอชิต เป็นต้น ส่วนที่ “ย.” ขอความเห็นใจและขอความเป็นธรรม โดยส่งหนังสือถึงนายกฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น นายวิษณุ กล่าวว่า นายกฯ ได้รับเรื่องแล้ว แต่ที่ต้องมาชี้แจงรายละเอียดครั้งนี้ เนื่องจากมีการกล่าวหารัฐบาลจนถูกมองว่าไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักความยุติธรรม มีการกลั่นแกล้ง ทั้งที่ความจริง รัฐบาลไม่ได้มีอคติ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้แต่อย่างใด
นายวิษณุ เผยด้วยว่า ขณะนี้คดีของกลุ่ม 2 (กลุ่ม บ.และพวก) และกลุ่ม 3 (กลุ่ม ภ.และพวก) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง ส่วนคดีของกลุ่ม 1 (กลุ่ม “ย.”) ยังอยู่ในการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งได้ขยายเวลาสอบออกไปจนถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากมีหลักฐานเพิ่มก็ขยายเวลาออกไปอีกได้ ดังนั้นคดีนี้ยังอีกยาว แต่ทั้งหมดต้องดำเนินการภายในอายุความ 2 ปี คือภายในเดือน ก.พ.2560 นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า วันที่ออกคำสั่งทางปกครอง รัฐบาลนี้อาจจะยังอยู่ เพราะช่วงนั้นไม่เกินเดือน ก.พ.2559 แต่วันที่ศาลปกครองชั้นต้นตัดสิน รัฐบาลนี้ไม่อยู่แล้วและจะไม่มีสิทธิทำอะไรด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในวันเดียวกัน หลังฟังคำแถลงของนายวิษณุ โดยออกอาการไม่พอใจและขอความเห็นใจจากประชาชน โดยบอก ขอฝากข้อคิดให้กับพี่น้องประชาชนได้พิจารณาว่า การกระทำแบบนี้หรือที่ คสช.อ้างว่ายึดอำนาจแล้ว จะสร้างความปรองดอง ความเป็นธรรม และหลักนิติธรรม พร้อมเหน็บรัฐบาลว่า รัฐบาลเลือกใช้วิธีให้กระทรวงการคลังออกคำสั่งให้ตนชำระค่าเสียหายทั้งที่คดีอาญายังไม่เสร็จสิ้น เท่ากับว่ารัฐบาลใช้อำนาจตุลาการแทนศาล พร้อมเชื่อว่า คดีนี้เป็นคดีแรกที่นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่ถูกยึดอำนาจ ถูกดำเนินคดีจากนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาเพื่อช่วยเหลือประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังแสดงความข้องใจด้วยว่า การเลือกใช้วิธีให้กระทรวงการคลังออกคำสั่งให้ตนชำระค่าเสียหายนั้น ประชาชนได้ประโยชน์อะไร และอะไรที่เรียกว่า สร้างความเสียหายต่อรัฐอย่างร้ายแรง ทั้งๆ ที่โครงการรับจำนำข้าวได้จ่ายเงินตรงถึงมือชาวนาผ่าน ธ.ก.ส.ทุกบาททุกสตางค์ และว่า ตนคงไม่คาดหวังความเป็นธรรมจากรัฐบาลนี้อีกแล้ว และจะถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่คงต้องจารึกในหัวใจของตนและประชาชน รวมทั้งจะเป็นบรรทัดฐานที่นำไปใช้กับนายกฯ ที่ดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนหลังจากนี้ต่อไป
3.ผบ.ทบ.แถลงผลสอบอุทยานราชภักดิ์ ถูกต้องโปร่งใส-ไร้ทุจริต ส่วนปมหักหัวคิว ให้ถาม “พล.อ.อุดมเดช”!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้แถลงข่าวผลการตรวจสอบการก่อสร้างโครงการอุทยานราชภักดิ์ หลังจากคณะกรรมการที่ พล.อ.ธีรชัย ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งมี พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เป็นประธาน ใช้เวลาตรวจสอบครบ 7 วันตามกรอบเวลาที่ พล.อ.ธีรชัย กำหนด โดยการแถลงครั้งนี้เป็นลักษณะให้สัมภาษณ์ และเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนถ่ายทอดสดแต่อย่างใด
ทั้งนี้ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบว่า การจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขณะนี้มีอะไรบ้าง สิ่งไหนทำแล้ว สิ่งไหนยังไม่ได้ทำ รวมถึงสิ่งที่มีปัญหา เนื่องจากตนจะเข้าไปรับดำเนินการต่อ ซึ่งต้องเข้าใจว่าอุทยานราชภักดิ์เป็นของกองทัพบก ปลูกสร้างในที่ดินของกองทัพบก กองทัพบกจึงต้องเป็นผู้ดูแลโครงการทั้งหมด เพียงแต่มีการดำเนินการจัดสร้างโดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีต ผบ.ทบ.คนที่แล้ว ซึ่งสร้างด้วยเงินบริจาค เมื่อ พล.อ.อุดมเดช เกษียณแล้ว จึงต้องอยู่ในความดูแลของกองทัพบก โดยผลการตรวจสอบเรียบร้อยทุกอย่าง สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตรวจสอบไม่พบการทุจริตใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ตามบัญชีรายได้ที่ได้มาจากการบริจาค เข้ามาในกองทุนและดำเนินการออกไปในการใช้จ่าย ถูกต้องทุกอย่าง เพราะมีระบบการเงินดูแลถูกต้อง ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า พล.อ.อุดมเดช ออกมายอมรับว่า มีเซียนพระหักค่าหัวคิวจากโรงหล่อจริง พล.อ. ธีรชัย กล่าวว่า พล.อ.อุดมเดชไม่ได้ยอมรับอะไร สื่อควรไปถาม พล.อ.อุดมเดช เอง “ยืนยันการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ ไม่มีการทุจริต ทั้งในส่วนขององค์กร บุคคล ที่เข้าไปดำเนินการ ถ้ามีบุคคลที่หาผลประโยชน์จากโครงการนี้ หากตรวจสอบเจอก็ไม่ละเว้นอยู่แล้ว ต้องเข้าใจว่าการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์เป็นโครงการที่ดี ดำเนินการอย่างโปร่งใส ถ้าจะมีกำลังพลของบุคคลใดที่แอบแฝง และหวังประโยชน์จากโรงการนี้ ดำเนินการเอาผิดทุกราย”
พล.อ.ธีรชัย เผยด้วยว่า ขณะนี้ยอดเงินบริจาคเหลืออยู่ในบัญชีกองทัพบกประมาณ 33 ล้านบาท และอยู่ในมูลนิธิอุทยานราชภักดิ์อีกกว่า 120 ล้านบาท และว่า ต้องเข้าใจด้วยว่าโครงการนี้ไม่ได้มีงบประมาณรองรับ เป็นเงินบริจาคทั้งสิ้น ถ้าเงินไม่พอ ก็ต้องหาวิธีดำเนินงานต่อเพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ตรงตามวัตถุประสงค์ พร้อมย้ำว่า พล.อ.อุดมเดช ยังคงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการราชภักดิ์ต่อ เพราะเป็นโดยตัวบุคคล ไม่ใช่ตำแหน่ง และมีกรรมการ 6 คน แต่ไม่มีหน้าที่ในการบริหารงานอุทยานราชภักดิ์ โดยหน้าที่ตรงนี้ ตนในฐานะผู้บัญชาการทหารบก จะรับไปดูแล เพราะอยู่ในพื้นที่ของกองทัพบก และจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่มาดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยอดเงินบริจาคจริงมีเท่าไร พล.อ.ธีรชัย บอกว่า เยอะพอสมควร ประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท และได้นำไปจัดสร้างในส่วนต่างๆ เช่น พระรูปองค์ละ 41- 45 ล้านบาท 7 พระองค์ และลานเอนกประสงค์อีก ซึ่งมีข้อมูลรายรับรายจ่ายทั้งหมด สามารถเปิดเผยได้ ไม่มีอะไรต้องปิดบัง
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า พล.อ.อุดมเดช ยอมรับว่ามีการหักค่าหัวคิวจากโรงหล่อจริงและมีการคืนเงินไปแล้ว ถือว่าความผิดสำเร็จแล้วใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ต้องไปถาม พล.อ.อุดมเดช เพราะเงินเอาไปคืน พล.อ.อุดมเดช จำนวน 20 ล้านบาท ตามเจตจำนงของโรงหล่อที่บริจาคให้ มีใบเสร็จเรียบร้อย
เมื่อถามว่า บุคคลที่ถูกพาดพิงก่อนหน้านี้ไม่เกี่ยวข้องเลย ทั้งในส่วนของเซียนพระหรือทหารใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ตนไม่ทราบเพราะดูตามบัญชี เมื่อถามย้ำว่า จากการตรวจสอบมีทหารเข้าไปเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน และระดับใดบ้าง พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ยังไม่มี แต่ถ้าภายหน้ามี ตนไม่ต้องการใบเสร็จอยู่แล้ว จะดำเนินการทันที ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า นายทหารยศพลตรี ที่ลาออกและ พ.อ.คชาชาต บุญดี อดีตนายทหารเสนาธิการประจำกองทัพภาคที่ 3 ที่ต้องคดีทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า เป็นคนละเรื่อง อาจเกี่ยวข้องกับงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานราชภักดิ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยืนยันได้หรือไม่ว่า พล.อ.อุดมเดช ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ตนไม่เคยพูดสักคำว่ามีการทุจริต สื่อพูดเอง ถามว่าเอาหลักฐานมาจากไหน หรือเอามาจากโซเชียลมีเดียอย่างเดียว เมื่อถามย้ำว่า ข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบการจัดสร้างอุทยานฯ ไม่พบข้อมูลว่า พล.อ.อุดมเดช เกี่ยวกับการทุจริตใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ยืนยันอีกครั้งว่าตนไม่ได้ตรวจสอบในเรื่องนี้ ส่วนความสัมพันธ์กับ พล.อ.อุดมเดช ที่มีข่าวลือว่าไม่ถูกกันนั้น พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า “คุณไปลือกันเองหรือเปล่า นักข่าวทั้งหลาย ปีที่แล้วพวกคุณจำกันได้หรือไม่ ส่งเสริมสนับสนุนยกย่อง ตามข่าวทั้งหมดพวกคุณทั้งนั้น ปีนี้คุณก็มาใส่ร้ายป้ายสีเขา ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน คงจะต้องมีการตรวจผู้สื่อข่าวเหมือนกัน มีอยู่กลุ่มหนึ่ง พอถึงเวลาก็เปลี่ยนท่าที ปีที่แล้วชมกันจัง ยกยอปอปั้น สารพัด ปีนี้ให้ร้ายเขาแล้ว มีอะไรหรือเปล่าผมไม่รู้”
ทั้งนี้ พล.อ.ธีรชัย กล่าวด้วยว่า การตรวจสอบเรื่องอุทยานราชภักดิ์ ไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มาตรวจสอบ เพราะไม่มีอะไร และไม่จำเป็นต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพราะเป็นเรื่องภายในกองทัพบก
พล.อ.ธีรชัย ยังชี้แจงถึงการจัดงาน “ไบค์ ฟอร์ ราชภักดิ์ แอนด์ คอนเสิร์ต” เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมีการตั้งราคาโต๊ะจีนสูงถึงโต๊ะละ 1 ล้านบาท และต้นไม้ราคาต้นละ 3 แสนบาทด้วย โดยยอมรับว่า เป็นเรื่องจริง ซึ่งเงินได้นำมาเข้ากองทุน โดยมีผู้บริจาคต้นไม้มาให้ เพราะเห็นว่ามีการจัดกิจกรรมดังกล่าว และมีผู้บริจาคเงิน เลยนำต้นไม้มาติดป้ายชื่อผู้บริจาค
ทั้งนี้ หลัง พล.อ.ธีรชัย แถลงผลสอบว่าการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์โปร่งใส ไร้ทุจริต ปรากฏว่า พล.อ.สุรเชษฐ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชายุค พล.อ.อุดมเดช ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.เผยว่า ตนได้เข้าแจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) เพื่อดำเนินคดีผู้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กที่ทำให้ตนเสื่อมเสียชื่อเสียงแล้ว
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ส่งหนังสือถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ขอให้ตรวจสอบรายรับรายจ่ายของกองทุนสวัสดิการกองทัพบกเกี่ยวกับการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ว่า มีการปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ.2526 หรือไม่
4.ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ “ประชา มาลีนนท์-พล.ต.ต.อธิลักษณ์” หลังถูกพิพากษาจำคุกคดีจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง เหตุไม่มีหลักฐานใหม่!
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คําสั่งตามมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา วันที่ 3 ก.ย.2558 คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นจำเลยที่ ๑ นายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ ๒ นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำเลยที่ ๓ พล.ต.ต. อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. จำเลยที่ ๔ บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์ซอย เอจี แอนด์ โค เคจี หรือบริษัท จีดี ยูโรเปี้ยน แลนด์ซิสเต็ม - สไตเออร์ จํากัด จำเลยที่ ๕ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. จำเลยที่ ๖ เรื่อง ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (ฮั้วประมูล) ที่นายประชา ผู้ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 12 ปี และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ผู้ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 10 ปี ฐานกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ จากกรณีจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง มูลค่า 6,687,489,000 บาท ได้มอบอำนาจให้ทนายความยื่นขออุทธรณ์คดีต่อศาลศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมื่อเดือน ต.ค. 2556
สำหรับการยื่นอุทธรณ์ของนายประชา และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีขึ้นหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีมติเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 10 ก.ย.2556 ให้จำคุกนายประชา จำเลยที่ 2 เป็นเวลา 12 ปี ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 12 และ 13 ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักที่สุด และจำคุก 10 ปี พล.ต.ต.อธิลักษณ์ จำเลยที่ 4 ตาม พ.ร.บ. เดียวกัน มาตรา 12 จากกรณีที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการผลักดันให้เร่งรัดสั่งซื้ออุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยตามโครงการพัฒนาระบบและบริหารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.เมื่อปี 2547 โดยฝ่าฝืนมติ ครม. และข้อบัญญัติของการบริหารราชการ กทม. รวมทั้งระเบียบการจัดซื้อ จนทำให้การสั่งซื้อสินค้าเอื้อประโยชน์แก่บริษัท สไตเออร์ฯ จำเลยที่ 5 ซึ่งมีการสั่งซื้่อราคาแพง และบริษัท สไตเออร์ฯ ได้รับประโยชน์ 48.77% เมื่อเทียบกับราคาที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยจัดซื้ออุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศ และการจัดซื้อจากการผลักดันของจำเลยที่ 2 และ 4 ก็ไม่ได้เปรียบเทียบราคา กระทั่งทำให้มีการจัดซื้อสินค้าด้วยวิธีพิเศษ ส่งผลให้จำเลยที่ 5 รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการกีดกันทางการค้าและการเสนอราคาแข่งขันอย่างเป็นธรรม
ขณะที่พยานหลักฐานโจทก์ (ป.ป.ช.) ไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่า นายโภคิน จำเลยที่ 1 นายวัฒนา จำเลยที่ 3 และนายอภิรักษ์ จำเลยที่ 6 ปฏิบัติหน้าที่มิชอบในโครงการดังกล่าว จึงพิพากษายกฟ้อง ซึ่งวันนั้น ศาลได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับนายประชา และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ที่ไม่มาฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ หลังนายประชาและ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลฎีกาฯ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้ลงคะแนนเสียงเลือกผู้พิพากษา 5 คน เป็นองค์คณะพิจารณาคำอุทธรณ์ว่าถูกต้องตามระเบียบและตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 278 วรรคสาม หรือไม่ ที่บัญญัติว่า ผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ อาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ในกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษามีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ โดยให้ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษา
ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ไม่รับอุทธรณ์ของนายประชา และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า อุทธรณ์ของบุคคลทั้งสองไม่เข้าข่ายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 278 วรรคสาม และไม่เข้าหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ พ.ศ.2551 ข้อ 3 ถึงข้อ 6
อนึ่ง คดีจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง นอกจากคดีที่ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกนายประชา 12 ปีแล้ว ยังมีคดีที่ศาลปกครองด้วย โดยศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ให้นายประชา ชดใช้เงิน 587,580,000 ล้านบาทแก่ กทม. พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด คู่ความยังสามารถอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้
5.ศาล สั่งออกหมายจับ “กำนันเซี้ย” อดีต ส.ส.ปชป. คดีฮั้วประมูล-อั้งยี่ หลังมีพฤติการณ์หลบหนี พร้อมเลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกาเป็น 22 ธ.ค.!
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ศาลอาญา ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประชา โพธิพิพิธ หรือกำนันเซี้ย อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.), นางเขมพร ต่างใจเย็น ภรรยา, น.ส.วรรณา ล้อไพบูลย์ คนสนิทนางเขมพร และนายถวิล สวัสดี (เสียชีวิตแล้ว) เป็นจำเลย ที่ 1-4 ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (ฮั้วประมูล)
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2542-2544 จำเลยได้ร่วมกันฮั้วประมูลโครงการก่อสร้างต่างๆ ใน จ.กาญจนบุรี และเพชรบุรี หลายโครงการ กระทั่งเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2544 จำเลยที่ 4 พร้อมนายสมศักดิ์ ศรีสุข เลขานุการของกำนันเซี้ย กับพวกอีกหลายคนที่ศาลอาญาพิพากษาลงโทษไปแล้วเมื่อปี 2546 ได้ร่วมกันกระทำความผิดข้อหาอั้งยี่ เข้าขัดขวางไม่ให้บริษัท วัสดุเซ็นเตอร์ จำกัด เข้าเสนอราคา โดยได้กักตัวนายเดชา มาศวรรณา ตัวแทนบริษัทไว้ พร้อมเสนอให้รับเงิน 1 หมื่นบาท เพื่อไม่ให้เข้าร่วมการเสนอราคา แต่เมื่อนายเดชาไม่ยินยอม นายสมศักดิ์กับพวกได้ใช้กำลังประทุษร้าย ต่อมาจำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พร้อมให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายประชา หรือกำนันเซี้ย เป็นเวลา 5 ปี ฐานเป็นหัวหน้า หรือผู้มีตำแหน่ง เป็นอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรค 2 ส่วนจำเลยที่ 2-4 ให้จำคุกคนละ 4 ปี ฐานเป็นอั้งยี่ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2550 ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งอัยการโจทก์ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษพวกจำเลย
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. นางเขมพร จำเลยที่ 2 ได้เดินทางมาศาลตามนัด ส่วนนายประชา จำเลยที่ 1 และ น.ส.วรรณา จำเลยที่ 3 ไม่เดินทางมา โดยมอบอำนาจให้ทนายความมาฟังคำพิพากษาแทน พร้อมแถลงต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 ยังพักรักษาตัวอยู่ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา และโรคหัวใจกำเริบ พร้อมกับมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน
ด้านศาลพิเคราะห์แล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เลื่อนฟังคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้รักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมาเป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือนแล้ว ไม่ใช่เจ็บป่วยจนถึงขนาดมาศาลไม่ได้ ถือว่ามีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาอีกครั้งในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น. พร้อมกำชับให้จำเลยทั้งหมดมาศาลตามนัด
1.“บิ๊กตู่” ส่ง 10 ข้อเสนอ คสช.ให้ กรธ.ประกอบการร่าง รธน. ด้าน “มีชัย” บอกไม่ต้องทำตาม คสช.ทุกข้อ เพราะบางเรื่องมีอยู่แล้ว!
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. มีรายงานข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 11 พ.ย. ถึงนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ กรธ.ได้มีหนังสือถึงหัวหน้า คสช.เพื่อขอรับความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักการที่สมควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อ กรธ.จะได้นำไปประกอบการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป คสช.ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็น 10 ข้อ
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะของ คสช.10 ข้อดังกล่าว โดยสรุปคือ 1.รัฐธรรมนูญต้องมีบทบัญญัติที่สำคัญอย่างครบถ้วนและมีข้อความชัดเจนแน่นอน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม 2. รัฐธรรมนูญไม่ควรยาวเกินไป เพราะหากมีรายละเอียดยืดยาว จะทำให้มีการตีความยุ่งยากมากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญก็ต้องไม่สั้นเกินไปจนขาดสาระสำคัญในความเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ 3.ควรกำหนดวิธีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ เพราะรัฐธรรมนูญต้องมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อป้องกันการล้มล้างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้กำลัง โดยเฉพาะการปฏิวัติและรัฐประหาร 4.รัฐธรรมนูญต้องครอบคลุมหลักการสำคัญของกระบวนการเมืองการปกครอง เช่น มีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามหลักนิติรัฐ มีบทบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการบัญญัติถึงสถาบันทางการเมือง รวมถึงการใช้อำนาจตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการเมืองของสถาบันต่างๆ อย่างรัดกุม ป้องกันการบิดเบือน เพราะจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองหรือการแก้วิกฤติด้วยวิธีนอกระบบ 5.การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จะต้องสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ในประเทศอย่างแท้จริง ไม่ทำให้ประชาชนมีความสำคัญแค่ก่อนหรือขณะเลือกตั้งเท่านั้น
6.เนื่องจากปัญหาวิกฤตหรือความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นได้เสมอ และรัฐธรรมนูญอาจเกิดภาวะทางตัน ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญควรบัญญัติช่องทางเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคตในการผ่าทางตันไว้ด้วย โดยเฉพาะการเกิดสุญญากาศทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเดินต่อได้ 7.แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ ยังคงต้องบัญญัติให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ การใช้กำลังทหารโดยสุจริตเพื่อความมั่นคงของรัฐจากภัยทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องรับโทษทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง 8.ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะทหาร จะต้องมีสิทธิเสรีภาพในทุกๆ ด้าน เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ไม่ควรถูกจำกัดหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง 9. ควรกำหนดให้การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีมีวาระ 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ เพื่อป้องกันการผูกขาดหรือเผด็จการทางการเมือง และสอดคล้องกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยของอารยประเทศ และ 10.ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องถูกต่อต้านและขจัดไปจากประเทศ โดยผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก เฉียบขาด และรุนแรง ต้องถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนและข้าราชการเกิดสำนึกที่ดีต่อประเทศชาติ
ด้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เผยวันต่อมา(19 พ.ย.) ว่า ได้นำข้อเสนอ 10 ข้อของ คสช. ให้อนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเช่นเดียวกับข้อเสนอจากฝ่ายอื่นๆ แล้ว ไม่ถือว่าพิเศษไปกว่าข้อเสนอของคนอื่น เช่น สนช.(สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) สปท.(สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) รวมถึงพรรคการเมืองที่ทยอยส่งกันมา และว่า คณะกรรมการไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อเสนอของ คสช.ทั้งหมด เพราะบางข้อมีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนเพิ่มอีก เช่น ข้อ 7 ที่เสนอให้เขียนว่า การใช้กำลังทางทหารโดยสุจริตเพื่อความมั่นคงของรัฐจากภัยที่มาทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร ไม่ต้องรับโทษทางแพ่ง อาญา และทางปกครอง ไม่จำเป็นต้องเขียน เนื่องจากเป็นหลักในกฎหมายอาญาอยู่แล้ว และไม่คิดว่า ข้อเสนอของ คสช.จะมีจุดประสงค์เพื่อนิรโทษกรรมล่วงหน้า เพราะมีกฎหมายปกติรับรองอยู่แล้ว รวมถึงข้อ 8 ที่เสนอว่า ให้ทหารมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกทางการเมืองเช่นเดียวกับประชาชน ก็ไม่จำเป็นต้องระบุตามที่เสนอมา เนื่องจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องทำภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมเชื่อว่า การไม่ปฏิบัติตาม คสช.ทุกเรื่อง จะไม่มีปัญหา เพราะสามารถชี้แจงได้
2.“วิษณุ” แถลงยันคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจำนำข้าว ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ฟ้อง ปชช. รัฐบาลใช้อำนาจแทนศาล!
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า แบ่งผู้ถูกกล่าวหาออกเป็น 4 กลุ่ม ทั้งนี้ นายวิษณุ ไม่พูดชื่อเต็มของผู้ถูกกล่าวหา แต่ใช้อักษรย่อแทน คือ 1.”กลุ่ม ย.” ซึ่ง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและส่งให้ สนช.ถอดถอนออกจากตำแหน่ง จากนั้นส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และส่งจดหมายถึงกระทรวงการคลังให้เรียกค่าเสียหาย 2.”กลุ่ม บ.” และพวก ซึ่ง ป.ป.ช.กล่าวหาว่าทุจริตขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ส่งให้ สนช.ถอดถอน ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯ และส่งจดหมายถึงกระทรวงพาณิชย์ให้เรียกค่าเสียหาย 3.”กลุ่ม ภ.” และพวก ความผิดคล้ายกับกลุ่ม 2 และดำเนินการทางกฎหมายเช่นกัน 4.กลุ่มเอกชน 15 ราย ที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้ประโยชน์ในการทุจริตโครงการจำหน่ายข้าวแบบจีทูจี โดยได้ฟ้องอาญาพ่วงไปกับกลุ่ม 1 และ 2
สำหรับวิธีเรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกกล่าวหานั้น นายวิษณุ กล่าวว่า มี 2 วิธี 1.ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการละเมิด ซึ่งเป็นคดีละเมิดธรรมดา สู้กัน 3 ศาล และ 2. ใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 เนื่องจากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างไรก็ตาม จากการปรึกษาหารือกับหลายฝ่ายเห็นว่าควรใช้วิธีที่ 2 คือออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งต่อฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา
ส่วนขั้นตอนการดำเนินการตามวิธีที่ 2 นี้ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องมีการตรวจสอบหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการรับผิดทางแพ่ง ถ้าเห็นว่ามีมูลความผิด ต้องออกคำสั่งทางปกครอง ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หากผู้ถูกกล่าวหาเห็นว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 15 วัน หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ฟังขึ้นก็จบ แต่ถ้าเห็นว่าผิด จะให้คืนเงินเท่าไร ก็จะออกเป็นคำสั่งทางปกครอง ถ้าผู้ถูกกล่าวหายอมชดใช้เงินก็จบ แต่ถ้าคิดว่าไม่เป็นธรรม สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ หากศาลปกครองชั้นต้นตัดสินแล้ว ยังไม่พอใจ ก็สามารถอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้
ทั้งนี้ นายวิษณุ เผยว่า การใช้คำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้มานานกว่า 19 ปีแล้ว ดำเนินการไปกว่า 5,000 คดี ไม่ใช่กฎหมายใหม่ หรือ คสช.เพิ่งคิดขึ้นปีนี้ เพื่อกลั่นแกล้งหรือเล่นงานใครโดยเฉพาะ สำหรับคดีที่เคยใช้คำสั่งทางปกครอง ได้แก่ คดีคลองด่าน คดีทุจริตจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง คดีเรือขุด คดีที่ดินหมอชิต เป็นต้น ส่วนที่ “ย.” ขอความเห็นใจและขอความเป็นธรรม โดยส่งหนังสือถึงนายกฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น นายวิษณุ กล่าวว่า นายกฯ ได้รับเรื่องแล้ว แต่ที่ต้องมาชี้แจงรายละเอียดครั้งนี้ เนื่องจากมีการกล่าวหารัฐบาลจนถูกมองว่าไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักความยุติธรรม มีการกลั่นแกล้ง ทั้งที่ความจริง รัฐบาลไม่ได้มีอคติ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้แต่อย่างใด
นายวิษณุ เผยด้วยว่า ขณะนี้คดีของกลุ่ม 2 (กลุ่ม บ.และพวก) และกลุ่ม 3 (กลุ่ม ภ.และพวก) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการความรับผิดทางแพ่ง ส่วนคดีของกลุ่ม 1 (กลุ่ม “ย.”) ยังอยู่ในการสอบสวนของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งได้ขยายเวลาสอบออกไปจนถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากมีหลักฐานเพิ่มก็ขยายเวลาออกไปอีกได้ ดังนั้นคดีนี้ยังอีกยาว แต่ทั้งหมดต้องดำเนินการภายในอายุความ 2 ปี คือภายในเดือน ก.พ.2560 นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า วันที่ออกคำสั่งทางปกครอง รัฐบาลนี้อาจจะยังอยู่ เพราะช่วงนั้นไม่เกินเดือน ก.พ.2559 แต่วันที่ศาลปกครองชั้นต้นตัดสิน รัฐบาลนี้ไม่อยู่แล้วและจะไม่มีสิทธิทำอะไรด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในวันเดียวกัน หลังฟังคำแถลงของนายวิษณุ โดยออกอาการไม่พอใจและขอความเห็นใจจากประชาชน โดยบอก ขอฝากข้อคิดให้กับพี่น้องประชาชนได้พิจารณาว่า การกระทำแบบนี้หรือที่ คสช.อ้างว่ายึดอำนาจแล้ว จะสร้างความปรองดอง ความเป็นธรรม และหลักนิติธรรม พร้อมเหน็บรัฐบาลว่า รัฐบาลเลือกใช้วิธีให้กระทรวงการคลังออกคำสั่งให้ตนชำระค่าเสียหายทั้งที่คดีอาญายังไม่เสร็จสิ้น เท่ากับว่ารัฐบาลใช้อำนาจตุลาการแทนศาล พร้อมเชื่อว่า คดีนี้เป็นคดีแรกที่นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่ถูกยึดอำนาจ ถูกดำเนินคดีจากนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาเพื่อช่วยเหลือประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังแสดงความข้องใจด้วยว่า การเลือกใช้วิธีให้กระทรวงการคลังออกคำสั่งให้ตนชำระค่าเสียหายนั้น ประชาชนได้ประโยชน์อะไร และอะไรที่เรียกว่า สร้างความเสียหายต่อรัฐอย่างร้ายแรง ทั้งๆ ที่โครงการรับจำนำข้าวได้จ่ายเงินตรงถึงมือชาวนาผ่าน ธ.ก.ส.ทุกบาททุกสตางค์ และว่า ตนคงไม่คาดหวังความเป็นธรรมจากรัฐบาลนี้อีกแล้ว และจะถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่คงต้องจารึกในหัวใจของตนและประชาชน รวมทั้งจะเป็นบรรทัดฐานที่นำไปใช้กับนายกฯ ที่ดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนหลังจากนี้ต่อไป
3.ผบ.ทบ.แถลงผลสอบอุทยานราชภักดิ์ ถูกต้องโปร่งใส-ไร้ทุจริต ส่วนปมหักหัวคิว ให้ถาม “พล.อ.อุดมเดช”!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้แถลงข่าวผลการตรวจสอบการก่อสร้างโครงการอุทยานราชภักดิ์ หลังจากคณะกรรมการที่ พล.อ.ธีรชัย ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งมี พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เป็นประธาน ใช้เวลาตรวจสอบครบ 7 วันตามกรอบเวลาที่ พล.อ.ธีรชัย กำหนด โดยการแถลงครั้งนี้เป็นลักษณะให้สัมภาษณ์ และเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนถ่ายทอดสดแต่อย่างใด
ทั้งนี้ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบว่า การจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขณะนี้มีอะไรบ้าง สิ่งไหนทำแล้ว สิ่งไหนยังไม่ได้ทำ รวมถึงสิ่งที่มีปัญหา เนื่องจากตนจะเข้าไปรับดำเนินการต่อ ซึ่งต้องเข้าใจว่าอุทยานราชภักดิ์เป็นของกองทัพบก ปลูกสร้างในที่ดินของกองทัพบก กองทัพบกจึงต้องเป็นผู้ดูแลโครงการทั้งหมด เพียงแต่มีการดำเนินการจัดสร้างโดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีต ผบ.ทบ.คนที่แล้ว ซึ่งสร้างด้วยเงินบริจาค เมื่อ พล.อ.อุดมเดช เกษียณแล้ว จึงต้องอยู่ในความดูแลของกองทัพบก โดยผลการตรวจสอบเรียบร้อยทุกอย่าง สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตรวจสอบไม่พบการทุจริตใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ตามบัญชีรายได้ที่ได้มาจากการบริจาค เข้ามาในกองทุนและดำเนินการออกไปในการใช้จ่าย ถูกต้องทุกอย่าง เพราะมีระบบการเงินดูแลถูกต้อง ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า พล.อ.อุดมเดช ออกมายอมรับว่า มีเซียนพระหักค่าหัวคิวจากโรงหล่อจริง พล.อ. ธีรชัย กล่าวว่า พล.อ.อุดมเดชไม่ได้ยอมรับอะไร สื่อควรไปถาม พล.อ.อุดมเดช เอง “ยืนยันการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ ไม่มีการทุจริต ทั้งในส่วนขององค์กร บุคคล ที่เข้าไปดำเนินการ ถ้ามีบุคคลที่หาผลประโยชน์จากโครงการนี้ หากตรวจสอบเจอก็ไม่ละเว้นอยู่แล้ว ต้องเข้าใจว่าการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์เป็นโครงการที่ดี ดำเนินการอย่างโปร่งใส ถ้าจะมีกำลังพลของบุคคลใดที่แอบแฝง และหวังประโยชน์จากโรงการนี้ ดำเนินการเอาผิดทุกราย”
พล.อ.ธีรชัย เผยด้วยว่า ขณะนี้ยอดเงินบริจาคเหลืออยู่ในบัญชีกองทัพบกประมาณ 33 ล้านบาท และอยู่ในมูลนิธิอุทยานราชภักดิ์อีกกว่า 120 ล้านบาท และว่า ต้องเข้าใจด้วยว่าโครงการนี้ไม่ได้มีงบประมาณรองรับ เป็นเงินบริจาคทั้งสิ้น ถ้าเงินไม่พอ ก็ต้องหาวิธีดำเนินงานต่อเพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ตรงตามวัตถุประสงค์ พร้อมย้ำว่า พล.อ.อุดมเดช ยังคงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการราชภักดิ์ต่อ เพราะเป็นโดยตัวบุคคล ไม่ใช่ตำแหน่ง และมีกรรมการ 6 คน แต่ไม่มีหน้าที่ในการบริหารงานอุทยานราชภักดิ์ โดยหน้าที่ตรงนี้ ตนในฐานะผู้บัญชาการทหารบก จะรับไปดูแล เพราะอยู่ในพื้นที่ของกองทัพบก และจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดใหม่มาดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยอดเงินบริจาคจริงมีเท่าไร พล.อ.ธีรชัย บอกว่า เยอะพอสมควร ประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท และได้นำไปจัดสร้างในส่วนต่างๆ เช่น พระรูปองค์ละ 41- 45 ล้านบาท 7 พระองค์ และลานเอนกประสงค์อีก ซึ่งมีข้อมูลรายรับรายจ่ายทั้งหมด สามารถเปิดเผยได้ ไม่มีอะไรต้องปิดบัง
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า พล.อ.อุดมเดช ยอมรับว่ามีการหักค่าหัวคิวจากโรงหล่อจริงและมีการคืนเงินไปแล้ว ถือว่าความผิดสำเร็จแล้วใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ต้องไปถาม พล.อ.อุดมเดช เพราะเงินเอาไปคืน พล.อ.อุดมเดช จำนวน 20 ล้านบาท ตามเจตจำนงของโรงหล่อที่บริจาคให้ มีใบเสร็จเรียบร้อย
เมื่อถามว่า บุคคลที่ถูกพาดพิงก่อนหน้านี้ไม่เกี่ยวข้องเลย ทั้งในส่วนของเซียนพระหรือทหารใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ตนไม่ทราบเพราะดูตามบัญชี เมื่อถามย้ำว่า จากการตรวจสอบมีทหารเข้าไปเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน และระดับใดบ้าง พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ยังไม่มี แต่ถ้าภายหน้ามี ตนไม่ต้องการใบเสร็จอยู่แล้ว จะดำเนินการทันที ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า นายทหารยศพลตรี ที่ลาออกและ พ.อ.คชาชาต บุญดี อดีตนายทหารเสนาธิการประจำกองทัพภาคที่ 3 ที่ต้องคดีทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า เป็นคนละเรื่อง อาจเกี่ยวข้องกับงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานราชภักดิ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยืนยันได้หรือไม่ว่า พล.อ.อุดมเดช ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ตนไม่เคยพูดสักคำว่ามีการทุจริต สื่อพูดเอง ถามว่าเอาหลักฐานมาจากไหน หรือเอามาจากโซเชียลมีเดียอย่างเดียว เมื่อถามย้ำว่า ข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบการจัดสร้างอุทยานฯ ไม่พบข้อมูลว่า พล.อ.อุดมเดช เกี่ยวกับการทุจริตใช่หรือไม่ พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า ยืนยันอีกครั้งว่าตนไม่ได้ตรวจสอบในเรื่องนี้ ส่วนความสัมพันธ์กับ พล.อ.อุดมเดช ที่มีข่าวลือว่าไม่ถูกกันนั้น พล.อ.ธีรชัย กล่าวว่า “คุณไปลือกันเองหรือเปล่า นักข่าวทั้งหลาย ปีที่แล้วพวกคุณจำกันได้หรือไม่ ส่งเสริมสนับสนุนยกย่อง ตามข่าวทั้งหมดพวกคุณทั้งนั้น ปีนี้คุณก็มาใส่ร้ายป้ายสีเขา ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน คงจะต้องมีการตรวจผู้สื่อข่าวเหมือนกัน มีอยู่กลุ่มหนึ่ง พอถึงเวลาก็เปลี่ยนท่าที ปีที่แล้วชมกันจัง ยกยอปอปั้น สารพัด ปีนี้ให้ร้ายเขาแล้ว มีอะไรหรือเปล่าผมไม่รู้”
ทั้งนี้ พล.อ.ธีรชัย กล่าวด้วยว่า การตรวจสอบเรื่องอุทยานราชภักดิ์ ไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มาตรวจสอบ เพราะไม่มีอะไร และไม่จำเป็นต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพราะเป็นเรื่องภายในกองทัพบก
พล.อ.ธีรชัย ยังชี้แจงถึงการจัดงาน “ไบค์ ฟอร์ ราชภักดิ์ แอนด์ คอนเสิร์ต” เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมีการตั้งราคาโต๊ะจีนสูงถึงโต๊ะละ 1 ล้านบาท และต้นไม้ราคาต้นละ 3 แสนบาทด้วย โดยยอมรับว่า เป็นเรื่องจริง ซึ่งเงินได้นำมาเข้ากองทุน โดยมีผู้บริจาคต้นไม้มาให้ เพราะเห็นว่ามีการจัดกิจกรรมดังกล่าว และมีผู้บริจาคเงิน เลยนำต้นไม้มาติดป้ายชื่อผู้บริจาค
ทั้งนี้ หลัง พล.อ.ธีรชัย แถลงผลสอบว่าการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์โปร่งใส ไร้ทุจริต ปรากฏว่า พล.อ.สุรเชษฐ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชายุค พล.อ.อุดมเดช ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ.เผยว่า ตนได้เข้าแจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) เพื่อดำเนินคดีผู้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กที่ทำให้ตนเสื่อมเสียชื่อเสียงแล้ว
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ส่งหนังสือถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ขอให้ตรวจสอบรายรับรายจ่ายของกองทุนสวัสดิการกองทัพบกเกี่ยวกับการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ว่า มีการปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ.2526 หรือไม่
4.ศาลฎีกา ไม่รับอุทธรณ์ “ประชา มาลีนนท์-พล.ต.ต.อธิลักษณ์” หลังถูกพิพากษาจำคุกคดีจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง เหตุไม่มีหลักฐานใหม่!
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คําสั่งตามมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา วันที่ 3 ก.ย.2558 คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นจำเลยที่ ๑ นายประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ ๒ นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำเลยที่ ๓ พล.ต.ต. อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. จำเลยที่ ๔ บริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์ซอย เอจี แอนด์ โค เคจี หรือบริษัท จีดี ยูโรเปี้ยน แลนด์ซิสเต็ม - สไตเออร์ จํากัด จำเลยที่ ๕ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม. จำเลยที่ ๖ เรื่อง ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (ฮั้วประมูล) ที่นายประชา ผู้ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 12 ปี และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ผู้ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 10 ปี ฐานกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ จากกรณีจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง มูลค่า 6,687,489,000 บาท ได้มอบอำนาจให้ทนายความยื่นขออุทธรณ์คดีต่อศาลศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมื่อเดือน ต.ค. 2556
สำหรับการยื่นอุทธรณ์ของนายประชา และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีขึ้นหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีมติเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 10 ก.ย.2556 ให้จำคุกนายประชา จำเลยที่ 2 เป็นเวลา 12 ปี ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 12 และ 13 ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักที่สุด และจำคุก 10 ปี พล.ต.ต.อธิลักษณ์ จำเลยที่ 4 ตาม พ.ร.บ. เดียวกัน มาตรา 12 จากกรณีที่ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการผลักดันให้เร่งรัดสั่งซื้ออุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยตามโครงการพัฒนาระบบและบริหารการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.เมื่อปี 2547 โดยฝ่าฝืนมติ ครม. และข้อบัญญัติของการบริหารราชการ กทม. รวมทั้งระเบียบการจัดซื้อ จนทำให้การสั่งซื้อสินค้าเอื้อประโยชน์แก่บริษัท สไตเออร์ฯ จำเลยที่ 5 ซึ่งมีการสั่งซื้่อราคาแพง และบริษัท สไตเออร์ฯ ได้รับประโยชน์ 48.77% เมื่อเทียบกับราคาที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยจัดซื้ออุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศ และการจัดซื้อจากการผลักดันของจำเลยที่ 2 และ 4 ก็ไม่ได้เปรียบเทียบราคา กระทั่งทำให้มีการจัดซื้อสินค้าด้วยวิธีพิเศษ ส่งผลให้จำเลยที่ 5 รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการกีดกันทางการค้าและการเสนอราคาแข่งขันอย่างเป็นธรรม
ขณะที่พยานหลักฐานโจทก์ (ป.ป.ช.) ไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่า นายโภคิน จำเลยที่ 1 นายวัฒนา จำเลยที่ 3 และนายอภิรักษ์ จำเลยที่ 6 ปฏิบัติหน้าที่มิชอบในโครงการดังกล่าว จึงพิพากษายกฟ้อง ซึ่งวันนั้น ศาลได้มีคำสั่งให้ออกหมายจับนายประชา และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ที่ไม่มาฟังคำพิพากษา
ทั้งนี้ หลังนายประชาและ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลฎีกาฯ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ได้ลงคะแนนเสียงเลือกผู้พิพากษา 5 คน เป็นองค์คณะพิจารณาคำอุทธรณ์ว่าถูกต้องตามระเบียบและตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 278 วรรคสาม หรือไม่ ที่บัญญัติว่า ผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ อาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ในกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษามีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ โดยให้ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษา
ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ไม่รับอุทธรณ์ของนายประชา และ พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า อุทธรณ์ของบุคคลทั้งสองไม่เข้าข่ายตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 278 วรรคสาม และไม่เข้าหลักเกณฑ์การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ พ.ศ.2551 ข้อ 3 ถึงข้อ 6
อนึ่ง คดีจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง นอกจากคดีที่ศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกนายประชา 12 ปีแล้ว ยังมีคดีที่ศาลปกครองด้วย โดยศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ให้นายประชา ชดใช้เงิน 587,580,000 ล้านบาทแก่ กทม. พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด คู่ความยังสามารถอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้
5.ศาล สั่งออกหมายจับ “กำนันเซี้ย” อดีต ส.ส.ปชป. คดีฮั้วประมูล-อั้งยี่ หลังมีพฤติการณ์หลบหนี พร้อมเลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกาเป็น 22 ธ.ค.!
เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ศาลอาญา ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประชา โพธิพิพิธ หรือกำนันเซี้ย อดีต ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.), นางเขมพร ต่างใจเย็น ภรรยา, น.ส.วรรณา ล้อไพบูลย์ คนสนิทนางเขมพร และนายถวิล สวัสดี (เสียชีวิตแล้ว) เป็นจำเลย ที่ 1-4 ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (ฮั้วประมูล)
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างปี 2542-2544 จำเลยได้ร่วมกันฮั้วประมูลโครงการก่อสร้างต่างๆ ใน จ.กาญจนบุรี และเพชรบุรี หลายโครงการ กระทั่งเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2544 จำเลยที่ 4 พร้อมนายสมศักดิ์ ศรีสุข เลขานุการของกำนันเซี้ย กับพวกอีกหลายคนที่ศาลอาญาพิพากษาลงโทษไปแล้วเมื่อปี 2546 ได้ร่วมกันกระทำความผิดข้อหาอั้งยี่ เข้าขัดขวางไม่ให้บริษัท วัสดุเซ็นเตอร์ จำกัด เข้าเสนอราคา โดยได้กักตัวนายเดชา มาศวรรณา ตัวแทนบริษัทไว้ พร้อมเสนอให้รับเงิน 1 หมื่นบาท เพื่อไม่ให้เข้าร่วมการเสนอราคา แต่เมื่อนายเดชาไม่ยินยอม นายสมศักดิ์กับพวกได้ใช้กำลังประทุษร้าย ต่อมาจำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พร้อมให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายประชา หรือกำนันเซี้ย เป็นเวลา 5 ปี ฐานเป็นหัวหน้า หรือผู้มีตำแหน่ง เป็นอั้งยี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรค 2 ส่วนจำเลยที่ 2-4 ให้จำคุกคนละ 4 ปี ฐานเป็นอั้งยี่ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2550 ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งอัยการโจทก์ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษพวกจำเลย
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. นางเขมพร จำเลยที่ 2 ได้เดินทางมาศาลตามนัด ส่วนนายประชา จำเลยที่ 1 และ น.ส.วรรณา จำเลยที่ 3 ไม่เดินทางมา โดยมอบอำนาจให้ทนายความมาฟังคำพิพากษาแทน พร้อมแถลงต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 ยังพักรักษาตัวอยู่ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา และโรคหัวใจกำเริบ พร้อมกับมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน
ด้านศาลพิเคราะห์แล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เลื่อนฟังคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้รักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมาเป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือนแล้ว ไม่ใช่เจ็บป่วยจนถึงขนาดมาศาลไม่ได้ ถือว่ามีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาอีกครั้งในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น. พร้อมกำชับให้จำเลยทั้งหมดมาศาลตามนัด