ประธาน กมธ.สื่อสารฯ สนช. ทำหนังสือถึงนายกฯ หลังตั้งคณะทำงานศึกษากรณี “ไร่ส้ม” ทุจริตค่าโฆษณา อสมท พบคดี “สรยุทธ์” ฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารกว่า 500 ครั้ง ยังไม่คืบหน้า จนหมดอายุความแล้วบางส่วน ซ้ำไม่รายงานกรณีทุจริตในงบการเงิน อสมท จี้สำนักนายกฯ เร่งเอาผิดผู้เกี่ยวข้องกระทรวงยุติธรรมสั่ง ปปง.- ดีเอสไอ สอบสวน สรรพากร - ก.ล.ต. ดำเนินคดี “อสมท - ไร่ส้ม” ออกหนังสือชี้ชวนเท็จ
วันนี้ (21 ก.ค.) มีรายงานว่า พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ทำหนังสือที่ สว (สนช)(กมธ ๑) ๐๐๐๙/... ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง การแก้ไขปัญหาทุจริตในหน่วยงานของรัฐและการขาดอายุความ โดยหนังสือดังกล่าวมีใจความว่า คณะกรรมธิการฯ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาศึกษากรณีการทุจริตค่าโฆษณาระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยมีหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริง และพิจารณาศึกษาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมาธิการมอบหมาย
หนังสือดังกล่าวระบุว่า คณะทำงานได้พิจารณาศึกษากรณีดังกล่าว พบว่าสัญญาร่วมดำเนินการรายการโทรทัศน์ระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด อาจเข้าลักษณะการร่วมดำเนินกิจการระหว่างรัฐกับเอกชนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนี้) เนื่องจากเป็นสัญญาร่วมดำเนินกิจการในกิจการของรัฐ มีวงเงินหรือทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ตามแนวทางการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีการสื่อสารแห่งประเทศไทย และอาจจะเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ซึ่งนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ตลอดจนพบความผิดพลาดบกพร่องของหลายหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแล การตรวจสอบ และการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ทั้งขณะที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปแบบในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเมื่อแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีกฎเกณฑ์การตรวจสอบที่เข้มงวด อีกทั้งยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุกรณีทุจริต ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 274/2547 โดยปัจจุบันยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 103/2557
จากการตรวจสอบพบว่าการทุจริตฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารคดีนี้เกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระกว่า 340 วัน มีการทุจริตฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารมากกว่า 500 ครั้ง ด้วยการปล่อยปละละเลย และการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ บุคคล คณะบุคคล และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงกับการบริหารกิจการของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้
คณะทำงานมีหนังสือสอบถามความคืบหน้าของคดีไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่าความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร มิได้มีการพิจารณาและดำเนินการแต่อย่างใด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้เสียหายโดยตรงขาดความรับผิดชอบในการติดตามการดำเนินคดีดังกล่าว ในการสอบสวนของคณะทำงานไม่ได้รับความร่วมมือตามหลักธรรมาภิบาลและทันเวลาจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการอันใดเพื่อป้องกันความเสียหายและการขาดอายุความ เป็นผลให้ในขณะนี้ ความผิดฐานฉ้อโกง ปลอมเอกสาร และความผิดตามกฎหมายอื่น ได้ขาดอายุความตามกฎหมายแล้วบางส่วน หากมิได้ดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ย่อมเกิดความเสียหายต่อราชการ และไม่สามารถดำเนินตามกฎหมายได้อีกต่อไป
ในด้านการดำเนินการของหน่วยงานทางกระบวนการยุติธรรม คณะทำงานพบว่ายังขาดการประสานงานข้อมููลและความร่วมมือในหน่วยงานการยุติธรรม ระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวคือ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญากับนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กับพวก เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550 ที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ฐานฉ้อโกงและปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 264 ประกอบมาตรา 83 ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ผู้รับมอบอำนาจได้ร้องทุกข์เพิ่มเติมให้ดำเนินคดีกับนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด นางสาวอัญญา อู่ไทย พนักงานบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามมาตรา 6 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และให้ดำเนินคดีกับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กับพวก ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามมาตรา 86 ประมวลกฎหมายอาญา พนักงานสอบสวนได้รวบรวมสำนวนการสอบสวนส่งไปยัง ป.ป.ช.เพื่อพิจารณา และต่อมา ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด ในความผิดตามมาตรา 6 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กับพวก ในความผิดตามมาตรา 6 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ประกอบกับมาตรา 86 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา รวมเป็นกรรมเดียวเท่านั้น พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องและยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร ป.ป.ช.ไม่รับพิจารณาในความผิดฐานนี้ และไม่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนในส่วนนี้คืนให้กับพนักงานสอบสวนไปดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใด รวมทั้งบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ดำเนินคดีในความผิดข้อหาดังกล่าว เป็นเหตุให้ึคดีขาดอายุความไปแล้วบางส่วน
คณะทำงานได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมาซักถามข้อเท็จจริงและรายละเอียด พบว่าในสำนวนการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หลังจากมีผู้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจได้รายงานถึงความไม่ถูกต้องและตั้งข้อสังเกตในประเด็นที่บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ทุจริตเงินค่าโฆษณาดังกล่าว เป็นเหตุให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) รัฐ และประชาชนผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบต่อรายได้ของแผ่นดิน แต่รายงานดังกล่าวกลับถูกยับยั้งโดยความเห็นแย้งของผู้บังคับบัญชาระดับที่เหนือกว่า มิให้แสดงผลการตรวจสอบงบการเงินของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ไว้ในเอกสารายงานตามกฎหมาย จึงเป็นเหตุสำคัญให้การทุจริตดังกล่าวมิได้ถูกแสดงไว้ในรายการการรับรองงบการเงินบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
คณะทำงานได้ตรวจสอบพบอีกว่า รายรับส่วนที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อ้างว่าถูกบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ฉ้อโกง มิได้บันทึกไว้ตามปีตามหลักการทางบัญชีที่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบร่างหนังสือชี้ชวนของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งปรากฏรายชื่อบุคคลและคณะบุคคลรับรองความถูกต้องของข้อมูลไว้โดยบุคคลและคณะบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายฝ่าย กลับพบว่ามิได้มีการบันทึกรายรับให้ตรงกับความจริง และยังได้พบข้อมูลทางการเงินอันเป็นเท็จในร่างหนังสือชี้ชวนรายการอื่น ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
หนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ระบุอีกว่า โดยปัจจุบัน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 103/2557 เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งดังกล่าว และตามนโยบายการปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล ที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อป้องกันความเสียหายและการแก้ไขปัญหาการขาดอายุความ จึงมีข้อสังเกตแนวทางปรับปรุงแก้ไข ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เสียหายในฐานะที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิเป็นผู้ถือหุ้นแทนบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) แทนกระทรวงการคลัง มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการทางกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล คณะบุคคล และนิติบุคคล ที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในกรณีบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)และบริษัทไร่ส้ม จำกัด ตามหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีลงวันที่ 29 ตุลาคม 2550 และความผิดตามกฎหมายอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรับผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก่อนคดีจะขาดอายุความ ทั้งนี้คดีเริ่มขาดความอายุความตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2559 ตลอดจนกำกับดูแลเพื่อแก้ไขความเสียหายจากการกระทำของพนักงานระดับบริหารของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฏหลักฐานน่าเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตดังกล่าว และอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อบรรดาเอกสารหลักฐานที่คณะทำงานจำต้องได้รับจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
2. กระทรวงยุติธรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ สอบสวนและดำเนินคดีกรณีการกระทำความผิดตามกฎหมายต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ตลอดจนแก้ไข สั่งการ ระงับและป้องกันความเสียหายเกี่ยวกับการกระทำผิดของบุคคลตามความผิดมูลฐาน รวมทั้งความผิดตามกฎหมายอื่นที่มีความซับซ้อน มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงมิได้มีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่
3. กระทรวงการคลังโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนมีหน้าที่กำกับดูแลให้กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ดำเนินการตามกฎหมายกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ที่ต้องรับผิดกรณีบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด และกรณีร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารชี้ชวนแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยที่กระทรวงการคลังและสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้เสียหายโดยตรงและอย่างมีนัยสำคัญ
วันนี้ (21 ก.ค.) มีรายงานว่า พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ทำหนังสือที่ สว (สนช)(กมธ ๑) ๐๐๐๙/... ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง การแก้ไขปัญหาทุจริตในหน่วยงานของรัฐและการขาดอายุความ โดยหนังสือดังกล่าวมีใจความว่า คณะกรรมธิการฯ ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาศึกษากรณีการทุจริตค่าโฆษณาระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยมีหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริง และพิจารณาศึกษาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมาธิการมอบหมาย
หนังสือดังกล่าวระบุว่า คณะทำงานได้พิจารณาศึกษากรณีดังกล่าว พบว่าสัญญาร่วมดำเนินการรายการโทรทัศน์ระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด อาจเข้าลักษณะการร่วมดำเนินกิจการระหว่างรัฐกับเอกชนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนี้) เนื่องจากเป็นสัญญาร่วมดำเนินกิจการในกิจการของรัฐ มีวงเงินหรือทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ตามแนวทางการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีการสื่อสารแห่งประเทศไทย และอาจจะเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ซึ่งนายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ตลอดจนพบความผิดพลาดบกพร่องของหลายหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแล การตรวจสอบ และการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ทั้งขณะที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปแบบในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเมื่อแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีกฎเกณฑ์การตรวจสอบที่เข้มงวด อีกทั้งยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุกรณีทุจริต ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 274/2547 โดยปัจจุบันยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 103/2557
จากการตรวจสอบพบว่าการทุจริตฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารคดีนี้เกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระกว่า 340 วัน มีการทุจริตฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารมากกว่า 500 ครั้ง ด้วยการปล่อยปละละเลย และการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ บุคคล คณะบุคคล และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงกับการบริหารกิจการของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้
คณะทำงานมีหนังสือสอบถามความคืบหน้าของคดีไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่าความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร มิได้มีการพิจารณาและดำเนินการแต่อย่างใด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้เสียหายโดยตรงขาดความรับผิดชอบในการติดตามการดำเนินคดีดังกล่าว ในการสอบสวนของคณะทำงานไม่ได้รับความร่วมมือตามหลักธรรมาภิบาลและทันเวลาจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการอันใดเพื่อป้องกันความเสียหายและการขาดอายุความ เป็นผลให้ในขณะนี้ ความผิดฐานฉ้อโกง ปลอมเอกสาร และความผิดตามกฎหมายอื่น ได้ขาดอายุความตามกฎหมายแล้วบางส่วน หากมิได้ดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ย่อมเกิดความเสียหายต่อราชการ และไม่สามารถดำเนินตามกฎหมายได้อีกต่อไป
ในด้านการดำเนินการของหน่วยงานทางกระบวนการยุติธรรม คณะทำงานพบว่ายังขาดการประสานงานข้อมููลและความร่วมมือในหน่วยงานการยุติธรรม ระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวคือ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญากับนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กับพวก เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550 ที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ฐานฉ้อโกงและปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 264 ประกอบมาตรา 83 ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ผู้รับมอบอำนาจได้ร้องทุกข์เพิ่มเติมให้ดำเนินคดีกับนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด นางสาวอัญญา อู่ไทย พนักงานบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามมาตรา 6 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และให้ดำเนินคดีกับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กับพวก ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามมาตรา 86 ประมวลกฎหมายอาญา พนักงานสอบสวนได้รวบรวมสำนวนการสอบสวนส่งไปยัง ป.ป.ช.เพื่อพิจารณา และต่อมา ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด ในความผิดตามมาตรา 6 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กับพวก ในความผิดตามมาตรา 6 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ประกอบกับมาตรา 86 และ 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา รวมเป็นกรรมเดียวเท่านั้น พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องและยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร ป.ป.ช.ไม่รับพิจารณาในความผิดฐานนี้ และไม่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนในส่วนนี้คืนให้กับพนักงานสอบสวนไปดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใด รวมทั้งบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ดำเนินคดีในความผิดข้อหาดังกล่าว เป็นเหตุให้ึคดีขาดอายุความไปแล้วบางส่วน
คณะทำงานได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมาซักถามข้อเท็จจริงและรายละเอียด พบว่าในสำนวนการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หลังจากมีผู้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจได้รายงานถึงความไม่ถูกต้องและตั้งข้อสังเกตในประเด็นที่บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ทุจริตเงินค่าโฆษณาดังกล่าว เป็นเหตุให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) รัฐ และประชาชนผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบต่อรายได้ของแผ่นดิน แต่รายงานดังกล่าวกลับถูกยับยั้งโดยความเห็นแย้งของผู้บังคับบัญชาระดับที่เหนือกว่า มิให้แสดงผลการตรวจสอบงบการเงินของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ไว้ในเอกสารายงานตามกฎหมาย จึงเป็นเหตุสำคัญให้การทุจริตดังกล่าวมิได้ถูกแสดงไว้ในรายการการรับรองงบการเงินบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
คณะทำงานได้ตรวจสอบพบอีกว่า รายรับส่วนที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อ้างว่าถูกบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ฉ้อโกง มิได้บันทึกไว้ตามปีตามหลักการทางบัญชีที่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบร่างหนังสือชี้ชวนของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งปรากฏรายชื่อบุคคลและคณะบุคคลรับรองความถูกต้องของข้อมูลไว้โดยบุคคลและคณะบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายฝ่าย กลับพบว่ามิได้มีการบันทึกรายรับให้ตรงกับความจริง และยังได้พบข้อมูลทางการเงินอันเป็นเท็จในร่างหนังสือชี้ชวนรายการอื่น ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
หนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ระบุอีกว่า โดยปัจจุบัน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 103/2557 เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งดังกล่าว และตามนโยบายการปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล ที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อป้องกันความเสียหายและการแก้ไขปัญหาการขาดอายุความ จึงมีข้อสังเกตแนวทางปรับปรุงแก้ไข ดังนี้
1. สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เสียหายในฐานะที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้สิทธิเป็นผู้ถือหุ้นแทนบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) แทนกระทรวงการคลัง มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการทางกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล คณะบุคคล และนิติบุคคล ที่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในกรณีบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)และบริษัทไร่ส้ม จำกัด ตามหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีลงวันที่ 29 ตุลาคม 2550 และความผิดตามกฎหมายอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรับผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก่อนคดีจะขาดอายุความ ทั้งนี้คดีเริ่มขาดความอายุความตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2559 ตลอดจนกำกับดูแลเพื่อแก้ไขความเสียหายจากการกระทำของพนักงานระดับบริหารของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฏหลักฐานน่าเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตดังกล่าว และอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อบรรดาเอกสารหลักฐานที่คณะทำงานจำต้องได้รับจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
2. กระทรวงยุติธรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติ สอบสวนและดำเนินคดีกรณีการกระทำความผิดตามกฎหมายต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ตลอดจนแก้ไข สั่งการ ระงับและป้องกันความเสียหายเกี่ยวกับการกระทำผิดของบุคคลตามความผิดมูลฐาน รวมทั้งความผิดตามกฎหมายอื่นที่มีความซับซ้อน มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงมิได้มีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่
3. กระทรวงการคลังโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนมีหน้าที่กำกับดูแลให้กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ดำเนินการตามกฎหมายกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ที่ต้องรับผิดกรณีบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด และกรณีร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารชี้ชวนแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยที่กระทรวงการคลังและสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้เสียหายโดยตรงและอย่างมีนัยสำคัญ