“หลงใหลและเรียนรู้” ดูจะเป็นคำที่เขากล่าวย้ำกับเราอยู่หลายรอบ ราวกับว่ามันเป็นหัวใจสำคัญที่กำลังเลือนหายไปจากการใช้ชีวิต “พงศกร อารีศิริไพศาล” ในบทบาทหนึ่ง คืออาจารย์มหา’ลัย แต่อีกหนึ่งด้าน ชีวิตของเขาผูกพันกับวิถีและรูปแบบของชาวฮิปสเตอร์ตลอดจนสโลว์ไลฟ์อย่างแยกไม่ออก...อย่าเพิ่งหมั่นไส้ เพราะอย่างที่บอก หากหลงใหลและเรียนรู้ ถ้อยคำดูแคลนต่างๆ ที่ดังกระทบหูชาวฮิปสเตอร์ จะไม่ระคายเคืองอีกต่อไป
สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่เวียนว่ายอยู่ในโลกของข่าวสารข้อมูล คงจะรู้ว่า ช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา มีกระแสพูดถึงหนาหูเกี่ยวกับอะไรบางอย่างที่หลายคนไม่เคยได้ยินหรือกระทั่งไม่เข้าใจ “ฮิปสเตอร์” บ้าง “สโลว์ไลฟ์” บ้าง มันคืออะไร และทำไม ถึงมีคนแอนตี้คนเหล่านั้น และบางที คนเหล่านั้นก็ปฏิเสธเองบ้างล่ะว่าตนเองไม่ใช่
และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นนับสิบๆ ปี “พงศกร อารีศิริไพศาล” อยู่กับวิถีชีวิตแบบนั้นมาเรื่อยๆ และเขาเองก็ค่อนข้างเซอร์ไพรส์ว่า สิ่งที่เขากระทำมาโดยตลอด มันไปพ้องกับวิถีแห่งฮิปสเตอร์และสโลว์ไลฟ์พอดิบพอดี ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่แปลกที่ตัวตนและชีวิตของเขาจะถูกหลายคนเอาไปผูกพ่วงกับอะไรที่ “เตอร์ๆ” “สโลว์ๆ” ที่ว่านั้น
แต่เขาไม่ปฏิเสธหรอก...เขาบอกกับเรา
ในบทบาทหนึ่ง “พงศกร อารีศิริไพศาล” คืออาจารย์ประจำภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียกขานในนาม “ออโน๊ต” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่อยากเรียกให้ดูเท่และแตกต่าง เพราะก็อย่างที่เขาบอก...จะเป็นอะไร จงเรียนรู้และทำความเข้าใจในสิ่งนั้น ไม่ถ่องแท้ในวันนี้ ก็จงกระจ่างแจ้งในวันถัดๆ ไป...
• ถามถึงที่มาที่ไปของชื่อเรียกชื่อเล่นของอาจารย์ว่า ทำไมถึงใช้ “ออโน๊ต” ต้องการจะแนว อินดี้ หรือฮิปสเตอร์ ด้วยหรือเปล่า
จริงๆ คำว่า ออโน๊ต มันมาจาก อาจารย์โน๊ตนะ คือถ้าเรามองอาจารย์สมัยก่อนก็คงจะไม่ให้เรียกชื่อเล่นแบบนี้ แล้วก็ต้องเรียกชื่อจริงอาจารย์เท่านั้น แต่เนื่องจากมหา’ลัยที่ผมสอนอยู่ มีนักศึกษาเยอะมาก แล้วผมยังสอนมหาวิทยาลัยอื่นอีก ศิลปากร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ประเด็นก็คือ ผมรู้สึกว่า พอโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาท ผมต้องการให้คนจดจำผมในแง่มุมที่มันง่ายๆ ฟังง่ายๆ คนชื่อโน๊ตมีเยอะแยะแล้ว และคำว่า ออโน๊ต มันแปลว่าเป็นอาจารย์โน๊ตอยู่แล้ว ผมก็เลยไปตั้งชื่อ อ.อ่าง 2 ตัวแล้วตามด้วย “โน๊ต” คือมันก็ผิดไวยากรณ์ แต่มันออกเสียงฟังดูง่าย แล้วมันเป็นกันเองกับเด็กด้วย ง่ายต่อการที่เด็กจะเรียก มันเลยเป็นที่มาให้เรียกง่ายๆ ไม่ต้องเรียก อ.พงศกร ให้เรียก ออโน๊ต และอีกด้านหนึ่ง ออโน๊ต ก็เหมือนคนชื่อ 2 พยางค์ เท่านั้นเองครับ
ถามว่าต้องการจะให้ฟังดูฮิปๆ หรือฮิปสเตอร์ไหม ตอบว่า ออโน๊ต น่าจะมาก่อนที่เขาจะมีนิยามคำว่าฮิปสเตอร์อีกนะ เพราะผมก็ใช้คำนี้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ถ้าพูดถึงตอนนั้นน่าจะเป็นยุคที่แบบเริ่มจะมีอินดี้ด้วยซ้ำ คำนิยามว่าอินดี้น่าจะเป็นคำนิยามที่เหมาะในยุคที่ผมใช้คำว่า ออโน๊ต และผมคิดว่า อีก 10 ปี หรือ 10 กว่าปีข้างหน้า มันจะยังคงอยู่ไปอีกนาน ต่อให้ผมเลิกเป็นอาจารย์แล้วก็ตาม
• แต่ไม่ว่าจะอย่างไร กิจกรรมหลายอย่างของอาจารย์ก็ไปพ้องกับวิถีของฮิปสเตอร์พอดิบพอดี ตรงนี้ตั้งใจให้เหมือนใช่ไหม
มันเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมที่ผมอยู่มาตั้งแต่เกิดหล่อหลอมให้ผมเป็นแบบนี้ครับ คุณพ่อของผมชอบเพลงเดอะ บีเทิ่ลส์ ชอบเพลงยุค 70’s ยุค 80’s รับวัฒนธรรมมาจากยุโรป อเมริกาอยู่แล้ว คือคุณพ่อฟังทุกอย่าง แต่พ่อเป็นสไตล์อัลเทอร์เนทีฟ ตั้งแต่ยุค 80’s พ่อใส่เสื้ออาดิดาสออริจินัล รองเท้าอาดิดาสออริจินัล กางเกงยีนส์ลีวายส์ พ่อผมเป็นคนอย่างนั้น ผมก็เลยซึมซับมา อยู่บนรถพ่อก็เปิดเพลงภาษาอังกฤษ เราก็ร้องเพลงภาษาอังกฤษได้ มันก็เลยหลอมมาเรื่อยๆ พอโตขึ้นมา กิจกรรมหลายอย่างที่ผมชื่นชอบและทำเป็นประจำ มันไปสอดคล้องกับสิ่งที่เขานิยามว่าเป็นฮิปสเตอร์ มีบางเว็บไซต์ที่บอกว่าฮิปสเตอร์จะต้องทำแบบนี้ ชอบแบบนี้ ประมาณ 10-20 ข้อซึ่งมันก็คล้ายๆ กัน
ชีวิตประจำวันของผม ผมชอบปั่นจักรยานฟิกซ์เกียร์ เสือหมอบ ผมชอบกล้องฟิล์ม ผมเคยชอบปลูกกระบองเพชร แต่ตอนนี้ไม่ได้ปลูกแล้ว มันดูแลยาก จริงๆ กระบองเพชรมันก็ดีนะ วางหน้าคอมพ์ มันดูดซับรังสีอะไรได้มากมาย ผมเป็นคนชอบกินกาแฟดริปมากๆ ซึ่งผมมีเครื่องบดเยอะมาก ผมรู้ว่าเครื่องบดแต่ละอันคืออะไร เทคนิคมันเยอะมาก ผมชอบศิลปะเก่าๆ ปัจจุบันผมก็ยังเรียนรู้เพื่อให้รู้ว่าศิลปะแต่ละแนวมันเป็นยังไง หรือว่าศิลปะแบบนี้เมื่อลงไปอยู่ในรองเท้าเสื้อผ้าเรา จะได้รู้ว่านี่เรากำลังใส่อะไรอยู่ นี่คือสิ่งที่ผมเป็นเสมอ หรือที่ที่ผมชอบเที่ยวก็เป็นป่าเขา บนดอย แล้วจอดรถถ่ายรูป ไม่ต้องรีบกลับบ้าน ผมชอบคลีนฟู้ด มันหายากนิดหนึ่งในการซื้อเพราะเราไม่มีเวลาในการซื้อ แต่ผมก็รู้ว่ามันมีสารอะไร ช่วยอะไรเรา กินอะไรไปแล้วมันจะดีกับร่างกาย ผมดูแลเรื่องสุขภาพ ผมก็แต่งตัวบ้าง แต่ไม่ได้สุดโต่ง
ผมเข้าใจว่า เหตุผลที่ฮิปสเตอร์โดนด่าเยอะ เพราะว่าคนแต่งตัวเยอะเกินไปจนกลายเป็นแฟชั่น แต่จริงๆ แล้วมันก็แค่เปลือกที่มาฉาบ ซึ่งผมเองหมั่นไส้คนพวกนั้นเหมือนกันนะ เพราะพอผมถามว่ารู้เรื่องนี้หรือเปล่า เขาก็ไม่รู้อะไรเลย อันนี้ยอมพูดเลยว่าเปลือกมาก
• ในกระแสที่พูดกัน มันจะมีคำว่า “วอนนาบี” (wanna be) คืออาการแบบอยากมีอยากเป็นฮิปสเตอร์ ตรงนี้อาจารย์มองอย่างไร
ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีนะ ที่มีคนอยากทำตาม หรือ “วอนนาบี” คือเมื่อคืนวันผ่านไปวัน เขาอาจจะไม่ใช่แค่คนที่วอนนาบี ถ้าเขาแกร่งพอ หรือหลงใหลแล้วเรียนรู้จริงๆ อย่างวันที่ผมยังไม่รู้จักกาแฟดริปอ่ะ วันนั้นผมก็เป็นแค่คนที่อยากจะ “วอนนาบี” อยากรู้มันคืออะไร มันต้องต้มน้ำอุณหภูมิที่เท่าไหร่ ผมหลงใหลในกาแฟและผมเรียนรู้มัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มมึนเมาที่ไม่มัวเมา กินเยอะๆ มันก็เมานะ ถ้ากินวันละ 200 มิลลิกรัม มันจะเฟรช ชีวิตจะสดชื่น แต่ถ้ากินมากไป มันมึนอยู่แล้ว แต่มันก็มีข้อดีเหมือนกัน เช่น มันสามารถต้านอนุมูลอิสระได้
ผมคิดว่า ที่ฮิปสเตอร์โดนด่ากันอยู่ทุกวันนี้ เพราะการใช้ของที่มีแต่การซื้อ แต่ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไปยังไง ยกตัวอย่าง ผมเคยทักเด็กใส่เสื้อกล้วยสีเหลือง แล้วมันคือแอนดี้ วอร์ฮอลนะ เป็นป็อปอาร์ตนะ แต่เด็กไม่รู้ รู้แต่ว่ามีพวกเซเลบใช้ ก็เลยซื้อตาม คือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีที่มายังไง อย่างผมหลงใหลในจักรยานมาก ผมเล่นจักรยานตั้งแต่ฟิกซ์เกียร์ จนถึงปั่นเสือหมอบ ท้ายที่สุดเลยตอนนี้ผมหลงใหลจักรยานวินเทจขนาดผมรู้ข้อมูล รายละเอียดประวัติของมัน มันมีมาตั้งแต่ยุคก่อนผมเกิดอีกนะ ผมเกิด 1981 แต่ว่าจักรยาน 1950 มันมีที่มาที่ไปยังไง เราขวนขวายหา จนมาครอบครองมันได้ นี่ไงครับเราหลงใหลมันและเราเรียนรู้สิ่งที่อยู่ในมัน ประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่อยู่ในนั้น ก็คือคุณค่าของมันนั่นเอง
สำหรับผม ทุกอย่างเกิดจากความชอบ ถามว่าเราตามคนอื่นมั้ย ตอบได้เลยนะว่าตาม แต่เราชอบก่อนแล้วค่อยตาม ไม่ใช่เห็นคนอื่นทำแล้วไปตามเขา เราเลือกของเราเอง อย่างที่บอกว่าเราต้องศึกษา ดูเนื้อหาข้อมูลก่อน แล้วก็มาวิเคราะห์ จากนั้นเราก็มาลองดูว่ามันใช่สไตล์เราหรือเปล่า เหมาะสมหรือเปล่า นี่แหละกิจกรรมที่เรียกว่าฮิปสเตอร์ ผมว่ามันมีประโยชน์นะ เนื่องจากผมเป็นครู เป็นอาจารย์ ผมเป็นแม่แบบให้เด็กๆ ได้ ถ้าผมรู้จริง ผมก็สามารถสร้างโมเดลให้เขาได้ ดังนั้น คนที่เป็นฮิปสเตอร์ที่รู้จริง ข้อมูลแน่น เขาก็เป็นแบบอย่างให้เยาวชนในอนาคตได้เช่นเดียวกัน เพราะผมก็คิดมาก่อนนะ ผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ท้ายที่สุดแล้ว คนที่ทำตามเรา เขาสงสัย เขาถามเรา เขาได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
• เหมือนอาจารย์จะบอกว่า หลงใหลสิ่งใดแล้วก็เรียนรู้สิ่งนั้นให้ถ่องแท้ ไม่ใช่แค่ชอบๆ หรือไหลตามกระแสไป อย่างนั้นใช่ไหม
ใช่ครับ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตของผมจึงเป็นน้ำไม่เต็มแก้วเสมอๆ ผมอาจจะเป็นน้ำ 60% ของแก้วก็ได้ ผมเติมน้ำเข้าไปเรื่อยๆ อ่ะ หลายคนอาจจะสงสัยว่า อ้าว แล้วทำไมมันไม่เต็มแก้วสักที ก็เพราะผมให้ลูกศิษย์ผมดื่มไปเรื่อยๆ ไง เอาข้อมูลตรงนั้นไปถ่ายทอดเรื่อยๆ นี่คือสิ่งสำคัญเลยนะ ถ้าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว อย่าว่าแต่กลวงเลย ล้นๆ เลยดีกว่า ล้นแบบรู้ไม่จริง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ล้นแบบเสียของ ยิ่งเราอยู่ในยุคไลค์และแชร์ด้วยนะ ถ้ามันล้นเกินไป ถ้าเราไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วแชร์ไปมั่ว คนจะเผยแพร่ไปไหนต่อไหน เราแย่นะ
ไม่ว่าจะยังไง คนที่เข้ามาสู่วิถีนี้แล้วจริงๆ ถ้ารู้จริงเมื่อไหร่มันจะพัฒนาไปในหลายด้านมาก มันจะยกระดับความคิดของประเทศเรามากขึ้น ทำให้คนเริ่มต้องหาข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อหาความจริงว่ากิจกรรมอย่างนี้เกิดขึ้นได้เพราะอะไร ทำเพราะอะไร เราต้องสู้กันด้วยข้อมูล เนื้อหา และมันอาจจะนำพาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชาติเลยด้วยซ้ำ
อย่างงาน Artbox ที่มักกะสัน หรือก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่จัดที่อู่ต่อเรือกรุงเทพฯ หรืองาน free market ต่างๆ ตรงลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ที่ให้เด็กแนวมาเปิดท้ายขายของ เด็กแนวมีแฟชั่นการแต่งตัว เด็กแนวจะมีต้นทุนจากที่บ้านมาว่ามีตังค์ เขาก็สามารถที่จะเอาสิ่งของ เอาพวกสินค้าที่อาจจะมาจากเมืองนอก สินค้าที่หากันไม่ได้ง่ายๆ เอามาให้เราได้นั่งดู นั่งเสพ อะไรอย่างนี้ ผมเจอเยอะที่ลูกศิษย์มีฐานะรวยมาก ซื้อทุกอย่างมาใช้ แต่ไม่เคยรู้ถึงแก่นของของชิ้นนั้น แต่เขาก็เป็นกลุ่มในกระแสที่เรียกว่าฮิปสเตอร์เช่นเดียวกัน มันก็เยอะนะ แต่วันหนึ่ง ผมเชื่อว่า เขามีของเหล่านั้นอยู่กับตัวเขาแล้ว เขาก็ต้องเรียนรู้ให้ถึงแก่นของมัน ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องดี
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะโดนว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเรามีจุดยืน เราแกร่งและเราเข้าไปเรียนรู้ เราจะมั่นใจว่านี่คือสิ่งที่เราอยากจะยึดถือในอนาคต และไม่ได้เป็นคนที่กลัวคำวิจารณ์ วันหนึ่ง เขาก็สามารถใช้ชีวิตแบบมีความสุขบนคุณภาพชีวิตที่ดีตามวิถีแบบที่เขาเป็นได้
• พูดมาถึงตรงนี้ อาจารย์พอจะบอกได้ไหมว่า อะไรคือแก่นสารของการเป็นฮิปสเตอร์
ความชอบครับ มันคือความสุขของเรา และเราก็จะไม่ต่อต้านคนที่เขาชอบเหมือนกันกับเราอยู่แล้ว หรืออาจจะต่อต้านก็ได้ด้วยความหมั่นไส้ ใครจะรู้ ยกตัวอย่างนะ เรื่องเชียร์ฟุตบอลก็แล้วกัน A เชียร์แมนยู B เชียร์ลิเวอร์พูล วันที่มีบอลแข่ง เขาก็คงมีการแขวะกัน ถากถางกัน แต่พอจบแมตช์ A กับ B ชอบจักรยานเหมือนกัน ก็ออกไปปั่นจักรยานด้วยกันย่างมีความสุข ปั่นกันไปเรื่อยๆ สักพัก ถึงแยกแยกหนึ่ง ก็มีนาย C ขับรถยนต์มาปาดหน้า A กับ B จากที่เคยแขวะกันเรื่องบอล A กับ B ก็รวมหัวกันเป็นทีมโดยการด่า C ว่าเฮ้ย ขับรถประสาอะไร มันแย่มากๆ เลย คราวนี้คือสองต่อหนึ่ง
แต่ในขณะที่ด่าไล่หลังไปนั้น เขาทั้งสองก็แวะกินกาแฟที่ร้านแห่งหนึ่ง ซึ่ง A กับ B ชอบกินกาแฟอยู่แล้ว เจอ C ที่ชอบกินกาแฟเหมือนกัน แต่โดยไม่รู้ตัวเลยว่า C นี่แหละขับรถปาดหน้าเมื่อสักครู่ พวกเขาก็จะมาคุยด้วยกันเพราะเป็นคอกาแฟเหมือนกัน ABC ก็อยู่ด้วยกันโดยปริยาย แต่อยู่ๆ D ซึ่งไม่กินกาแฟเลยและอาจจะเคยแขวะในอินเทอร์เน็ตว่ามันแย่มากเลยนะเนี่ยไอ้กาแฟ ก็เข้ามา ABC ก็จะด่าไอ้ D ที่ชวนให้คนเกลียดกาแฟว่าเป็นไอ้พวกไม่เข้าใจ แต่หลังจากนั้น ABC ไปเดินจตุจักร ก็ไปเจอเจ้า D ที่ขายแมว ก็รู้สึกรัก D ขึ้นมา เพราะว่า D คือคนรักแมว แต่คือตอนแรก D ดันเกลียดกาแฟ มันต้องมีส่วนหนึ่งที่เราชอบเขาไม่ชอบ มันก็จะเป็นวงจรกันไปเรื่อยๆ นี่ก็เลยเป็นสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้นะ คือผมรู้เพราะว่าผมเคยเจออะไรแบบนี้มา
• เขาว่ากันว่า ฮิปสเตอร์มักจะปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่ฮิปสเตอร์ อาจารย์คิดยังไงกับจุดนี้
ผมยอมรับทุกอย่างที่คนพูด สิ่งที่ทุกคนอยากให้เป็น แล้วก็มานั่งคิดว่า “ก็โอเค ก็ได้” เพราะเราไม่ได้เป็นคนคิดเอง คนอื่นเขาพูดให้ เราก็โอเค แต่ผมจะไม่ยอมรับแน่ๆ ถ้ามีคนพูดว่า ออโน๊ตขี้โกง อะไรที่เป็นแง่ลบ หรือเป็นเรื่องผิด เราไม่ยอมรับ เราก็จะออกมาต่อต้าน แต่เรารู้สึกว่าคำว่าฮิปสเตอร์มันไม่ได้เป็นแง่ลบ เป็นแค่คำคำหนึ่ง ผมยังไงก็ได้ครับ
• ฟังมาว่า นอกจากอาจารย์จะไม่ปฏิเสธว่าตัวเองเป็นหรือไม่เป็นฮิปสเตอร์แล้ว ยังผูกพันกับวิถีแบบสโลว์ไลฟ์ ด้วยจริงไหม
จริงๆ อยากจะบอกว่าเรื่องของสโลว์ไลฟ์ นี่ก็คล้ายกับฮิปสเตอร์ คือผมก็ใช้ชีวิตนี้ในแบบของผมมานานแล้ว ก่อนที่เขาจะฮิตๆ กัน มันน่าจะเป็นเพราะว่าเราทำงานแล้วเครียดมากกว่า เลยรู้สึกว่าต้องหาทางออกที่มันไม่เกี่ยวกับงาน แต่ใครจะรู้ว่าวันหนึ่งมันอาจจะเป็นทั้งชีวิตของผมก็ได้ มันอาจจะเป็นอาชีพใหม่ของผมก็ได้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมเริ่มทำกิจกรรมที่เอาตัวออกห่างที่วุ่นวายมาก ซึ่งมันก็ตรงกับแนวคิดของสโลว์ไลฟ์ พอดีเช่นกัน
• ในความคิดของอาจารย์ สโลว์ไลฟ์ มีความหมายอย่างไร
ถ้าคนตีความผิดโดยไม่รู้ว่ากิจกรรมนี้คืออะไรจริงๆ มันอาจจะทำให้เป็นคนขี้เกียจ สโลว์ไลฟ์ คือการพักผ่อน ใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่ใช่การนอนตื่นสาย ถ้าเด็กแปลผิด สโลว์ไลฟ์ คือตื่นสาย ไปเป็นเรื่องแบบชิลไปเลยก็ได้ สโลว์ไลฟ์ มันคือว่า ถ้าคุณทำงานหนักมาแล้วจริงๆ คุณโหยหาสิ่งที่มันดึงชีวิตคุณออกจากงานของคุณ แล้วคุณผ่อนคลาย คุณมีความสุข และมันเป็นการทำกิจกรรมที่เยียวยาทั้งสุขภาพจิต สุขภาพใจ และร่างกาย ทำอะไรให้ช้าลง
• จะใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ได้ ต้องขึ้นอยู่กับช่วงวัยหรืออายุด้วยหรือเปล่า
ตอนแรกเหมือนจะจำกัดช่วงอายุว่าเป็น Baby Boomer กับ Gen X ต้นๆ ที่อายุเยอะๆ แล้ว มีเงินก็ไปเที่ยวที่ไหนก็ได้ และลูกหลานของคนพวกนี้เขาก็มีสิทธิ์จะใช้แบบพ่อแม่เขา คือเราจะไปว่าเขาไม่ได้ แต่คำถามก็คือเขารู้ลึกแค่ไหนในสิ่งที่เขาใช้สอยหรือเป็นอยู่ อย่างเรื่องของกาแฟดริป คนที่เขารู้จริง เขาจะรู้ว่ากาแฟจริงๆ กินตอนดึกมันก็หลับได้ กาแฟที่ไม่ได้ผสมนมกับน้ำตาล ยังไงคุณก็หลับ แล้วมันก็เฟรช มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ไม่ทำให้คุณเป็นมะเร็งลำไส้ ข้อดีมันมีเกินสิบ ข้อเสียมันก็มี เช่นถ้าคุณกินมากเกินไป กระดูกคุณอาจจะผุก็ได้
สุดท้ายแล้ว ผมมองว่า เรื่องฮิปสเตอร์ เรื่องสโลว์ไลฟ์ ถ้ามันไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่เดือดร้อนคนอื่น ก็ยอมรับไปเถอะ ถ้าปฏิเสธแล้วเราไม่แฮปปี้ ต่อไปภายหน้า กิจกรรมอะไรก็ตามที่เราทำแล้วมีคนมานิยาม เราก็ไม่มีความสุขหรอก คราวนี้ ผมก็มานั่งคิด ใครบอกว่าผมเป็นอะไร ผมเป็นหมด แต่ถ้าบอกว่าผมไปฆ่าคน ไปตบตีคน หรือว่าผมเป็นคนขี้โกง แล้วผมไม่ได้ทำอันนั้น ผมถึงจะปฏิเสธ
__________________________
เรื่อง : ปาณิสรา บุญม่วง
ภาพ : ศิวกร เสนสอน และ facebook: Pongsakorn Areesiripaisal
สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่เวียนว่ายอยู่ในโลกของข่าวสารข้อมูล คงจะรู้ว่า ช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา มีกระแสพูดถึงหนาหูเกี่ยวกับอะไรบางอย่างที่หลายคนไม่เคยได้ยินหรือกระทั่งไม่เข้าใจ “ฮิปสเตอร์” บ้าง “สโลว์ไลฟ์” บ้าง มันคืออะไร และทำไม ถึงมีคนแอนตี้คนเหล่านั้น และบางที คนเหล่านั้นก็ปฏิเสธเองบ้างล่ะว่าตนเองไม่ใช่
และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นนับสิบๆ ปี “พงศกร อารีศิริไพศาล” อยู่กับวิถีชีวิตแบบนั้นมาเรื่อยๆ และเขาเองก็ค่อนข้างเซอร์ไพรส์ว่า สิ่งที่เขากระทำมาโดยตลอด มันไปพ้องกับวิถีแห่งฮิปสเตอร์และสโลว์ไลฟ์พอดิบพอดี ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่แปลกที่ตัวตนและชีวิตของเขาจะถูกหลายคนเอาไปผูกพ่วงกับอะไรที่ “เตอร์ๆ” “สโลว์ๆ” ที่ว่านั้น
แต่เขาไม่ปฏิเสธหรอก...เขาบอกกับเรา
ในบทบาทหนึ่ง “พงศกร อารีศิริไพศาล” คืออาจารย์ประจำภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียกขานในนาม “ออโน๊ต” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่อยากเรียกให้ดูเท่และแตกต่าง เพราะก็อย่างที่เขาบอก...จะเป็นอะไร จงเรียนรู้และทำความเข้าใจในสิ่งนั้น ไม่ถ่องแท้ในวันนี้ ก็จงกระจ่างแจ้งในวันถัดๆ ไป...
• ถามถึงที่มาที่ไปของชื่อเรียกชื่อเล่นของอาจารย์ว่า ทำไมถึงใช้ “ออโน๊ต” ต้องการจะแนว อินดี้ หรือฮิปสเตอร์ ด้วยหรือเปล่า
จริงๆ คำว่า ออโน๊ต มันมาจาก อาจารย์โน๊ตนะ คือถ้าเรามองอาจารย์สมัยก่อนก็คงจะไม่ให้เรียกชื่อเล่นแบบนี้ แล้วก็ต้องเรียกชื่อจริงอาจารย์เท่านั้น แต่เนื่องจากมหา’ลัยที่ผมสอนอยู่ มีนักศึกษาเยอะมาก แล้วผมยังสอนมหาวิทยาลัยอื่นอีก ศิลปากร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ประเด็นก็คือ ผมรู้สึกว่า พอโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาท ผมต้องการให้คนจดจำผมในแง่มุมที่มันง่ายๆ ฟังง่ายๆ คนชื่อโน๊ตมีเยอะแยะแล้ว และคำว่า ออโน๊ต มันแปลว่าเป็นอาจารย์โน๊ตอยู่แล้ว ผมก็เลยไปตั้งชื่อ อ.อ่าง 2 ตัวแล้วตามด้วย “โน๊ต” คือมันก็ผิดไวยากรณ์ แต่มันออกเสียงฟังดูง่าย แล้วมันเป็นกันเองกับเด็กด้วย ง่ายต่อการที่เด็กจะเรียก มันเลยเป็นที่มาให้เรียกง่ายๆ ไม่ต้องเรียก อ.พงศกร ให้เรียก ออโน๊ต และอีกด้านหนึ่ง ออโน๊ต ก็เหมือนคนชื่อ 2 พยางค์ เท่านั้นเองครับ
ถามว่าต้องการจะให้ฟังดูฮิปๆ หรือฮิปสเตอร์ไหม ตอบว่า ออโน๊ต น่าจะมาก่อนที่เขาจะมีนิยามคำว่าฮิปสเตอร์อีกนะ เพราะผมก็ใช้คำนี้มานานกว่า 10 ปีแล้ว ถ้าพูดถึงตอนนั้นน่าจะเป็นยุคที่แบบเริ่มจะมีอินดี้ด้วยซ้ำ คำนิยามว่าอินดี้น่าจะเป็นคำนิยามที่เหมาะในยุคที่ผมใช้คำว่า ออโน๊ต และผมคิดว่า อีก 10 ปี หรือ 10 กว่าปีข้างหน้า มันจะยังคงอยู่ไปอีกนาน ต่อให้ผมเลิกเป็นอาจารย์แล้วก็ตาม
• แต่ไม่ว่าจะอย่างไร กิจกรรมหลายอย่างของอาจารย์ก็ไปพ้องกับวิถีของฮิปสเตอร์พอดิบพอดี ตรงนี้ตั้งใจให้เหมือนใช่ไหม
มันเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมที่ผมอยู่มาตั้งแต่เกิดหล่อหลอมให้ผมเป็นแบบนี้ครับ คุณพ่อของผมชอบเพลงเดอะ บีเทิ่ลส์ ชอบเพลงยุค 70’s ยุค 80’s รับวัฒนธรรมมาจากยุโรป อเมริกาอยู่แล้ว คือคุณพ่อฟังทุกอย่าง แต่พ่อเป็นสไตล์อัลเทอร์เนทีฟ ตั้งแต่ยุค 80’s พ่อใส่เสื้ออาดิดาสออริจินัล รองเท้าอาดิดาสออริจินัล กางเกงยีนส์ลีวายส์ พ่อผมเป็นคนอย่างนั้น ผมก็เลยซึมซับมา อยู่บนรถพ่อก็เปิดเพลงภาษาอังกฤษ เราก็ร้องเพลงภาษาอังกฤษได้ มันก็เลยหลอมมาเรื่อยๆ พอโตขึ้นมา กิจกรรมหลายอย่างที่ผมชื่นชอบและทำเป็นประจำ มันไปสอดคล้องกับสิ่งที่เขานิยามว่าเป็นฮิปสเตอร์ มีบางเว็บไซต์ที่บอกว่าฮิปสเตอร์จะต้องทำแบบนี้ ชอบแบบนี้ ประมาณ 10-20 ข้อซึ่งมันก็คล้ายๆ กัน
ชีวิตประจำวันของผม ผมชอบปั่นจักรยานฟิกซ์เกียร์ เสือหมอบ ผมชอบกล้องฟิล์ม ผมเคยชอบปลูกกระบองเพชร แต่ตอนนี้ไม่ได้ปลูกแล้ว มันดูแลยาก จริงๆ กระบองเพชรมันก็ดีนะ วางหน้าคอมพ์ มันดูดซับรังสีอะไรได้มากมาย ผมเป็นคนชอบกินกาแฟดริปมากๆ ซึ่งผมมีเครื่องบดเยอะมาก ผมรู้ว่าเครื่องบดแต่ละอันคืออะไร เทคนิคมันเยอะมาก ผมชอบศิลปะเก่าๆ ปัจจุบันผมก็ยังเรียนรู้เพื่อให้รู้ว่าศิลปะแต่ละแนวมันเป็นยังไง หรือว่าศิลปะแบบนี้เมื่อลงไปอยู่ในรองเท้าเสื้อผ้าเรา จะได้รู้ว่านี่เรากำลังใส่อะไรอยู่ นี่คือสิ่งที่ผมเป็นเสมอ หรือที่ที่ผมชอบเที่ยวก็เป็นป่าเขา บนดอย แล้วจอดรถถ่ายรูป ไม่ต้องรีบกลับบ้าน ผมชอบคลีนฟู้ด มันหายากนิดหนึ่งในการซื้อเพราะเราไม่มีเวลาในการซื้อ แต่ผมก็รู้ว่ามันมีสารอะไร ช่วยอะไรเรา กินอะไรไปแล้วมันจะดีกับร่างกาย ผมดูแลเรื่องสุขภาพ ผมก็แต่งตัวบ้าง แต่ไม่ได้สุดโต่ง
ผมเข้าใจว่า เหตุผลที่ฮิปสเตอร์โดนด่าเยอะ เพราะว่าคนแต่งตัวเยอะเกินไปจนกลายเป็นแฟชั่น แต่จริงๆ แล้วมันก็แค่เปลือกที่มาฉาบ ซึ่งผมเองหมั่นไส้คนพวกนั้นเหมือนกันนะ เพราะพอผมถามว่ารู้เรื่องนี้หรือเปล่า เขาก็ไม่รู้อะไรเลย อันนี้ยอมพูดเลยว่าเปลือกมาก
• ในกระแสที่พูดกัน มันจะมีคำว่า “วอนนาบี” (wanna be) คืออาการแบบอยากมีอยากเป็นฮิปสเตอร์ ตรงนี้อาจารย์มองอย่างไร
ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีนะ ที่มีคนอยากทำตาม หรือ “วอนนาบี” คือเมื่อคืนวันผ่านไปวัน เขาอาจจะไม่ใช่แค่คนที่วอนนาบี ถ้าเขาแกร่งพอ หรือหลงใหลแล้วเรียนรู้จริงๆ อย่างวันที่ผมยังไม่รู้จักกาแฟดริปอ่ะ วันนั้นผมก็เป็นแค่คนที่อยากจะ “วอนนาบี” อยากรู้มันคืออะไร มันต้องต้มน้ำอุณหภูมิที่เท่าไหร่ ผมหลงใหลในกาแฟและผมเรียนรู้มัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มมึนเมาที่ไม่มัวเมา กินเยอะๆ มันก็เมานะ ถ้ากินวันละ 200 มิลลิกรัม มันจะเฟรช ชีวิตจะสดชื่น แต่ถ้ากินมากไป มันมึนอยู่แล้ว แต่มันก็มีข้อดีเหมือนกัน เช่น มันสามารถต้านอนุมูลอิสระได้
ผมคิดว่า ที่ฮิปสเตอร์โดนด่ากันอยู่ทุกวันนี้ เพราะการใช้ของที่มีแต่การซื้อ แต่ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไปยังไง ยกตัวอย่าง ผมเคยทักเด็กใส่เสื้อกล้วยสีเหลือง แล้วมันคือแอนดี้ วอร์ฮอลนะ เป็นป็อปอาร์ตนะ แต่เด็กไม่รู้ รู้แต่ว่ามีพวกเซเลบใช้ ก็เลยซื้อตาม คือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีที่มายังไง อย่างผมหลงใหลในจักรยานมาก ผมเล่นจักรยานตั้งแต่ฟิกซ์เกียร์ จนถึงปั่นเสือหมอบ ท้ายที่สุดเลยตอนนี้ผมหลงใหลจักรยานวินเทจขนาดผมรู้ข้อมูล รายละเอียดประวัติของมัน มันมีมาตั้งแต่ยุคก่อนผมเกิดอีกนะ ผมเกิด 1981 แต่ว่าจักรยาน 1950 มันมีที่มาที่ไปยังไง เราขวนขวายหา จนมาครอบครองมันได้ นี่ไงครับเราหลงใหลมันและเราเรียนรู้สิ่งที่อยู่ในมัน ประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่อยู่ในนั้น ก็คือคุณค่าของมันนั่นเอง
สำหรับผม ทุกอย่างเกิดจากความชอบ ถามว่าเราตามคนอื่นมั้ย ตอบได้เลยนะว่าตาม แต่เราชอบก่อนแล้วค่อยตาม ไม่ใช่เห็นคนอื่นทำแล้วไปตามเขา เราเลือกของเราเอง อย่างที่บอกว่าเราต้องศึกษา ดูเนื้อหาข้อมูลก่อน แล้วก็มาวิเคราะห์ จากนั้นเราก็มาลองดูว่ามันใช่สไตล์เราหรือเปล่า เหมาะสมหรือเปล่า นี่แหละกิจกรรมที่เรียกว่าฮิปสเตอร์ ผมว่ามันมีประโยชน์นะ เนื่องจากผมเป็นครู เป็นอาจารย์ ผมเป็นแม่แบบให้เด็กๆ ได้ ถ้าผมรู้จริง ผมก็สามารถสร้างโมเดลให้เขาได้ ดังนั้น คนที่เป็นฮิปสเตอร์ที่รู้จริง ข้อมูลแน่น เขาก็เป็นแบบอย่างให้เยาวชนในอนาคตได้เช่นเดียวกัน เพราะผมก็คิดมาก่อนนะ ผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ ท้ายที่สุดแล้ว คนที่ทำตามเรา เขาสงสัย เขาถามเรา เขาได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
• เหมือนอาจารย์จะบอกว่า หลงใหลสิ่งใดแล้วก็เรียนรู้สิ่งนั้นให้ถ่องแท้ ไม่ใช่แค่ชอบๆ หรือไหลตามกระแสไป อย่างนั้นใช่ไหม
ใช่ครับ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตของผมจึงเป็นน้ำไม่เต็มแก้วเสมอๆ ผมอาจจะเป็นน้ำ 60% ของแก้วก็ได้ ผมเติมน้ำเข้าไปเรื่อยๆ อ่ะ หลายคนอาจจะสงสัยว่า อ้าว แล้วทำไมมันไม่เต็มแก้วสักที ก็เพราะผมให้ลูกศิษย์ผมดื่มไปเรื่อยๆ ไง เอาข้อมูลตรงนั้นไปถ่ายทอดเรื่อยๆ นี่คือสิ่งสำคัญเลยนะ ถ้าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว อย่าว่าแต่กลวงเลย ล้นๆ เลยดีกว่า ล้นแบบรู้ไม่จริง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ล้นแบบเสียของ ยิ่งเราอยู่ในยุคไลค์และแชร์ด้วยนะ ถ้ามันล้นเกินไป ถ้าเราไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วแชร์ไปมั่ว คนจะเผยแพร่ไปไหนต่อไหน เราแย่นะ
ไม่ว่าจะยังไง คนที่เข้ามาสู่วิถีนี้แล้วจริงๆ ถ้ารู้จริงเมื่อไหร่มันจะพัฒนาไปในหลายด้านมาก มันจะยกระดับความคิดของประเทศเรามากขึ้น ทำให้คนเริ่มต้องหาข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อหาความจริงว่ากิจกรรมอย่างนี้เกิดขึ้นได้เพราะอะไร ทำเพราะอะไร เราต้องสู้กันด้วยข้อมูล เนื้อหา และมันอาจจะนำพาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชาติเลยด้วยซ้ำ
อย่างงาน Artbox ที่มักกะสัน หรือก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่จัดที่อู่ต่อเรือกรุงเทพฯ หรืองาน free market ต่างๆ ตรงลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ที่ให้เด็กแนวมาเปิดท้ายขายของ เด็กแนวมีแฟชั่นการแต่งตัว เด็กแนวจะมีต้นทุนจากที่บ้านมาว่ามีตังค์ เขาก็สามารถที่จะเอาสิ่งของ เอาพวกสินค้าที่อาจจะมาจากเมืองนอก สินค้าที่หากันไม่ได้ง่ายๆ เอามาให้เราได้นั่งดู นั่งเสพ อะไรอย่างนี้ ผมเจอเยอะที่ลูกศิษย์มีฐานะรวยมาก ซื้อทุกอย่างมาใช้ แต่ไม่เคยรู้ถึงแก่นของของชิ้นนั้น แต่เขาก็เป็นกลุ่มในกระแสที่เรียกว่าฮิปสเตอร์เช่นเดียวกัน มันก็เยอะนะ แต่วันหนึ่ง ผมเชื่อว่า เขามีของเหล่านั้นอยู่กับตัวเขาแล้ว เขาก็ต้องเรียนรู้ให้ถึงแก่นของมัน ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องดี
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะโดนว่าอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเรามีจุดยืน เราแกร่งและเราเข้าไปเรียนรู้ เราจะมั่นใจว่านี่คือสิ่งที่เราอยากจะยึดถือในอนาคต และไม่ได้เป็นคนที่กลัวคำวิจารณ์ วันหนึ่ง เขาก็สามารถใช้ชีวิตแบบมีความสุขบนคุณภาพชีวิตที่ดีตามวิถีแบบที่เขาเป็นได้
• พูดมาถึงตรงนี้ อาจารย์พอจะบอกได้ไหมว่า อะไรคือแก่นสารของการเป็นฮิปสเตอร์
ความชอบครับ มันคือความสุขของเรา และเราก็จะไม่ต่อต้านคนที่เขาชอบเหมือนกันกับเราอยู่แล้ว หรืออาจจะต่อต้านก็ได้ด้วยความหมั่นไส้ ใครจะรู้ ยกตัวอย่างนะ เรื่องเชียร์ฟุตบอลก็แล้วกัน A เชียร์แมนยู B เชียร์ลิเวอร์พูล วันที่มีบอลแข่ง เขาก็คงมีการแขวะกัน ถากถางกัน แต่พอจบแมตช์ A กับ B ชอบจักรยานเหมือนกัน ก็ออกไปปั่นจักรยานด้วยกันย่างมีความสุข ปั่นกันไปเรื่อยๆ สักพัก ถึงแยกแยกหนึ่ง ก็มีนาย C ขับรถยนต์มาปาดหน้า A กับ B จากที่เคยแขวะกันเรื่องบอล A กับ B ก็รวมหัวกันเป็นทีมโดยการด่า C ว่าเฮ้ย ขับรถประสาอะไร มันแย่มากๆ เลย คราวนี้คือสองต่อหนึ่ง
แต่ในขณะที่ด่าไล่หลังไปนั้น เขาทั้งสองก็แวะกินกาแฟที่ร้านแห่งหนึ่ง ซึ่ง A กับ B ชอบกินกาแฟอยู่แล้ว เจอ C ที่ชอบกินกาแฟเหมือนกัน แต่โดยไม่รู้ตัวเลยว่า C นี่แหละขับรถปาดหน้าเมื่อสักครู่ พวกเขาก็จะมาคุยด้วยกันเพราะเป็นคอกาแฟเหมือนกัน ABC ก็อยู่ด้วยกันโดยปริยาย แต่อยู่ๆ D ซึ่งไม่กินกาแฟเลยและอาจจะเคยแขวะในอินเทอร์เน็ตว่ามันแย่มากเลยนะเนี่ยไอ้กาแฟ ก็เข้ามา ABC ก็จะด่าไอ้ D ที่ชวนให้คนเกลียดกาแฟว่าเป็นไอ้พวกไม่เข้าใจ แต่หลังจากนั้น ABC ไปเดินจตุจักร ก็ไปเจอเจ้า D ที่ขายแมว ก็รู้สึกรัก D ขึ้นมา เพราะว่า D คือคนรักแมว แต่คือตอนแรก D ดันเกลียดกาแฟ มันต้องมีส่วนหนึ่งที่เราชอบเขาไม่ชอบ มันก็จะเป็นวงจรกันไปเรื่อยๆ นี่ก็เลยเป็นสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้นะ คือผมรู้เพราะว่าผมเคยเจออะไรแบบนี้มา
• เขาว่ากันว่า ฮิปสเตอร์มักจะปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่ฮิปสเตอร์ อาจารย์คิดยังไงกับจุดนี้
ผมยอมรับทุกอย่างที่คนพูด สิ่งที่ทุกคนอยากให้เป็น แล้วก็มานั่งคิดว่า “ก็โอเค ก็ได้” เพราะเราไม่ได้เป็นคนคิดเอง คนอื่นเขาพูดให้ เราก็โอเค แต่ผมจะไม่ยอมรับแน่ๆ ถ้ามีคนพูดว่า ออโน๊ตขี้โกง อะไรที่เป็นแง่ลบ หรือเป็นเรื่องผิด เราไม่ยอมรับ เราก็จะออกมาต่อต้าน แต่เรารู้สึกว่าคำว่าฮิปสเตอร์มันไม่ได้เป็นแง่ลบ เป็นแค่คำคำหนึ่ง ผมยังไงก็ได้ครับ
• ฟังมาว่า นอกจากอาจารย์จะไม่ปฏิเสธว่าตัวเองเป็นหรือไม่เป็นฮิปสเตอร์แล้ว ยังผูกพันกับวิถีแบบสโลว์ไลฟ์ ด้วยจริงไหม
จริงๆ อยากจะบอกว่าเรื่องของสโลว์ไลฟ์ นี่ก็คล้ายกับฮิปสเตอร์ คือผมก็ใช้ชีวิตนี้ในแบบของผมมานานแล้ว ก่อนที่เขาจะฮิตๆ กัน มันน่าจะเป็นเพราะว่าเราทำงานแล้วเครียดมากกว่า เลยรู้สึกว่าต้องหาทางออกที่มันไม่เกี่ยวกับงาน แต่ใครจะรู้ว่าวันหนึ่งมันอาจจะเป็นทั้งชีวิตของผมก็ได้ มันอาจจะเป็นอาชีพใหม่ของผมก็ได้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมเริ่มทำกิจกรรมที่เอาตัวออกห่างที่วุ่นวายมาก ซึ่งมันก็ตรงกับแนวคิดของสโลว์ไลฟ์ พอดีเช่นกัน
• ในความคิดของอาจารย์ สโลว์ไลฟ์ มีความหมายอย่างไร
ถ้าคนตีความผิดโดยไม่รู้ว่ากิจกรรมนี้คืออะไรจริงๆ มันอาจจะทำให้เป็นคนขี้เกียจ สโลว์ไลฟ์ คือการพักผ่อน ใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่ใช่การนอนตื่นสาย ถ้าเด็กแปลผิด สโลว์ไลฟ์ คือตื่นสาย ไปเป็นเรื่องแบบชิลไปเลยก็ได้ สโลว์ไลฟ์ มันคือว่า ถ้าคุณทำงานหนักมาแล้วจริงๆ คุณโหยหาสิ่งที่มันดึงชีวิตคุณออกจากงานของคุณ แล้วคุณผ่อนคลาย คุณมีความสุข และมันเป็นการทำกิจกรรมที่เยียวยาทั้งสุขภาพจิต สุขภาพใจ และร่างกาย ทำอะไรให้ช้าลง
• จะใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ได้ ต้องขึ้นอยู่กับช่วงวัยหรืออายุด้วยหรือเปล่า
ตอนแรกเหมือนจะจำกัดช่วงอายุว่าเป็น Baby Boomer กับ Gen X ต้นๆ ที่อายุเยอะๆ แล้ว มีเงินก็ไปเที่ยวที่ไหนก็ได้ และลูกหลานของคนพวกนี้เขาก็มีสิทธิ์จะใช้แบบพ่อแม่เขา คือเราจะไปว่าเขาไม่ได้ แต่คำถามก็คือเขารู้ลึกแค่ไหนในสิ่งที่เขาใช้สอยหรือเป็นอยู่ อย่างเรื่องของกาแฟดริป คนที่เขารู้จริง เขาจะรู้ว่ากาแฟจริงๆ กินตอนดึกมันก็หลับได้ กาแฟที่ไม่ได้ผสมนมกับน้ำตาล ยังไงคุณก็หลับ แล้วมันก็เฟรช มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ไม่ทำให้คุณเป็นมะเร็งลำไส้ ข้อดีมันมีเกินสิบ ข้อเสียมันก็มี เช่นถ้าคุณกินมากเกินไป กระดูกคุณอาจจะผุก็ได้
สุดท้ายแล้ว ผมมองว่า เรื่องฮิปสเตอร์ เรื่องสโลว์ไลฟ์ ถ้ามันไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่เดือดร้อนคนอื่น ก็ยอมรับไปเถอะ ถ้าปฏิเสธแล้วเราไม่แฮปปี้ ต่อไปภายหน้า กิจกรรมอะไรก็ตามที่เราทำแล้วมีคนมานิยาม เราก็ไม่มีความสุขหรอก คราวนี้ ผมก็มานั่งคิด ใครบอกว่าผมเป็นอะไร ผมเป็นหมด แต่ถ้าบอกว่าผมไปฆ่าคน ไปตบตีคน หรือว่าผมเป็นคนขี้โกง แล้วผมไม่ได้ทำอันนั้น ผมถึงจะปฏิเสธ
__________________________
เรื่อง : ปาณิสรา บุญม่วง
ภาพ : ศิวกร เสนสอน และ facebook: Pongsakorn Areesiripaisal