xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่าย12ดี เข้ายื่นหนังสือ "บิ๊กต๊อก" เสนอ 6 ข้อ การจัดทำประมวลกฏหมายยาเสพติด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เครือข่าย 12D และภาคีพันธมิตร จำนวน 100 คน ยื่นหนังสือถึงรมว.กระทรวงยุติธรรมเสนอ 6 ข้อ ปรับปรุงและจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติด 6 ข้อ เน้นเปิดกว้างสำหรับภาคประชาสังคมผู้ที่เชียวชาญยาเสพติดและผู้ใช้ยาเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ผูกขาดกนักฏหมายเพียงอย่างเดียว ต้องศึกษาอย่างรอบครอบไม่เร่งจนเกินไป ไม่เช่นนั้นจะเป็นเพียงการตัดแปะกฎหมายฉบับเดิม พิจารณาทบทวนคำนิยามใหม่

วันนี้ (29 มิ.ย.) เครือข่าย 12D และภาคีพันธมิตร จำนวน 100 คน เข้ายื่นหนังสือต่อ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เรื่อง “ข้อเสนอของภาคประชาชนสังคมต่อการจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติด” เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดสากล เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา

เครือข่าย 12D และภาคีพันธมิตร ได้เสนอ 6 ข้อ สำหรับการปรับปรุงและจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติดในครั้งนี้รวมถึงเสนอต่อการจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติดดังนี้ 1.การเร่งนัดในการจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติดจะเกิดผลกระทบมากกว่าผลดี เพราะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับที่ต้องการศึกษา กฎหมายและนโยบายยาเสพติดน้ันส่งผลกระทบในวงกว้างต่อพี่น้องประชาชนจึงต้องมีความรอบคอบและอยู่บนพื้นฐานของการมีหลักฐานในเชิงวิชาการที่แน่นหนามาสนับสนุน การพิจารณาทบทวนและจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติดคณะทำงานในเรื่องต้องมีการศึกษาค้นคว้าหลักฐานในเชิงวิชาการและข้อเสนอต่างๆอย่างรอบครอบ ไม่เร่งรีบจนเกินไป มิเช่นนั้นแล้วประมวลกฎหมายที่จะจัดทำนั้นจะเป็นเพียงการตัดส่วนกฎหมายแต่ละฉบับมาแปะต่อกันเป็นจิ๊กซอกลายเป็นมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ที่มีกรอบความคิดและเนื้อหาที่ล้ำสมัยเช่นเดิม และในขณะเดียวกันต้องใช้เวลาสร้างความเข้่าใจกับผู้ที่มาเกี่ยวข้องและสังคม เนื่องจากสังคมมีความเข้าใจต่อปัญหายาเสพติด ผู้ใช้สารเสพติดฝั่งลึกบนฐานคดีที่สั่งสมมา

2.พิจารณาทบทวนบทนิยามความหายของคำว่า "ยาเสพติด" "ยาเสพติดให้โทษ" "วัตถุออกฤทธิ์" "สารระเหย" และบัญชียาเสพติดที่ผิดกฎหมายใหม่ โดยให้มีหลักเกณฑ์พิจารณาที่ชัดเจน มีหลักฐานการสนับสนุนที่หนาแน่นเนื่องจากที่ผ่านมามีหลักฐานมากขึ้นอย่างมากที่ระบุว่ายาเสพติดที่ถูกระบุให้มีความผิดทางกฎหมายบางตว เช่นกระท่อมและกัญชาได้มีความรุนแรงต่อสุขภาพและสังคมเท่ากับยาเสพติดที่ถูกกฎหมายบางชนิด เช่น บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่กลับพบว่ามีสรรพคุณในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหรกรรมสื่งทอ ทำให้พืชเสพติดเหล่านี้ผิดกฎหมายนอกจากทมี่จะไม่ได้แก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นอุปสรรคในการที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล้านี้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงควรมีการทบทวนและพิจารณาหาแนวทางใหม่ในการควบคุมสิ่งเหล่านี้

3. ประมวลกฎหมายฉบับใหม่ต้องเน้นเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชนเป็นเรื่องแรก ควรจัดลำดับความสำคัญของนโยบายและการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม เปลี่ยนจากการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษทางอาญาไปสู่วิธีการใหม่ๆที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมสุขภาพและความปลอดภัยทางสังคม เช่น มาตราการด้านการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสอดคล้องกับวิถีชุมชน ต้องมีการบำบัดดูแลในระดับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

4.ผู้เสพยาเสพติดและมียาไว้ในครอบครองเพียงเล็กน้อยเพื่อเสพเฉพาะตัว เป็นผู้ที่กระทำการอันขัดกับข้อห้ามของกฎหมาย (Mala prohibita) มิได้กระทำผิดอันเกี่ยวกับศิลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงาม จึงถือเป็นการกรำทำความผิดที่ไม่ร้ายแรง การทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นอาชญากรและลงโทษด้วยการจำคุก รวมถึงการบังคับบำบัดนั่นมีหลักฐานยืนยันอย่างมากมายว่า ไม่ได้ผล ขาดประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามหลักการทางการแพทย์และหลักสิทธิมนุษยชน อีก ทั้งยังขัดต่อหลักการของการลงโทษเนื่องจากเป็นการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน ดังนั้นจึงควรปฏิบัติต่อผู้ใช้ยาเสพติด ผู้ครอบครองผู้เสพในฐานะที่ได้รับผลกระทบจากยาเสพติด มิใช่อาชญากรร้าย มาตราการอื่นแทนการลงโทษจำคุกได้รับการพิจารณานำมาใช้

5.ผู้เสพยาเสพติด ไม่ใช่ทึกคนที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงยาหรือยาเสพติดและต้องได้รับการบำบัดรักษา สำหรับผู้ที่เป็นเพียงผู้เสพนั้น การหาวิธีป้องกันคนเหล่านี้มิให้ไปสู่สภาวะการติดหรือพึ่งยาจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาวิธีที่เหมาสมกับแต่ละคนแต่ละประเภทของยาเสพติดที่ใช้ ส่วนผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงยานั้นทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้ที่มีสภาพเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า "โรคสมองติดยา" ควรต้องได้รับการพิจารณให้เข้ารับการรักษาด้วยความสสมัครใจและมีทางเลือกที่หลากหลาย เหมาะสม การบำบัดรักษายาเสพติดนั้นจึงควรเป็นเรื่องของการแพทย์ และควรเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขมิใช่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอย่างที่ผ่านมา

6.การทบกวนและการจัดทำประมวลกฎหมายนั้นต้องมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกๆขั้นตอน ไม่ผูกขาดเพียงแค่รัฐหรือนักกฎหมาย ควรมีพื้นที่สำหรับภาคประชาสังคม ที่ทำงานและมีความเข้าใจ เชี่ยวชาญในประเด็นยาเสพติดและตัวแทนของผู้ใช้่ยา ให้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นคณะทำงานในเรื่องนี้ คณะทำงานยกร่างต้องเพิ่มเติมพื้นที่ให้คนเหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วม

ด้าน พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จากข้อเรียกร้องให้เรียกผู้ใช้ยาเสพติดว่าเหยื่อนั้นเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผู้ใช้ยาเสพติดทั้งนั้น เพราะจาก พ.ร.บ. ยาเสพติดทั้ง 3 ฉบับ แนวคิดในการใช้ยาเสพติดทุกวันนี้ เราจะเห็นว่าถ้าผู้ใดเสพยาเสพติด จะต้องได้รับการบำบัด ตามกฏหมาย พ.ร.บ. ยาเสพติด พ.ศ. 2545 ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เราไม่สามารถพูดได้ว่าคนออกแบบกฏหมาย หรือ ผู้เสพยาเสพติดเป็นคนผิด เพราะต้องใช้วิธีคิดค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นเราต้องทำให้ปัญหายาเสพติดลดลง เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาระดับชาติ แต่ก็ยอมรับว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้เวลานานพอสมควร ส่วนกรณีให้พิจารณาเกี่ยวกับข้อกำหนดการใช้กัญชานั้น ต้องรอข้อสรุปจากหลายๆ หน่วยงานอีกที







































กำลังโหลดความคิดเห็น