xs
xsm
sm
md
lg

“บำรุงราษฎร์” แถลง ไม่พบผู้ติดเชื้อ “เมอร์ส” เพิ่ม กักตัว 58 เจ้าหน้าที่ รพ.14 วัน รอดูอาการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ผู้บริหาร รพ.บำรุงราษฎร์ ตั้งโต๊ะแถลง ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเมอร์สเพิ่ม หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทยเป็นคนไข้ของโรงพยาบาล เผยเจ้าหน้าที่ 58 คน ที่สัมผัสผู้ป่วย ยอมให้ถูกกักตัว 14 วัน เพื่อรอดูอาการ ยังบอกไม่ได้จะมีหรือไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม แต่เฝ้าระวังตลอด



เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ที่ผ่านมา ที่ชั้น 22 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ถนนสุขุมวิท ผู้บริหารและทีมแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้แถลงข่าวกรณีพบผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส (MERS) รายแรกในประเทศไทยเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ว่า เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 คนไข้คนดังกล่าวได้เดินทางมาขอเข้ารับการรักษาเอง ด้วยอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ทางโรงพยาบาลได้คัดกรอง และ ซักประวัติ ตามมาตรการที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด พบว่า ผู้ป่วยรายนี้ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จึงต้องแยกผู้ป่วยรายดังกล่าวไปยังห้องแยกโรคความดันลบ ซึ่งอยู่ในห้องที่มีสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อรุนแรง เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อ ซึ่งได้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขให้เข้ามาร่วมตรวจสอบด้วยตั้งแต่ต้น ทางโรงพยาบาลมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รวม 4 ครั้ง โดยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจและปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา และเมื่อทางห้องปฏิบัติการแจ้งกลับมาว่า พบเชื้อไวรัสเมอร์ส กระทรวงสาธารณสุขจึงได้รับตัวไปรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่เมื่อเช้ามืดวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ทางโรงพยาบาลขอยืนยันว่า ตอนนี้ ไม่มีผู้ป่วยโรคเมอร์สในโรงพยาบาลแล้ว และยังไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยรายอื่นอีก โดยมีการเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด

สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้การดูแลกับผู้ป่วยรายแรกนั้น ทางโรงพยาบาลได้ให้เจ้าหน้าที่อยู่ในโรงพยาบาลชั่วคราว เพื่อให้อยู่ในพื้นที่แยกเฉพาะ เพื่อสังเกตการณ์และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นเวลา 14 วัน โดยมีการตรวจเชื้อเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ทุกวัน ซึ่งผลการตรวจจนถึงวันนี้ ทุกท่านยังมีอาการปกติดี ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเมอร์ส เจ้าหน้าที่ทุกท่านให้ทางโรงพยาบาลเฝ้าระวังจนครบ 14 วัน

มาตรการเฝ้าระวัง และ คัดกรอง และวินิจฉัยดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงขั้นสูงสุด ตามที่เคยปฏิบัติมาโดยตลอด ทางโรงพยาบาลยังคงประสานงานในด้านการเฝ้าระวังโรค และดูแลความปลอดภัยของบุคลากรอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ประชุมของกรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข ยังชื่นชมในมาตรการของโรงพยาบาลที่กำลังปฏิบัติอยู่ด้วย จึงขอให้ทุกท่านมั่นใจในมาตรฐาน และความปลอดภัยของโรงพยาบาล

ส่วนการย้ายคนไข้ออกจากชั้น 10 มีกรณีที่ต้องย้ายอยู่ประจำอยู่แล้วครับ ด้วยความจำเป็นของโรค และตัวผู้ป่วยเอง ทั้งหมดเป็นการประสานงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ป่วย ไม่เกี่ยวกันกับพื้นที่ติดเชื้อหรืออย่างใด ผู้ป่วยรายแรกของเรานั้น อยู่ในห้องแยกความดันลบทั้งหมด

สำหรับเจ้าหน้าที่ที่สัมผัส ที่ให้การดูแลผู้ป่วยรายนี้ มีตั้งแต่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งตอนนี้ทั้งหมดได้ถูกให้อนุญาตให้หยุดงานชั่วคราว และเข้ามารับการดูแลจากโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวัง ตอนนี้เราได้ขยายวงกว้างกว่าการเฝ้าระวัง มากกว่ามาตรฐานที่ทางกระทรวงได้กำหนดไว้ จำนวนของเรา ปัจจุบันจะมีประมาณ 58 คน ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้สัมผัสผู้ป่วยในหลายระดับ เพราะฉะนั้น ความเสี่ยง ความเข้มข้นที่ต้องเฝ้าระวังก็จะไม่เท่ากัน แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ทางโรงพยาบาลอยากรักษามาตรฐาน และความปลอดภัยอย่างสูงสุด เพราะฉะนั้น เราขยายวงกว้างกว่าที่จำเป็น

เมื่อถามว่า มั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เราไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีกรณีใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้น การเฝ้าระวังจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเราได้มีการเพิ่มระดับการเฝ้าระวังมาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดกรณีที่ 1 แล้ว และยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง เราไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีกรณีที่ 2 หรือไม่ เพราะฉะนั้น ต้องเรียนให้ทราบว่า คำตอบคือไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ แต่เราเฝ้าระวังตลอดเวลา แม้กระทั่งปัจจุบันก็ตาม

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ช่องทางที่ผู้ป่วยจะเข้ามาที่โรงพยาบาลเราจะมีหลายช่องทาง ผู้ป่วยที่รับย้ายตรงจากต่างประเทศ เราแอคติเวทระบบนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และยืนยันถ้าเข้าข่ายประเทศกลุ่มเสี่ยง มีอาการ เราปฏิเสธการรับมาโดยตลอด วันนี้ขอยืนยัน ในส่วนที่ 2 ที่เราบังคับไม่ได้ คือ ผู้ป่วยที่วอล์กอิน และเดินเข้ามา ปัจจุบันเราตรึงมาตรการสูงสุด ในการคัดกรองผู้ป่วยที่เข้ามาทุกราย ด้วยแนวทางที่เราเซ็ตไว้ และเราให้ความมั่นใจครับว่า ช่องทางของผู้ป่วยที่เดินเข้ามา กับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจะแยกกันอย่างชัดเจน

มาตรการคัดกรอง เกิดขึ้นตั้งแต่ด่านแรกที่คนไข้เข้าสู่โรงพยาบาลในจุดต่างๆ จะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเตรียมพร้อมที่จะเฝ้าระวังและสอบถามตลอดจนสังเกตอาการของคนไข้ว่า เข้าสู่อาการของคนไข้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ หากมีข้อกำหนดตามที่กำหนดไว้ เราจะส่งผู้ป่วยไปยังบริเวณเฉพาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่แยกออกจากบริเวณของโรงพยาบาลปกติ จะถูกดูแลโดยทีมแพทย์ที่แยกออกตั้งหาก และมีระบบระบายอากาศที่แยกออกจากตัวโรงพยาบาลโดยสิ้นเชิง การตรวจสอบจะเกิดขึ้น ณ ยูนิต หรือหน่วยงานนี้ และจะทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังห้องแยกผู้ป่วยตามความเหมาะสม ซึ่งห้องแยกผู้ป่วยจะมีระบบระบายอากาศที่แยกออกจากตัวโรงพยาบาลใหญ่ทั้งหมด

ทีมแพทย์เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า คนไข้ที่ติดเชื้อเมอร์สได้มาถึงห้องฉุกเฉิน เวลาประมาณสามทุ่มสี่สิบห้า และมีอาการหนักมากตั้งแต่ต้น ทำให้เจ้าหน้าที่ด่านแรกทำการคัดกรอง โดยไม่ได้ปะปนกับคนไข้ท่านอื่นเลยแม้แต่น้อย และได้ทำการเจรจาต่อรองกับคนไข้ว่า ป่วยมาก และมีความจำเป็นต้องอยู่ห้องแยก โดยมีความดันลบ เพื่อป้องกันเรื่องของการแพร่กระจายโรคติดเชื้อที่เราสงสัย คือ เมอร์ส โคโรนา ไวรัส แต่คนไข้และญาติปฏิเสธที่จะเข้าสู่กระบวนการแยกผู้ป่วย ทางทีมแพทย์ที่ดูแลมีข้อสงสัยความเป็นไปได้ว่าจะเป็นโรคนี้ค่อนข้างมาก จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะเจรจาต่อรองกับคนไข้และญาติ ขอให้อยู่ในห้องแยก มิเช่นนั้น ถ้าคนไข้ไม่ได้เข้าไปในห้องแยกของโรงพยาบาลแล้ว ก็อาจไปแพร่กระจายเชื้อในบริเวณใกล้เคียงที่อยู่นอกโรงพยาบาล หรือในบริเวณอื่นๆ ของประเทศไทยด้วย เราเลยพยายามอย่างยิ่งที่จะกระตุ้นให้ญาติและตัวคนไข้ยอมรับสถานการณ์ ซึ่งในที่สุด คนไข้ก็ยอม ซึ่งอันนี้ต้องเรียนว่าไม่มีคนไข้ท่านไหนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ณ ขณะนั้น สัมผัสกับผู้ป่วยท่านนี้เลยในขณะนั้น

“คนไข้ด่านแรกที่เข้ามาที่ห้องฉุกเฉิน เราก็ให้คนไข้สวมหน้ากากป้องกันนะครับ เป็นหน้ากากป้องกัน และได้เจรจากับคนไข้ขณะนั้น โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนมีเครื่องป้องกันครบทุกอย่าง แล้วหลังจากเจรจาเสร็จเรียบร้อย คนไข้และญาติยอมแล้ว เราก็ส่งคนไข้ขึ้นสู่วอร์ดแยกทันที ผู้ที่เข็นคือเจ้าหน้าที่ที่ช่วยดูแลคนไข้ออกจากแท็กซี่ ได้รับการป้องกันด้วยการสวมหน้ากากเช่นเดียวกันครับ”

เมื่อถามว่า ผู้ป่วยเข้ามารักษาตอนแรกคือโรคระบบทางเดินหายใจ หรือว่ามาจากอาการป่วยโรคประจำตัว เพราะทางสาธารณสุข ชี้แจงว่า ผู้ป่วยเข้ามาเบื้องต้นเพื่อรักษาโรคหัวใจ ทีมแพทย์ตอบว่า คนไข้เข้ามามีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการไอ และเบื้องต้น ตอนที่เข้ามาในห้องฉุกเฉิน บอกว่า รายงานว่าตัวเองไม่มีไข้ และเราได้วัดไข้เบื้องต้นไม่มี เราได้ทำการเอกซเรย์ และพบว่า เอกซเรย์ปอด มีรอยโรคผิดปกติทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นปอดอักเสบ ร่วมกับหัวใจวายร่วมด้วย ซึ่งยังแยกไม่ออกว่าเป็น ทั้ง 2 กรณีร่วมด้วยหรือไม่ แต่เนื่องจากว่า คนไข้มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เราจึงมีข้อสงสัยเป็นอย่างยิ่ง และหลังจากที่ได้รับตัวเข้าไปไว้ในห้องแยกแล้ว คนไข้ก็มีไข้ในวันรุ่งขึ้น 30 องศา วัดไข้ได้ทั้ง 2 ครั้ง ในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 17 ซึ่งตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่คนไข้มีไข้

เมื่อถามย้ำว่า ทางผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจจะเดินทางมารักษาโรคหัวใจกับโรงพยาบาลเอกชนตั้งแต่แรก ทีมแพทย์ตอบว่า คนไข้ไม่รู้การวินิจฉัยแต่ว่าเมื่อตรวจร่างกายแล้วพบว่า อาการอย่างนี้คืออาการของโรคหัวใจ แต่เนื่องจากเงาปอดที่เราเห็นในเอกซเรย์นั้น แยกไม่ออกว่า เป็นปอดอักเสบ หรือหัวใจวาย หรือทั้ง 2 อย่างร่วมด้วย การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้นว่า คนไข้ น่าจะเป็นไปได้ทั้ง 2 กรณี และเนื่องจากเรามีข้อสงสัยในโรคนี้ร่วมด้วย เราจึงให้คนไข้ได้รับการรักษาโดยอยู่ในห้องแยกครับ ขอย้ำว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้ติดต่อโรงพยาบาลเล่วงหน้ามาก่อนเลย แต่เป็นการเดินมาขอเข้ารับการรักษา (วอล์กอิน) ทั้งนี้ กรณีวอล์กอิน เบื้องต้นทำได้ 2 โรค คือ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน และโรคติดเชื้อ ซึ่งสงสัยจะเป็น เมอร์ส โคโรน่า ไวรัส

ส่วนการสวมหน้ากากป้องกันการติดเชื้อนั้น เนื่องจากว่าการแพร่เชื้อ เมอร์ส โคโรน่า ไวรัส เป็นลักษณะของละอองเสมหะ ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ตามมาตรฐานทั่วไป หากว่า เราไม่ได้ทำหัตถการที่จะทำให้คนไข้ไอ เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การสวมหน้ากากที่เราเรียกว่า เซอจิเคิล แมสนั้น ถือว่าเพียงพอ และหากว่า คนไข้มีอาการไอร่วมด้วย เราต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า N95 ซึ่งหน้ากาก ไม่ใช่หน้ากากอนามัยทั่วไป แต่เป็นหน้ากากทางการแพทย์เฉพาะ

รายละเอียดการแถลง-ตอบคำถามผู้สื่อข่าว

ทีมแพทย์ - เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 โดยคนไข้เองมาด้วยอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ทางโรงพยาบาลได้คัดกรอง และซักประวัติ ตามมาตราการที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด พบว่า ผู้ป่วยรายนี้ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เราจึงต้องแยกผู้ป่วยรายดังกล่าวไปยังห้องแยกโรคความดันลบ ซึ่งอยู่ในห้องที่มีสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อรุนแรง เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อ ซึ่งได้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขให้เข้ามาร่วมตรวจสอบด้วยตั้งแต่ต้น ทางโรงพยาบาลมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รวม 4 ครั้ง โดยการเก็บตัวอย่างส่งตรวจและปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (..ฟังไม่ชัด..) และเมื่อทางห้องปฏิบัติการแจ้งกลับมาว่า พบเชื้อไวรัสเมอร์ส กระทรวงสาธารณสุขจึงได้รับตัวไปรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่เมื่อเช้ามืดวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ทางโรงพยาบาลขอยืนยันว่าตอนนี้ ไม่มีผู้ป่วยโรคเมอร์สในโรงพยาบาลแล้ว และยังไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยรายอื่นอีก โดยมีการเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด

สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้การดูแลกับผู้ป่วยรายแรกนั้น ทางโรงพยาบาลได้ให้เจ้าหน้าที่อยู่ในโรงพยาบาลชั่วคราว เพื่อให้อยู่ในพื้นที่แยกเฉพาะ เพื่อสังเกตการณ์และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นเวลา 14 วัน โดยมีการตรวจเชื้อเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ทุกวัน ซึ่งผลการตรวจจนถึงวันนี้ ทุกท่านยังมีอาการปกติดี ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเมอร์ส เจ้าหน้าที่ทุกท่านให้ทางโรงพยาบาลเฝ้าระวังจนครบ 14 วัน

มาตรการเฝ้าระวัง และคัดกรอง และวินิจฉัยดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงขั้นสูงสุด ตามที่เคยปฏิบัติมาโดยตลอด ทางโรงพยาบาลยังคงประสานงานในด้านการเฝ้าระวังโรค และดูแลความปลอดภัยของบุคลากรอย่างใกล้ชิด ซึ่งที่ประชุมของกรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข ยังชื่นชมในมาตรการของโรงพยาบาลที่กำลังปฏิบัติอยู่ด้วย จึงขอให้ทุกท่านมั่นใจในมาตรฐาน และความปลอดภัยของโรงพยาบาล ขอบคุณครับ

ครับ เป็นคำแถลงชี้แจงของโรงพยาบาล ถ้าท่านสื่อมวลชนมีคำถามครับ ยกมือ ทีละท่านนะครับ

นักข่าว - ค่ะ จากบางกอกโพสต์ ที่มีการย้ายคนไข้ออกจากชั้น 10 คือเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ไหมคะ

ทีมแพทย์- ในส่วนของการย้ายผู้ป่วย มีเรื่องราวที่เราต้องย้ายอยู่ประจำอยู่แล้วครับ ด้วยความจำเป็นของโรค และตัวผู้ป่วยเอง ทั้งหมดเป็นการประสานงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ป่วยครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกันกับพื้นที่ติดเชื้อหรืออย่างใดครับ อย่างที่ท่านอาจารย์ชาญวิทย์ได้เรียนในตอนแรก ผู้ป่วยรายแรกของเรานั้น อยู่ในห้องแยกความดันลบทั้งหมด

นักข่าว - ค่ะ ขอบคุณค่ะ

นักข่าว - สวัสดีครับ จากช่อง 7 นะครับ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่สัมผัสผู้ป่วยรายแรกรายนี้ มีกี่คนครับ ที่ต้องเฝ้าระวังดูอาการ และเป็นส่วนไหนบ้างครับ

ทีมแพทย์ - ครับ เจ้าหน้าที่ที่สัมผัส ที่ให้การดูแลผู้ป่วยท่านนี้ รายแรก มีตั้งแต่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งตอนนี้ทั้งหมดได้ถูกให้อนุญาตให้หยุดงานชั่วคราว และเข้ามารับการดูแลจากโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังอาการอย่างที่เรียนให้ทราบแล้วครับ

นักข่าว- กี่คนนะครับ

ทีมแพทย์- ครับ ตอนนี้เราได้ขยายวงกว้างกว่าการเฝ้าระวัง มากกว่ามาตรฐานที่ทางกระทรวงได้กำหนดไว้ เพราะฉะนั้น จำนวนของเรา ปัจจุบันจะมีประมาณ 58 ท่าน ซึ่งทั้งหมดนี้ ผมเน้นอีกครั้งหนึ่งว่า เป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้สัมผัสผู้ป่วยในหลายระดับ เพราะฉะนั้น ความเสี่ยง ความเข้มข้นที่ต้องเฝ้าระวังก็จะไม่เท่ากัน แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ทางโรงพยาบาลอยากรักษามาตรฐาน และความปลอดภัยอย่างสูงสุด เพราะฉะนั้น เราขยายวงกว้างกว่าที่จำเป็น

นักข่าว- จากช่อง 5 ครับ ทางโรงพยาบาลมั่นใจว่ายังไง ว่าจะไม่มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีกครับ เพราะผู้ป่วยที่นี่ก็มาจากตะวันออกกลางบ้าง และอีกหลายๆ ประเทศ

ทีมแพทย์ - ขออนุญาตตอบคำถามนะครับ เราไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีกรณีใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้น การเฝ้าระวังจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่องครับ และเราได้มีการเพิ่มระดับการเฝ้าระวังมาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดกรณีที่ 1 แล้ว และยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง เราไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีกรณีที่ 2 หรือไม่ เพราะฉะนั้น ต้องเรียนให้ทราบว่า คำตอบคือไม่ทราบครับ ว่าจะมีหรือไม่ แต่เราเฝ้าระวังตลอดเวลาครับ แม้กระทั่งปัจจุบันก็ตาม

ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ ช่องทางที่ผู้ป่วยจะเข้ามาที่โรงพยาบาลเราจะมีหลายช่องทางนะครับ ผู้ป่วยที่รับย้ายตรงจากต่างประเทศ เราแอคติเวทระบบนี้อย่างที่ท่านอาจารย์ชาญวิทย์เรียนตั้งแต่ปี 2555 จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และยืนยันถ้าเข้าข่ายประเทศกลุ่มเสี่ยง มีอาการ เราปฏิเสธการรับมาโดยตลอด วันนี้ขอยืนยัน ในส่วนที่ 2 ที่เราบังคับไม่ได้คือ ผู้ป่วยที่วอล์กอิน และเดินเข้ามา ปัจจุบันเราตรึงมาตรการสูงสุด ในการคัดกรองผู้ป่วยที่เข้ามาทุกราย ด้วยแนวทางที่เราเซ็ทไว้ และเราให้ความมั่นใจครับว่า ช่องทางของผู้ป่วยที่เดินเข้ามา กับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจะแยกกันอย่างชัดเจนครับ

นักข่าว - มาตรการที่ว่าเป็นแนวทางที่เซ็ทไว้ ช่วยขยายนิดนึงได้ไหมครับ เป็นอะไร ยังไงบ้าง

ทีมแพทย์ - มาตรการคัดกรอง เกิดขึ้นตั้งแต่ด่านแรกที่คนไข้เข้าสู่โรงพยาบาลในจุดต่างๆ จะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเตรียมพร้อมที่จะเฝ้าระวังและสอบถามตลอดจนสังเกตอาการของคนไข้ว่า เข้าสู่อาการของคนไข้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ หากมีข้อกำหนดตามที่กำหนดไว้ เราจะส่งผู้ป่วยไปยังบริเวณเฉพาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่แยกออกจากบริเวณของโรงพยาบาลปกติ จะถูกดูแลโดยทีมแพทย์ที่แยกออกตั้งหาก และมีระบบระบายอากาศที่แยกออกจากตัวโรงพยาบาลโดยสิ้นเชิง การตรวจสอบจะเกิดขึ้น ณ ยูนิต หรือหน่วยงานนี้ และจะทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังห้องแยกผู้ป่วยตามความเหมาะสม ซึ่งห้องแยกผู้ป่วยจะมีระบบระบายอากาศที่แยกออกจากตัวโรงพยาบาลใหญ่ทั้งหมดนะครับ

นักข่าว - จากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น อยากทราบว่าตั้งแต่มีข่าวออกไปเมื่อวาน ไม่ทราบว่าทางโรงพยาบาลได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างหรือยัง เช่น มีผู้ป่วยท่านอื่นที่อาจรับการรักษาโรคอื่นๆ ขอย้ายออกจากโรงพยาบาลหรือไม่ หรือเห็น มีการแจ้งผู้ป่วยในโรงพยาบาลไหมคะ หรือให้เขารับมือยังไง

ทีมแพทย์ - เท่าที่ทราบยังไม่มีนะครับ เพราะว่าเราได้ให้ความเชื่อมั่นในผู้ป่วยของเราทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่นอนอยู่กับเรา หรือผู้ป่วยที่ได้รับบริการ ทุกท่านก็ได้รับการ ให้ความไว้วางใจ และเชื่อมั่นในระบบการคัดกรองและมาตรฐานของเรา อย่างที่ท่านอาจารย์มนต์เดช ได้แถลงไป

นักข่าว - ขอเพิ่มคือ ผู้ป่วยรายอื่นทราบไหมคะว่า โรงพยาบาลนี้มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อเมอร์สเข้ามา

ทีมแพทย์ - ต้องเรียนว่าเป็นผู้ป่วยต้องสงสัยนะครับ และช่องทางของเขาอย่างที่เรียนซ้ำ คือ อยู่ในช่องทางของผู้ป่วยที่เข้าไปอยู่ห้องแยกโรคความดันลบ เพราะฉะนั้น อันนั้นเป็นช่องทางที่แยกจากผู้ป่วยโดยทั่วไปชัดเจน เหตุทั้งหมดที่เราได้ทราบผลยืนยันแน่นอนคือ เช้ามืดของเมื่อวานนี้นะครับ กระบวนการทั้งหมดได้แอคติเวท และเราได้เตรียมการที่จะประสานกับภาครัฐบาลนะครับอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นสำนักระบาด หรือทางท่านรัฐมนตรีเองก็ตาม เพื่อให้ความมั่นใจว่า 1 คนของเราไม่เกิดความตื่นตระหนกจนเกินควร ผู้ป่วยของเรายังได้รับการดูแล และที่สำคัญไม่ให้เกิดการกระจายเชื้อเกิดขึ้นที่เรา เพราะฉะนั้น หลังจากแถลงข่าวในวันนี้ คงมีมาตรการถัดไปที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในเบื้องต้น พนักงานและแพทย์ทุกท่านได้รับการสื่อสารออกไปแล้ว เพราะงั้นคงมีข้อความถัดไปตามมาโดยลำดับครับ

นักข่าว - ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ครับที่อยู่โรงพยาบาล ที่รับผู้ป่วยที่เป็นชาวตะวันออกกลางครับ

ทีมแพทย์ - ครับ โดยเฉลี่ยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ครับ

นักข่าว - ส่วนของการรับผู้ป่วยแต่ละเคส ปกติจะได้รับเป็นอีอาร์เสมอไปใช่ไหมคะ กรณีนี้ผู้ปวยต้อง อาจต้องนั่งรอ หรือปะปนกับผู้ป่วยท่านอื่นที่มารับบริการหรือเปล่า ตอนนี้ ทางโรงพยาบาลยังไงกับเรื่องนี้คะ

ทีมแพทย์ - คือคนไข้มาถึงห้องฉุกเฉิน สามทุ่มสี่สิบห้า และมีอาการหนักมากตั้งแต่ต้น ทำให้เจ้าหน้าที่ของเราด่านแรกทำการคัดกรองตั้งแต่แรก โดยไม่ได้ปะปนกับคนไข้ท่านอื่นเลยแม้แต่น้อย และได้ทำการเจรจาต่อรองกับคนไข้ว่า ป่วยมาก และมีความจำเป็นต้องอยู่ห้องแยก โดยมีความดันลบ เพื่อป้องกันเรื่องของการแพร่กระจายโรคติดเชื้อที่เราสงสัยคือ เมอร์ส โคโรนา ไวรัส แต่คนไข้และญาติปฏิเสธที่จะเข้าสู่กระบวนการแยกผู้ป่วย ทางทีมแพทย์ที่ดูแลมีข้อสงสัยความเป็นไปได้ว่าจะเป็นโรคนี้ค่อนข้างมาก จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะเจรจาต่อรองกับคนไข้และญาติ ขอให้อยู่ในห้องแยก มิเช่นนั้น ถ้าคนไข้ไม่ได้เข้าไปในห้องแยกของโรงพยาบาลแล้ว ก็อาจไปแพร่กระจายเชื้อในบริเวณใกล้เคียงที่อยู่นอกโรงพยาบาล หรือในบริเวณอื่นๆ ของประเทศไทยด้วย เราเลยพยายามอย่างยิ่งที่จะกระตุ้นให้ญาติและตัวคนไข้ยอมรับสถานการณ์ ซึ่งในที่สุด คนไข้ก็ยอม ซึ่งอันนี้ต้องเรียนว่าไม่มีคนไข้ท่านไหนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ณ ขณะนั้น สัมผัสกับผู้ป่วยท่านนี้เลยในขณะนั้นนะครับ

นักข่าว - ขออนุญาตถามเพิ่มเติมรายละเอียดนะคะ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ ที่สังคมอาจตั้งคำถาม ในเรื่องกรณีนี้ ระบุว่าผู้ป่วยมาด้วยอาการที่หนักแล้ว แต่ทางกระทรวงแถลงว่า ผู้ป่วยใช้บริการแท็กซี่เดินทางมาโรงพยาบาล กรณีนี้ เวรเปลไปรับโดยตรงตั้งแต่ลงจากแท็กซี่เลยไหม และก็ในห้องอีอาร์ปกติจะมีแค่ม่านกั้นนะค่ะ ตรงนั้นเซฟตี้พอไหม ยังไง

ทีมแพทย์ - คนไข้ด่านแรกที่เข้ามาที่ห้องฉุกเฉิน เราก็ให้คนไข้สวมหน้ากากป้องกันนะครับ เป็นหน้ากากป้องกัน และได้เจรจากับคนไข้ขณะนั้น โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนมีเครื่องป้องกันครบทุกอย่าง แล้วหลังจากเจรจาเสร็จเรียบร้อย คนไข้และญาติยอมแล้ว เราก็ส่งคนไข้ขึ้นสู่วอร์ดแยกทันที ผู้ที่เข็นคือเจ้าหน้าที่ที่ช่วยดูแลคนไข้ออกจากแท็กซี่ ได้รับการป้องกันด้วยการสวมหน้ากากเช่นเดียวกันครับ
ขอเพิ่มเติมประเด็นนิดนึงนะครับว่า ในห้องฉุกเฉิน ก็มีห้องแยกเช่นเดียวกันครับ ห้องตรวจแยกที่มีระบบระบายอากาศออกนอกอาคารนะครับ

นักข่าว - รบกวนถามทางคณะแพทย์ค่ะว่า ที่บอกว่าผู้ป่วยเข้ามาด้วยอาการที่ฉุกเฉิน และมีอาการหนัก เข้ามารักษาเบื้องต้นตอนแรก คือ ด้วยความเสี่ยงที่เป็นความต่อเนื่องจากโรคระบบทางเดินหายใจ หรือว่ามาจากอาการป่วยโรคประจำตัวคะ เพราะว่าทางสาธารณสุขชี้แจงว่า ผู้ป่วยเข้ามาเบื้องต้นที่จะมารับการรักษากับโรงพยาบาลเอกชน มาด้วยโรคหัวใจนะค่ะ

ทีมแพทย์ - คนไข้เข้ามามีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการไอ และก็เบื้องต้น ตอนที่เข้ามาในห้องฉุกเฉิน บอกว่า รายงานว่าตัวเองไม่มีไข้ และเราได้วัดไข้เบื้องต้นไม่มี เราได้ทำการเอกซเรย์ และพบว่า เอกซเรย์ปอด มีรอยโรคผิดปกติทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น ปอดอักเสบ ร่วมกับหัวใจวายร่วมด้วย ซึ่งยังแยกไม่ออกว่าเป็น ทั้ง 2 กรณีร่วมด้วยหรือไม่ แต่เนื่องจากว่า คนไข้มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เราจึงมีข้อสงสัยเป็นอย่างยิ่ง และหลังจากที่ได้รับตัวเข้าไปไว้ในห้องแยกแล้ว คนไข้ก็มีไข้ในวันรุ่งขึ้น 30 องศา วัดไข้ได้ทั้ง 2 ครั้ง ในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 17 ซึ่งตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่คนไข้มีไข้ครับ

นักข่าว - ขอยืนยันอีกรอบนะคะ คือหมายความว่า ทางผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจจะเดินทางมารักษาโรคหัวใจกับโรงพยาบาลเอกชนตั้งแต่แรกเหรอคะ

ทีมแพทย์ - คนไข้ไม่รู้การวินิจฉัยครับ แต่ว่าเมื่อตรวจร่างกายแล้วพบว่า อาการอย่างนี้คืออาการของโรคหัวใจ แต่เนื่องจากเงาปอดที่เราเห็นในเอกซเรย์นั้น แยกไม่ออกว่า เป็นปอดอักเสบ หรือหัวใจวาย หรือทั้ง 2 อย่างร่วมด้วย การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้นว่า คนไข้ น่าจะเป็นไปได้ทั้ง 2 กรณีครับ และเนื่องจากเรามีข้อสงสัยในโรคนี้ร่วมด้วย เราจึงให้คนไข้ได้รับการรักษาโดยอยู่ในห้องแยกครับ
ขอย้ำนะครับ ผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้ติดต่อโรงพยาบาลเราล่วงหน้ามาก่อนเลย วอล์กอินครับ

นักข่าว - ถามเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ กรณีวอล์กอิน ให้คุณหมออธิบายนิดนึงนะคะว่า กระทำยังไงบ้างคะ

ทีมแพทย์ - เบื้องต้นมีอยู่ 2 โรคครับ คือ โรคหัวใจวายเฉียบพลัน และ โรคติดเชื้อ ซึ่งสงสัยจะเป็น เมอร์ส โคโรนา ไวรัส ครับ

นักข่าว - ขอนุญาตถามนะคะ ที่บอกว่าใส่หน้ากากนี้ อธิบายลักษณะของหน้ากากได้ไหมคะ ว่าเป็นลักษณะยังไง และสามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากน้อยแค่ไหนคะ

ทีมแพทย์ - เนื่องจากว่าการแพร่เชื้อ เมอร์ส โคโรนา ไวรัส เป็นลักษณะของละอองเสมหะ ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ตามมาตรฐานทั่วไป หากว่า เราไม่ได้ทำหัตถการที่จะทำให้คนไข้ไอ เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การสวมหน้ากากที่เราเรียกว่า เซอจิเคิล แมสนั้น ถือว่าเพียงพอครับ และหากว่า คนไข้มีอาการไอร่วมด้วย เราต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า N95 ครับ

นักข่าว - หน้ากาก ไม่ใช่หน้ากากอนามัยทั่วไปที่สวมอย่างนี้ใช่ไหมคะ เป็นหน้ากากทางการแพทย์เฉพาะเลย

ทีมแพทย์ - ถูกต้องครับ

นักข่าว - ขอบคุณคะ

ทีมแพทย์ - มีเพิ่มเติมไหมครับ ถ้าไม่มี จะได้ขอยุติการให้ข้อมูลแต่เพียงเท่านี้นะครับ งั้นขอปิดการแถลงข่าวนะครับ ขอขอบพระคุณ ท่านสื่อมวลชนครับ ขอขอบพระคุณท่านผู้บริหารครับ























กำลังโหลดความคิดเห็น