คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“ในหลวง-พระราชินี” ส่งสาส์นแสดงความเสียใจแผ่นดินไหวเนปาล พร้อมพระราชทานเงินช่วยเหลือ 10 ล้าน!
เมื่อวันที่ 25 เม.ย. เวลาประมาณ 13.10 น. ตามเวลาในไทย หรือประมาณเที่ยงวันตามเวลาในประเทศเนปาล ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงถึง 7.9 ตามมาตราริกเตอร์ที่เนปาล โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองโพครา เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไปทางตะวันออกประมาณ 80 กิโลเมตร ซึ่งแรงสั่นสะเทือนไปถึงประเทศข้างเคียงอย่างอินเดียและจีนด้วย
ทั้งนี้ ความแรงของแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปีของประเทศเนปาล พบผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 6,600 ศพ ขณะที่ผู้บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 14,000 คน สำหรับการกู้ภัยเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากหลายพื้นที่ยากต่อการเข้าถึง ด้านสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ประเมินว่า มีบ้านเรือนประชาชนพังย่อยยับกว่า 70,000 หลัง ส่วนอีก 530,000 หลังได้รับความเสียหาย ขณะที่หอคอยดาราฮารา ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงกาฐมาณฑุ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ก็พังถล่มลงมา รวมทั้งมีรายงานหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จนทำให้มีนักท่องเที่ยวนักปีนเขาเสียชีวิตด้วยหลายราย ซึ่ง 1 ในนั้นคือ น.ส.มาริสา จิระวงศ์ หรือน้องอีฟ วัย 29 ปี ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ให้กับกลุ่มปีนเขาเมดิสันเมาน์เทนเนียริง บริเวณเขาเอเวอเรสต์
หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเนปาล หลายประเทศต่างพร้อมใจกันช่วยเหลือ ทั้งเงินบริจาค-สิ่งของ รวมทั้งทีมกู้ภัยและแพทย์ที่ถูกส่งเข้าไปช่วยเหลือ โดยในส่วนของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล รวมทั้งพระราชทานเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติชาวเนปาลจำนวน 10 ล้านบาท ขณะที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้มอบเงิน 600,000 บาท เพื่อช่วยเนปาลเช่นกัน โดยสมทบเข้ากองทุนช่วยเหลือชาวเนปาลผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่รัฐบาลเปิดบัญชีให้ประชาชนช่วยกันบริจาคคือ บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” เลขที่บัญชี 067-0-10330-6
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ประเดิมบริจาคช่วยผู้ประสบภัยผ่านบัญชีดังกล่าวจำนวน 100,000 บาท ขณะที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือเนปาล โดยให้หักจากบัญชีค่าตอบแทนของ สปช.คนละ 2,000 บาท โดยเงินทั้งหมดมอบผ่านรัฐบาล
ทั้งนี้ นอกจากรัฐบาลได้อนุมัติเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประเทศเนปาลจำนวน 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านบาทแล้ว ยังได้ส่งความช่วยเหลือเพิ่มอีก โดยกองทัพอากาศได้ส่งเจ้าหน้าที่จำนวน 67 นาย พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ไปช่วยเนปาลเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านดาวเทียม ชุดช่วยเหลือฟื้นฟูภัยพิบัติ และหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมกับส่งเวชภัณฑ์ เครื่องมือสื่อสาร อาหารปรุงสำเร็จ การประปาสนาม เครื่องปั่นไฟฟ้า และเครื่องค้นหาการช่วยชีวิต นอกจากนี้ที่ประชุม ครม.ยังได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 100 ล้านบาท เพื่อใช้ในการช่วยเหลือเนปาลและคนไทยในเนปาล ขณะที่อีกหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างเปิดบัญชีเพื่อรับบริจาคช่วยเหลือเนปาลเช่นกัน
2.สปช.พอใจอภิปรายร่างแรก ด้าน “อภิสิทธิ์” ลั่น ต้องตัด ม.181-182 เหตุเอื้อเผด็จการรัฐสภา “บวรศักดิ์” ชี้ ทำประชามติต้องแก้ รธน.ชั่วคราว!
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ(วิป สปช.) แถลงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระหว่างวันที่ 20-26 เม.ย.ว่า เป็นการประชุมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ และว่า ขั้นตอนต่อไป สปช.จะรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ รวมทั้งส่งคำขอแก้ไขเพิ่มเติมของ สปช.ต่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 30 วัน เพื่อให้ กมธ.ยกร่างฯ นำคำขอไปประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนส่งกลับมาให้ สปช.พิจารณาอีกครั้งในเดือน ส.ค.
ด้านนายบวรศักดิ์ เผยว่า หลังจากนี้จะเปิดโอกาสให้ สปช.ยื่นญัตติคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมาถึง กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 25 พ.ค. จากนั้นวันที่ 1-6 มิ.ย. จะเชิญผู้ขอแปรญัตติแก้ไขมาชี้แจงต่อ กมธ.ยกร่างฯ และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 มิ.ย. หากมีเวลา จะเชิญพรรคการเมืองมาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย จึงจะเป็นร่างสุดท้าย ก่อนเสนอไปยัง สปช.อีกครั้งเพื่อให้ลงมติในวันที่ 6 ส.ค. “อยากเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน อย่างน้อย 5 ปี แล้วค่อยแก้ไข ถ้าบ้านเมืองเกิดความปรองดอง อาจจะกลับมาแก้ให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง โดยมีเสียงในรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่งก็สามารถทำได้ และยังเห็นด้วยที่ให้มีการจัดตั้งกลุ่มการเมือง ซึ่งผมเข้าใจว่าหลายพรรคการเมืองกลัวคนที่มีศักยภาพของพรรคตัวเองจะออกมา แต่อยากให้นึกถึงคนที่ไม่มีเงินตั้งพรรคการเมือง และต้องไปหาสมาชิกอีก 5,000 จึงเห็นว่าควรมีกลุ่มการเมืองและจดทะเบียน โดยอาจมีเงื่อนไขน้อยกว่าพรรคการเมือง”
นายบวรศักดิ์ ยังย้ำด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายที่แก้ไขไม่ได้แล้ว จะต้องเสร็จภายในวันที่ 23 ก.ค. และหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ 15 วัน คือวันที่ 6 ส.ค. สปช.ต้องลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง สปช.และ กมธ.ยกร่างฯ ก็ตายตกตามกันไป เริ่มต้นกันใหม่ ตั้ง สปช.และ กมธ.ยกร่างฯ ใหม่ทั้งหมด ส่วน คสช.และ ครม.ก็อยู่ต่อไปอีก 1 ปี แต่ถ้า สปช.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในวันที่ 4 ก.ย. ซึ่งหากไม่มีการทำประชามติ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือน ก.พ.หรือต้นเดือน มี.ค.2559 แต่ถ้ามีการทำประชามติ การเลือกตั้งก็จะเลื่อนออกไปอีกประมาณ 3 เดือน โดยหากทำประชามติ ต้องให้ คสช. และ ครม. เห็นชอบ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 ก่อนวันที่ 6 ส.ค. ถ้าแก้หลังวันที่ 6 ส.ค.จะวุ่นวาย
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการยื่นคำขอแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญของ ครม.ว่า กมธ.ยกร่างฯ ส่งร่างรัฐธรรมนูญให้ ครม.แล้ว เปิดโอกาสให้ส่งคำขอแก้ไขภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.-25 พ.ค. ซึ่ง ครม.ได้ให้ทุกกระทรวงส่งความเห็นกลับมายังตนในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายรัฐบาลภายในวันที่ 14 พ.ค. จากนั้นวันที่ 15-25 พ.ค. คณะทำงานจะได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรส่งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ หลังจากนั้น กมธ.ยกร่างฯ อาจเชิญ ครม.ไปชี้แจง
นายวิษณุ ยังตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณี กมธ.ยกร่างฯ ส่วนใหญ่และ สปช.เห็นว่าควรทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญด้วยว่า “เป็นเรื่องที่ ครม.และ คสช.เป็นผู้ตัดสินใจ กมธ.ยกร่างฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นว่าอะไรทั้งนั้น เพราะการทำประชามติหรือไม่ทำประชามติ ไม่ใช่เรื่องหรือหน้าที่ของ กมธ.ยกร่างฯ เลย ...แต่ถ้าอยากเสนอมาก็ไม่ว่ากัน แต่ไม่มีน้ำหนักอะไร...” นายวิษณุ ยังย้ำด้วยว่า การจะทำประชามติได้ ต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพราะจะกระทบต่อเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมาออกคำสั่งเพื่อรองรับการทำประชามติได้
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า ไปดูรัฐธรรมนูญเขียนว่าอย่างไร ไม่ได้เขียนให้ทำประชามติ ถ้าจะทำก็ไปแก้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว คนตัดสินใจไม่ใช่ตน แต่อยู่ที่ กมธ.ยกร่างฯ และ สปช. บอกแล้วไม่ได้มีอำนาจสั่งเขาตรงนั้น
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกตลอด 7 วันว่า ถ้าทาง กมธ.ยกร่างฯ รับฟังเสียงท้วงติงทั้งในและนอก สปช.จะเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งตนยืนยันว่า ต้องตัดมาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษ ถ้าไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้ถือว่า ผ่านความเห็นชอบ และการให้อำนาจนายกฯ ยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวเองได้ โดยที่ฝ่ายค้านจะไม่สามารถดำเนินการได้ในสมัยประชุมนั้น เพราะถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเผด็จการรัฐสภาที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ “ส่วนอำนาจของคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองฯ 15 คนที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ การกำหนดอำนาจหน้าที่ใน (6) ที่ระบุว่า กรรมการสามารถอภัยโทษให้กับผู้ให้ข้อมูลที่ประโยชน์ หรือสำนึกผิดต่อกรรมการและก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ครม.นั้น จะเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงแน่นอน ผมไม่เข้าใจว่าเหตุใด กมธ.ยกร่างฯ จึงไม่เรียนรู้จากวิกฤตประเทศที่ผ่านมาว่า ประชาชนต่อต้านการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ทำผิดร้ายแรง แม้แต่มาตรา 182 ที่ให้นายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษได้ 1 ฉบับต่อ 1 สมัยประชุม อาจมีเจตนาเดียวกันคือ ให้เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมได้”
นายอภิสิทธิ์ ยังเตือนด้วยว่า หากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงร่างรัฐธรรมนูญและไม่มีการลงประชามติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะกลายเป็นระเบิดเวลาประเทศไทยที่สร้างความขัดแย้งไม่เบาไปกว่าในอดีต และความตั้งใจของ คสช.ในการทำรัฐประหารก็จะสูญเปล่า
3.“PEACE TV” จอดำแล้ว หลัง กสท.ถอนใบอนุญาต เหตุละเมิดข้อตกลงซ้ำซาก ด้าน “จตุพร” ขู่ฟ้องทั้งแพ่ง-อาญา ด้าน “ฟ้าวันใหม่” หวั่นซ้ำรอย!
เมื่อวันที่ 27 เม.ย.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ได้ประชุมและมีมติ 4 : 1 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ PEACE TV โดยเสียงข้างน้อยคือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ซึ่งต่อมา พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธาน กสท. ได้เผยผ่านทวิตเตอร์ถึงมติของ กสท.ดังกล่าวว่า บอร์ด กสท.ได้พิจารณาข้อร้องเรียนในการออกอากาศของ PEACE TV ที่ไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงที่ทางบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด ทำไว้กับทาง กสทช. โดยภายหลังการพิจารณา บอร์ด กสท.มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของ PEACE TV
โดยสาเหตุสืบเนื่องจากหลังเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 ได้มีช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียมจำนวนหนึ่งถูกยุติการออกอากาศตามคำสั่ง คสช. เนื่องจากออกอากาศเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมืองของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง แต่ต่อมา ช่องรายการเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศอีกครั้ง โดยจะต้องยอมรับข้อตกลงกับทาง กสทช. ไม่ออกอากาศเนื้อหาที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างความแตกแยก
ซึ่ง PEACE TV ก็ได้ทำข้อตกลงดังกล่าว และที่ผ่านมา มีข้อร้องเรียนการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อตกลง ซึ่ง กสทช.ได้ตักเตือน ทำความเข้าใจหลายครั้ง แต่ PEACE TV ก็ยังคงนำเสนอเนื้อหาในลักษณะเดิม กระทั่งเมื่อวันที่ 23 มี.ค. กสท.ได้มีมติให้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติตามกหมายและข้อตกลง แต่ต่อมา PEACE TV ก็ยังคงออกอากาศรายการที่ขัดต่อข้อตกลงดังกล่าวอีก กสท.จึงได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 30 มี.ค. ให้พักใช้ใบอนุญาต PEACE TV และต้องยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 10-17 เม.ย.
แต่เมื่อ PEACE TV กลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. ได้มีการออกอากาศเนื้อหาในลักษณะละเมิดข้อตกลงอีก ดังนั้นสำนักงาน กสทช.จึงได้นำเสนอวาระต่อที่ประชุม กสท.เพื่อพิจารณาและมีมติเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) 1 ในผู้บริหาร PEACE TV กล่าวถึงมติของ กสท.ในวันเดียวกัน(27 เม.ย.) ว่า ฝ่ายกฎหมายกำลังจะดำเนินการคัดค้านหรือปกป้องสิทธิ โดยอาจจะยื่นอุทธรณ์มติของ กสท.หรือไปที่ศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว พร้อมเชื่อว่า มติ กสท.มาจากอำนาจที่เหนือ กสท. โดยมีธงที่จะเพิกถอน PEACE TV ตั้งแต่ให้ PEACE TV หยุดออกอากาศชั่วคราวก่อนหน้านี้แล้ว เปรียบเหมือนการให้ใบเหลืองก่อน เพื่อสร้างความชอบธรรมในการให้ใบแดง
วันต่อมา(28 เม.ย.) นายสุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิและเสรีภาพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เรียกร้องให้ กสท. ทบทวนมติที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาต PEACE TV โดยอ้างว่า น่าจะเป็นการใช้อำนาจที่ผิดขั้นตอน เพราะแม้การออกอากาศของ PEACE TV จะมีปัญหามาหลายครั้ง และทาง กสท. มีขั้นตอนลงโทษมาโดยตลอด แต่ ในกระบวนการลงโทษยังมีมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2550 ของ กสทช. ดังนั้น ทาง กสท. ควรจะยึดการดำเนินการตามขั้นตอนให้ชัด มิฉะนั้น ทาง กสท. เองจะโดนตั้งคำถามว่าเลือกปฏิบัติหรือไม่ “ส่วนสถานีโทรทัศน์ PEACE TV เองก็ต้องตระหนักว่า แม้สื่อจะมีเสรีภาพ แต่ก็ต้องรับผิดชอบต่อเสรีภาพที่แสดงออกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังต้องการความเข้าใจที่จะนำไปสู่การปฏิรูปและปรองดอง”
ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.กล่าวเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ว่า จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.เพื่อขอความเป็นธรรมให้ PEACE TV ในวันที่ 30 เม.ย. และว่า ส่วนตัวจะแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท ฟ้องทั้งแพ่งและอาญา กรรมการ กสท. 4 คน ที่ลงมติเพิกถอนใบอนุญาต เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จ รวมทั้งจะร้องศาลปกครอง รวมถึงองค์กรสื่อต่างประเทศ และยื่นถวายฎีกา ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงกำหนด(30 เม.ย.) นายจตุพรไม่ได้เดินทางไปยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ พล.อ.ประยุทธ์ แต่อย่างใด มีเพียงกลุ่มผู้ดำเนินรายการของ PEACE TV มายื่นแทน โดยมีนายพีระ ทองโพธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เป็นตัวแทนรับเรื่อง
ด้าน พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ คสช.กล่าวถึงกรณี กสท.มีมติเพิกถอนใบอนุญาต PEACE TV ว่า กสทช.เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมอยู่ ถ้าสิ่งใดไม่ถูกต้อง ผิดกติกา ผิดกฎหมาย รวมทั้งเสนอข่าวที่ทำให้เกิดความแตกแยก โจมตีกัน เจ้าหน้าที่รัฐคงยอมไม่ได้ ต้องดำเนินการไปตามนั้น
ทั้งนี้ ช่วงค่ำวันเดียวกัน(30 เม.ย.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "คำสั่งด่วน PEACE TV จอดำตั้งแต่ 20.30 น.เป็นต้นไป" ซึ่งเมื่อใกล้ถึงเวลาดังกล่าว ผู้ดำเนินรายการของทางสถานี ได้กล่าวกับผู้ชมทั้งน้ำตา เพราะไม่รู้มาก่อนว่าจะเป็นวันสุดท้ายของ PEACE TV โดยยืนยันจะอยู่กับผู้ชมจนกว่าจะจอดำ ซึ่งเมื่อถึงเวลา 20.30 น. สถานีดาวเทียมไทยคมจึงได้ตัดสัญญาณ PEACE TV
อย่างไรก็ตาม วันต่อมา(1 พ.ค.) ผู้บริหาร PEACE TV ได้ออกแถลงการณ์ว่า กสท.กลั่นแกล้ง ยัดเยียดข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ เพื่อเพิกถอนใบอนุญาต โดยไม่ให้โอกาส PEACE TV ได้ชี้แจง ดังนั้น PEACE TV จะดำเนินการทางกฎหมายทุกวิถีทาง เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมตามกระบวนการการยุติธรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทางผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ "ฟ้าวันใหม่" (บลูสกายเดิม) ซึ่งถูกมองว่าเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ก็หวั่นว่าจะถูก กสท.สั่งปิดเช่นเดียวกับ PEACE TV สังเกตได้จากนายเถกิง สมทรัพย์ และนายวิทเยนทร์ มุตตามระ กรรมการบริหาร บริษัท บลูสกาย แชนแนล จำกัด ในฐานะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ “ฟ้าวันใหม่” ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ กสท. ทำนองว่า คณะอนุกรรมการด้านเนื้อหาและกำกับรายการของ กสทช.ได้เชิญเข้าชี้แจงเนื้อหารายการของทางสถานีเมื่อวันที่ 27 เม.ย. โดยกล่าวหาว่า มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนเข้าใจผิดก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม เป็นการออกอากาศเนื้อหารายการที่อาจขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับที่ 97 และ 103 ซึ่งผู้บริหารฟ้าวันใหม่ ยืนยันว่า รายการของทางสถานีเสนอข้อมูลที่เป็นความจริง ไม่ได้สร้างความแตกแยก พร้อมระบุว่า คณะอนุกรรมการ กล่าวหาหลายรายการ แต่ไม่ได้ให้โอกาสชี้แจงทุกรายการ จึงเกรงว่า หากทางสถานีถูก กสท.สั่งพักหรือสั่งปิดสถานีขึ้นมา จะเป็นการข้ามขั้นตอน เนื่องจากทางสถานียังไม่เคยได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรจาก กสท.แต่อย่างใด
4.ศาลไม่รู้ใครยิง “วสุ” การ์ด คปท.ดับ ขณะที่แม่ตั้งรางวัลนำจับ 1 ล้าน ส่วนช่างภาพชาวญี่ปุ่น -2 นปช. ตายจากกระสุนความเร็วสูง ไม่รู้ใครยิงเช่นกัน!
เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ศาลอาญา ได้นัดฟังคำสั่งชันสูตรพลิกศพคดีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของนายวสุ สุฉันทบุตร การ์ดเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฎิรูปประเทศไทย(คปท.) เพื่อทำคำสั่งว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด รวมถึงเหตุ และพฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งนายวสุถูกยิงจากเหตุการณ์ปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดงเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2556
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานต่างเบิกความยืนยันว่านายวสุเข้าไปที่กระทรวงแรงงาน และถูกยิงบริเวณสำนักงานประกันสังคม ขณะที่แพทย์ที่ชันสูตรพลิกศพ ระบุว่าพบบาดแผลฉีกขาดบริเวณหน้าท้องใต้ชายโครงซ้าย และทะลุด้านหลังขวา วิถีกระสุนมาจากด้านหน้าไปหลัง และซ้ายไปขวา แต่ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าคนร้ายเป็นใคร ศาลจึงมีคำสั่งว่า นายวสุเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2556 และเสียเลือดมากจากบาดแผลที่ถูกยิงบริเวณช่องท้อง ขณะเดินอยู่บนถนนหน้าสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน โดยไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ยิง
ด้านนางทิพอาภา สุฉันทบุตร มารดาของนายวสุ กล่าวว่า ขอน้อมรับคำสั่งศาล แม้ว่าจะไม่ได้ชี้ชัดว่าใครเป็นคนร้าย พร้อมวิงวอนตำรวจให้ติดตามคนร้ายมาดำเนินคดีให้ได้ และว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยได้รับการเยียวยาหลังลูกชายเสียชีวิต นางทิพอาภา ยังประกาศด้วยว่า หากผู้ใดแจ้งเบาะแสจนสามารถจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีได้ ทางครอบครัวพร้อมจะมอบเงิน 1 ล้านบาท เป็นการตอบแทน โดยขณะนี้ยังไม่ได้ยื่นฟ้องดำเนินคดีใคร
ทั้งนี้ วันเดียวกัน(30 เม.ย.) ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำสั่งในคดีการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์ ผู้ตายที่ 1 , นายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ตายที่ 2 และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ตายที่ 3 แนวร่วม นปช. หลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 โดยศาลชี้ว่า จากพยานหลักฐาน และผลชันสูตรพลิกศพจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงปากคำจากพยานในที่เกิดเหตุ จึงมีคำสั่งว่านายฮิโรยูกิ ถูกยิงด้วยกระสุนปืนที่มีความเร็วสูงไม่ทราบชนิด เข้าที่ทรวงอกซ้ายบน ส่วนนายวสันต์ ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงเข้าที่ศีรษะ และนายทศชัย ถูกยิงด้วยกระสุนปืนเข้าที่ทรวงอกด้านหลังซ้าย โดยผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ราย ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ตายทั้ง 3 ถูกยิงมาจากทิศทางใด ด้านทนายความของผู้เสียชีวิต ยอมรับคำสั่งศาล และจะขอหารือกับทางครอบครัวผู้เสียชีวิตก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
5.“บิ๊กตู่” ใช้อำนาจ ม.44 ออกคำสั่งแก้ปัญหาอียูให้ใบเหลืองประมงไทย และแก้ปัญหาหวยแพง”!
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมว่า จากการที่ประเทศไทยได้รับการประกาศเตือนจากสหภาพยุโรป(อียู) ถึงการจัดให้มีมาตรการในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(ไอยูยู) หรือให้ใบเหลืองประมงไทย หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเร่งด่วนภายใน 6 เดือน อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทย ดังนั้น เพื่อให้สามารถเร่งแก้ปัญหา จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มีคำสั่ง 23 ข้อ
โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.) ซึ่งเป็นศูนย์เฉพาะกิจ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการศูนย์ โดยให้คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในระดับรัฐบาล และให้กองทัพเรือและศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของ ศปมผ.ในการปฏิบัติการทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน ขอให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก และศูนย์ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จ ประจำในแต่ละจังหวัดชายทะเล ตามที่ ศปมผ.กำหนดด้วย
ส่วนเจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ขึ้นไป หรือตามขนาดที่ ศปมผ.กำหนด ต้องจัดทำสมุดบันทึกการทำประมง ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง(VMS) และต้องแจ้งการเข้า-ออกท่าเทียบเรือทุกครั้ง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก
และห้ามมิให้ผู้ใดนำเรือประมงต่างประเทศ หรือเรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็นที่อยู่ในบัญชีเรือที่ห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ ศปมผ.กำหนด เข้ามาเทียบท่าในราชอาณาจักร หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีโทษจำคุกด้วย ผู้ใดกระทำผิดตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ถ้ากระทำความผิดนั้นซ้ำอีก ต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายว่า การแก้ปัญหาประมงเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ตนเพียงใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้เจ้าหน้าที่ที่ถือกฎหมายคนละฉบับ มาทำงานร่วมกัน และให้กองทัพเรือเป็นแกนหลักในการดำเนินการจดทะเบียน ตรวจตรา ออกอาชญาบัตร หากใครออกไม่ได้ต้องดูเหตุผลว่าเพราะอะไร เมื่อถามว่า กรณีนี้จะสามารถแก้ปัญหาใบเหลืองจากไอยูยูได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ทุกอย่างอยู่กับเขา ...แล้วแต่เขาจะเมตตาแล้วกัน เพราะเขาเป็นองค์กรระดับโลก ...ถามว่าผมหวังว่าเขาจะให้ผ่านหรือไม่ ผมก็หวัง ซึ่งอาจจะเป็น 6 เดือน หรือ1 ปี ก็ได้ ไม่ต้องตกใจ ใบเหลืองก็คือใบเหลือง สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้โดนใบแดง เขาอาจจะให้ใบเหลือง 2ใบก็ได้"
นอกจาก พล.อ.ประยุทธ์ จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเพื่อแก้ปัญหากรณีอียูให้ใบเหลืองประมงไทยแล้ว ล่าสุด ยังได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเพื่อแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาด้วย โดยเมื่อวันที่ 1 พ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งดังกล่าวของหัวหน้า คสช. โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง และมิให้แต่งตั้งคณะกรรมการใหม่ จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากหัวหน้า คสช. , ให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกอบด้วย ผู้ที่หัวหน้า คสช.แต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ , กรณีที่เห็นสมควร หัวหน้า คสช.อาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ , ให้จัดตั้งกองทุนสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อพัฒนาสังคม เพื่อเป็นทุนสำหรับใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาด้วย โดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯลฯ
1.“ในหลวง-พระราชินี” ส่งสาส์นแสดงความเสียใจแผ่นดินไหวเนปาล พร้อมพระราชทานเงินช่วยเหลือ 10 ล้าน!
เมื่อวันที่ 25 เม.ย. เวลาประมาณ 13.10 น. ตามเวลาในไทย หรือประมาณเที่ยงวันตามเวลาในประเทศเนปาล ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงถึง 7.9 ตามมาตราริกเตอร์ที่เนปาล โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองโพครา เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศไปทางตะวันออกประมาณ 80 กิโลเมตร ซึ่งแรงสั่นสะเทือนไปถึงประเทศข้างเคียงอย่างอินเดียและจีนด้วย
ทั้งนี้ ความแรงของแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปีของประเทศเนปาล พบผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 6,600 ศพ ขณะที่ผู้บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 14,000 คน สำหรับการกู้ภัยเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากหลายพื้นที่ยากต่อการเข้าถึง ด้านสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ประเมินว่า มีบ้านเรือนประชาชนพังย่อยยับกว่า 70,000 หลัง ส่วนอีก 530,000 หลังได้รับความเสียหาย ขณะที่หอคอยดาราฮารา ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงกาฐมาณฑุ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ก็พังถล่มลงมา รวมทั้งมีรายงานหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จนทำให้มีนักท่องเที่ยวนักปีนเขาเสียชีวิตด้วยหลายราย ซึ่ง 1 ในนั้นคือ น.ส.มาริสา จิระวงศ์ หรือน้องอีฟ วัย 29 ปี ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ให้กับกลุ่มปีนเขาเมดิสันเมาน์เทนเนียริง บริเวณเขาเอเวอเรสต์
หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเนปาล หลายประเทศต่างพร้อมใจกันช่วยเหลือ ทั้งเงินบริจาค-สิ่งของ รวมทั้งทีมกู้ภัยและแพทย์ที่ถูกส่งเข้าไปช่วยเหลือ โดยในส่วนของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล รวมทั้งพระราชทานเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติชาวเนปาลจำนวน 10 ล้านบาท ขณะที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้มอบเงิน 600,000 บาท เพื่อช่วยเนปาลเช่นกัน โดยสมทบเข้ากองทุนช่วยเหลือชาวเนปาลผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่รัฐบาลเปิดบัญชีให้ประชาชนช่วยกันบริจาคคือ บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” เลขที่บัญชี 067-0-10330-6
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ประเดิมบริจาคช่วยผู้ประสบภัยผ่านบัญชีดังกล่าวจำนวน 100,000 บาท ขณะที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือเนปาล โดยให้หักจากบัญชีค่าตอบแทนของ สปช.คนละ 2,000 บาท โดยเงินทั้งหมดมอบผ่านรัฐบาล
ทั้งนี้ นอกจากรัฐบาลได้อนุมัติเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประเทศเนปาลจำนวน 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านบาทแล้ว ยังได้ส่งความช่วยเหลือเพิ่มอีก โดยกองทัพอากาศได้ส่งเจ้าหน้าที่จำนวน 67 นาย พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ไปช่วยเนปาลเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านดาวเทียม ชุดช่วยเหลือฟื้นฟูภัยพิบัติ และหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมกับส่งเวชภัณฑ์ เครื่องมือสื่อสาร อาหารปรุงสำเร็จ การประปาสนาม เครื่องปั่นไฟฟ้า และเครื่องค้นหาการช่วยชีวิต นอกจากนี้ที่ประชุม ครม.ยังได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 100 ล้านบาท เพื่อใช้ในการช่วยเหลือเนปาลและคนไทยในเนปาล ขณะที่อีกหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างเปิดบัญชีเพื่อรับบริจาคช่วยเหลือเนปาลเช่นกัน
2.สปช.พอใจอภิปรายร่างแรก ด้าน “อภิสิทธิ์” ลั่น ต้องตัด ม.181-182 เหตุเอื้อเผด็จการรัฐสภา “บวรศักดิ์” ชี้ ทำประชามติต้องแก้ รธน.ชั่วคราว!
เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นายวันชัย สอนศิริ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ(วิป สปช.) แถลงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระหว่างวันที่ 20-26 เม.ย.ว่า เป็นการประชุมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ และว่า ขั้นตอนต่อไป สปช.จะรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ รวมทั้งส่งคำขอแก้ไขเพิ่มเติมของ สปช.ต่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 30 วัน เพื่อให้ กมธ.ยกร่างฯ นำคำขอไปประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนส่งกลับมาให้ สปช.พิจารณาอีกครั้งในเดือน ส.ค.
ด้านนายบวรศักดิ์ เผยว่า หลังจากนี้จะเปิดโอกาสให้ สปช.ยื่นญัตติคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมาถึง กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 25 พ.ค. จากนั้นวันที่ 1-6 มิ.ย. จะเชิญผู้ขอแปรญัตติแก้ไขมาชี้แจงต่อ กมธ.ยกร่างฯ และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 มิ.ย. หากมีเวลา จะเชิญพรรคการเมืองมาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย จึงจะเป็นร่างสุดท้าย ก่อนเสนอไปยัง สปช.อีกครั้งเพื่อให้ลงมติในวันที่ 6 ส.ค. “อยากเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน อย่างน้อย 5 ปี แล้วค่อยแก้ไข ถ้าบ้านเมืองเกิดความปรองดอง อาจจะกลับมาแก้ให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง โดยมีเสียงในรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่งก็สามารถทำได้ และยังเห็นด้วยที่ให้มีการจัดตั้งกลุ่มการเมือง ซึ่งผมเข้าใจว่าหลายพรรคการเมืองกลัวคนที่มีศักยภาพของพรรคตัวเองจะออกมา แต่อยากให้นึกถึงคนที่ไม่มีเงินตั้งพรรคการเมือง และต้องไปหาสมาชิกอีก 5,000 จึงเห็นว่าควรมีกลุ่มการเมืองและจดทะเบียน โดยอาจมีเงื่อนไขน้อยกว่าพรรคการเมือง”
นายบวรศักดิ์ ยังย้ำด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายที่แก้ไขไม่ได้แล้ว จะต้องเสร็จภายในวันที่ 23 ก.ค. และหลังจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ 15 วัน คือวันที่ 6 ส.ค. สปช.ต้องลงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง สปช.และ กมธ.ยกร่างฯ ก็ตายตกตามกันไป เริ่มต้นกันใหม่ ตั้ง สปช.และ กมธ.ยกร่างฯ ใหม่ทั้งหมด ส่วน คสช.และ ครม.ก็อยู่ต่อไปอีก 1 ปี แต่ถ้า สปช.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในวันที่ 4 ก.ย. ซึ่งหากไม่มีการทำประชามติ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือน ก.พ.หรือต้นเดือน มี.ค.2559 แต่ถ้ามีการทำประชามติ การเลือกตั้งก็จะเลื่อนออกไปอีกประมาณ 3 เดือน โดยหากทำประชามติ ต้องให้ คสช. และ ครม. เห็นชอบ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 ก่อนวันที่ 6 ส.ค. ถ้าแก้หลังวันที่ 6 ส.ค.จะวุ่นวาย
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการยื่นคำขอแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญของ ครม.ว่า กมธ.ยกร่างฯ ส่งร่างรัฐธรรมนูญให้ ครม.แล้ว เปิดโอกาสให้ส่งคำขอแก้ไขภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.-25 พ.ค. ซึ่ง ครม.ได้ให้ทุกกระทรวงส่งความเห็นกลับมายังตนในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายรัฐบาลภายในวันที่ 14 พ.ค. จากนั้นวันที่ 15-25 พ.ค. คณะทำงานจะได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรส่งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ หลังจากนั้น กมธ.ยกร่างฯ อาจเชิญ ครม.ไปชี้แจง
นายวิษณุ ยังตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณี กมธ.ยกร่างฯ ส่วนใหญ่และ สปช.เห็นว่าควรทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญด้วยว่า “เป็นเรื่องที่ ครม.และ คสช.เป็นผู้ตัดสินใจ กมธ.ยกร่างฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นว่าอะไรทั้งนั้น เพราะการทำประชามติหรือไม่ทำประชามติ ไม่ใช่เรื่องหรือหน้าที่ของ กมธ.ยกร่างฯ เลย ...แต่ถ้าอยากเสนอมาก็ไม่ว่ากัน แต่ไม่มีน้ำหนักอะไร...” นายวิษณุ ยังย้ำด้วยว่า การจะทำประชามติได้ ต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพราะจะกระทบต่อเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมาออกคำสั่งเพื่อรองรับการทำประชามติได้
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า ไปดูรัฐธรรมนูญเขียนว่าอย่างไร ไม่ได้เขียนให้ทำประชามติ ถ้าจะทำก็ไปแก้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว คนตัดสินใจไม่ใช่ตน แต่อยู่ที่ กมธ.ยกร่างฯ และ สปช. บอกแล้วไม่ได้มีอำนาจสั่งเขาตรงนั้น
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกตลอด 7 วันว่า ถ้าทาง กมธ.ยกร่างฯ รับฟังเสียงท้วงติงทั้งในและนอก สปช.จะเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งตนยืนยันว่า ต้องตัดมาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษ ถ้าไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้ถือว่า ผ่านความเห็นชอบ และการให้อำนาจนายกฯ ยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวเองได้ โดยที่ฝ่ายค้านจะไม่สามารถดำเนินการได้ในสมัยประชุมนั้น เพราะถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเผด็จการรัฐสภาที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ “ส่วนอำนาจของคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองฯ 15 คนที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ การกำหนดอำนาจหน้าที่ใน (6) ที่ระบุว่า กรรมการสามารถอภัยโทษให้กับผู้ให้ข้อมูลที่ประโยชน์ หรือสำนึกผิดต่อกรรมการและก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ครม.นั้น จะเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงแน่นอน ผมไม่เข้าใจว่าเหตุใด กมธ.ยกร่างฯ จึงไม่เรียนรู้จากวิกฤตประเทศที่ผ่านมาว่า ประชาชนต่อต้านการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ทำผิดร้ายแรง แม้แต่มาตรา 182 ที่ให้นายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษได้ 1 ฉบับต่อ 1 สมัยประชุม อาจมีเจตนาเดียวกันคือ ให้เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมได้”
นายอภิสิทธิ์ ยังเตือนด้วยว่า หากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงร่างรัฐธรรมนูญและไม่มีการลงประชามติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะกลายเป็นระเบิดเวลาประเทศไทยที่สร้างความขัดแย้งไม่เบาไปกว่าในอดีต และความตั้งใจของ คสช.ในการทำรัฐประหารก็จะสูญเปล่า
3.“PEACE TV” จอดำแล้ว หลัง กสท.ถอนใบอนุญาต เหตุละเมิดข้อตกลงซ้ำซาก ด้าน “จตุพร” ขู่ฟ้องทั้งแพ่ง-อาญา ด้าน “ฟ้าวันใหม่” หวั่นซ้ำรอย!
เมื่อวันที่ 27 เม.ย.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ได้ประชุมและมีมติ 4 : 1 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของสถานีโทรทัศน์ PEACE TV โดยเสียงข้างน้อยคือ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ซึ่งต่อมา พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธาน กสท. ได้เผยผ่านทวิตเตอร์ถึงมติของ กสท.ดังกล่าวว่า บอร์ด กสท.ได้พิจารณาข้อร้องเรียนในการออกอากาศของ PEACE TV ที่ไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงที่ทางบริษัท พีซ เทเลวิชั่น จำกัด ทำไว้กับทาง กสทช. โดยภายหลังการพิจารณา บอร์ด กสท.มีมติให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของ PEACE TV
โดยสาเหตุสืบเนื่องจากหลังเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 ได้มีช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียมจำนวนหนึ่งถูกยุติการออกอากาศตามคำสั่ง คสช. เนื่องจากออกอากาศเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมืองของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง แต่ต่อมา ช่องรายการเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศอีกครั้ง โดยจะต้องยอมรับข้อตกลงกับทาง กสทช. ไม่ออกอากาศเนื้อหาที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง และสร้างความแตกแยก
ซึ่ง PEACE TV ก็ได้ทำข้อตกลงดังกล่าว และที่ผ่านมา มีข้อร้องเรียนการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อตกลง ซึ่ง กสทช.ได้ตักเตือน ทำความเข้าใจหลายครั้ง แต่ PEACE TV ก็ยังคงนำเสนอเนื้อหาในลักษณะเดิม กระทั่งเมื่อวันที่ 23 มี.ค. กสท.ได้มีมติให้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ปฏิบัติตามกหมายและข้อตกลง แต่ต่อมา PEACE TV ก็ยังคงออกอากาศรายการที่ขัดต่อข้อตกลงดังกล่าวอีก กสท.จึงได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 30 มี.ค. ให้พักใช้ใบอนุญาต PEACE TV และต้องยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 10-17 เม.ย.
แต่เมื่อ PEACE TV กลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันที่ 18 เม.ย. ได้มีการออกอากาศเนื้อหาในลักษณะละเมิดข้อตกลงอีก ดังนั้นสำนักงาน กสทช.จึงได้นำเสนอวาระต่อที่ประชุม กสท.เพื่อพิจารณาและมีมติเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าว
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) 1 ในผู้บริหาร PEACE TV กล่าวถึงมติของ กสท.ในวันเดียวกัน(27 เม.ย.) ว่า ฝ่ายกฎหมายกำลังจะดำเนินการคัดค้านหรือปกป้องสิทธิ โดยอาจจะยื่นอุทธรณ์มติของ กสท.หรือไปที่ศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว พร้อมเชื่อว่า มติ กสท.มาจากอำนาจที่เหนือ กสท. โดยมีธงที่จะเพิกถอน PEACE TV ตั้งแต่ให้ PEACE TV หยุดออกอากาศชั่วคราวก่อนหน้านี้แล้ว เปรียบเหมือนการให้ใบเหลืองก่อน เพื่อสร้างความชอบธรรมในการให้ใบแดง
วันต่อมา(28 เม.ย.) นายสุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิและเสรีภาพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เรียกร้องให้ กสท. ทบทวนมติที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาต PEACE TV โดยอ้างว่า น่าจะเป็นการใช้อำนาจที่ผิดขั้นตอน เพราะแม้การออกอากาศของ PEACE TV จะมีปัญหามาหลายครั้ง และทาง กสท. มีขั้นตอนลงโทษมาโดยตลอด แต่ ในกระบวนการลงโทษยังมีมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2550 ของ กสทช. ดังนั้น ทาง กสท. ควรจะยึดการดำเนินการตามขั้นตอนให้ชัด มิฉะนั้น ทาง กสท. เองจะโดนตั้งคำถามว่าเลือกปฏิบัติหรือไม่ “ส่วนสถานีโทรทัศน์ PEACE TV เองก็ต้องตระหนักว่า แม้สื่อจะมีเสรีภาพ แต่ก็ต้องรับผิดชอบต่อเสรีภาพที่แสดงออกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังต้องการความเข้าใจที่จะนำไปสู่การปฏิรูปและปรองดอง”
ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.กล่าวเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ว่า จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.เพื่อขอความเป็นธรรมให้ PEACE TV ในวันที่ 30 เม.ย. และว่า ส่วนตัวจะแจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท ฟ้องทั้งแพ่งและอาญา กรรมการ กสท. 4 คน ที่ลงมติเพิกถอนใบอนุญาต เพราะเป็นข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จ รวมทั้งจะร้องศาลปกครอง รวมถึงองค์กรสื่อต่างประเทศ และยื่นถวายฎีกา ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงกำหนด(30 เม.ย.) นายจตุพรไม่ได้เดินทางไปยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ พล.อ.ประยุทธ์ แต่อย่างใด มีเพียงกลุ่มผู้ดำเนินรายการของ PEACE TV มายื่นแทน โดยมีนายพีระ ทองโพธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เป็นตัวแทนรับเรื่อง
ด้าน พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ คสช.กล่าวถึงกรณี กสท.มีมติเพิกถอนใบอนุญาต PEACE TV ว่า กสทช.เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมอยู่ ถ้าสิ่งใดไม่ถูกต้อง ผิดกติกา ผิดกฎหมาย รวมทั้งเสนอข่าวที่ทำให้เกิดความแตกแยก โจมตีกัน เจ้าหน้าที่รัฐคงยอมไม่ได้ ต้องดำเนินการไปตามนั้น
ทั้งนี้ ช่วงค่ำวันเดียวกัน(30 เม.ย.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "คำสั่งด่วน PEACE TV จอดำตั้งแต่ 20.30 น.เป็นต้นไป" ซึ่งเมื่อใกล้ถึงเวลาดังกล่าว ผู้ดำเนินรายการของทางสถานี ได้กล่าวกับผู้ชมทั้งน้ำตา เพราะไม่รู้มาก่อนว่าจะเป็นวันสุดท้ายของ PEACE TV โดยยืนยันจะอยู่กับผู้ชมจนกว่าจะจอดำ ซึ่งเมื่อถึงเวลา 20.30 น. สถานีดาวเทียมไทยคมจึงได้ตัดสัญญาณ PEACE TV
อย่างไรก็ตาม วันต่อมา(1 พ.ค.) ผู้บริหาร PEACE TV ได้ออกแถลงการณ์ว่า กสท.กลั่นแกล้ง ยัดเยียดข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จ เพื่อเพิกถอนใบอนุญาต โดยไม่ให้โอกาส PEACE TV ได้ชี้แจง ดังนั้น PEACE TV จะดำเนินการทางกฎหมายทุกวิถีทาง เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมตามกระบวนการการยุติธรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทางผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ "ฟ้าวันใหม่" (บลูสกายเดิม) ซึ่งถูกมองว่าเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ก็หวั่นว่าจะถูก กสท.สั่งปิดเช่นเดียวกับ PEACE TV สังเกตได้จากนายเถกิง สมทรัพย์ และนายวิทเยนทร์ มุตตามระ กรรมการบริหาร บริษัท บลูสกาย แชนแนล จำกัด ในฐานะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ “ฟ้าวันใหม่” ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อ กสท. ทำนองว่า คณะอนุกรรมการด้านเนื้อหาและกำกับรายการของ กสทช.ได้เชิญเข้าชี้แจงเนื้อหารายการของทางสถานีเมื่อวันที่ 27 เม.ย. โดยกล่าวหาว่า มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนเข้าใจผิดก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม เป็นการออกอากาศเนื้อหารายการที่อาจขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับที่ 97 และ 103 ซึ่งผู้บริหารฟ้าวันใหม่ ยืนยันว่า รายการของทางสถานีเสนอข้อมูลที่เป็นความจริง ไม่ได้สร้างความแตกแยก พร้อมระบุว่า คณะอนุกรรมการ กล่าวหาหลายรายการ แต่ไม่ได้ให้โอกาสชี้แจงทุกรายการ จึงเกรงว่า หากทางสถานีถูก กสท.สั่งพักหรือสั่งปิดสถานีขึ้นมา จะเป็นการข้ามขั้นตอน เนื่องจากทางสถานียังไม่เคยได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรจาก กสท.แต่อย่างใด
4.ศาลไม่รู้ใครยิง “วสุ” การ์ด คปท.ดับ ขณะที่แม่ตั้งรางวัลนำจับ 1 ล้าน ส่วนช่างภาพชาวญี่ปุ่น -2 นปช. ตายจากกระสุนความเร็วสูง ไม่รู้ใครยิงเช่นกัน!
เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ศาลอาญา ได้นัดฟังคำสั่งชันสูตรพลิกศพคดีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของนายวสุ สุฉันทบุตร การ์ดเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฎิรูปประเทศไทย(คปท.) เพื่อทำคำสั่งว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด รวมถึงเหตุ และพฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งนายวสุถูกยิงจากเหตุการณ์ปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดงเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2556
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานต่างเบิกความยืนยันว่านายวสุเข้าไปที่กระทรวงแรงงาน และถูกยิงบริเวณสำนักงานประกันสังคม ขณะที่แพทย์ที่ชันสูตรพลิกศพ ระบุว่าพบบาดแผลฉีกขาดบริเวณหน้าท้องใต้ชายโครงซ้าย และทะลุด้านหลังขวา วิถีกระสุนมาจากด้านหน้าไปหลัง และซ้ายไปขวา แต่ไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าคนร้ายเป็นใคร ศาลจึงมีคำสั่งว่า นายวสุเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2556 และเสียเลือดมากจากบาดแผลที่ถูกยิงบริเวณช่องท้อง ขณะเดินอยู่บนถนนหน้าสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน โดยไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ยิง
ด้านนางทิพอาภา สุฉันทบุตร มารดาของนายวสุ กล่าวว่า ขอน้อมรับคำสั่งศาล แม้ว่าจะไม่ได้ชี้ชัดว่าใครเป็นคนร้าย พร้อมวิงวอนตำรวจให้ติดตามคนร้ายมาดำเนินคดีให้ได้ และว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยได้รับการเยียวยาหลังลูกชายเสียชีวิต นางทิพอาภา ยังประกาศด้วยว่า หากผู้ใดแจ้งเบาะแสจนสามารถจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีได้ ทางครอบครัวพร้อมจะมอบเงิน 1 ล้านบาท เป็นการตอบแทน โดยขณะนี้ยังไม่ได้ยื่นฟ้องดำเนินคดีใคร
ทั้งนี้ วันเดียวกัน(30 เม.ย.) ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้มีคำสั่งในคดีการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพชาวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์ ผู้ตายที่ 1 , นายวสันต์ ภู่ทอง ผู้ตายที่ 2 และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ตายที่ 3 แนวร่วม นปช. หลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 โดยศาลชี้ว่า จากพยานหลักฐาน และผลชันสูตรพลิกศพจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงปากคำจากพยานในที่เกิดเหตุ จึงมีคำสั่งว่านายฮิโรยูกิ ถูกยิงด้วยกระสุนปืนที่มีความเร็วสูงไม่ทราบชนิด เข้าที่ทรวงอกซ้ายบน ส่วนนายวสันต์ ถูกยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูงเข้าที่ศีรษะ และนายทศชัย ถูกยิงด้วยกระสุนปืนเข้าที่ทรวงอกด้านหลังซ้าย โดยผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ราย ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ตายทั้ง 3 ถูกยิงมาจากทิศทางใด ด้านทนายความของผู้เสียชีวิต ยอมรับคำสั่งศาล และจะขอหารือกับทางครอบครัวผู้เสียชีวิตก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
5.“บิ๊กตู่” ใช้อำนาจ ม.44 ออกคำสั่งแก้ปัญหาอียูให้ใบเหลืองประมงไทย และแก้ปัญหาหวยแพง”!
เมื่อวันที่ 29 เม.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมว่า จากการที่ประเทศไทยได้รับการประกาศเตือนจากสหภาพยุโรป(อียู) ถึงการจัดให้มีมาตรการในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(ไอยูยู) หรือให้ใบเหลืองประมงไทย หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเร่งด่วนภายใน 6 เดือน อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทย ดังนั้น เพื่อให้สามารถเร่งแก้ปัญหา จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มีคำสั่ง 23 ข้อ
โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.) ซึ่งเป็นศูนย์เฉพาะกิจ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการศูนย์ โดยให้คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในระดับรัฐบาล และให้กองทัพเรือและศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของ ศปมผ.ในการปฏิบัติการทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน ขอให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก และศูนย์ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จ ประจำในแต่ละจังหวัดชายทะเล ตามที่ ศปมผ.กำหนดด้วย
ส่วนเจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ขึ้นไป หรือตามขนาดที่ ศปมผ.กำหนด ต้องจัดทำสมุดบันทึกการทำประมง ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง(VMS) และต้องแจ้งการเข้า-ออกท่าเทียบเรือทุกครั้ง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก
และห้ามมิให้ผู้ใดนำเรือประมงต่างประเทศ หรือเรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็นที่อยู่ในบัญชีเรือที่ห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ ศปมผ.กำหนด เข้ามาเทียบท่าในราชอาณาจักร หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีโทษจำคุกด้วย ผู้ใดกระทำผิดตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งนี้ ถ้ากระทำความผิดนั้นซ้ำอีก ต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายว่า การแก้ปัญหาประมงเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ตนเพียงใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้เจ้าหน้าที่ที่ถือกฎหมายคนละฉบับ มาทำงานร่วมกัน และให้กองทัพเรือเป็นแกนหลักในการดำเนินการจดทะเบียน ตรวจตรา ออกอาชญาบัตร หากใครออกไม่ได้ต้องดูเหตุผลว่าเพราะอะไร เมื่อถามว่า กรณีนี้จะสามารถแก้ปัญหาใบเหลืองจากไอยูยูได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ทุกอย่างอยู่กับเขา ...แล้วแต่เขาจะเมตตาแล้วกัน เพราะเขาเป็นองค์กรระดับโลก ...ถามว่าผมหวังว่าเขาจะให้ผ่านหรือไม่ ผมก็หวัง ซึ่งอาจจะเป็น 6 เดือน หรือ1 ปี ก็ได้ ไม่ต้องตกใจ ใบเหลืองก็คือใบเหลือง สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้โดนใบแดง เขาอาจจะให้ใบเหลือง 2ใบก็ได้"
นอกจาก พล.อ.ประยุทธ์ จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเพื่อแก้ปัญหากรณีอียูให้ใบเหลืองประมงไทยแล้ว ล่าสุด ยังได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเพื่อแก้ปัญหาการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาด้วย โดยเมื่อวันที่ 1 พ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งดังกล่าวของหัวหน้า คสช. โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง และมิให้แต่งตั้งคณะกรรมการใหม่ จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากหัวหน้า คสช. , ให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกอบด้วย ผู้ที่หัวหน้า คสช.แต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ , กรณีที่เห็นสมควร หัวหน้า คสช.อาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ , ให้จัดตั้งกองทุนสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อพัฒนาสังคม เพื่อเป็นทุนสำหรับใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาด้วย โดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฯลฯ