คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.นายกฯ รัสเซียเยือนไทยครั้งแรกในรอบ 25 ปี ก่อนลงนามความตกลงร่วม 5 ฉบับ “บิ๊กตู่” ชมรัสเซีย เพื่อนที่เข้าใจ!
เมื่อวันที่ 7-8 เม.ย.นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย ได้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย โดยเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีรัสเซียในรอบ 25 ปี ทั้งนี้ หลังรัฐบาลไทย นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีรัสเซียที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือและลงนามความตกลงทวิภาคีระหว่างกัน 5 ฉบับ หลังการลงนาม นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้เปิดแถลงร่วมกัน
โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวยืนยันเจตนารมณ์ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2560 ก็จะครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว และว่า การพัฒนาความสัมพันธ์จะอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยในเรื่องเศรษฐกิจ จะผลักดันการค้าระหว่างกันให้โตยิ่งขึ้น จากเดิมมูลค่าการค้าอยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า พร้อมเชิญชวนให้รัสเซียนำเข้าข้าว ยางพารา อาหารแช่แข็ง และสินค้าเกษตรอื่นๆ จากไทย นอกจากนี้ยังได้เชิญชวนให้รัสเซียเข้ามาแข่งขันประมูลโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ของไทยตามยุทธศาสตร์ที่ไทยวางไว้ ส่วนผู้ประกอบการของไทยก็สนใจไปลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอาหารในรัสเซีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนอย่างเต็มที่ ไม่เท่านั้นไทยและรัสเซียยังเห็นพ้องที่จะสานต่อความร่วมมือด้านพลังงาน ปิโตรเลียม และพัฒนาบุคลาการด้านนี้ ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว หวังว่าตัวเลขชาวรัสเซียที่มาเที่ยวเมืองไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนต่อปี
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวชื่นชมรัสเซียสำหรับมิตรภาพที่มอบให้ไทยในยามที่กำลังต้องการกำลังใจด้วย “คำว่าเพื่อนสำคัญที่สุด เมื่อเพื่อนมีปัญหาก็ต้องการแรงใจแรงหนุนจากเพื่อน วันนี้รัสเซียให้ความเป็นเพื่อน ผมก็จะรักษามิตรภาพนี้ไว้ ขอขอบคุณสำหรับทุกอย่างที่เข้าใจ” โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอให้นายกรัฐมนตรีรัสเซียนำคำเชิญไปยังนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ให้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นด้วย
ด้านนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า การหารือกับนายกรัฐมนตรีไทยครั้งนี้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ รวมทั้งได้ลงนามข้อตกลงด้านพลังงาน การเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ด้านวัฒนธรรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหุ้นส่วนที่เก่าที่สุดของรัสเซียในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และว่า อีก 2 ปี ที่จะมีการเฉลิมฉลองครบรอบ 120 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน รัสเซียจะรักษาประเพณี มิตรภาพ และความเคารพต่อกัน รวมทั้งจะได้ร่วมทำโครงการที่มีผลสำเร็จร่วมกัน นายกรัฐมนตรีรัสเซียยังได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมแสดงความมั่นใจว่า การหารือครั้งนี้จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยจะเชิญนายกรัฐมนตรีไทยเดินทางไปเยือนประเทศรัสเซียอย่างเป็นทางการต่อไป
ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ประเทศไทยเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน เพื่อตอบโต้ความสัมพันธ์ที่เฉื่อยชาลงของพันธมิตรเก่าแก่อย่างสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่นๆ หลังกองทัพยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว โดยสหรัฐฯ ได้ลดระดับความสัมพันธ์ทางทหารกับไทยหลังการรัฐประหาร
นายเดนิส มันดูรอฟ รัฐมนตรีพาณิชย์ของรัสเซีย ซึ่งร่วมคณะนายกรัฐมนตรีรัสเซียมาเยือนไทย กล่าวกับรอยเตอร์ว่า “เราคิดถึงประโยชน์ของฝ่ายไทยในการซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร เพื่อนของเราจากฝั่งตะวันตกของโลกกำลังละเลยไทย” เขายังกล่าวด้วยว่า ไทย-รัสเซียมีการเจรจาค้าขายด้านกลาโหม ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เครื่องบินทหาร ด้านการรถไฟและการบริการต่างๆ และว่า รัสเซียจะซื้อยางจากไทยอย่างน้อย 8 หมื่นตันในปี 2016 ซึ่งมากกว่าแผนเดิมที่จะซื้อในปี 2015 ถึง 4 เท่า โดยจะนำไปผลิตเป็นยางรถยนต์ต่อไป
2.หัวหน้า คสช.ใช้ ม.44 ออกคำสั่งแก้ปัญหารุกป่า ด้านป่าไม้โคราชเตรียมรื้อบ้าน-สนามแข่งรถ “โบนันซ่า” หลังพบรุกป่ากว่า 100 ไร่!
ความคืบหน้ากรณีชุดปฏิบัติการพิเศษกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับกรมป่าไม้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) กองทัพภาคที่ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) นำโดย พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม , พ.อ.สมหมาย บุษบา หัวหน้าคณะทำงานเพื่อความมั่นคง กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองทัพภาคที่ 2 และคณะ บุกเข้าตรวจสอบพื้นที่สนามแข่งรถอินเตอร์เนชั่นแนล โบนันซ่า สปีดเวย์ ซึ่งเป็นโครงการโบนันซ่าของนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ นักการเมืองและนักธุรกิจรายใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ 11 บ้านโบนันซ่า ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 31 มี.ค. และพบมีการก่อสร้างสนามแข่งรถและอาคารที่พักบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า เขานกยูง เขาอ่างหิน กว่า 100 ไร่นั้น
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นายมนศักดิ์ อารักษ์ ที่ดินจังหวัดนครราชสีมา เผยว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง ได้ลงสำรวจพื้นที่ของโบนันซ่า สรุปผลเบื้องต้นว่า พื้นที่สนามแข่งรถทั้งหมดของโบนันซ่าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ที่มีอยู่ ออกโดยมิชอบ ตนได้สั่งการให้กลุ่มงานวิชาการ สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง สำรวจว่าเอกสารสิทธิดังกล่าวได้มาเมื่อไหร่ จากหลักฐานใด อย่างไร และออกก่อนประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ หากได้มาหลังประกาศเขตป่าสงวนฯ ก็ต้องทำการเพิกถอน
วันต่อมา(8 เม.ย.) นายสุรวุฒิ ใจกิจสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 นครราชสีมา กรมป่าไม้ เผยความคืบหน้าการตรวจสอบที่ดินสนามแข่งรถโบนันซ่าว่า ขณะนี้ทางสำนักฯ ป่าไม้ที่ 8 ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ครบแล้ว เบื้องต้นพบว่า มีพื้นที่ถูกบุกรุก ทั้งที่เป็นเขตป่าสงวน และเขต ส.ป.ก.รวม 103 ไร่ ซึ่งผู้บุกรุกจะมีความผิดตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยทางสำนักป่าไม้ที่ 8 ได้สั่งไปยังหน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ นม.1(ปากช่อง) ในฐานะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ทำหนังสือแจ้งให้โบนันซ่าทำการรื้อถอนบ้านพัก 16 หลังที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสนามแข่งรถ แท็งก์น้ำ และพื้นที่ถนนในสนามแข่งรถ และจะเปิดโอกาสให้โบนันซ่าหาหลักฐานเอกสารสิทธิการครอบครองมาแสดงภายใน 15 วัน หากไม่มีเอกสารสิทธิมาแสดง ก็จะแจ้งให้ทำการรื้อถอนภายใน 30 วันต่อไป หากครบกำหนดแล้วยังไม่รื้อถอน ทางกรมป่าไม้จะเข้าทำการรื้อถอนเอง ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน มิ.ย.นี้
มีรายงานว่า ส.ป.ก. ได้เตรียมเข้าตรวจสอบการถือครองที่ดิน และการปลูกสร้างบ้านพักตากอากาศของพิธีกรชื่อดัง และอดีตอธิบดีคนดัง ที่บริเวณเขาใหญ่ และ จ.เชียงราย ที่ถือครองไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ เบื้องต้นพบการออกเอกสารสิทธิ ส.ค.1 และ น.ส.3 ทับพื้นที่ของ ส.ป.ก. ทั้งสองแห่ง โดยใส่ชื่อญาติและคนใกล้ชิดแทนชื่อตนเองในโฉนด
ด้านนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง กล่าวว่า พร้อมให้ตรวจสอบตามกฎหมาย และว่า ที่ดินดังกล่าวซื้อมาประมาณปี 2550-2551 โดยการแนะนำของนายวิกรม กรมดิษฐ์ นักธุรกิจชื่อดัง โดยซื้อทั้งหมด 5-6 แปลง จำนวน 8 ไร่เศษเท่านั้น เป็นการซื้อจากโครงการหมู่บ้านจัดสรร ติดถนนธนะรัชต์ มีโฉนดชัดเจน ไม่ใช่ 100 ไร่ อย่างที่มีข่าว และซื้อในนามตนเอง ไม่ได้ใส่ชื่อญาติ และว่า บ้านหลังนี้ตนตั้งใจซื้อให้มารดาไว้อยู่ เนื่องจากป่วย และไม่เคยปิดบังเรื่องบ้านหลังดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ออกคำสั่งที่ 4/2558 เรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนส่วนรวม โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีการฝ่าฝืนกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนส่วนรวมจำนวนมาก และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่เคร่งครัดและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในเรื่องต่างๆ เช่น การบุกรุกที่สาธารณะ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะกีดขวางทางจราจร ทำให้ประชาชนได้รับเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น จึงสมควรกำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น หัวหน้า คสช.จึงใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งดังนี้
1.ในกรณีที่จำเป็น รัฐมนตรีอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยแจ้งความประสงค์ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทหารไปปฏิบัติตามคำขอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาจขอให้หัวหน้า คสช.มีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายฉบับใดหรือหลายฉบับ เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายนั้นให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ 2.เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้น รวมทั้งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามกฎหมายอาญา 3.ให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทหาร ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมายนั้นๆ โดยเคร่งครัด และให้ดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ หากขัดขืนหรือไม่ให้ความร่วมมือจนก่อให้เกิดความเสียหายในการบังคับใช้กฎหมาย ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยร้ายแรง
3.ภาค ปชช. เตรียมร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ใน 2 สัปดาห์ ก่อนทำประชาพิจารณ์ พร้อมแนะนายกฯ ใช้ ม.44 แก้ปัญหาพลังงาน!
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สั่งให้ตั้งขึ้น เพื่อรับฟังความเห็นด้านพลังงานจากตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งเป็นการประชุมนัดที่สอง
ทั้งนี้ ม.ล.ปนัดดา กล่าวก่อนประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้ข้อสังเกตและขอความร่วมมือจากคณะทำงานชุดนี้ ให้พิจารณาเรื่องระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบสัมปทาน หรือการแบ่งปันผลผลิต เป็นลำดับแรก และนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป
ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่หลังประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ข้อเสนอให้ตั้งกรรมการ 3 ฝ่าย ไม่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐ และว่า ตนไม่เห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขกฎหมายแบบผิวเผิน แต่ควรลงลึกในรายละเอียดเพื่อไม่เอื้อประโยชน์ให้ใคร น.ต.ประสงค์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ผ่านมา 1 ปีแล้ว การปฏิรูปพลังงานของ คสช.ที่จะปฏิรูปให้เกิดความโปร่งใส และจัดสรรให้แก่ภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นธรรม ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันจากกลุ่มทุนทั้งในและต่างประเทศ ยังไม่มีความคืบหน้า จึงขอร้องให้ คสช.ใช้มาตรา 44 ดำเนินการในสิ่งที่มีการสั่งการไปแล้ว แต่ไม่มีการดำเนินการ พร้อมขอให้ปลัดกระทรวงพลังงานหรือรองปลัดฯ หรือผู้มีอำนาจเข้าร่วมประชุมด้วย เพราะการทำงานกับประชาชน ต้องเข้าถึงประชาชน
ขณะที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ได้ขอให้รัฐบาลสร้างความมั่นคงแห่งรัฐอย่างแท้จริง กำหนดราคาพลังงานที่เป็นธรรม ขอให้เอกชนมีการจัดการที่เป็นธรรม คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการ และว่า เครือข่ายภาคประชาชนจะร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมใหม่ทั้งฉบับให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ก่อนทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ รวมทั้งเห็นควรให้มีมาตรการจัดการปิโตรเลียมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ปิโตรเลียมด้วย
ขณะเดียวกัน ขอเสนอให้รัฐต้องให้เอกชนรายอื่นสามารถสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้ ปตท.ผูกขาดการซื้อก๊าซปากหลุม จึงผูกขาดโรงแยกก๊าซด้วย และใช้ก๊าซราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก ทำให้ก๊าซหุงต้มขาดแคลน จนต้องนำเข้าในราคาที่แพงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้ก๊าซราคาแพง ดังนั้นจึงต้องลดการผูกขาดและการใช้อำนาจเหนือตลาดของ ปตท. นายปานเทพ ยังเสนอให้นายกฯ และหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ตั้งบรรษัทแห่งชาติและคณะกรรมการบริหารจัดการปิโตรเลียมแห่งชาติ ประกอบด้วยภาครัฐและประชาชน โดยต้องไม่มีการขัดกันของผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้สามารถทำได้จริง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อประเทศ
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ด้านพลังงาน กล่าวว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับเดิมมีหลายประเด็นที่ล้าสมัย การยกร่างใหม่น่าจะดีกว่าการแก้ไข โดยนำความเห็นของประชาชนไปใช้ด้วย พร้อมเสนอให้ทบทวนการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และใช้การจัดเก็บภาษีในเรื่องทรัพยากรมาเป็นสวัสดิการต่างๆ ส่วนรูปแบบการบริหารทรัพยากรนั้น น.ส.รสนา มองว่า ถึงเวลาต้องใช้รูปแบบการจัดสรรผลผลิต ที่ผ่านมาใช้ระบบสัมปทาน รัฐมีรายได้เพียง 1% ของมูลค่าทรัพยากร โดยมีรายได้จากงบลงทุนเพียง 5,000 ล้านบาท จากมูลค่าทรัพยากรที่มีมากถึง 5 แสนล้านบาท
ขณะที่นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนี้จะรวบรวมข้อคิดเห็นของภาคประชาชนทั้งหมด จัดทำเป็นข้อสรุป 3 ส่วน ได้แก่ 1.ข้อมูลที่เป็นความเห็นของภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบแบบแผนที่กระทรวงพลังงานสามารถจะแก้ไขได้ จะส่งให้กระทรวงฯ พิจารณา 2.เรื่องเชิงนโยบายที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา และ 3.การแก้ไขกฎหมาย จะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณา โดยทั้ง 3 ส่วน จะมีการนำเสนอให้นายกฯ รับทราบด้วย และภาครัฐจะชี้แจงความคืบหน้าการทำงานแต่ละส่วนให้ประชาชนได้รับทราบ
4.คกก.สอบข้อเท็จจริง ชี้ 4 ศพ “ทุ่งยางแดง” ถูก จนท.วิสามัญฯ ไม่ใช่โจรใต้ แต่เป็นผู้บริสุทธิ์ เร่งเยียวยา ด้านแม่ทัพภาค 4 ขอโทษทั้งน้ำตา!
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นายวีรพงศ์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยนายเถกิงศักดิ์ ยศสิริ รองผู้ว่าฯ ปัตตานี ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุปะทะที่บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จนมีผู้เสียชีวิต 4 ศพเมื่อวันที่ 25 มี.ค. พร้อมด้วยคณะกรรมการอีก 13 คน ได้เปิดแถลงผลสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสื่อมวลชน และญาติของครอบครัวผู้เสียชีวิตที่มาร่วมรับฟังจำนวนมาก
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี 1 ในกรรมการ กล่าวถึงผลสอบว่า เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาถ้อยคำและหลักฐานจากฝ่ายต่างๆ แล้ว ฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ก่อนเกิดเหตุที่บ้านโต๊ะชูด ได้มีคน 3 กลุ่มไปที่บ้านที่กำลังก่อสร้างซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุ ได้แก่ กลุ่มคนงานก่อสร้างบ้าน กลุ่มที่เข้าเจรจาค่าเสียหายเรื่องรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ และกลุ่มคนที่เข้าไปมั่วสุมเพื่อจะเสพยาเสพติดบริเวณที่เกิดเหตุ ต่อมา ได้มีกองกำลังของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษช่วยส่วนรวม เข้าปิดล้อมตรวจค้น และควบคุมบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ได้จำนวน 22 คน โดยใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เนื่องจากสงสัยว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
ขณะปิดล้อมตรวจค้น ได้มีกลุ่มคนในที่เกิดเหตุ 5 คน วิ่งหลบหนีไปด้านหลังของบ้านที่กำลังก่อสร้าง โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่บางส่วนโอบล้อมไล่ติดตาม ต่อมา ได้มีการใช้อาวุธปืนฆ่ากันตายที่บริเวณสวนยางพารา ห่างจากบ้านที่กำลังก่อสร้างประมาณ 300 เมตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ประกอบด้วย นายคอลิด สาแม็ง , นายมะดารี แม้เราะ , นายซัดดำ วานุ และนายซูไฮมี เซ็น
โดยได้ตรวจพบอาวุธปืนและวัตถุระเบิดหลายรายการตกอยู่บริเวณศพผู้ตายทั้ง 4 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าวิสามัญฆาตกรรมผู้ตายทั้ง 4 คน ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีความต่อเนื่องที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือการปิดล้อมตรวจค้นของเจ้าหน้าที่บริเวณบ้านที่กำลังก่อสร้าง และช่วงสอง เป็นเหตุการณ์วิสามัญฯ บริเวณสวนยางพารา ส่วนประเด็นที่ว่า ผู้ตายทั้ง 4 คน เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา หรือเป็นกลุ่มก่อเหตุรุนแรง หรือแนวร่วมหรือไม่ คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบจากพยานหลักฐานคำให้การยืนยันของผู้นำชุมชน อาจารย์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี รวมทั้งตรวจสอบด้านการข่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่า ผู้ตายทั้ง 4 คน มีพฤติกรรมเป็นผู้ก่อเหตุรุนแรง หรือเป็นแนวร่วมมาก่อน มีเพียงผู้ตายบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องและเคยถูกจับกุมคดียาเสพติดเสพน้ำกระท่อม
นอกจากนี้ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลยืนยันว่า ก่อนที่จะเกิดเหตุถึงแก่ความตาย และขณะวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ไม่ปรากฏว่า ผู้ตายทั้ง 4 คน ครอบครองอาวุธปืนแต่อย่างใด และผลการตรวจพิสูจน์อาวุธปืนที่พบใกล้ศพผู้ตาย ก็ไม่ปรากฏประวัติการก่อเหตุรุนแรงในคดีอื่น ในชั้นนี้กรรมการมีความเห็นว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 4 คนไม่ใช่ผู้ก่อเหตุรุนแรง และไม่ใช่แนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงแต่อย่างใด และว่า กรณีที่เกิดขึ้นมีผู้ถึงแก่ความตาย 4 คน โดยเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐต่อผู้บริสุทธิ์ และเป็นเหตุสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเข้าองค์ประกอบการช่วยเหลือเยียวยาตามระเบียบการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเห็นสมควรเสนอให้มีการเยียวยาโดยเร็ว
ทั้งนี้ หลังแถลงเสร็จ นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ได้กล่าวยืนยันที่จะนำคำวินิจฉัยรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ไปดำเนินการแก้ไขปัญหา และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความสงบสุข โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทั้งผู้ที่เสียชีวิต และผู้ที่ถูกควบคุมตัว ซึ่งมีระเบียบ กฎเกณฑ์อยู่แล้ว รวมทั้งได้มีการมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง 4 ราย เป็นเงินรายละ 5 แสนบาท
วันต่อมา(8 เม.ย.) พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้า โดยยอมรับและขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่กรณีเหตุปะทะที่ทุ่งยางแดงจนมีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต 4 ศพ พร้อมยืนยันว่า ต้องดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ที่กระทำการดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อนโยบายของผู้บังคับบัญชา และว่า การปฏิบัติหน้าที่ ต้องใช้ความคิด ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา ไม่ใช่ใช้แต่กำลัง ดังนั้น ถ้าใครไม่พร้อม ก็เตรียมออกจากพื้นที่ เพราะการแก้ปัญหาที่นี่ต้องใช้คนเก่ง ใช้บุคลากรที่มีความสามารถ
ด้าน ผศ.ดร.อิสมะแอลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี กล่าวพร้อมน้ำตาว่า วันนี้ดีใจ ถึงแม้จะไม่สิ้นสุด แต่ได้รู้ว่า ลูกๆ ของเราเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ใหญ่ของเรา ไม่ว่าจะเป็นแม่ทัพก็ดี เลขาธิการ ศอ.บต.ก็ดี ทุกท่านได้แสดงความบริสุทธิ์ใจ ยืนยันที่จะใช้แนวทางสันติวิธีต่อไป ต้องเข้าใจว่าสันติวิธีเป็นสิ่งใหม่ในบ้านเรา ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก ขอให้ทุกคนมีความเมตตาต่อกัน และมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน เพื่อจะให้พื้นที่ของเราเกิดสันติภาพที่ยั่งยืนต่อไป
5.คดีโคตรโกงเลือกตั้งปากน้ำ เจอโรคเลื่อนรอบ 4 หลังจำเลยส่อประวิงเวลาไม่มาศาล ด้านศาลฎีกานัดวันชี้ชะตาใหม่ 22 มิ.ย.!
เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่อัยการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นโจทก์ฟ้องนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) สมุทรปราการ เป็นจำเลยที่ 1 ในความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและเป็นผู้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งหรือเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการโดยเจตนาขัดขวางไม่เป็นไปตามกฎหมาย และนายปิติชาติ ไตรสุรัตน์ รองนายก อบจ.สมุทรปราการ เป็นจำเลยที่ 2 ในความผิดเดียวกัน และปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดจริง ให้จำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา และให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 6 ปี ไม่รอลงอาญา
ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ศาลนัด ปรากฏว่า นายชนม์สวัสดิ์ จำเลยที่ 1 เดินทางมาศาลตามนัด แต่นายปิติชาติ จำเลยที่ 2 ไม่เดินทางมา โดยให้ทนายความแจ้งขอเลื่อนนัด อ้างว่ามีปัญหาด้านสุขภาพขณะเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นให้พักค้างเพื่อติดตามอาการที่โรงพยาบาล
เป็นที่น่าสังเกตว่า ครั้งนี้เป็นการเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 4 แล้ว หลังจาก 3 ครั้งก่อน จำเลยที่ 1 และ 2 ผลัดกันขอเลื่อนฟังคำพิพากษามาโดยตลอด เมื่อครั้งนี้ศาลยังไม่สามารถอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาได้อีก เนื่องจากจำเลยที่ 2 ขอเลื่อน ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 22 มิ.ย.เวลา 13.30 น. พร้อมกำชับว่าคดีนี้มีการเลื่อนอ่านคำพิพากษามาหลายครั้งแล้ว ดังนั้นขอให้จำเลยทั้งสองระมัดระวังการเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงที่ใกล้วันที่ศาลนัด
สำหรับคดีนี้ถูกขนานนามว่า “โคตรโกง” โดยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2542 มีผู้สมัคร 2 กลุ่ม คือกลุ่มปากน้ำ 2000 ของนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม และกลุ่มเมืองสมุทร ของนายประสันต์ ศีลพิพัฒน์ ซึ่งได้จับภาพชายลึกลับกำลังนำบัตรเลือกตั้งผีมาใส่ในหีบบัตร ต่อมานายประสันต์ ได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองสมุทรปราการ กล่าวหาว่ามีการทุจริตเลือกตั้ง กระทั่งเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2545 อัยการจังหวัดสมุทรปราการได้ยื่นฟ้องนายชนม์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มปากน้ำ 2000 และผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ เป็นจำเลยที่ 1 และนายปิติชาติ ซึ่งเป็นปลัดเทศบาลนครสมุทรปราการในขณะนั้น เป็นจำเลยที่ 2 โดยในการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายได้นำพยานมาเบิกความต่อสู้คดีรวม 50 ปาก ก่อนที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการจะอ่านคำพิพากษา ให้จำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา และให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 6 ปี ไม่รอลงอาญา จากนั้นนายชนม์สวัสดิ์ และนายปิติชาติ ได้นำหลักทรัพย์มายื่นประกันตัวออกไป เพื่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้ยืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ก่อนที่นายชนม์สวัสดิ์ และนายปิติชาติจะยื่นประกันตัวเพื่อสู้คดีในชั้นฎีกา กระทั่งศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษา แต่ก็ยังไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 และ 2 ผลัดกันขอเลื่อนนัดเป็นครั้งที่ 4 แล้ว จนศาลต้องนัดใหม่เป็นครั้งที่ 5 ในวันที่ 22 มิ.ย.
1.นายกฯ รัสเซียเยือนไทยครั้งแรกในรอบ 25 ปี ก่อนลงนามความตกลงร่วม 5 ฉบับ “บิ๊กตู่” ชมรัสเซีย เพื่อนที่เข้าใจ!
เมื่อวันที่ 7-8 เม.ย.นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย ได้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย โดยเป็นการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีรัสเซียในรอบ 25 ปี ทั้งนี้ หลังรัฐบาลไทย นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีรัสเซียที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือและลงนามความตกลงทวิภาคีระหว่างกัน 5 ฉบับ หลังการลงนาม นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้เปิดแถลงร่วมกัน
โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวยืนยันเจตนารมณ์ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-รัสเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2560 ก็จะครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว และว่า การพัฒนาความสัมพันธ์จะอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยในเรื่องเศรษฐกิจ จะผลักดันการค้าระหว่างกันให้โตยิ่งขึ้น จากเดิมมูลค่าการค้าอยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า พร้อมเชิญชวนให้รัสเซียนำเข้าข้าว ยางพารา อาหารแช่แข็ง และสินค้าเกษตรอื่นๆ จากไทย นอกจากนี้ยังได้เชิญชวนให้รัสเซียเข้ามาแข่งขันประมูลโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ของไทยตามยุทธศาสตร์ที่ไทยวางไว้ ส่วนผู้ประกอบการของไทยก็สนใจไปลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอาหารในรัสเซีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนอย่างเต็มที่ ไม่เท่านั้นไทยและรัสเซียยังเห็นพ้องที่จะสานต่อความร่วมมือด้านพลังงาน ปิโตรเลียม และพัฒนาบุคลาการด้านนี้ ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว หวังว่าตัวเลขชาวรัสเซียที่มาเที่ยวเมืองไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนต่อปี
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวชื่นชมรัสเซียสำหรับมิตรภาพที่มอบให้ไทยในยามที่กำลังต้องการกำลังใจด้วย “คำว่าเพื่อนสำคัญที่สุด เมื่อเพื่อนมีปัญหาก็ต้องการแรงใจแรงหนุนจากเพื่อน วันนี้รัสเซียให้ความเป็นเพื่อน ผมก็จะรักษามิตรภาพนี้ไว้ ขอขอบคุณสำหรับทุกอย่างที่เข้าใจ” โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอให้นายกรัฐมนตรีรัสเซียนำคำเชิญไปยังนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ให้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นด้วย
ด้านนายกรัฐมนตรีรัสเซีย กล่าวว่า การหารือกับนายกรัฐมนตรีไทยครั้งนี้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ รวมทั้งได้ลงนามข้อตกลงด้านพลังงาน การเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ด้านวัฒนธรรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหุ้นส่วนที่เก่าที่สุดของรัสเซียในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และว่า อีก 2 ปี ที่จะมีการเฉลิมฉลองครบรอบ 120 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน รัสเซียจะรักษาประเพณี มิตรภาพ และความเคารพต่อกัน รวมทั้งจะได้ร่วมทำโครงการที่มีผลสำเร็จร่วมกัน นายกรัฐมนตรีรัสเซียยังได้ขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทยที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมแสดงความมั่นใจว่า การหารือครั้งนี้จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยจะเชิญนายกรัฐมนตรีไทยเดินทางไปเยือนประเทศรัสเซียอย่างเป็นทางการต่อไป
ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ประเทศไทยเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน เพื่อตอบโต้ความสัมพันธ์ที่เฉื่อยชาลงของพันธมิตรเก่าแก่อย่างสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่นๆ หลังกองทัพยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว โดยสหรัฐฯ ได้ลดระดับความสัมพันธ์ทางทหารกับไทยหลังการรัฐประหาร
นายเดนิส มันดูรอฟ รัฐมนตรีพาณิชย์ของรัสเซีย ซึ่งร่วมคณะนายกรัฐมนตรีรัสเซียมาเยือนไทย กล่าวกับรอยเตอร์ว่า “เราคิดถึงประโยชน์ของฝ่ายไทยในการซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหาร เพื่อนของเราจากฝั่งตะวันตกของโลกกำลังละเลยไทย” เขายังกล่าวด้วยว่า ไทย-รัสเซียมีการเจรจาค้าขายด้านกลาโหม ซึ่งพุ่งเป้าไปที่เครื่องบินทหาร ด้านการรถไฟและการบริการต่างๆ และว่า รัสเซียจะซื้อยางจากไทยอย่างน้อย 8 หมื่นตันในปี 2016 ซึ่งมากกว่าแผนเดิมที่จะซื้อในปี 2015 ถึง 4 เท่า โดยจะนำไปผลิตเป็นยางรถยนต์ต่อไป
2.หัวหน้า คสช.ใช้ ม.44 ออกคำสั่งแก้ปัญหารุกป่า ด้านป่าไม้โคราชเตรียมรื้อบ้าน-สนามแข่งรถ “โบนันซ่า” หลังพบรุกป่ากว่า 100 ไร่!
ความคืบหน้ากรณีชุดปฏิบัติการพิเศษกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับกรมป่าไม้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) กองทัพภาคที่ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) นำโดย พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม , พ.อ.สมหมาย บุษบา หัวหน้าคณะทำงานเพื่อความมั่นคง กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองทัพภาคที่ 2 และคณะ บุกเข้าตรวจสอบพื้นที่สนามแข่งรถอินเตอร์เนชั่นแนล โบนันซ่า สปีดเวย์ ซึ่งเป็นโครงการโบนันซ่าของนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ นักการเมืองและนักธุรกิจรายใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ 11 บ้านโบนันซ่า ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 31 มี.ค. และพบมีการก่อสร้างสนามแข่งรถและอาคารที่พักบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า เขานกยูง เขาอ่างหิน กว่า 100 ไร่นั้น
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นายมนศักดิ์ อารักษ์ ที่ดินจังหวัดนครราชสีมา เผยว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง ได้ลงสำรวจพื้นที่ของโบนันซ่า สรุปผลเบื้องต้นว่า พื้นที่สนามแข่งรถทั้งหมดของโบนันซ่าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ที่มีอยู่ ออกโดยมิชอบ ตนได้สั่งการให้กลุ่มงานวิชาการ สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง สำรวจว่าเอกสารสิทธิดังกล่าวได้มาเมื่อไหร่ จากหลักฐานใด อย่างไร และออกก่อนประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ หากได้มาหลังประกาศเขตป่าสงวนฯ ก็ต้องทำการเพิกถอน
วันต่อมา(8 เม.ย.) นายสุรวุฒิ ใจกิจสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 นครราชสีมา กรมป่าไม้ เผยความคืบหน้าการตรวจสอบที่ดินสนามแข่งรถโบนันซ่าว่า ขณะนี้ทางสำนักฯ ป่าไม้ที่ 8 ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ครบแล้ว เบื้องต้นพบว่า มีพื้นที่ถูกบุกรุก ทั้งที่เป็นเขตป่าสงวน และเขต ส.ป.ก.รวม 103 ไร่ ซึ่งผู้บุกรุกจะมีความผิดตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยทางสำนักป่าไม้ที่ 8 ได้สั่งไปยังหน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ นม.1(ปากช่อง) ในฐานะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ทำหนังสือแจ้งให้โบนันซ่าทำการรื้อถอนบ้านพัก 16 หลังที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับสนามแข่งรถ แท็งก์น้ำ และพื้นที่ถนนในสนามแข่งรถ และจะเปิดโอกาสให้โบนันซ่าหาหลักฐานเอกสารสิทธิการครอบครองมาแสดงภายใน 15 วัน หากไม่มีเอกสารสิทธิมาแสดง ก็จะแจ้งให้ทำการรื้อถอนภายใน 30 วันต่อไป หากครบกำหนดแล้วยังไม่รื้อถอน ทางกรมป่าไม้จะเข้าทำการรื้อถอนเอง ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน มิ.ย.นี้
มีรายงานว่า ส.ป.ก. ได้เตรียมเข้าตรวจสอบการถือครองที่ดิน และการปลูกสร้างบ้านพักตากอากาศของพิธีกรชื่อดัง และอดีตอธิบดีคนดัง ที่บริเวณเขาใหญ่ และ จ.เชียงราย ที่ถือครองไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ เบื้องต้นพบการออกเอกสารสิทธิ ส.ค.1 และ น.ส.3 ทับพื้นที่ของ ส.ป.ก. ทั้งสองแห่ง โดยใส่ชื่อญาติและคนใกล้ชิดแทนชื่อตนเองในโฉนด
ด้านนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง กล่าวว่า พร้อมให้ตรวจสอบตามกฎหมาย และว่า ที่ดินดังกล่าวซื้อมาประมาณปี 2550-2551 โดยการแนะนำของนายวิกรม กรมดิษฐ์ นักธุรกิจชื่อดัง โดยซื้อทั้งหมด 5-6 แปลง จำนวน 8 ไร่เศษเท่านั้น เป็นการซื้อจากโครงการหมู่บ้านจัดสรร ติดถนนธนะรัชต์ มีโฉนดชัดเจน ไม่ใช่ 100 ไร่ อย่างที่มีข่าว และซื้อในนามตนเอง ไม่ได้ใส่ชื่อญาติ และว่า บ้านหลังนี้ตนตั้งใจซื้อให้มารดาไว้อยู่ เนื่องจากป่วย และไม่เคยปิดบังเรื่องบ้านหลังดังกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ออกคำสั่งที่ 4/2558 เรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนส่วนรวม โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีการฝ่าฝืนกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์สาธารณะและประชาชนส่วนรวมจำนวนมาก และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่เคร่งครัดและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในเรื่องต่างๆ เช่น การบุกรุกที่สาธารณะ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะกีดขวางทางจราจร ทำให้ประชาชนได้รับเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น จึงสมควรกำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น หัวหน้า คสช.จึงใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งดังนี้
1.ในกรณีที่จำเป็น รัฐมนตรีอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทหาร โดยแจ้งความประสงค์ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทหารไปปฏิบัติตามคำขอ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาจขอให้หัวหน้า คสช.มีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายฉบับใดหรือหลายฉบับ เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายนั้นให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ 2.เจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามกฎหมายนั้น รวมทั้งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามกฎหมายอาญา 3.ให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทหาร ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามกฎหมายนั้นๆ โดยเคร่งครัด และให้ดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ หากขัดขืนหรือไม่ให้ความร่วมมือจนก่อให้เกิดความเสียหายในการบังคับใช้กฎหมาย ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยร้ายแรง
3.ภาค ปชช. เตรียมร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ใน 2 สัปดาห์ ก่อนทำประชาพิจารณ์ พร้อมแนะนายกฯ ใช้ ม.44 แก้ปัญหาพลังงาน!
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สั่งให้ตั้งขึ้น เพื่อรับฟังความเห็นด้านพลังงานจากตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งเป็นการประชุมนัดที่สอง
ทั้งนี้ ม.ล.ปนัดดา กล่าวก่อนประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้ข้อสังเกตและขอความร่วมมือจากคณะทำงานชุดนี้ ให้พิจารณาเรื่องระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบสัมปทาน หรือการแบ่งปันผลผลิต เป็นลำดับแรก และนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป
ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่หลังประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ข้อเสนอให้ตั้งกรรมการ 3 ฝ่าย ไม่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐ และว่า ตนไม่เห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขกฎหมายแบบผิวเผิน แต่ควรลงลึกในรายละเอียดเพื่อไม่เอื้อประโยชน์ให้ใคร น.ต.ประสงค์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ผ่านมา 1 ปีแล้ว การปฏิรูปพลังงานของ คสช.ที่จะปฏิรูปให้เกิดความโปร่งใส และจัดสรรให้แก่ภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นธรรม ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันจากกลุ่มทุนทั้งในและต่างประเทศ ยังไม่มีความคืบหน้า จึงขอร้องให้ คสช.ใช้มาตรา 44 ดำเนินการในสิ่งที่มีการสั่งการไปแล้ว แต่ไม่มีการดำเนินการ พร้อมขอให้ปลัดกระทรวงพลังงานหรือรองปลัดฯ หรือผู้มีอำนาจเข้าร่วมประชุมด้วย เพราะการทำงานกับประชาชน ต้องเข้าถึงประชาชน
ขณะที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ได้ขอให้รัฐบาลสร้างความมั่นคงแห่งรัฐอย่างแท้จริง กำหนดราคาพลังงานที่เป็นธรรม ขอให้เอกชนมีการจัดการที่เป็นธรรม คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการ และว่า เครือข่ายภาคประชาชนจะร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมใหม่ทั้งฉบับให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ก่อนทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ รวมทั้งเห็นควรให้มีมาตรการจัดการปิโตรเลียมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ปิโตรเลียมด้วย
ขณะเดียวกัน ขอเสนอให้รัฐต้องให้เอกชนรายอื่นสามารถสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้ ปตท.ผูกขาดการซื้อก๊าซปากหลุม จึงผูกขาดโรงแยกก๊าซด้วย และใช้ก๊าซราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก ทำให้ก๊าซหุงต้มขาดแคลน จนต้องนำเข้าในราคาที่แพงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนต้องใช้ก๊าซราคาแพง ดังนั้นจึงต้องลดการผูกขาดและการใช้อำนาจเหนือตลาดของ ปตท. นายปานเทพ ยังเสนอให้นายกฯ และหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ตั้งบรรษัทแห่งชาติและคณะกรรมการบริหารจัดการปิโตรเลียมแห่งชาติ ประกอบด้วยภาครัฐและประชาชน โดยต้องไม่มีการขัดกันของผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้สามารถทำได้จริง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อประเทศ
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ด้านพลังงาน กล่าวว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับเดิมมีหลายประเด็นที่ล้าสมัย การยกร่างใหม่น่าจะดีกว่าการแก้ไข โดยนำความเห็นของประชาชนไปใช้ด้วย พร้อมเสนอให้ทบทวนการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และใช้การจัดเก็บภาษีในเรื่องทรัพยากรมาเป็นสวัสดิการต่างๆ ส่วนรูปแบบการบริหารทรัพยากรนั้น น.ส.รสนา มองว่า ถึงเวลาต้องใช้รูปแบบการจัดสรรผลผลิต ที่ผ่านมาใช้ระบบสัมปทาน รัฐมีรายได้เพียง 1% ของมูลค่าทรัพยากร โดยมีรายได้จากงบลงทุนเพียง 5,000 ล้านบาท จากมูลค่าทรัพยากรที่มีมากถึง 5 แสนล้านบาท
ขณะที่นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนี้จะรวบรวมข้อคิดเห็นของภาคประชาชนทั้งหมด จัดทำเป็นข้อสรุป 3 ส่วน ได้แก่ 1.ข้อมูลที่เป็นความเห็นของภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับระเบียบแบบแผนที่กระทรวงพลังงานสามารถจะแก้ไขได้ จะส่งให้กระทรวงฯ พิจารณา 2.เรื่องเชิงนโยบายที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณา และ 3.การแก้ไขกฎหมาย จะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณา โดยทั้ง 3 ส่วน จะมีการนำเสนอให้นายกฯ รับทราบด้วย และภาครัฐจะชี้แจงความคืบหน้าการทำงานแต่ละส่วนให้ประชาชนได้รับทราบ
4.คกก.สอบข้อเท็จจริง ชี้ 4 ศพ “ทุ่งยางแดง” ถูก จนท.วิสามัญฯ ไม่ใช่โจรใต้ แต่เป็นผู้บริสุทธิ์ เร่งเยียวยา ด้านแม่ทัพภาค 4 ขอโทษทั้งน้ำตา!
เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นายวีรพงศ์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยนายเถกิงศักดิ์ ยศสิริ รองผู้ว่าฯ ปัตตานี ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุปะทะที่บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จนมีผู้เสียชีวิต 4 ศพเมื่อวันที่ 25 มี.ค. พร้อมด้วยคณะกรรมการอีก 13 คน ได้เปิดแถลงผลสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าวต่อสื่อมวลชน และญาติของครอบครัวผู้เสียชีวิตที่มาร่วมรับฟังจำนวนมาก
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี 1 ในกรรมการ กล่าวถึงผลสอบว่า เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาถ้อยคำและหลักฐานจากฝ่ายต่างๆ แล้ว ฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ก่อนเกิดเหตุที่บ้านโต๊ะชูด ได้มีคน 3 กลุ่มไปที่บ้านที่กำลังก่อสร้างซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุ ได้แก่ กลุ่มคนงานก่อสร้างบ้าน กลุ่มที่เข้าเจรจาค่าเสียหายเรื่องรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ และกลุ่มคนที่เข้าไปมั่วสุมเพื่อจะเสพยาเสพติดบริเวณที่เกิดเหตุ ต่อมา ได้มีกองกำลังของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษช่วยส่วนรวม เข้าปิดล้อมตรวจค้น และควบคุมบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม ได้จำนวน 22 คน โดยใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก เนื่องจากสงสัยว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง
ขณะปิดล้อมตรวจค้น ได้มีกลุ่มคนในที่เกิดเหตุ 5 คน วิ่งหลบหนีไปด้านหลังของบ้านที่กำลังก่อสร้าง โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่บางส่วนโอบล้อมไล่ติดตาม ต่อมา ได้มีการใช้อาวุธปืนฆ่ากันตายที่บริเวณสวนยางพารา ห่างจากบ้านที่กำลังก่อสร้างประมาณ 300 เมตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ประกอบด้วย นายคอลิด สาแม็ง , นายมะดารี แม้เราะ , นายซัดดำ วานุ และนายซูไฮมี เซ็น
โดยได้ตรวจพบอาวุธปืนและวัตถุระเบิดหลายรายการตกอยู่บริเวณศพผู้ตายทั้ง 4 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าวิสามัญฆาตกรรมผู้ตายทั้ง 4 คน ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีความต่อเนื่องที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือการปิดล้อมตรวจค้นของเจ้าหน้าที่บริเวณบ้านที่กำลังก่อสร้าง และช่วงสอง เป็นเหตุการณ์วิสามัญฯ บริเวณสวนยางพารา ส่วนประเด็นที่ว่า ผู้ตายทั้ง 4 คน เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา หรือเป็นกลุ่มก่อเหตุรุนแรง หรือแนวร่วมหรือไม่ คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบจากพยานหลักฐานคำให้การยืนยันของผู้นำชุมชน อาจารย์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี รวมทั้งตรวจสอบด้านการข่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่า ผู้ตายทั้ง 4 คน มีพฤติกรรมเป็นผู้ก่อเหตุรุนแรง หรือเป็นแนวร่วมมาก่อน มีเพียงผู้ตายบางคนมีส่วนเกี่ยวข้องและเคยถูกจับกุมคดียาเสพติดเสพน้ำกระท่อม
นอกจากนี้ข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลยืนยันว่า ก่อนที่จะเกิดเหตุถึงแก่ความตาย และขณะวิ่งหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ไม่ปรากฏว่า ผู้ตายทั้ง 4 คน ครอบครองอาวุธปืนแต่อย่างใด และผลการตรวจพิสูจน์อาวุธปืนที่พบใกล้ศพผู้ตาย ก็ไม่ปรากฏประวัติการก่อเหตุรุนแรงในคดีอื่น ในชั้นนี้กรรมการมีความเห็นว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 4 คนไม่ใช่ผู้ก่อเหตุรุนแรง และไม่ใช่แนวร่วมกลุ่มก่อเหตุรุนแรงแต่อย่างใด และว่า กรณีที่เกิดขึ้นมีผู้ถึงแก่ความตาย 4 คน โดยเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐต่อผู้บริสุทธิ์ และเป็นเหตุสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเข้าองค์ประกอบการช่วยเหลือเยียวยาตามระเบียบการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเห็นสมควรเสนอให้มีการเยียวยาโดยเร็ว
ทั้งนี้ หลังแถลงเสร็จ นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ได้กล่าวยืนยันที่จะนำคำวินิจฉัยรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ไปดำเนินการแก้ไขปัญหา และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความสงบสุข โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทั้งผู้ที่เสียชีวิต และผู้ที่ถูกควบคุมตัว ซึ่งมีระเบียบ กฎเกณฑ์อยู่แล้ว รวมทั้งได้มีการมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง 4 ราย เป็นเงินรายละ 5 แสนบาท
วันต่อมา(8 เม.ย.) พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้า โดยยอมรับและขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่กรณีเหตุปะทะที่ทุ่งยางแดงจนมีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต 4 ศพ พร้อมยืนยันว่า ต้องดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ที่กระทำการดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อนโยบายของผู้บังคับบัญชา และว่า การปฏิบัติหน้าที่ ต้องใช้ความคิด ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา ไม่ใช่ใช้แต่กำลัง ดังนั้น ถ้าใครไม่พร้อม ก็เตรียมออกจากพื้นที่ เพราะการแก้ปัญหาที่นี่ต้องใช้คนเก่ง ใช้บุคลากรที่มีความสามารถ
ด้าน ผศ.ดร.อิสมะแอลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี กล่าวพร้อมน้ำตาว่า วันนี้ดีใจ ถึงแม้จะไม่สิ้นสุด แต่ได้รู้ว่า ลูกๆ ของเราเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ใหญ่ของเรา ไม่ว่าจะเป็นแม่ทัพก็ดี เลขาธิการ ศอ.บต.ก็ดี ทุกท่านได้แสดงความบริสุทธิ์ใจ ยืนยันที่จะใช้แนวทางสันติวิธีต่อไป ต้องเข้าใจว่าสันติวิธีเป็นสิ่งใหม่ในบ้านเรา ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก ขอให้ทุกคนมีความเมตตาต่อกัน และมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน เพื่อจะให้พื้นที่ของเราเกิดสันติภาพที่ยั่งยืนต่อไป
5.คดีโคตรโกงเลือกตั้งปากน้ำ เจอโรคเลื่อนรอบ 4 หลังจำเลยส่อประวิงเวลาไม่มาศาล ด้านศาลฎีกานัดวันชี้ชะตาใหม่ 22 มิ.ย.!
เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่อัยการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นโจทก์ฟ้องนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) สมุทรปราการ เป็นจำเลยที่ 1 ในความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและเป็นผู้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งหรือเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการโดยเจตนาขัดขวางไม่เป็นไปตามกฎหมาย และนายปิติชาติ ไตรสุรัตน์ รองนายก อบจ.สมุทรปราการ เป็นจำเลยที่ 2 ในความผิดเดียวกัน และปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดจริง ให้จำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา และให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 6 ปี ไม่รอลงอาญา
ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ศาลนัด ปรากฏว่า นายชนม์สวัสดิ์ จำเลยที่ 1 เดินทางมาศาลตามนัด แต่นายปิติชาติ จำเลยที่ 2 ไม่เดินทางมา โดยให้ทนายความแจ้งขอเลื่อนนัด อ้างว่ามีปัญหาด้านสุขภาพขณะเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นให้พักค้างเพื่อติดตามอาการที่โรงพยาบาล
เป็นที่น่าสังเกตว่า ครั้งนี้เป็นการเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 4 แล้ว หลังจาก 3 ครั้งก่อน จำเลยที่ 1 และ 2 ผลัดกันขอเลื่อนฟังคำพิพากษามาโดยตลอด เมื่อครั้งนี้ศาลยังไม่สามารถอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาได้อีก เนื่องจากจำเลยที่ 2 ขอเลื่อน ศาลจึงมีคำสั่งเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 22 มิ.ย.เวลา 13.30 น. พร้อมกำชับว่าคดีนี้มีการเลื่อนอ่านคำพิพากษามาหลายครั้งแล้ว ดังนั้นขอให้จำเลยทั้งสองระมัดระวังการเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงที่ใกล้วันที่ศาลนัด
สำหรับคดีนี้ถูกขนานนามว่า “โคตรโกง” โดยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2542 มีผู้สมัคร 2 กลุ่ม คือกลุ่มปากน้ำ 2000 ของนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม และกลุ่มเมืองสมุทร ของนายประสันต์ ศีลพิพัฒน์ ซึ่งได้จับภาพชายลึกลับกำลังนำบัตรเลือกตั้งผีมาใส่ในหีบบัตร ต่อมานายประสันต์ ได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.เมืองสมุทรปราการ กล่าวหาว่ามีการทุจริตเลือกตั้ง กระทั่งเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2545 อัยการจังหวัดสมุทรปราการได้ยื่นฟ้องนายชนม์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มปากน้ำ 2000 และผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ เป็นจำเลยที่ 1 และนายปิติชาติ ซึ่งเป็นปลัดเทศบาลนครสมุทรปราการในขณะนั้น เป็นจำเลยที่ 2 โดยในการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายได้นำพยานมาเบิกความต่อสู้คดีรวม 50 ปาก ก่อนที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการจะอ่านคำพิพากษา ให้จำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 4 ปี ไม่รอลงอาญา และให้จำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 6 ปี ไม่รอลงอาญา จากนั้นนายชนม์สวัสดิ์ และนายปิติชาติ ได้นำหลักทรัพย์มายื่นประกันตัวออกไป เพื่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้ยืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ก่อนที่นายชนม์สวัสดิ์ และนายปิติชาติจะยื่นประกันตัวเพื่อสู้คดีในชั้นฎีกา กระทั่งศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษา แต่ก็ยังไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 และ 2 ผลัดกันขอเลื่อนนัดเป็นครั้งที่ 4 แล้ว จนศาลต้องนัดใหม่เป็นครั้งที่ 5 ในวันที่ 22 มิ.ย.