เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มีชื่อก็เหมือนไม่มีชื่อ เพราะแม้ว่าจะเป็นหนึ่งเดียวผู้ทำให้บทบาทของ "อู๋ม่งต๊ะ" นักแสดงฮ่องกงชื่อดัง กลายเป็นที่จดจำของคนไทย หรือดาราคนอื่นอีกนับร้อย มี “สุ้มเสียง” ขึ้นมาบนจอเงิน แต่เขาก็ยังมีสถานะเหมือนกับบุคคลเบื้องหลังที่คนดูหนังไม่เคยเห็นหน้า ทว่าได้ยินแต่เสียง
สามสิบกว่าปีต่อมา หรือกว่าสิบปีที่แล้วเป็นต้นมา ความเป็นคนเบื้องหลังผู้มีเอกลักษณ์สูงในด้านเสียง ก็ได้รับการเลียบเคียงให้มาปรากฏตัวบนหน้าจอ จากนักพากย์สู่เส้นทางนักแสดง จวบจนปัจจุบัน นักดูหนังทุกท่านคงได้รู้จักชื่อเสียงเรียงนามของชายผู้มาพร้อมกับใบหน้าดุดันแต่แซมยิ้มเสมอๆ บนใบหน้าผู้นี้กันไปแล้ว
............
คนดูผู้ชมผู้มีเกียรติทุกท่าน
แมเนเจอร์ออนไลน์ ภูมิใจเสนอ
เรื่องราวชีวิตหลากรสของนักพากย์เสียงทอง เจ้าของเสียงทุ้มนุ่มเสน่ห์
ผู้ผ่านกาลเวลามากว่า 6 ทศวรรษ
จากชีวิตราชการ หันเบี่ยงเลี่ยงทิศสู่ชีวิตนักพากย์
“เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง”
แห่งทีมพากย์พันธมิตรที่รับประกันความฮามาหลายทศวรรษ
...ให้เสียงภาษาไทยโดย “อู๋ม่งต๊ะ แห่งสยามประเทศ”...
จากอดีตสารวัตรทหาร
สู่นักพากย์ทุ้มเสน่ห์
"ชีวิต" จะรุ่งหรือจะร่วง ส่วนหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า "ความรักและความชอบ" ในเส้นทางแขนงที่เลือกก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่จะกำหนดทำให้คนประสบความสำเร็จ เหมือน "ต้นไม้" ที่ได้ดินอันเหมาะสม ต่อการงอกงามขึ้นมา
"เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง" สห.ทหารเรือในอดีต ก็คงจะเป็นอย่างนั้น เพราะแม้จะมีความรักความชอบในวิชาชีพทหารที่ฝันใฝ่ แต่กระนั้นเส้นทางชีวิตก็เหมือนจะลิขิตให้ต้องพลัดเหวี่ยงหลุดจากภาระหน้าที่ เพื่อมาทำอีกสิ่งที่ “รัก” เหมือนกัน และเหมาะสมกว่า
"คือตอนนั้นเด็กๆ ใจเราก็รักอยากเป็นทหาร อยากเป็นสารวัตรทหาร เราก็เลยสมัครหลังจากเรียนจบ มส.3 อายุประมาณ 17-18 เห็นจะได้มั้ง แต่ประจำการอยู่ได้ 4 ปี ก็ลาออกจากราชการด้วยเหตุจำเป็น"
"จุดเริ่มต้น การเป็นนักพากย์ของผมจะมาแปลกกว่าคนอื่นนิดหน่อย คือนักพากย์ส่วนใหญ่เขาจะคลุกคลีในวงการมาก่อน อย่างเป็นเช็คเกอร์ เป็นคนฉายหนังหรือคนที่อยู่ในกองหนัง หรืออะไรประมาณนั้น แล้วก็อาศัยดูหนังบ่อยๆ มีรุ่นพี่ที่เป็นนักพากย์ ก็เอามาเป็นแม่แบบ ฝึกหัดเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความชำนาญก็ออกงานหากินได้
"แต่เราไม่ได้อะไรแบบที่ว่านั้นมาเลย (หัวเราะ) แค่อยากลอง ก็มาพากย์หนังเลย มาหัดพากย์เอาดาบหน้า เพราะหลังจากที่ออกจากราชการ สารวัตรทหารเรือ ก็เอ๊ะ...คิดอยู่ว่าเราจะไปทำอะไรต่อ บังเอิญเพื่อนของพี่ชายเขาเป็นนักพากย์เก่า เขาเคยได้ยินเสียงเรา เขาก็บอกเราว่า "เกรียงเสียงได้ เสียงทุ้มดี ไปหัดพากย์หนังกันไหม" เราก็ยังคิดอยู่ว่าเสียงเราดีอย่างนั้นจริงหรือ"
เจ้าของเสียงพากย์ทุ้มเสน่ห์ เผยด้วยรอยยิ้มให้กับคำชวนในวันวานที่ทำให้เส้นทางชีวิตอีกกว่า 40 ปีให้หลัง จนกระทั่งตอนนี้ ไม่เคยหนีไปไหนจากการให้เสียงพากย์
"ก็ยังงงๆ อยู่นะตอนนั้นที่เขาชวน แต่ว่าสมัยเป็นนักเรียน ด้วยความที่ครอบครัว คุณพ่อ คุณอา เป็นครู แล้วท่านก็เป็นโฆษกด้วย เวลามีงานวัดที่คลองดำเนิน บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในคลองดำเนิน แต่ละปีก็จะมีงานเยอะมาก โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง คุณพ่อกับคุณอาก็จะเป็นโฆษกประจำงานวัด มีวัดหลักสาม วัดหลักสี่ วัดหลักห้า วัดโน่นวัดนี่ เขาก็จะไปกัน ด้วยความที่เราเป็นเด็กๆ ก็ตามเขาไปด้วย เราก็ซึมซับจำเทคนิคการพูดของคุณพ่อคุณอา คือเขาก็จะว่าไปเรื่อยของเขา อย่างพูดเรียกเวลาทำบุญทำอย่างไร พูดเรียกเวลาคนจะเข้าดูหนังเรียกอย่างไร พูดเรียกดูดนตรีเรียกอย่างไร สิ่งเหล่านั้นมันก็ฝังอยู่ในสายเลือดเราอยู่โดยไม่รู้ตัว"
"เสร็จแล้วพอไปตรงนั้น นอกจากทักษะการพูด มันก็เลยทำเราได้ดูหนังกลางแปลงบ่อยมากด้วย เวลาดูก็ไม่ค่อยได้ดูหรอกหนัง แต่ชอบไปนั่งดูคนพากย์ แล้วก็จะไปช่วยเขาทำโน่นนี่ วิ่งซื้อไอ้นี่ไอ้นั่นให้เขา คือใช้เราได้เลยว่าอย่างนั้นเถอะ ยินดีเป็นเบ๊รับใช้"
นักพากย์รุ่นใหญ่ กล่าวกลั้วเสียงหัวเราะอย่างอารมณ์ดี เมื่อเปรียบเทียบถึงตัวเองที่ขอให้ได้ใกล้ได้ชิดสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบโดยไม่คิดอะไรตามประสา
ทว่า...ทั้งหมดกลับกลายเป็นความสามารถพิเศษที่ฉายแววไม่รู้ตัว เพราะขณะที่ใครต่อใครจะชื่นชอบเล่าเรื่องเนื้อหนังหรือที่สมัยนี้เรียกว่า "สปอยล์" แต่สิ่งเดียวที่เด็กชายเกรียงศํกดิ์ในวันวัยนั้นทำหลังจาก "จบบริบูรณ์...สวัสดี" คือปั้นตัวละครจากดินแล้วพากย์เสียงเลียนตามท้องเรื่อง ให้เพื่อนๆ ได้รับชม
"พอไปดูหนังคืนนั้นเสร็จ เช้ามาไปโรงเรียนปั๊บก็จะไปขุดดินเอามาปั้นตัวละคร ไอ้นี้เป็นตัวผู้ร้าย ไอ้นี้เป็นตัวพระเอก มีม้า มีไอ้โน้นมีไอ้นี้ แล้วก็พากย์เรื่องเอาเอง "เฮ้ย...มึงมาจากไหนวะ รีบหลบไปไม่งั้นยิงหัวแตก" ประมาณนี้ คือฟังจากนักพากย์ที่เขาพากย์ แล้วเราก็มานั่งปั้นดินเล่น เพื่อนๆ ก็มานั่งดู 5-6 คน
"ช่วงนั้นทำให้ได้มีโอกาสเป็น พิธีกร เป็น โฆษก ประจำโรงเรียน เวลามีงานโรงเรียนเราก็จะมีโอกาสได้ใช้ไมโครโฟนบ้าง ได้พูดบ้าง ก็เลยเป็นคนไม่กลัวไมโครโฟน แล้วอีกอย่าง เราก็ชอบเชียร์รำวง (หัวเราะ) อย่างพอหน้าสงกรานต์ เราจะหายจากบ้านไปเป็นอาทิตย์ๆ เลยนะ คือพ่อแม่ถึงขั้นคิดว่าเราไม่กลับมาแล้ว
"ตอนนั้นส่วนใหญ่จะไปกับพี่ๆ รุ่นพี่ทั้งนั้นแหล่ะ เราเด็กกว่าเพื่อน อายุประมาณ 12-13 เอง แต่ก็ไปร้องเพลงเชียร์รำวงกับเขา เมื่อก่อนรำวงก็มีกลองลูกเดียว ตุ๊งเหน่งๆ มีตะเกียงเจ้าพายุจุด ทั้งหมดมันก็เริ่มตั้งแต่ตรงนั้น (อมยิ้ม) แต่ก็ไม่คิดนะว่าเราจะมาเป็นนักพากย์ ตอนที่มารับราชการก็ยังกะจะรับราชการต่อไปเรื่อยๆ แต่ว่ามีปัญหาก็ลาออกดีกว่า ตอนนั้นก็เลยมาหาเพื่อนพี่ชายที่เขาเคยชวนอย่างที่บอก นั่นคือชีวิตการเริ่มต้นเป็นนักพากย์"
ตรงกับก่อนช่วงราวๆ ปี พ.ศ. 2513 ยุคปลายของหนัง 16 มม. ก่อนที่ทางรัฐบาลจะผลักดันสนับสนุนภาพยนตร์ไทยใช้ฟิล์ม 35 มม. เทียบเท่ามาตรฐานสากล
"ช่วงยุคนั้น ผมไม่ทันยุคที่ทำเอฟเฟกต์เอง ไม่ได้เป่าปืนเอง เคาะนั้นนี้ ทำเสียง ไม่ทันแล้ว (ทำท่าทุบโต๊ะให้เสียงเลียนแบบ) เพราะมันมีระบบเสียงเข้ามาแล้ว เราก็หัดพากย์มาเรื่อยๆ ก็สนุกสนานไปวันๆ หนึ่ง พากย์ตามวิก ตามวัด ตามอะไรต่ออะไรเวลามีงานต่างๆ ที่มีหนัง ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็จะอยู่แถวจังหวัด นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เขตปริมณฑล หรือไม่ก็ ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี แต่ไม่ค่อยได้ไปไกล ไม่ได้เดินสายใต้ สายอีสาน สายเหนือ ก็ไม่ได้คิดอะไร ค่าพากย์ก็นิดเดียว แต่ก็มีความสุข
"เพราะเขาก็จะมีนักพากย์ดังๆ ประจำจังหวัดของเขาอยู่แล้ว ไอ้เราเนี่ยมันเพิ่งเด็กหัดใหม่ ก็แค่เป็นตัวแทน วันนี้จอนี้เขามีงานเยอะ นักพากย์คนนี้ไม่ว่าง เขาก็เอาเราไปแทน มันก็เป็นประสบการณ์ คือนักพากย์มันไม่มีโรงเรียนไม่มีครูสอนไง ทุกอย่างมันต้องลักจำเอา เราไปดูเขาพากย์เรื่องนี้ไว้ เออ เขาพากย์อย่างนี้ๆ นะ พอเวลาเราไปพากย์ที่อื่น พากย์เรื่องเดียวกัน เราก็เอามุกของเขานั้นแหละมาใช้ ซึ่งก็ใช้ได้ คนก็เริ่มตอบรับ คนดูก็เริ่มรู้จักเรามากขึ้นๆ"
แต่กว่าคนดูจะยอมรับได้ เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์ ก็เกือบหวิดสิ้นชื่อกับประสบการณ์ให้เสียงครั้งแรก
"เรื่องหนังกลางแปลง เล่าสามวันสามคืนก็ไม่จบ เพราะมันไปเจอเหตุการณ์สารพัด อย่างพากย์ครั้งแรก หัวทิ่มหัวตำ ไอ้คนฉายวิ่งหนีเลย (หัวเราะ)
"คือหนังมันมีห้าม้วนใช่ไหม บทมันก็มีของมันอย่างนี้ เอาบทมากางเปิดๆๆ ก็พากย์ไปตามบท พากย์ไปๆ มันก็จะมีซับซาวด์เป็นช่วงๆ ของหนัง ด้วยความที่เราไม่เป็น เราสลับซาวด์แล้วเสียงภาษาอังกฤษมันดันลอด เราก็ปิด ปิดพูดต่อ คือเราไม่มีจังหวะไง ไม่มีจังหวะจะโคน ไม่รู้เลยว่าไอ้ตรงนี้มันหยุดพูดแล้วนะ เขาไม่ได้พูด แต่เราพูดไปเรื่อยไง หนังฉายไปได้สองม้วน บทหมดแล้ว พากย์หมดแล้ว คนดูก็บ่นอะไร มึงพากย์อะไร ส่วนไอ้คนฉายไปแล้ว กูไม่อยู่กับมึงแล้วล่ะ (หัวเราะ) เพราะสมัยก่อน มันอาจจะมีขว้างได้ไง
"แต่เราก็ไม่เลิกล้มนะ จบครั้งนั้น เราก็ไม่หยุดพากย์ ก็พากย์มันไปเรื่อยเปื่อย ไปมันเรื่อย ดำน้ำไปเรื่อย พูดๆ ไป อะไรต่ออะไรไม่รู้ หน้าหนาวๆ เหงื่อแตกพลั่กเลย (หัวเราะ) คือหน้าหนาวๆ อากาศเย็นๆ ชาวบ้านเขาห่มผ้าดูหนังกัน แต่ไอ้เราเหงื่อแตกพลั่กๆ แล้วเมื่อก่อน คนดูหนังเขาไม่ค่อยหนีไง มีสองร้อยคนก็นั่งครบ ดูกันจนกว่าจะจบ
“หรืออย่างบางที เราไปเอาหนัง บทไม่มีอีก เขาไม่ได้หยิบบทใส่มาให้ คือส่วนใหญ่ไปถึงปั๊บจะต้องเอาบทมานั่งอ่านก่อน เพราะบางทีเรื่องนี้เราไม่เคยพากย์ เราก็ต้องทำความเข้าใจว่าเนื้อเรื่องมันเป็นอย่างไร ลักษณะพระเอกเป็นอย่างนี้ ผู้ร้ายเป็นอย่างนี้ เวลาเราพากย์ เราพากย์คนเดียวจะได้แจกเสียงถูก แต่พอไม่มีก็ทำไง ...เวรล่ะสิ (ทำเสียงแบบพากย์หนัง)"
วันเวลาผ่านไปทุกอย่างดำเนินเรื่อยๆ หวุดหวิดแคล้วคลาดมาจนถึง 10 ปี ตั้งแต่อายุ 23 วัยหนุ่มฉกรรจ์ จนถึง 30 ต้นๆ เส้นทางหน้าไมค์และชื่อเสียงเรียงนามก็ค่อยๆ ดีขึ้น รอบเขตจังหวัดนนทบุรี ปทุม ยิ่งโดยเฉพาะแถบละแวกไทรน้อย ไทรใหญ่ ถึงขนาดต้องทำสัญญาจ้างว่าถ้าเป็นหนัง "สมบูรณ์ภาพยนตร์" ต้อง "เกรียงศักดิ์" หนึ่งเดียวคนนี้เท่านั้น
"คือทางจอรู้จักนะ ไม่ใช่คนดูรู้จัก" นักพากย์รุ่นใหญ่แจกแจง
"คือช่วงปี พ.ศ. 2425-28 คือขึ้นบ้านไหน กินข้าวได้เลยประมาณนั้น (ยิ้ม) เพราะพอไปถึง เราจะถามเลยว่า ผู้ใหญ่บ้านชื่ออะไร กำนันชื่ออะไร แล้วก็ครูใหญ่ดุๆ มีไหม เพราะโรงเรียนมันต้องมีอยู่แล้ว และไอ้นักเลงประจำหมู่บ้าน หรือไอ้พวกขี้เมามันมีชื่ออะไรบ้าง ก็จะเอาชื่อพวกเนี้ยมาใช้ ในบางทีจังหวะที่หนังมันให้ก็จะใส่ "ดุมากใช่ไหม เดี๋ยวมึงเจอกำนันสิงห์ เดี๋ยวกูไปตามกำนันสิงห์ก่อน" คนก็ฮาตูมทั้งจอ อันนี้คือเทคนิคส่วนตัว คนอื่นเขาอาจจะใช้เหมือนกันนะ แต่เราก็ไม่รู้ เพราะเราพากย์ต่างสถานที่กันอยู่แล้ว เราก็เรียกใช้ อย่างพวกเขาไปถึงพูด "เหล้ากั๊ก โซดาขวด ตำรวจสั่ง" ไอ้บ๋อยก็จะเดินบ่น แล้วกูจะไปเก็บเงินกับใคร ประมาณนั้น เหมือนกับแซวตำรวจ คนดูก็ฮา คนดูก็รู้เข้าใจ มึงจะเข้าไปสั่งกวนตีนมัน หรือ "เอาซี่โครงยุงทอดกรอบ" บ้านป้าเอ็งมีหรือเปล่า (หัวเราะ)
"คือเมื่อก่อน งานวัดมันจะอยู่กันแบบสามวันสามคืน บางวัดก็เจ็ดวันเจ็ดคืน เราก็ไม่ได้กลับกรุงเทพฯ แล้ว ขี้เกียจเบื่อนั่งรถนั่งเรือ เมื่อก่อนการเดินทางมันลำบาก ต้องนั่งเรื่อต่อรถ นั่งรถต่อเรือ เราก็เลยจะนอนที่วัดบ้าง นอนบ้านเจ้าของจอหนังบ้าง เดี๋ยวเย็นก็ไปพากย์หนัง กลางวันก็หลับ ไม่ก็ออกไปหาอะไรกินมั่ง เดินไปเที่ยวที่โน่นที่นี่ ถ้าเป็นงานวัดก็โอเคเลย กลางวันก็อาจจะมีลิเก ไปดูลิเก แล้วพอเราสัมผัสอะไรได้จากตรงนั้น เราก็ว่ากันไปเรื่อยเปื่อย หยิบเอามาใช้"
นอกจาก “สมบูรณ์ภาพยนตร์” ที่เป็นเหมือนต้นรากให้กับการเป็นนักพากย์หนัง ก็มี “กาเหว่าภาพยนตร์” “ไทรใหญ่ภาพยนตร์” พะยูนฟิล์ม ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 10 กว่าจอ ที่ชีวิตเปลี่ยนผ่าน จนทำให้ใครต่อใครรู้จักวงกว้างในนาม "อินทรี" และ "พันธมิตร" อย่างทุกวันนี้
"ก็ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งช่วงที่เริ่มมีการบันทึกเสียง ซึ่งเมื่อก่อนนี้นักพากย์ที่จะบันทึกเสียงได้ก็จะมีกลุ่มเดียวไม่กี่คน มีคุณ "สมพงษ์ วงศ์รักไทย", "ป้าจุรี โอศิริ", "คุณดวงดาว จารุจินดา", "รอง เค้ามูลคดี" มีพวกพี่เหล่านี้ก็จะพากย์หนังไทย เริ่มพากย์หนังไทยแล้วก็อัดเสียงลงฟิล์ม ซึ่งเราก็ไม่เป็นหรอก เราไม่ถนัด เราพากย์แต่หนังจีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น อินเดีย เราก็เลยพากย์หนังกลางแปลงกับหนังโรงชั้นสอง ตามชานเมือง โรงชั้นสองก็เป็นพวกโรงหนังสุริยา โรงหนังเฉลิมเกรียติ โรงหนังวงเวียนใหญ่รามา จันทิมาสามย่าน พระโขนงรามา อะไรพวกนี้ คือที่ฉายสองเรื่องควบ โรงพวกนี้เขาก็จะจ้างนักพากย์ไป เราก็อาศัยบารมีรุ่นพี่ เขาพากย์อยู่วีกนี้เขาติดโรงนี้ อีกโรงไปพากย์ไม่ได้ เขาก็จะบอกให้เอาเราไปแทน
"แล้วคุณ ชูชาติ อินทร ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทีมพากย์อินทรี เป็นนักพากย์อยู่ที่ช่อง 3 แกก็อยากจะตั้งทีมพากย์ขึ้นมา อยากหาเด็กรุ่นใหม่ขึ้นมา ทีนี้ ด้วยความที่ในแวดวงนักพากย์มันจะแคบ มันจะรู้กันหมดว่าใครเป็นใคร แกก็ให้คนไปตามผม แกบอกว่า "สนใจมาร่วมงานพากย์หนังด้วยกันไหม" ตอนนั้นเราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจทันที เพราะด้วยความที่เราคิดถึงเรื่องฝีมือ เรื่องเราติดงานกลางแปลง งานพากย์โรงชั้นสอง เราก็ไม่อยากทิ้ง แต่เราก็คิดว่าเขาคงไว้ใจเราแล้ว ไม่ทำให้เขาเสีย ไอ้คนที่ฉายไม่วิ่งหนีแล้ว ก็มาอยู่กับคุณชูชาติ ก็เริ่มอัดเสียงหนังไทยให้สหมงคลฟิล์ม"
"ก็ไม่คิดว่าจะมีชื่อเสียงโด่งดัง มามีตรงนี้ แต่ตอนนั้นที่มีชื่อขึ้นมา น่าจะเป็นเพราะช่วงจังหวะที่เราเข้ามามันเป็นช่วงจังหวะที่มันดีอย่างหนึ่ง คือเป็นจังหวะที่เสี่ยเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) ซื้อหนังดังๆ หนังใหญ่มาได้เยอะมาก แล้วทีมพากย์ก็มีอยู่แค่ 2-3 ทีม เมื่อก่อนนี้ที่อัดเสียงลงฟิล์ม ทีมอินทรีเราก็ได้หนังดีป้อน แล้วไอ้บุคลิกตัวละครรที่เราได้และคนดูฟังแล้วใช่เลย ก็คือ "อู๋ม่งต๊ะ" "เฉินกุ้ยอาน" "อู๋หม่า" สามดาราจีนที่ชอบแสดงเป็นดาวร้ายผู้น่ารัก เสียงดุๆ ห้าวๆ สากๆ ดุก็ดุไม่จริง เราก็โดดเด่นมีชื่อเสียงขึ้นมาเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็ไม่ได้ไปไหนอีกแล้ว"
เล่าถึงตรงนี้ เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์หยุดพักเล่าเรื่องสบายๆ ฟังสวยงาม เพราะชีวิตก็ไม่ต่างไปจากหนังที่ตลอดระยะเวลาจะเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้มได้ทั้งหมด ช็อตวิกฤต จุดหักเห ที่มีในเรื่องราวจึงค่อยถูกถ่ายทอดเป็นตอนๆ
• ฟังดูแล้วเหมือนกับชีวิตเราถูกลิขิตขีดให้เป็นอย่างนี้
ฮืม...มันก็เป็นขั้นเป็นตอนมาเรื่อยๆ นะ ตั้งแต่เริ่มมาพากย์ ก็อดๆ อยากๆ มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง (หัวเราะ) อาชีพนักพากย์สมัยก่อนนี้เป็นอาชีพที่เหมือนลิเก คือมีงานก็มีกิน หนังมันก็มีเข้ามาเยอะ แต่เขาก็มีคนประจำเขาอยู่แล้ว และอีกอย่าง พากย์หนังกลางแปลง อาทิตย์หนึ่งส่วนใหญ่ก็มีแค่สามวัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพราะคนที่จัด เขาก็จะจัดแค่นั้นเต็มที่ ก็เป็นอันว่าในอาทิตย์หนึ่งเราทำงานเต็มที่เลยไม่เกินสามวัน สมมุติเราได้คืนละร้อย สามคืนก็ได้สามร้อยบาท เราก็ต้องบริหารกินอยู่ให้ได้ในอาทิตย์หนึ่ง เสร็จแล้วไหนจะค่าเช่าบ้านอีกใช่ไหม ค่าแก๊ส ค่าถ่าน ค่าอะไรในบ้าน ลูกไปโรงเรียนเอย มันก็ต้องบริหาร บางเดือนอาจจะได้แค่พันกว่าบาท บางเดือนก็ไม่ถึง ได้แค่ 800-900 บาท ยิ่งเข้าหน้าฝน หน้าเข้าพรรษา ไม่มีงาน ก็นอนเหมือนกบจำศีลเลยสามเดือนเต็มๆ เลยว่างั้นเถอะ
• แล้วประคองชีวิตมาได้อย่างไร
คือเราไม่ได้ไปยึดติดกับอะไรไง ข้าวบางทีก็กินก็กับข้าวอย่างเดียว บางทีไม่มีอะไรก็ไข่ต้ม 2 ฟอง แบ่งกันกินคนละลูก ก็จบแค่นั้นกับแฟน ทีนี้พอมีลูกขึ้นมา ก็บริหารใหม่ ปรับใหม่ เพื่อให้อยู่ได้ ก็มีไปทำงานอื่นเสริม ยิ่งเป็นช่วงเช้าพรรษาอย่างที่บอก งานรับจ้างที่ไหนเอาหมด ไปไหนไปกัน ได้วันละ 20-30 บาท 50 บาท เป็นกรรมกร เป็นจับกัง
เราไม่ได้เป็นช่างฝีมือไง ไอ้อย่างผสมปูนเราผสมได้ เพราะจำดูที่เขาผสม ช่วยเขายก ช่วยเขาแบก คือใครจ้างไปทำอะไรก็ไป ถ้าทำได้นะ อย่างเคยไปแบกปูนก็ไปทำ ไปขุดดินก็ไป ได้เงินมาก็โอเค ก็อิ่ม ก็ได้กลับมากินข้าวบ้าน ซื้อกับข้าวมาอย่างหนึ่ง เมื่อก่อนมันไม่แพงไง กับข้าวถุงละ 3 บาท 5 บาท ได้มาก็มากินกัน ลูกก็มีตังค์ไปกินขนม เราไม่เคยเกี่ยง
• วุฒิการศึกษาระดับเรา ทำไมเราไม่ทิ้งงานนักพากย์แล้วไปหางานประจำอื่นที่มั่นคงกว่านี้
คือใจเรารัก แล้วมันมีความผูกผันอยู่นิดหนึ่งว่า เดี๋ยวออกพรรษา เดี๋ยวจอนี้มีงานแล้ว เขาเตรียมเราแล้ว เขาล็อคเราไว้แล้ว ตารางงานมันจะล่วงหน้าไปก่อน อย่างเราจะรู้ว่าช่วงออกพรรษาปุ๊บ มันจะมีงานทอดกฐิน มีผ้าป่า มีงานทุกวัน มันจะมีหมด ตอนนั้นเงินมาแล้ว แต่สามเดือนก็จำศีลไป ทำอะไรเพิ่มเติมไป แต่ตรงนี้ถ้าคนรู้จักเก็บรู้จักอะไรมันก็ได้ แต่มันน้อยคน ร้อยหนึ่งมีไม่ถึงสิบที่จะมีเงินเก็บสำรองไว้ได้ ยกเว้นพวกนักพากย์โรง
ผมก็อยู่ในกลุ่มเก้าสิบนั่นแหละ คือเราได้มาก็ใช้ไป แต่เราก็วางแผนแบบพออยู่กันได้ แล้วอีกอย่างเราเป็นคนที่ไม่ค่อยขอความช่วยเหลือจากใคร น้อยมากที่จะเอ่ยปากไปขอความช่วยเหลือจากคนนั้นคนนี้ คือถ้าจะขอความช่วยเหลือก็ต้องรู้ต้องเห็นข้างหน้าว่ามีแสงสว่าง เช่น เรื่องเงิน คือมีคืนเขาแน่นอน วันนี้วันที่ 1 ค่าเช่าบ้านต้องจ่ายวันนี้ ขอยืมสามก่อน แต่วันที่ 5 งานมีแน่นอน เดี๋ยววันที่ 5 ไม่เกินวันที่ 6 ผมคืนนะ ประมาณนั้น
• แล้วอย่างเรื่องหมุดหมายปลายทางของอาชีพนักพากย์ เราวาดหวังอนาคตอย่างไรไหมตอนนั้น
ไม่ๆ คือมันวันต่อวัน ต้องลุ้นกันวันต่อวัน อย่างวันจันทร์ อังคาร พุธ มันไม่มีงานอยู่แล้ว วันจันทร์-อังคาร-พุธ -พฤหัสบดีนี้ว่างเลย แต่ว่าบางทีก็ฟลุคๆ ไปเจอจอบางจอ เขาเกิดมีงานขึ้นมากะทันหัน แล้วเรายังเตร่อยู่เฉลิมกรุง ยังไม่กลับบ้าน เขาก็ชวน "อ้าวเฮ้ย เกรียงไปไหนหรือเปล่าเนี่ย" เราก็รีบตอบว่าไม่ได้ไปไหนเลย เขาก็เรียกมาพากย์หนัง เราก็โอ้โห่...พระเจ้าวันพุธ
• ก็คือวันว่างเราจะเตร่แถวนั้นๆ เพื่อสิ่งนี้...
ใช่ๆ นั่นคือเรารอส้มหล่น อยู่ตรงนั้นแหละ เราก็จะรอที่เฉลิมกรุง เพราะตรงนั้นจะเป็นแหล่งพักพิงคนในวงการ คือถ้าคุณจะหาหนัง คุณจะเอาฟิล์มหนัง นักพากย์ คุณต้องมาเอาที่เฉลิมกรุง พวกนักแสดงประกอบที่รู้จักกันเยอะๆ พวกก็จะมาเดินเตร่ๆ อยู่เฉลิมกรุงเยอะแยะ รู้จักกันหลายคน สนิทสนมกันก็เยอะ ก็มีเพื่อน 3-4 คนที่รักๆ กันกลุ่มเดียวกัน ก็ช่วยเหลือกัน เอ๊ย วันนี้กูมีงานสองจอ มึงไปงานหนนึ่งนะ
• ตอนแรกนึกว่ามาก็เริ่มหล่อตามเสียงเลย คือไม่น่าจะมีลำบาก
ไม่ใช่ว่ามาแล้วก็ดังเลย ไม่ๆๆ ชีวิต โอ๊ย... (ลากเสียง) ลำบากมากก่อนหน้านั้น คือหลังจากลาออกจากราชการมาแล้ว มันก็ไม่มีอะไรแล้วไง เงินเดือนก็ไม่มี ที่พักก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี ก็ต้องอยู่บ้านเช่า ก็ยังไม่รู้ว่าชีวิตจะเดินไปตรงไหน หักเหขึ้นมาก็ไปหาพี่เขา ลองดูซิพากย์หนัง พี่เขาพากย์อยู่ ใจเราก็รักอยู่แล้ว ก็ลองเอา ลองก็ลอง ก็งงเหมือนกัน อยากเป็นอะไรก็ได้เป็น สารวัตรทหารก็ได้เป็น นักพากย์ก็ได้เป็น มันก็มาจนถึงวันนี้
"อู๋มงต๊ะ" เมืองไทย
ดาวร้ายผู้น่ารัก
หลังจากลุ่มๆ ดอนๆ กระทั่งมีที่พักพิงมั่นคงในหน้าที่การงาน การได้จับตัวละครถูกฝาถูกตัวนามว่า "อู๋ม่งต๊ะ" ก็ควรจะถือเป็นจุดสตาร์ทแรกๆ ที่ส่งให้ชื่อเสียงเรียงนามของ "เกรียงศักดิ์" กระเดื่องเลื่องลือ...
"ฮืม...เราก็ไม่รู้นะ แต่จริงๆ คือคุณชูชาติ อินทร เขาจะพากย์เองก็ได้ เพราะแกเก่ง แต่เขาต้องพากย์ตัวพระเอกด้วย ซึ่งมันต้องไปเจอไอ้ตัวนี้กันทั้งเรื่อง เขาก็เลยให้เราลองมาพากย์ตัวละครตัวนี้" นัยน์ตาเจ้าของฉายา “อู๋ม่งต๊ะเมืองไทย” ดูเหมือนจะเปล่งประกายขึ้นมา เมื่อเล่าย้อนถึงวินาทีที่นักแสดงคู่บุญเดินเข้ามาในชีวิต
"เราก็ไม่รู้หรอกว่าเหมาะกับเรามั้ย ก็ลองดู ลองดูไปมันก็ใช้ได้ เพียงแต่ปรับอีกนิดหนึ่ง ปรับบุคลิก วิธีการเก็บแอ็กติ้ง วิธีการเก็บเสียง ก็ต้องเก็บให้ละเอียด ก็ได้รับการถ่ายทอดจากตรงนั้นมา พอผลงานมันออกไป ก็เป็นที่ยอมรับ แม้กระทั่งในวงการเพื่อนนักพากย์เองก็ยอมรับ บอก “เฮ้ย ถ้าอู๋ม่งต๊ะนี้ต้องไอ้เกรียงเลย คนอื่นอย่าไปยุ่งกับมันเลย” (หัวเราะ) ก็มาอย่างนั้น"
"แต่จะว่าไปแล้ว เขาก็มีส่วนที่เหมือนผมเหมือนกันนะ"
นักพากย์รุ่นใหญ่เผยความรู้สึกต่อตัวละครตัวนี้ ที่บังเอิญมีอะไรคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในฐานะ "เบื้องหลัง" ความบันเทิงโดยที่ไม่มีคนรู้จักหน้าตาหรือมีชื่อเสียงติดหู กระทั่งวิถีทางการเดินเข้าเป็นนักแสดงก็แบบจับพลัดจับผลูตกกระไดพลอยโจนต้องมาอยู่หน้ากล้อง
"เพราะเขาเป็นคนอยู่เบื้องหลังเหมือนกัน คือเขาไม่ได้เป็นนักแสดงมาก่อนนะ เขาไม่ใช่นักแสดง เขาเป็นคนอยู่เบื้องหลังกองถ่าย ติดต่อทำธุรกิจของกองถ่าย แล้ววันดีคืนดี ไอ้ตัวละครตัวนี้ไม่มีใครเล่น เขาก็รับเล่นเอง ส่วนเรา เราก็อยู่หน้าไมโครโฟน อยู่เบื้องหลังทำหน้าที่ให้ภาพที่มันอยู่บนจอมันมีชีวิต ก็มีอยู่วันหนึ่งผู้กำกับเรื่อง “เก๋า..เก๋า” น้องบอล (วิทยา ทองอยู่ยง-ผู้กำกับ) เขาก็ติดต่อเราให้เล่นหนังให้เขา"
เจ้าของเสียงพากย์ทุ้มเสน่ห์เว้นวรรคเล็กน้อยเป็นที่แทนความประหลาดใจ ก่อนจะขยายเรื่องราวการเข้ามาเป็นนักแสดงครั้งแรก
"คือตอนแรกก็ติดต่อจะให้เราพากย์แหละ เพราะเขาติดต่อจะเอาอู๋ม่งต๊ะมาแสดงในเมืองไทย เขาก็จะให้เราพากย์ เราก็รับปาก แต่หนังเขายังไม่ได้สร้าง ก็บอกเขาไปว่าสร้างเสร็จเมื่อไหร่ เดี๋ยวไปพากย์ให้แน่นอน แต่จู่ๆ วันหนึ่ง ทีมงานโทร.มาบอกเราว่าผู้กำกับอยากเจอตัว คือทุกคนไม่รู้จักหน้าเราไง เคยได้ยินแต่เสียง ตอนนั้น เราก็ยังสงสัยอยู่ว่ามีอะไร เพราะเราไม่รู้ว่าอู๋ม่งต๊ะมาเล่นให้ไม่ได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องคิวเรื่องการเดินทาง เราก็ไป
"ไปถึง เขาก็นั่งมองเราเฉยๆ เขาไม่พูดอะไรกับเรานะ (หัวเราะ) ยกมือไหว้กันเสร็จก็ไม่ได้พูดอะไร ก็มีทีมงานตากล้อง 5-7 คนนั่งคุยกัน จู่ๆ เขาก็บอกเราว่าสนใจอยากได้เรามาเล่นหนังด้วย เราก็ โอ๊ย...เลย รีบบอกไปว่า ผมเล่นหนังไม่เป็น ผมไม่เคยเล่น ครั้งแรกก็ปฏิเสธเขาไป เสร็จแล้วก็กลับมา ก็ไม่ได้คิดอะไร เว้นไปหนึ่งวัน ทีมงานก็โทรติดต่อกลับมาอีกว่าผู้กำกับมั่นใจว่าเราเล่นได้ และต้องอาเกรียงเท่านั้น ติดต่ออาเกรียงให้ได้ แต่เราก็ยังไม่รับปาก ก็ยังตอบเขาไปว่าเอางั้นเหรอ คือเขาลงทุนเป็นสิบๆ ล้าน ใช่ไหม แกร๊กฟิลม์ แกร๊ก..(ลากเสียง) ตังค์ทั้งนั้นเลย แล้วถ้าเราไปเล่นมันใช้ไม่ได้ขึ้นมา มันรื้อกันยาวเลยนะ พอรื้อเสร็จต้องเริ่มเซ็ตกันใหม่ ทั้งพระเอก นางเอก ต้องไปวางวันวางคิวกันใหม่
"ทีนี้ตอนนั้น เพื่อนๆ ทีมงานที่พากย์หนังด้วยกันที่ทำงาน เขาก็เห็นว่าโทร.มาติดต่อบ่อย เขาก็สงสัยว่าทำไมเราไม่รับเล่น "มึงเป็นอะไร มึงก็ไปเล่นสิ มึงเล่นไม่เป็น เขาบอกให้มึงเล่นอย่างไร ก็เล่นอย่างนั้น" ก็เลยตกลงไปเล่นกับเขา"
นักพากย์เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์ เผยด้วยรอยยิ้ม
"แต่ในเมื่อเขากล้าเสี่ยงกับเรา พอเราได้รับความไว้วางใจตรงนี้ เราก็ลองดู คือตอนนั้นที่แสดงได้ยินคำว่า คัท โอ้โห...โล่งอก"
จากการแสดงในภาพยนตร์เรื่องแรก เก๋า..เก๋า ก็ทำให้อดีตสารวัตรทหารนักพากย์ผู้นี้คว้ารางวัลนักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจาก Starpics Thai Film Awards และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจากทั้ง 3 สถาบันใหญ่ คือ รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ และรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง อีกด้วย
นอกจากนี้ยังเกิดกระแสที่ผู้คนต่างค้นหาคำตอบว่าเหตุใด... นักแสดงคนนี้ถึงต้องใช้เสียงพากย์?
"คือทุกคนก็จะแบบ..เฮ้ยคนนี้เล่นทำไมต้องเอานักพากย์มาพากย์ด้วย เพราะจำจากเสียงได้ว่านี่มันเสียงนักพากย์หนัง แต่คนดูเขาไม่รู้ว่าเราคือตัวจริงเสียงจริง ช่วงนั้นกระแสลงเว็บบอร์ด อินเตอร์เน็ต ก็เยอะมาก คนถามหากันเยอะมาก คนที่รู้เขาก็ตอบให้ว่านั่นแหละ ตัวจริงเขา
"มันก็เป็นอะไรที่ดีนะ คือพอไปเล่นแล้วทีมงานทุกคนก็สบายใจ แซวเราว่าไหนบอกเล่นไม่ได้ เราก็ไม่รู้หรอกว่าเราเล่นได้หรือเล่นไม่ได้ เพราะในความรู้สึกของเราก็คือว่า คุณให้ผมเล่นเป็นอะไร ให้ทำอะไร คือเขาอยากให้เราเล่นแบบ อู๋ม่งต๊ะ ค็อกๆ แค็กๆ ง็อกๆ แง็กๆ ซึ่งเราดูเขาประจำ เพราะเราพากย์อยู่คนเดียว ก็ทำให้เราเห็นบุคลิกเขาว่า เออ เป็นคนอย่างนี้ๆ เวลาเล่นอย่างนี้ บทบาทเขาจะออกมาอย่างนี้ๆ"
"แล้วก่อนหน้าหนังยังไม่ฉาย..." นักพากย์รุ่นใหญ่เว้นวรรคเล็กน้อยเป็นทีดึงความสนใจ
"...คือมันกำลังอยู่ในช่วงตัดต่อ จาตุรงค์ มกจ๊ก เขาก็กำลังจะเปิดหนังเรื่อง "ตั๊ดสู้ฟุด" พอดี เขาก็หาไอ้ตัวละครตัวนี้อยู่เหมือนกัน เขาอาจจะมีในใ จแต่ยังไม่รู้ว่าจะเอาใครเล่น จนเขาเดินแล้วเขาไปได้ยินเสียงหนังที่เราเล่น เขาได้ยิน เขาก็ เอ๊ะ (เลียนแบบเสียงจตุรงค์) เสียงใครวะเนี่ยคุ้นๆ กูคุ้นหูจัง ทางทีมที่ทำตัดต่ออยู่ เขาก็บอกว่าเป็นเรา เป็นนักพากย์มาเล่นหนัง ก็วานฝากทีมงานให้ติดต่อมาเล่นหนัง"
"หลังจากนั้น จาตุรงค์ก็มาที่ห้องบันทึกเสียง มายืนดูเราพากย์หนังตั้งแต่ สิบโมงเช้าจนถึงบ่ายสามโมงเย็น คือเขาบอกว่า "โห่ อาเกรียงเสียงนี้สุดยอด" เขาชอบมาก พากย์ไอ้ตัวนี้ชอบมาก เขามีหนังที่เราพากย์สมัยอินทรีหมด สมัยพันธมิตร เรามาตั้งพันธมิตรก็มีหมดเหมือนกัน คือหนังจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ที่เราพากย์ เขาเก็บไว้หมดเลย แล้วเขาเล่าให้ฟังได้เลย และในที่สุด เขาก็บอกว่าจะให้เราเล่นเป็นแบบนั้น เล่นเป็นไอ้ตัวอย่างเนี้ย เป็นนักเลงดุๆ เจอใครฆ่า ใครไม่พอใจฆ่า แต่กลัวลูก พอลูกเรียกพ่อ เสียงจะเปลี่ยนทันที "จ๋า...ลูก" "ครับลูก..." (ทำเสียงเอกลักษณ์ตัวเอง) ก็ไปเล่นตัดสู้ฟุด นั่นคือเรื่องที่สอง แล้วหลังจากที่งานออกไป เราก็ไม่รู้ว่าตลาดเขาจะเปิดรับเราไหม แต่ก็ได้รับการตอบรับมาดีพอสมควร ดูจากที่มีผู้จัดมีผู้สร้าง แล้วก็ผู้กำกับหลายๆ ราย เข้ามา ขอไปร่วมงานด้วย เราก็ด้วยความยินดีครับ แต่ผมมีเวลาอยู่อย่างนี้ๆ นะ ว่างแค่วันจันทร์ วันอังคาร แล้วก็วันเสาร์กับวันอาทิตย์"
เสมือนหนังภาคต่อหรือตัวละครที่เคยให้เสียงไว้ ถ้าเปรียบถึง "ชีวิต" ในตอนนี้ที่ขยับก้าวขึ้นมาเรื่อยๆ นักพากย์เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์ หรือ ดาวร้ายผู้น่ารักในบทภาพยนตร์ จากบทบาทหนึ่งสู่อีกบทบาทหนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างไร ก็คงต้องเทคเข้าช่วงแนะนำท้องเรื่องเพื่อความเข้าใจ
• คือพอได้เล่นหนังแล้ว ชีวิตนักแสดงก็ดูเหมือนจะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้นใช่ไหมครับ
ก็ต่อกันเลย คือน้องกู๊ด (เฉิด ภักดีวิจิตร) ลูกชายอาฉลอง เขาไปนั่งดูหนังเรื่อง “ตั๊ดสู้ฟุด” เขาเห็นเราเล่น ก็จำเสียงเราได้ว่าเป็นเสียงนักพากย์ เขาก็มาบอกพ่อ บอกอาหลอง ส่วนตัวอาฉลองเขาก็รู้จักเรา แต่แกจำเราไม่ได้แล้วแหละ (หัวเราะ) เพราะมันนานมาก คือผมเคยพากย์หนังสมัยที่แกทำเรื่อง “ทอง” แกก็นึกไม่ออกว่าเราคือใคร ลูกชายก็ไปบอกว่าเป็นนักพากย์ บอกว่าอยากให้มาเล่นเป็นตัวพ่อนางเอก ดุๆ นักเลงๆ แต่ว่าดูป้ำๆ เป๋อๆ นิดนึง น้องเขาก็ติดต่อมา คุณอาก็ติดต่อมา พออาหลองเจอผม แกก็พูดว่ากูนึกว่าใคร มึงนี่เอง ก็โอเค ก็เลยได้มาเล่น ผ่าโลกบันเทิง และก็อีกสามสี่เรื่องติด เรื่องอุบัติรักเกาะสวรรค์ ดุจตะวันดั่งภูผา
นอกนั้นก็ได้มาเล่นซิทคอมอีกหลายเรื่อง เณรจ๋า, นัดกับนัด, บ้านนี้มีรัก ก็ได้รับเชิญไปเล่นมา ก็รู้จักพรรคพวกเพื่อนฝูงพี่ๆ น้องๆ ขึ้นเยอะ แล้วก็จะมีพวกหนังของคุณยอร์ช (ฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์) ก็สองสามเรื่องที่เล่นไป อย่างสุขเตเสลดเป็ด แต่จริงๆ ครั้งแรกเขาก็ให้คนติดต่อมา แต่ผมปฏิเสธไป แกยั่วใหญ่ โกรธใหญ่เลย คือคนที่ติดต่อผม ประโยคแรกเขาถามเลย เราพูดภาษาอีสานเป็นไหม เราก็นึกว่าต้องพูดทั้งเรื่อง เพราะต้องเล่นกับวงโปงลาง อี๊ด ลาล่า ลูลู่ เราเลยบอกว่าผมพูดไม่เป็นก็ปฎิเสธไป ไม่เล่น ทีนี้พอมาเจอตัวคุณยอร์ชทีหลัง วันนั้นไปร่วมงานกัน ไปเป็นพิธีกรอยู่งานหนึ่ง เขาก็ถามเราว่าทำไมเราไม่เล่นหนังให้เขา เราก็บอกเขาไปอีกว่าผมพูดอีสานไม่เป็น เขาก็โธ่ (ตบโต๊ะ) ทั้งเรื่องเลยพูดอยู่คำเดียว "แม่นบ่" นอกนั้นพูดไทยปกติ เราก็เท่านั้นแหละ เวรกรรม คือด้วยความไม่รู้ทีมงานถามคำแรกเราก็สะดุ้งเฮือกแล้ว เราพูดไม่เป็น กลัวจะไปถ่วงเขา เพราะว่าไปเล่นกับพวกนั้น เขาไหลกันไปได้หมดไง เขาพูดอีกสานเป็นกันหมดทุกคน เขาก็โต้ตอบกันไปได้หมด แต่ถ้ามาถึงเรา แอ๊ะ! เสร็จเลยมึงเอ๊ย รื้อกันตาย พวกกระทืบเอาแน่เลย ก็เลยไม่เล่น
เราก็เป็นตัวเราอย่างนี้ เป็นคนที่เคารพเวลา เคารพทีมงาน นัดกี่โมงก็ไปเท่านั้น นัดสิบโมงเช้า เก้าโมงครึ่งเราก็ถึงแล้ว บางทีไปถึงก่อนกองถ่ายอีก ไปถึงก็ตกใจ ใช่ที่นี่หรือเปล่าเนี่ย ทำไมมันไม่มีใครเลยสักคน (ยิ้ม) ประมาณนี้ ก็ต้องโทรไปถามทีมงานโลเกชั่นว่าถูกไหม ก็คือพอทำอย่างนี้มันก็สบายใจ เพราะเราทำงานพากย์หนัง เราต้องเคารพเวลา ทำงานบันเทิง เรื่องอื่นพอทน เรื่องเคารพเวลาต้องสำคัญ ไม่อยากให้เขามาคอยเราไง เราไปคอยเขาดีกว่าสักครู่หนึ่ง เพราะยังไงมันก็ต้องไปถ่ายอยู่แล้ว ต้องทำงานอยู่แล้ว เราอาจจะตื่นเร็วกว่าเก่าอีกนิดหนึ่ง
• แล้วอย่างการพากย์หนังให้ฮอลลีวูดอาทิเรื่อง the lord of the ring, the fast and the furious,Star War เป็นไงมาไงครับ
บริษัทเขาซื้อมา อย่างเราอยู่สหมงคลฟิล์ม แล้วเขาซื้อหนังมาฉาย เราก็ต้องพากย์อยู่แล้ว หรือเขาก็จะดูว่าตัวละครตัวนี้เหมาะกับอาเกรียงไหม เขาก็จะโทรมาบอกว่ามีตัวนี้แสดงในเรื่องนี้นะ เขาก็จะมาติดต่อ แต่ว่าเขาก็จะต้องส่งเสียงเรากลับไปเมืองนอก ก็จะมีการแคสติ้งเสียงส่งกลับไปที่ฮอลลีวูด เขาก็จะฟังเสียง คือเขาฟังไทยไม่รู้เรื่องหรอก เพียงแต่ว่าเขาฟังโทนเสียง ว่าไปด้วยกันได้ไหม อย่างแกนดัล์ฟเนี่ย 2-3 คนที่ส่งไป เขาเลือกเรา แต่เขาไม่รู้จักเราหรอกตรงนั้น
พากย์การ์ตูนก็เหมือนกัน คนจำไม่ได้หรอก เพราะเราแจกเสียงตามบุคลิก คือถ้าตัวนิ่งๆ เราก็จะนิ่งๆ เราก็จะนิ่งให้เขา เราก็จะต้องนิ่งไปเลย "ไม่เป็นไรลูกพ่อ" "ไม่เป็นไรศิษย์ข้า เดี๋ยวข้าจัดการให้เอง พวกเจ้าไปพักผ่อนเถอะ" แล้วอีกอย่างทุกคนถูกฝังไว้ด้วยอู๋ม่งต๊ะ ถ้าได้ยินเสียงอาเกรียงต้องเป็นอู๋ม่งต๊ะ อย่างพอไปพากย์สคูบี้ดู คนก็จำไม่ได้ว่านั่นคือเสียงผม ผมพากย์ตัวพระเอกแชกกี้ ไอ้ที่คู่กับหมา ไอ้คนที่พากย์หมาสบายๆ แต่ไอ้เรานี้แทบตาย ต้องไปดัดเสียงให้แหลมเปี๊ยบเลย "ไฮ สคูบี้ดูมาทางนี้โว้ย" พระเจ้า...กว่าจะจบแต่ละเรื่องแต่ละตอน แทบตายเหมือนกัน
• ส่วนตัวในฐานะที่เกิดมาจากหนังจีนก็ว่าได้ ส่วนตัวเรารู้สึกอย่างไรกับหนังจีนบ้าง
หนังเขาก็พัฒนาไปเรื่อยๆ นะ เพราะเราคนดู เราก็ดูแล้วรู้สึกว่ามันเป็นประเพณีของเขา วัฒนธรรมของเขา คือหนังไทยจะไปทำแบบหนังจีนก็ไม่ใช่ เพราะประเพณีไทยเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น คนที่ดู เขาก็ดูความแปลก มันมีอย่างนี้ด้วยหรือ ที่เมืองไทยมันไม่มีไง อย่างสมมุติ วันฮาโลวีน คุณจะสร้างหนัง ถ้าเป็นของฝรั่งเขาทำจะเข้าใจง่ายกว่าและคนดูก็ยอม แต่ถ้าเป็นเราลองมาทำฮาโลวีนบ้าง ผีเยอะไปหมด เอาแค่ผีตาโขนยังจะตายเลย เพราะมันเป็นหนังของภาค ใช่ไหม คนภาคกลางก็มีบ้างที่ไม่ค่อยรู้จัก แต่ถึงรู้จักก็ไม่คุ้นเคย อาจจะไม่มีคนดู อย่างที่บอกเพราะไม่ใช่ขนบธรรมเนียมประเพณีของเรา คนไทยจะไปเหาะเหินเดินอากาศ ใครจะเชื่อใช่ไหม ถ้าไม่ใช่แนวจักรๆ วงศ์ๆ นั่นคือเพราะเราดูลิเกมาตั้งแต่เด็กๆ ไง
ตรงนี้มันเลยเป็นเสน่ห์ มันเป็นขนบธรรมเนียมของเขาที่ว่าทำออกมาแล้วคนทั่วโลกยอมรับว่าคนจีนเป็นอย่างนี้นะ แล้วคุณรู้ไหมว่าแผ่นดินใหญ่ห้ามสร้างหนังเกี่ยวกับภูตผี ปีศาจ เขาไม่ให้ฉายเลยนะ เขาบอกว่ามันเป็นการมอมเมาประชาชน เขาไม่ให้เลยนะ เป่า เสก เลข ยันต์ ไม่มี เขาไม่ให้เข้าไม่ให้ฉาย
• แม้จะแปลกวัฒนธรรม แต่พอมารวมกับเสียงของเรา มุกเรา ทำไมมันเข้ากันล่ะ
นั่นก็คือความประหลาดไง ที่ว่าพอของเขาเป็นอย่างนี้ แล้วพอเราพากย์เสียงใส่เข้าไปปั๊บ มันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คือถ้าเราไปทำหนังไทย เราก็ต้องพากย์แบบนั้นแหละ แต่หนังบ้านเรามันก็มีอยู่แค่ไม่กี่พล็อตเรื่อง แม่ผัวลูกสะใภ้ พระเอกรวยนางเอกจน มันก็เลยมีแค่นี้
• คือตอนนั้นแม้กระทั่งคนในวงการก็รู้จักเราแต่เสียง เรารู้สึกอย่างไรบ้างไหม
ก็เฉยๆ นะ เพราะว่าเรามันอยู่เบื้องหลังอยู่แล้วไง เรามันต้องอยู่หน้าไมโครโฟน อยู่เบื้องหลัง ให้เสียงแก่ภาพที่มันอยู่บนจอ ให้มันมีชีวิตทำอย่างไร ตรงนี้สำคัญมากกว่า เขาเล่นมาดีมากเลยนะ เขาเล่นมาเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แต่มันใบ้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้มันมีชีวิตมีเสียงขึ้นมา เหมือนกับตัวจริงเขาพูด เหมือนกับตัวจริงเขาเล่นอยู่แสดงอยู่ เราก็เอาเสียงเราเข้าไป ให้มันแมตช์กับหน้าเขา แล้วเราก็ดูว่าตัวละครนี้มันเหมาะกับเราไหม ไม่เหมาะเราก็บอกว่าอย่าเอาตัวนี้มาให้กูดิ (หัวเราะ) ให้คนอื่นไป อะไรประมาณนี้
โลกของเกรียงศักดิ์
หรือ “อู๊ด บ้านแพ้ว”
นอกจากชื่อของ "เกรียงศักดิ์" จะเป็นชื่อที่พึ่ง หากนับระยะเวลา ก็ร่วมสิบกว่าปีเห็นจะได้ที่เราได้เห็นหน้าค่าตา อดีตสารวัตรทหาร เด็กหนุ่มจากบ้านแพ้วที่ชื่อ "อู๊ด" ก่อนหน้านี้... มีลักษณะนิสัยตัวตนจริงๆ เป็นอย่างไร
"ผมเป็นคนที่เงียบๆ นะ ถ้าอยู่บ้าน ผมจะไม่ค่อยคุยกับใครเลย ผมจะนั่งอ่านหนังสือบ้าง ดูทีวีบ้าง หรือไม่งั้นก็ปิดทุกอย่าง แล้วก็นั่งนิ่งๆ อยู่คนเดียว"
นักพากย์รุ่นใหญ่วัยแซยิดกล่าวพลางนิ่งมองอย่างมุมกว้าง ดั่งกำลังใคร่ครวญอะไรบางอย่าง...
"คือผมก็ไม่รู้ว่าทำไมอย่างนั้น เราอาจจะเบื่อแล้วไง คืออย่ามาชวนผมไปห้าง ไม่ต้องชวนผม เดินตะหล่งตลาดก็ไม่ต้องชวนผมเดิน คือจะไปก็ไปด้วยได้ ไปได้ แต่ถ้าจะไปซื้ออะไร ก็ตรงไปตรงจุดนั้นเลย ซื้อเสร็จก็กลับ อย่างนี้ หรือถ้ายังไม่กลับก็ไปนั่งตรงไหนสักที่ ก็ไปนั่งเลยอยู่ที่เดียว จะไม่เดินไปๆ มาๆ ไม่ๆ ไม่ชอบ ไม่รู้สิ"
"คือบางทีเราไปเจอหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง บางทีก็อยากจะขอเหมือนกันนะ แต่ไม่ใช่ว่าเราไม่เข้าใจ อย่างบางคนเจอปั๊บมีเพื่อนแนะนำให้รู้จัก นี่เพื่อนเป็นนักพากย์ เป็นนักแสดงหนัง เขาก็จะพูด “เคยเห็น เคยดู ชอบๆ เอาไปเล่นด้วยสิ” มีฉากปล้ำนางเอกไหม ตรงนี้แหละที่บางทีเราก็คิด "ฮืม...คุณคิดอะไรเหรอ" ผมไม่เข้าใจ คำนี้ผมได้ยินมาตลอดนะ ตั้งแต่ตอนที่ผมไม่ได้เป็นนักแสดง ผมก็ได้ยินนะ เวลาไปเจอนักแสดงคนอื่นแล้วก็มีเพื่อนของเพื่อนก็จะมาอย่างนี้ เราก็มานั่งคิดว่าทำไมคนเราไม่ให้เกรียติกันบ้างนะ คือคุณคิดว่าการแสดงมันง่ายเหรอ แล้วคุณพูดอย่างนี้แล้วถ้าเขาเอาไปจริงๆ คุณทำได้หรือเปล่า เขาให้ปล้ำจริง คุณกล้าหรือเปล่า ผมรู้ว่าพูดเอาสนุก เข้าใจ แต่บางครั้งก็คิดถึงความรู้สึกของไอ้คนที่มันได้รับบ้าง เพราะบางทีเราก็อยากเป็นตัวของตัวเราเองเหมือนกัน ไม่อยากต้องโชว์ตัวหรือต้องอะไรอย่างนั้น"
นอกจากลักษณะนิสัยจะค่อนข้างแตกต่างจากภาพยนตร์หรือละครส่วนใหญ่ที่ข้องแวะ ภาพลักษณ์ที่ดูไม่ใช่ผู้นำที่มั่นคงก็ตรงกันข้ามสิ้นเชิง
"คนละเรื่องเลยนะ แต่ถามว่าดุไหม อาจจะดุ แต่ก็เป็นบางเรื่องบางราวไป ไม่ใช่ว่าดุทุกเรื่อง เพียงแค่ว่าเวลาพูดแล้วก็จะไม่ค่อยคืนคำ ไม่ค่อยเปลี่ยน ถ้าพูดไปแล้วว่าจะทำก็คือทำ แล้วต้องทำให้ได้ประมาณนั้น คือผมเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดเยอะ แต่พูดแล้วต้องทำ ทำเลย อย่าถามเยอะ แล้วก็สั่งไปแล้วก็ขอให้จบแค่นั้น ถ้าไม่เข้าใจให้ถามอีก ถามใหม่ ถามจนเข้าใจ ไม่ใช่ไปทำเสร็จแล้วมันผิดแล้วมาถาม อย่างนั้นโดน"
นักพากย์รุ่นใหญ่ออกตัว ถึงวิถีในแบบฉบับของตนเอง ไม่ว่าจะหน้าที่การงานหรือแม้กระทั่งภายในครอบครัว
"ผมเป็นลูกคนกลาง มีพี่น้อง 11 คน เป็นคนกลางคนที่หกแล้วมีน้องไปอีกห้า พี่ไปอีกห้า แต่ว่าทุกอย่างในบ้าน ผมจะเป็นคนรับผิดชอบหมด ใครจะทำอะไร มีปัญหาอะไรก็จะถามว่า เอาอย่างไรดี แม้กระทั่งพี่คนโต ก็ยังเกรงใจเรา ด้วยความที่เราเป็นคนไม่ค่อยพูด เราก็จะเหมือนเป็นที่ปรึกษา แต่เรามักจะให้ลองปรึกษากันดูก่อน ลองถามกันดูซิ ถ้ามันติดมันขัดตรงไหนก็คอยมาปรึกษาเรา ถ้าคุยกันได้ มันจบตรงนั้นก็จบไป แล้วก็บอกเราว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ก็ว่าไป เพราะถ้าทำไปแล้วถ้ามันไม่ดี เราก็จะว่าทำไมไม่ปรึกษากันก่อน ถ้าถามซะก่อนเหตุการณ์แบบนี้มันก็จะไม่เกิดขึ้น นี่ต้องรื้อให้ ต้องเริ่มต้นใหม่ ศูนย์เลยนะ แล้วไอ้ที่เสียไปล่ะ เห็นไหม ก็เพราะไม่ปรึกษา เราก็จะเป็นอย่างนี้ คือทุกอย่างจะให้ผมเป็นคนตัดสินใจหมด
"ฉะนั้นเวลาเราไปบ้าน อย่างเด็กๆ บางทีมันนั่งคุยกันเต็มหน้าบ้าน พอรถเราเลี้ยวเข้าไปปุ๊บ มันจะวงแตกเลย (หัวเราะ) ไปคนละทิศละทาง เราไปบ้าน เราก็จะนั่งคุยกับน้องๆ พี่ๆ ว่ามีงาน มีอะไร ปรึกษา เขาจะให้เกรียติเราเยอะมาก ผมเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เด็กๆ แล้วไง กับครอบครัวนี่ไม่ได้เลย คือกับพ่อกับแม่นี้ยิ่งไม่ได้เลย รักมาก แล้วท่านจะเอาอะไรก็ว่ามา บอกมา หาให้หมด แม้มันไม่ได้เยอะ ได้นิดหนึ่งก็ยังดี แต่ก็พยายามทำทุกอย่าง"
และแม้ว่าจะมีชื่อเสียงโด่งดังก็ยังคงเป็นเหมือนคนเดิมเรื่อยมา เสื้อผ้าสบายๆ กินอาหารข้างทาง เว้นเสียแต่จะมีเพียงบางสิ่งบางอย่าง สิ่งเดียวเท่านั้นที่ต้องปรับตัวเล็กๆ น้อยๆ นั่นก็คือเวลาสังสรรค์
"คือจะไปนั่งสังสรรค์แบบเอะอะโวยวาย คุยกัน เหมือนเมื่อก่อนนี้คงไม่ใช่แล้ว (หัวเราะ) เมื่อก่อนนี้โวยวายอย่างไร เขาก็จะว่า ไอ้โต๊ะขี้เมา แค่นั้น แต่พอมาเป็นตรงนี้ แล้วถ้าเกิดไปเสียงดังอย่างเมื่อก่อนๆ มันจะเปลี่ยนจากไอ้โต๊ะขี้เมา เป็นถือว่าเป็นนักแสดงเป็นดาราแล้วใหญ่เหรอ อ้าว (เน้นเสียง) มันจะเปลี่ยนไปอีกแบบไง คนรักก็มี คนเกลียดก็มี คนไม่ชอบ คนหมั่นไส้มันก็เยอะ เพราะอย่างน้อยๆ คนที่มากับแฟน แฟนเขาดันมาจำเราได้ มาทักทายนักแสดง มัวแต่สนใจที่เรา แทนที่จะสนใจแฟน เขาก็เขม่นเราแล้ว
"บางทีเวลาเขามองเราด้วยความไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า เราก็เลยต้องส่งยิ้มเป็นนัยให้รู้ว่าที่คิดในใจ ถูกจริงๆ"
นักพากย์รุ่นใหญ่กล่าวแซมยิ้ม อย่างอารมณ์ดี
"เราก็ไม่รู้หรอกว่าเรามีคนรู้จักเยอะเหมือนกัน อย่างบางทีไปตลาดมหาชัย คนเขาก็มองเรา เราก็งงว่าเขาจำเราได้ขนาดนั้นเลยหรือ เวลาไปซื้อของที่ตลาดพวกเสื้อยืดกางเกงอะไรพวกนี้ ทั้งเจ้าของร้าน คนขายของ จะไม่เป็นอันค้าขายกัน"
จากแผ่นฟิล์มสะท้อนสู่ตัวตน จากเส้นทางการงานสะท้อนมายังเส้นทางชีวิต พูดไปแล้วก็เหมือนตัวละครตัวหนึ่งที่มีฉากประสบการณ์เป็นเรื่องราวให้ดำเนินมาเรื่องๆ จนกว่าจะถึงตอนจบของภาพยนตร์
• ประสบการณ์ที่คลุกคลีกับภาพยนตร์ตั้งแต่เด็กจนอายุเท่านี้ "หนัง" สอนอะไรเราบ้างหรือทำให้เราคิดอะไรได้บ้างไหม
สอนเราว่าอย่าประมาท คือหนังเรื่องหนึ่งก็จะได้แบบหนึ่ง ข้อดีก็มี ข้อเสียก็มี แต่มันมีข้อดีเยอะไง เราก็จำข้อดีๆ เอาไว้ ดูง่ายๆ ถ้าเกิดมีเหตุการณ์ตีกันขึ้นมา แล้วเราไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเขาด้วย คือเราเกิดไปอยู่ในเหตุการณ์ตรงกลางนั้นด้วย เราจะเอาตัวรอดแบบไหน เราควรจะทำตัวอย่างไร หนังบางเรื่องเขาก็จะสอนเราเอง หรือวิธีการจะไปเผชิญหน้ากับสิ่งประหลาดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ต้องทำตัวอย่างไร มันสอนนะ อย่างเข้าป่าเจอเสือทำไงวะ ยืนนิ่งๆ (ยิ้ม) จ้องหน้ามันไว้ เจอช้าง ก็พยายามเดินถอยหลังไปเรื่อยๆ อย่าวิ่ง เขาก็สะบัดไปเอง เพราะเขาถือว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไรกับเขา
หรือเรื่องวิธีการถูกหลอก จะถูกหลอกกันแบบไหน เรื่องมองคนว่าไอ้คนนี้กะล่อนยังไง วิธีการจะเอาสินค้าปลอมมาขายให้เรา มันทำอย่างไร เราก็จะได้ตรงนั้นที่เก็บเกี่ยวมา เราก็เคยเจอ เดินไปแล้วเก็บพระได้มาองค์หนึ่ง เลี่ยมทองด้วย มาขายเราพันสองพัน บอกไม่มีเงิน ถ้าเป็นคนโลภเหรอ จบ ไปถึงร้านนทองเขาบอกว่าจะเอาใกล้เอาไกล ถ้าเอาใกล้ก็หยิบไป ถ้าเอาไกลเดี๋ยวขว้างไปให้ (หัวเราะ) ไม่มีของฟรีในโลกนะ แล้วไม่ได้ของถูกราคาถูกและของดีไม่มี คือต่อให้ไม่เข้าใจ มันก็จะมีอิริยาบถประมาณนี้ที่ทำให้เราจำมาใช้
• จากวันนั้นจนถึงวันนี้คิดว่าช้าไหมกับการเดินทางของชีวิต
ก็ช้านะ เล่นหนังตอนจะอายุ 50 ตอนนี้ 62 แล้ว แต่มันก็เป็นสเต็ปของชีวิตและวิวัฒนาการของโลกไง คือถ้าสมมติว่าย้อนกลับไปได้สัก 30 ปี แล้วอายุสัก 30 กว่าๆ แล้วเรามีศักยภาพขนาดนี้ โห่...คงโกยไม่หวาดไม่ไหวเหมือนกัน ใช่ไหม แต่ว่ามันก็ไม่ใช่แล้วล่ะ คือถ้ามองย้อนกลับไป เราเดินมาถึงตรงนี้ได้อย่างไร มันเป็นมาอย่างไร มันมาแบบเราไม่ได้ก้าวกระโดเลยนะเนี่ย เรามาทีละก้าวๆ แต่ก็มั่นคงนะ เรามีบ้าน มีที่ให้ลูกอยู่ มีอาหารมีข้าวกิน มีรถส่วนตัวใช้ เลี้ยงลูกลูกเต้าจนเรียนจบมีงานมีการทำ ก็โอเคนะ พอมารู้ตัวอีกที แก่แล้วเหรอวะเนี่ย จะหมดแรงแล้วเหรอ จะเริ่มหมดแรงแล้วเหรอ
• เหมือนเราคิดได้ในปรัชญาชีวิตอะไรบ้างอย่างหรือเปล่าว่าชีวิตมันไม่ควรจะต้องเร่งรีบ
คนอื่นคิดอย่างไรไม่รู้นะ แต่ผมคิดและจะคอยพูดเสมอๆ "พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว" คิดแค่นั้น พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว คือเราไม่รู้ไงว่าพรุ่งนี้เราจะมีโอกาสเห็นพระอาทิตย์อีกไหม ถ้าได้เห็นก็โชคดีชีวิตได้เดินไปอีกวันหนึ่ง คือมันไม่มีใครกำหนดวันตายตัวเองได้ ไม่มีใครรู้ ฉะนั้นเนี่ย วันนี้ทำให้มันดี ทำอะไรก็ได้ ทำให้มันจริงจัง พรุ่งนี้มันเช้าแล้ว แต่ถ้าคืนนี้วันนี้ เราทำดีเรียบร้อยแล้วเรานอนหลับไปเราไม่ตื่นเลย ไม่เห็นอะไรแล้ว ก็ชีวิตเราจบแค่นั้น
"หัวโขนครอบหัวใครใจมักคึก
อย่าเหิมฮึกนึกว่าเป็นเหมือนเช่นหัว
ยามได้ดีเด่นดังระวังตัว
อย่าลืมตัวสามคำ จำใส่ใจ"
คือคุณจะเป็นอะไรก็ได้ คุณอย่าลืมตัว หัวที่เขาครอบให้คุณ มันแค่หัวโขน พอเขาถอดออกไป หน้าคุณก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นสุภาษิตที่ผมท่องไว้ตลอดและก็จำได้ขึ้นใจ กับอีกอันก็คือ
...เหมือนบายศรีสู่ขวัญท่านถนอม
เจือแป้งหอมประแจจันทร์เครื่องหรรษา
พอเสร็จงานท่านก็ลงทิ้งคงคา
ให้ลอยมาลอยไปเหมือนใบตอง...
เขาตัดใบกล้วยตัดกิ่งโน่นกิ่งนี้ ต้นไม้อยู่ริมทาง หมาเยี่ยวรด แมวเยี่ยวรด คนเยี่ยวรด แต่วันดีวันหนึ่งเขาจะหยิบใช้ขึ้นมา เขาจะเอาไปปักใช้ในแจกัน คนจะยกมือไหว้กราบกันอย่างโน้นอย่างนี้ ใช่ไหมครับ แต่พอเสร็จงานเขาก็โยนทิ้ง
เพราะฉะนั้น เขาบอกว่าชีวิตคนเรามันก็เหมือนบายศรี เหมือนใบตอง หมดตรงนั้นเขาก็โยนทิ้งลงคลองไป ก็ลอยมาลอยไปเหมือนใบตอง เป็นเหยื่อของเต่าปูปลาไป ถ้าคุณใช้ชีวิตถูก คุณอย่าประมาท เท่านั้นเอง
• ทุกวันนี้เราก็คือพอแล้วกับการประสบความสำเร็จ
ฮืม...ก็พอแล้ว แค่นี้ก็พอแล้ว งานในวงการบันเทิงเราทำมาหมดแล้ว คือพอเราขึ้นเวทีเราก็เอนเตอร์เทนด์คนดู สนุกสนานเฮฮากับคนดู ร้องเพลงสองสามเพลง พอจบเขาก็ปรบมือ แต่พอเราลงมาแล้วมีคนอีกคนขึ้นไป เขาก็ลืมเรา เขาก็มีคนใหม่ เขาก็ดูคนใหม่ ไม่ใช่เขาเรียกเอาคนนั้นเมื่อตะกี้ ไม่มีไม่เคยได้ยินสักที
และที่สำคัญ คุณจะดังจะโด่งอย่างไร คุณอย่าลืมตัว คุณเคยเจอใคร เคยยกมือไหว้ก็ยกมือไหว้ได้ คุณเจอใคร เคยทักทาย คุณก็ทักทายเหมือนเดิม ไม่ใช่ว่า เอ๊ย เดี๋ยวนี้กูระดับนี้แล้ว ถ้าไม่เข้ามาหากู กูก็ไม่ไปหามึง มันไม่ใช่หรอก...ผมคิดอย่างนี้นะ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : จิรโชค พันทวี
สามสิบกว่าปีต่อมา หรือกว่าสิบปีที่แล้วเป็นต้นมา ความเป็นคนเบื้องหลังผู้มีเอกลักษณ์สูงในด้านเสียง ก็ได้รับการเลียบเคียงให้มาปรากฏตัวบนหน้าจอ จากนักพากย์สู่เส้นทางนักแสดง จวบจนปัจจุบัน นักดูหนังทุกท่านคงได้รู้จักชื่อเสียงเรียงนามของชายผู้มาพร้อมกับใบหน้าดุดันแต่แซมยิ้มเสมอๆ บนใบหน้าผู้นี้กันไปแล้ว
............
คนดูผู้ชมผู้มีเกียรติทุกท่าน
แมเนเจอร์ออนไลน์ ภูมิใจเสนอ
เรื่องราวชีวิตหลากรสของนักพากย์เสียงทอง เจ้าของเสียงทุ้มนุ่มเสน่ห์
ผู้ผ่านกาลเวลามากว่า 6 ทศวรรษ
จากชีวิตราชการ หันเบี่ยงเลี่ยงทิศสู่ชีวิตนักพากย์
“เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง”
แห่งทีมพากย์พันธมิตรที่รับประกันความฮามาหลายทศวรรษ
...ให้เสียงภาษาไทยโดย “อู๋ม่งต๊ะ แห่งสยามประเทศ”...
จากอดีตสารวัตรทหาร
สู่นักพากย์ทุ้มเสน่ห์
"ชีวิต" จะรุ่งหรือจะร่วง ส่วนหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แต่คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า "ความรักและความชอบ" ในเส้นทางแขนงที่เลือกก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่จะกำหนดทำให้คนประสบความสำเร็จ เหมือน "ต้นไม้" ที่ได้ดินอันเหมาะสม ต่อการงอกงามขึ้นมา
"เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง" สห.ทหารเรือในอดีต ก็คงจะเป็นอย่างนั้น เพราะแม้จะมีความรักความชอบในวิชาชีพทหารที่ฝันใฝ่ แต่กระนั้นเส้นทางชีวิตก็เหมือนจะลิขิตให้ต้องพลัดเหวี่ยงหลุดจากภาระหน้าที่ เพื่อมาทำอีกสิ่งที่ “รัก” เหมือนกัน และเหมาะสมกว่า
"คือตอนนั้นเด็กๆ ใจเราก็รักอยากเป็นทหาร อยากเป็นสารวัตรทหาร เราก็เลยสมัครหลังจากเรียนจบ มส.3 อายุประมาณ 17-18 เห็นจะได้มั้ง แต่ประจำการอยู่ได้ 4 ปี ก็ลาออกจากราชการด้วยเหตุจำเป็น"
"จุดเริ่มต้น การเป็นนักพากย์ของผมจะมาแปลกกว่าคนอื่นนิดหน่อย คือนักพากย์ส่วนใหญ่เขาจะคลุกคลีในวงการมาก่อน อย่างเป็นเช็คเกอร์ เป็นคนฉายหนังหรือคนที่อยู่ในกองหนัง หรืออะไรประมาณนั้น แล้วก็อาศัยดูหนังบ่อยๆ มีรุ่นพี่ที่เป็นนักพากย์ ก็เอามาเป็นแม่แบบ ฝึกหัดเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความชำนาญก็ออกงานหากินได้
"แต่เราไม่ได้อะไรแบบที่ว่านั้นมาเลย (หัวเราะ) แค่อยากลอง ก็มาพากย์หนังเลย มาหัดพากย์เอาดาบหน้า เพราะหลังจากที่ออกจากราชการ สารวัตรทหารเรือ ก็เอ๊ะ...คิดอยู่ว่าเราจะไปทำอะไรต่อ บังเอิญเพื่อนของพี่ชายเขาเป็นนักพากย์เก่า เขาเคยได้ยินเสียงเรา เขาก็บอกเราว่า "เกรียงเสียงได้ เสียงทุ้มดี ไปหัดพากย์หนังกันไหม" เราก็ยังคิดอยู่ว่าเสียงเราดีอย่างนั้นจริงหรือ"
เจ้าของเสียงพากย์ทุ้มเสน่ห์ เผยด้วยรอยยิ้มให้กับคำชวนในวันวานที่ทำให้เส้นทางชีวิตอีกกว่า 40 ปีให้หลัง จนกระทั่งตอนนี้ ไม่เคยหนีไปไหนจากการให้เสียงพากย์
"ก็ยังงงๆ อยู่นะตอนนั้นที่เขาชวน แต่ว่าสมัยเป็นนักเรียน ด้วยความที่ครอบครัว คุณพ่อ คุณอา เป็นครู แล้วท่านก็เป็นโฆษกด้วย เวลามีงานวัดที่คลองดำเนิน บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในคลองดำเนิน แต่ละปีก็จะมีงานเยอะมาก โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง คุณพ่อกับคุณอาก็จะเป็นโฆษกประจำงานวัด มีวัดหลักสาม วัดหลักสี่ วัดหลักห้า วัดโน่นวัดนี่ เขาก็จะไปกัน ด้วยความที่เราเป็นเด็กๆ ก็ตามเขาไปด้วย เราก็ซึมซับจำเทคนิคการพูดของคุณพ่อคุณอา คือเขาก็จะว่าไปเรื่อยของเขา อย่างพูดเรียกเวลาทำบุญทำอย่างไร พูดเรียกเวลาคนจะเข้าดูหนังเรียกอย่างไร พูดเรียกดูดนตรีเรียกอย่างไร สิ่งเหล่านั้นมันก็ฝังอยู่ในสายเลือดเราอยู่โดยไม่รู้ตัว"
"เสร็จแล้วพอไปตรงนั้น นอกจากทักษะการพูด มันก็เลยทำเราได้ดูหนังกลางแปลงบ่อยมากด้วย เวลาดูก็ไม่ค่อยได้ดูหรอกหนัง แต่ชอบไปนั่งดูคนพากย์ แล้วก็จะไปช่วยเขาทำโน่นนี่ วิ่งซื้อไอ้นี่ไอ้นั่นให้เขา คือใช้เราได้เลยว่าอย่างนั้นเถอะ ยินดีเป็นเบ๊รับใช้"
นักพากย์รุ่นใหญ่ กล่าวกลั้วเสียงหัวเราะอย่างอารมณ์ดี เมื่อเปรียบเทียบถึงตัวเองที่ขอให้ได้ใกล้ได้ชิดสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบโดยไม่คิดอะไรตามประสา
ทว่า...ทั้งหมดกลับกลายเป็นความสามารถพิเศษที่ฉายแววไม่รู้ตัว เพราะขณะที่ใครต่อใครจะชื่นชอบเล่าเรื่องเนื้อหนังหรือที่สมัยนี้เรียกว่า "สปอยล์" แต่สิ่งเดียวที่เด็กชายเกรียงศํกดิ์ในวันวัยนั้นทำหลังจาก "จบบริบูรณ์...สวัสดี" คือปั้นตัวละครจากดินแล้วพากย์เสียงเลียนตามท้องเรื่อง ให้เพื่อนๆ ได้รับชม
"พอไปดูหนังคืนนั้นเสร็จ เช้ามาไปโรงเรียนปั๊บก็จะไปขุดดินเอามาปั้นตัวละคร ไอ้นี้เป็นตัวผู้ร้าย ไอ้นี้เป็นตัวพระเอก มีม้า มีไอ้โน้นมีไอ้นี้ แล้วก็พากย์เรื่องเอาเอง "เฮ้ย...มึงมาจากไหนวะ รีบหลบไปไม่งั้นยิงหัวแตก" ประมาณนี้ คือฟังจากนักพากย์ที่เขาพากย์ แล้วเราก็มานั่งปั้นดินเล่น เพื่อนๆ ก็มานั่งดู 5-6 คน
"ช่วงนั้นทำให้ได้มีโอกาสเป็น พิธีกร เป็น โฆษก ประจำโรงเรียน เวลามีงานโรงเรียนเราก็จะมีโอกาสได้ใช้ไมโครโฟนบ้าง ได้พูดบ้าง ก็เลยเป็นคนไม่กลัวไมโครโฟน แล้วอีกอย่าง เราก็ชอบเชียร์รำวง (หัวเราะ) อย่างพอหน้าสงกรานต์ เราจะหายจากบ้านไปเป็นอาทิตย์ๆ เลยนะ คือพ่อแม่ถึงขั้นคิดว่าเราไม่กลับมาแล้ว
"ตอนนั้นส่วนใหญ่จะไปกับพี่ๆ รุ่นพี่ทั้งนั้นแหล่ะ เราเด็กกว่าเพื่อน อายุประมาณ 12-13 เอง แต่ก็ไปร้องเพลงเชียร์รำวงกับเขา เมื่อก่อนรำวงก็มีกลองลูกเดียว ตุ๊งเหน่งๆ มีตะเกียงเจ้าพายุจุด ทั้งหมดมันก็เริ่มตั้งแต่ตรงนั้น (อมยิ้ม) แต่ก็ไม่คิดนะว่าเราจะมาเป็นนักพากย์ ตอนที่มารับราชการก็ยังกะจะรับราชการต่อไปเรื่อยๆ แต่ว่ามีปัญหาก็ลาออกดีกว่า ตอนนั้นก็เลยมาหาเพื่อนพี่ชายที่เขาเคยชวนอย่างที่บอก นั่นคือชีวิตการเริ่มต้นเป็นนักพากย์"
ตรงกับก่อนช่วงราวๆ ปี พ.ศ. 2513 ยุคปลายของหนัง 16 มม. ก่อนที่ทางรัฐบาลจะผลักดันสนับสนุนภาพยนตร์ไทยใช้ฟิล์ม 35 มม. เทียบเท่ามาตรฐานสากล
"ช่วงยุคนั้น ผมไม่ทันยุคที่ทำเอฟเฟกต์เอง ไม่ได้เป่าปืนเอง เคาะนั้นนี้ ทำเสียง ไม่ทันแล้ว (ทำท่าทุบโต๊ะให้เสียงเลียนแบบ) เพราะมันมีระบบเสียงเข้ามาแล้ว เราก็หัดพากย์มาเรื่อยๆ ก็สนุกสนานไปวันๆ หนึ่ง พากย์ตามวิก ตามวัด ตามอะไรต่ออะไรเวลามีงานต่างๆ ที่มีหนัง ตอนนั้นส่วนใหญ่ก็จะอยู่แถวจังหวัด นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เขตปริมณฑล หรือไม่ก็ ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี แต่ไม่ค่อยได้ไปไกล ไม่ได้เดินสายใต้ สายอีสาน สายเหนือ ก็ไม่ได้คิดอะไร ค่าพากย์ก็นิดเดียว แต่ก็มีความสุข
"เพราะเขาก็จะมีนักพากย์ดังๆ ประจำจังหวัดของเขาอยู่แล้ว ไอ้เราเนี่ยมันเพิ่งเด็กหัดใหม่ ก็แค่เป็นตัวแทน วันนี้จอนี้เขามีงานเยอะ นักพากย์คนนี้ไม่ว่าง เขาก็เอาเราไปแทน มันก็เป็นประสบการณ์ คือนักพากย์มันไม่มีโรงเรียนไม่มีครูสอนไง ทุกอย่างมันต้องลักจำเอา เราไปดูเขาพากย์เรื่องนี้ไว้ เออ เขาพากย์อย่างนี้ๆ นะ พอเวลาเราไปพากย์ที่อื่น พากย์เรื่องเดียวกัน เราก็เอามุกของเขานั้นแหละมาใช้ ซึ่งก็ใช้ได้ คนก็เริ่มตอบรับ คนดูก็เริ่มรู้จักเรามากขึ้นๆ"
แต่กว่าคนดูจะยอมรับได้ เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์ ก็เกือบหวิดสิ้นชื่อกับประสบการณ์ให้เสียงครั้งแรก
"เรื่องหนังกลางแปลง เล่าสามวันสามคืนก็ไม่จบ เพราะมันไปเจอเหตุการณ์สารพัด อย่างพากย์ครั้งแรก หัวทิ่มหัวตำ ไอ้คนฉายวิ่งหนีเลย (หัวเราะ)
"คือหนังมันมีห้าม้วนใช่ไหม บทมันก็มีของมันอย่างนี้ เอาบทมากางเปิดๆๆ ก็พากย์ไปตามบท พากย์ไปๆ มันก็จะมีซับซาวด์เป็นช่วงๆ ของหนัง ด้วยความที่เราไม่เป็น เราสลับซาวด์แล้วเสียงภาษาอังกฤษมันดันลอด เราก็ปิด ปิดพูดต่อ คือเราไม่มีจังหวะไง ไม่มีจังหวะจะโคน ไม่รู้เลยว่าไอ้ตรงนี้มันหยุดพูดแล้วนะ เขาไม่ได้พูด แต่เราพูดไปเรื่อยไง หนังฉายไปได้สองม้วน บทหมดแล้ว พากย์หมดแล้ว คนดูก็บ่นอะไร มึงพากย์อะไร ส่วนไอ้คนฉายไปแล้ว กูไม่อยู่กับมึงแล้วล่ะ (หัวเราะ) เพราะสมัยก่อน มันอาจจะมีขว้างได้ไง
"แต่เราก็ไม่เลิกล้มนะ จบครั้งนั้น เราก็ไม่หยุดพากย์ ก็พากย์มันไปเรื่อยเปื่อย ไปมันเรื่อย ดำน้ำไปเรื่อย พูดๆ ไป อะไรต่ออะไรไม่รู้ หน้าหนาวๆ เหงื่อแตกพลั่กเลย (หัวเราะ) คือหน้าหนาวๆ อากาศเย็นๆ ชาวบ้านเขาห่มผ้าดูหนังกัน แต่ไอ้เราเหงื่อแตกพลั่กๆ แล้วเมื่อก่อน คนดูหนังเขาไม่ค่อยหนีไง มีสองร้อยคนก็นั่งครบ ดูกันจนกว่าจะจบ
“หรืออย่างบางที เราไปเอาหนัง บทไม่มีอีก เขาไม่ได้หยิบบทใส่มาให้ คือส่วนใหญ่ไปถึงปั๊บจะต้องเอาบทมานั่งอ่านก่อน เพราะบางทีเรื่องนี้เราไม่เคยพากย์ เราก็ต้องทำความเข้าใจว่าเนื้อเรื่องมันเป็นอย่างไร ลักษณะพระเอกเป็นอย่างนี้ ผู้ร้ายเป็นอย่างนี้ เวลาเราพากย์ เราพากย์คนเดียวจะได้แจกเสียงถูก แต่พอไม่มีก็ทำไง ...เวรล่ะสิ (ทำเสียงแบบพากย์หนัง)"
วันเวลาผ่านไปทุกอย่างดำเนินเรื่อยๆ หวุดหวิดแคล้วคลาดมาจนถึง 10 ปี ตั้งแต่อายุ 23 วัยหนุ่มฉกรรจ์ จนถึง 30 ต้นๆ เส้นทางหน้าไมค์และชื่อเสียงเรียงนามก็ค่อยๆ ดีขึ้น รอบเขตจังหวัดนนทบุรี ปทุม ยิ่งโดยเฉพาะแถบละแวกไทรน้อย ไทรใหญ่ ถึงขนาดต้องทำสัญญาจ้างว่าถ้าเป็นหนัง "สมบูรณ์ภาพยนตร์" ต้อง "เกรียงศักดิ์" หนึ่งเดียวคนนี้เท่านั้น
"คือทางจอรู้จักนะ ไม่ใช่คนดูรู้จัก" นักพากย์รุ่นใหญ่แจกแจง
"คือช่วงปี พ.ศ. 2425-28 คือขึ้นบ้านไหน กินข้าวได้เลยประมาณนั้น (ยิ้ม) เพราะพอไปถึง เราจะถามเลยว่า ผู้ใหญ่บ้านชื่ออะไร กำนันชื่ออะไร แล้วก็ครูใหญ่ดุๆ มีไหม เพราะโรงเรียนมันต้องมีอยู่แล้ว และไอ้นักเลงประจำหมู่บ้าน หรือไอ้พวกขี้เมามันมีชื่ออะไรบ้าง ก็จะเอาชื่อพวกเนี้ยมาใช้ ในบางทีจังหวะที่หนังมันให้ก็จะใส่ "ดุมากใช่ไหม เดี๋ยวมึงเจอกำนันสิงห์ เดี๋ยวกูไปตามกำนันสิงห์ก่อน" คนก็ฮาตูมทั้งจอ อันนี้คือเทคนิคส่วนตัว คนอื่นเขาอาจจะใช้เหมือนกันนะ แต่เราก็ไม่รู้ เพราะเราพากย์ต่างสถานที่กันอยู่แล้ว เราก็เรียกใช้ อย่างพวกเขาไปถึงพูด "เหล้ากั๊ก โซดาขวด ตำรวจสั่ง" ไอ้บ๋อยก็จะเดินบ่น แล้วกูจะไปเก็บเงินกับใคร ประมาณนั้น เหมือนกับแซวตำรวจ คนดูก็ฮา คนดูก็รู้เข้าใจ มึงจะเข้าไปสั่งกวนตีนมัน หรือ "เอาซี่โครงยุงทอดกรอบ" บ้านป้าเอ็งมีหรือเปล่า (หัวเราะ)
"คือเมื่อก่อน งานวัดมันจะอยู่กันแบบสามวันสามคืน บางวัดก็เจ็ดวันเจ็ดคืน เราก็ไม่ได้กลับกรุงเทพฯ แล้ว ขี้เกียจเบื่อนั่งรถนั่งเรือ เมื่อก่อนการเดินทางมันลำบาก ต้องนั่งเรื่อต่อรถ นั่งรถต่อเรือ เราก็เลยจะนอนที่วัดบ้าง นอนบ้านเจ้าของจอหนังบ้าง เดี๋ยวเย็นก็ไปพากย์หนัง กลางวันก็หลับ ไม่ก็ออกไปหาอะไรกินมั่ง เดินไปเที่ยวที่โน่นที่นี่ ถ้าเป็นงานวัดก็โอเคเลย กลางวันก็อาจจะมีลิเก ไปดูลิเก แล้วพอเราสัมผัสอะไรได้จากตรงนั้น เราก็ว่ากันไปเรื่อยเปื่อย หยิบเอามาใช้"
นอกจาก “สมบูรณ์ภาพยนตร์” ที่เป็นเหมือนต้นรากให้กับการเป็นนักพากย์หนัง ก็มี “กาเหว่าภาพยนตร์” “ไทรใหญ่ภาพยนตร์” พะยูนฟิล์ม ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 10 กว่าจอ ที่ชีวิตเปลี่ยนผ่าน จนทำให้ใครต่อใครรู้จักวงกว้างในนาม "อินทรี" และ "พันธมิตร" อย่างทุกวันนี้
"ก็ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งช่วงที่เริ่มมีการบันทึกเสียง ซึ่งเมื่อก่อนนี้นักพากย์ที่จะบันทึกเสียงได้ก็จะมีกลุ่มเดียวไม่กี่คน มีคุณ "สมพงษ์ วงศ์รักไทย", "ป้าจุรี โอศิริ", "คุณดวงดาว จารุจินดา", "รอง เค้ามูลคดี" มีพวกพี่เหล่านี้ก็จะพากย์หนังไทย เริ่มพากย์หนังไทยแล้วก็อัดเสียงลงฟิล์ม ซึ่งเราก็ไม่เป็นหรอก เราไม่ถนัด เราพากย์แต่หนังจีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น อินเดีย เราก็เลยพากย์หนังกลางแปลงกับหนังโรงชั้นสอง ตามชานเมือง โรงชั้นสองก็เป็นพวกโรงหนังสุริยา โรงหนังเฉลิมเกรียติ โรงหนังวงเวียนใหญ่รามา จันทิมาสามย่าน พระโขนงรามา อะไรพวกนี้ คือที่ฉายสองเรื่องควบ โรงพวกนี้เขาก็จะจ้างนักพากย์ไป เราก็อาศัยบารมีรุ่นพี่ เขาพากย์อยู่วีกนี้เขาติดโรงนี้ อีกโรงไปพากย์ไม่ได้ เขาก็จะบอกให้เอาเราไปแทน
"แล้วคุณ ชูชาติ อินทร ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทีมพากย์อินทรี เป็นนักพากย์อยู่ที่ช่อง 3 แกก็อยากจะตั้งทีมพากย์ขึ้นมา อยากหาเด็กรุ่นใหม่ขึ้นมา ทีนี้ ด้วยความที่ในแวดวงนักพากย์มันจะแคบ มันจะรู้กันหมดว่าใครเป็นใคร แกก็ให้คนไปตามผม แกบอกว่า "สนใจมาร่วมงานพากย์หนังด้วยกันไหม" ตอนนั้นเราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจทันที เพราะด้วยความที่เราคิดถึงเรื่องฝีมือ เรื่องเราติดงานกลางแปลง งานพากย์โรงชั้นสอง เราก็ไม่อยากทิ้ง แต่เราก็คิดว่าเขาคงไว้ใจเราแล้ว ไม่ทำให้เขาเสีย ไอ้คนที่ฉายไม่วิ่งหนีแล้ว ก็มาอยู่กับคุณชูชาติ ก็เริ่มอัดเสียงหนังไทยให้สหมงคลฟิล์ม"
"ก็ไม่คิดว่าจะมีชื่อเสียงโด่งดัง มามีตรงนี้ แต่ตอนนั้นที่มีชื่อขึ้นมา น่าจะเป็นเพราะช่วงจังหวะที่เราเข้ามามันเป็นช่วงจังหวะที่มันดีอย่างหนึ่ง คือเป็นจังหวะที่เสี่ยเจียง (สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ) ซื้อหนังดังๆ หนังใหญ่มาได้เยอะมาก แล้วทีมพากย์ก็มีอยู่แค่ 2-3 ทีม เมื่อก่อนนี้ที่อัดเสียงลงฟิล์ม ทีมอินทรีเราก็ได้หนังดีป้อน แล้วไอ้บุคลิกตัวละครรที่เราได้และคนดูฟังแล้วใช่เลย ก็คือ "อู๋ม่งต๊ะ" "เฉินกุ้ยอาน" "อู๋หม่า" สามดาราจีนที่ชอบแสดงเป็นดาวร้ายผู้น่ารัก เสียงดุๆ ห้าวๆ สากๆ ดุก็ดุไม่จริง เราก็โดดเด่นมีชื่อเสียงขึ้นมาเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็ไม่ได้ไปไหนอีกแล้ว"
เล่าถึงตรงนี้ เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์หยุดพักเล่าเรื่องสบายๆ ฟังสวยงาม เพราะชีวิตก็ไม่ต่างไปจากหนังที่ตลอดระยะเวลาจะเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้มได้ทั้งหมด ช็อตวิกฤต จุดหักเห ที่มีในเรื่องราวจึงค่อยถูกถ่ายทอดเป็นตอนๆ
• ฟังดูแล้วเหมือนกับชีวิตเราถูกลิขิตขีดให้เป็นอย่างนี้
ฮืม...มันก็เป็นขั้นเป็นตอนมาเรื่อยๆ นะ ตั้งแต่เริ่มมาพากย์ ก็อดๆ อยากๆ มีกินบ้างไม่มีกินบ้าง (หัวเราะ) อาชีพนักพากย์สมัยก่อนนี้เป็นอาชีพที่เหมือนลิเก คือมีงานก็มีกิน หนังมันก็มีเข้ามาเยอะ แต่เขาก็มีคนประจำเขาอยู่แล้ว และอีกอย่าง พากย์หนังกลางแปลง อาทิตย์หนึ่งส่วนใหญ่ก็มีแค่สามวัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพราะคนที่จัด เขาก็จะจัดแค่นั้นเต็มที่ ก็เป็นอันว่าในอาทิตย์หนึ่งเราทำงานเต็มที่เลยไม่เกินสามวัน สมมุติเราได้คืนละร้อย สามคืนก็ได้สามร้อยบาท เราก็ต้องบริหารกินอยู่ให้ได้ในอาทิตย์หนึ่ง เสร็จแล้วไหนจะค่าเช่าบ้านอีกใช่ไหม ค่าแก๊ส ค่าถ่าน ค่าอะไรในบ้าน ลูกไปโรงเรียนเอย มันก็ต้องบริหาร บางเดือนอาจจะได้แค่พันกว่าบาท บางเดือนก็ไม่ถึง ได้แค่ 800-900 บาท ยิ่งเข้าหน้าฝน หน้าเข้าพรรษา ไม่มีงาน ก็นอนเหมือนกบจำศีลเลยสามเดือนเต็มๆ เลยว่างั้นเถอะ
• แล้วประคองชีวิตมาได้อย่างไร
คือเราไม่ได้ไปยึดติดกับอะไรไง ข้าวบางทีก็กินก็กับข้าวอย่างเดียว บางทีไม่มีอะไรก็ไข่ต้ม 2 ฟอง แบ่งกันกินคนละลูก ก็จบแค่นั้นกับแฟน ทีนี้พอมีลูกขึ้นมา ก็บริหารใหม่ ปรับใหม่ เพื่อให้อยู่ได้ ก็มีไปทำงานอื่นเสริม ยิ่งเป็นช่วงเช้าพรรษาอย่างที่บอก งานรับจ้างที่ไหนเอาหมด ไปไหนไปกัน ได้วันละ 20-30 บาท 50 บาท เป็นกรรมกร เป็นจับกัง
เราไม่ได้เป็นช่างฝีมือไง ไอ้อย่างผสมปูนเราผสมได้ เพราะจำดูที่เขาผสม ช่วยเขายก ช่วยเขาแบก คือใครจ้างไปทำอะไรก็ไป ถ้าทำได้นะ อย่างเคยไปแบกปูนก็ไปทำ ไปขุดดินก็ไป ได้เงินมาก็โอเค ก็อิ่ม ก็ได้กลับมากินข้าวบ้าน ซื้อกับข้าวมาอย่างหนึ่ง เมื่อก่อนมันไม่แพงไง กับข้าวถุงละ 3 บาท 5 บาท ได้มาก็มากินกัน ลูกก็มีตังค์ไปกินขนม เราไม่เคยเกี่ยง
• วุฒิการศึกษาระดับเรา ทำไมเราไม่ทิ้งงานนักพากย์แล้วไปหางานประจำอื่นที่มั่นคงกว่านี้
คือใจเรารัก แล้วมันมีความผูกผันอยู่นิดหนึ่งว่า เดี๋ยวออกพรรษา เดี๋ยวจอนี้มีงานแล้ว เขาเตรียมเราแล้ว เขาล็อคเราไว้แล้ว ตารางงานมันจะล่วงหน้าไปก่อน อย่างเราจะรู้ว่าช่วงออกพรรษาปุ๊บ มันจะมีงานทอดกฐิน มีผ้าป่า มีงานทุกวัน มันจะมีหมด ตอนนั้นเงินมาแล้ว แต่สามเดือนก็จำศีลไป ทำอะไรเพิ่มเติมไป แต่ตรงนี้ถ้าคนรู้จักเก็บรู้จักอะไรมันก็ได้ แต่มันน้อยคน ร้อยหนึ่งมีไม่ถึงสิบที่จะมีเงินเก็บสำรองไว้ได้ ยกเว้นพวกนักพากย์โรง
ผมก็อยู่ในกลุ่มเก้าสิบนั่นแหละ คือเราได้มาก็ใช้ไป แต่เราก็วางแผนแบบพออยู่กันได้ แล้วอีกอย่างเราเป็นคนที่ไม่ค่อยขอความช่วยเหลือจากใคร น้อยมากที่จะเอ่ยปากไปขอความช่วยเหลือจากคนนั้นคนนี้ คือถ้าจะขอความช่วยเหลือก็ต้องรู้ต้องเห็นข้างหน้าว่ามีแสงสว่าง เช่น เรื่องเงิน คือมีคืนเขาแน่นอน วันนี้วันที่ 1 ค่าเช่าบ้านต้องจ่ายวันนี้ ขอยืมสามก่อน แต่วันที่ 5 งานมีแน่นอน เดี๋ยววันที่ 5 ไม่เกินวันที่ 6 ผมคืนนะ ประมาณนั้น
• แล้วอย่างเรื่องหมุดหมายปลายทางของอาชีพนักพากย์ เราวาดหวังอนาคตอย่างไรไหมตอนนั้น
ไม่ๆ คือมันวันต่อวัน ต้องลุ้นกันวันต่อวัน อย่างวันจันทร์ อังคาร พุธ มันไม่มีงานอยู่แล้ว วันจันทร์-อังคาร-พุธ -พฤหัสบดีนี้ว่างเลย แต่ว่าบางทีก็ฟลุคๆ ไปเจอจอบางจอ เขาเกิดมีงานขึ้นมากะทันหัน แล้วเรายังเตร่อยู่เฉลิมกรุง ยังไม่กลับบ้าน เขาก็ชวน "อ้าวเฮ้ย เกรียงไปไหนหรือเปล่าเนี่ย" เราก็รีบตอบว่าไม่ได้ไปไหนเลย เขาก็เรียกมาพากย์หนัง เราก็โอ้โห่...พระเจ้าวันพุธ
• ก็คือวันว่างเราจะเตร่แถวนั้นๆ เพื่อสิ่งนี้...
ใช่ๆ นั่นคือเรารอส้มหล่น อยู่ตรงนั้นแหละ เราก็จะรอที่เฉลิมกรุง เพราะตรงนั้นจะเป็นแหล่งพักพิงคนในวงการ คือถ้าคุณจะหาหนัง คุณจะเอาฟิล์มหนัง นักพากย์ คุณต้องมาเอาที่เฉลิมกรุง พวกนักแสดงประกอบที่รู้จักกันเยอะๆ พวกก็จะมาเดินเตร่ๆ อยู่เฉลิมกรุงเยอะแยะ รู้จักกันหลายคน สนิทสนมกันก็เยอะ ก็มีเพื่อน 3-4 คนที่รักๆ กันกลุ่มเดียวกัน ก็ช่วยเหลือกัน เอ๊ย วันนี้กูมีงานสองจอ มึงไปงานหนนึ่งนะ
• ตอนแรกนึกว่ามาก็เริ่มหล่อตามเสียงเลย คือไม่น่าจะมีลำบาก
ไม่ใช่ว่ามาแล้วก็ดังเลย ไม่ๆๆ ชีวิต โอ๊ย... (ลากเสียง) ลำบากมากก่อนหน้านั้น คือหลังจากลาออกจากราชการมาแล้ว มันก็ไม่มีอะไรแล้วไง เงินเดือนก็ไม่มี ที่พักก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี ก็ต้องอยู่บ้านเช่า ก็ยังไม่รู้ว่าชีวิตจะเดินไปตรงไหน หักเหขึ้นมาก็ไปหาพี่เขา ลองดูซิพากย์หนัง พี่เขาพากย์อยู่ ใจเราก็รักอยู่แล้ว ก็ลองเอา ลองก็ลอง ก็งงเหมือนกัน อยากเป็นอะไรก็ได้เป็น สารวัตรทหารก็ได้เป็น นักพากย์ก็ได้เป็น มันก็มาจนถึงวันนี้
"อู๋มงต๊ะ" เมืองไทย
ดาวร้ายผู้น่ารัก
หลังจากลุ่มๆ ดอนๆ กระทั่งมีที่พักพิงมั่นคงในหน้าที่การงาน การได้จับตัวละครถูกฝาถูกตัวนามว่า "อู๋ม่งต๊ะ" ก็ควรจะถือเป็นจุดสตาร์ทแรกๆ ที่ส่งให้ชื่อเสียงเรียงนามของ "เกรียงศักดิ์" กระเดื่องเลื่องลือ...
"ฮืม...เราก็ไม่รู้นะ แต่จริงๆ คือคุณชูชาติ อินทร เขาจะพากย์เองก็ได้ เพราะแกเก่ง แต่เขาต้องพากย์ตัวพระเอกด้วย ซึ่งมันต้องไปเจอไอ้ตัวนี้กันทั้งเรื่อง เขาก็เลยให้เราลองมาพากย์ตัวละครตัวนี้" นัยน์ตาเจ้าของฉายา “อู๋ม่งต๊ะเมืองไทย” ดูเหมือนจะเปล่งประกายขึ้นมา เมื่อเล่าย้อนถึงวินาทีที่นักแสดงคู่บุญเดินเข้ามาในชีวิต
"เราก็ไม่รู้หรอกว่าเหมาะกับเรามั้ย ก็ลองดู ลองดูไปมันก็ใช้ได้ เพียงแต่ปรับอีกนิดหนึ่ง ปรับบุคลิก วิธีการเก็บแอ็กติ้ง วิธีการเก็บเสียง ก็ต้องเก็บให้ละเอียด ก็ได้รับการถ่ายทอดจากตรงนั้นมา พอผลงานมันออกไป ก็เป็นที่ยอมรับ แม้กระทั่งในวงการเพื่อนนักพากย์เองก็ยอมรับ บอก “เฮ้ย ถ้าอู๋ม่งต๊ะนี้ต้องไอ้เกรียงเลย คนอื่นอย่าไปยุ่งกับมันเลย” (หัวเราะ) ก็มาอย่างนั้น"
"แต่จะว่าไปแล้ว เขาก็มีส่วนที่เหมือนผมเหมือนกันนะ"
นักพากย์รุ่นใหญ่เผยความรู้สึกต่อตัวละครตัวนี้ ที่บังเอิญมีอะไรคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในฐานะ "เบื้องหลัง" ความบันเทิงโดยที่ไม่มีคนรู้จักหน้าตาหรือมีชื่อเสียงติดหู กระทั่งวิถีทางการเดินเข้าเป็นนักแสดงก็แบบจับพลัดจับผลูตกกระไดพลอยโจนต้องมาอยู่หน้ากล้อง
"เพราะเขาเป็นคนอยู่เบื้องหลังเหมือนกัน คือเขาไม่ได้เป็นนักแสดงมาก่อนนะ เขาไม่ใช่นักแสดง เขาเป็นคนอยู่เบื้องหลังกองถ่าย ติดต่อทำธุรกิจของกองถ่าย แล้ววันดีคืนดี ไอ้ตัวละครตัวนี้ไม่มีใครเล่น เขาก็รับเล่นเอง ส่วนเรา เราก็อยู่หน้าไมโครโฟน อยู่เบื้องหลังทำหน้าที่ให้ภาพที่มันอยู่บนจอมันมีชีวิต ก็มีอยู่วันหนึ่งผู้กำกับเรื่อง “เก๋า..เก๋า” น้องบอล (วิทยา ทองอยู่ยง-ผู้กำกับ) เขาก็ติดต่อเราให้เล่นหนังให้เขา"
เจ้าของเสียงพากย์ทุ้มเสน่ห์เว้นวรรคเล็กน้อยเป็นที่แทนความประหลาดใจ ก่อนจะขยายเรื่องราวการเข้ามาเป็นนักแสดงครั้งแรก
"คือตอนแรกก็ติดต่อจะให้เราพากย์แหละ เพราะเขาติดต่อจะเอาอู๋ม่งต๊ะมาแสดงในเมืองไทย เขาก็จะให้เราพากย์ เราก็รับปาก แต่หนังเขายังไม่ได้สร้าง ก็บอกเขาไปว่าสร้างเสร็จเมื่อไหร่ เดี๋ยวไปพากย์ให้แน่นอน แต่จู่ๆ วันหนึ่ง ทีมงานโทร.มาบอกเราว่าผู้กำกับอยากเจอตัว คือทุกคนไม่รู้จักหน้าเราไง เคยได้ยินแต่เสียง ตอนนั้น เราก็ยังสงสัยอยู่ว่ามีอะไร เพราะเราไม่รู้ว่าอู๋ม่งต๊ะมาเล่นให้ไม่ได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องคิวเรื่องการเดินทาง เราก็ไป
"ไปถึง เขาก็นั่งมองเราเฉยๆ เขาไม่พูดอะไรกับเรานะ (หัวเราะ) ยกมือไหว้กันเสร็จก็ไม่ได้พูดอะไร ก็มีทีมงานตากล้อง 5-7 คนนั่งคุยกัน จู่ๆ เขาก็บอกเราว่าสนใจอยากได้เรามาเล่นหนังด้วย เราก็ โอ๊ย...เลย รีบบอกไปว่า ผมเล่นหนังไม่เป็น ผมไม่เคยเล่น ครั้งแรกก็ปฏิเสธเขาไป เสร็จแล้วก็กลับมา ก็ไม่ได้คิดอะไร เว้นไปหนึ่งวัน ทีมงานก็โทรติดต่อกลับมาอีกว่าผู้กำกับมั่นใจว่าเราเล่นได้ และต้องอาเกรียงเท่านั้น ติดต่ออาเกรียงให้ได้ แต่เราก็ยังไม่รับปาก ก็ยังตอบเขาไปว่าเอางั้นเหรอ คือเขาลงทุนเป็นสิบๆ ล้าน ใช่ไหม แกร๊กฟิลม์ แกร๊ก..(ลากเสียง) ตังค์ทั้งนั้นเลย แล้วถ้าเราไปเล่นมันใช้ไม่ได้ขึ้นมา มันรื้อกันยาวเลยนะ พอรื้อเสร็จต้องเริ่มเซ็ตกันใหม่ ทั้งพระเอก นางเอก ต้องไปวางวันวางคิวกันใหม่
"ทีนี้ตอนนั้น เพื่อนๆ ทีมงานที่พากย์หนังด้วยกันที่ทำงาน เขาก็เห็นว่าโทร.มาติดต่อบ่อย เขาก็สงสัยว่าทำไมเราไม่รับเล่น "มึงเป็นอะไร มึงก็ไปเล่นสิ มึงเล่นไม่เป็น เขาบอกให้มึงเล่นอย่างไร ก็เล่นอย่างนั้น" ก็เลยตกลงไปเล่นกับเขา"
นักพากย์เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์ เผยด้วยรอยยิ้ม
"แต่ในเมื่อเขากล้าเสี่ยงกับเรา พอเราได้รับความไว้วางใจตรงนี้ เราก็ลองดู คือตอนนั้นที่แสดงได้ยินคำว่า คัท โอ้โห...โล่งอก"
จากการแสดงในภาพยนตร์เรื่องแรก เก๋า..เก๋า ก็ทำให้อดีตสารวัตรทหารนักพากย์ผู้นี้คว้ารางวัลนักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจาก Starpics Thai Film Awards และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงชายสมทบยอดเยี่ยมจากทั้ง 3 สถาบันใหญ่ คือ รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ และรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง อีกด้วย
นอกจากนี้ยังเกิดกระแสที่ผู้คนต่างค้นหาคำตอบว่าเหตุใด... นักแสดงคนนี้ถึงต้องใช้เสียงพากย์?
"คือทุกคนก็จะแบบ..เฮ้ยคนนี้เล่นทำไมต้องเอานักพากย์มาพากย์ด้วย เพราะจำจากเสียงได้ว่านี่มันเสียงนักพากย์หนัง แต่คนดูเขาไม่รู้ว่าเราคือตัวจริงเสียงจริง ช่วงนั้นกระแสลงเว็บบอร์ด อินเตอร์เน็ต ก็เยอะมาก คนถามหากันเยอะมาก คนที่รู้เขาก็ตอบให้ว่านั่นแหละ ตัวจริงเขา
"มันก็เป็นอะไรที่ดีนะ คือพอไปเล่นแล้วทีมงานทุกคนก็สบายใจ แซวเราว่าไหนบอกเล่นไม่ได้ เราก็ไม่รู้หรอกว่าเราเล่นได้หรือเล่นไม่ได้ เพราะในความรู้สึกของเราก็คือว่า คุณให้ผมเล่นเป็นอะไร ให้ทำอะไร คือเขาอยากให้เราเล่นแบบ อู๋ม่งต๊ะ ค็อกๆ แค็กๆ ง็อกๆ แง็กๆ ซึ่งเราดูเขาประจำ เพราะเราพากย์อยู่คนเดียว ก็ทำให้เราเห็นบุคลิกเขาว่า เออ เป็นคนอย่างนี้ๆ เวลาเล่นอย่างนี้ บทบาทเขาจะออกมาอย่างนี้ๆ"
"แล้วก่อนหน้าหนังยังไม่ฉาย..." นักพากย์รุ่นใหญ่เว้นวรรคเล็กน้อยเป็นทีดึงความสนใจ
"...คือมันกำลังอยู่ในช่วงตัดต่อ จาตุรงค์ มกจ๊ก เขาก็กำลังจะเปิดหนังเรื่อง "ตั๊ดสู้ฟุด" พอดี เขาก็หาไอ้ตัวละครตัวนี้อยู่เหมือนกัน เขาอาจจะมีในใ จแต่ยังไม่รู้ว่าจะเอาใครเล่น จนเขาเดินแล้วเขาไปได้ยินเสียงหนังที่เราเล่น เขาได้ยิน เขาก็ เอ๊ะ (เลียนแบบเสียงจตุรงค์) เสียงใครวะเนี่ยคุ้นๆ กูคุ้นหูจัง ทางทีมที่ทำตัดต่ออยู่ เขาก็บอกว่าเป็นเรา เป็นนักพากย์มาเล่นหนัง ก็วานฝากทีมงานให้ติดต่อมาเล่นหนัง"
"หลังจากนั้น จาตุรงค์ก็มาที่ห้องบันทึกเสียง มายืนดูเราพากย์หนังตั้งแต่ สิบโมงเช้าจนถึงบ่ายสามโมงเย็น คือเขาบอกว่า "โห่ อาเกรียงเสียงนี้สุดยอด" เขาชอบมาก พากย์ไอ้ตัวนี้ชอบมาก เขามีหนังที่เราพากย์สมัยอินทรีหมด สมัยพันธมิตร เรามาตั้งพันธมิตรก็มีหมดเหมือนกัน คือหนังจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ที่เราพากย์ เขาเก็บไว้หมดเลย แล้วเขาเล่าให้ฟังได้เลย และในที่สุด เขาก็บอกว่าจะให้เราเล่นเป็นแบบนั้น เล่นเป็นไอ้ตัวอย่างเนี้ย เป็นนักเลงดุๆ เจอใครฆ่า ใครไม่พอใจฆ่า แต่กลัวลูก พอลูกเรียกพ่อ เสียงจะเปลี่ยนทันที "จ๋า...ลูก" "ครับลูก..." (ทำเสียงเอกลักษณ์ตัวเอง) ก็ไปเล่นตัดสู้ฟุด นั่นคือเรื่องที่สอง แล้วหลังจากที่งานออกไป เราก็ไม่รู้ว่าตลาดเขาจะเปิดรับเราไหม แต่ก็ได้รับการตอบรับมาดีพอสมควร ดูจากที่มีผู้จัดมีผู้สร้าง แล้วก็ผู้กำกับหลายๆ ราย เข้ามา ขอไปร่วมงานด้วย เราก็ด้วยความยินดีครับ แต่ผมมีเวลาอยู่อย่างนี้ๆ นะ ว่างแค่วันจันทร์ วันอังคาร แล้วก็วันเสาร์กับวันอาทิตย์"
เสมือนหนังภาคต่อหรือตัวละครที่เคยให้เสียงไว้ ถ้าเปรียบถึง "ชีวิต" ในตอนนี้ที่ขยับก้าวขึ้นมาเรื่อยๆ นักพากย์เจ้าของเสียงทุ้มเสน่ห์ หรือ ดาวร้ายผู้น่ารักในบทภาพยนตร์ จากบทบาทหนึ่งสู่อีกบทบาทหนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างไร ก็คงต้องเทคเข้าช่วงแนะนำท้องเรื่องเพื่อความเข้าใจ
• คือพอได้เล่นหนังแล้ว ชีวิตนักแสดงก็ดูเหมือนจะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้นใช่ไหมครับ
ก็ต่อกันเลย คือน้องกู๊ด (เฉิด ภักดีวิจิตร) ลูกชายอาฉลอง เขาไปนั่งดูหนังเรื่อง “ตั๊ดสู้ฟุด” เขาเห็นเราเล่น ก็จำเสียงเราได้ว่าเป็นเสียงนักพากย์ เขาก็มาบอกพ่อ บอกอาหลอง ส่วนตัวอาฉลองเขาก็รู้จักเรา แต่แกจำเราไม่ได้แล้วแหละ (หัวเราะ) เพราะมันนานมาก คือผมเคยพากย์หนังสมัยที่แกทำเรื่อง “ทอง” แกก็นึกไม่ออกว่าเราคือใคร ลูกชายก็ไปบอกว่าเป็นนักพากย์ บอกว่าอยากให้มาเล่นเป็นตัวพ่อนางเอก ดุๆ นักเลงๆ แต่ว่าดูป้ำๆ เป๋อๆ นิดนึง น้องเขาก็ติดต่อมา คุณอาก็ติดต่อมา พออาหลองเจอผม แกก็พูดว่ากูนึกว่าใคร มึงนี่เอง ก็โอเค ก็เลยได้มาเล่น ผ่าโลกบันเทิง และก็อีกสามสี่เรื่องติด เรื่องอุบัติรักเกาะสวรรค์ ดุจตะวันดั่งภูผา
นอกนั้นก็ได้มาเล่นซิทคอมอีกหลายเรื่อง เณรจ๋า, นัดกับนัด, บ้านนี้มีรัก ก็ได้รับเชิญไปเล่นมา ก็รู้จักพรรคพวกเพื่อนฝูงพี่ๆ น้องๆ ขึ้นเยอะ แล้วก็จะมีพวกหนังของคุณยอร์ช (ฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์) ก็สองสามเรื่องที่เล่นไป อย่างสุขเตเสลดเป็ด แต่จริงๆ ครั้งแรกเขาก็ให้คนติดต่อมา แต่ผมปฏิเสธไป แกยั่วใหญ่ โกรธใหญ่เลย คือคนที่ติดต่อผม ประโยคแรกเขาถามเลย เราพูดภาษาอีสานเป็นไหม เราก็นึกว่าต้องพูดทั้งเรื่อง เพราะต้องเล่นกับวงโปงลาง อี๊ด ลาล่า ลูลู่ เราเลยบอกว่าผมพูดไม่เป็นก็ปฎิเสธไป ไม่เล่น ทีนี้พอมาเจอตัวคุณยอร์ชทีหลัง วันนั้นไปร่วมงานกัน ไปเป็นพิธีกรอยู่งานหนึ่ง เขาก็ถามเราว่าทำไมเราไม่เล่นหนังให้เขา เราก็บอกเขาไปอีกว่าผมพูดอีสานไม่เป็น เขาก็โธ่ (ตบโต๊ะ) ทั้งเรื่องเลยพูดอยู่คำเดียว "แม่นบ่" นอกนั้นพูดไทยปกติ เราก็เท่านั้นแหละ เวรกรรม คือด้วยความไม่รู้ทีมงานถามคำแรกเราก็สะดุ้งเฮือกแล้ว เราพูดไม่เป็น กลัวจะไปถ่วงเขา เพราะว่าไปเล่นกับพวกนั้น เขาไหลกันไปได้หมดไง เขาพูดอีกสานเป็นกันหมดทุกคน เขาก็โต้ตอบกันไปได้หมด แต่ถ้ามาถึงเรา แอ๊ะ! เสร็จเลยมึงเอ๊ย รื้อกันตาย พวกกระทืบเอาแน่เลย ก็เลยไม่เล่น
เราก็เป็นตัวเราอย่างนี้ เป็นคนที่เคารพเวลา เคารพทีมงาน นัดกี่โมงก็ไปเท่านั้น นัดสิบโมงเช้า เก้าโมงครึ่งเราก็ถึงแล้ว บางทีไปถึงก่อนกองถ่ายอีก ไปถึงก็ตกใจ ใช่ที่นี่หรือเปล่าเนี่ย ทำไมมันไม่มีใครเลยสักคน (ยิ้ม) ประมาณนี้ ก็ต้องโทรไปถามทีมงานโลเกชั่นว่าถูกไหม ก็คือพอทำอย่างนี้มันก็สบายใจ เพราะเราทำงานพากย์หนัง เราต้องเคารพเวลา ทำงานบันเทิง เรื่องอื่นพอทน เรื่องเคารพเวลาต้องสำคัญ ไม่อยากให้เขามาคอยเราไง เราไปคอยเขาดีกว่าสักครู่หนึ่ง เพราะยังไงมันก็ต้องไปถ่ายอยู่แล้ว ต้องทำงานอยู่แล้ว เราอาจจะตื่นเร็วกว่าเก่าอีกนิดหนึ่ง
• แล้วอย่างการพากย์หนังให้ฮอลลีวูดอาทิเรื่อง the lord of the ring, the fast and the furious,Star War เป็นไงมาไงครับ
บริษัทเขาซื้อมา อย่างเราอยู่สหมงคลฟิล์ม แล้วเขาซื้อหนังมาฉาย เราก็ต้องพากย์อยู่แล้ว หรือเขาก็จะดูว่าตัวละครตัวนี้เหมาะกับอาเกรียงไหม เขาก็จะโทรมาบอกว่ามีตัวนี้แสดงในเรื่องนี้นะ เขาก็จะมาติดต่อ แต่ว่าเขาก็จะต้องส่งเสียงเรากลับไปเมืองนอก ก็จะมีการแคสติ้งเสียงส่งกลับไปที่ฮอลลีวูด เขาก็จะฟังเสียง คือเขาฟังไทยไม่รู้เรื่องหรอก เพียงแต่ว่าเขาฟังโทนเสียง ว่าไปด้วยกันได้ไหม อย่างแกนดัล์ฟเนี่ย 2-3 คนที่ส่งไป เขาเลือกเรา แต่เขาไม่รู้จักเราหรอกตรงนั้น
พากย์การ์ตูนก็เหมือนกัน คนจำไม่ได้หรอก เพราะเราแจกเสียงตามบุคลิก คือถ้าตัวนิ่งๆ เราก็จะนิ่งๆ เราก็จะนิ่งให้เขา เราก็จะต้องนิ่งไปเลย "ไม่เป็นไรลูกพ่อ" "ไม่เป็นไรศิษย์ข้า เดี๋ยวข้าจัดการให้เอง พวกเจ้าไปพักผ่อนเถอะ" แล้วอีกอย่างทุกคนถูกฝังไว้ด้วยอู๋ม่งต๊ะ ถ้าได้ยินเสียงอาเกรียงต้องเป็นอู๋ม่งต๊ะ อย่างพอไปพากย์สคูบี้ดู คนก็จำไม่ได้ว่านั่นคือเสียงผม ผมพากย์ตัวพระเอกแชกกี้ ไอ้ที่คู่กับหมา ไอ้คนที่พากย์หมาสบายๆ แต่ไอ้เรานี้แทบตาย ต้องไปดัดเสียงให้แหลมเปี๊ยบเลย "ไฮ สคูบี้ดูมาทางนี้โว้ย" พระเจ้า...กว่าจะจบแต่ละเรื่องแต่ละตอน แทบตายเหมือนกัน
• ส่วนตัวในฐานะที่เกิดมาจากหนังจีนก็ว่าได้ ส่วนตัวเรารู้สึกอย่างไรกับหนังจีนบ้าง
หนังเขาก็พัฒนาไปเรื่อยๆ นะ เพราะเราคนดู เราก็ดูแล้วรู้สึกว่ามันเป็นประเพณีของเขา วัฒนธรรมของเขา คือหนังไทยจะไปทำแบบหนังจีนก็ไม่ใช่ เพราะประเพณีไทยเราไม่ได้เป็นอย่างนั้น คนที่ดู เขาก็ดูความแปลก มันมีอย่างนี้ด้วยหรือ ที่เมืองไทยมันไม่มีไง อย่างสมมุติ วันฮาโลวีน คุณจะสร้างหนัง ถ้าเป็นของฝรั่งเขาทำจะเข้าใจง่ายกว่าและคนดูก็ยอม แต่ถ้าเป็นเราลองมาทำฮาโลวีนบ้าง ผีเยอะไปหมด เอาแค่ผีตาโขนยังจะตายเลย เพราะมันเป็นหนังของภาค ใช่ไหม คนภาคกลางก็มีบ้างที่ไม่ค่อยรู้จัก แต่ถึงรู้จักก็ไม่คุ้นเคย อาจจะไม่มีคนดู อย่างที่บอกเพราะไม่ใช่ขนบธรรมเนียมประเพณีของเรา คนไทยจะไปเหาะเหินเดินอากาศ ใครจะเชื่อใช่ไหม ถ้าไม่ใช่แนวจักรๆ วงศ์ๆ นั่นคือเพราะเราดูลิเกมาตั้งแต่เด็กๆ ไง
ตรงนี้มันเลยเป็นเสน่ห์ มันเป็นขนบธรรมเนียมของเขาที่ว่าทำออกมาแล้วคนทั่วโลกยอมรับว่าคนจีนเป็นอย่างนี้นะ แล้วคุณรู้ไหมว่าแผ่นดินใหญ่ห้ามสร้างหนังเกี่ยวกับภูตผี ปีศาจ เขาไม่ให้ฉายเลยนะ เขาบอกว่ามันเป็นการมอมเมาประชาชน เขาไม่ให้เลยนะ เป่า เสก เลข ยันต์ ไม่มี เขาไม่ให้เข้าไม่ให้ฉาย
• แม้จะแปลกวัฒนธรรม แต่พอมารวมกับเสียงของเรา มุกเรา ทำไมมันเข้ากันล่ะ
นั่นก็คือความประหลาดไง ที่ว่าพอของเขาเป็นอย่างนี้ แล้วพอเราพากย์เสียงใส่เข้าไปปั๊บ มันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ คือถ้าเราไปทำหนังไทย เราก็ต้องพากย์แบบนั้นแหละ แต่หนังบ้านเรามันก็มีอยู่แค่ไม่กี่พล็อตเรื่อง แม่ผัวลูกสะใภ้ พระเอกรวยนางเอกจน มันก็เลยมีแค่นี้
• คือตอนนั้นแม้กระทั่งคนในวงการก็รู้จักเราแต่เสียง เรารู้สึกอย่างไรบ้างไหม
ก็เฉยๆ นะ เพราะว่าเรามันอยู่เบื้องหลังอยู่แล้วไง เรามันต้องอยู่หน้าไมโครโฟน อยู่เบื้องหลัง ให้เสียงแก่ภาพที่มันอยู่บนจอ ให้มันมีชีวิตทำอย่างไร ตรงนี้สำคัญมากกว่า เขาเล่นมาดีมากเลยนะ เขาเล่นมาเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แต่มันใบ้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้มันมีชีวิตมีเสียงขึ้นมา เหมือนกับตัวจริงเขาพูด เหมือนกับตัวจริงเขาเล่นอยู่แสดงอยู่ เราก็เอาเสียงเราเข้าไป ให้มันแมตช์กับหน้าเขา แล้วเราก็ดูว่าตัวละครนี้มันเหมาะกับเราไหม ไม่เหมาะเราก็บอกว่าอย่าเอาตัวนี้มาให้กูดิ (หัวเราะ) ให้คนอื่นไป อะไรประมาณนี้
โลกของเกรียงศักดิ์
หรือ “อู๊ด บ้านแพ้ว”
นอกจากชื่อของ "เกรียงศักดิ์" จะเป็นชื่อที่พึ่ง หากนับระยะเวลา ก็ร่วมสิบกว่าปีเห็นจะได้ที่เราได้เห็นหน้าค่าตา อดีตสารวัตรทหาร เด็กหนุ่มจากบ้านแพ้วที่ชื่อ "อู๊ด" ก่อนหน้านี้... มีลักษณะนิสัยตัวตนจริงๆ เป็นอย่างไร
"ผมเป็นคนที่เงียบๆ นะ ถ้าอยู่บ้าน ผมจะไม่ค่อยคุยกับใครเลย ผมจะนั่งอ่านหนังสือบ้าง ดูทีวีบ้าง หรือไม่งั้นก็ปิดทุกอย่าง แล้วก็นั่งนิ่งๆ อยู่คนเดียว"
นักพากย์รุ่นใหญ่วัยแซยิดกล่าวพลางนิ่งมองอย่างมุมกว้าง ดั่งกำลังใคร่ครวญอะไรบางอย่าง...
"คือผมก็ไม่รู้ว่าทำไมอย่างนั้น เราอาจจะเบื่อแล้วไง คืออย่ามาชวนผมไปห้าง ไม่ต้องชวนผม เดินตะหล่งตลาดก็ไม่ต้องชวนผมเดิน คือจะไปก็ไปด้วยได้ ไปได้ แต่ถ้าจะไปซื้ออะไร ก็ตรงไปตรงจุดนั้นเลย ซื้อเสร็จก็กลับ อย่างนี้ หรือถ้ายังไม่กลับก็ไปนั่งตรงไหนสักที่ ก็ไปนั่งเลยอยู่ที่เดียว จะไม่เดินไปๆ มาๆ ไม่ๆ ไม่ชอบ ไม่รู้สิ"
"คือบางทีเราไปเจอหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง บางทีก็อยากจะขอเหมือนกันนะ แต่ไม่ใช่ว่าเราไม่เข้าใจ อย่างบางคนเจอปั๊บมีเพื่อนแนะนำให้รู้จัก นี่เพื่อนเป็นนักพากย์ เป็นนักแสดงหนัง เขาก็จะพูด “เคยเห็น เคยดู ชอบๆ เอาไปเล่นด้วยสิ” มีฉากปล้ำนางเอกไหม ตรงนี้แหละที่บางทีเราก็คิด "ฮืม...คุณคิดอะไรเหรอ" ผมไม่เข้าใจ คำนี้ผมได้ยินมาตลอดนะ ตั้งแต่ตอนที่ผมไม่ได้เป็นนักแสดง ผมก็ได้ยินนะ เวลาไปเจอนักแสดงคนอื่นแล้วก็มีเพื่อนของเพื่อนก็จะมาอย่างนี้ เราก็มานั่งคิดว่าทำไมคนเราไม่ให้เกรียติกันบ้างนะ คือคุณคิดว่าการแสดงมันง่ายเหรอ แล้วคุณพูดอย่างนี้แล้วถ้าเขาเอาไปจริงๆ คุณทำได้หรือเปล่า เขาให้ปล้ำจริง คุณกล้าหรือเปล่า ผมรู้ว่าพูดเอาสนุก เข้าใจ แต่บางครั้งก็คิดถึงความรู้สึกของไอ้คนที่มันได้รับบ้าง เพราะบางทีเราก็อยากเป็นตัวของตัวเราเองเหมือนกัน ไม่อยากต้องโชว์ตัวหรือต้องอะไรอย่างนั้น"
นอกจากลักษณะนิสัยจะค่อนข้างแตกต่างจากภาพยนตร์หรือละครส่วนใหญ่ที่ข้องแวะ ภาพลักษณ์ที่ดูไม่ใช่ผู้นำที่มั่นคงก็ตรงกันข้ามสิ้นเชิง
"คนละเรื่องเลยนะ แต่ถามว่าดุไหม อาจจะดุ แต่ก็เป็นบางเรื่องบางราวไป ไม่ใช่ว่าดุทุกเรื่อง เพียงแค่ว่าเวลาพูดแล้วก็จะไม่ค่อยคืนคำ ไม่ค่อยเปลี่ยน ถ้าพูดไปแล้วว่าจะทำก็คือทำ แล้วต้องทำให้ได้ประมาณนั้น คือผมเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดเยอะ แต่พูดแล้วต้องทำ ทำเลย อย่าถามเยอะ แล้วก็สั่งไปแล้วก็ขอให้จบแค่นั้น ถ้าไม่เข้าใจให้ถามอีก ถามใหม่ ถามจนเข้าใจ ไม่ใช่ไปทำเสร็จแล้วมันผิดแล้วมาถาม อย่างนั้นโดน"
นักพากย์รุ่นใหญ่ออกตัว ถึงวิถีในแบบฉบับของตนเอง ไม่ว่าจะหน้าที่การงานหรือแม้กระทั่งภายในครอบครัว
"ผมเป็นลูกคนกลาง มีพี่น้อง 11 คน เป็นคนกลางคนที่หกแล้วมีน้องไปอีกห้า พี่ไปอีกห้า แต่ว่าทุกอย่างในบ้าน ผมจะเป็นคนรับผิดชอบหมด ใครจะทำอะไร มีปัญหาอะไรก็จะถามว่า เอาอย่างไรดี แม้กระทั่งพี่คนโต ก็ยังเกรงใจเรา ด้วยความที่เราเป็นคนไม่ค่อยพูด เราก็จะเหมือนเป็นที่ปรึกษา แต่เรามักจะให้ลองปรึกษากันดูก่อน ลองถามกันดูซิ ถ้ามันติดมันขัดตรงไหนก็คอยมาปรึกษาเรา ถ้าคุยกันได้ มันจบตรงนั้นก็จบไป แล้วก็บอกเราว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ก็ว่าไป เพราะถ้าทำไปแล้วถ้ามันไม่ดี เราก็จะว่าทำไมไม่ปรึกษากันก่อน ถ้าถามซะก่อนเหตุการณ์แบบนี้มันก็จะไม่เกิดขึ้น นี่ต้องรื้อให้ ต้องเริ่มต้นใหม่ ศูนย์เลยนะ แล้วไอ้ที่เสียไปล่ะ เห็นไหม ก็เพราะไม่ปรึกษา เราก็จะเป็นอย่างนี้ คือทุกอย่างจะให้ผมเป็นคนตัดสินใจหมด
"ฉะนั้นเวลาเราไปบ้าน อย่างเด็กๆ บางทีมันนั่งคุยกันเต็มหน้าบ้าน พอรถเราเลี้ยวเข้าไปปุ๊บ มันจะวงแตกเลย (หัวเราะ) ไปคนละทิศละทาง เราไปบ้าน เราก็จะนั่งคุยกับน้องๆ พี่ๆ ว่ามีงาน มีอะไร ปรึกษา เขาจะให้เกรียติเราเยอะมาก ผมเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เด็กๆ แล้วไง กับครอบครัวนี่ไม่ได้เลย คือกับพ่อกับแม่นี้ยิ่งไม่ได้เลย รักมาก แล้วท่านจะเอาอะไรก็ว่ามา บอกมา หาให้หมด แม้มันไม่ได้เยอะ ได้นิดหนึ่งก็ยังดี แต่ก็พยายามทำทุกอย่าง"
และแม้ว่าจะมีชื่อเสียงโด่งดังก็ยังคงเป็นเหมือนคนเดิมเรื่อยมา เสื้อผ้าสบายๆ กินอาหารข้างทาง เว้นเสียแต่จะมีเพียงบางสิ่งบางอย่าง สิ่งเดียวเท่านั้นที่ต้องปรับตัวเล็กๆ น้อยๆ นั่นก็คือเวลาสังสรรค์
"คือจะไปนั่งสังสรรค์แบบเอะอะโวยวาย คุยกัน เหมือนเมื่อก่อนนี้คงไม่ใช่แล้ว (หัวเราะ) เมื่อก่อนนี้โวยวายอย่างไร เขาก็จะว่า ไอ้โต๊ะขี้เมา แค่นั้น แต่พอมาเป็นตรงนี้ แล้วถ้าเกิดไปเสียงดังอย่างเมื่อก่อนๆ มันจะเปลี่ยนจากไอ้โต๊ะขี้เมา เป็นถือว่าเป็นนักแสดงเป็นดาราแล้วใหญ่เหรอ อ้าว (เน้นเสียง) มันจะเปลี่ยนไปอีกแบบไง คนรักก็มี คนเกลียดก็มี คนไม่ชอบ คนหมั่นไส้มันก็เยอะ เพราะอย่างน้อยๆ คนที่มากับแฟน แฟนเขาดันมาจำเราได้ มาทักทายนักแสดง มัวแต่สนใจที่เรา แทนที่จะสนใจแฟน เขาก็เขม่นเราแล้ว
"บางทีเวลาเขามองเราด้วยความไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า เราก็เลยต้องส่งยิ้มเป็นนัยให้รู้ว่าที่คิดในใจ ถูกจริงๆ"
นักพากย์รุ่นใหญ่กล่าวแซมยิ้ม อย่างอารมณ์ดี
"เราก็ไม่รู้หรอกว่าเรามีคนรู้จักเยอะเหมือนกัน อย่างบางทีไปตลาดมหาชัย คนเขาก็มองเรา เราก็งงว่าเขาจำเราได้ขนาดนั้นเลยหรือ เวลาไปซื้อของที่ตลาดพวกเสื้อยืดกางเกงอะไรพวกนี้ ทั้งเจ้าของร้าน คนขายของ จะไม่เป็นอันค้าขายกัน"
จากแผ่นฟิล์มสะท้อนสู่ตัวตน จากเส้นทางการงานสะท้อนมายังเส้นทางชีวิต พูดไปแล้วก็เหมือนตัวละครตัวหนึ่งที่มีฉากประสบการณ์เป็นเรื่องราวให้ดำเนินมาเรื่องๆ จนกว่าจะถึงตอนจบของภาพยนตร์
• ประสบการณ์ที่คลุกคลีกับภาพยนตร์ตั้งแต่เด็กจนอายุเท่านี้ "หนัง" สอนอะไรเราบ้างหรือทำให้เราคิดอะไรได้บ้างไหม
สอนเราว่าอย่าประมาท คือหนังเรื่องหนึ่งก็จะได้แบบหนึ่ง ข้อดีก็มี ข้อเสียก็มี แต่มันมีข้อดีเยอะไง เราก็จำข้อดีๆ เอาไว้ ดูง่ายๆ ถ้าเกิดมีเหตุการณ์ตีกันขึ้นมา แล้วเราไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเขาด้วย คือเราเกิดไปอยู่ในเหตุการณ์ตรงกลางนั้นด้วย เราจะเอาตัวรอดแบบไหน เราควรจะทำตัวอย่างไร หนังบางเรื่องเขาก็จะสอนเราเอง หรือวิธีการจะไปเผชิญหน้ากับสิ่งประหลาดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ ต้องทำตัวอย่างไร มันสอนนะ อย่างเข้าป่าเจอเสือทำไงวะ ยืนนิ่งๆ (ยิ้ม) จ้องหน้ามันไว้ เจอช้าง ก็พยายามเดินถอยหลังไปเรื่อยๆ อย่าวิ่ง เขาก็สะบัดไปเอง เพราะเขาถือว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไรกับเขา
หรือเรื่องวิธีการถูกหลอก จะถูกหลอกกันแบบไหน เรื่องมองคนว่าไอ้คนนี้กะล่อนยังไง วิธีการจะเอาสินค้าปลอมมาขายให้เรา มันทำอย่างไร เราก็จะได้ตรงนั้นที่เก็บเกี่ยวมา เราก็เคยเจอ เดินไปแล้วเก็บพระได้มาองค์หนึ่ง เลี่ยมทองด้วย มาขายเราพันสองพัน บอกไม่มีเงิน ถ้าเป็นคนโลภเหรอ จบ ไปถึงร้านนทองเขาบอกว่าจะเอาใกล้เอาไกล ถ้าเอาใกล้ก็หยิบไป ถ้าเอาไกลเดี๋ยวขว้างไปให้ (หัวเราะ) ไม่มีของฟรีในโลกนะ แล้วไม่ได้ของถูกราคาถูกและของดีไม่มี คือต่อให้ไม่เข้าใจ มันก็จะมีอิริยาบถประมาณนี้ที่ทำให้เราจำมาใช้
• จากวันนั้นจนถึงวันนี้คิดว่าช้าไหมกับการเดินทางของชีวิต
ก็ช้านะ เล่นหนังตอนจะอายุ 50 ตอนนี้ 62 แล้ว แต่มันก็เป็นสเต็ปของชีวิตและวิวัฒนาการของโลกไง คือถ้าสมมติว่าย้อนกลับไปได้สัก 30 ปี แล้วอายุสัก 30 กว่าๆ แล้วเรามีศักยภาพขนาดนี้ โห่...คงโกยไม่หวาดไม่ไหวเหมือนกัน ใช่ไหม แต่ว่ามันก็ไม่ใช่แล้วล่ะ คือถ้ามองย้อนกลับไป เราเดินมาถึงตรงนี้ได้อย่างไร มันเป็นมาอย่างไร มันมาแบบเราไม่ได้ก้าวกระโดเลยนะเนี่ย เรามาทีละก้าวๆ แต่ก็มั่นคงนะ เรามีบ้าน มีที่ให้ลูกอยู่ มีอาหารมีข้าวกิน มีรถส่วนตัวใช้ เลี้ยงลูกลูกเต้าจนเรียนจบมีงานมีการทำ ก็โอเคนะ พอมารู้ตัวอีกที แก่แล้วเหรอวะเนี่ย จะหมดแรงแล้วเหรอ จะเริ่มหมดแรงแล้วเหรอ
• เหมือนเราคิดได้ในปรัชญาชีวิตอะไรบ้างอย่างหรือเปล่าว่าชีวิตมันไม่ควรจะต้องเร่งรีบ
คนอื่นคิดอย่างไรไม่รู้นะ แต่ผมคิดและจะคอยพูดเสมอๆ "พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว" คิดแค่นั้น พรุ่งนี้ก็เช้าแล้ว คือเราไม่รู้ไงว่าพรุ่งนี้เราจะมีโอกาสเห็นพระอาทิตย์อีกไหม ถ้าได้เห็นก็โชคดีชีวิตได้เดินไปอีกวันหนึ่ง คือมันไม่มีใครกำหนดวันตายตัวเองได้ ไม่มีใครรู้ ฉะนั้นเนี่ย วันนี้ทำให้มันดี ทำอะไรก็ได้ ทำให้มันจริงจัง พรุ่งนี้มันเช้าแล้ว แต่ถ้าคืนนี้วันนี้ เราทำดีเรียบร้อยแล้วเรานอนหลับไปเราไม่ตื่นเลย ไม่เห็นอะไรแล้ว ก็ชีวิตเราจบแค่นั้น
"หัวโขนครอบหัวใครใจมักคึก
อย่าเหิมฮึกนึกว่าเป็นเหมือนเช่นหัว
ยามได้ดีเด่นดังระวังตัว
อย่าลืมตัวสามคำ จำใส่ใจ"
คือคุณจะเป็นอะไรก็ได้ คุณอย่าลืมตัว หัวที่เขาครอบให้คุณ มันแค่หัวโขน พอเขาถอดออกไป หน้าคุณก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นสุภาษิตที่ผมท่องไว้ตลอดและก็จำได้ขึ้นใจ กับอีกอันก็คือ
...เหมือนบายศรีสู่ขวัญท่านถนอม
เจือแป้งหอมประแจจันทร์เครื่องหรรษา
พอเสร็จงานท่านก็ลงทิ้งคงคา
ให้ลอยมาลอยไปเหมือนใบตอง...
เขาตัดใบกล้วยตัดกิ่งโน่นกิ่งนี้ ต้นไม้อยู่ริมทาง หมาเยี่ยวรด แมวเยี่ยวรด คนเยี่ยวรด แต่วันดีวันหนึ่งเขาจะหยิบใช้ขึ้นมา เขาจะเอาไปปักใช้ในแจกัน คนจะยกมือไหว้กราบกันอย่างโน้นอย่างนี้ ใช่ไหมครับ แต่พอเสร็จงานเขาก็โยนทิ้ง
เพราะฉะนั้น เขาบอกว่าชีวิตคนเรามันก็เหมือนบายศรี เหมือนใบตอง หมดตรงนั้นเขาก็โยนทิ้งลงคลองไป ก็ลอยมาลอยไปเหมือนใบตอง เป็นเหยื่อของเต่าปูปลาไป ถ้าคุณใช้ชีวิตถูก คุณอย่าประมาท เท่านั้นเอง
• ทุกวันนี้เราก็คือพอแล้วกับการประสบความสำเร็จ
ฮืม...ก็พอแล้ว แค่นี้ก็พอแล้ว งานในวงการบันเทิงเราทำมาหมดแล้ว คือพอเราขึ้นเวทีเราก็เอนเตอร์เทนด์คนดู สนุกสนานเฮฮากับคนดู ร้องเพลงสองสามเพลง พอจบเขาก็ปรบมือ แต่พอเราลงมาแล้วมีคนอีกคนขึ้นไป เขาก็ลืมเรา เขาก็มีคนใหม่ เขาก็ดูคนใหม่ ไม่ใช่เขาเรียกเอาคนนั้นเมื่อตะกี้ ไม่มีไม่เคยได้ยินสักที
และที่สำคัญ คุณจะดังจะโด่งอย่างไร คุณอย่าลืมตัว คุณเคยเจอใคร เคยยกมือไหว้ก็ยกมือไหว้ได้ คุณเจอใคร เคยทักทาย คุณก็ทักทายเหมือนเดิม ไม่ใช่ว่า เอ๊ย เดี๋ยวนี้กูระดับนี้แล้ว ถ้าไม่เข้ามาหากู กูก็ไม่ไปหามึง มันไม่ใช่หรอก...ผมคิดอย่างนี้นะ
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : จิรโชค พันทวี