ASTVผู้จัดการออนไลน์ - นักวิชาการศุลกากรประจำสนามบินสุวรรณภูมิ แจงกรณีชาวเน็ตโวยรีดภาษีกระเป๋าแชนแนลใบเดียวไม่เป็นความจริง ชี้ ลูกทัวร์เข้าช่องไม่มีของเสียภาษี แต่สแกนพบกระเป๋าหลายใบ - เครื่องสำอาง - น้ำหอม จึงต้องเรียกเก็บ แต่ลูกทัวร์ไม่มีเงิน ได้คืนภาษีหมื่นเดียว ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าสงสารจึงอลุ่มอล่วย แต่ไกด์อีกกรุ๊ปทัวร์หนึ่งโวยวายเสียงดัง แถมยังแอบถ่ายขณะปฏิบัติหน้าที่ไปประจานต่อ ทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
วันนี้ (17 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.00 น. นางจารุวรรณ สุจริตฉันท์ นักวิชาการศุลกากร ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชี้แจงกับกองบรรณาธิการ ASTVผู้จัดการออนไลน์ เพื่อขอความเป็นธรรมกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า “Mitpol Saelim” ซึ่งเป็นไกด์ทัวร์ โพสต์ข้อความและภาพ กล่าวหาว่าลูกทัวร์ต่างคณะที่เป็นสุภาพสตรีรายหนึ่ง กลับจากประเทศญี่ปุ่น ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บภาษีกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อแชนแนล ที่ซื้อมาจากญี่ปุ่นสูงถึง 37,000 บาท และได้ต่อรองเหลือ 10,000 บาท เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของคืนวันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา ตามที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย ระบุว่า เหตุการณ์ในวันนั้น นายมิตรพล ซึ่งเป็นไกด์คนละกรุ๊ปทัวร์ไม่ได้รู้ความจริงว่า ขณะนี้ลูกทัวร์คนดังกล่าวกำลังติดต่อกับกรมศุลกากร
ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวลูกทัวร์คนดังกล่าวได้ขนสิ่งของจำนวนมาก กระเป๋าอีกหลายใบ เครื่องสำอาง น้ำหอมอีกหลายรายการ โดยเข้าช่องไม่มีของต้องเสียภาษีอากร และเจ้าหน้าที่ได้สแกนเจอ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่กระเป๋าแชนแนลเพียงใบเดียวตามที่นายมิตรพลระบุในโซเชียลมีเดีย แต่ลูกทัวร์คนดังกล่าวไม่มีเงินให้ ซื้อกระเป๋ามาแพงแล้ว และขอความช่วยเหลือเพราะได้คืนภาษี (แวต รีฟันด์) มา 1 หมื่นบาทจะมาจ่ายให้ ตนจึงอลุ่มอล่วยเพราะเห็นว่าเป็นการไปช้อปปิ้ง โดยขอใบกำกับภาษีหนึ่งใบ ซึ่งเป็นของกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อแชนแนล ลูกทัวร์จึงแสดงใบเสร็จซึ่งมีมูลค่า 409,000 เยน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.1 แสนบาท ซึ่งลดให้เหลือเก็บภาษีประมาณ 37,000 บาท ตามอัตราภาษีประมาณ 30% กับภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซึ่งตามข้อเท็จจริงต้องคิดภาษี 30% ก่อน แล้วทบอากรเข้าไปเป็นฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะสูงกว่านี้ แต่เราก็ช่วยเหลือเขา
“ระหว่างนั้นนายมิตรพลกลับมีพฤติกรรมโวยวายเสียงดังที่ช่อง ทุกคนก็เดินหนีกันหมด ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยของหัวหน้า ก็ต้องเข้าไปเรียกเก็บภาษีให้ได้ เพราะเขา (ลูกทัวร์) มีของต้องเสียภาษี ตนก็เลยเรียกน้องเค้าเข้าไปในห้องมาคุย น้องบอกเค้าได้แวตรีฟันด์มาหมื่นนึง งั้นพี่ช่วยหนูได้ไหม พี่เก็บหนูหมื่นนึงได้ไหม พี่ก็บอก โอเค พี่ปิดจ๊อบตัวนี้ให้ได้ ก็เก็บหมื่นนึง คือจริงๆ แล้วพี่ก็ไม่ถูก พี่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จริงๆ พี่ต้องเก็บสามหมื่นเจ็ด ถ้าเก็บเต็มเขาไม่มีให้ก็ต้องทำเรื่องจับกุม ซึ่งก็ต้องทำคดี ทำเรื่องประกันตัวไปอีก ซึ่งเรื่องมันยาวมาก พี่ก็เลยลดให้เพื่อให้ปิดจ็อบจบ เก็บเงินค่าภาษีหนึ่งหมื่น พี่ก็ออกใบเสร็จหนึ่งหมื่น แล้วนายมิตรพลก็มาแอบถ่ายตอนที่นั่งออกใบเสร็จ ในขณะที่ผู้หญิงเจ้าของกระเป๋าไม่ได้เอาเรื่อง ไม่ได้อะไร เขายินดีจะจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาท ในขณะที่ทำงานก็มีหัวหน้าเป็นผู้บังคับบัญชา ก็มายืนดูอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ทำงานโดยข้างเดียว เขาก็เห็นว่าสงสารน้องเขา ช่วยเขาหน่อยแล้วกัน” นางจารุวรรณ กล่าว
นางจารุวรรณ กล่าวว่า ขณะที่ตนนั่งออกใบเสร็จ นายมิตรพลก็มาแอบถ่ายรูปตน และเอาใบเสร็จของลูกทัวร์คนดังกล่าวมาถ่ายเป็นลายมือชื่อของตน ซึ่งตนมีความรู้สึกว่าการที่ออกข่าวไปวันนั้นกลายเป็นว่าตนทำงานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหมือนเป็นการพูดข้างเดียว ในขณะที่ตนทำงานปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเขามาแอบถ่ายไปลงโซเชียลมีเดียอย่างนี้ เหมือนเป็นการละเมิดสิทธิ์ตนด้วย แล้วนายมิตรพลก็ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งของ และสุภาพสตรีรายนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง เขาเป็นเพียงแค่หัวหน้าทัวร์ในกรุ๊ปทัวร์ย่อยของกรุ๊ปใหญ่อีกที ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับผู้เสียหายที่ต้องเสียภาษี ซึ่งนายมิตรพลก็ยังไม่รู้เลยว่าที่เขามาติดต่อกับตน ตนเป็นศุลกากร เขายังเข้าใจว่าติดต่ออยู่กับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ซึ่งทำงานคนละส่วนกัน เหมือนกับว่าเขาจะแสดงพาวเวอร์โดยที่ไม่รู้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเรียกเก็บภาษีอากรปากระวาง จะสังเกตได้อย่างไรว่าสิ่งของที่ซื้อมาซื้อไปใช้หรือซื้อไปขาย นางจารุวรรณ กล่าวว่า ถ้าคนที่ซื้อมาเอาไปขายก็จะมีสิ่งของมามากมาย เช่น กระเป๋าแบรนด์เนมหลายใบ ซึ่งในกรณีที่มีกระเป๋าแบรนด์เนมมากกว่า 1 ใบ และมีราคามากกว่า 1 หมื่นบาท ก็ต้องเสียภาษีเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะใช้ส่วนตัว ขณะนี้กรมศุลกากรกำลังปรับปรุงเรื่องกฎราคาสิ่งของ 1 หมื่นบาทให้สูงขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จ ฝ่ายกฎหมายกำลังดำเนินการอยู่ ในฐานะที่เราเป็นผู้ปฏิบัติต้องยึดถือกฎที่ของใช้ส่วนตัวมากกว่า 1 หมื่นบาทก่อน ก็ต้องเสียภาษี
เมื่อถามว่า ในวันนั้นลักษณะลูกทัวร์รายดังกล่าวเหมือนกับว่าขนสิ่งของจำนวนมากใช่หรือไม่ นางจารุวรรณ กล่าวว่า มากกว่าถ้าจะเอาไปใช้ส่วนตัว คือมีกระเป๋าหลายใบ เราสแกนดูแล้วมีกระเป๋าหลายใบ มีเครื่องสำอาง น้ำหอม ซึ่งคนที่ทำหน้าที่สแกนแจ้งมา ตนยืนยันได้ว่า มีภาพสแกนย้อนหลังของวันนั้นดูได้ และเขาได้นำกระเป๋าเข้าไปที่ช่องไม่สำแดงภาษี เมื่อตรวจพบก็จะส่งมาที่ช่องสำแดง ซึ่งจะดำเนินการสองอย่าง คือ เสียค่าปรับ กับจับกุม ซึ่งจะเป็นคดีและส่งตัวผู้ต้องหาไปให้ตำรวจเศรษฐกิจทำคดี ต้องประกันตัวผู้ต้องหา ซึ่งเป็นเรื่องยาวมาก ในกรณีนี้ตนก็ช่วยเหลือโดยการให้เขาเสียภาษีไป ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ตนรู้สึกหมดกำลังใจทำงาน เหมือนไม่ยุติธรรมสำหรับตน ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่แล้วมาแอบถ่าย
อีกด้านหนึ่ง กรมศุลกากรได้ออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยซื้อของฝาก ของที่ระลึก หรือสินค้าแบรนด์เนมที่นิยมกลับมาด้วย โดยไม่ทราบถึงกฎระเบียบการนำของติดตัวเข้าประเทศ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้วอาจต้องชำระอากรสำหรับของที่มีมูลค่าเกินกว่ากฎหมายอนุญาต หรืออาจต้องเสียค่าปรับ หรือถูกริบของบางรายการที่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด จึงขอแจ้งให้นักท่องเที่ยวชาวไทยได้ทราบถึงข้อปฏิบัติด้านพิธีการทางศุลกากร เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องก่อนนำของเข้าประเทศ
โดยกรมศุลกากรได้จัดบริการช่องผ่านพิธีการศุลกากร แก่ผู้โดยสารขาเข้า ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรฐานสากล 2 ช่องทาง ได้แก่ ช่องตรวจเขียว สำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร หมายถึงของที่ละเว้นการเสียภาษีอากร ได้แก่ ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งมิใช่ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือเสบียง และต้องเป็นของที่ไม่มีลักษณะเป็นสินค้าในเชิงการค้า, ของใช้ส่วนตัวหรือใช้ในวิชาชีพ ที่ซื้อจากร้านปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร มูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท, ของใช้ในบ้านเรือนที่ผู้เดินทางเข้ามาในประเทศเนื่องจากย้ายภูมิลำเนา โดยซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร มูลค่ารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัม หรือรวมกันไม่เกิน 250 กรัม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตรไม่เกิน 1 ลิตร เป็นต้น
ส่วนช่องตรวจแดง สำหรับผู้โดยสารที่มีของต้องเสียภาษีอากร โดยของมีจำนวนและประเภทที่นอกเหนือจากการละเว้นภาษีอากร, ของต้องห้าม ห้ามมิให้นำเข้าและส่งออกนอกราชอาณาจักร ได้แก่ สารเสพติด วัตถุหรือสื่อลามก ของเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ของละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ปลอม และสัตว์ป่าสงวน, ของต้องกำกัด ควบคุมการนำเข้าและส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะสามารถขนย้ายได้ หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้นต้องเสียภาษีอากรหรือไม่
ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะเน้นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศโดยมิได้ทำการตรวจสัมภาระของผู้โดยสารทุกคน แต่จะสุ่มตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ ตามหลักมาตรฐานสากล การปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพิธีการทางศุลกากร จึงถือเป็นหน้าที่ที่ผู้โดยสารทุกคนควรตระหนักและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การมีของที่ต้องสำแดงแต่หลีกเลี่ยงไม่สำแดงขณะผ่านจุดตรวจ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบ จะถือเป็นความผิดโดยการปรับ 4 เท่าของมูลค่าของบวกค่าภาษีและอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และของที่หลีกเลี่ยงการชำระอากรจะถูกริบเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายศุลกากรทันที
อ่านประกอบ : ชาวเน็ตโวยซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมเข้าไทยใบเดียวโดนภาษี 3.7 หมื่น จี้รัฐกำหนดให้ชัดต้องเสียเท่าไหร่ ?
วันนี้ (17 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.00 น. นางจารุวรรณ สุจริตฉันท์ นักวิชาการศุลกากร ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชี้แจงกับกองบรรณาธิการ ASTVผู้จัดการออนไลน์ เพื่อขอความเป็นธรรมกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า “Mitpol Saelim” ซึ่งเป็นไกด์ทัวร์ โพสต์ข้อความและภาพ กล่าวหาว่าลูกทัวร์ต่างคณะที่เป็นสุภาพสตรีรายหนึ่ง กลับจากประเทศญี่ปุ่น ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บภาษีกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อแชนแนล ที่ซื้อมาจากญี่ปุ่นสูงถึง 37,000 บาท และได้ต่อรองเหลือ 10,000 บาท เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของคืนวันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา ตามที่ปรากฏในโซเชียลมีเดีย ระบุว่า เหตุการณ์ในวันนั้น นายมิตรพล ซึ่งเป็นไกด์คนละกรุ๊ปทัวร์ไม่ได้รู้ความจริงว่า ขณะนี้ลูกทัวร์คนดังกล่าวกำลังติดต่อกับกรมศุลกากร
ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวลูกทัวร์คนดังกล่าวได้ขนสิ่งของจำนวนมาก กระเป๋าอีกหลายใบ เครื่องสำอาง น้ำหอมอีกหลายรายการ โดยเข้าช่องไม่มีของต้องเสียภาษีอากร และเจ้าหน้าที่ได้สแกนเจอ ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่กระเป๋าแชนแนลเพียงใบเดียวตามที่นายมิตรพลระบุในโซเชียลมีเดีย แต่ลูกทัวร์คนดังกล่าวไม่มีเงินให้ ซื้อกระเป๋ามาแพงแล้ว และขอความช่วยเหลือเพราะได้คืนภาษี (แวต รีฟันด์) มา 1 หมื่นบาทจะมาจ่ายให้ ตนจึงอลุ่มอล่วยเพราะเห็นว่าเป็นการไปช้อปปิ้ง โดยขอใบกำกับภาษีหนึ่งใบ ซึ่งเป็นของกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อแชนแนล ลูกทัวร์จึงแสดงใบเสร็จซึ่งมีมูลค่า 409,000 เยน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.1 แสนบาท ซึ่งลดให้เหลือเก็บภาษีประมาณ 37,000 บาท ตามอัตราภาษีประมาณ 30% กับภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซึ่งตามข้อเท็จจริงต้องคิดภาษี 30% ก่อน แล้วทบอากรเข้าไปเป็นฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะสูงกว่านี้ แต่เราก็ช่วยเหลือเขา
“ระหว่างนั้นนายมิตรพลกลับมีพฤติกรรมโวยวายเสียงดังที่ช่อง ทุกคนก็เดินหนีกันหมด ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยของหัวหน้า ก็ต้องเข้าไปเรียกเก็บภาษีให้ได้ เพราะเขา (ลูกทัวร์) มีของต้องเสียภาษี ตนก็เลยเรียกน้องเค้าเข้าไปในห้องมาคุย น้องบอกเค้าได้แวตรีฟันด์มาหมื่นนึง งั้นพี่ช่วยหนูได้ไหม พี่เก็บหนูหมื่นนึงได้ไหม พี่ก็บอก โอเค พี่ปิดจ๊อบตัวนี้ให้ได้ ก็เก็บหมื่นนึง คือจริงๆ แล้วพี่ก็ไม่ถูก พี่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จริงๆ พี่ต้องเก็บสามหมื่นเจ็ด ถ้าเก็บเต็มเขาไม่มีให้ก็ต้องทำเรื่องจับกุม ซึ่งก็ต้องทำคดี ทำเรื่องประกันตัวไปอีก ซึ่งเรื่องมันยาวมาก พี่ก็เลยลดให้เพื่อให้ปิดจ็อบจบ เก็บเงินค่าภาษีหนึ่งหมื่น พี่ก็ออกใบเสร็จหนึ่งหมื่น แล้วนายมิตรพลก็มาแอบถ่ายตอนที่นั่งออกใบเสร็จ ในขณะที่ผู้หญิงเจ้าของกระเป๋าไม่ได้เอาเรื่อง ไม่ได้อะไร เขายินดีจะจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาท ในขณะที่ทำงานก็มีหัวหน้าเป็นผู้บังคับบัญชา ก็มายืนดูอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ทำงานโดยข้างเดียว เขาก็เห็นว่าสงสารน้องเขา ช่วยเขาหน่อยแล้วกัน” นางจารุวรรณ กล่าว
นางจารุวรรณ กล่าวว่า ขณะที่ตนนั่งออกใบเสร็จ นายมิตรพลก็มาแอบถ่ายรูปตน และเอาใบเสร็จของลูกทัวร์คนดังกล่าวมาถ่ายเป็นลายมือชื่อของตน ซึ่งตนมีความรู้สึกว่าการที่ออกข่าวไปวันนั้นกลายเป็นว่าตนทำงานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหมือนเป็นการพูดข้างเดียว ในขณะที่ตนทำงานปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเขามาแอบถ่ายไปลงโซเชียลมีเดียอย่างนี้ เหมือนเป็นการละเมิดสิทธิ์ตนด้วย แล้วนายมิตรพลก็ไม่ได้เป็นผู้เสียหาย ไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งของ และสุภาพสตรีรายนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง เขาเป็นเพียงแค่หัวหน้าทัวร์ในกรุ๊ปทัวร์ย่อยของกรุ๊ปใหญ่อีกที ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับผู้เสียหายที่ต้องเสียภาษี ซึ่งนายมิตรพลก็ยังไม่รู้เลยว่าที่เขามาติดต่อกับตน ตนเป็นศุลกากร เขายังเข้าใจว่าติดต่ออยู่กับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ซึ่งทำงานคนละส่วนกัน เหมือนกับว่าเขาจะแสดงพาวเวอร์โดยที่ไม่รู้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเรียกเก็บภาษีอากรปากระวาง จะสังเกตได้อย่างไรว่าสิ่งของที่ซื้อมาซื้อไปใช้หรือซื้อไปขาย นางจารุวรรณ กล่าวว่า ถ้าคนที่ซื้อมาเอาไปขายก็จะมีสิ่งของมามากมาย เช่น กระเป๋าแบรนด์เนมหลายใบ ซึ่งในกรณีที่มีกระเป๋าแบรนด์เนมมากกว่า 1 ใบ และมีราคามากกว่า 1 หมื่นบาท ก็ต้องเสียภาษีเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะใช้ส่วนตัว ขณะนี้กรมศุลกากรกำลังปรับปรุงเรื่องกฎราคาสิ่งของ 1 หมื่นบาทให้สูงขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จ ฝ่ายกฎหมายกำลังดำเนินการอยู่ ในฐานะที่เราเป็นผู้ปฏิบัติต้องยึดถือกฎที่ของใช้ส่วนตัวมากกว่า 1 หมื่นบาทก่อน ก็ต้องเสียภาษี
เมื่อถามว่า ในวันนั้นลักษณะลูกทัวร์รายดังกล่าวเหมือนกับว่าขนสิ่งของจำนวนมากใช่หรือไม่ นางจารุวรรณ กล่าวว่า มากกว่าถ้าจะเอาไปใช้ส่วนตัว คือมีกระเป๋าหลายใบ เราสแกนดูแล้วมีกระเป๋าหลายใบ มีเครื่องสำอาง น้ำหอม ซึ่งคนที่ทำหน้าที่สแกนแจ้งมา ตนยืนยันได้ว่า มีภาพสแกนย้อนหลังของวันนั้นดูได้ และเขาได้นำกระเป๋าเข้าไปที่ช่องไม่สำแดงภาษี เมื่อตรวจพบก็จะส่งมาที่ช่องสำแดง ซึ่งจะดำเนินการสองอย่าง คือ เสียค่าปรับ กับจับกุม ซึ่งจะเป็นคดีและส่งตัวผู้ต้องหาไปให้ตำรวจเศรษฐกิจทำคดี ต้องประกันตัวผู้ต้องหา ซึ่งเป็นเรื่องยาวมาก ในกรณีนี้ตนก็ช่วยเหลือโดยการให้เขาเสียภาษีไป ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ตนรู้สึกหมดกำลังใจทำงาน เหมือนไม่ยุติธรรมสำหรับตน ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่แล้วมาแอบถ่าย
อีกด้านหนึ่ง กรมศุลกากรได้ออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยซื้อของฝาก ของที่ระลึก หรือสินค้าแบรนด์เนมที่นิยมกลับมาด้วย โดยไม่ทราบถึงกฎระเบียบการนำของติดตัวเข้าประเทศ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้วอาจต้องชำระอากรสำหรับของที่มีมูลค่าเกินกว่ากฎหมายอนุญาต หรืออาจต้องเสียค่าปรับ หรือถูกริบของบางรายการที่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด จึงขอแจ้งให้นักท่องเที่ยวชาวไทยได้ทราบถึงข้อปฏิบัติด้านพิธีการทางศุลกากร เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องก่อนนำของเข้าประเทศ
โดยกรมศุลกากรได้จัดบริการช่องผ่านพิธีการศุลกากร แก่ผู้โดยสารขาเข้า ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ตามมาตรฐานสากล 2 ช่องทาง ได้แก่ ช่องตรวจเขียว สำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร หมายถึงของที่ละเว้นการเสียภาษีอากร ได้แก่ ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งมิใช่ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือเสบียง และต้องเป็นของที่ไม่มีลักษณะเป็นสินค้าในเชิงการค้า, ของใช้ส่วนตัวหรือใช้ในวิชาชีพ ที่ซื้อจากร้านปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร มูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท, ของใช้ในบ้านเรือนที่ผู้เดินทางเข้ามาในประเทศเนื่องจากย้ายภูมิลำเนา โดยซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร มูลค่ารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัม หรือรวมกันไม่เกิน 250 กรัม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตรไม่เกิน 1 ลิตร เป็นต้น
ส่วนช่องตรวจแดง สำหรับผู้โดยสารที่มีของต้องเสียภาษีอากร โดยของมีจำนวนและประเภทที่นอกเหนือจากการละเว้นภาษีอากร, ของต้องห้าม ห้ามมิให้นำเข้าและส่งออกนอกราชอาณาจักร ได้แก่ สารเสพติด วัตถุหรือสื่อลามก ของเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ของละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ปลอม และสัตว์ป่าสงวน, ของต้องกำกัด ควบคุมการนำเข้าและส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะสามารถขนย้ายได้ หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้นต้องเสียภาษีอากรหรือไม่
ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะเน้นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศโดยมิได้ทำการตรวจสัมภาระของผู้โดยสารทุกคน แต่จะสุ่มตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ ตามหลักมาตรฐานสากล การปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพิธีการทางศุลกากร จึงถือเป็นหน้าที่ที่ผู้โดยสารทุกคนควรตระหนักและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การมีของที่ต้องสำแดงแต่หลีกเลี่ยงไม่สำแดงขณะผ่านจุดตรวจ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบ จะถือเป็นความผิดโดยการปรับ 4 เท่าของมูลค่าของบวกค่าภาษีและอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และของที่หลีกเลี่ยงการชำระอากรจะถูกริบเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายศุลกากรทันที
อ่านประกอบ : ชาวเน็ตโวยซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมเข้าไทยใบเดียวโดนภาษี 3.7 หมื่น จี้รัฐกำหนดให้ชัดต้องเสียเท่าไหร่ ?