ภาพแรกในวงการบันเทิง ที่ผู้คนเริ่มพูดถึง มาจากมิวสิกวิดีโอเพลง ‘นักเลงคีย์บอร์ด’ ของ แสตมป์ อภิวัชร์ ในบทของ ‘แบงค์’ ยูสเซอร์แฝงตัวตนบนภาพลักษณ์นักเรียนหญิงในสถานะเลสเบี้ยน ที่ไม่ยอมพบนางเอกของเรื่อง ที่เรียกเสียงฮือแรกให้กับผู้คนในโลกออนไลน์ได้รับรู้
ภาพที่สอง ขยับมาที่ซีรีส์หลอนของจีทีเอช “เพื่อนเฮี้ยน โรงเรียนหลอน” ตอน อจินไตย ในบทบาทของ ‘บี’ มนุษย์ต่างดาวผู้ปลอมแปลงโฉมเป็นนักเรียนผู้น่ารัก ที่เพิ่มระดับการมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น จนได้รับการกล่าวขานถึงความน่ากลัวแบบหลอนๆ และความน่ารักแบบสดใส ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

แต่ภาพจริงๆ ของเธอนั้น แท้จริงคือ “กุ๊กไก่-ภาวดี คุ้มโชคไพศาล” นักศึกษาภาพยนตร์จากรั้วศิลปากร ผู้รับบทบาททั้งหมดจากที่กล่าวมาข้างต้น จนเป็นที่กล่าวขานและถูกยกให้กลายเป็นสถานะ ‘เน็ตไอดอล’ บนโลกออนไลน์ไปอีกหนึ่งคน เรียบร้อยแล้ว ณ ขณะนี้
จากความน่ารักในภาพลักษณ์ และบทบาทที่สร้างชื่อในเครดิต จนถูกพูดถึงในที่ต่างๆ แล้วทำไม เราไม่ลองไปรู้จักตัวตนของหญิงสาวหน้าเด็ก สถานะปี 3 ดูล่ะ ว่าจริงๆ แล้ว สาวน้อยคนนี้ บางทีก็มีความคิดความอ่านที่ไม่แพ้ใครเช่นกันนะ...

• มิวสิกวิดีโอ “นักเลงคีย์บอร์ด” เป็นผลงานชิ้นแรกสุดของกุ๊กไก่เลยรึเปล่า
ไม่ใช่ค่ะ ชิ้นแรกสุดจริงๆ น้อยคนมากจะเห็น อาจจะไม่เคยเห็นด้วยซ้ำ คือไปเป็นตัวประกอบในเพลงของ ศรันย์ แอนนิ่ง ของค่ายดักส์ บาร์ เป็นตัวประกอบในหนังสั้นของในเอ็มวีอีกที รับบทเป็นเพื่อนนางเอกแล้วเป็นผี ออกแค่นิดเดียว คือทุกคนจะเข้าใจว่า นักเลงคีย์บอร์ดเป็นตัวแรก แต่จริงๆ ไม่ใช่ ถัดมาก็เป็นเพลงหนักของวง ซีล พีลโลว์ (Seal Pillow) ต่อจากนั้นก็เป็นเอ็มวีเพลงนี้แหละค่ะ เพราะพี่เต๋อ (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ - ผู้กำกับภาพยนตร์) มีโอกาสได้เห็นตามกระทู้ที่ใกล้เคียงไว้ ว่าเห็นแววตาที่เศร้าตรงนั้น คือรู้สึกโชคดีมาก
• คิดหรือเปล่าว่าทำไมถึงมีพูดถึงเราเยอะ หลังจากเอ็มวีตัวนี้ออกไป
อาจจะเป็นเพราะว่า คิดว่าเราเป็นเลสเบี้ยนกับเบลล์ (เขมิศรา พลเดช) แล้วช่วงนั้นที่เบลล์กับฝน (ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล) ดังมาก ในซีรีส์ฮอร์โมน (วัยว้าวุ่น ซีซัน 2 ตอน ดาว-ก้อย) เหมือนพี่เต๋อเขาจับจุดได้ หรือยังไงนี่แหละ แต่มันดังพลุแตกมาก หลายๆ คนเขากรี๊ดฝนอยู่แล้วด้วย พอได้มาดูเอ็มวีแล้ว ก็จะแบบ 'อีนี่ใคร' อาจจะเป็นประมาณนั้น คือเราอาจจะไม่อะไรไง แต่ถือว่าเป็นผลพลอยได้มาจากตอนเบลล์-ฝนมากกว่า

• หลังจากนั้น ก็ได้มาเล่นบท บี-ชลธิชา ในซีรีส์ ‘เพื่อนเฮี้ยน โรงเรียนหลอน’ (ตอน อจินไตย)
ได้มาเล่นในซีรีส์นี้ เพราะว่าหนูมีโอกาสได้เล่นหนังสั้นของรุ่นพี่เอกที่จบไป รับบทเป็นนักเรียนที่กลัวผีในโรงเรียน ประมาณว่ามีข่าวลือ แล้วเราก็ไปเอาของตอนกลางคืน จนได้เจอเรื่องราวต่างๆ มากมาย เราก็กลัว บังเอิญพี่ๆ ทีมงานที่จีทีเอช (GTH) ได้เห็นผลงานนี้ แล้วเขารู้สึกว่า เราน่าจะทำอะไรได้ น่าจะเล่นแบบนี้ได้ เขาก็เลยเรียกเข้าไปแคสบทบี ซึ่งปรากฎว่าได้ ก็นับว่าเป็นความโชคดีอย่างหนึ่ง
• พอซีรีส์ในตอนนี้ออกอากาศ ปรากฏว่าคนพูดถึงมากกว่าตอน ‘นักเลงคีย์บอร์ด’ อีก
ใช่ค่ะ หนูรู้สึกดีใจมาก คือคืนที่ฉาย หนูเครียดมากแทบร้องไห้เลย เพราะกลัวแสดงไม่ดี กลัวไปหมด คือเหมือนแบบว่า หนูไม่รู้ว่าหนูจะเล่นได้ดีมั้ย คนดูจะเข้าใจรึเปล่ากับการแสดงของหนู ซึ่งเป็นการแสดงที่แบบไม่ใช่คน แล้วบางครั้งถ้าคนดูไม่เข้าใจ เขาจะรู้สึกว่าเราเล่นแข็งไปเลย แต่มันอยู่ที่เราว่าจะคิดถึงคนดูแค่ไหน แต่เนื้อเรื่องก็จะค่อยๆ ปล่อยออกมาว่าเราคือใคร ในเรื่อง ว่ามากน้อยแค่ไหน ก็ค่อนข้างเครียดเพราะว่า กลัวว่าถึงจุดที่หักมุมแล้วคนดูไม่เข้าใจคงเฟลทันที แล้วเราจะกลัวมาก

• แต่ผลตอบรับ คนดูก็พูดถึงเยอะมากเลยนะ
หนูจำได้ว่าแม่เล่าให้ฟังว่า พอจบแล้วไปเปิดคอมในกระทู้พันทิป มีประมาณ 10 กว่ากระทู้ แล้วมันจะเป็นไปในทางเดียวกันเลยว่า ไอ้นี่เป็นตัวอะไร เราก็แบบ เล่นไม่ดีรึเปล่า คนดูไม่รู้ว่าเป็นตัวอะไร แต่หนูก็เปิดดูนะ คือก็อยากรู้ แล้วมันมีจริงๆ นะ กับคนที่เขาไม่เข้าใจกับเรื่อง และไม่เข้าใจกับการแสดงของเรา เขาก็จะบอกว่าเราเล่นแข็งไปเลย เราก็อ่าน แล้วเราก็ได้ผลตอบรับกลับมา อย่างเราเรียนหนังมา การที่อ่านคอมเมนต์อะไรอย่างงี้ โอเค มันอาจจะมีเสียความรู้สึกบ้าง แต่มันทำให้เราแบบคนดูมีฟีดแบ็กกับเรื่องอย่างงี้นะ ทีนี้มันก็อยู่ที่ว่า เขาเข้าใจเราได้มากน้อยแค่ไหน มันก็เหมือนผลงาน แล้วเราก็รอดูผล
แต่พอผลตอบรับเป็นในแง่บวก หนูก็ดีใจที่มันเป็นแบบนั้น (หัวเราะ) คือคนดูส่วนใหญ่ก็โอเค อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องมันดีมาก คือพี่จิม (โสภณ ศักดาพิศิษฎ์) เขาปูไว้ดีมาก คือแค่ช่วงเริ่ม หลายคนก็บอกว่าน่ากลัวแล้ว เพราะน้องเค้าที่หลบอยู่ในห้องน้ำก็เล่นดีมาก แบบกลัวจริง
• การที่เรามาอยู่ตรงนี้ได้ คิดมั้ยว่าทำให้เรากลายเป็นเน็ตไอดอลไปเรื่อยๆ
(นิ่งคิด) หนูไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเน็ตไอดอลมั้ย แต่รู้สึกว่า ถ้าเราทำได้ดีในหน้าที่ของนักแสดง เราก็อยากจะพัฒนาฝีมือต่อไป จริงๆถามว่า การที่ไม่ได้รับบทเป็นคนสวยๆ ในเอ็มวี หรือนางเอกในหนัง สำหรับหนูมันเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง คือ ทุกๆ บทมันเป็นการท้าทาย มันไม่ใช่คุณออกมาแล้วคุณทำตัวสวยแต่คุณจะต้องเป็นไปในบทบาทตัวเขา จริงๆ ก็รู้สึกว่าพี่ๆ ทุกคนให้โอกาสมาก กับการที่ยื่นบทนี้ให้เรา เพราะเขาคิดว่าเราทำได้ เราสามารถเล่นเป็นคนที่ไม่ธรรมดาได้ เราก็เลยมีความรู้สึกว่า ถ้าเราทำได้ใน ณ จุดนี้ เราก็อยากจะเล่น แล้วได้รับบทที่หลากหลายขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะรู้สึกอยากพัฒนา อยากลองหลายๆ บท เหมือนนักแสดงฮอลลีวูด คือเขาไม่ได้หยุดอยู่แค่บทบาทเดียว เดี๋ยวก็เล่นเป็นคนอ้วน หรือ คนติดยา เรารู้สึกว่า นี่แหละ มันคือนักแสดงจริงๆ

• แต่บ้านเรามันน้อยนะ กับการที่เปลี่ยนตัวเอง เพื่อรับอีกบทบาทหนึ่ง ที่เปลี่ยนไปจากตัวตนของตัวเอง
หนูไม่รู้ว่าลึกๆ แล้ว ในวงการนักแสดงไทยเป็นยังไง หรือว่าจริงๆ แล้วมันเป็นยังไง แต่นี่เป็นความฝันส่วนตัว คือเหมือนรู้สึกว่า ถ้าคำว่านักแสดง ภาพที่สูงสุดของเรา มันคือสิ่งนั้น คือไม่ว่าจะเป็นบทอะไร ถ้าเขาให้มา อยากให้อิน อยากให้เข้าใจ อย่างตอนเป็นมนุษย์ต่างดาว จริงๆก็ไม่รู้นะว่าการเป็นมนุษย์ต่างดาวเป็นอย่างไร เราก็แค่รู้สึกว่า ก็คงเป็นอย่างงี้แหละ เราก็รู้สึกว่า เขาก็คงไม่พูดปกติ คงไม่เข้าใจระบบภาษาที่แท้จริง การพูดก็อาจจะไม่ใช่แบบคนปกติพูดกัน แต่ในซีรีย์ กระทั่งเป็นประโยคธรรมดา ก็จะแบบ (พูดว่า เออ ไม่ แบบในซีรีย์) มันจะไม่เหมือนกัน เราก็เลยรู้สึกว่า มันต้องเข้าถึง ทั้งพูด หรือ คิด ต้องแบบนั้นไง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่าในอนาคต (หัวเราะ)
• กุ๊กไก่ สนใจด้านภาพยนตร์ มาตั้งแต่แรกเลยมั้ย ถึงได้เลือกเรียนสาขานี้
ตอน ม.ปลาย ด้วยความที่เราเรียนสายวิทย์มา 3 อันดับแรกหนูเลือกบัญชี คือเราอยากจะเรียนในสายนั้น แต่พอสอบมา ปรากฏว่าไม่ติด มาติดอันดับ 4 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย แต่พอมาติดเพราะว่า ที่บ้านทำโฆษณาแล้วหนูก็รู้สึกว่า ถ้าเราเรียนอันนี้เราสามารถที่จะไปต่อยอดที่บ้าน แล้วก็ติดอันดับสุดท้าย
คือการที่ได้มาเรียนวิชาภาพยนตร์ มันเหมือนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากกว่า เพราะว่าเราโดนเลี้ยงดูมาในแวดวงแบบโฆษณา เราก็อยู่กับการออกแบบ การทำป้าย ก็เติบโตมากับสิ่งนี้มาโดยตลอด

• แล้วพอได้มาเรียนจริงๆ แล้วรู้สึกยังไงบ้าง
ตอนแรกก็รู้สึกว่าอาจจะซิ่ว แต่พอเข้ามาเรียน ก็รู้สึกว่าเป็นสายที่ไม่ต้องอ่านหนังสือนะ เน้นปฏิบัติอย่างเดียว ซึ่งตอนแรกก็อาจจะอ่านหนังสือ แต่พอปี 2 ก็เน้นมาปฎิบัติและให้เขียนนู่นนี่ เหมือนมันออกมาแบบเป็นชิ้นเป็นอัน เราก็รู้สึกแบบ เฮ้ย จริงๆ ก็น่าสนุกกว่า กว่าที่จะเอาแต่ไปอ่านหนังสือ หรือ เอาเกรด มันดูแบบมีอะไรเป็นรูปร่างมากกว่า แล้วเหมือนกับมาค้นพบตัวเอง ว่าอาจจะเรียกว่าชอบปฏิบัติ ชอบใช้แรงงาน (หัวเราะ) ขี้เกียจใช้สมอง (หัวเราะอีกครั้ง)
• แสดงว่า กุ๊กไก่ก็ชอบดูหนังบ้างอยู่แล้วประมาณนั้น
คือตอนเด็กๆ คุณพ่อจะไม่ค่อยนิยมให้เราดูละคร เขาจะให้เราดูพวกสารคดี สมัยก่อน ช่อง 3-5-7-9 พอหลัง 2 ทุ่มเงี้ย มันก็จะแบ่งแล้ว บางช่องจะฉายละคร บางช่องจะฉายสารคดี พ่อก็จะให้เราดูช่องสารคดี พอเสาร์-อาทิตย์ พ่อก็จะซื้อหนัง ที่สมัยก่อนจะเป็นวิดีโอ ซื้อมาให้เราดูทุกเสาร์-อาทิตย์เลย คือบ้านหนูจะมีเทปหนังเยอะมาก คือที่บ้านจะชอบให้ดู แล้วเรารู้สึกว่า เราโตมากับหนังและภาพยนตร์
มันเหมือนกับความผูกพันโดยไม่รู้ตัวมากกว่า เอาจริงๆ หนูก็ไม่คิดว่าจะมาเรียนภาพยนตร์เลยนะ คือไม่ได้อยู่ในหัวเลย แต่แค่รู้สึกว่า พอมาเรียน เราก็เพิ่งรู้ว่า จริงๆ เรามีอะไรเกี่ยวกับมันเยอะ ด้วยความที่เราดูตั้งแต่เด็ก คือมันก็เอามาใช้ไม่ค่อยได้กับภาพยนตร์ที่เราเรียนเท่าไหร่ เพราะว่า ในส่วนที่เราเรียน มันเป็นในเชิงที่ลงมือทำ แต่ประสบการณ์ในการดูหนังมีอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังน้อยกว่าคนอื่นนะ คนอื่นเขาตามดูทีหลัง แต่เราดูในตอนเด็กๆ แค่นั้นเอง

• การเรียนวิชาภาพยนตร์ ให้อะไรกับกุ๊กไก่บ้าง
รู้สึกมองโลกในหลายๆ ด้านมากเลย รู้สึกว่า คำว่าศิลปะมันกว้างมาก แล้วก็รู้สึกว่า แนวคิดของคนเรามีพันล้านคน แล้วก็มีพันล้านความคิด รู้สึกว่าทุกคนมีความคิดไอเดียของตัวเอง ไม่มีความซ้ำซากในบุคคล รู้สึกว่า คนนี้อาจจะคิดอย่างงี้ แล้วคนนี้อาจจะคล้ายก็จริง แต่ลึกๆ แล้วมันอาจจะไม่ได้เหมือนกันเลย พอได้มาเรียนวิชานี้ เราก็รู้สึกเป็นอย่างนั้น แล้วก็รู้สึกว่า คนเราซับซ้อน เราพยายามทำอะไรที่แบบแอบซ่อน
คือตอนแรกหนูดูหนังของจิบลิ ตอนแรกก็รู้สึกว่าเป็นแค่หนังการ์ตูนธรรมดา แต่ต่อมา พอมี หนูก็ไม่รู้ว่า คนดูคิดมาก แต่พอที่เป็นสไตล์หนังเอเชีย และเป็นคนญี่ปุ่นทำ เราก็รู้สึกว่า จริงๆ คนญี่ปุ่นเป็นคนคิดมาก เขาจะสอดแทรกอะไรบางอย่าง กระทั่งเรื่อง โตโตโร่ เค้าก็จะสอดแทรกวัฒนธรรมของเค้า ประวัติหรือกระทั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของคนญี่ปุ่นเข้ามา แล้วพอเรารู้ เราก็รู้สึกว่า คนเราซับซ้อนเนอะ ชอบซ่อนนู่นนี่นั่นไป

• ในฐานะที่เป็นนักศึกษาเอกภาพยนตร์ คิดว่าเราชอบในหน้าที่ไหนมากที่สุด
หนูรู้สึกว่าหนูสนุกกับหน้าที่ Art Director เพราะได้โอกาสจากพี่แพท (พัชร เอี่ยมตระกูล - ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี) พี่เขาให้โอกาสหนูให้ไปเป็นในตำแหน่งอาร์ตได เป็นพรีเซนเทชันของบริษัทหนึ่ง ก็มีโอกาสได้ไปช่วย ก็รู้สึกดีค่ะ หรือแบบหนังสั้นของเพื่อนหลายๆ คน เช่นเรื่อง ‘พิมไม่เหมาะกับที่นี่’ หรือ ‘ขอให้น้ำแข็งละลาย’ ที่เอาไปฉายที่งาน หนังสั้นมาราธอน หรืออีกหลายๆ เรื่อง เราได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเพื่อนทำ
ถามว่าทำไมถึงชอบตำแหน่งนี้ คือมันเป็นความชอบที่แบบว่า อาร์ตไดคืองานที่ออกแบบฉาก มันเป็นการคุมเฟรม มันเป็นการดูมูทแอนด์โทนว่ายังไง อะไรที่เข้ากับหนังบ้าง แล้วด้วยการที่กุ๊กอยู่กับโฆษณาจากทางกิจการของพ่อมา มันเหมือนเป็นความสนุกส่วนตัวเฉยๆ ว่าแบบ อ๋อ เรารู้สึกได้ มันไม่ได้ยากเกินไปสำหรับเรา มันรู้สึกว่ามันไม่ได้น่าเบื่อ เพราะเราอยู่กับมันมานานมากแล้ว
• การที่เราได้มาเป็นนักแสดง ถือว่ามีแต้มต่อมากกว่าเพื่อนวิชาเอกด้วยกันมั้ย
จริงๆ หนูก็รู้สึกว่า ถือว่าเป็นการเรียนรู้ก่อนเพื่อนนิดนึง แต่เพื่อนก็มีโอกาสได้ทำเยอะกว่านะคะ คือก่อนหน้านี้ จะมีวิชา เพื่อนๆ ก็จะต้องคิดเหมือนกัน ทำหนังของตัวเองเหมือนกัน จริงๆ กุ๊กถือว่าน้อยกว่าเพื่อนนะ เพราะเอาเวลานี้ไปทุ่มกับการแสดงข้างนอก ในจุดนี้เราอาจจะขาดในเรื่องกำกับ ด้อยกว่าเพื่อนด้วยซ้ำ มีช่วงที่กุ๊กรับงานมากๆ กุ๊กก็คิดมากนะพี่ แบบว่า เราทำแต่งานแสดง แล้วกลับมาในวิชาของเรา เราจะทำได้มั้ย แล้วภาพลักษณ์เพื่อน จะมองเราเป็นนักแสดงหมด แล้วเพื่อนจะไม่ค่อยเรียกเราให้ไปเป็นเบื้องหลังเท่าไหร่ เราจะรู้สึกแบบ ไม่ใช่อ่ะ เรารู้สึกว่าเราก็ทำได้นะ แต่ขอให้บอกมา บางทีเพื่อนก็ลืมไปแล้วว่า ‘เฮ้ย กูไม่ได้ให้มาเล่นหนังให้นะ ไม่ต้องมาหรอก’ เราก็พยายามให้มาอยู่เบื้องหลังบ้าง ประมาณนั้น (หัวเราะเบาๆ)

• แล้วการที่อยู่เบื้องหน้าล่ะ มันก็สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับกุ๊กไก่บ้างสิ
มันเหมือนกับได้รู้จักการทำงาน ได้ไปเห็นกองถ่ายหลายๆ กอง หลายๆ รูปแบบ แล้วรู้สึกว่า สิ่งนี้มันจะเป็นประสบการณ์ที่มาใช้ในวิชาได้ แต่ก็ไม่รู้ว่ามันมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างน้อย เราก็มีโอกาสได้เห็นว่าการทำงานแบบจริงจังมาก การทำงานในกองใหญ่มาก กองกลาง หรือ กองเล็ก แบบของเพื่อนมันแตกต่างกันยังไง แล้วมันมีกระบวนการคิดเหมือนกัน แต่ว่าเค้าทำออกมาในลักษณะไหน
คือเวลาไปในงานหลายๆ ชิ้น มันก็มีหลายรูปแบบนะ แต่มันได้เห็นแตกต่างกันไป เช่นการไปถ่ายรายการ เป็นแขกรับเชิญ เราได้เห็นว่าเป็นการถ่ายทำแบบนี้ มันจะต้องจัดคิวอย่างงี้ๆ ให้คิวกันยังไง หรือการเข้าไปให้สัมภาษณ์ เราต้องมองกล้องกันยังไง ต้องทำงานกันยังไง ตัดสลับภาพยังไง เราก็เออๆ แต่ละศาสตร์งาน แต่ละรูปแบบไม่เหมือนกันเลย
ถ้ากุ๊กไก่ไม่ได้เรียนภาพยนตร์ คิดว่าตัวเองจะเป็นอะไรอยู่
กุ๊กอาจจะไปเรียนต่อด้านการตลาด แล้วกลับไปบ้านทำงานก็ได้ เพราะกุ๊กก็รู้สึกว่า อยากให้ที่บ้านโตไปมากกว่านี้เหมือนกัน เพราะตอนนี้ก็ยังเป็นร้านทำป้ายโฆษณาเล็กๆ อยู่ แล้วถ้าหนูกับน้องชาย สามารถทำร้านให้กลายเป็นบริษัทได้ก็จะดี เพราะว่าถ้าเรายังเป็นร้านเล็กๆ อยู่อย่างงี้ มันก็ยากที่จะเติบโตต่อ ก็น่าจะทำด้านนี้มากกว่า





Profile
ชื่อ : ภาวดี คุ้มโชคไพศาล
ชื่อเล่น : กุ๊กไก่
วันเกิด : 17 สิงหาคม 2536
การศึกษา : ปี 3 เอกภาพยนตร์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ส่วนสูง : 165
น้ำหนัก : 42
งานอดิเรก : ดูซีรีส์, นอน
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วรวิทย์ พานิชนันท์
ภาพที่สอง ขยับมาที่ซีรีส์หลอนของจีทีเอช “เพื่อนเฮี้ยน โรงเรียนหลอน” ตอน อจินไตย ในบทบาทของ ‘บี’ มนุษย์ต่างดาวผู้ปลอมแปลงโฉมเป็นนักเรียนผู้น่ารัก ที่เพิ่มระดับการมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น จนได้รับการกล่าวขานถึงความน่ากลัวแบบหลอนๆ และความน่ารักแบบสดใส ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว
แต่ภาพจริงๆ ของเธอนั้น แท้จริงคือ “กุ๊กไก่-ภาวดี คุ้มโชคไพศาล” นักศึกษาภาพยนตร์จากรั้วศิลปากร ผู้รับบทบาททั้งหมดจากที่กล่าวมาข้างต้น จนเป็นที่กล่าวขานและถูกยกให้กลายเป็นสถานะ ‘เน็ตไอดอล’ บนโลกออนไลน์ไปอีกหนึ่งคน เรียบร้อยแล้ว ณ ขณะนี้
จากความน่ารักในภาพลักษณ์ และบทบาทที่สร้างชื่อในเครดิต จนถูกพูดถึงในที่ต่างๆ แล้วทำไม เราไม่ลองไปรู้จักตัวตนของหญิงสาวหน้าเด็ก สถานะปี 3 ดูล่ะ ว่าจริงๆ แล้ว สาวน้อยคนนี้ บางทีก็มีความคิดความอ่านที่ไม่แพ้ใครเช่นกันนะ...
• มิวสิกวิดีโอ “นักเลงคีย์บอร์ด” เป็นผลงานชิ้นแรกสุดของกุ๊กไก่เลยรึเปล่า
ไม่ใช่ค่ะ ชิ้นแรกสุดจริงๆ น้อยคนมากจะเห็น อาจจะไม่เคยเห็นด้วยซ้ำ คือไปเป็นตัวประกอบในเพลงของ ศรันย์ แอนนิ่ง ของค่ายดักส์ บาร์ เป็นตัวประกอบในหนังสั้นของในเอ็มวีอีกที รับบทเป็นเพื่อนนางเอกแล้วเป็นผี ออกแค่นิดเดียว คือทุกคนจะเข้าใจว่า นักเลงคีย์บอร์ดเป็นตัวแรก แต่จริงๆ ไม่ใช่ ถัดมาก็เป็นเพลงหนักของวง ซีล พีลโลว์ (Seal Pillow) ต่อจากนั้นก็เป็นเอ็มวีเพลงนี้แหละค่ะ เพราะพี่เต๋อ (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ - ผู้กำกับภาพยนตร์) มีโอกาสได้เห็นตามกระทู้ที่ใกล้เคียงไว้ ว่าเห็นแววตาที่เศร้าตรงนั้น คือรู้สึกโชคดีมาก
• คิดหรือเปล่าว่าทำไมถึงมีพูดถึงเราเยอะ หลังจากเอ็มวีตัวนี้ออกไป
อาจจะเป็นเพราะว่า คิดว่าเราเป็นเลสเบี้ยนกับเบลล์ (เขมิศรา พลเดช) แล้วช่วงนั้นที่เบลล์กับฝน (ศนันธฉัตร ธนพัฒน์พิศาล) ดังมาก ในซีรีส์ฮอร์โมน (วัยว้าวุ่น ซีซัน 2 ตอน ดาว-ก้อย) เหมือนพี่เต๋อเขาจับจุดได้ หรือยังไงนี่แหละ แต่มันดังพลุแตกมาก หลายๆ คนเขากรี๊ดฝนอยู่แล้วด้วย พอได้มาดูเอ็มวีแล้ว ก็จะแบบ 'อีนี่ใคร' อาจจะเป็นประมาณนั้น คือเราอาจจะไม่อะไรไง แต่ถือว่าเป็นผลพลอยได้มาจากตอนเบลล์-ฝนมากกว่า
• หลังจากนั้น ก็ได้มาเล่นบท บี-ชลธิชา ในซีรีส์ ‘เพื่อนเฮี้ยน โรงเรียนหลอน’ (ตอน อจินไตย)
ได้มาเล่นในซีรีส์นี้ เพราะว่าหนูมีโอกาสได้เล่นหนังสั้นของรุ่นพี่เอกที่จบไป รับบทเป็นนักเรียนที่กลัวผีในโรงเรียน ประมาณว่ามีข่าวลือ แล้วเราก็ไปเอาของตอนกลางคืน จนได้เจอเรื่องราวต่างๆ มากมาย เราก็กลัว บังเอิญพี่ๆ ทีมงานที่จีทีเอช (GTH) ได้เห็นผลงานนี้ แล้วเขารู้สึกว่า เราน่าจะทำอะไรได้ น่าจะเล่นแบบนี้ได้ เขาก็เลยเรียกเข้าไปแคสบทบี ซึ่งปรากฎว่าได้ ก็นับว่าเป็นความโชคดีอย่างหนึ่ง
• พอซีรีส์ในตอนนี้ออกอากาศ ปรากฏว่าคนพูดถึงมากกว่าตอน ‘นักเลงคีย์บอร์ด’ อีก
ใช่ค่ะ หนูรู้สึกดีใจมาก คือคืนที่ฉาย หนูเครียดมากแทบร้องไห้เลย เพราะกลัวแสดงไม่ดี กลัวไปหมด คือเหมือนแบบว่า หนูไม่รู้ว่าหนูจะเล่นได้ดีมั้ย คนดูจะเข้าใจรึเปล่ากับการแสดงของหนู ซึ่งเป็นการแสดงที่แบบไม่ใช่คน แล้วบางครั้งถ้าคนดูไม่เข้าใจ เขาจะรู้สึกว่าเราเล่นแข็งไปเลย แต่มันอยู่ที่เราว่าจะคิดถึงคนดูแค่ไหน แต่เนื้อเรื่องก็จะค่อยๆ ปล่อยออกมาว่าเราคือใคร ในเรื่อง ว่ามากน้อยแค่ไหน ก็ค่อนข้างเครียดเพราะว่า กลัวว่าถึงจุดที่หักมุมแล้วคนดูไม่เข้าใจคงเฟลทันที แล้วเราจะกลัวมาก
• แต่ผลตอบรับ คนดูก็พูดถึงเยอะมากเลยนะ
หนูจำได้ว่าแม่เล่าให้ฟังว่า พอจบแล้วไปเปิดคอมในกระทู้พันทิป มีประมาณ 10 กว่ากระทู้ แล้วมันจะเป็นไปในทางเดียวกันเลยว่า ไอ้นี่เป็นตัวอะไร เราก็แบบ เล่นไม่ดีรึเปล่า คนดูไม่รู้ว่าเป็นตัวอะไร แต่หนูก็เปิดดูนะ คือก็อยากรู้ แล้วมันมีจริงๆ นะ กับคนที่เขาไม่เข้าใจกับเรื่อง และไม่เข้าใจกับการแสดงของเรา เขาก็จะบอกว่าเราเล่นแข็งไปเลย เราก็อ่าน แล้วเราก็ได้ผลตอบรับกลับมา อย่างเราเรียนหนังมา การที่อ่านคอมเมนต์อะไรอย่างงี้ โอเค มันอาจจะมีเสียความรู้สึกบ้าง แต่มันทำให้เราแบบคนดูมีฟีดแบ็กกับเรื่องอย่างงี้นะ ทีนี้มันก็อยู่ที่ว่า เขาเข้าใจเราได้มากน้อยแค่ไหน มันก็เหมือนผลงาน แล้วเราก็รอดูผล
แต่พอผลตอบรับเป็นในแง่บวก หนูก็ดีใจที่มันเป็นแบบนั้น (หัวเราะ) คือคนดูส่วนใหญ่ก็โอเค อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องมันดีมาก คือพี่จิม (โสภณ ศักดาพิศิษฎ์) เขาปูไว้ดีมาก คือแค่ช่วงเริ่ม หลายคนก็บอกว่าน่ากลัวแล้ว เพราะน้องเค้าที่หลบอยู่ในห้องน้ำก็เล่นดีมาก แบบกลัวจริง
• การที่เรามาอยู่ตรงนี้ได้ คิดมั้ยว่าทำให้เรากลายเป็นเน็ตไอดอลไปเรื่อยๆ
(นิ่งคิด) หนูไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเน็ตไอดอลมั้ย แต่รู้สึกว่า ถ้าเราทำได้ดีในหน้าที่ของนักแสดง เราก็อยากจะพัฒนาฝีมือต่อไป จริงๆถามว่า การที่ไม่ได้รับบทเป็นคนสวยๆ ในเอ็มวี หรือนางเอกในหนัง สำหรับหนูมันเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง คือ ทุกๆ บทมันเป็นการท้าทาย มันไม่ใช่คุณออกมาแล้วคุณทำตัวสวยแต่คุณจะต้องเป็นไปในบทบาทตัวเขา จริงๆ ก็รู้สึกว่าพี่ๆ ทุกคนให้โอกาสมาก กับการที่ยื่นบทนี้ให้เรา เพราะเขาคิดว่าเราทำได้ เราสามารถเล่นเป็นคนที่ไม่ธรรมดาได้ เราก็เลยมีความรู้สึกว่า ถ้าเราทำได้ใน ณ จุดนี้ เราก็อยากจะเล่น แล้วได้รับบทที่หลากหลายขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะรู้สึกอยากพัฒนา อยากลองหลายๆ บท เหมือนนักแสดงฮอลลีวูด คือเขาไม่ได้หยุดอยู่แค่บทบาทเดียว เดี๋ยวก็เล่นเป็นคนอ้วน หรือ คนติดยา เรารู้สึกว่า นี่แหละ มันคือนักแสดงจริงๆ
• แต่บ้านเรามันน้อยนะ กับการที่เปลี่ยนตัวเอง เพื่อรับอีกบทบาทหนึ่ง ที่เปลี่ยนไปจากตัวตนของตัวเอง
หนูไม่รู้ว่าลึกๆ แล้ว ในวงการนักแสดงไทยเป็นยังไง หรือว่าจริงๆ แล้วมันเป็นยังไง แต่นี่เป็นความฝันส่วนตัว คือเหมือนรู้สึกว่า ถ้าคำว่านักแสดง ภาพที่สูงสุดของเรา มันคือสิ่งนั้น คือไม่ว่าจะเป็นบทอะไร ถ้าเขาให้มา อยากให้อิน อยากให้เข้าใจ อย่างตอนเป็นมนุษย์ต่างดาว จริงๆก็ไม่รู้นะว่าการเป็นมนุษย์ต่างดาวเป็นอย่างไร เราก็แค่รู้สึกว่า ก็คงเป็นอย่างงี้แหละ เราก็รู้สึกว่า เขาก็คงไม่พูดปกติ คงไม่เข้าใจระบบภาษาที่แท้จริง การพูดก็อาจจะไม่ใช่แบบคนปกติพูดกัน แต่ในซีรีย์ กระทั่งเป็นประโยคธรรมดา ก็จะแบบ (พูดว่า เออ ไม่ แบบในซีรีย์) มันจะไม่เหมือนกัน เราก็เลยรู้สึกว่า มันต้องเข้าถึง ทั้งพูด หรือ คิด ต้องแบบนั้นไง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่าในอนาคต (หัวเราะ)
• กุ๊กไก่ สนใจด้านภาพยนตร์ มาตั้งแต่แรกเลยมั้ย ถึงได้เลือกเรียนสาขานี้
ตอน ม.ปลาย ด้วยความที่เราเรียนสายวิทย์มา 3 อันดับแรกหนูเลือกบัญชี คือเราอยากจะเรียนในสายนั้น แต่พอสอบมา ปรากฏว่าไม่ติด มาติดอันดับ 4 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย แต่พอมาติดเพราะว่า ที่บ้านทำโฆษณาแล้วหนูก็รู้สึกว่า ถ้าเราเรียนอันนี้เราสามารถที่จะไปต่อยอดที่บ้าน แล้วก็ติดอันดับสุดท้าย
คือการที่ได้มาเรียนวิชาภาพยนตร์ มันเหมือนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากกว่า เพราะว่าเราโดนเลี้ยงดูมาในแวดวงแบบโฆษณา เราก็อยู่กับการออกแบบ การทำป้าย ก็เติบโตมากับสิ่งนี้มาโดยตลอด
• แล้วพอได้มาเรียนจริงๆ แล้วรู้สึกยังไงบ้าง
ตอนแรกก็รู้สึกว่าอาจจะซิ่ว แต่พอเข้ามาเรียน ก็รู้สึกว่าเป็นสายที่ไม่ต้องอ่านหนังสือนะ เน้นปฏิบัติอย่างเดียว ซึ่งตอนแรกก็อาจจะอ่านหนังสือ แต่พอปี 2 ก็เน้นมาปฎิบัติและให้เขียนนู่นนี่ เหมือนมันออกมาแบบเป็นชิ้นเป็นอัน เราก็รู้สึกแบบ เฮ้ย จริงๆ ก็น่าสนุกกว่า กว่าที่จะเอาแต่ไปอ่านหนังสือ หรือ เอาเกรด มันดูแบบมีอะไรเป็นรูปร่างมากกว่า แล้วเหมือนกับมาค้นพบตัวเอง ว่าอาจจะเรียกว่าชอบปฏิบัติ ชอบใช้แรงงาน (หัวเราะ) ขี้เกียจใช้สมอง (หัวเราะอีกครั้ง)
• แสดงว่า กุ๊กไก่ก็ชอบดูหนังบ้างอยู่แล้วประมาณนั้น
คือตอนเด็กๆ คุณพ่อจะไม่ค่อยนิยมให้เราดูละคร เขาจะให้เราดูพวกสารคดี สมัยก่อน ช่อง 3-5-7-9 พอหลัง 2 ทุ่มเงี้ย มันก็จะแบ่งแล้ว บางช่องจะฉายละคร บางช่องจะฉายสารคดี พ่อก็จะให้เราดูช่องสารคดี พอเสาร์-อาทิตย์ พ่อก็จะซื้อหนัง ที่สมัยก่อนจะเป็นวิดีโอ ซื้อมาให้เราดูทุกเสาร์-อาทิตย์เลย คือบ้านหนูจะมีเทปหนังเยอะมาก คือที่บ้านจะชอบให้ดู แล้วเรารู้สึกว่า เราโตมากับหนังและภาพยนตร์
มันเหมือนกับความผูกพันโดยไม่รู้ตัวมากกว่า เอาจริงๆ หนูก็ไม่คิดว่าจะมาเรียนภาพยนตร์เลยนะ คือไม่ได้อยู่ในหัวเลย แต่แค่รู้สึกว่า พอมาเรียน เราก็เพิ่งรู้ว่า จริงๆ เรามีอะไรเกี่ยวกับมันเยอะ ด้วยความที่เราดูตั้งแต่เด็ก คือมันก็เอามาใช้ไม่ค่อยได้กับภาพยนตร์ที่เราเรียนเท่าไหร่ เพราะว่า ในส่วนที่เราเรียน มันเป็นในเชิงที่ลงมือทำ แต่ประสบการณ์ในการดูหนังมีอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังน้อยกว่าคนอื่นนะ คนอื่นเขาตามดูทีหลัง แต่เราดูในตอนเด็กๆ แค่นั้นเอง
• การเรียนวิชาภาพยนตร์ ให้อะไรกับกุ๊กไก่บ้าง
รู้สึกมองโลกในหลายๆ ด้านมากเลย รู้สึกว่า คำว่าศิลปะมันกว้างมาก แล้วก็รู้สึกว่า แนวคิดของคนเรามีพันล้านคน แล้วก็มีพันล้านความคิด รู้สึกว่าทุกคนมีความคิดไอเดียของตัวเอง ไม่มีความซ้ำซากในบุคคล รู้สึกว่า คนนี้อาจจะคิดอย่างงี้ แล้วคนนี้อาจจะคล้ายก็จริง แต่ลึกๆ แล้วมันอาจจะไม่ได้เหมือนกันเลย พอได้มาเรียนวิชานี้ เราก็รู้สึกเป็นอย่างนั้น แล้วก็รู้สึกว่า คนเราซับซ้อน เราพยายามทำอะไรที่แบบแอบซ่อน
คือตอนแรกหนูดูหนังของจิบลิ ตอนแรกก็รู้สึกว่าเป็นแค่หนังการ์ตูนธรรมดา แต่ต่อมา พอมี หนูก็ไม่รู้ว่า คนดูคิดมาก แต่พอที่เป็นสไตล์หนังเอเชีย และเป็นคนญี่ปุ่นทำ เราก็รู้สึกว่า จริงๆ คนญี่ปุ่นเป็นคนคิดมาก เขาจะสอดแทรกอะไรบางอย่าง กระทั่งเรื่อง โตโตโร่ เค้าก็จะสอดแทรกวัฒนธรรมของเค้า ประวัติหรือกระทั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของคนญี่ปุ่นเข้ามา แล้วพอเรารู้ เราก็รู้สึกว่า คนเราซับซ้อนเนอะ ชอบซ่อนนู่นนี่นั่นไป
• ในฐานะที่เป็นนักศึกษาเอกภาพยนตร์ คิดว่าเราชอบในหน้าที่ไหนมากที่สุด
หนูรู้สึกว่าหนูสนุกกับหน้าที่ Art Director เพราะได้โอกาสจากพี่แพท (พัชร เอี่ยมตระกูล - ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี) พี่เขาให้โอกาสหนูให้ไปเป็นในตำแหน่งอาร์ตได เป็นพรีเซนเทชันของบริษัทหนึ่ง ก็มีโอกาสได้ไปช่วย ก็รู้สึกดีค่ะ หรือแบบหนังสั้นของเพื่อนหลายๆ คน เช่นเรื่อง ‘พิมไม่เหมาะกับที่นี่’ หรือ ‘ขอให้น้ำแข็งละลาย’ ที่เอาไปฉายที่งาน หนังสั้นมาราธอน หรืออีกหลายๆ เรื่อง เราได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเพื่อนทำ
ถามว่าทำไมถึงชอบตำแหน่งนี้ คือมันเป็นความชอบที่แบบว่า อาร์ตไดคืองานที่ออกแบบฉาก มันเป็นการคุมเฟรม มันเป็นการดูมูทแอนด์โทนว่ายังไง อะไรที่เข้ากับหนังบ้าง แล้วด้วยการที่กุ๊กอยู่กับโฆษณาจากทางกิจการของพ่อมา มันเหมือนเป็นความสนุกส่วนตัวเฉยๆ ว่าแบบ อ๋อ เรารู้สึกได้ มันไม่ได้ยากเกินไปสำหรับเรา มันรู้สึกว่ามันไม่ได้น่าเบื่อ เพราะเราอยู่กับมันมานานมากแล้ว
• การที่เราได้มาเป็นนักแสดง ถือว่ามีแต้มต่อมากกว่าเพื่อนวิชาเอกด้วยกันมั้ย
จริงๆ หนูก็รู้สึกว่า ถือว่าเป็นการเรียนรู้ก่อนเพื่อนนิดนึง แต่เพื่อนก็มีโอกาสได้ทำเยอะกว่านะคะ คือก่อนหน้านี้ จะมีวิชา เพื่อนๆ ก็จะต้องคิดเหมือนกัน ทำหนังของตัวเองเหมือนกัน จริงๆ กุ๊กถือว่าน้อยกว่าเพื่อนนะ เพราะเอาเวลานี้ไปทุ่มกับการแสดงข้างนอก ในจุดนี้เราอาจจะขาดในเรื่องกำกับ ด้อยกว่าเพื่อนด้วยซ้ำ มีช่วงที่กุ๊กรับงานมากๆ กุ๊กก็คิดมากนะพี่ แบบว่า เราทำแต่งานแสดง แล้วกลับมาในวิชาของเรา เราจะทำได้มั้ย แล้วภาพลักษณ์เพื่อน จะมองเราเป็นนักแสดงหมด แล้วเพื่อนจะไม่ค่อยเรียกเราให้ไปเป็นเบื้องหลังเท่าไหร่ เราจะรู้สึกแบบ ไม่ใช่อ่ะ เรารู้สึกว่าเราก็ทำได้นะ แต่ขอให้บอกมา บางทีเพื่อนก็ลืมไปแล้วว่า ‘เฮ้ย กูไม่ได้ให้มาเล่นหนังให้นะ ไม่ต้องมาหรอก’ เราก็พยายามให้มาอยู่เบื้องหลังบ้าง ประมาณนั้น (หัวเราะเบาๆ)
• แล้วการที่อยู่เบื้องหน้าล่ะ มันก็สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับกุ๊กไก่บ้างสิ
มันเหมือนกับได้รู้จักการทำงาน ได้ไปเห็นกองถ่ายหลายๆ กอง หลายๆ รูปแบบ แล้วรู้สึกว่า สิ่งนี้มันจะเป็นประสบการณ์ที่มาใช้ในวิชาได้ แต่ก็ไม่รู้ว่ามันมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างน้อย เราก็มีโอกาสได้เห็นว่าการทำงานแบบจริงจังมาก การทำงานในกองใหญ่มาก กองกลาง หรือ กองเล็ก แบบของเพื่อนมันแตกต่างกันยังไง แล้วมันมีกระบวนการคิดเหมือนกัน แต่ว่าเค้าทำออกมาในลักษณะไหน
คือเวลาไปในงานหลายๆ ชิ้น มันก็มีหลายรูปแบบนะ แต่มันได้เห็นแตกต่างกันไป เช่นการไปถ่ายรายการ เป็นแขกรับเชิญ เราได้เห็นว่าเป็นการถ่ายทำแบบนี้ มันจะต้องจัดคิวอย่างงี้ๆ ให้คิวกันยังไง หรือการเข้าไปให้สัมภาษณ์ เราต้องมองกล้องกันยังไง ต้องทำงานกันยังไง ตัดสลับภาพยังไง เราก็เออๆ แต่ละศาสตร์งาน แต่ละรูปแบบไม่เหมือนกันเลย
ถ้ากุ๊กไก่ไม่ได้เรียนภาพยนตร์ คิดว่าตัวเองจะเป็นอะไรอยู่
กุ๊กอาจจะไปเรียนต่อด้านการตลาด แล้วกลับไปบ้านทำงานก็ได้ เพราะกุ๊กก็รู้สึกว่า อยากให้ที่บ้านโตไปมากกว่านี้เหมือนกัน เพราะตอนนี้ก็ยังเป็นร้านทำป้ายโฆษณาเล็กๆ อยู่ แล้วถ้าหนูกับน้องชาย สามารถทำร้านให้กลายเป็นบริษัทได้ก็จะดี เพราะว่าถ้าเรายังเป็นร้านเล็กๆ อยู่อย่างงี้ มันก็ยากที่จะเติบโตต่อ ก็น่าจะทำด้านนี้มากกว่า
Profile
ชื่อ : ภาวดี คุ้มโชคไพศาล
ชื่อเล่น : กุ๊กไก่
วันเกิด : 17 สิงหาคม 2536
การศึกษา : ปี 3 เอกภาพยนตร์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ส่วนสูง : 165
น้ำหนัก : 42
งานอดิเรก : ดูซีรีส์, นอน
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วรวิทย์ พานิชนันท์