ไทย-ไม่ไทย เป็นประเด็นที่ถกเถียงได้ไม่รู้จบ และร้อยทั้งร้อย ถ้าให้ลองยกตัวอย่างความเป็นไทยมาสักเรื่องสองเรื่อง เอาเข้าจริง ก็อาจไม่มีใครสรุปได้ว่านั่นคือไทยแท้หรือไม่ และนี่ก็คือหนึ่งความสนใจของนักเขียนการ์ตูนกลุ่มหนึ่งซึ่งร่วมมือกัน “ค้นหาความเป็นไทย” ผ่านผลงานชนะเลิศจากโครงการ Debut Special หัวข้อ ‘ไม่ไทยเบย’
เพราะคำว่า “ไม่ไทยเบย” ฟังดูล้อๆ อำๆ ขำๆ อยู่ในที เราจึงสนใจอย่างยิ่งว่า ในมุมมองของนักเขียนการ์ตูนกลุ่มนี้ “ความเป็นไทย” มีความหมายอย่างไรกันแน่ ทั้ง “ธเนตร ปรีดารัตน์” และ “เกษม อภิชนตระกูล” สองหัวหอกจากสำนักพิมพ์การ์ตูนไทยสตูดิโอผู้เป็นโต้โผโครงการและจัดพิมพ์การ์ตูนเล่มดังกล่าว รวมไปจนถึง “มุ-ชญาภรณ์ พัวพาณิช” เจ้าของผลงาน ‘สิงห์บุรี เดอะ ซีรีส์’ ผู้ชนะเลิศจากโครงการนั้น

ในยุคสมัยที่วัฒนธรรมโลกกำลังไหลผ่านและผ่องถ่ายกันจนแทบจะจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าอะไรเป็นอะไร...“ความเป็นไทย” ที่มีค่าดั่งทองคำในทัศนะของนักอนุรักษนิยม ก็พลอยถูกดูดกลืนและปนเปไปกับวัฒนธรรมจากถิ่นอื่นอย่างไม่อาจฉุดยั้ง ไล่ไปตั้งแต่รูปแบบการดำเนินชีวิต
คำถามก็คือ แล้วความเป็นไทย อยู่ตรงไหนกันแน่?
หรือว่าแท้จริงแล้ว อะไรๆ มันก็ “ไม่ไทยเบย” เอาซะเบยยย...
ไม่เว้นกระทั่งการ์ตูนเล่มนี้?...

• ฟังมาว่า โครงการ ”ไม่ไทยเบย” นี้ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากเสียงค่อนขอดจากในโลกออนไลน์
เกษม : ใช่ครับ มันเกิดมาจากการเป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้ว โดยเฉพาะในวงการการ์ตูน เพราะมันปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้วว่าถึงอย่างไร อิทธิพลเราก็รับมาจากต่างชาติ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า จริงๆ แล้ว เราแค่เลียนแบบ หรือเราแค่เขียนการ์ตูนญี่ปุ่นซ้ำขึ้นมาเฉยๆ กันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเขียนนิยายหรือการทำหนัง ตรงนี้คนที่เป็นตัวต้นไอเดียหรือคนต้นคิด เขาก็นำมาจากชีวิตตัวเอง ก็เลยกลายเป็นหนังฝรั่งไง หรือหนังไทยก็เป็นหนังไทย ทีนี้การ์ตูนไทยล่ะ อยากให้นักเขียนรุ่นใหม่ได้คิดด้วยครับว่าเรากำลังเขียนอะไรอยู่
คือถ้าจะให้พูดว่า การ์ตูนไทย อนุรักษ์ความเป็นไทย มันค่อนข้างที่จะกระดากปากสุดๆ เลย เพราะถึงยังไงก็ได้รับอิทธิพลมาเต็มๆ แต่เราเน้นเรื่องคุณภาพเลยว่า ถ้าคุณเป็นคนไทย ไม่เขียนเรื่องในเมืองไทยหรือความเป็นไทย มันไม่สนุกหรอก คุณไม่สามารถแสดงวัฒนธรรมอื่นที่ไม่ใช่วัฒนธรรมของตัวเองออกมาให้ลึกซึ้งหรือให้มีคุณภาพได้ ก็เลยเป็นที่มาของเล่มนี้ที่ใช้ความคิดลักษณะนี้เป็นพื้นฐาน
ธเนตร : คือในส่วนของเรา เราไม่สนใจเรื่องบทหรือแรงบันดาลใจ เพราะเราเองก็มาจากการ์ตูนญี่ปุ่นเหมือนกัน เราอยากเป็นนักเขียนเพราะการ์ตูนญี่ปุ่น แล้วเราก็อยากจะวาดให้ได้อย่างเขาบ้าง เพียงแต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่เราไม่อยากให้น้องๆ ลืม คือความเป็นไทย คำว่า “มาตรฐาน” ของผมก็คือ การที่เราได้เจออยู่ทุกวัน เช่น เดินออกจากบ้านไปปากซอย เข้าร้านสะดวกซื้อ ขึ้นรถเมล์ ถ้าไปเช้าหน่อย คุณจะเห็นพระบิณฑบาต หรืออาจจะมีคนทำอะไรกันบนสะพานลอย มีวณิพก มีคนขายล็อตเตอรี่ ไอ้เรื่องพวกนี้ มันเจอทุกวัน คือผมอยากให้นักวาดถ่ายทอดมันออกมาในงานของแต่ละคนด้วย

• ดูเหมือนคำว่า “ไม่ไทยเบย” มันจะเสียดแทงใจ สำหรับนักวาดชาวไทยอยู่อ้อมๆ นะ
ชญาภรณ์ : เหมือนกับจี้จุดคนเขียนการ์ตูนไทยทั่วประเทศ เพราะว่าทุกคนเคยถูกคำนี้พูดมาตลอด ทั้งพ่อแม่พี่น้องยันคนอ่าน ซึ่งบางทีก็อยากจะพูดแทนพวกเขานะว่า อย่าเพิ่งคิดว่ามันไทยหรือไม่ไทย และอ่านก่อนได้มั้ย คือบางที คนชอบตัดสินกันที่ลายเส้นก่อน ซึ่งเรื่องนี้มันก็ช่วยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของรสนิยม คนชอบแบบไหนก็วาดแบบนั้น แต่ในแต่ละคน เขาก็จะมีความเป็นไทยอยู่นะ เพียงแต่อาจจะอยู่ในเนื้อเรื่อง ในวิธีคิดของเขา ซึ่งเราต้องอ่านก่อนถึงจะรู้จริงๆ ว่าเป็นยังไง
เพราะฉะนั้น จึงอยากจะบอกว่า การ์ตูนไทยก็เหมือนกัน รออีกสักพักได้ไหม เดี๋ยวคุณก็จะชิน แล้วถ้านักวาดขยันวาดออกมาเรื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็จะรับรู้ไปเองว่านี่แหละการ์ตูนไทย โดยที่เราอาจจะไม่ต้องมาดิ้นรนหรือโวยวายว่าทำไมไม่ยอมรับ ทำไมไม่อ่าน เราแค่รอเวลา แล้วเราก็วาดไปเถอะ สักพัก มันก็จะเป็นการ์ตูนไทยเอง เราก็ปลูกฝังให้เด็กไทยวาดการ์ตูนต่อไป ขยันวาดออกมา แล้วรุ่นต่อไป เขาก็จะยอมรับเองว่านี่คือการ์ตูนไทย
• มาถึงเรื่องหนังสือการ์ตูน โดยรวมถือว่า กำลังจะพูดถึงความเป็นไทย ใช่หรือเปล่า
ธเนตร : ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องที่มีชื่อว่า “ทำไมต้องไทยแท้” มันเป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งที่รู้สึกว่าทำไมทุกคนต้องมองว่าชุดไทยเชยมาก แล้วพอดีมีวันที่จะต้องไปเดตกับแฟน เขาก็เลยใส่ชุดไทยไปเลย แต่ทีนี้ ลองคิดดูนะว่า ใส่ชุดไทยแล้วเดินไปเดตน่ะ ความจริงเขาก็รู้สึกว่าอายนะแต่อดกลั้นไว้ และแค่รู้สึกว่าทำไมล่ะ คือตัวละครก็ถามตัวเองกลับเหมือนกันว่า ทำไมฉันต้องอาย ซึ่งมุมมองแบบนี้แหละที่เราอยากได้
เกษม : คือเขาก็รู้สึกนะว่าทำไมคนต้องมองว่าแปลก ทั้งๆ ที่ก็ใส่ชุดไทยในประเทศไทย และในขณะเดียวกัน ทำไมเขาต้องรู้สึกว่าอายด้วย ซึ่งบางทีมันก็ยังไม่มีคำตอบที่บอกว่า ไม่สามารถฟันธงว่าอันนี้ถูกหรือผิด แต่อยากให้คนที่ได้อ่าน กลับไปคิดด้วยตัวเองมากกว่า บางทีเรารู้สึกว่ามันเป็นไทยก็เพราะว่ามันอยู่กับเรามานาน แต่ก็ไม่ได้ไปค้นว่าต้นกำเนิดของมันคืออะไร ซึ่งนั่นก็คือความเป็นไทยเหมือนกันนะ
หรืออย่างมันจะมีปัญหากับคนที่พูดว่า อนุรักษ์ไทยสิ แล้วเจ้าตัวไม่อนุรักษ์ ประมาณว่าทำแทนกูทีแล้วเจ้าตัวไม่ทำ (หัวเราะ) คือพวกที่ดู จะเป็นปัญหาซะมากกว่า แต่นอกนั้น ก็คือเข้าใจอ่ะ รำไทยมันสวย แล้วมันทำยาก ควรจะมีคนอนุรักษ์ไว้ ในเมื่อตัวเราเองไม่ทำ พวกมึงทำแทนกูที (หัวเราะ) ก็คืออยากให้คนอื่นทำ คือพวกผมเป็นนะ รับญี่ปุนมาเต็มๆ พูดได้อย่างเต็มปากเลยว่า ถ้าเห็นคนวาดลายกนกหรือลายไทย ผมจะเชิดชูเค้ามากๆ ผมจะรู้สึกว่า พวกคุณทำแทนสิ่งที่พวกผมทำไม่ได้ ซึ่งถ้ามีเยอะๆ ก็ดี

• เหมือนเราจงใจที่จะไม่ยอมรับในความเป็นไทย กับการใช้ชีวิตทั่วไปหรือเปล่า
ชญาภรณ์ : บางทีก็ไม่เกี่ยวนะ อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องชุดไทยนี่ เราขาดช่วงไป สมัยจอมพล ป. (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) คือมันมีช่วงรัฐนิยม ที่มีการยกเลิกโจงกระเบน แล้วให้ใส่ผ้าถุง ใส่กระโปรงหรือเสื้อสูท เพื่อที่เราจะได้เป็นแบบรัฐนิยมและเทียบเท่าตะวันตก ต่างประเทศ เหมือนมันขาดช่วงไป มันก็เลยกลายเป็นว่า ไทยก็จริงนะ แต่มันมาไทยทีหลัง แล้วก็ไม่กลมกลืนกับวิถีชีวิต สุดท้ายมารณรงค์อนุรักษ์ความเป็นไทยแทน เราอาจจะไม่เหมือนกับญี่ปุ่นที่เค้าใส่กิโมโนแบบในชีวิตประจำวัน
• ดูเหมือนว่าจะขัดๆ แย้งๆ กันอยู่ เพราะด้านหนึ่ง เราก็เรียกร้องให้รักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ แต่ในความเป็นจริง เราก็เอนหลังพิงกับต่างชาติ
ชญาภรณ์ : ยังไงเราก็ต้องติดต่อกับต่างประเทศ เราก็ต้องปรับตัวให้เหมือนเขา แต่ทำยังไงให้ปรับตัวด้วย แต่ของเดิมก็ยังคงอยู่ คือเหมือนก่อนหน้านี้ เราปรับตัว แต่กวาดของเดิมทิ้งหมดเลย เราก็แบบเล่นดนตรีไทยนั่งพื้นก็ไม่ได้ ต้องให้นั่งเก้าอี้ คือเมื่อก่อน เราใช้วิธีกดปุ่มรีเซต แล้วเราไม่เก็บของเก่า แต่เราเอาของใหม่ ซึ่งเราต้องเข้าใจด้วยว่าสมัยก่อนต้องทำอย่างงั้น สมัยนี้ก็เลยเป็นอย่างงี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราอยากให้วันข้างหน้าต่อไปเป็นยังไง เราก็ต้องเริ่มที่ปัจจุบัน

• นอกจากยิ้มสยามแล้ว มีอะไรที่ถือว่าสุดยอดแห่งความเป็น “ไทยเบย” ซึ่งเราชอบๆ บ้าง
เกษม : จริงๆ ผมชอบพวกสถาปัตยกรรม วัด ยักษ์วัดแจ้ง ผมชอบโขน หรือภาพที่คิดว่าเป็นเอกลักษณ์ได้ ถึงแม้ว่ารามเกียรติ์จะมาจากรามายณะก็ตาม แต่มันคือสิ่งที่คนจำนวนมากทุ่มเทฝึกฝน ทุ่มเทฝีมือ ทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อทำมันขึ้นมา ถ้าจะให้อนุรักษ์ ผมอยากอนุรักษ์ เพราะคนเหล่านั้นเขาตั้งใจทำขึ้นมา มันสวยและรู้สึกดี คือถ้าให้พูดถึงก็คงจะเป็นแบบนี้ เพราะผมชอบฝีมือ และคนทำงาน กับเรื่องอาหารด้วยนะ เช่นเดินกินหมูปิ้ง ถ้าเป็นญี่ปุ่นอาจจะเป็นดังโงะ (หัวเราะ) หรือเอาอาหารร้อนใส่ถุงพลาสติก หรือ ดื่มน้ำอัดลมจากถึงพลาสติก เป็นต้น (หัวเราะอีกครั้ง)
ชญาภรณ์ : เราชอบการมีความคิดสร้างสรรค์ นิสัยช่างปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของคนไทย เวลาเรามีอะไรมา เราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทยได้หมดเลย เช่น เวลาเดินตลาดเราเจอ ซูชิหน้าไข่ต้ม (หัวเราะ) คือของญี่ปุ่นเขาอาจจะจืดๆ จะไม่เข้าลิ้นคนไทย แต่พอเรามาดัด เราก็เฮ้ย คือมันก็ซูชินะ มันไม่ใช่ไทยหรอก แต่เราดูแล้วมันไทยว่ะ หรืออย่างแหนมเนือง กินที่บ้านเรามันเอร็ดอร่อย แต่พอไปกินที่เวียดนาม ทำไมมันไม่เข้าปาก คือคนไทยนี่ หัวช่างประยุกต์นะ ดัดแปลงหลายอย่างจนคิดว่าจะไทยแล้วล่ะ แต่เราอาจจะยังไม่รู้สึกว่ามันไทยไง
ธเนตร : น่าจะเป็นเรื่องอัธยาศัยนะครับ ความยิ้มแย้ม โอบอ้อมอารี แต่ทุกวันนี้ผมไม่แน่ใจนะ คือผมมาจากต่างจังหวัด ผมชอบแบบนั้น เวลาเราไปไหน เขาก็จะให้การต้อนรับเราอย่างดี หรืออย่างผมไปทางนี้ไม่ถูก เขาก็จะชี้ทางให้ แต่ตอนนี้ผมไม่แน่ใจแล้วนะ (หัวเราะ) ถ้าแบ็กแพ็กไปกูจะโดนโขกสับหรือเปล่า คือผมอยากให้ตรงนี้มันอยู่กับบ้านเรา อยากให้มันอยู่คู่กับยิ้มสยามน่ะ เช่น เราเจอชาวต่างชาติเขามาเที่ยว เราก็ต้อนรับ และชี้ทางให้ ช่วยเพราะอยากช่วยและให้เขาสะดวกสบาย ไม่ได้อยากช่วยเพราะอยากได้อะไร
และก็ ความสมัครสมานสามัคคีจากการแข่งขันครับ ยกตัวอย่างจากการเชียร์ฟุตบอล คือสังเกตได้จาก การเชียร์ที่หนาแน่นมาก คือโฟกัสไปที่บอลไทย เชียร์บอลไทย คือต่อให้มานั่งยิ้มอะไร แต่แฟนบอลก็โฟกัสไปที่โค้ชกับนักเตะ เหมือนบอลไทยมีความสมัครสมานสามัคคีกัน ก็อาจจะมาจากใครคนหนึ่ง หล่อหลอมให้มันได้กลมเกรียวกันได้ (หัวเราะ)

• แล้วเรื่องที่รู้สึกขัดอกขัดใจใน “ความเป็นไทย” ล่ะ
เกษม : ความไม่ใส่ใจรายละเอียดมั้งครับ คือในขณะที่เราสามารถปรับเปลี่ยนของคนอื่นได้เป็นอย่างดี แต่เรามักไม่ไปศึกษาว่า จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร แล้วสุดท้ายก็จะมาขัดแย้งกันทีหลัง เช่น คนนี้ทำอย่างงี้ แล้วเราลองทำบ้างซิ แล้วก็ขยาย ซึ่งส่วนที่ขยาย ดันผิดกฎหมายหรือผิดกฎผิดข้อระเบียบ เราก็เผลอทำไปโดยที่เราไม่ศึกษาให้ดี น่าจะเป็นเรื่องนี้นะ ซึ่งก็ทำเองบ่อยๆ (หัวเราะ)
ชญาภรณ์ : หรืออย่างเพื่อนบ้านที่สอดรู้สอดเห็นเรื่องของคนอื่น คือถ้าจะมองว่าเป็นข้อเสีย ในแง่ที่เราไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นข้อดี คือเราใส่ใจเขาอ่ะ (หัวเราะ) คอยเป็นห่วง คอยดู และเมื่อเทียบกับบางประเทศที่คนแก่ตาย ไม่รู้เรื่องเลยนะ ทั้งๆ ที่อยู่บ้านติดกัน ข้อนี้ของเรา มันก็ดี เพราะเหมือนเรามีอารมณ์ร่วมกับความสุขและทุกข์ของคนอื่นน่ะ เรามีความมุทิตา เรามีความกรุณา เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจเขา เหมือนอินไปด้วย คือเรารู้สึกว่า เราเป็นเพื่อนร่วมชาติกัน เราเป็นพวกเดียวกัน เขาเจ็บ ฉันเจ็บด้วย

• ย้อนไปเรื่องการ์ตูนไทย คิดว่าได้แสดงความเป็นไทยออกไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร
เกษม : ผมว่าก็มีความเป็นไทยอยู่นะ อย่างถ้าการ์ตูนในโลกออนไลน์ก็จะพูดชีวิตประจำวัน ซึ่งเขียนจากชีวิตเขา มันก็ต้องไทยอยู่แล้ว ส่วนเรื่องหนังสือการ์ตูน ถ้าคุณเอาวัฒนธรรมอื่นมาเขียน มันไม่มีทางเข้าถึง มันจะไม่สนุก ถ้าไม่สนุก เราก็ไม่ให้ผ่าน อาจจะยกเว้นเรื่องแฟนตาซี แต่มันก็ต้องมีความเป็นไทยอยู่แล้ว แต่ถ้าป้ายซอยเป็นลาดพร้าว แต่รอบข้างดูยังไงก็บลองซ์ชัดๆ เราก็ไล่ไปดูองค์ประกอบใหม่ อย่างงั้นก็เรียกว่าลาดพร้าวไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะวาดสวยก็ตาม แต่เราก็ต้องให้แก้ เพราะมันเท่ากับว่ามันไม่ได้เนื้อหาที่ควร
ชญาภรณ์ : ส่วนใหญ่เราก็ประยุกต์ไม่รู้ตัวนะ เพราะถ้าเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเหล่านี้ มันก็มีความเป็นไทยประยุกต์ทุกอย่าง หรืออย่างบางคนที่เขียนแนวแฟนตาซี เขาอาจจะเขียนถึงเรื่องประเพณีหรืออาจจะเขียนชุดต่างชาติ แต่ส่วนใหญ่ที่เขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ก็จะมีกลิ่นอายของความเป็นไทยอยู่นิดๆ ซึ่งเราต้องอ่านแล้วถึงจะรู้ เหมือนอย่างการ์ตูนญี่ปุ่น เวลาเขาวาดการ์ตูนแฟนตาซี คือเซตติ้งเป็นญี่ปุ่นหมดเลย แต่เค้าโค้งให้กัน คือการ์ตูนแฟนตาซีไทยก็มี คือเนื้อเรื่องจ๋าเลย แต่ตัวละครไหว้กัน มันก็มีค่ะ
แต่ถ้าตอบในฐานะคนอ่าน เราก็รู้สึกว่าไทยขึ้นเยอะนะ จากเมื่อสิบปีก่อนที่อ่านการ์ตูนแล้วรู้สึกว่ามันขัดๆ ขัดในเรื่องเช่นว่า ยืมเสื้อผ้าหรือการกระทำก็ตามมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นมากเกินไป เช่น ฉากกลับมาบ้าน แล้วพูดว่ากลับมาแล้วค่ะ ซึ่งมันค่อนข้างขัด ทั้งที่ตามจริง มันต้องเจอหน้าแล้วไหว้พ่อแม่ เมื่อเวลากลับมาถึง

• โดยสรุปคือ ความเป็นไทยในการ์ตูน สำหรับแต่ละคน คิดว่ายังไง
เกษม : ผมคิดว่าอยู่ที่ความเป็นตัวตนของคนเขียนมากกว่า เหมือนกับผลงานของแต่ละคนมันก็มาจากคนไทย แล้วในเมื่อมันเป็นผลงานที่กลั่นออกมาจากสมองของคนไทย มันก็ควรจะเป็นผลงานไทย
ชญาภรณ์ : คือบางคนอาจจะบอกว่า เป็นคนไทยเขียนการ์ตูน ก็ไทยแล้วเหรอ บางคนอาจจะแย้งว่ายังไม่ใช่ แต่ถ้าให้ขยายความคือ เพราะเป็นคนไทยนี่แหละ บางทีอาจจะเผลอใส่ความเป็นไทยเข้าไป วิถีชีวิตของตัวละคร จะเผลอเป็นไปตามวิถีชีวิตของคนเขียนเอง เพราะว่าการ์ตูนมันคือร่างแยกของคนเขียนที่ใส่ออกไป
คาดหวังอะไรบ้างจากโปรเจกต์ “ไม่ไทยเบย” โปรเจกต์นี้
ธเนตร : ถ้าการ์ตูนเรื่องนี้สามารถให้คนอ่านมาย้อนถามตัวเองได้ก็ดีครับ เพราะผมจะเน้นไปที่อื่นเยอะ เรื่องนี้ เราอยากให้คนวาดสนุก คิดในมุมมองไหนแล้วให้ลองวาดออกมาแล้วให้คนอื่นได้อ่าน
เกษม : อยากจะกระตุ้นให้คนเริ่มศึกษา คือถ้าเราอยากรู้อะไร มันมีให้หาอยู่แล้วสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไทย แต่เราอยากรู้จริงหรือเปล่าเท่านั้นแหละ ส่วนโปรเจกต์ที่ทำมา คืออยากจะให้ทั้งคนเขียนหรือคนอ่านได้เสพแล้วคิด เพราะแหล่งข้อมูลมันอยู่ตรงหน้าเราอยู่แล้ว มันเหมือนการศึกษานิดนึงมั้ง แต่เหมือนอยากให้ทุกคนได้คิดเอง คือเราเป็นคนไทย อยากให้คิดถึงเรื่องความเป็นไทย อยากให้คิดถึงตัวเองน่ะครับ อยากให้สำรวจตัวเองดูว่าเราเป็นคนยังไง ก่อนที่จะไปว่าหรืออวดคนอื่นว่า ข้านี่แหละสุดยอดคนไทย แต่รู้หรือยังว่า ที่ตัวเองพูดออกมามันคืออะไร
ชญาภรณ์ : เหมือนเล่มนี้มาถกมากกว่า นักเขียนแต่ละคนก็ถกกันว่า อันไหนไทยหรือไม่ไทย แล้วทำไมเราถึงไม่ยอมรับ ใส่ชุดไทยทำไมถึงอาย คือบางเรื่องในเล่ม ก็ตั้งคำถามได้ดี บางเรื่องก็พูดถึงนิสัยเสียของคนไทย ซึ่งอาจจะไม่ดีในความคิดเรา แต่มันก็อาจให้คนอ่านได้คิดบ้างว่า เฮ้ย นู่นนี่นั่นก็ไทยนี่หว่า แต่ไม่เคยคิดเลยว่ามันไทย


เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม
เพราะคำว่า “ไม่ไทยเบย” ฟังดูล้อๆ อำๆ ขำๆ อยู่ในที เราจึงสนใจอย่างยิ่งว่า ในมุมมองของนักเขียนการ์ตูนกลุ่มนี้ “ความเป็นไทย” มีความหมายอย่างไรกันแน่ ทั้ง “ธเนตร ปรีดารัตน์” และ “เกษม อภิชนตระกูล” สองหัวหอกจากสำนักพิมพ์การ์ตูนไทยสตูดิโอผู้เป็นโต้โผโครงการและจัดพิมพ์การ์ตูนเล่มดังกล่าว รวมไปจนถึง “มุ-ชญาภรณ์ พัวพาณิช” เจ้าของผลงาน ‘สิงห์บุรี เดอะ ซีรีส์’ ผู้ชนะเลิศจากโครงการนั้น
ในยุคสมัยที่วัฒนธรรมโลกกำลังไหลผ่านและผ่องถ่ายกันจนแทบจะจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าอะไรเป็นอะไร...“ความเป็นไทย” ที่มีค่าดั่งทองคำในทัศนะของนักอนุรักษนิยม ก็พลอยถูกดูดกลืนและปนเปไปกับวัฒนธรรมจากถิ่นอื่นอย่างไม่อาจฉุดยั้ง ไล่ไปตั้งแต่รูปแบบการดำเนินชีวิต
คำถามก็คือ แล้วความเป็นไทย อยู่ตรงไหนกันแน่?
หรือว่าแท้จริงแล้ว อะไรๆ มันก็ “ไม่ไทยเบย” เอาซะเบยยย...
ไม่เว้นกระทั่งการ์ตูนเล่มนี้?...
• ฟังมาว่า โครงการ ”ไม่ไทยเบย” นี้ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากเสียงค่อนขอดจากในโลกออนไลน์
เกษม : ใช่ครับ มันเกิดมาจากการเป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้ว โดยเฉพาะในวงการการ์ตูน เพราะมันปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้วว่าถึงอย่างไร อิทธิพลเราก็รับมาจากต่างชาติ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า จริงๆ แล้ว เราแค่เลียนแบบ หรือเราแค่เขียนการ์ตูนญี่ปุ่นซ้ำขึ้นมาเฉยๆ กันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเขียนนิยายหรือการทำหนัง ตรงนี้คนที่เป็นตัวต้นไอเดียหรือคนต้นคิด เขาก็นำมาจากชีวิตตัวเอง ก็เลยกลายเป็นหนังฝรั่งไง หรือหนังไทยก็เป็นหนังไทย ทีนี้การ์ตูนไทยล่ะ อยากให้นักเขียนรุ่นใหม่ได้คิดด้วยครับว่าเรากำลังเขียนอะไรอยู่
คือถ้าจะให้พูดว่า การ์ตูนไทย อนุรักษ์ความเป็นไทย มันค่อนข้างที่จะกระดากปากสุดๆ เลย เพราะถึงยังไงก็ได้รับอิทธิพลมาเต็มๆ แต่เราเน้นเรื่องคุณภาพเลยว่า ถ้าคุณเป็นคนไทย ไม่เขียนเรื่องในเมืองไทยหรือความเป็นไทย มันไม่สนุกหรอก คุณไม่สามารถแสดงวัฒนธรรมอื่นที่ไม่ใช่วัฒนธรรมของตัวเองออกมาให้ลึกซึ้งหรือให้มีคุณภาพได้ ก็เลยเป็นที่มาของเล่มนี้ที่ใช้ความคิดลักษณะนี้เป็นพื้นฐาน
ธเนตร : คือในส่วนของเรา เราไม่สนใจเรื่องบทหรือแรงบันดาลใจ เพราะเราเองก็มาจากการ์ตูนญี่ปุ่นเหมือนกัน เราอยากเป็นนักเขียนเพราะการ์ตูนญี่ปุ่น แล้วเราก็อยากจะวาดให้ได้อย่างเขาบ้าง เพียงแต่ว่ามีสิ่งหนึ่งที่เราไม่อยากให้น้องๆ ลืม คือความเป็นไทย คำว่า “มาตรฐาน” ของผมก็คือ การที่เราได้เจออยู่ทุกวัน เช่น เดินออกจากบ้านไปปากซอย เข้าร้านสะดวกซื้อ ขึ้นรถเมล์ ถ้าไปเช้าหน่อย คุณจะเห็นพระบิณฑบาต หรืออาจจะมีคนทำอะไรกันบนสะพานลอย มีวณิพก มีคนขายล็อตเตอรี่ ไอ้เรื่องพวกนี้ มันเจอทุกวัน คือผมอยากให้นักวาดถ่ายทอดมันออกมาในงานของแต่ละคนด้วย
• ดูเหมือนคำว่า “ไม่ไทยเบย” มันจะเสียดแทงใจ สำหรับนักวาดชาวไทยอยู่อ้อมๆ นะ
ชญาภรณ์ : เหมือนกับจี้จุดคนเขียนการ์ตูนไทยทั่วประเทศ เพราะว่าทุกคนเคยถูกคำนี้พูดมาตลอด ทั้งพ่อแม่พี่น้องยันคนอ่าน ซึ่งบางทีก็อยากจะพูดแทนพวกเขานะว่า อย่าเพิ่งคิดว่ามันไทยหรือไม่ไทย และอ่านก่อนได้มั้ย คือบางที คนชอบตัดสินกันที่ลายเส้นก่อน ซึ่งเรื่องนี้มันก็ช่วยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของรสนิยม คนชอบแบบไหนก็วาดแบบนั้น แต่ในแต่ละคน เขาก็จะมีความเป็นไทยอยู่นะ เพียงแต่อาจจะอยู่ในเนื้อเรื่อง ในวิธีคิดของเขา ซึ่งเราต้องอ่านก่อนถึงจะรู้จริงๆ ว่าเป็นยังไง
เพราะฉะนั้น จึงอยากจะบอกว่า การ์ตูนไทยก็เหมือนกัน รออีกสักพักได้ไหม เดี๋ยวคุณก็จะชิน แล้วถ้านักวาดขยันวาดออกมาเรื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็จะรับรู้ไปเองว่านี่แหละการ์ตูนไทย โดยที่เราอาจจะไม่ต้องมาดิ้นรนหรือโวยวายว่าทำไมไม่ยอมรับ ทำไมไม่อ่าน เราแค่รอเวลา แล้วเราก็วาดไปเถอะ สักพัก มันก็จะเป็นการ์ตูนไทยเอง เราก็ปลูกฝังให้เด็กไทยวาดการ์ตูนต่อไป ขยันวาดออกมา แล้วรุ่นต่อไป เขาก็จะยอมรับเองว่านี่คือการ์ตูนไทย
• มาถึงเรื่องหนังสือการ์ตูน โดยรวมถือว่า กำลังจะพูดถึงความเป็นไทย ใช่หรือเปล่า
ธเนตร : ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องที่มีชื่อว่า “ทำไมต้องไทยแท้” มันเป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งที่รู้สึกว่าทำไมทุกคนต้องมองว่าชุดไทยเชยมาก แล้วพอดีมีวันที่จะต้องไปเดตกับแฟน เขาก็เลยใส่ชุดไทยไปเลย แต่ทีนี้ ลองคิดดูนะว่า ใส่ชุดไทยแล้วเดินไปเดตน่ะ ความจริงเขาก็รู้สึกว่าอายนะแต่อดกลั้นไว้ และแค่รู้สึกว่าทำไมล่ะ คือตัวละครก็ถามตัวเองกลับเหมือนกันว่า ทำไมฉันต้องอาย ซึ่งมุมมองแบบนี้แหละที่เราอยากได้
เกษม : คือเขาก็รู้สึกนะว่าทำไมคนต้องมองว่าแปลก ทั้งๆ ที่ก็ใส่ชุดไทยในประเทศไทย และในขณะเดียวกัน ทำไมเขาต้องรู้สึกว่าอายด้วย ซึ่งบางทีมันก็ยังไม่มีคำตอบที่บอกว่า ไม่สามารถฟันธงว่าอันนี้ถูกหรือผิด แต่อยากให้คนที่ได้อ่าน กลับไปคิดด้วยตัวเองมากกว่า บางทีเรารู้สึกว่ามันเป็นไทยก็เพราะว่ามันอยู่กับเรามานาน แต่ก็ไม่ได้ไปค้นว่าต้นกำเนิดของมันคืออะไร ซึ่งนั่นก็คือความเป็นไทยเหมือนกันนะ
หรืออย่างมันจะมีปัญหากับคนที่พูดว่า อนุรักษ์ไทยสิ แล้วเจ้าตัวไม่อนุรักษ์ ประมาณว่าทำแทนกูทีแล้วเจ้าตัวไม่ทำ (หัวเราะ) คือพวกที่ดู จะเป็นปัญหาซะมากกว่า แต่นอกนั้น ก็คือเข้าใจอ่ะ รำไทยมันสวย แล้วมันทำยาก ควรจะมีคนอนุรักษ์ไว้ ในเมื่อตัวเราเองไม่ทำ พวกมึงทำแทนกูที (หัวเราะ) ก็คืออยากให้คนอื่นทำ คือพวกผมเป็นนะ รับญี่ปุนมาเต็มๆ พูดได้อย่างเต็มปากเลยว่า ถ้าเห็นคนวาดลายกนกหรือลายไทย ผมจะเชิดชูเค้ามากๆ ผมจะรู้สึกว่า พวกคุณทำแทนสิ่งที่พวกผมทำไม่ได้ ซึ่งถ้ามีเยอะๆ ก็ดี
• เหมือนเราจงใจที่จะไม่ยอมรับในความเป็นไทย กับการใช้ชีวิตทั่วไปหรือเปล่า
ชญาภรณ์ : บางทีก็ไม่เกี่ยวนะ อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องชุดไทยนี่ เราขาดช่วงไป สมัยจอมพล ป. (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) คือมันมีช่วงรัฐนิยม ที่มีการยกเลิกโจงกระเบน แล้วให้ใส่ผ้าถุง ใส่กระโปรงหรือเสื้อสูท เพื่อที่เราจะได้เป็นแบบรัฐนิยมและเทียบเท่าตะวันตก ต่างประเทศ เหมือนมันขาดช่วงไป มันก็เลยกลายเป็นว่า ไทยก็จริงนะ แต่มันมาไทยทีหลัง แล้วก็ไม่กลมกลืนกับวิถีชีวิต สุดท้ายมารณรงค์อนุรักษ์ความเป็นไทยแทน เราอาจจะไม่เหมือนกับญี่ปุ่นที่เค้าใส่กิโมโนแบบในชีวิตประจำวัน
• ดูเหมือนว่าจะขัดๆ แย้งๆ กันอยู่ เพราะด้านหนึ่ง เราก็เรียกร้องให้รักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ แต่ในความเป็นจริง เราก็เอนหลังพิงกับต่างชาติ
ชญาภรณ์ : ยังไงเราก็ต้องติดต่อกับต่างประเทศ เราก็ต้องปรับตัวให้เหมือนเขา แต่ทำยังไงให้ปรับตัวด้วย แต่ของเดิมก็ยังคงอยู่ คือเหมือนก่อนหน้านี้ เราปรับตัว แต่กวาดของเดิมทิ้งหมดเลย เราก็แบบเล่นดนตรีไทยนั่งพื้นก็ไม่ได้ ต้องให้นั่งเก้าอี้ คือเมื่อก่อน เราใช้วิธีกดปุ่มรีเซต แล้วเราไม่เก็บของเก่า แต่เราเอาของใหม่ ซึ่งเราต้องเข้าใจด้วยว่าสมัยก่อนต้องทำอย่างงั้น สมัยนี้ก็เลยเป็นอย่างงี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราอยากให้วันข้างหน้าต่อไปเป็นยังไง เราก็ต้องเริ่มที่ปัจจุบัน
• นอกจากยิ้มสยามแล้ว มีอะไรที่ถือว่าสุดยอดแห่งความเป็น “ไทยเบย” ซึ่งเราชอบๆ บ้าง
เกษม : จริงๆ ผมชอบพวกสถาปัตยกรรม วัด ยักษ์วัดแจ้ง ผมชอบโขน หรือภาพที่คิดว่าเป็นเอกลักษณ์ได้ ถึงแม้ว่ารามเกียรติ์จะมาจากรามายณะก็ตาม แต่มันคือสิ่งที่คนจำนวนมากทุ่มเทฝึกฝน ทุ่มเทฝีมือ ทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อทำมันขึ้นมา ถ้าจะให้อนุรักษ์ ผมอยากอนุรักษ์ เพราะคนเหล่านั้นเขาตั้งใจทำขึ้นมา มันสวยและรู้สึกดี คือถ้าให้พูดถึงก็คงจะเป็นแบบนี้ เพราะผมชอบฝีมือ และคนทำงาน กับเรื่องอาหารด้วยนะ เช่นเดินกินหมูปิ้ง ถ้าเป็นญี่ปุ่นอาจจะเป็นดังโงะ (หัวเราะ) หรือเอาอาหารร้อนใส่ถุงพลาสติก หรือ ดื่มน้ำอัดลมจากถึงพลาสติก เป็นต้น (หัวเราะอีกครั้ง)
ชญาภรณ์ : เราชอบการมีความคิดสร้างสรรค์ นิสัยช่างปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของคนไทย เวลาเรามีอะไรมา เราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทยได้หมดเลย เช่น เวลาเดินตลาดเราเจอ ซูชิหน้าไข่ต้ม (หัวเราะ) คือของญี่ปุ่นเขาอาจจะจืดๆ จะไม่เข้าลิ้นคนไทย แต่พอเรามาดัด เราก็เฮ้ย คือมันก็ซูชินะ มันไม่ใช่ไทยหรอก แต่เราดูแล้วมันไทยว่ะ หรืออย่างแหนมเนือง กินที่บ้านเรามันเอร็ดอร่อย แต่พอไปกินที่เวียดนาม ทำไมมันไม่เข้าปาก คือคนไทยนี่ หัวช่างประยุกต์นะ ดัดแปลงหลายอย่างจนคิดว่าจะไทยแล้วล่ะ แต่เราอาจจะยังไม่รู้สึกว่ามันไทยไง
ธเนตร : น่าจะเป็นเรื่องอัธยาศัยนะครับ ความยิ้มแย้ม โอบอ้อมอารี แต่ทุกวันนี้ผมไม่แน่ใจนะ คือผมมาจากต่างจังหวัด ผมชอบแบบนั้น เวลาเราไปไหน เขาก็จะให้การต้อนรับเราอย่างดี หรืออย่างผมไปทางนี้ไม่ถูก เขาก็จะชี้ทางให้ แต่ตอนนี้ผมไม่แน่ใจแล้วนะ (หัวเราะ) ถ้าแบ็กแพ็กไปกูจะโดนโขกสับหรือเปล่า คือผมอยากให้ตรงนี้มันอยู่กับบ้านเรา อยากให้มันอยู่คู่กับยิ้มสยามน่ะ เช่น เราเจอชาวต่างชาติเขามาเที่ยว เราก็ต้อนรับ และชี้ทางให้ ช่วยเพราะอยากช่วยและให้เขาสะดวกสบาย ไม่ได้อยากช่วยเพราะอยากได้อะไร
และก็ ความสมัครสมานสามัคคีจากการแข่งขันครับ ยกตัวอย่างจากการเชียร์ฟุตบอล คือสังเกตได้จาก การเชียร์ที่หนาแน่นมาก คือโฟกัสไปที่บอลไทย เชียร์บอลไทย คือต่อให้มานั่งยิ้มอะไร แต่แฟนบอลก็โฟกัสไปที่โค้ชกับนักเตะ เหมือนบอลไทยมีความสมัครสมานสามัคคีกัน ก็อาจจะมาจากใครคนหนึ่ง หล่อหลอมให้มันได้กลมเกรียวกันได้ (หัวเราะ)
• แล้วเรื่องที่รู้สึกขัดอกขัดใจใน “ความเป็นไทย” ล่ะ
เกษม : ความไม่ใส่ใจรายละเอียดมั้งครับ คือในขณะที่เราสามารถปรับเปลี่ยนของคนอื่นได้เป็นอย่างดี แต่เรามักไม่ไปศึกษาว่า จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร แล้วสุดท้ายก็จะมาขัดแย้งกันทีหลัง เช่น คนนี้ทำอย่างงี้ แล้วเราลองทำบ้างซิ แล้วก็ขยาย ซึ่งส่วนที่ขยาย ดันผิดกฎหมายหรือผิดกฎผิดข้อระเบียบ เราก็เผลอทำไปโดยที่เราไม่ศึกษาให้ดี น่าจะเป็นเรื่องนี้นะ ซึ่งก็ทำเองบ่อยๆ (หัวเราะ)
ชญาภรณ์ : หรืออย่างเพื่อนบ้านที่สอดรู้สอดเห็นเรื่องของคนอื่น คือถ้าจะมองว่าเป็นข้อเสีย ในแง่ที่เราไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นข้อดี คือเราใส่ใจเขาอ่ะ (หัวเราะ) คอยเป็นห่วง คอยดู และเมื่อเทียบกับบางประเทศที่คนแก่ตาย ไม่รู้เรื่องเลยนะ ทั้งๆ ที่อยู่บ้านติดกัน ข้อนี้ของเรา มันก็ดี เพราะเหมือนเรามีอารมณ์ร่วมกับความสุขและทุกข์ของคนอื่นน่ะ เรามีความมุทิตา เรามีความกรุณา เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจเขา เหมือนอินไปด้วย คือเรารู้สึกว่า เราเป็นเพื่อนร่วมชาติกัน เราเป็นพวกเดียวกัน เขาเจ็บ ฉันเจ็บด้วย
• ย้อนไปเรื่องการ์ตูนไทย คิดว่าได้แสดงความเป็นไทยออกไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร
เกษม : ผมว่าก็มีความเป็นไทยอยู่นะ อย่างถ้าการ์ตูนในโลกออนไลน์ก็จะพูดชีวิตประจำวัน ซึ่งเขียนจากชีวิตเขา มันก็ต้องไทยอยู่แล้ว ส่วนเรื่องหนังสือการ์ตูน ถ้าคุณเอาวัฒนธรรมอื่นมาเขียน มันไม่มีทางเข้าถึง มันจะไม่สนุก ถ้าไม่สนุก เราก็ไม่ให้ผ่าน อาจจะยกเว้นเรื่องแฟนตาซี แต่มันก็ต้องมีความเป็นไทยอยู่แล้ว แต่ถ้าป้ายซอยเป็นลาดพร้าว แต่รอบข้างดูยังไงก็บลองซ์ชัดๆ เราก็ไล่ไปดูองค์ประกอบใหม่ อย่างงั้นก็เรียกว่าลาดพร้าวไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะวาดสวยก็ตาม แต่เราก็ต้องให้แก้ เพราะมันเท่ากับว่ามันไม่ได้เนื้อหาที่ควร
ชญาภรณ์ : ส่วนใหญ่เราก็ประยุกต์ไม่รู้ตัวนะ เพราะถ้าเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเหล่านี้ มันก็มีความเป็นไทยประยุกต์ทุกอย่าง หรืออย่างบางคนที่เขียนแนวแฟนตาซี เขาอาจจะเขียนถึงเรื่องประเพณีหรืออาจจะเขียนชุดต่างชาติ แต่ส่วนใหญ่ที่เขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ก็จะมีกลิ่นอายของความเป็นไทยอยู่นิดๆ ซึ่งเราต้องอ่านแล้วถึงจะรู้ เหมือนอย่างการ์ตูนญี่ปุ่น เวลาเขาวาดการ์ตูนแฟนตาซี คือเซตติ้งเป็นญี่ปุ่นหมดเลย แต่เค้าโค้งให้กัน คือการ์ตูนแฟนตาซีไทยก็มี คือเนื้อเรื่องจ๋าเลย แต่ตัวละครไหว้กัน มันก็มีค่ะ
แต่ถ้าตอบในฐานะคนอ่าน เราก็รู้สึกว่าไทยขึ้นเยอะนะ จากเมื่อสิบปีก่อนที่อ่านการ์ตูนแล้วรู้สึกว่ามันขัดๆ ขัดในเรื่องเช่นว่า ยืมเสื้อผ้าหรือการกระทำก็ตามมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นมากเกินไป เช่น ฉากกลับมาบ้าน แล้วพูดว่ากลับมาแล้วค่ะ ซึ่งมันค่อนข้างขัด ทั้งที่ตามจริง มันต้องเจอหน้าแล้วไหว้พ่อแม่ เมื่อเวลากลับมาถึง
• โดยสรุปคือ ความเป็นไทยในการ์ตูน สำหรับแต่ละคน คิดว่ายังไง
เกษม : ผมคิดว่าอยู่ที่ความเป็นตัวตนของคนเขียนมากกว่า เหมือนกับผลงานของแต่ละคนมันก็มาจากคนไทย แล้วในเมื่อมันเป็นผลงานที่กลั่นออกมาจากสมองของคนไทย มันก็ควรจะเป็นผลงานไทย
ชญาภรณ์ : คือบางคนอาจจะบอกว่า เป็นคนไทยเขียนการ์ตูน ก็ไทยแล้วเหรอ บางคนอาจจะแย้งว่ายังไม่ใช่ แต่ถ้าให้ขยายความคือ เพราะเป็นคนไทยนี่แหละ บางทีอาจจะเผลอใส่ความเป็นไทยเข้าไป วิถีชีวิตของตัวละคร จะเผลอเป็นไปตามวิถีชีวิตของคนเขียนเอง เพราะว่าการ์ตูนมันคือร่างแยกของคนเขียนที่ใส่ออกไป
คาดหวังอะไรบ้างจากโปรเจกต์ “ไม่ไทยเบย” โปรเจกต์นี้
ธเนตร : ถ้าการ์ตูนเรื่องนี้สามารถให้คนอ่านมาย้อนถามตัวเองได้ก็ดีครับ เพราะผมจะเน้นไปที่อื่นเยอะ เรื่องนี้ เราอยากให้คนวาดสนุก คิดในมุมมองไหนแล้วให้ลองวาดออกมาแล้วให้คนอื่นได้อ่าน
เกษม : อยากจะกระตุ้นให้คนเริ่มศึกษา คือถ้าเราอยากรู้อะไร มันมีให้หาอยู่แล้วสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไทย แต่เราอยากรู้จริงหรือเปล่าเท่านั้นแหละ ส่วนโปรเจกต์ที่ทำมา คืออยากจะให้ทั้งคนเขียนหรือคนอ่านได้เสพแล้วคิด เพราะแหล่งข้อมูลมันอยู่ตรงหน้าเราอยู่แล้ว มันเหมือนการศึกษานิดนึงมั้ง แต่เหมือนอยากให้ทุกคนได้คิดเอง คือเราเป็นคนไทย อยากให้คิดถึงเรื่องความเป็นไทย อยากให้คิดถึงตัวเองน่ะครับ อยากให้สำรวจตัวเองดูว่าเราเป็นคนยังไง ก่อนที่จะไปว่าหรืออวดคนอื่นว่า ข้านี่แหละสุดยอดคนไทย แต่รู้หรือยังว่า ที่ตัวเองพูดออกมามันคืออะไร
ชญาภรณ์ : เหมือนเล่มนี้มาถกมากกว่า นักเขียนแต่ละคนก็ถกกันว่า อันไหนไทยหรือไม่ไทย แล้วทำไมเราถึงไม่ยอมรับ ใส่ชุดไทยทำไมถึงอาย คือบางเรื่องในเล่ม ก็ตั้งคำถามได้ดี บางเรื่องก็พูดถึงนิสัยเสียของคนไทย ซึ่งอาจจะไม่ดีในความคิดเรา แต่มันก็อาจให้คนอ่านได้คิดบ้างว่า เฮ้ย นู่นนี่นั่นก็ไทยนี่หว่า แต่ไม่เคยคิดเลยว่ามันไทย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม