ที่ดินเป็นหนึงในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ โดยเฉพาอะย่างยิ่ง สำหรับสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างบ้านเรา ที่ดิน เป็นทั้งทุน ในมิติทางเศรษฐกิจ และทุนแห่งชีวิต ที่เป็นรากฐานในการพัฒนา ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
การไร้ที่ดิน ทำกิน เป็นหนึ่งในสาเหตุแห่งความยากจน การที่คนไทยหลายล้านครัวเรือนไม่มีที่ทำกิน ในขณะที่คนรวยเพียงหยิบมือครอบครองที่ดินจำนวนมหาศาล เป็นความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด การปฏิรูปที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน ไม่ให้กระจุกตัวอยู่กับคนรวยๆ เพียงไม่กี่คน จึงเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาทุกครั้ง ที่มีการพูดถึงการแก้ไขปัญหาความยากจน การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม แต่ไม่เคยเป็นจริงสักที
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นายปรีดี พนมนยงค์ ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ได้จัดทำ เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือ “ สมุดปกเหลือง “ เสนอต่อคณะราษฎรและรัฐบาล เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในสมุดปกเหลืองนี้คือ ให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากเอกชนด้วยความสมัครใจ โดยออกพันธบัตรเป็นค่าที่ดิน และนำที่ดินมาจัดสรรให้ราษฎรทำกิน ภายใต้ระบบสวัสดิการ
แนวความคิดของนายปรีดีนี้ถูกโจมตีจากศัตรูทางการเมือง และผู้ที่จะเสียผลประโยชน์ว่าเป็นระบบ “นารวม” ของคอมมิวนิสต์ ซึ่งในที่สุด ข้อกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ อันมีที่มาจากแนวนโยบายเศรษฐกิจในสมุดปกเหลืองนี้ ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่นอกประเทศ จนสิ้นชีวิต
ความฝันว่าคนไทยทั้งประเทศจะมีที่ดินทำกินภายใต้ระบบสหกรณ์ ก็มลายสลายไปด้วย
ความพยายามในการปฏิรูปทิ่ดินครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ช่วงที่ 2 โดยมีการออก พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินปี พ.ศ.2497 จำกัดการถือครองที่ดินของเอกชนสูงสุดไม่เกิน 50 ไร่ โดยให้มีผลบังคับใช้หลังจากออกกฎหมายแล้ว 7 ปี คือ ในปี พ.ศ.2504 แต่เกิดการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2501 และได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2503 ยกเลิกการจำกัดการถือครองที่ดินตามกฎหมายนี้เสียก่อน
หลังเหตุการร์ 14 ตุลาคม 2516 ผู้นำชาวนาชาวไร่ ในชนบทได้รวมตัวกันจัดตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐหาที่ดินทำกินให้ชาวนา ซึ่งเป็นที่มาของการออกกฎหมาย พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยรัฐนำที่ดินของรัฐมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน หรือ มีที่น้อย ซึ่งรู้จักกันในนาม สปก.
40 ปีของการปฏิรูปที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.สปก.ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ที่ดินในเขตปฏิรูปจำนวนมาก ตกอยู่ในมือของผู้มีอิทธิพล ที่ดิน สปก.ที่มีการจัดสรรไป ถูกนำไปขายต่อให้นายทุน ในหลายๆ พื้นที่ ผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดิน สปก. คือคนรวย นักการเมือง เครือข่ายของผู้มีอำนาจ
ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ มีการออกระเบียบสำนักยานกรัฐมนตรี ให้มีการออกโฉนดชุมชน คือการให้สิทธิชุมชนร่วมกันบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ที่ชุมชนครอบครองทำกินอยู่ โดยมีการออกโฉนดชุมชน ให้สหกรณ์ ตำบลคลองโยง จังหวัดนครปฐม และชุมชนแม่อาว จังหวัดลำพูน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเป็นพรรคเพื่อไทย โครงการนี้ก็ถูกระงับไปโดยปริยาย
มาถึงยุค คสช.คืนความสุขให้ประชาชน ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปสังคมไทยอย่างทั่วถึง การปฏิรูปที่ดินครั้งใหม่กำลังเริ่มขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พลเอก ดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ประกาศว่าจะแจกสิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 ล้านไร่เศษให้คนยากจนเข้าทำกิน โดยจะใช้วิธีแจกเอกสารสิทธิทำกินให้กับชุมชน หรือ สหกรณ์ ไม่ออกให้เป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้มีการนำที่ไปขายต่อมให้นายทุน ดังเช่นที่ผ่านมา
การประชุมคณะกรรมนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้กำหนดแนวทางและขั้นตอนการแจกสิทธิที่ทำกิน ตลอดจนระยะเวลาการดำเนินการไว้ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ
แต่งตั้งอนุกรรมการ 3 ด้าน ได้แก่ อนุกรรมการจัดหาที่ดินมี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ เป็นประธาน มีหน้าที่จัดหาที่ดินให้คนยากจนทำกิน อนุกรรมการที่ 2 คืออนุกรรมการจัดที่ดิน มี รมว.มหาดไทย เป็นประธาน มีหน้าที่จัดคนลงพื้นที่หลังจากที่คณะที่ 1 จัดหาพื้นที่แล้ว ให้เหมาะกับขนาดของพื้นที่ตามท้องถิ่นนั้นๆ โดยในส่วนกระทรวงมหาดไทยจะมีรายชื่อของประชาชนที่ยากไร้ ขณะที่คณะ 1 มีรายชื่อของผู้ที่บุกรุกพื้นที่ที่ถูกผลักดันออกไป และจะนำรายชื่อมาพิจารณาร่วมกันและคัดเลือกว่าใครควรจะได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน
อนุกรรมการที่ 3 คืออนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ มี รมว.เกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าพื้นที่ไหนควรจะทำอาชีพอะไร พื้นที่ไหนควรทำอะไรจึงจะเหมาะสมและจะทำหน้าที่ในการจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามนโยบาย โดยจะไม่มอบให้เป็นสิทธิรายบุคคลแต่จะมีการจัดหาระบบใหม่ เช่น การใช้ระบบสหกรณ์ หรือระบบอื่นที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง
คณะอนุกรรมการทั้ง 3 ชัด ต้องรายงานความคืบหน้าทุก 3 เดือน โดยในเดือนธันวาคมนี้ จะต้องรายงานผลครั้งแรก และการทยอยแจกสิทธิทำกิน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า เป็นต้นไป
สมมติว่า คนจน 1 ครัวเรือน ได้รับสิทธิทำกินในที่ดิน 25 ไร่ จะมีคนจนเพียง 4 หมื่นครัวเรือนเท่านั้น ที่ได้รับสิทธิ นับว่าน้อยนิดเมื่อเทียบกับคนจนที่ไร้ที่ทำกินประมาณ 5 ล้านครัวเรือน เมื่อได้รับทีดินไปแล้ว ยังมีปัญหาอีกมากมายหลายอย่างที่จะต้องจัดการแก้ไข ซึ่งรวมทั้งปัญหาว่า เอาที่ดินไปทำอะไร สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยทีสุด นี่คือก้าวแรกของการปฏิรูปที่ดินที่เป็นจริง ที่รัฐบาลลงมือทำทันที หากทำได้สำเร็จภายในเวลา 1 ปี ก็ถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดง
การไร้ที่ดิน ทำกิน เป็นหนึ่งในสาเหตุแห่งความยากจน การที่คนไทยหลายล้านครัวเรือนไม่มีที่ทำกิน ในขณะที่คนรวยเพียงหยิบมือครอบครองที่ดินจำนวนมหาศาล เป็นความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด การปฏิรูปที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน ไม่ให้กระจุกตัวอยู่กับคนรวยๆ เพียงไม่กี่คน จึงเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาทุกครั้ง ที่มีการพูดถึงการแก้ไขปัญหาความยากจน การปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม แต่ไม่เคยเป็นจริงสักที
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นายปรีดี พนมนยงค์ ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ได้จัดทำ เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือ “ สมุดปกเหลือง “ เสนอต่อคณะราษฎรและรัฐบาล เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในสมุดปกเหลืองนี้คือ ให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากเอกชนด้วยความสมัครใจ โดยออกพันธบัตรเป็นค่าที่ดิน และนำที่ดินมาจัดสรรให้ราษฎรทำกิน ภายใต้ระบบสวัสดิการ
แนวความคิดของนายปรีดีนี้ถูกโจมตีจากศัตรูทางการเมือง และผู้ที่จะเสียผลประโยชน์ว่าเป็นระบบ “นารวม” ของคอมมิวนิสต์ ซึ่งในที่สุด ข้อกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ อันมีที่มาจากแนวนโยบายเศรษฐกิจในสมุดปกเหลืองนี้ ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่นอกประเทศ จนสิ้นชีวิต
ความฝันว่าคนไทยทั้งประเทศจะมีที่ดินทำกินภายใต้ระบบสหกรณ์ ก็มลายสลายไปด้วย
ความพยายามในการปฏิรูปทิ่ดินครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ช่วงที่ 2 โดยมีการออก พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินปี พ.ศ.2497 จำกัดการถือครองที่ดินของเอกชนสูงสุดไม่เกิน 50 ไร่ โดยให้มีผลบังคับใช้หลังจากออกกฎหมายแล้ว 7 ปี คือ ในปี พ.ศ.2504 แต่เกิดการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2501 และได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2503 ยกเลิกการจำกัดการถือครองที่ดินตามกฎหมายนี้เสียก่อน
หลังเหตุการร์ 14 ตุลาคม 2516 ผู้นำชาวนาชาวไร่ ในชนบทได้รวมตัวกันจัดตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐหาที่ดินทำกินให้ชาวนา ซึ่งเป็นที่มาของการออกกฎหมาย พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยรัฐนำที่ดินของรัฐมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน หรือ มีที่น้อย ซึ่งรู้จักกันในนาม สปก.
40 ปีของการปฏิรูปที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.สปก.ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ที่ดินในเขตปฏิรูปจำนวนมาก ตกอยู่ในมือของผู้มีอิทธิพล ที่ดิน สปก.ที่มีการจัดสรรไป ถูกนำไปขายต่อให้นายทุน ในหลายๆ พื้นที่ ผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดิน สปก. คือคนรวย นักการเมือง เครือข่ายของผู้มีอำนาจ
ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ มีการออกระเบียบสำนักยานกรัฐมนตรี ให้มีการออกโฉนดชุมชน คือการให้สิทธิชุมชนร่วมกันบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ที่ชุมชนครอบครองทำกินอยู่ โดยมีการออกโฉนดชุมชน ให้สหกรณ์ ตำบลคลองโยง จังหวัดนครปฐม และชุมชนแม่อาว จังหวัดลำพูน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเป็นพรรคเพื่อไทย โครงการนี้ก็ถูกระงับไปโดยปริยาย
มาถึงยุค คสช.คืนความสุขให้ประชาชน ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปสังคมไทยอย่างทั่วถึง การปฏิรูปที่ดินครั้งใหม่กำลังเริ่มขึ้นอย่างเงียบๆ เมื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พลเอก ดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ประกาศว่าจะแจกสิทธิทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 ล้านไร่เศษให้คนยากจนเข้าทำกิน โดยจะใช้วิธีแจกเอกสารสิทธิทำกินให้กับชุมชน หรือ สหกรณ์ ไม่ออกให้เป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้มีการนำที่ไปขายต่อมให้นายทุน ดังเช่นที่ผ่านมา
การประชุมคณะกรรมนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้กำหนดแนวทางและขั้นตอนการแจกสิทธิที่ทำกิน ตลอดจนระยะเวลาการดำเนินการไว้ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ
แต่งตั้งอนุกรรมการ 3 ด้าน ได้แก่ อนุกรรมการจัดหาที่ดินมี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ เป็นประธาน มีหน้าที่จัดหาที่ดินให้คนยากจนทำกิน อนุกรรมการที่ 2 คืออนุกรรมการจัดที่ดิน มี รมว.มหาดไทย เป็นประธาน มีหน้าที่จัดคนลงพื้นที่หลังจากที่คณะที่ 1 จัดหาพื้นที่แล้ว ให้เหมาะกับขนาดของพื้นที่ตามท้องถิ่นนั้นๆ โดยในส่วนกระทรวงมหาดไทยจะมีรายชื่อของประชาชนที่ยากไร้ ขณะที่คณะ 1 มีรายชื่อของผู้ที่บุกรุกพื้นที่ที่ถูกผลักดันออกไป และจะนำรายชื่อมาพิจารณาร่วมกันและคัดเลือกว่าใครควรจะได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน
อนุกรรมการที่ 3 คืออนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ มี รมว.เกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าพื้นที่ไหนควรจะทำอาชีพอะไร พื้นที่ไหนควรทำอะไรจึงจะเหมาะสมและจะทำหน้าที่ในการจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามนโยบาย โดยจะไม่มอบให้เป็นสิทธิรายบุคคลแต่จะมีการจัดหาระบบใหม่ เช่น การใช้ระบบสหกรณ์ หรือระบบอื่นที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง
คณะอนุกรรมการทั้ง 3 ชัด ต้องรายงานความคืบหน้าทุก 3 เดือน โดยในเดือนธันวาคมนี้ จะต้องรายงานผลครั้งแรก และการทยอยแจกสิทธิทำกิน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า เป็นต้นไป
สมมติว่า คนจน 1 ครัวเรือน ได้รับสิทธิทำกินในที่ดิน 25 ไร่ จะมีคนจนเพียง 4 หมื่นครัวเรือนเท่านั้น ที่ได้รับสิทธิ นับว่าน้อยนิดเมื่อเทียบกับคนจนที่ไร้ที่ทำกินประมาณ 5 ล้านครัวเรือน เมื่อได้รับทีดินไปแล้ว ยังมีปัญหาอีกมากมายหลายอย่างที่จะต้องจัดการแก้ไข ซึ่งรวมทั้งปัญหาว่า เอาที่ดินไปทำอะไร สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยทีสุด นี่คือก้าวแรกของการปฏิรูปที่ดินที่เป็นจริง ที่รัฐบาลลงมือทำทันที หากทำได้สำเร็จภายในเวลา 1 ปี ก็ถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นโบแดง