“สายลมบางๆ บอกทิศทางฉันได้ไหม
ทิศทางที่ไป ของหัวใจฉันและเธอ
สายลมเจ้าเอย ผ่านมาแล้วเลยอยู่เสมอ
เหมือนใครเล่าเออ ผ่านฉันไป ดุจสายลม...”
เชื่อว่าใครก็ตามที่เป็นมิตรรักแฟนเพลง “คาราวาน” ย่อมประจักษ์ชัดถึง “สายลมพัดผ่าน” ที่กระซิบจากตำนานเพลงเพื่อชีวิต “หงา-สุรชัย จันทิมาธร” กันเป็นอย่างดี
ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ บทเพลง “สายลมพัดผ่าน” ถูกหยิบมาเรียบเรียงใหม่ ในเวอร์ชันที่ต่างออกไป และคนที่นำมาคัฟเวอร์ใหม่ในเวอร์ชันปัจจุบัน ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย หากแต่เป็นลูกชายหัวแก้วหัวแหวนทายาทหัวเรือใหญ่แห่งวงคาราวาน
“กันตรึม-พิฆเณศร์ จันทิมาธร”
กว่าสิบปีที่ผ่านพ้น ภาพของเด็กชายสะพายกีตาร์ตัวเขื่อง ร่วมบรรเลงมนต์เพลงคาราวาน ราวกับเป็นหนึ่งในสมาชิกของวง คือภาพอันคุ้นตาสำหรับคนรักของคาราวาน ณ ตอนนั้น เขาคือเมล็ดพันธุ์ที่สายตาผู้คนจับจ้องมองการเติบโตอย่างเป็นลำดับขั้น เรื่อยมา
กระทั่งบัดนี้ กันตรึมได้ล่วงผ่านการใช้สรรพนาม “เด็กชาย” นำหน้าชื่อ เข้าสู่วันวัยหนุ่มน้อยและเริ่ม “แสวงหา” หนทางของตัวเอง ทั้งบนเส้นทางแห่งเสียงเพลงและวิถีแห่งชีวิต
ก่อนขึ้นคอนเสิร์ตขนาดย่อมๆ ร่วมกับพ่อและวงคาราวาน ที่ร้านดนตรีเพื่อชีวิตแห่งหนึ่ง กันตรึมนั่งสนทนากับเรา บอกเล่าลำนำความคิด และท่วงทำนองชีวิตของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่ง..."หล่อไม่ใช่น้อย" ในเชิงความคิดความอ่าน...
เพราะเราต่างก็มีรอยเท้าของเราเอง
“ผมเป็นคนที่ใกล้ชิดกับพ่อมากที่สุด อยู่ด้วยกันทุกวัน แต่เรื่องราวระหว่างผมกับพ่อมีน้อยมาก ไม่ค่อยมีเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับพ่อเลย” เด็กหนุ่มผู้มีผมทรงหยักศก บอกเล่าอย่างไม่รีบร้อน ลักษณะท่าทางการพูดการจา แทบไม่ต่างไปจาก “น้าหงา” ผู้เป็นพ่อ ซึ่งมักจะค่อยๆ บดเคี้ยวความคิดอย่างละเอียด ก่อนจะคายออกมาเป็นถ้อยคำ
“คือพ่อเป็นคนเงียบๆ ผมก็เงียบๆ เหมือนพ่อ” เด็กหนุ่มว่า
“ผมอาจจะคุยสนุกกับพวกพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ตามประสา แต่ถ้าอยู่บ้าน อยู่กับพ่อ ผมก็จะเป็นคนเงียบๆ
“ผมจะนั่งฟังเพลงของผม เล่นกีตาร์ไป พ่ออยู่บ้านก็ไม่ค่อยคุยอะไร แกจะแค่ถามว่ากินข้าวหรือยัง ถ้ายังก็เรียกไปกิน มากินข้าวด้วยกัน ส่วนใหญ่แต่ละวันก็คุยกันแค่นี้” เด็กหนุ่มหัวเราะร่วนให้กับเรื่องราวระหว่างพ่อ-ลูก ที่ตรงกันข้ามในความคิดอ่านของใครหลายคน
ในความทรงจำแห่งวัยเยาว์ กันตรึมได้เริ่มเล่นดนตรีอาชีพครั้งแรกในผับย่านบางลำพูตั้งแต่อายุ 12 ปี ก่อนจะเป็นหนึ่งในสมาชิกวง 'บางลำพูแบนด์' ในฐานะมือกีตาร์ ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางที่ไม่ต่างจาก “ฮอบบิตน้อย” ติดสอยห้อยตาม “เฟรโด้” ไปทุกที่ ร่วมเดินทางไปในคาราวานคอนเสิร์ตกับพ่อตลอดมานับแต่นั้น
"ตอนแรกๆ นั้น คิดอย่างเดียวว่าอยากเล่นดนตรีครับ" เด็กหนุ่มตาเป็นประกาย เมื่อพูดถึงความรู้สึกวันวานอีกครั้ง "คือพอได้ไปเล่น กลายเป็นว่าติดตรงนั้นไปเลย ตั้งแต่อายุ 12 ที่เริ่มเล่น จนมีวง และพอได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตกับพ่อจริงๆ จังๆ ช่วงอายุ 15-16 ก็รู้สึกได้เลยว่ามีความสุขกับการทำงาน ทำเพลง และยิ่งไปทัวร์ก็ทำให้รู้อีกว่าผมชอบเดินทางด้วย
“การเดินทาง ทำให้เราได้เห็นอะไรเยอะครับ แต่ไม่รู้จะเยอะกว่าคนอื่นหรือเปล่านะ (ยิ้ม) คือการได้ไปเล่นกับพ่อ ทำให้ได้รู้วิถีชีวิตการทัวร์คอนเสิร์ตว่าเขาอยู่กันแบบนี้นะ เราต้องนอนแบบนี้ ต้องกินแบบนี้ให้ได้นะ ไปจังหวัดนี้ก็ต้องกินอาหารของบ้านเขาให้ได้ อะไรอย่างนี้
"หรืออย่างการบริหารวง การจัดการทุกอย่างในวงผมก็ได้วิชามาเยอะ เพราะทุกวงย่อมต้องมีปัญหา แต่พ่อเขาจะไม่ลงมาจัดการ เพราะคนที่อยู่ในวงก็โตๆ กันหมดแล้ว ผมก็เหมือนกับต้องเป็นตัวแทนพ่อ เป็นคนจัดการแทนพ่อ ต้องคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร อย่างมีอยู่วันหนึ่งผมต้องเป็นคนไปบอกให้คนออก เราก็สนิทกับเขา เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่สุดท้ายก็ต้องทำ ลำบากใจ แต่ก็ต้องทำเพราะมันเป็นหน้าที่ เรื่องตรงนี้ผมก็เหมือนได้ฝึกไปด้วยในตัว ก็ถือว่ายากเพราะเราเด็กกว่าเขาทั้งหมด”
คงเหมือนกับลูกคนดังหรือทายาทของผู้ยิ่งใหญ่ทั่วไป ที่เมื่อถึงวัยหนึ่ง ย่อมต้องเผชิญกับคำถามทำนองว่า รู้สึกอย่างไรกับการเป็นลูกคนดัง มันยากง่ายรุงรังหรืองดงามอย่างไร และภายใต้ “ไม้ใหญ่” นั้น เมล็ดพันธุ์เล็กๆ จะเติบโตไปในทิศทางใด
“คือจริงๆ ผมก็พยายามจะไม่คิดอะไรนะครับ แต่มันก็มีความรู้สึกนิดหน่อยนะตอนเด็กๆ เหมือนกับว่า ถ้าเราทำอะไรเกี่ยวกับดนตรี หรือไปแสดงที่ไหน คนเขาก็จะมองไปที่พ่อก่อน เขาจะมองว่าเราเป็นลูกใคร “ลูกน้าหงาทำได้แค่นี้เองเหรอ” คือเขาจะมองเทียบเรากับพ่อ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้คิดจะทำไปเพื่อเทียบพ่อหรือเทียบกับใครเลย
“ถ้าให้สรุป มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียล่ะครับ ข้อเสียจะมาจากคน จากความคิดของคนอื่นมากกว่า เขาอาจจะคิดว่าเราต้องเป็นอย่างโน้น เราต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมเจอเราแล้ว เราไม่ใช่แบบนั้นแบบนี้ แต่จริงๆ ข้อดีการเป็นลูกพ่อก็มีเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันทำให้เราได้รู้จักคนเยอะ ได้เจอคนที่เขาทำงานมืออาชีพจริงๆเยอะมาก”
“มันก็แค่เฉพาะเรื่องงานเพลง ถ้าเรื่องชีวิต ไม่กดดันครับ” กันตรึมเว้นวรรคสรุปความให้ฟังสั้นๆ ก่อนร่ายยาวด้วยใบหน้าจริงจังอีกครั้ง
“คือมันก็แล้วแต่คนด้วยครับ ขึ้นอยู่กับว่าพ่อเราเป็นคนดังแบบไหน เป็นที่รู้จักแบบไหน สำหรับผม ผมคิดว่าไม่ยากมากเรื่องการใช้ชีวิต แต่ถ้าเรื่องดนตรีอ่ะยาก เพราะถ้าทำงานดนตรีขึ้นมาเมื่อไหร่คนก็จะหันมารอดูว่ามันจะทำออกมาเป็นแบบไหนยังไงดีหรือเปล่า
“แต่สำหรับพ่อ พ่ออยากให้ผมทำอะไรของผมอยู่แล้ว คือไม่จำเป็นต้องไปสานต่อเพลงของเขา หรือสานต่อความเป็นเพื่อชีวิต เขาอยากให้เราทำอะไรที่เป็นของเรา ให้เราไม่กดดัน ให้เราสบายใจ ที่ผมทำตอนนี้ ผมก็ไม่กดดันแล้ว แต่คนก็ยังจับตามองอยู่ เพราะว่าด้วยชื่อด้วยอะไร ผมเลยไม่อยากใช้ชื่อตัวเองในผลงาน เพราะไม่อยากให้ต้องมารู้ว่าใครเล่น ปล่อยให้ได้ยินเพลงก็พอ
“คือบางทีนามสกุลมันใช้ประโยชน์ได้นะครับ แต่เราไม่อยากใช้อยู่แล้ว ไม่อยากเอาไปโปรโมต เดี๋ยวเขาจะหาว่าผมใช้เส้นเข้าค่ายโน่นนี่นั่น โปรโมตเต็มที่เลยลูกน้าหงา แต่เพลงออกมาปรากฏว่าคนด่ากันเพียบ มันไม่ได้เสียเราไง มันเสียพ่อ เลยไม่อยากใช้อะไรตรงนี้มาเป็นวิธีที่จะทำงาน”
กันตรึม ยังย้ำชัดอีกว่า เขาไม่ได้เดินตามทางแบบพ่อทั้งหมด ยังเหลือพื้นที่ส่วนตัวในแบบของตัวเองอยู่ ที่อาจต้องค้นหาต่อไป แต่สิ่งที่ได้จากพ่อโดยตรงและยินดีที่ได้รับมาคือ ความเรียบง่ายชีวิต กินง่าย อยู่ง่าย
“พ่อเป็นคนง่ายๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหน นอนที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นว่าร้านนี้จะเลื่อนวันหรือว่านอนโรงแรมถูกๆ ได้ ไม่เป็นไร ผมว่าสิ่งที่ได้มาจากพ่อ คือความเรียบง่ายแบบนั้นล่ะครับ อีกอย่าง พ่อผมเป็นคนใจเย็นมาก คือไม่เดือดร้อนกันก็พอแค่นั้น
“แต่ด้วยความเรียบง่ายหรือความเป็นคนเงียบๆ บางทีก็ทำให้คิดเยอะเหมือนกันนะ คือเราไม่รู้ว่าบางทีทำไปแล้ว พ่อจะรู้สึกอย่างไร จะโกรธหรือเปล่า อย่างเท่าที่จำได้ ช่วงไปทำงานกับพ่อใหม่ๆ ก็คิดมาก เพราะบางที เราบอกพ่อว่าตรงนั้นยังมีจุดให้แก้ไข พ่อก็เงียบเหมือนโกรธ แต่มาถึงตอนนี้เหมือนผมชินแล้ว รู้แล้วว่าพ่อโกรธใครไม่เป็น ไม่เคยด่า ไม่ตี แต่ก็ไม่ใช่ว่าตามใจ คือพ่อปล่อยให้ใช้ชีวิตเอง อยากทำอะไรทำเอาเอง หาเอาเอง ไม่ทำให้”
“ก็ไม่สบาย ลำบากพอดู” เด็กหนุ่มแซมยิ้มให้ความหลังก่อนนั้น และเมื่อมองไปในวันข้างหน้า การจะเป็นหรือไม่เป็นตามแบบฉบับของพ่อหรือไม่ สำหรับเขาแล้ว คือ...
“ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องเดินตามรอยเท้า ผมคิดว่าจริงๆ แล้ว ไม่ได้ใช่แค่นักดนตรีนะ ทั้งหมดเลย ผมว่าถ้าไม่ต้องเดินตาม มันก็ไม่น่าจะมีปัญหานะ สำหรับคนที่ชอบอย่างอื่นแตกต่างจากพ่อแม่ที่เราเป็น
"อย่างผมถามว่าเดินตามไหม ก็ไม่ได้ตามเสียหมด แต่ว่าคือเรื่องเล่นดนตรี ผมก็ได้รับมาจากพ่อ ก็ถือว่าผมก็มาจากพ่อนี่ล่ะ แต่เดินตามไปไหม คงไม่ตาม คือคงไม่ได้เป็นแบบพ่อแน่ๆ เราก็อาจจะเป็นแบบของเรา มันอาจจะมีอะไรคล้ายๆ กันบ้าง อย่างเรื่องการเล่นดนตรี การร้องเพลง การใช้ชีวิต คือเป็นคล้ายเขา แต่ไม่ได้เหมือนกันหมด”
เมโลดี้กันตรึม
ลำนำทำนองของชีวิตลิขิตเอง
“ตอนนี้ผมเลือกทางเดินแล้วชัดเจน ว่าอะไรที่เป็นตัวผม" เด็กหนุ่มกล่าว ถึงบทบัญญัติชีวิต 'จันทิมาธร' ในรูปแบบของเขาในวันนี้ที่เป็นเหมือนก้าวแรกที่รอคอยการพิสูจน์
"มันเป็นเหมือนก้าวแรก ต้องรอผลตอบรับอีกว่าเขาจะมองตัวเราอย่างไร ผมคิดว่าผมมันก็ยังเหมือนเป็นวัยรุ่นทั่วไปทุกคนครับ แต่แค่เรามีโอกาสมากกว่าที่จะทำตรงนี้ ก็ต้องลองผิดลองถูก ยังไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่าด้วย อาจจะไปทางอื่นก็ได้ แต่ว่าคงไม่หนีจากดนตรี ตัวผมตอนนี้คิดแค่ว่าตั้งใจทำงานที่ผมอยากทำชิ้นแรกแค่นั้นเอง”
“ทุกเพลงที่ทำตอนนี้ก็ยังให้พ่อฟังเพื่อวิจารณ์ทุกเพลงนะ แกก็จะเออๆๆ (ลากเสียง) ดีๆ ทำต่อไป” เขากล่าวแซมติดตลก
"แต่ส่วนตัว ผมคิดว่าเรายังไม่รู้เยอะเท่าที่ควร เพราะสิ่งที่คิดจะทำมันใหญ่มาก ผมอยากทำแนวเพลงที่มันมีจิตวิญญาณ แล้วก็ดนตรีถึงๆ ซึ่งสมัยนี้มันหายาก แล้วคนก็จะไม่ค่อยได้รับฟัง เนื่องจากมันจะไม่ได้ออกในทีวีหรือไม่ได้ออกในวงกว้าง ถ้าผมจะทำ ผมคิดว่ามันยังใหญ่ไป ผมจะทำพรุ่งนี้เลยไม่ได้
“เพราะเรายังเป็นนักอ่านไม่พอที่จะทำอะไรอย่างนั้นได้ คงต้องใช้เวลา คืออย่างพ่อผม แกอ่านเยอะมากด้วยครับ เพลงแบบนี้ต้องอ่านเยอะ หรือไม่ก็ต้องรู้เรื่องราวเยอะจริงๆ”
“ซีเรียสปนโรแมนซ์ ชื่นชมความเป็นมนุษย์ความเป็นคน...เราเหมือนพ่อหรือเปล่าตรงจุดนี้” เราถาม เพื่อสัมผัสความคิดอ่าน
"ไม่ครับ ไม่เลย ผมแทบไม่ซีเรียสอะไรเลย" เด็กหนุ่มตอบอย่างรวดเร็ว "ออกจะง่ายเกินไปด้วยซ้ำ ง่ายในที่นี้คือไม่ค่อยกำหนดกฎเกณฑ์ว่าต้องเน้นปริมาณ ไม่เน้นแบบแผน คือเหมือนเราทำอะไรก็ได้ในวันหนึ่ง ถ้ามีหน้าที่และเราทำหน้าที่เสร็จแล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ได้วางแพลนต่อไปว่าจะต้องไปทำอะไร ต้องรีบกลับไปทำงานหรือเปล่า คือถ้าวันไหนว่างก็ปล่อยว่างไปเลย ไปเจอเพื่อนเอาข้างหน้า จะไปไหนต่อก็ไป"
ภายหลังเสียงหัวเราะ เด็กหนุ่มกล่าวย้อนไปถึงอดีตชีวิตอีกพอเป็นสังเขป สมัยที่ไม่เร่งรีบเรียนหนังสือ เพราะเพลิดเพลินเจริญใจไปในโลกแห่งเสียงเพลง
“ก็ที่บอกไปว่าตอนนั้นอยากเล่นดนตรีมากกว่า คือพอเล่นๆ ไปแล้วมันติดใจ เราก็เริ่มไม่ค่อยสนใจเรียนเท่าไหร่แล้ว เริ่มคุยกับเพื่อนรุ่นเดียวกันไม่รู้เรื่องด้วย (หัวเราะ) เพราะตอนไปทัวร์มันไม่มีคนรุ่นเดียวกันเลย เรารู้สึกว่าเริ่มไม่มีเพื่อนแล้ว เพื่อนของเราคือพี่ๆ ในวง อายุ 30-40 ปีกันทั้งนั้น"
เด็กหนุ่มหัวเราะอีกครั้งกับเรื่องเล่าของตัวเอง แต่ในความคิดคำนึงต่อมา เขายอมรับว่า การได้คลุกคลีอยู่กับ “เพื่อนรุ่นพี่..หลายปี” มันปลูกฝังประสบการณ์ทางความคิดความอ่านหลายๆ อย่างลงบนเนื้อดินแห่งชีวิตของเขา มันมีส่วนอย่างสำคัญต่อการเติบโตของเขา
"คือผมไม่รู้จะอธิบายยังไง แต่สิ่งที่ได้มาจากประสบการณ์การเดินทางตรงนั้น มันเยอะมากในหัว เพราะด้วยความที่ผมอยู่กับพ่อตลอดตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมเจออะไรเยอะ ได้อะไรเยอะกว่าคนอื่น เรามีโอกาสได้รู้จักนักดนตรีรุ่นใหญ่ๆ ตัวเป็นๆ ได้นั่งคุยกับเขาจริงๆ ไม่ใช่แค่อ่านในคอลัมน์หนังสือหรือฟังแค่เพลงของพวกเขา”
แม้ไม่รีบในการเรียน และไม่รีบในการประสบความสำเร็จ หากแต่ยังสนุกกับการเก็บเกี่ยวเรื่องราวระหว่างทาง แต่ลูกชายนายวงคาราวานก็มีแผนภูมิความฝันอยู่ในใจไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ
“จริงๆ ความฝันสูงสุด คือการได้ไปเล่นต่างประเทศ คือไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินก็ได้ เพราะเราไม่ได้มีความฝันหลักอยากมีชื่อเสียง แต่ถ้ามีก็ดี (หัวเราะ) แต่บางที งานมันบังคับให้เราต้องทำ อย่างเพลงละครไปถ่าย เดี๋ยวจะมีไปถ่ายโฆษณาไปอะไรเราก็ต้องรับ เราต้องลองอะไรใหม่ๆ บางทีมีถ่ายโน่นถ่ายนี่ต้องลองดู ถ้าเวิร์กค่อยว่ากัน แต่ดนตรีผมไม่ทิ้งแน่นอน
“คือขอแค่ได้ไปเล่นกับเขาก็พอ เพราะว่าต่างประเทศ ทุกวงเขาจะให้ความสำคัญกับนักดนตรีมาก ไม่ใช่ว่าคุณเป็นแบ็กอัพ คุณต้องอยู่แค่นั้นนะ คือทุกคนมีความสำคัญหมด ผมอยากไปทำงานตรงนั้น แต่ยังหาโอกาสอยู่ครับ จริงๆ พอมีลู่ทางอยู่ แต่เป็นลู่ทางเล็กๆ ที่เราต้องไปไต่เต้าเอาเอง คือใจจริงอยากเป็นอย่างนั้น ถ้าให้เลือกชื่อเสียงกับการได้เล่นตรงนั้น เราเลือกตรงนั้น แต่มันต้องพึ่งโอกาสมากๆ
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ไม่รีบ คืออยากจะทำงานออกมาให้เนียนๆ แม้จะไม่ดีที่สุดสำหรับใคร แต่ดีที่สุดเท่าที่ผมมีความรู้ตอนนี้ เพราะไม่ว่าจะเรื่องชีวิตหรือดนตรี ผมว่าความรู้ผมตอนนี้ก็ไม่ได้เยอะกว่าคนอื่น หากเปรียบเทียบกับคนเท่าๆ กัน ถือว่ายังอยู่ในยุคแสวงหาครับ”
คนหนุ่มและความฝัน
“เดินไปสู่หนไหน”***
แม้ชีวิตตอนนี้ของกันตรึมจะยังคงร่วมตระเวนเล่นคอนเสิร์ตพร้อมกับทำหน้าที่แทนพ่อในการจัดการวงคาราวานไม่เปลี่ยนแปลง แต่กระนั้น อีกด้านหนึ่งของชีวิต เขายังซุ่มซ้อมทำเพลงสร้างผลงานของตัวเอง ภายหลังพักจากการทำวง 'บางลำพูแบนด์' จนกระทั่งตอนนี้ที่กำลังมีผลงานในปลายปีหน้าอย่างแน่นอนแล้วนั้น ยังรวมไปถึง เพลง 'สายลมพัดผ่าน' ที่ชิมลางฝีไม้ลายมือไว้ในละครเรื่อง 'เพลิงฉิมพลี' ในฐานะนักร้องเต็มตัวอีกต่างหาก
"ขอพูดถึงสายลมพัดผ่านก่อน จริงๆ ผมชอบเพลงรักพ่อนะ นอกจากมันจะมีอยู่ไม่กี่เพลง มันยังพิเศษตรงที่แกชอบแต่งให้คนรัก แต่งให้คุณย่าหรือไม่ก็แต่งให้เพื่อนที่ล้มหายตายจากไป แต่คือมันเป็นเพลงรักเลยนะ" เด็กหนุ่มกล่าวถึงความรู้สึกที่มีต่อเพลงของพ่อ อันเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งต่อมายังผลงานของตัวเอง
แต่เมื่อถามว่าผลงานตัวเองเป็นแนวอะไร มีการผสมผสานเพลงเพื่อชีวิตลงไปด้วยไหม เด็กหนุ่มส่ายหน้าก่อนจะอธิบายว่า "แทบไม่มีความเป็นเพื่อชีวิตเลย เพลงที่กำลังออกเป็นแนวป็อปมากกว่า"
"แต่ว่ามีวิธีการเขียนเนื้อหาคล้ายๆ กัน คือจะไม่ใช่เนื้อเพลงง่ายๆ ที่พูดแค่ว่าฉันรักเธอ เธอรักฉัน เรางอนกัน แต่มันจะมีความหมายลึกซึ้งหน่อย อาจจะเข้าใจยากกว่าเพลงวัยรุ่นธรรมดา"
"มีอะไรให้คิดนี่ยังไง" เราถามย้ำเพื่อความชัดเจน
"ก็คือจากพูดเรารักกันไหม ก็จะกลายเป็นว่า เหมือนเราห่างกัน เราต้องรอ เรารอเพื่ออะไร ทำไมถึงรอ มันไม่ใช่ฉันรักเธอนะ แล้วเดี๋ยวฉันจะไปกับเธอ ไม่ใช่เพลงรักที่บอกรักกันตรงๆ คือพยายามทำอยู่ ก็ได้พี่ 'พยัต ภูวิชัย' มาช่วยเกลาเนื้อให้ตลอด ทำให้เนื้อมีสาระน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างที่ตั้งใจ
"นอกจากเพลงของพ่อ ผมก็ได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งต่างประเทศ ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ เพลงฮิตของบ้านเขาก็ไม่ได้มีเนื้อหาตรงๆ ง่ายๆ แต่มันเหมือนบทกวี”
อันบทกวีมีความหมายเกินพรรณนา เนื้อร้องมักจะแฝงความหมายที่สะท้อนถึงสังคมหรือความเป็นไปในบ้านเมือง อีกทั้งผู้เป็นพ่อซึ่งเป็นทั้งนักเขียนและศิลปินนักร้องนักดนตรีที่เติบโตมาในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงอยากทราบถึงความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องราวทางสังคม การเมือง จากสายตาทายาทของนักเคลื่อนไหวผู้นับว่าเคยเชี่ยวกรากมากที่สุดคนหนึ่งในยุคโน้น...
“ผมเข้าใจเพลงพ่อนะ เข้าใจเรื่องราว แต่ยังไม่เคยแต่งเพลงเกี่ยวกับสังคมหรือการเมืองเลย แต่งไม่เป็นว่างั้นเถอะ คือไม่ใช่ว่าเราไม่มองสังคมหรือปรากฏการณ์ต่างๆ แต่เราไม่ได้เก็บเอามาคิด คือชอบติดตาม ส่วนตัวเป็นคนชอบเรื่องพวกนี้ อยากรู้ว่าเรื่องราวมันเป็นยังไง เขาทำอะไรแค่นั้น ไม่ได้เอามาสานต่อ
“คือความคิดเรื่องการเมือง ผมก็เห็นชอบตามที่ตัวเองรู้สึกว่ามันแฟร์ แต่ไม่ถึงกับนิ่ง ไม่สนใจ แต่ถามว่าออกตัวหรือแสดงความคิดเห็นอะไรไหม ผมจะไม่ค่อย"
“มันหมดยุคแล้วหรือเปล่าที่วัยรุ่นนักศึกษาจะไปทำเรื่องพวกอย่างนี้” เราถามย้ำอีกครั้ง
“จริงๆ ผมว่าพลังนักศึกษาน่าจะดีที่สุดด้วยนะในยุคนี้ ถ้าเกิดมีปัญหาอะไรขึ้นเนี่ย คือเขามีทั้งแรงกาย แรงใจ ถ้าเกิดได้ไป ได้ทำอะไรขึ้นมา คือผมก็เต็มที่นะ เวลามีเรื่องพวกนี้ ถ้าเรารู้ว่าเออ มันไม่ใช่ ผมยังชวนเพื่อนไปเลย
“คือคนส่วนหนึ่งอาจจะมองว่าพลังของวัยรุ่นหรือคนหนุ่มสาวมันแผ่วไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วมันไม่แผ่ว และไม่ควรจะแผ่ว เพราะว่าคนรุ่นเราต้องอยู่ต่อ คนรุ่นก่อนเรา เดี๋ยวเขาก็ไป เดี๋ยวเขาก็หมด คนรุ่นเราต้องอยู่ต้องสร้างต่อ ฉะนั้น เราก็ต้องห้ามแผ่ว"
ขณะที่กันตรึมมองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ควรตาม แน่นอนว่าย่อมมีหลายคนที่ยังคงมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
“จะเป็นยังไงก็เป็นไป กูไม่สนอย่างนี้ใช่ไหมครับ" เขาย้อนถาม
“มันก็มีนะครับแบบที่ว่า การเมืองไม่ได้สำคัญอะไรกับเขาเลย ทั้งๆ ที่มันสำคัญมาก เพราะว่ามันมีผลถึงทุกอย่าง การกินอยู่ ค่าครองชีพทุกอย่าง แต่จริงๆ ส่วนใหญ่ผมจะเจอวัยรุ่นหรือกลุ่มเพื่อนที่โอเค โอเคนี้หมายถึง ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ คือไม่เกเรว่างั้นเถอะ แล้วอย่างวัยรุ่นสมัยนี้ผมไม่ได้มองว่าเลวร้าย ผมคิดว่าทุกสมัยคงไม่ต่างกันหรอก มีทั้งดีและไม่ดี”
ไม่ต่างจากอดีต หรือ ไม่ต่างจากปัจจุบัน
ไม่ต่างจากความฝัน หรือไม่ต่างจากความจริง
คำตอบอาจอยู่ในสายลมแห่งชีวิตที่พัดผ่าน
และพรุ่งนี้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์...
“ผมคิดว่าเรื่องเครียดๆ ในยุคนี้มีมากเกินไปก็ไม่ดี คือทำอะไรอย่างที่ชอบดีกว่า เพราะถ้าไม่ชอบจะทำอะไรมันเครียดไปหมดทุกเรื่อง ทั้งเรื่องงานเรื่องเรียน ถ้าคุณกำลังมองหาอะไรเพื่อเริ่มต้นทำ ให้หาอะไรที่ทำแล้วสบายใจดีกว่า”
*** “เดินไปสู่หนไหน” เป็นชื่อเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของ “สุรชัย จันทิมาธร”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม
ทิศทางที่ไป ของหัวใจฉันและเธอ
สายลมเจ้าเอย ผ่านมาแล้วเลยอยู่เสมอ
เหมือนใครเล่าเออ ผ่านฉันไป ดุจสายลม...”
เชื่อว่าใครก็ตามที่เป็นมิตรรักแฟนเพลง “คาราวาน” ย่อมประจักษ์ชัดถึง “สายลมพัดผ่าน” ที่กระซิบจากตำนานเพลงเพื่อชีวิต “หงา-สุรชัย จันทิมาธร” กันเป็นอย่างดี
ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ บทเพลง “สายลมพัดผ่าน” ถูกหยิบมาเรียบเรียงใหม่ ในเวอร์ชันที่ต่างออกไป และคนที่นำมาคัฟเวอร์ใหม่ในเวอร์ชันปัจจุบัน ไม่ใช่ใครที่ไหนเลย หากแต่เป็นลูกชายหัวแก้วหัวแหวนทายาทหัวเรือใหญ่แห่งวงคาราวาน
“กันตรึม-พิฆเณศร์ จันทิมาธร”
กว่าสิบปีที่ผ่านพ้น ภาพของเด็กชายสะพายกีตาร์ตัวเขื่อง ร่วมบรรเลงมนต์เพลงคาราวาน ราวกับเป็นหนึ่งในสมาชิกของวง คือภาพอันคุ้นตาสำหรับคนรักของคาราวาน ณ ตอนนั้น เขาคือเมล็ดพันธุ์ที่สายตาผู้คนจับจ้องมองการเติบโตอย่างเป็นลำดับขั้น เรื่อยมา
กระทั่งบัดนี้ กันตรึมได้ล่วงผ่านการใช้สรรพนาม “เด็กชาย” นำหน้าชื่อ เข้าสู่วันวัยหนุ่มน้อยและเริ่ม “แสวงหา” หนทางของตัวเอง ทั้งบนเส้นทางแห่งเสียงเพลงและวิถีแห่งชีวิต
ก่อนขึ้นคอนเสิร์ตขนาดย่อมๆ ร่วมกับพ่อและวงคาราวาน ที่ร้านดนตรีเพื่อชีวิตแห่งหนึ่ง กันตรึมนั่งสนทนากับเรา บอกเล่าลำนำความคิด และท่วงทำนองชีวิตของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่ง..."หล่อไม่ใช่น้อย" ในเชิงความคิดความอ่าน...
เพราะเราต่างก็มีรอยเท้าของเราเอง
“ผมเป็นคนที่ใกล้ชิดกับพ่อมากที่สุด อยู่ด้วยกันทุกวัน แต่เรื่องราวระหว่างผมกับพ่อมีน้อยมาก ไม่ค่อยมีเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับพ่อเลย” เด็กหนุ่มผู้มีผมทรงหยักศก บอกเล่าอย่างไม่รีบร้อน ลักษณะท่าทางการพูดการจา แทบไม่ต่างไปจาก “น้าหงา” ผู้เป็นพ่อ ซึ่งมักจะค่อยๆ บดเคี้ยวความคิดอย่างละเอียด ก่อนจะคายออกมาเป็นถ้อยคำ
“คือพ่อเป็นคนเงียบๆ ผมก็เงียบๆ เหมือนพ่อ” เด็กหนุ่มว่า
“ผมอาจจะคุยสนุกกับพวกพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ตามประสา แต่ถ้าอยู่บ้าน อยู่กับพ่อ ผมก็จะเป็นคนเงียบๆ
“ผมจะนั่งฟังเพลงของผม เล่นกีตาร์ไป พ่ออยู่บ้านก็ไม่ค่อยคุยอะไร แกจะแค่ถามว่ากินข้าวหรือยัง ถ้ายังก็เรียกไปกิน มากินข้าวด้วยกัน ส่วนใหญ่แต่ละวันก็คุยกันแค่นี้” เด็กหนุ่มหัวเราะร่วนให้กับเรื่องราวระหว่างพ่อ-ลูก ที่ตรงกันข้ามในความคิดอ่านของใครหลายคน
ในความทรงจำแห่งวัยเยาว์ กันตรึมได้เริ่มเล่นดนตรีอาชีพครั้งแรกในผับย่านบางลำพูตั้งแต่อายุ 12 ปี ก่อนจะเป็นหนึ่งในสมาชิกวง 'บางลำพูแบนด์' ในฐานะมือกีตาร์ ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางที่ไม่ต่างจาก “ฮอบบิตน้อย” ติดสอยห้อยตาม “เฟรโด้” ไปทุกที่ ร่วมเดินทางไปในคาราวานคอนเสิร์ตกับพ่อตลอดมานับแต่นั้น
"ตอนแรกๆ นั้น คิดอย่างเดียวว่าอยากเล่นดนตรีครับ" เด็กหนุ่มตาเป็นประกาย เมื่อพูดถึงความรู้สึกวันวานอีกครั้ง "คือพอได้ไปเล่น กลายเป็นว่าติดตรงนั้นไปเลย ตั้งแต่อายุ 12 ที่เริ่มเล่น จนมีวง และพอได้ไปทัวร์คอนเสิร์ตกับพ่อจริงๆ จังๆ ช่วงอายุ 15-16 ก็รู้สึกได้เลยว่ามีความสุขกับการทำงาน ทำเพลง และยิ่งไปทัวร์ก็ทำให้รู้อีกว่าผมชอบเดินทางด้วย
“การเดินทาง ทำให้เราได้เห็นอะไรเยอะครับ แต่ไม่รู้จะเยอะกว่าคนอื่นหรือเปล่านะ (ยิ้ม) คือการได้ไปเล่นกับพ่อ ทำให้ได้รู้วิถีชีวิตการทัวร์คอนเสิร์ตว่าเขาอยู่กันแบบนี้นะ เราต้องนอนแบบนี้ ต้องกินแบบนี้ให้ได้นะ ไปจังหวัดนี้ก็ต้องกินอาหารของบ้านเขาให้ได้ อะไรอย่างนี้
"หรืออย่างการบริหารวง การจัดการทุกอย่างในวงผมก็ได้วิชามาเยอะ เพราะทุกวงย่อมต้องมีปัญหา แต่พ่อเขาจะไม่ลงมาจัดการ เพราะคนที่อยู่ในวงก็โตๆ กันหมดแล้ว ผมก็เหมือนกับต้องเป็นตัวแทนพ่อ เป็นคนจัดการแทนพ่อ ต้องคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร อย่างมีอยู่วันหนึ่งผมต้องเป็นคนไปบอกให้คนออก เราก็สนิทกับเขา เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร แต่สุดท้ายก็ต้องทำ ลำบากใจ แต่ก็ต้องทำเพราะมันเป็นหน้าที่ เรื่องตรงนี้ผมก็เหมือนได้ฝึกไปด้วยในตัว ก็ถือว่ายากเพราะเราเด็กกว่าเขาทั้งหมด”
คงเหมือนกับลูกคนดังหรือทายาทของผู้ยิ่งใหญ่ทั่วไป ที่เมื่อถึงวัยหนึ่ง ย่อมต้องเผชิญกับคำถามทำนองว่า รู้สึกอย่างไรกับการเป็นลูกคนดัง มันยากง่ายรุงรังหรืองดงามอย่างไร และภายใต้ “ไม้ใหญ่” นั้น เมล็ดพันธุ์เล็กๆ จะเติบโตไปในทิศทางใด
“คือจริงๆ ผมก็พยายามจะไม่คิดอะไรนะครับ แต่มันก็มีความรู้สึกนิดหน่อยนะตอนเด็กๆ เหมือนกับว่า ถ้าเราทำอะไรเกี่ยวกับดนตรี หรือไปแสดงที่ไหน คนเขาก็จะมองไปที่พ่อก่อน เขาจะมองว่าเราเป็นลูกใคร “ลูกน้าหงาทำได้แค่นี้เองเหรอ” คือเขาจะมองเทียบเรากับพ่อ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้คิดจะทำไปเพื่อเทียบพ่อหรือเทียบกับใครเลย
“ถ้าให้สรุป มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียล่ะครับ ข้อเสียจะมาจากคน จากความคิดของคนอื่นมากกว่า เขาอาจจะคิดว่าเราต้องเป็นอย่างโน้น เราต้องเป็นอย่างนี้ ทำไมเจอเราแล้ว เราไม่ใช่แบบนั้นแบบนี้ แต่จริงๆ ข้อดีการเป็นลูกพ่อก็มีเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันทำให้เราได้รู้จักคนเยอะ ได้เจอคนที่เขาทำงานมืออาชีพจริงๆเยอะมาก”
“มันก็แค่เฉพาะเรื่องงานเพลง ถ้าเรื่องชีวิต ไม่กดดันครับ” กันตรึมเว้นวรรคสรุปความให้ฟังสั้นๆ ก่อนร่ายยาวด้วยใบหน้าจริงจังอีกครั้ง
“คือมันก็แล้วแต่คนด้วยครับ ขึ้นอยู่กับว่าพ่อเราเป็นคนดังแบบไหน เป็นที่รู้จักแบบไหน สำหรับผม ผมคิดว่าไม่ยากมากเรื่องการใช้ชีวิต แต่ถ้าเรื่องดนตรีอ่ะยาก เพราะถ้าทำงานดนตรีขึ้นมาเมื่อไหร่คนก็จะหันมารอดูว่ามันจะทำออกมาเป็นแบบไหนยังไงดีหรือเปล่า
“แต่สำหรับพ่อ พ่ออยากให้ผมทำอะไรของผมอยู่แล้ว คือไม่จำเป็นต้องไปสานต่อเพลงของเขา หรือสานต่อความเป็นเพื่อชีวิต เขาอยากให้เราทำอะไรที่เป็นของเรา ให้เราไม่กดดัน ให้เราสบายใจ ที่ผมทำตอนนี้ ผมก็ไม่กดดันแล้ว แต่คนก็ยังจับตามองอยู่ เพราะว่าด้วยชื่อด้วยอะไร ผมเลยไม่อยากใช้ชื่อตัวเองในผลงาน เพราะไม่อยากให้ต้องมารู้ว่าใครเล่น ปล่อยให้ได้ยินเพลงก็พอ
“คือบางทีนามสกุลมันใช้ประโยชน์ได้นะครับ แต่เราไม่อยากใช้อยู่แล้ว ไม่อยากเอาไปโปรโมต เดี๋ยวเขาจะหาว่าผมใช้เส้นเข้าค่ายโน่นนี่นั่น โปรโมตเต็มที่เลยลูกน้าหงา แต่เพลงออกมาปรากฏว่าคนด่ากันเพียบ มันไม่ได้เสียเราไง มันเสียพ่อ เลยไม่อยากใช้อะไรตรงนี้มาเป็นวิธีที่จะทำงาน”
กันตรึม ยังย้ำชัดอีกว่า เขาไม่ได้เดินตามทางแบบพ่อทั้งหมด ยังเหลือพื้นที่ส่วนตัวในแบบของตัวเองอยู่ ที่อาจต้องค้นหาต่อไป แต่สิ่งที่ได้จากพ่อโดยตรงและยินดีที่ได้รับมาคือ ความเรียบง่ายชีวิต กินง่าย อยู่ง่าย
“พ่อเป็นคนง่ายๆ ไม่ว่าจะไปที่ไหน นอนที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นว่าร้านนี้จะเลื่อนวันหรือว่านอนโรงแรมถูกๆ ได้ ไม่เป็นไร ผมว่าสิ่งที่ได้มาจากพ่อ คือความเรียบง่ายแบบนั้นล่ะครับ อีกอย่าง พ่อผมเป็นคนใจเย็นมาก คือไม่เดือดร้อนกันก็พอแค่นั้น
“แต่ด้วยความเรียบง่ายหรือความเป็นคนเงียบๆ บางทีก็ทำให้คิดเยอะเหมือนกันนะ คือเราไม่รู้ว่าบางทีทำไปแล้ว พ่อจะรู้สึกอย่างไร จะโกรธหรือเปล่า อย่างเท่าที่จำได้ ช่วงไปทำงานกับพ่อใหม่ๆ ก็คิดมาก เพราะบางที เราบอกพ่อว่าตรงนั้นยังมีจุดให้แก้ไข พ่อก็เงียบเหมือนโกรธ แต่มาถึงตอนนี้เหมือนผมชินแล้ว รู้แล้วว่าพ่อโกรธใครไม่เป็น ไม่เคยด่า ไม่ตี แต่ก็ไม่ใช่ว่าตามใจ คือพ่อปล่อยให้ใช้ชีวิตเอง อยากทำอะไรทำเอาเอง หาเอาเอง ไม่ทำให้”
“ก็ไม่สบาย ลำบากพอดู” เด็กหนุ่มแซมยิ้มให้ความหลังก่อนนั้น และเมื่อมองไปในวันข้างหน้า การจะเป็นหรือไม่เป็นตามแบบฉบับของพ่อหรือไม่ สำหรับเขาแล้ว คือ...
“ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องเดินตามรอยเท้า ผมคิดว่าจริงๆ แล้ว ไม่ได้ใช่แค่นักดนตรีนะ ทั้งหมดเลย ผมว่าถ้าไม่ต้องเดินตาม มันก็ไม่น่าจะมีปัญหานะ สำหรับคนที่ชอบอย่างอื่นแตกต่างจากพ่อแม่ที่เราเป็น
"อย่างผมถามว่าเดินตามไหม ก็ไม่ได้ตามเสียหมด แต่ว่าคือเรื่องเล่นดนตรี ผมก็ได้รับมาจากพ่อ ก็ถือว่าผมก็มาจากพ่อนี่ล่ะ แต่เดินตามไปไหม คงไม่ตาม คือคงไม่ได้เป็นแบบพ่อแน่ๆ เราก็อาจจะเป็นแบบของเรา มันอาจจะมีอะไรคล้ายๆ กันบ้าง อย่างเรื่องการเล่นดนตรี การร้องเพลง การใช้ชีวิต คือเป็นคล้ายเขา แต่ไม่ได้เหมือนกันหมด”
เมโลดี้กันตรึม
ลำนำทำนองของชีวิตลิขิตเอง
“ตอนนี้ผมเลือกทางเดินแล้วชัดเจน ว่าอะไรที่เป็นตัวผม" เด็กหนุ่มกล่าว ถึงบทบัญญัติชีวิต 'จันทิมาธร' ในรูปแบบของเขาในวันนี้ที่เป็นเหมือนก้าวแรกที่รอคอยการพิสูจน์
"มันเป็นเหมือนก้าวแรก ต้องรอผลตอบรับอีกว่าเขาจะมองตัวเราอย่างไร ผมคิดว่าผมมันก็ยังเหมือนเป็นวัยรุ่นทั่วไปทุกคนครับ แต่แค่เรามีโอกาสมากกว่าที่จะทำตรงนี้ ก็ต้องลองผิดลองถูก ยังไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่าด้วย อาจจะไปทางอื่นก็ได้ แต่ว่าคงไม่หนีจากดนตรี ตัวผมตอนนี้คิดแค่ว่าตั้งใจทำงานที่ผมอยากทำชิ้นแรกแค่นั้นเอง”
“ทุกเพลงที่ทำตอนนี้ก็ยังให้พ่อฟังเพื่อวิจารณ์ทุกเพลงนะ แกก็จะเออๆๆ (ลากเสียง) ดีๆ ทำต่อไป” เขากล่าวแซมติดตลก
"แต่ส่วนตัว ผมคิดว่าเรายังไม่รู้เยอะเท่าที่ควร เพราะสิ่งที่คิดจะทำมันใหญ่มาก ผมอยากทำแนวเพลงที่มันมีจิตวิญญาณ แล้วก็ดนตรีถึงๆ ซึ่งสมัยนี้มันหายาก แล้วคนก็จะไม่ค่อยได้รับฟัง เนื่องจากมันจะไม่ได้ออกในทีวีหรือไม่ได้ออกในวงกว้าง ถ้าผมจะทำ ผมคิดว่ามันยังใหญ่ไป ผมจะทำพรุ่งนี้เลยไม่ได้
“เพราะเรายังเป็นนักอ่านไม่พอที่จะทำอะไรอย่างนั้นได้ คงต้องใช้เวลา คืออย่างพ่อผม แกอ่านเยอะมากด้วยครับ เพลงแบบนี้ต้องอ่านเยอะ หรือไม่ก็ต้องรู้เรื่องราวเยอะจริงๆ”
“ซีเรียสปนโรแมนซ์ ชื่นชมความเป็นมนุษย์ความเป็นคน...เราเหมือนพ่อหรือเปล่าตรงจุดนี้” เราถาม เพื่อสัมผัสความคิดอ่าน
"ไม่ครับ ไม่เลย ผมแทบไม่ซีเรียสอะไรเลย" เด็กหนุ่มตอบอย่างรวดเร็ว "ออกจะง่ายเกินไปด้วยซ้ำ ง่ายในที่นี้คือไม่ค่อยกำหนดกฎเกณฑ์ว่าต้องเน้นปริมาณ ไม่เน้นแบบแผน คือเหมือนเราทำอะไรก็ได้ในวันหนึ่ง ถ้ามีหน้าที่และเราทำหน้าที่เสร็จแล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ได้วางแพลนต่อไปว่าจะต้องไปทำอะไร ต้องรีบกลับไปทำงานหรือเปล่า คือถ้าวันไหนว่างก็ปล่อยว่างไปเลย ไปเจอเพื่อนเอาข้างหน้า จะไปไหนต่อก็ไป"
ภายหลังเสียงหัวเราะ เด็กหนุ่มกล่าวย้อนไปถึงอดีตชีวิตอีกพอเป็นสังเขป สมัยที่ไม่เร่งรีบเรียนหนังสือ เพราะเพลิดเพลินเจริญใจไปในโลกแห่งเสียงเพลง
“ก็ที่บอกไปว่าตอนนั้นอยากเล่นดนตรีมากกว่า คือพอเล่นๆ ไปแล้วมันติดใจ เราก็เริ่มไม่ค่อยสนใจเรียนเท่าไหร่แล้ว เริ่มคุยกับเพื่อนรุ่นเดียวกันไม่รู้เรื่องด้วย (หัวเราะ) เพราะตอนไปทัวร์มันไม่มีคนรุ่นเดียวกันเลย เรารู้สึกว่าเริ่มไม่มีเพื่อนแล้ว เพื่อนของเราคือพี่ๆ ในวง อายุ 30-40 ปีกันทั้งนั้น"
เด็กหนุ่มหัวเราะอีกครั้งกับเรื่องเล่าของตัวเอง แต่ในความคิดคำนึงต่อมา เขายอมรับว่า การได้คลุกคลีอยู่กับ “เพื่อนรุ่นพี่..หลายปี” มันปลูกฝังประสบการณ์ทางความคิดความอ่านหลายๆ อย่างลงบนเนื้อดินแห่งชีวิตของเขา มันมีส่วนอย่างสำคัญต่อการเติบโตของเขา
"คือผมไม่รู้จะอธิบายยังไง แต่สิ่งที่ได้มาจากประสบการณ์การเดินทางตรงนั้น มันเยอะมากในหัว เพราะด้วยความที่ผมอยู่กับพ่อตลอดตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ผมเจออะไรเยอะ ได้อะไรเยอะกว่าคนอื่น เรามีโอกาสได้รู้จักนักดนตรีรุ่นใหญ่ๆ ตัวเป็นๆ ได้นั่งคุยกับเขาจริงๆ ไม่ใช่แค่อ่านในคอลัมน์หนังสือหรือฟังแค่เพลงของพวกเขา”
แม้ไม่รีบในการเรียน และไม่รีบในการประสบความสำเร็จ หากแต่ยังสนุกกับการเก็บเกี่ยวเรื่องราวระหว่างทาง แต่ลูกชายนายวงคาราวานก็มีแผนภูมิความฝันอยู่ในใจไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ
“จริงๆ ความฝันสูงสุด คือการได้ไปเล่นต่างประเทศ คือไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินก็ได้ เพราะเราไม่ได้มีความฝันหลักอยากมีชื่อเสียง แต่ถ้ามีก็ดี (หัวเราะ) แต่บางที งานมันบังคับให้เราต้องทำ อย่างเพลงละครไปถ่าย เดี๋ยวจะมีไปถ่ายโฆษณาไปอะไรเราก็ต้องรับ เราต้องลองอะไรใหม่ๆ บางทีมีถ่ายโน่นถ่ายนี่ต้องลองดู ถ้าเวิร์กค่อยว่ากัน แต่ดนตรีผมไม่ทิ้งแน่นอน
“คือขอแค่ได้ไปเล่นกับเขาก็พอ เพราะว่าต่างประเทศ ทุกวงเขาจะให้ความสำคัญกับนักดนตรีมาก ไม่ใช่ว่าคุณเป็นแบ็กอัพ คุณต้องอยู่แค่นั้นนะ คือทุกคนมีความสำคัญหมด ผมอยากไปทำงานตรงนั้น แต่ยังหาโอกาสอยู่ครับ จริงๆ พอมีลู่ทางอยู่ แต่เป็นลู่ทางเล็กๆ ที่เราต้องไปไต่เต้าเอาเอง คือใจจริงอยากเป็นอย่างนั้น ถ้าให้เลือกชื่อเสียงกับการได้เล่นตรงนั้น เราเลือกตรงนั้น แต่มันต้องพึ่งโอกาสมากๆ
“ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ไม่รีบ คืออยากจะทำงานออกมาให้เนียนๆ แม้จะไม่ดีที่สุดสำหรับใคร แต่ดีที่สุดเท่าที่ผมมีความรู้ตอนนี้ เพราะไม่ว่าจะเรื่องชีวิตหรือดนตรี ผมว่าความรู้ผมตอนนี้ก็ไม่ได้เยอะกว่าคนอื่น หากเปรียบเทียบกับคนเท่าๆ กัน ถือว่ายังอยู่ในยุคแสวงหาครับ”
คนหนุ่มและความฝัน
“เดินไปสู่หนไหน”***
แม้ชีวิตตอนนี้ของกันตรึมจะยังคงร่วมตระเวนเล่นคอนเสิร์ตพร้อมกับทำหน้าที่แทนพ่อในการจัดการวงคาราวานไม่เปลี่ยนแปลง แต่กระนั้น อีกด้านหนึ่งของชีวิต เขายังซุ่มซ้อมทำเพลงสร้างผลงานของตัวเอง ภายหลังพักจากการทำวง 'บางลำพูแบนด์' จนกระทั่งตอนนี้ที่กำลังมีผลงานในปลายปีหน้าอย่างแน่นอนแล้วนั้น ยังรวมไปถึง เพลง 'สายลมพัดผ่าน' ที่ชิมลางฝีไม้ลายมือไว้ในละครเรื่อง 'เพลิงฉิมพลี' ในฐานะนักร้องเต็มตัวอีกต่างหาก
"ขอพูดถึงสายลมพัดผ่านก่อน จริงๆ ผมชอบเพลงรักพ่อนะ นอกจากมันจะมีอยู่ไม่กี่เพลง มันยังพิเศษตรงที่แกชอบแต่งให้คนรัก แต่งให้คุณย่าหรือไม่ก็แต่งให้เพื่อนที่ล้มหายตายจากไป แต่คือมันเป็นเพลงรักเลยนะ" เด็กหนุ่มกล่าวถึงความรู้สึกที่มีต่อเพลงของพ่อ อันเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งต่อมายังผลงานของตัวเอง
แต่เมื่อถามว่าผลงานตัวเองเป็นแนวอะไร มีการผสมผสานเพลงเพื่อชีวิตลงไปด้วยไหม เด็กหนุ่มส่ายหน้าก่อนจะอธิบายว่า "แทบไม่มีความเป็นเพื่อชีวิตเลย เพลงที่กำลังออกเป็นแนวป็อปมากกว่า"
"แต่ว่ามีวิธีการเขียนเนื้อหาคล้ายๆ กัน คือจะไม่ใช่เนื้อเพลงง่ายๆ ที่พูดแค่ว่าฉันรักเธอ เธอรักฉัน เรางอนกัน แต่มันจะมีความหมายลึกซึ้งหน่อย อาจจะเข้าใจยากกว่าเพลงวัยรุ่นธรรมดา"
"มีอะไรให้คิดนี่ยังไง" เราถามย้ำเพื่อความชัดเจน
"ก็คือจากพูดเรารักกันไหม ก็จะกลายเป็นว่า เหมือนเราห่างกัน เราต้องรอ เรารอเพื่ออะไร ทำไมถึงรอ มันไม่ใช่ฉันรักเธอนะ แล้วเดี๋ยวฉันจะไปกับเธอ ไม่ใช่เพลงรักที่บอกรักกันตรงๆ คือพยายามทำอยู่ ก็ได้พี่ 'พยัต ภูวิชัย' มาช่วยเกลาเนื้อให้ตลอด ทำให้เนื้อมีสาระน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างที่ตั้งใจ
"นอกจากเพลงของพ่อ ผมก็ได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งต่างประเทศ ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ เพลงฮิตของบ้านเขาก็ไม่ได้มีเนื้อหาตรงๆ ง่ายๆ แต่มันเหมือนบทกวี”
อันบทกวีมีความหมายเกินพรรณนา เนื้อร้องมักจะแฝงความหมายที่สะท้อนถึงสังคมหรือความเป็นไปในบ้านเมือง อีกทั้งผู้เป็นพ่อซึ่งเป็นทั้งนักเขียนและศิลปินนักร้องนักดนตรีที่เติบโตมาในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงอยากทราบถึงความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องราวทางสังคม การเมือง จากสายตาทายาทของนักเคลื่อนไหวผู้นับว่าเคยเชี่ยวกรากมากที่สุดคนหนึ่งในยุคโน้น...
“ผมเข้าใจเพลงพ่อนะ เข้าใจเรื่องราว แต่ยังไม่เคยแต่งเพลงเกี่ยวกับสังคมหรือการเมืองเลย แต่งไม่เป็นว่างั้นเถอะ คือไม่ใช่ว่าเราไม่มองสังคมหรือปรากฏการณ์ต่างๆ แต่เราไม่ได้เก็บเอามาคิด คือชอบติดตาม ส่วนตัวเป็นคนชอบเรื่องพวกนี้ อยากรู้ว่าเรื่องราวมันเป็นยังไง เขาทำอะไรแค่นั้น ไม่ได้เอามาสานต่อ
“คือความคิดเรื่องการเมือง ผมก็เห็นชอบตามที่ตัวเองรู้สึกว่ามันแฟร์ แต่ไม่ถึงกับนิ่ง ไม่สนใจ แต่ถามว่าออกตัวหรือแสดงความคิดเห็นอะไรไหม ผมจะไม่ค่อย"
“มันหมดยุคแล้วหรือเปล่าที่วัยรุ่นนักศึกษาจะไปทำเรื่องพวกอย่างนี้” เราถามย้ำอีกครั้ง
“จริงๆ ผมว่าพลังนักศึกษาน่าจะดีที่สุดด้วยนะในยุคนี้ ถ้าเกิดมีปัญหาอะไรขึ้นเนี่ย คือเขามีทั้งแรงกาย แรงใจ ถ้าเกิดได้ไป ได้ทำอะไรขึ้นมา คือผมก็เต็มที่นะ เวลามีเรื่องพวกนี้ ถ้าเรารู้ว่าเออ มันไม่ใช่ ผมยังชวนเพื่อนไปเลย
“คือคนส่วนหนึ่งอาจจะมองว่าพลังของวัยรุ่นหรือคนหนุ่มสาวมันแผ่วไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วมันไม่แผ่ว และไม่ควรจะแผ่ว เพราะว่าคนรุ่นเราต้องอยู่ต่อ คนรุ่นก่อนเรา เดี๋ยวเขาก็ไป เดี๋ยวเขาก็หมด คนรุ่นเราต้องอยู่ต้องสร้างต่อ ฉะนั้น เราก็ต้องห้ามแผ่ว"
ขณะที่กันตรึมมองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ควรตาม แน่นอนว่าย่อมมีหลายคนที่ยังคงมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
“จะเป็นยังไงก็เป็นไป กูไม่สนอย่างนี้ใช่ไหมครับ" เขาย้อนถาม
“มันก็มีนะครับแบบที่ว่า การเมืองไม่ได้สำคัญอะไรกับเขาเลย ทั้งๆ ที่มันสำคัญมาก เพราะว่ามันมีผลถึงทุกอย่าง การกินอยู่ ค่าครองชีพทุกอย่าง แต่จริงๆ ส่วนใหญ่ผมจะเจอวัยรุ่นหรือกลุ่มเพื่อนที่โอเค โอเคนี้หมายถึง ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ คือไม่เกเรว่างั้นเถอะ แล้วอย่างวัยรุ่นสมัยนี้ผมไม่ได้มองว่าเลวร้าย ผมคิดว่าทุกสมัยคงไม่ต่างกันหรอก มีทั้งดีและไม่ดี”
ไม่ต่างจากอดีต หรือ ไม่ต่างจากปัจจุบัน
ไม่ต่างจากความฝัน หรือไม่ต่างจากความจริง
คำตอบอาจอยู่ในสายลมแห่งชีวิตที่พัดผ่าน
และพรุ่งนี้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์...
“ผมคิดว่าเรื่องเครียดๆ ในยุคนี้มีมากเกินไปก็ไม่ดี คือทำอะไรอย่างที่ชอบดีกว่า เพราะถ้าไม่ชอบจะทำอะไรมันเครียดไปหมดทุกเรื่อง ทั้งเรื่องงานเรื่องเรียน ถ้าคุณกำลังมองหาอะไรเพื่อเริ่มต้นทำ ให้หาอะไรที่ทำแล้วสบายใจดีกว่า”
*** “เดินไปสู่หนไหน” เป็นชื่อเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของ “สุรชัย จันทิมาธร”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม