คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ศอ.รส.ออกแถลงการณ์ ดึงสถาบันยุ่งเกี่ยวการเมือง หาก “ยิ่งลักษณ์-ครม.” ถูกศาล รธน.วินิจฉัยพ้นสภาพ ด้าน “สนธิ” ซัด “ทักษิณ” เดินเกมอำมหิต ทำลาย “ในหลวง”!
เมื่อวันที่ 14 เม.ย. คณะรัฐบุคคล นำโดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ,นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ,พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ ,นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ได้แถลงข่าว “ทางออกประเทศไทย เมื่อยิ่งลักษณ์หมดความชอบธรรมในการปกครองประเทศทั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัย” ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
ทั้งนี้ พล.อ.สายหยุด เชื่อมั่นว่า ด้วยพระบารมี จะทำให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ แต่เนื่องจากพระองค์ไม่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ ดังนั้นคณะรัฐบุคคลเห็นว่า โครงสร้างของประเทศยังมีรัฐบุรุษ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่จะทำหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ และร่างพระบรมราชโองการขึ้นทูลเกล้าฯ เสนอเมื่อเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองยุ่งเหยิง จึงเสนอให้รัฐบุรุษทำหน้าที่พูดคุยกับองค์กรต่างๆ ที่เป็นหลักของบ้านเมือง ทั้งตุลาการ ทหาร และผู้นำทางสังคม เพื่อร่างพระบรมราชโองการเสนอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย พล.อ.สายหยุด ยืนยันด้วยว่า ที่กล่าวมาไม่เกี่ยวกับการเสนอใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 แต่เชื่อว่าเมื่อทรงมีพระบรมราชโองการออกมาแล้ว สังคมไทยจะยอมรับเหมือนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และเชื่อว่า เรื่องนี้สามารถดำเนินการได้เลย โดยไม่ต้องรอให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง
วันต่อมา(15 เม.ย.) พล.ท.พิษณุ พุทธวงศ์ หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ และนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม บอกว่า พล.อ.เปรมทราบเรื่องดังกล่าวจากข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอแล้ว แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ
ด้านพรรคเพื่อไทย ไม่พอใจข้อเสนอของคณะรัฐบุคคล โดยนายนพดล ปัทมะ กรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย รีบสรุปว่าคณะรัฐบุคคลเสนอขอพระราชทานนายกฯ มาตรา 7 พร้อมชี้ว่า เป็นข้อเสนอที่อยู่นอกบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และไม่มีสุญญากาศทางการเมืองใดๆ ที่จะใช้มาตรา 7
เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะที่พรรคเพื่อไทยตำหนิแนวคิดการใช้มาตรา 7 แต่ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยกลับพยายามใช้มาตรา 7 เพื่อประโยชน์ของพรรคพวกตนเอง โดยนายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ออกมาเสนอให้รัฐบาลใช้มาตรา 7 ด้วยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระบรมราชวินิจฉัยแก้ปัญหาสุญญากาศทางการเมือง หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) โดยมิชอบ
ซึ่งหลังจากนายชัยเกษมผุดแนวคิดดังกล่าว ปรากฏว่า ในเวลาต่อมา ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) ก็ได้ออกแถลงการณ์สอดรับแนวคิดนายชัยเกษมเมื่อวันที่ 17 เม.ย. โดยแถลงการณ์ดังกล่าวมี 7 ข้อ อ้างว่าเป็นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย แต่ใจความสำคัญเป็นการข่มขู่องค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ กรณีโยกย้ายนายถวิลโดยมิชอบ และ ป.ป.ช. อาจชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ คดีไม่ระงับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
ทั้งนี้ แถลงการณ์ ศอ.รส.นอกจากเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัยต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์อย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติแล้ว ยังข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า จะต้องไม่วินิจฉัยเกินเลยไปถึงขนาดว่า หากความเป็นนายกฯ สิ้นสุดลงแล้ว ครม.ทั้งคณะจะต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามมาตรา 180 และปฏิบัติหน้าที่ต่อไม่ได้ตามมาตรา 181 และว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนั้น ครม.ก็มีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยว่า ครม.ต้องพ้นจากตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ โดยอ้างว่า เมื่อ ครม.มาโดยการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อจะพ้นจากตำแหน่ง ก็ควรที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นไป ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด
นอกจากนี้ แถลงการณ์ ศอ.รส.ยังระบุด้วยว่า ระหว่างทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยนั้น จะมีการกราบบังคมทูลด้วยว่า ครม.จะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 181 เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง และเพื่อไม่ให้กลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ กปปส.-นปช.ที่ประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัย ก่อเหตุร้ายต่อกัน
ทั้งนี้ แถลงการณ์ของ ศอ.รส.ดังกล่าวไม่เพียงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพื่อผลประโยชน์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์และรัฐบาลรักษาการ ทั้งที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง การกระทำของ ศอ.รส.จึงเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศจะดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ของ ศอ.รส. แล้ว เช่น นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,นายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ฐานทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 พร้อมชี้ แถลงการณ์ ศอ.รส.ชัดเจนว่าอาจผิดกฎหมายอาญามาตรา 113 ซึ่งเป็นภัยต่อประเทศและเข้าข่ายกบฏ
ด้านสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารท่าทีของศาลฯ ต่อแถลงการณ์ ศอ.รส.โดยชี้ว่า แถลงการณ์ดังกล่าวมีลักษณะคุกคาม ก้าวล่วงการใช้ดุลพินิจของตุลาการและศาล มีผลเป็นการทำลายชื่อเสียงและความเชื่อถือศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ ศอ.รส.ตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ที่มีหน้าที่ปฏิบัติเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น ซึ่งหากการดำเนินการของ ศอ.รส.กระทบต่อการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ขณะที่นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการและโฆษก ป.ป.ช. ได้มีหนังสือชี้แจงท่าทีของ ป.ป.ช.ต่อแถลงการณ์ ศอ.รส.เช่นกัน โดยยืนยันว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยึดหลักนิติธรรม ปราศจากอคติ แม้จะถูกข่มขู่ คุกคาม และมีการกระทำรุนแรงจากบุคคลบางกลุ่ม คณะกรรมการฯ ก็ไม่เคยท้อถอยหรือละทิ้งหน้าที่ และว่า แถลงการณ์ ศอ.รส.หมิ่นเหม่ต่อการทำให้สาธารณชนเห็นว่ามีการแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากฝ่ายบริหาร และกดดันให้ ป.ป.ช.วินิจฉัยหรือใช้ดุลพินิจไปในทางที่ฝ่ายบริหารต้องการ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จี้ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นคนตั้ง ศอ.รส.บอกมาว่ารู้สึกอย่างไรต่อแถลงการณ์ของ ศอ.รส. จะปล่อยให้องค์กรนี้ก้าวล่วงเข้ามาเพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองและบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศเสียเองหรือไม่
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าจะใช้มาตรา 7 ตามแถลงการณ์ของ ศอ.รส.หรือไม่ โดยอ้างว่า ต้องรอให้มีความชัดเจน และต้องให้ฝ่ายกฎหมายหาข้อสรุปให้เป็นที่ยุติก่อน
ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โฟนอินเข้ารายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” ทางเอเอสทีวี โดยวิเคราะห์ว่า การใช้มาตรา 7 จะไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเสนอโดยรองประธานวุฒิสภา หรือฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ตาม เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดเกล้าฯ ลงมาแน่ เนื่องจากหากโปรดเกล้าฯ ลงมา คนจะมองว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นายสนธิ ยังแนะให้จับตาสถานการณ์หลังสงกรานต์ให้ดีๆ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังมีแผนอำมหิต เพื่อทำลายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอีกหลายคนเดินทางไปหา พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ฮ่องกง จากนั้นจะใช้แผนดึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงมายุ่งกับการเมือง ซึ่ง ศอ.รส.บอกแล้วว่า หากนายกฯ พ้นสภาพจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะเสนอขอพระบรมราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแผนนี้อำมหิต และเป็นการทำลายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง
2.“ยิ่งลักษณ์” ส่อยื้อคดี ขอขยายเวลาแจงคดีโยกถวิล ลุ้นท่าทีศาล รธน.23 เม.ย. ด้าน ป.ป.ช.ไม่สอบพยานจำนำข้าวเพิ่ม คาด ชี้มูลต้น พ.ค.!
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงศ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เผยว่า เมื่อวันที่ 11 เม.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้ถูกร้องในคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิลโดยไม่ชอบ เข้าข่ายแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ อันเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 และเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182(7) หรือไม่ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ให้ทนายความเข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอขยายเวลาการยื่นคำชี้แจงออกไปอีก 15 วัน จากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 18 เม.ย. โดยอ้างเว่า ติดวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์หลายวัน จึงเตรียมเอกสารไม่ทัน
ด้านนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำขอขยายเวลาชี้แจงข้อกล่าวหาเพิ่มเติมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว โดยศาลฯ กำหนดจะพิจารณาในที่ประชุมวันที่ 23 เม.ย. เวลา 09.30น. ว่าจะอนุญาตตามคำขอหรือไม่ และถ้าให้ จะให้กี่วัน
ส่วนความคืบหน้าคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นัดสอบพยานเพิ่มเติมตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยื่นขอให้ ป.ป.ช.สอบพยานเพิ่ม 4 ปาก แต่ ป.ป.ช.ให้แค่ 1 ปาก คือ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง ซึ่ง ป.ป.ช.กำหนดให้ พล.ต.ต.ธวัช เข้าให้ปากคำเมื่อวันที่ 17 เม.ย.นั้น พล.ต.ต.ธวัช ให้การว่า ในการลงพื้นที่ตรวจสต๊อกข้าวทั่วประเทศโดยใช้เจ้าหน้าที่ 3 หมื่นคน ไม่พบว่ามีการทุจริตในโครงการ แต่ยอมรับว่ามีโรงสีบางแห่งมีการทุจริต และได้ลงโทษไปแล้ว พร้อมกันนี้ พล.ต.ต.ธวัช ได้ยื่นเอกสารผลการตรวจสต๊อกข้าวแก่ ป.ป.ช.ด้วยจำนวน 78 แผ่น
วันต่อมา(18 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต้องเข้าให้ถ้อยคำต่อ ป.ป.ช.ตามที่ได้ขอเลื่อนจากวันที่ 11 เม.ย.มาเป็น 18 เม.ย. ปรากฏว่า นายกิตติรัตน์ได้เข้าชี้แจงโดยยืนยันว่า การใช้งบประมาณระดับหมื่นล้านถึงแสนล้านในการดูแลโครงการรับจำนำข้าวไม่ถือว่าเกินเลย ส่วนการควบคุมวินัยการเงินการคลัง ได้ทำด้วยความเข้มงวด โดยมีการกำหนดวงเงินและรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบอย่างต่อเนื่องโดยตลอด รวมถึงคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) พร้อมยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการทุจริตในระดับปฏิบัติ เพราะแม้แต่องค์กรระดับโลกหรือประเทศยังมีคนที่อดกลั้นความอยากไว้ไม่ได้ แต่ยืนยันว่า โครงการรับจำนำข้าวมีกลไกตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
เป็นที่น่าสังเกตว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ให้ทนายยื่น ป.ป.ช.ขอสอบพยานเพิ่มอยู่หลายรอบ จนหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการยื้อเวลา โดยรอบแรก ยื่นขอสอบพยานเพิ่ม 11 ปาก แต่ ป.ป.ช.มีมติให้สอบ 3 ปาก ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่พอใจ ยื่นขอสอบพยานเพิ่มอีก 4 ปาก แต่ ป.ป.ช.มีมติให้แค่ 1 ปาก ล่าสุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้ทนายไปยื่นขอสอบพยานเพิ่มอีก 2 ปาก คือ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แต่ ป.ป.ช.มีมติแล้วว่าไม่ไต่สวนพยานทั้งสอง เนื่องจากข้อมูลในส่วนของนายอำพนเรื่องมติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวนั้น ป.ป.ช.มีข้อมูลเอกสารครบถ้วนแล้ว ส่วนนายสมชัยก็เป็นข้อมูลเดียวกับนายกิตติรัตน์ที่มาให้การต่อ ป.ป.ช.แล้ว จึงถือว่า ป.ป.ช.มีข้อมูลครบถ้วนแล้ว จึงไม่ต้องเชิญทั้งสองมาสอบเพิ่มอีก
นายสรรเสริญ บอกด้วยว่า หลังจากนี้ ป.ป.ช.จะให้เวลาเจ้าหน้าที่ 1 สัปดาห์สรุปสำนวนว่า ข้อมูลที่รักษาการนายกฯ เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และสิ่งที่พยานมาให้การชี้แจงในโครงการรับจำนำข้าว มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างข้อกล่าวหาได้หรือไม่ คาดว่าจะสรุปสำนวน ส่งเข้าที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เพื่อลงมติคดีนี้ได้ในช่วงต้นเดือน พ.ค.
3.“สุรพงษ์” ไม่พอใจปลัด สธ.ไม่ร่วมประชุม ศอ.รส. ขู่ให้ลาออกก่อนตั้ง กก.สอบวินัย ด้านเครือข่าย ขรก.ออกแถลงการณ์ จวก ศอ.รส.ดูหมิ่นศักดิ์ศรี ขรก.!
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) มีหนังสือเรียกปลัดกระทรวงต่างๆ มาประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หลัง ศอ.รส.ไม่พอใจกรณีนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับและเปิดห้องประชุมพูดคุยกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ที่เดินทางไปกระทรวงยุติธรรมเมื่อสัปดาห์ก่อน ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด ได้มีปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการมาร่วมประชุมกับ ศอ.รส.22 หน่วยงาน มีปลัดกระทรวง 6 คนไม่ได้เข้าร่วมประชุม โดยมี 1 คนแจ้งว่าป่วย คือ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ขณะที่ปลัด 4 คนติดภารกิจที่ต่างประเทศ ได้แก่ นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม ,นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ,นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปลัดทั้ง 5 คนได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ส่วนปลัดอีก 1 คนที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมและไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม คือ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ที่ประชุม ศอ.รส.มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส.เป็นประธาน หลังจากใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมง ร.ต.อ.เฉลิม ได้ให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานที่ปรึกษา ศอ.รส.เป็นผู้เผยผลประชุม ซึ่งนายสุรพงษ์ บอกว่า ได้ชี้แจงให้ข้าราชการฟังว่า นายสุเทพมีแนวคิดจัดตั้งรัฏฐาธิปัตย์ ถือเป็นการประกาศตัวเป็นกบฏครั้งที่ 2 ซึ่ง ศอ.รส.จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด
นอกจากนี้ ที่ประชุม ศอ.รส.ยังแจกเอกสาร พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ข้าราชการรู้ถึงหน้าที่ ส่วนกรณีปลัดกระทรวงยุติธรรมต้อนรับพูดคุยกับนายสุเทพนั้น นายสุรพงษ์ บอกว่า นายกิตติพงษ์ชี้แจงแล้ว ยืนยันว่าไม่เจตนา เพียงแต่เห็นว่าการหารือเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา นายสุรพงษ์ ยังพูดถึงกรณี นพ.ณรงค์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่เข้าร่วมประชุม ศอ.รส.ด้วยว่า ต้องตั้งคณะกรรมการสอบวินัยว่ามีความผิดหรือไม่ พร้อมฝากถึง นพ.ณรงค์ว่า ควรจะตัดสินใจว่าจะลาออกจากตำแหน่ง ก่อนจะถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยหรือไม่ จะได้ไม่เสียประวัติหน้าที่การงาน
ด้าน นพ.ณรงค์ เผยเหตุที่ไม่ไปร่วมประชุม ศอ.รส.ว่า ตนติดภารกิจที่ต้องทำงานในกระทรวงตลอดวันที่ 17 เม.ย. ทั้งฟังการสรุปเรื่องการบริหารเวชภัณฑ์ และมีเรื่องต้องติดตามกรณีพบเชื้อไข้หวัดนกทางฝั่งตะวันออกกลาง ส่วนกรณีที่นายสุรพงษ์ แนะให้ลาออก เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยนั้น นพ.ณรงค์ บอกว่า ตนไม่ทราบว่าตนผิดอย่างไร ถ้าคิดว่าผิดก็ว่าไปตามผิด ขอให้ดำเนินการตามอำนาจที่มี ยืนยันว่า สิ่งที่ทำ คิดว่าทำตามวิจารณญาณ ทำตามสิ่งที่ถูกต้องภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
ขณะที่เครือข่ายข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ,เครือข่ายกลุ่มข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,กลุ่มข้าราชการกระทรวงแรงงาน ,กลุ่มรักกระทรวงพาณิชย์ และเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้กรณี ศอ.รส.ข่มขู่เอาผิดข้าราชการที่มีความเห็นต่าง โดยระบุว่า ปลัดทุกกระทรวงคือผู้บริหารสูงสุด ทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้าราชการประจำ ประกอบคุณงามความดี รับใช้แผ่นดินมานาน มีวิจารณญาณมากพอที่จะตัดสินใจได้ว่า สิ่งใดควรทำ-ไม่ควรทำ พร้อมเห็นว่า การรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง เป็นสิ่งที่พึงกระทำที่สุด และว่า เหตุการณ์ที่ไม่ปกติทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากการไม่เคารพความคิดต่าง โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจ พร้อมเห็นว่า ปลัดกระทรวงมีหน้าที่หลักในการร่วมกันหาทางออกให้กับบ้านเมือง
แถลงการณ์ของเครือข่ายข้าราชการฯ ยังชี้ด้วยว่า การกระทำของ ศอ.รส.และผู้มีอำนาจ เป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของข้าราชการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เครือข่ายข้าราชการฯ ยืนยันว่า จะยึดหลักความเป็นกลางทางการเมือง ทำหน้าที่บริการประชาชนทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองใด จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายและสอดคล้องกับหลักจริยธรรมเท่านั้น พร้อมเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่พี่น้องข้าราชการทุกคนต้องร่วมกันธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของข้าราชการ ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจ คำข่มขู่ และคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรีของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.“จตุพร-ณัฐวุฒิ” รอดคุก ศาลไม่ถอนประกัน ด้านเจ้าตัวได้ใจ เตรียมนัดชุมนุมใหญ่ ขณะที่ “สุเทพ” เดินสายชวน รสก.ร่วมต่อสู้ ลั่น ขวางเลือกตั้ง ถ้าไม่ปฏิรูปก่อน!
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ศาลอาญา ได้นัดไต่สวนอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ นายสาธิต ปิตุเตชะ อดีต ส.ส.ระยอง ,นายบรรจบ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี และนายทศพล เพ็งส้ม อดีต ส.ส.นนทบุรี กรณีกล่าวหาว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. จำเลยที่ 2 และ 3 ในคดีร่วมกับแกนนำ นปช.รวม 24 คนก่อการร้าย โดยระบุว่า นายจตุพรและนายณัฐวุฒิมีพฤติการณ์เข้าข่ายผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยการขึ้นเวทีปราศรัย นปช.ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 ก.พ.
ทั้งนี้ ก่อนที่ศาลจะไต่สวน นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของจำเลย ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนออกไปเป็นวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์คดีก่อการร้าย โดยอ้างว่า นายจตุพร มีอาการป่วย เป็นไข้ เจ็บคอ และนายณัฐวุฒิ มีอาการหลอดลมอักเสบ ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ พร้อมกันนี้ได้นำใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลพระราม 9 มายื่นต่อศาลด้วย ด้านศาลพิจารณาคำร้องแล้ว เห็นว่า ยังไม่มีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนนัดไต่สวน จึงได้เริ่มไต่สวนทันที
ทั้งนี้ หลังใช้เวลาไต่สวน 3 ชั่วโมง ศาลได้นัดฟังคำสั่งในเวลา 15.00น. ซึ่งเมื่อถึงกำหนด ศาลได้อ่านคำสั่งว่า ตามที่พยานทั้ง 3 ปาก ได้เบิกความต่อศาลแล้ว ศาลเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และ 3 เป็นผู้ยุยง ปลุกปั่น ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ของผู้อื่น หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ ที่มีเนื้อหาให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินแต่อย่างใด เพียงแต่ปราศรัยให้มวลชนออกมาต่อต้านรัฐประหาร ย่อมเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้
นอกจากนี้ศาลเห็นว่า การเรียกร้องมวลชนให้เข้าร่วมชุมนุมในกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยและประชาชนถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีสิทธิแสดงความเห็นไปในทางใดทางหนึ่งได้ แม้ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันต่อรัฐสภา ทุกฝ่ายต้องยอมรับอยู่แล้ว จึงยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่าจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว จึงยังไม่มีเหตุจะเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ให้จำเลยทั้งสองพึงระมัดระวังในการจัดการชุมนุม หรือจัดให้มีการปราศรัยอย่างหนึ่งอย่างใด อาจผิดเงื่อนไขการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาจเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวได้
หลังรู้ผลคำสั่งศาล นายจตุพร และนายณัฐวุฒิ รีบออกมาขอบคุณศาลเป็นการใหญ่ที่ให้ความยุติธรรม โดยนายจตุพร บอกว่า นปช.จะต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี และจะชนะอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดย สงครามจะจบด้วยสันติภาพ และว่า หลังจากนี้ไม่นาน นปช.จะชุมนุมก่อนวันศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยนายกฯ กรณีโยกย้ายนายถวิล 1 วัน
ด้านนายณัฐวุฒิ ได้ออกมาเย้ยพรรคประชาธิปัตย์และนายสุเทพ เลขาธิการ กปปส.ที่ศาลไม่ถอนประกันตนและนายจตุพร โดยบอกว่า ขอแสดงความเสียใจกับพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ ที่พลาดหวังด้วย เพราะคงคิดว่าศาลต้องถอนประกันตนและนายจตุพรแน่ นายณัฐวุฒิ ยังพูดถึงการเตรียมการในวันไทยแลนด์ โอเพ่น หรือวันตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า ขอให้สัจจะที่นายสุเทพพูดว่า วันนัดใหญ่คราวนี้ ถ้ามีประชาชนมาน้อยกว่าคนเสื้อแดง จะม้วนเสื่อกลับ หวังว่านายสุเทพจะรักษาคำพูด นายณัฐวุฒิ ยังบอกให้ศาลมั่นใจด้วยว่า แนวทางการต่อสู้ของ นปช.จะไม่มีความรุนแรง ไม่มีการเผชิญหน้า จะเป็นการชุมนุมแสดงพลังอย่างเปิดเผย เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ทุกอย่างจะกลับคืนสู่ความสงบ
ส่วนความเคลื่อนไหวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.นั้น สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้นำมวลชนเคลื่อนไปยังหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม และการประปานครหลวง เพื่อเชิญชวนให้พนักงานของทั้ง 2 หน่วยงาน ออกมาร่วมต่อสู้กับ กปปส. ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายและจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดย กปปส.ได้รับการต้อนอย่างอบอุ่นจากพนักงานทั้ง 2 หน่วยงาน
นายสุเทพ ยังตำหนิ ศอ.รส.ที่ออกแถลงการณ์เตรียมทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัย หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ ครม.สิ้นสภาพด้วยว่า เป็นการกระทำที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง แค่คิดก็ผิดแล้ว อย่าทำเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ล่าสุด(19 เม.ย.) นายสุเทพ ได้พูดถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นัดประชุมพรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย. เพื่อกำหนดกรอบเวลาการจัดเลือกตั้งครั้งใหม่ด้วยว่า มวลมหาประชาชนขอประกาศล่วงหน้าเลยว่า หากมีการเดินหน้าจัดการเลือกตั้งโดยที่ยังไม่มีการปฏิรูป ก็อย่าหวังว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ เพราะประชาชนไม่ยอมอย่างแน่นอน
5.7 วันอันตรายสงกรานต์ ตาย 322 ศพ ลดลงจากปีที่แล้ว 1 ราย ขณะที่ยอดผู้บาดเจ็บเพิ่ม!
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน(ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้สรุปภาพรวม 7 วันอันตรายสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย.ว่า เกิดอุบัติเหตุรวม 2,992 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 164 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 322 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 1 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,225 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 185 ราย
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 36.76 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.14 ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.99
ทั้งนี้ ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ร้อยละ 52.13 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด คือ เชียงใหม่ 116 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ นครราชสีมา 14 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือ เชียงใหม่ 144 คน ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย มี 5 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท ,เพชรบุรี ,อ่างทอง ,พังงา และยะลา
1.ศอ.รส.ออกแถลงการณ์ ดึงสถาบันยุ่งเกี่ยวการเมือง หาก “ยิ่งลักษณ์-ครม.” ถูกศาล รธน.วินิจฉัยพ้นสภาพ ด้าน “สนธิ” ซัด “ทักษิณ” เดินเกมอำมหิต ทำลาย “ในหลวง”!
เมื่อวันที่ 14 เม.ย. คณะรัฐบุคคล นำโดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ,นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ ,พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ ,นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ได้แถลงข่าว “ทางออกประเทศไทย เมื่อยิ่งลักษณ์หมดความชอบธรรมในการปกครองประเทศทั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัย” ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
ทั้งนี้ พล.อ.สายหยุด เชื่อมั่นว่า ด้วยพระบารมี จะทำให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ แต่เนื่องจากพระองค์ไม่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ ดังนั้นคณะรัฐบุคคลเห็นว่า โครงสร้างของประเทศยังมีรัฐบุรุษ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่จะทำหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการ และร่างพระบรมราชโองการขึ้นทูลเกล้าฯ เสนอเมื่อเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองยุ่งเหยิง จึงเสนอให้รัฐบุรุษทำหน้าที่พูดคุยกับองค์กรต่างๆ ที่เป็นหลักของบ้านเมือง ทั้งตุลาการ ทหาร และผู้นำทางสังคม เพื่อร่างพระบรมราชโองการเสนอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย พล.อ.สายหยุด ยืนยันด้วยว่า ที่กล่าวมาไม่เกี่ยวกับการเสนอใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 แต่เชื่อว่าเมื่อทรงมีพระบรมราชโองการออกมาแล้ว สังคมไทยจะยอมรับเหมือนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และเชื่อว่า เรื่องนี้สามารถดำเนินการได้เลย โดยไม่ต้องรอให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง
วันต่อมา(15 เม.ย.) พล.ท.พิษณุ พุทธวงศ์ หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษ และนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม บอกว่า พล.อ.เปรมทราบเรื่องดังกล่าวจากข่าวที่สื่อมวลชนนำเสนอแล้ว แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ
ด้านพรรคเพื่อไทย ไม่พอใจข้อเสนอของคณะรัฐบุคคล โดยนายนพดล ปัทมะ กรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย รีบสรุปว่าคณะรัฐบุคคลเสนอขอพระราชทานนายกฯ มาตรา 7 พร้อมชี้ว่า เป็นข้อเสนอที่อยู่นอกบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และไม่มีสุญญากาศทางการเมืองใดๆ ที่จะใช้มาตรา 7
เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะที่พรรคเพื่อไทยตำหนิแนวคิดการใช้มาตรา 7 แต่ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยกลับพยายามใช้มาตรา 7 เพื่อประโยชน์ของพรรคพวกตนเอง โดยนายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ออกมาเสนอให้รัฐบาลใช้มาตรา 7 ด้วยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระบรมราชวินิจฉัยแก้ปัญหาสุญญากาศทางการเมือง หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) โดยมิชอบ
ซึ่งหลังจากนายชัยเกษมผุดแนวคิดดังกล่าว ปรากฏว่า ในเวลาต่อมา ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) ก็ได้ออกแถลงการณ์สอดรับแนวคิดนายชัยเกษมเมื่อวันที่ 17 เม.ย. โดยแถลงการณ์ดังกล่าวมี 7 ข้อ อ้างว่าเป็นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย แต่ใจความสำคัญเป็นการข่มขู่องค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ กรณีโยกย้ายนายถวิลโดยมิชอบ และ ป.ป.ช. อาจชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ คดีไม่ระงับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
ทั้งนี้ แถลงการณ์ ศอ.รส.นอกจากเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัยต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์อย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติแล้ว ยังข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า จะต้องไม่วินิจฉัยเกินเลยไปถึงขนาดว่า หากความเป็นนายกฯ สิ้นสุดลงแล้ว ครม.ทั้งคณะจะต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามมาตรา 180 และปฏิบัติหน้าที่ต่อไม่ได้ตามมาตรา 181 และว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนั้น ครม.ก็มีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยว่า ครม.ต้องพ้นจากตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ โดยอ้างว่า เมื่อ ครม.มาโดยการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อจะพ้นจากตำแหน่ง ก็ควรที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นไป ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาด
นอกจากนี้ แถลงการณ์ ศอ.รส.ยังระบุด้วยว่า ระหว่างทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัยนั้น จะมีการกราบบังคมทูลด้วยว่า ครม.จะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 181 เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง และเพื่อไม่ให้กลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ กปปส.-นปช.ที่ประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช.มีคำวินิจฉัย ก่อเหตุร้ายต่อกัน
ทั้งนี้ แถลงการณ์ของ ศอ.รส.ดังกล่าวไม่เพียงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายว่าดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพื่อผลประโยชน์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์และรัฐบาลรักษาการ ทั้งที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง การกระทำของ ศอ.รส.จึงเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศจะดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องกับแถลงการณ์ของ ศอ.รส. แล้ว เช่น นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,นายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ฐานทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 พร้อมชี้ แถลงการณ์ ศอ.รส.ชัดเจนว่าอาจผิดกฎหมายอาญามาตรา 113 ซึ่งเป็นภัยต่อประเทศและเข้าข่ายกบฏ
ด้านสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่เอกสารท่าทีของศาลฯ ต่อแถลงการณ์ ศอ.รส.โดยชี้ว่า แถลงการณ์ดังกล่าวมีลักษณะคุกคาม ก้าวล่วงการใช้ดุลพินิจของตุลาการและศาล มีผลเป็นการทำลายชื่อเสียงและความเชื่อถือศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ ศอ.รส.ตาม พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ที่มีหน้าที่ปฏิบัติเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น ซึ่งหากการดำเนินการของ ศอ.รส.กระทบต่อการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ขณะที่นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการและโฆษก ป.ป.ช. ได้มีหนังสือชี้แจงท่าทีของ ป.ป.ช.ต่อแถลงการณ์ ศอ.รส.เช่นกัน โดยยืนยันว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยึดหลักนิติธรรม ปราศจากอคติ แม้จะถูกข่มขู่ คุกคาม และมีการกระทำรุนแรงจากบุคคลบางกลุ่ม คณะกรรมการฯ ก็ไม่เคยท้อถอยหรือละทิ้งหน้าที่ และว่า แถลงการณ์ ศอ.รส.หมิ่นเหม่ต่อการทำให้สาธารณชนเห็นว่ามีการแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากฝ่ายบริหาร และกดดันให้ ป.ป.ช.วินิจฉัยหรือใช้ดุลพินิจไปในทางที่ฝ่ายบริหารต้องการ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จี้ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นคนตั้ง ศอ.รส.บอกมาว่ารู้สึกอย่างไรต่อแถลงการณ์ของ ศอ.รส. จะปล่อยให้องค์กรนี้ก้าวล่วงเข้ามาเพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองและบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศเสียเองหรือไม่
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าจะใช้มาตรา 7 ตามแถลงการณ์ของ ศอ.รส.หรือไม่ โดยอ้างว่า ต้องรอให้มีความชัดเจน และต้องให้ฝ่ายกฎหมายหาข้อสรุปให้เป็นที่ยุติก่อน
ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โฟนอินเข้ารายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” ทางเอเอสทีวี โดยวิเคราะห์ว่า การใช้มาตรา 7 จะไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเสนอโดยรองประธานวุฒิสภา หรือฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ตาม เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดเกล้าฯ ลงมาแน่ เนื่องจากหากโปรดเกล้าฯ ลงมา คนจะมองว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นายสนธิ ยังแนะให้จับตาสถานการณ์หลังสงกรานต์ให้ดีๆ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณกำลังมีแผนอำมหิต เพื่อทำลายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอีกหลายคนเดินทางไปหา พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ฮ่องกง จากนั้นจะใช้แผนดึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงมายุ่งกับการเมือง ซึ่ง ศอ.รส.บอกแล้วว่า หากนายกฯ พ้นสภาพจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะเสนอขอพระบรมราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแผนนี้อำมหิต และเป็นการทำลายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง
2.“ยิ่งลักษณ์” ส่อยื้อคดี ขอขยายเวลาแจงคดีโยกถวิล ลุ้นท่าทีศาล รธน.23 เม.ย. ด้าน ป.ป.ช.ไม่สอบพยานจำนำข้าวเพิ่ม คาด ชี้มูลต้น พ.ค.!
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงศ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เผยว่า เมื่อวันที่ 11 เม.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้ถูกร้องในคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิลโดยไม่ชอบ เข้าข่ายแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำ อันเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 และเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182(7) หรือไม่ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ให้ทนายความเข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอขยายเวลาการยื่นคำชี้แจงออกไปอีก 15 วัน จากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 18 เม.ย. โดยอ้างเว่า ติดวันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์หลายวัน จึงเตรียมเอกสารไม่ทัน
ด้านนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำขอขยายเวลาชี้แจงข้อกล่าวหาเพิ่มเติมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว โดยศาลฯ กำหนดจะพิจารณาในที่ประชุมวันที่ 23 เม.ย. เวลา 09.30น. ว่าจะอนุญาตตามคำขอหรือไม่ และถ้าให้ จะให้กี่วัน
ส่วนความคืบหน้าคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นัดสอบพยานเพิ่มเติมตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยื่นขอให้ ป.ป.ช.สอบพยานเพิ่ม 4 ปาก แต่ ป.ป.ช.ให้แค่ 1 ปาก คือ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง ซึ่ง ป.ป.ช.กำหนดให้ พล.ต.ต.ธวัช เข้าให้ปากคำเมื่อวันที่ 17 เม.ย.นั้น พล.ต.ต.ธวัช ให้การว่า ในการลงพื้นที่ตรวจสต๊อกข้าวทั่วประเทศโดยใช้เจ้าหน้าที่ 3 หมื่นคน ไม่พบว่ามีการทุจริตในโครงการ แต่ยอมรับว่ามีโรงสีบางแห่งมีการทุจริต และได้ลงโทษไปแล้ว พร้อมกันนี้ พล.ต.ต.ธวัช ได้ยื่นเอกสารผลการตรวจสต๊อกข้าวแก่ ป.ป.ช.ด้วยจำนวน 78 แผ่น
วันต่อมา(18 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต้องเข้าให้ถ้อยคำต่อ ป.ป.ช.ตามที่ได้ขอเลื่อนจากวันที่ 11 เม.ย.มาเป็น 18 เม.ย. ปรากฏว่า นายกิตติรัตน์ได้เข้าชี้แจงโดยยืนยันว่า การใช้งบประมาณระดับหมื่นล้านถึงแสนล้านในการดูแลโครงการรับจำนำข้าวไม่ถือว่าเกินเลย ส่วนการควบคุมวินัยการเงินการคลัง ได้ทำด้วยความเข้มงวด โดยมีการกำหนดวงเงินและรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบอย่างต่อเนื่องโดยตลอด รวมถึงคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) พร้อมยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการทุจริตในระดับปฏิบัติ เพราะแม้แต่องค์กรระดับโลกหรือประเทศยังมีคนที่อดกลั้นความอยากไว้ไม่ได้ แต่ยืนยันว่า โครงการรับจำนำข้าวมีกลไกตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
เป็นที่น่าสังเกตว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ให้ทนายยื่น ป.ป.ช.ขอสอบพยานเพิ่มอยู่หลายรอบ จนหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการยื้อเวลา โดยรอบแรก ยื่นขอสอบพยานเพิ่ม 11 ปาก แต่ ป.ป.ช.มีมติให้สอบ 3 ปาก ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่พอใจ ยื่นขอสอบพยานเพิ่มอีก 4 ปาก แต่ ป.ป.ช.มีมติให้แค่ 1 ปาก ล่าสุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้ทนายไปยื่นขอสอบพยานเพิ่มอีก 2 ปาก คือ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แต่ ป.ป.ช.มีมติแล้วว่าไม่ไต่สวนพยานทั้งสอง เนื่องจากข้อมูลในส่วนของนายอำพนเรื่องมติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวนั้น ป.ป.ช.มีข้อมูลเอกสารครบถ้วนแล้ว ส่วนนายสมชัยก็เป็นข้อมูลเดียวกับนายกิตติรัตน์ที่มาให้การต่อ ป.ป.ช.แล้ว จึงถือว่า ป.ป.ช.มีข้อมูลครบถ้วนแล้ว จึงไม่ต้องเชิญทั้งสองมาสอบเพิ่มอีก
นายสรรเสริญ บอกด้วยว่า หลังจากนี้ ป.ป.ช.จะให้เวลาเจ้าหน้าที่ 1 สัปดาห์สรุปสำนวนว่า ข้อมูลที่รักษาการนายกฯ เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และสิ่งที่พยานมาให้การชี้แจงในโครงการรับจำนำข้าว มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างข้อกล่าวหาได้หรือไม่ คาดว่าจะสรุปสำนวน ส่งเข้าที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เพื่อลงมติคดีนี้ได้ในช่วงต้นเดือน พ.ค.
3.“สุรพงษ์” ไม่พอใจปลัด สธ.ไม่ร่วมประชุม ศอ.รส. ขู่ให้ลาออกก่อนตั้ง กก.สอบวินัย ด้านเครือข่าย ขรก.ออกแถลงการณ์ จวก ศอ.รส.ดูหมิ่นศักดิ์ศรี ขรก.!
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) มีหนังสือเรียกปลัดกระทรวงต่างๆ มาประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ หลัง ศอ.รส.ไม่พอใจกรณีนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับและเปิดห้องประชุมพูดคุยกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ที่เดินทางไปกระทรวงยุติธรรมเมื่อสัปดาห์ก่อน ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด ได้มีปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการมาร่วมประชุมกับ ศอ.รส.22 หน่วยงาน มีปลัดกระทรวง 6 คนไม่ได้เข้าร่วมประชุม โดยมี 1 คนแจ้งว่าป่วย คือ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ขณะที่ปลัด 4 คนติดภารกิจที่ต่างประเทศ ได้แก่ นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม ,นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ,นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปลัดทั้ง 5 คนได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ส่วนปลัดอีก 1 คนที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมและไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม คือ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ที่ประชุม ศอ.รส.มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศอ.รส.เป็นประธาน หลังจากใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมง ร.ต.อ.เฉลิม ได้ให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานที่ปรึกษา ศอ.รส.เป็นผู้เผยผลประชุม ซึ่งนายสุรพงษ์ บอกว่า ได้ชี้แจงให้ข้าราชการฟังว่า นายสุเทพมีแนวคิดจัดตั้งรัฏฐาธิปัตย์ ถือเป็นการประกาศตัวเป็นกบฏครั้งที่ 2 ซึ่ง ศอ.รส.จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด
นอกจากนี้ ที่ประชุม ศอ.รส.ยังแจกเอกสาร พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ข้าราชการรู้ถึงหน้าที่ ส่วนกรณีปลัดกระทรวงยุติธรรมต้อนรับพูดคุยกับนายสุเทพนั้น นายสุรพงษ์ บอกว่า นายกิตติพงษ์ชี้แจงแล้ว ยืนยันว่าไม่เจตนา เพียงแต่เห็นว่าการหารือเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา นายสุรพงษ์ ยังพูดถึงกรณี นพ.ณรงค์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่เข้าร่วมประชุม ศอ.รส.ด้วยว่า ต้องตั้งคณะกรรมการสอบวินัยว่ามีความผิดหรือไม่ พร้อมฝากถึง นพ.ณรงค์ว่า ควรจะตัดสินใจว่าจะลาออกจากตำแหน่ง ก่อนจะถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยหรือไม่ จะได้ไม่เสียประวัติหน้าที่การงาน
ด้าน นพ.ณรงค์ เผยเหตุที่ไม่ไปร่วมประชุม ศอ.รส.ว่า ตนติดภารกิจที่ต้องทำงานในกระทรวงตลอดวันที่ 17 เม.ย. ทั้งฟังการสรุปเรื่องการบริหารเวชภัณฑ์ และมีเรื่องต้องติดตามกรณีพบเชื้อไข้หวัดนกทางฝั่งตะวันออกกลาง ส่วนกรณีที่นายสุรพงษ์ แนะให้ลาออก เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยนั้น นพ.ณรงค์ บอกว่า ตนไม่ทราบว่าตนผิดอย่างไร ถ้าคิดว่าผิดก็ว่าไปตามผิด ขอให้ดำเนินการตามอำนาจที่มี ยืนยันว่า สิ่งที่ทำ คิดว่าทำตามวิจารณญาณ ทำตามสิ่งที่ถูกต้องภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
ขณะที่เครือข่ายข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วย สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ,เครือข่ายกลุ่มข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,กลุ่มข้าราชการกระทรวงแรงงาน ,กลุ่มรักกระทรวงพาณิชย์ และเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้กรณี ศอ.รส.ข่มขู่เอาผิดข้าราชการที่มีความเห็นต่าง โดยระบุว่า ปลัดทุกกระทรวงคือผู้บริหารสูงสุด ทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้าราชการประจำ ประกอบคุณงามความดี รับใช้แผ่นดินมานาน มีวิจารณญาณมากพอที่จะตัดสินใจได้ว่า สิ่งใดควรทำ-ไม่ควรทำ พร้อมเห็นว่า การรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง เป็นสิ่งที่พึงกระทำที่สุด และว่า เหตุการณ์ที่ไม่ปกติทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากการไม่เคารพความคิดต่าง โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจ พร้อมเห็นว่า ปลัดกระทรวงมีหน้าที่หลักในการร่วมกันหาทางออกให้กับบ้านเมือง
แถลงการณ์ของเครือข่ายข้าราชการฯ ยังชี้ด้วยว่า การกระทำของ ศอ.รส.และผู้มีอำนาจ เป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของข้าราชการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เครือข่ายข้าราชการฯ ยืนยันว่า จะยึดหลักความเป็นกลางทางการเมือง ทำหน้าที่บริการประชาชนทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่เข้าข้างพรรคการเมืองใด จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายและสอดคล้องกับหลักจริยธรรมเท่านั้น พร้อมเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่พี่น้องข้าราชการทุกคนต้องร่วมกันธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของข้าราชการ ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจ คำข่มขู่ และคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำหน้าที่อย่างสมศักดิ์ศรีของข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.“จตุพร-ณัฐวุฒิ” รอดคุก ศาลไม่ถอนประกัน ด้านเจ้าตัวได้ใจ เตรียมนัดชุมนุมใหญ่ ขณะที่ “สุเทพ” เดินสายชวน รสก.ร่วมต่อสู้ ลั่น ขวางเลือกตั้ง ถ้าไม่ปฏิรูปก่อน!
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ศาลอาญา ได้นัดไต่สวนอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แก่ นายสาธิต ปิตุเตชะ อดีต ส.ส.ระยอง ,นายบรรจบ รุ่งโรจน์ อดีต ส.ส.ชลบุรี และนายทศพล เพ็งส้ม อดีต ส.ส.นนทบุรี กรณีกล่าวหาว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. จำเลยที่ 2 และ 3 ในคดีร่วมกับแกนนำ นปช.รวม 24 คนก่อการร้าย โดยระบุว่า นายจตุพรและนายณัฐวุฒิมีพฤติการณ์เข้าข่ายผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยการขึ้นเวทีปราศรัย นปช.ที่ จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 ก.พ.
ทั้งนี้ ก่อนที่ศาลจะไต่สวน นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของจำเลย ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนออกไปเป็นวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์คดีก่อการร้าย โดยอ้างว่า นายจตุพร มีอาการป่วย เป็นไข้ เจ็บคอ และนายณัฐวุฒิ มีอาการหลอดลมอักเสบ ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ พร้อมกันนี้ได้นำใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลพระราม 9 มายื่นต่อศาลด้วย ด้านศาลพิจารณาคำร้องแล้ว เห็นว่า ยังไม่มีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนนัดไต่สวน จึงได้เริ่มไต่สวนทันที
ทั้งนี้ หลังใช้เวลาไต่สวน 3 ชั่วโมง ศาลได้นัดฟังคำสั่งในเวลา 15.00น. ซึ่งเมื่อถึงกำหนด ศาลได้อ่านคำสั่งว่า ตามที่พยานทั้ง 3 ปาก ได้เบิกความต่อศาลแล้ว ศาลเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และ 3 เป็นผู้ยุยง ปลุกปั่น ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ของผู้อื่น หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ ที่มีเนื้อหาให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินแต่อย่างใด เพียงแต่ปราศรัยให้มวลชนออกมาต่อต้านรัฐประหาร ย่อมเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้
นอกจากนี้ศาลเห็นว่า การเรียกร้องมวลชนให้เข้าร่วมชุมนุมในกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอย่างหนึ่งอย่างใด จำเลยและประชาชนถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีสิทธิแสดงความเห็นไปในทางใดทางหนึ่งได้ แม้ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันต่อรัฐสภา ทุกฝ่ายต้องยอมรับอยู่แล้ว จึงยังไม่เพียงพอจะรับฟังว่าจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว จึงยังไม่มีเหตุจะเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ให้จำเลยทั้งสองพึงระมัดระวังในการจัดการชุมนุม หรือจัดให้มีการปราศรัยอย่างหนึ่งอย่างใด อาจผิดเงื่อนไขการอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลอาจเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวได้
หลังรู้ผลคำสั่งศาล นายจตุพร และนายณัฐวุฒิ รีบออกมาขอบคุณศาลเป็นการใหญ่ที่ให้ความยุติธรรม โดยนายจตุพร บอกว่า นปช.จะต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี และจะชนะอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดย สงครามจะจบด้วยสันติภาพ และว่า หลังจากนี้ไม่นาน นปช.จะชุมนุมก่อนวันศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยนายกฯ กรณีโยกย้ายนายถวิล 1 วัน
ด้านนายณัฐวุฒิ ได้ออกมาเย้ยพรรคประชาธิปัตย์และนายสุเทพ เลขาธิการ กปปส.ที่ศาลไม่ถอนประกันตนและนายจตุพร โดยบอกว่า ขอแสดงความเสียใจกับพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ ที่พลาดหวังด้วย เพราะคงคิดว่าศาลต้องถอนประกันตนและนายจตุพรแน่ นายณัฐวุฒิ ยังพูดถึงการเตรียมการในวันไทยแลนด์ โอเพ่น หรือวันตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า ขอให้สัจจะที่นายสุเทพพูดว่า วันนัดใหญ่คราวนี้ ถ้ามีประชาชนมาน้อยกว่าคนเสื้อแดง จะม้วนเสื่อกลับ หวังว่านายสุเทพจะรักษาคำพูด นายณัฐวุฒิ ยังบอกให้ศาลมั่นใจด้วยว่า แนวทางการต่อสู้ของ นปช.จะไม่มีความรุนแรง ไม่มีการเผชิญหน้า จะเป็นการชุมนุมแสดงพลังอย่างเปิดเผย เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ทุกอย่างจะกลับคืนสู่ความสงบ
ส่วนความเคลื่อนไหวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.นั้น สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้นำมวลชนเคลื่อนไปยังหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม และการประปานครหลวง เพื่อเชิญชวนให้พนักงานของทั้ง 2 หน่วยงาน ออกมาร่วมต่อสู้กับ กปปส. ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายและจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดย กปปส.ได้รับการต้อนอย่างอบอุ่นจากพนักงานทั้ง 2 หน่วยงาน
นายสุเทพ ยังตำหนิ ศอ.รส.ที่ออกแถลงการณ์เตรียมทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัย หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ ครม.สิ้นสภาพด้วยว่า เป็นการกระทำที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง แค่คิดก็ผิดแล้ว อย่าทำเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
ล่าสุด(19 เม.ย.) นายสุเทพ ได้พูดถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นัดประชุมพรรคการเมืองในวันที่ 22 เม.ย. เพื่อกำหนดกรอบเวลาการจัดเลือกตั้งครั้งใหม่ด้วยว่า มวลมหาประชาชนขอประกาศล่วงหน้าเลยว่า หากมีการเดินหน้าจัดการเลือกตั้งโดยที่ยังไม่มีการปฏิรูป ก็อย่าหวังว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ เพราะประชาชนไม่ยอมอย่างแน่นอน
5.7 วันอันตรายสงกรานต์ ตาย 322 ศพ ลดลงจากปีที่แล้ว 1 ราย ขณะที่ยอดผู้บาดเจ็บเพิ่ม!
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน(ศปถ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้สรุปภาพรวม 7 วันอันตรายสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย.ว่า เกิดอุบัติเหตุรวม 2,992 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 164 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 322 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 1 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,225 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 185 ราย
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เมาแล้วขับ ร้อยละ 36.76 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.14 ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.99
ทั้งนี้ ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ร้อยละ 52.13 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด คือ เชียงใหม่ 116 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ นครราชสีมา 14 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือ เชียงใหม่ 144 คน ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย มี 5 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยนาท ,เพชรบุรี ,อ่างทอง ,พังงา และยะลา