จับตาคำสั่ง ศอ.รส. เรียกประชุมปลัดกระทรวง 17 เม.ย. นี้ อาจเจออุปสรรคครั้งใหญ่ วงในลือบิ๊กข้าราชการอาจใช้โอกาสนี้รวมตัว ตอบโต้รักษาการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ลุแก่อำนาจก้าวก่ายงานประจำ แถมรัฐธรรมนูญระบุรักษาการโยกย้ายไม่ได้ ปลุกพลังข้าราชการคือลูกจ้างประชาชน ไม่ใช่ลูกจ้างนักการเมือง ด้าน กปปส. แจงที่เดินสายไปหน่วยงานรัฐ เพราะผู้ใหญ่ในกระทวงกวักมือเรียก ขณะที่ข้าราชการเชื่อ “ปู-เพื่อไทย” ใกล้อวสาน ทำให้ข้าราชการออกอาการ “กูไม่กลัวมึง” อีกต่อไป!
ในระหว่างที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่าย กปปส. ต่างต้องรอผลการชี้ขาดของคดีทั้งจากการชี้มูลความผิดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คดีทุจริตโครงการจำนำข้าว ที่อยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช. และคดีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่อยู่ในมือศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากทั้ง 2 คดีนี้จะชี้เป็นชี้ตายถึงสถานภาพของนางสาวยิ่งลักษณ์
การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อ 5 เมษายน 2557 ได้มุ่งโจมตีไปที่คำกล่าวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ถึงการประกาศตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ โดยมีการรับลูกกันอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ที่จะดำเนินการทางกฎหมายในข้อหากบฏกับนายสุเทพ หรือการรับลูกของกรมสอบสวนคดีพิเศษและศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)
ทั้ง นปช. คนเสื้อแดง กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ศอ.รส. กำลังสาละวนเอาผิดกับนายสุเทพเรื่องรัฏฐาธิปัตย์อยู่นั้น เลขาธิการ กปปส. กลับเดินหมากรุกด้วยการเดินสายเชิญชวนข้าราชการกระทรวงต่างๆ เข้าร่วมกับการปฏิรูปประเทศไทย
เริ่มจาก 8 เมษายนเดินสายไปกระทรวงยุติธรรมและได้เข้าพบนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม วันรุ่งขึ้น 9 เมษายนเดินทางไปที่กระทรวงกลาโหม และได้เข้าหารือกับพลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม
เดินหมากสกัด กปปส.
ในวันเดียวกันนั้นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้ออกมาแถลงตำหนินายสุเทพ และปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เพราะปลัดกระทรวงยุติธรรมมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และเป็นคณะกรรมการคดีพิเศษ
พร้อมยกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 43, 81 และ 82 ได้กำหนดให้ข้าราชการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ และต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
อีกทั้งนายสุเทพ และแกนนำ กปปส. ถูกดำเนินคดีในคดีพิเศษถึง 58 คน และมีหมายจับอยู่อีกด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมควรจะแจ้งให้พนักงานสอบสวนเข้าจับกุมดำเนินคดีนายสุเทพกับพวก ไม่ใช่การให้การต้อนรับ
ดังนั้น ศอ.รส. จึงกำหนดเรียกเชิญปลัดกระทรวงทุกกระทรวงมาประชุมเพื่อกำชับ ตักเตือน และทำความเข้าใจต่อการปฏิบัติในเรื่องเช่นนี้ ในวันที่ 17 เมษายน 2557 เวลา 14.00 น. และกำหนดว่าปลัดกระทรวงทุกคนต้องมาเข้าประชุมด้วยตนเอง
นี่คือการถอยกลับมาเพื่อรับมือกับ กปปส. ของฝ่ายรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้เทน้ำหนักไปที่เรื่องรัฏฐาธิปัตย์
เช็กข้าราชการแตกแถว
แต่คำตำหนิปลัดกระทรวงยุติธรรมดูเหมือนจะไร้ความหมาย เมื่อ กปปส. เดินหน้าไปที่สำนักชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 10 เมษายน และเข้าพบนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่งขึ้น 11 เมษายน เข้าพบนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทุกที่ที่นายสุเทพเดินทางไปนอกจากจะได้พบกับหัวหน้าข้าราชการระดับสูงของกระทรวงแล้ว ยังมีข้าราชการออกมาให้การต้อนรับ อาจจะมีเพียงที่กระทรวงกลาโหมเท่านั้นที่พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นคนของสายพรรคเพื่อไทย
ปฏิบัติการเช็กกำลังของพรรคเพื่อไทยจึงเริ่มขึ้นที่กระทรวงยุติธรรม ในวันที่ 11 เมษายน โดยนายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดให้ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม รดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ วันดังกล่าวปลัดกระทรวงยุติธรรมไม่ได้เดินทางมาร่วมงาน แจ้งว่าป่วยกะทันหัน นอกจากนี้คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และพันตำรวจเอกดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ก็ไม่ได้เดินทางเข้าร่วมงาน
ข้าราชการไม่ร่วมมือรัฐหมดสภาพ
“เรียนตามตรงว่าที่กระทรวงสาธารณสุข และที่กระทรวงยุติธรรมนั้น ค่อนข้างชัดเจนว่าผู้บริหารและข้าราชการส่วนใหญ่ในกระทรวงมีแนวคิดอย่างไร และกระทรวงอื่นที่ไปนั้นส่วนใหญ่ก่อนที่จะไปก็ต้องประสานงานกันไว้ล่วงหน้าแล้วทั้งนั้น บางกระทรวงก็แจ้งกลับมาว่ายังไม่พร้อมที่จะให้ กปปส. เดินทางไป แต่ท่าทีของข้าราชการเหล่านั้นเห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูป” หนึ่งในแกนนำ กปปส. กล่าว
นาทีนี้รัฐบาลยังกุมความได้เปรียบทางด้านกฎหมายในเรื่องรัฐบาลรักษาการ ที่จะต้องอยู่จนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน ยิ่งการเลือกตั้งเมื่อ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ยิ่งทำให้พรรคเพื่อไทยอยู่ในสถานะรัฐบาลรักษาการยาวนานขึ้น ขณะที่ฝ่ายต่อต้านต้องการเปลี่ยนรัฐบาล ก็ติดขัดในเรื่องดังกล่าว
ดังนั้นทางออกที่จะทำให้รัฐบาลรักษาการประสบปัญหาในการทำงานมากขึ้น คือ ต้องทำให้เครื่องมือของรัฐหยุดทำงาน จักรกลที่สำคัญที่สุดคือข้าราชการ
ประกอบกับในเวลานี้รัฐบาลกำลังตกอยู่ในสถานะลำบาก เนื่องจากการตัดสินคดีความทั้งทุจริตจำนำข้าวและการโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม ใกล้จะมีคำตัดสินออกมา และเมื่อประเมินแนวโน้มแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่คำตัดสินนั้นอาจทำให้รัฐบาลต้องพ้นสภาพไป
จุดอ่อนรัฐบาลรักษาการ
อีกทั้งยังมีปัจจัยทางด้านกฎหมายที่ระบุว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ระบุว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180(2) อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยเฉพาะ (1) ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงทำให้กลุ่ม กปปส. เดินเครื่องรณรงค์ข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ให้เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูปประเทศและออกมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. เพราะแม้จะมีข้าราชการระดับสูงอย่างปลัดกระทรวงออกมาให้การต้อนรับ กปปส. แต่ภายใต้รัฐบาลรักษาการนั้นไม่สามารถที่จะโยกย้ายข้าราชการในระดับนี้ได้สะดวก เหมือนเมื่อครั้งเป็นรัฐบาลปกติ หรือแม้จะขอความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็คงไม่ง่าย เมื่อมุมมองของรัฐบาลกับ กกต. ที่ผ่านมามักไม่เห็นตรงกัน
ที่สำคัญหากจะย้ายข้าราชการในลำดับที่รองลงไปก็ต้องกระทำการผ่านระดับปลัดกระทรวง หากปลัดกระทรวงไม่ดำเนินการต่อ รัฐบาลก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้
หากปล่อยให้ กปปส. ออกรณรงค์ข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ที่เหลือ ย่อมไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะถ้าข้าราชการทั้งหมดพร้อมใจกันที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลแล้ว รัฐบาลก็ไม่มีสถานะความเป็นรัฐบาลอีกต่อไป
ดังนั้น ศอ.รส. จึงต้องนัดทำความเข้าใจกับข้าราชการระดับปลัดกระทรวงในวันที่ 17 เมษายนนี้ เพื่อสกัดกั้นการปฏิเสธคำสั่งของรัฐบาลจากข้าราชการกระทรวงต่างๆ และเป็นการเช็กแถวข้าราชการกระทรวงต่างๆ ว่าใครยังพร้อมที่จะยืนเคียงข้างรัฐบาลบ้าง
สวดรัฐบาลไม่เป็นกลาง
ข้าราชการระดับปลัดกระทรวงรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตการนัดประชุมข้าราชการระดับปลัดกระทรวงวันที่ 17 เมษายนนี้ว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในเวลานี้ถือเป็นการลุแก่อำนาจ โดยอ้างถึงให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง แต่การเรียกประชุมข้าราชการระดับปลัดกระทรวงในวันที่ 17 นี้ เป็นการกระทำที่ไม่เป็นกลางของรัฐบาลแล้ว
การวางตัวของข้าราชการที่เป็นกลางทางการเมือง ต้องไม่ให้คุณให้โทษแก่นักการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนเรื่องความดีความชั่วนั้นข้าราชการวางตัวเป็นกลางไม่ได้ ต้องอยู่ในข้างที่ถูกต้อง สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่คือให้ข้าราชการยืนอยู่ข้างรัฐบาล เพื่อไม่ให้การตอบรับต่อข้อเรียกร้องของ กปปส.
“เราไม่ได้เป็นลูกจ้างนักการเมือง เราเป็นลูกจ้างประชาชน ข้าราชการเป็นลูกจ้างประจำ ส่วนรัฐบาลเป็นลูกจ้างชั่วคราว ข้าราชการอย่างพวกเรา ไม่ได้ถูกจ้างมาให้เป็นข้าทาสบริวารของรัฐบาล เรามีหน้าที่รับใช้ประชาชน รับใช้ประเทศนี้ แม้ว่าระบบการทำงานเราจะต้องทำงานให้กับรัฐบาล แต่ก็ต้องทำเพื่อดูแลผลประโยชน์ของประชาชนทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เราก็ต้องทำงานให้กับทุกฝ่าย”
ดังนั้นในวันที่ 17 นี้ ทาง ศอ.รส. ที่เรียกประชุมข้าราชการในระดับอธิบดีคงกำกับข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือกับ กปปส. หรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หากจะอ้างถึงการที่กลุ่ม กปปส. มีคดีความติดตัวนั้น ขณะนี้แกนนำของ กปปส. เป็นเพียงผู้ต้องหา ยังไม่ใช่นักโทษ
ที่ผ่านมาข้าราชการก็พยายามทำอะไรที่ไม่ขัดใจต่อฝ่ายรัฐบาลอยู่แล้ว เรื่องเหล่านี้พวกเรามีดุลพินิจเพียงพอ ในวันนั้นชัดเจนแล้วว่านายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาจจะไม่มา และอาจมีมากกว่านี้อย่าง นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม หรือกระทรวงอื่นๆ อาจมีการส่งระดับรองปลัดไปประชุมแทน หากปลัดกระทรวงไม่ไป ก็คงไม่โดนลงโทษอะไร เพราะรัฐบาลอยู่ในสถานะที่ง่อนแง่น และการกระทำดังกล่าวถือเป็นการท้าทายต่อข้าราชการประจำ
ตอนนี้ข้าราชการกระทรวงต่างๆ ต่างสอบถามเพื่อนต่างกระทรวงกันบนเครือข่ายออนไลน์มากว่าปลัดกระทรวงใดจะไปตามที่ ศอ.รส. นัดไว้หรือไม่ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่ลุ้นกันของหมู่ข้าราชการไปแล้วว่าในวันดังกล่าวจะมีใครไปหรือไม่ไปกันบ้าง บางคนก็มีการพนันขันต่อกันระหว่างเพื่อนฝูง
“ไม่แน่ ในอนาคตเราอาจได้เห็นการรวมตัวกันของปลัดกระทรวงต่างๆ เพื่อตอบโต้การใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาลที่เข้ามาก้าวก่ายอำนาจของข้าราชการประจำ เพราะข้าราชการในระดับนี้ทุกท่านมีวุฒิภาวะพอที่จะตัดสินใจได้ว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรถูกต้องเหมาะสมหรือไม่”
แนะยึดมั่นความดี-ตรงไปตรงมา
ข้าราชการระดับสูงรายนี้ยังชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติตนของข้าราชการในยุคนี้ว่า ต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่หวังลาภ ยศ ตำแหน่ง พร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ตำแหน่ง ลาภ ผลประโยชน์ และต้องตอบสนองให้ถูกใจรัฐบาล อีกกลุ่มเป็นพวกที่ขัดใจ มักจะถูกเล่นงาน สั่งย้ายไปที่ต่างๆ หากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการย้าย จากที่หนึ่งไปยังพื้นที่กันดาร
แต่นาทีนี้ด้วยความเป็นรัฐบาลรักษาการจึงมีข้อจำกัด การโอนย้ายข้าราชการระดับสูง ต้องขอต่อ กกต. ก่อน สถานะนี้ถือเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลรักษาการ
ดีที่สุดในการปฏิบัติตนของข้าราชการ คือ มั่นใจคุณงามความดี หนักแน่น การวางตัว ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้คุณโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนเรื่องการออกไปร่วมชุมนุมถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล
ข้าราชการเราอยู่กับข้อมูล อยู่กับแนวทางปฏิบัติของนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล พวกเขารู้ดีว่าอะไรถูกต้องหรือไม่ เดิมข้าราชการก็ไม่เอาด้วยกับรัฐบาลโกงหรือเผด็จการในทางประชาธิปไตยอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูป แต่เขาเกรงใจรัฐบาล รักษามารยาทและวินัย หากรัฐบาลใจกว้าง หน่วยงานเขาก็ไม่ทำอะไร ไม่ออกไปให้การต้อนรับ กปปส. รัฐบาลก็ไม่เสียหายในเรื่องภาพลักษณ์ แต่นี่หวั่นไหวเกินไป ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลแย่ลง และจะกลายเป็นแรงผลักดันให้ข้าราชการออกไปร่วมกับ กปปส. มากขึ้น
การนัดหมายข้าราชการระดับปลัดกระทรวงครั้งนี้ น่าจะเป็นแนวคิดของกุนซือรัฐบาลที่เคยชินกับการสั่งข้าราชการให้อยู่ในอาณัติ อยู่ในโอวาท แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ เอ็นจีโอ ต่างเห็นด้วยกับการปฏิรูป คนที่ให้คำแนะนำรัฐบาลน่าจะเป็นการประเมินที่ผิดพลาด ดังนั้นดีที่สุดคือการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น
ในระหว่างที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่าย กปปส. ต่างต้องรอผลการชี้ขาดของคดีทั้งจากการชี้มูลความผิดของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คดีทุจริตโครงการจำนำข้าว ที่อยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช. และคดีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่อยู่ในมือศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากทั้ง 2 คดีนี้จะชี้เป็นชี้ตายถึงสถานภาพของนางสาวยิ่งลักษณ์
การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อ 5 เมษายน 2557 ได้มุ่งโจมตีไปที่คำกล่าวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ถึงการประกาศตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ โดยมีการรับลูกกันอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ที่จะดำเนินการทางกฎหมายในข้อหากบฏกับนายสุเทพ หรือการรับลูกของกรมสอบสวนคดีพิเศษและศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.)
ทั้ง นปช. คนเสื้อแดง กรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ศอ.รส. กำลังสาละวนเอาผิดกับนายสุเทพเรื่องรัฏฐาธิปัตย์อยู่นั้น เลขาธิการ กปปส. กลับเดินหมากรุกด้วยการเดินสายเชิญชวนข้าราชการกระทรวงต่างๆ เข้าร่วมกับการปฏิรูปประเทศไทย
เริ่มจาก 8 เมษายนเดินสายไปกระทรวงยุติธรรมและได้เข้าพบนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม วันรุ่งขึ้น 9 เมษายนเดินทางไปที่กระทรวงกลาโหม และได้เข้าหารือกับพลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม
เดินหมากสกัด กปปส.
ในวันเดียวกันนั้นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้ออกมาแถลงตำหนินายสุเทพ และปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เพราะปลัดกระทรวงยุติธรรมมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และเป็นคณะกรรมการคดีพิเศษ
พร้อมยกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 43, 81 และ 82 ได้กำหนดให้ข้าราชการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ และต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
อีกทั้งนายสุเทพ และแกนนำ กปปส. ถูกดำเนินคดีในคดีพิเศษถึง 58 คน และมีหมายจับอยู่อีกด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมควรจะแจ้งให้พนักงานสอบสวนเข้าจับกุมดำเนินคดีนายสุเทพกับพวก ไม่ใช่การให้การต้อนรับ
ดังนั้น ศอ.รส. จึงกำหนดเรียกเชิญปลัดกระทรวงทุกกระทรวงมาประชุมเพื่อกำชับ ตักเตือน และทำความเข้าใจต่อการปฏิบัติในเรื่องเช่นนี้ ในวันที่ 17 เมษายน 2557 เวลา 14.00 น. และกำหนดว่าปลัดกระทรวงทุกคนต้องมาเข้าประชุมด้วยตนเอง
นี่คือการถอยกลับมาเพื่อรับมือกับ กปปส. ของฝ่ายรัฐบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้เทน้ำหนักไปที่เรื่องรัฏฐาธิปัตย์
เช็กข้าราชการแตกแถว
แต่คำตำหนิปลัดกระทรวงยุติธรรมดูเหมือนจะไร้ความหมาย เมื่อ กปปส. เดินหน้าไปที่สำนักชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 10 เมษายน และเข้าพบนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่งขึ้น 11 เมษายน เข้าพบนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทุกที่ที่นายสุเทพเดินทางไปนอกจากจะได้พบกับหัวหน้าข้าราชการระดับสูงของกระทรวงแล้ว ยังมีข้าราชการออกมาให้การต้อนรับ อาจจะมีเพียงที่กระทรวงกลาโหมเท่านั้นที่พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นคนของสายพรรคเพื่อไทย
ปฏิบัติการเช็กกำลังของพรรคเพื่อไทยจึงเริ่มขึ้นที่กระทรวงยุติธรรม ในวันที่ 11 เมษายน โดยนายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดให้ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม รดน้ำดำหัวเนื่องในวันสงกรานต์ วันดังกล่าวปลัดกระทรวงยุติธรรมไม่ได้เดินทางมาร่วมงาน แจ้งว่าป่วยกะทันหัน นอกจากนี้คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และพันตำรวจเอกดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ก็ไม่ได้เดินทางเข้าร่วมงาน
ข้าราชการไม่ร่วมมือรัฐหมดสภาพ
“เรียนตามตรงว่าที่กระทรวงสาธารณสุข และที่กระทรวงยุติธรรมนั้น ค่อนข้างชัดเจนว่าผู้บริหารและข้าราชการส่วนใหญ่ในกระทรวงมีแนวคิดอย่างไร และกระทรวงอื่นที่ไปนั้นส่วนใหญ่ก่อนที่จะไปก็ต้องประสานงานกันไว้ล่วงหน้าแล้วทั้งนั้น บางกระทรวงก็แจ้งกลับมาว่ายังไม่พร้อมที่จะให้ กปปส. เดินทางไป แต่ท่าทีของข้าราชการเหล่านั้นเห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูป” หนึ่งในแกนนำ กปปส. กล่าว
นาทีนี้รัฐบาลยังกุมความได้เปรียบทางด้านกฎหมายในเรื่องรัฐบาลรักษาการ ที่จะต้องอยู่จนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน ยิ่งการเลือกตั้งเมื่อ 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ ยิ่งทำให้พรรคเพื่อไทยอยู่ในสถานะรัฐบาลรักษาการยาวนานขึ้น ขณะที่ฝ่ายต่อต้านต้องการเปลี่ยนรัฐบาล ก็ติดขัดในเรื่องดังกล่าว
ดังนั้นทางออกที่จะทำให้รัฐบาลรักษาการประสบปัญหาในการทำงานมากขึ้น คือ ต้องทำให้เครื่องมือของรัฐหยุดทำงาน จักรกลที่สำคัญที่สุดคือข้าราชการ
ประกอบกับในเวลานี้รัฐบาลกำลังตกอยู่ในสถานะลำบาก เนื่องจากการตัดสินคดีความทั้งทุจริตจำนำข้าวและการโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม ใกล้จะมีคำตัดสินออกมา และเมื่อประเมินแนวโน้มแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่คำตัดสินนั้นอาจทำให้รัฐบาลต้องพ้นสภาพไป
จุดอ่อนรัฐบาลรักษาการ
อีกทั้งยังมีปัจจัยทางด้านกฎหมายที่ระบุว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ระบุว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180(2) อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยเฉพาะ (1) ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้จึงทำให้กลุ่ม กปปส. เดินเครื่องรณรงค์ข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ให้เห็นด้วยกับแนวทางปฏิรูปประเทศและออกมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. เพราะแม้จะมีข้าราชการระดับสูงอย่างปลัดกระทรวงออกมาให้การต้อนรับ กปปส. แต่ภายใต้รัฐบาลรักษาการนั้นไม่สามารถที่จะโยกย้ายข้าราชการในระดับนี้ได้สะดวก เหมือนเมื่อครั้งเป็นรัฐบาลปกติ หรือแม้จะขอความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็คงไม่ง่าย เมื่อมุมมองของรัฐบาลกับ กกต. ที่ผ่านมามักไม่เห็นตรงกัน
ที่สำคัญหากจะย้ายข้าราชการในลำดับที่รองลงไปก็ต้องกระทำการผ่านระดับปลัดกระทรวง หากปลัดกระทรวงไม่ดำเนินการต่อ รัฐบาลก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้
หากปล่อยให้ กปปส. ออกรณรงค์ข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ที่เหลือ ย่อมไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะถ้าข้าราชการทั้งหมดพร้อมใจกันที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลแล้ว รัฐบาลก็ไม่มีสถานะความเป็นรัฐบาลอีกต่อไป
ดังนั้น ศอ.รส. จึงต้องนัดทำความเข้าใจกับข้าราชการระดับปลัดกระทรวงในวันที่ 17 เมษายนนี้ เพื่อสกัดกั้นการปฏิเสธคำสั่งของรัฐบาลจากข้าราชการกระทรวงต่างๆ และเป็นการเช็กแถวข้าราชการกระทรวงต่างๆ ว่าใครยังพร้อมที่จะยืนเคียงข้างรัฐบาลบ้าง
สวดรัฐบาลไม่เป็นกลาง
ข้าราชการระดับปลัดกระทรวงรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตการนัดประชุมข้าราชการระดับปลัดกระทรวงวันที่ 17 เมษายนนี้ว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ในเวลานี้ถือเป็นการลุแก่อำนาจ โดยอ้างถึงให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง แต่การเรียกประชุมข้าราชการระดับปลัดกระทรวงในวันที่ 17 นี้ เป็นการกระทำที่ไม่เป็นกลางของรัฐบาลแล้ว
การวางตัวของข้าราชการที่เป็นกลางทางการเมือง ต้องไม่ให้คุณให้โทษแก่นักการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนเรื่องความดีความชั่วนั้นข้าราชการวางตัวเป็นกลางไม่ได้ ต้องอยู่ในข้างที่ถูกต้อง สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่คือให้ข้าราชการยืนอยู่ข้างรัฐบาล เพื่อไม่ให้การตอบรับต่อข้อเรียกร้องของ กปปส.
“เราไม่ได้เป็นลูกจ้างนักการเมือง เราเป็นลูกจ้างประชาชน ข้าราชการเป็นลูกจ้างประจำ ส่วนรัฐบาลเป็นลูกจ้างชั่วคราว ข้าราชการอย่างพวกเรา ไม่ได้ถูกจ้างมาให้เป็นข้าทาสบริวารของรัฐบาล เรามีหน้าที่รับใช้ประชาชน รับใช้ประเทศนี้ แม้ว่าระบบการทำงานเราจะต้องทำงานให้กับรัฐบาล แต่ก็ต้องทำเพื่อดูแลผลประโยชน์ของประชาชนทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เราก็ต้องทำงานให้กับทุกฝ่าย”
ดังนั้นในวันที่ 17 นี้ ทาง ศอ.รส. ที่เรียกประชุมข้าราชการในระดับอธิบดีคงกำกับข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือกับ กปปส. หรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หากจะอ้างถึงการที่กลุ่ม กปปส. มีคดีความติดตัวนั้น ขณะนี้แกนนำของ กปปส. เป็นเพียงผู้ต้องหา ยังไม่ใช่นักโทษ
ที่ผ่านมาข้าราชการก็พยายามทำอะไรที่ไม่ขัดใจต่อฝ่ายรัฐบาลอยู่แล้ว เรื่องเหล่านี้พวกเรามีดุลพินิจเพียงพอ ในวันนั้นชัดเจนแล้วว่านายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาจจะไม่มา และอาจมีมากกว่านี้อย่าง นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม หรือกระทรวงอื่นๆ อาจมีการส่งระดับรองปลัดไปประชุมแทน หากปลัดกระทรวงไม่ไป ก็คงไม่โดนลงโทษอะไร เพราะรัฐบาลอยู่ในสถานะที่ง่อนแง่น และการกระทำดังกล่าวถือเป็นการท้าทายต่อข้าราชการประจำ
ตอนนี้ข้าราชการกระทรวงต่างๆ ต่างสอบถามเพื่อนต่างกระทรวงกันบนเครือข่ายออนไลน์มากว่าปลัดกระทรวงใดจะไปตามที่ ศอ.รส. นัดไว้หรือไม่ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่ลุ้นกันของหมู่ข้าราชการไปแล้วว่าในวันดังกล่าวจะมีใครไปหรือไม่ไปกันบ้าง บางคนก็มีการพนันขันต่อกันระหว่างเพื่อนฝูง
“ไม่แน่ ในอนาคตเราอาจได้เห็นการรวมตัวกันของปลัดกระทรวงต่างๆ เพื่อตอบโต้การใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาลที่เข้ามาก้าวก่ายอำนาจของข้าราชการประจำ เพราะข้าราชการในระดับนี้ทุกท่านมีวุฒิภาวะพอที่จะตัดสินใจได้ว่าอะไรดี ไม่ดี อะไรถูกต้องเหมาะสมหรือไม่”
แนะยึดมั่นความดี-ตรงไปตรงมา
ข้าราชการระดับสูงรายนี้ยังชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติตนของข้าราชการในยุคนี้ว่า ต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่หวังลาภ ยศ ตำแหน่ง พร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ตำแหน่ง ลาภ ผลประโยชน์ และต้องตอบสนองให้ถูกใจรัฐบาล อีกกลุ่มเป็นพวกที่ขัดใจ มักจะถูกเล่นงาน สั่งย้ายไปที่ต่างๆ หากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการย้าย จากที่หนึ่งไปยังพื้นที่กันดาร
แต่นาทีนี้ด้วยความเป็นรัฐบาลรักษาการจึงมีข้อจำกัด การโอนย้ายข้าราชการระดับสูง ต้องขอต่อ กกต. ก่อน สถานะนี้ถือเป็นจุดอ่อนของรัฐบาลรักษาการ
ดีที่สุดในการปฏิบัติตนของข้าราชการ คือ มั่นใจคุณงามความดี หนักแน่น การวางตัว ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้คุณโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนเรื่องการออกไปร่วมชุมนุมถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล
ข้าราชการเราอยู่กับข้อมูล อยู่กับแนวทางปฏิบัติของนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล พวกเขารู้ดีว่าอะไรถูกต้องหรือไม่ เดิมข้าราชการก็ไม่เอาด้วยกับรัฐบาลโกงหรือเผด็จการในทางประชาธิปไตยอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูป แต่เขาเกรงใจรัฐบาล รักษามารยาทและวินัย หากรัฐบาลใจกว้าง หน่วยงานเขาก็ไม่ทำอะไร ไม่ออกไปให้การต้อนรับ กปปส. รัฐบาลก็ไม่เสียหายในเรื่องภาพลักษณ์ แต่นี่หวั่นไหวเกินไป ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลแย่ลง และจะกลายเป็นแรงผลักดันให้ข้าราชการออกไปร่วมกับ กปปส. มากขึ้น
การนัดหมายข้าราชการระดับปลัดกระทรวงครั้งนี้ น่าจะเป็นแนวคิดของกุนซือรัฐบาลที่เคยชินกับการสั่งข้าราชการให้อยู่ในอาณัติ อยู่ในโอวาท แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว ทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ เอ็นจีโอ ต่างเห็นด้วยกับการปฏิรูป คนที่ให้คำแนะนำรัฐบาลน่าจะเป็นการประเมินที่ผิดพลาด ดังนั้นดีที่สุดคือการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น