คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“ในหลวง-พระราชินี” พระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ หลังประทับวังไกลกังวลครบ 3 สัปดาห์!
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงถึงพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หลังเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ครบ 3 สัปดาห์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้กลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ซึ่งเปรียบเสมือนบ้าน การฟื้นฟูร่างกายจะดีขึ้น ทางการแพทย์เรียกว่า การรักษาที่ไม่ใช้ยาในการรักษาโรค การที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ วังไกลกังวล ทำให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญและมีพระหทัยดีขึ้น การฟื้นฟูพระวรกายก็เป็นไปด้วยดี จนเป็นที่น่าพอใจของคณะแพทย์
ศ.คลินิก นพ.อุดม ยังแถลงด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปยังศาลาแปดเหลี่ยม บริเวณริมทะเลน้อยเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถ เนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย สำหรับกิจกรรมที่พระองค์โปรดคือ ทรงพระดำเนินไปให้อาหารปลาที่ท่าลดา และเสด็จฯ ไปที่อู่และโรงเก็บเรือใบที่อยู่ในความสนพระทัย นอกจากนี้คณะแพทย์ยังถวายกายภาพบำบัดที่สระน้ำ หรือที่เรียกว่า “ไฮโดรเธอราปี” โดยรวมถือว่าพระอาการพระองค์ดีขึ้น และว่า ล่าสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระประสงค์จะเสด็จฯ ยังโครงการศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรเขากระปุกตามพระราชดำริ และโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการ
สำหรับพระอาการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ศ.คลินิก นพ.อุดม เผยว่า ขณะนี้พระหทัยดีขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน ทรงพระดำเนินทุกเย็น ส่วนกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบจนส่งผลให้พระกรขยับไม่สะดวกนั้น ขณะนี้ดีขึ้นมากแล้ว เจ้าหน้าที่ได้ถวายกายภาพบำบัด โดยรวมถือว่าพระอาการดีขึ้นทุกด้านเช่นกัน
2.แกนนำพันธมิตรฯ ออกแถลงการณ์ฉบับสุดท้ายประกาศยุติบทบาท หวังเปิดทางมวลชนเคลื่อนไหวได้อิสระ -พร้อมรวมตัวอีกครั้งเมื่อถึงเวลา!
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง แถลงการณ์ฉบับสุดท้าย โดยสรุปความได้ว่า ตามที่พันธมิตรฯ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมาว่าจะยังไม่นำมวลชนเคลื่อนไหวในเวลานี้ เนื่องจากพันธมิตรฯ ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คนอย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แม้พันธมิตรฯ พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรม แต่ศาลอาญาก็ให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไข ดังนั้นหากแกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมภายใต้เงื่อนไขของศาล ก็เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดยุทธวิธีให้ได้รับชัยชนะ แต่หากพันธมิตรฯ ชุมนุมโดยฝ่าฝืนคำสั่งศาล การเสียสละนั้นจะต้องได้รับผลคุ้มค่าที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้จริง ไม่ใช่เสียสละเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาฯ
เมื่อวิเคราะห์แล้วพันธมิตรฯ จึงเห็นว่า การเสียสละชุมนุมเพื่อแก้ปัญหารายประเด็นในเวลานี้ ย่อมไม่คุ้มค่ากับผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ เพราะหลังชุมนุม ศาลอาจถอนประกัน หรือต่อให้การชุมนุมขับไล่รัฐบาลได้สำเร็จ ก็อาจจบลงด้วยการยุบสภาที่พรรคเพื่อไทยก็จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก หรือหากมีการสลับขั้วการเมืองหรือการรัฐประหาร โดยไม่มีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปประเทศ วิกฤตของชาติก็จะยังอยู่เหมือนเดิม จึงไม่คุ้มค่าที่แกนนำพันธมิตรฯ จะนำการชุมนุม โดยพันธมิตรฯ กำหนดความคุ้มค่าของการชุมนุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไว้ที่ “การชุมนุมเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองที่ล้มเหลวในปัจจุบัน และปฏิรูปประเทศเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเท่านั้น”
แถลงการณ์พันธมิตรฯ ยังประณามนักการเมืองพรรคเพื่อไทยที่ทำตัวเป็นทาสในระบอบทักษิณ ไม่มีสำนึกต่อประโยชน์ของชาติและสร้างวิกฤตให้ประเทศไม่มีวันจบสิ้น ทั้งการแก้กฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมให้ตัวเองและพวกพ้อง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้วุฒิสภาอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะตัวแทนแกนนำพันธมิตรฯ จึงได้หาแนวร่วมเพื่อแก้ไขวิกฤตชาติ โดยเสนอทางออกให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เสียสละลาออกเพื่อหยุดความชอบธรรมของระบอบเผด็จการรัฐสภาและมานำมวลมหาประชาชนทั่วประเทศเคลื่อนไหวเพื่อหยุดระบบการเมืองที่ล้มเหลว เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง และการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน 65 ล้านคน โดยแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมจะเสียสละและร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ในการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองครั้งนี้ เพราะเห็นว่าคุ้มค่ากับความเสี่ยงเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ
แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธ ไม่เสียสละลาออกจากระบบการเมืองที่ล้มเหลวเพื่อออกมาร่วมสู้กับประชาชน แสดงว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงหวังเพียงแค่ทำลายความน่าเชื่อถือฝ่ายรัฐบาล หรือหวังสลับขั้วการเมืองในวันข้างหน้า หรือหวังโค่นล้มรัฐบาลโดยสนับสนุนมวลชนกลุ่มอื่นให้เสียสละแทนตัวเอง หรือไม่พรรคการเมืองทุกพรรคในสภาฯ อาจกำลังสมรู้ร่วมคิดเพื่อรักษาระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้ไว้เพื่อรออำนาจและผลประโยชน์ของตัวเองในวันข้างหน้า จึงทำให้ไม่สามารถเชื่อได้ว่าจะมีการปฏิรูปประเทศภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพันธมิตรฯ วิเคราะห์แล้วว่า แนวทางที่พรรคการเมืองทุกพรรคกำลังเดินหน้าอยู่นั้น จะนำไปสู่ความชอบธรรมของระบอบทักษิณที่จะได้รับชัยชนะในระบบรัฐสภามากขึ้น และจะกระชับอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนยากจะเยียวยาได้
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ไม่เสียสละนำการชุมนุม จึงเป็นไปไม่ได้ที่แกนนำพันธมิตรฯ จะมีฐานะนำมวลชนได้จริงท่ามกลางสถานการณ์และเงื่อนไขในปัจจุบัน ประกอบกับการดำรงอยู่ของแกนนำพันธมิตรฯ อาจเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหวของมวลชนกลุ่มอื่นที่อาจไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ ดังนั้นแกนนำพันธมิตรฯ ทั้งรุ่น 1 และ 2 จึงมีมติเอกฉันท์ยุติบทบาทจากฐานะแกนนำ เพื่อเปิดโอกาสให้แกนนำ นักปราศรัย ศิลปิน พิธีกร ประชาชน ฯลฯ ได้ตัดสินใจด้วยตัวเองที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมกับกลุ่มใดก็ได้อย่างอิสระเสรี ไม่ต้องรอมติจากแกนนำพันธมิตรฯ อีก รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดขบวนการใหม่ในสังคมไทยด้วย
ทั้งนี้ แถลงการณ์พันธมิตรฯ ยืนยันว่า การยุติบทบาทครั้งนี้ถือเป็นยุทธวิธีเดียวเท่านั้นที่จะเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในปัจจุบัน หรือผู้ที่มีโอกาสจะมีอำนาจในอนาคต รวมทั้งทหาร และศาล ตลอดจนผู้มีบทบาทในบ้านเมืองและประชาชนทั่วไป ได้ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่ของตนเอง มากกว่าที่จะคาดหวังหรือรอมติการนำมวลชนจากแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมชี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ยังคงเป็นปัญหาส่วนหนึ่งของประเทศและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ต้องรับผิดชอบในผลที่จะเกิดขึ้นต่อบ้านเมืองด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แกนนำพันธมิตรฯ ย้ำว่า แม้แกนนำจะยุติบทบาทแล้ว แต่ทุกคนยังคงเป็นพันธมิตรฯ เหมือนเดิม และพันธมิตรฯ ยังคงอยู่เช่นเดิม อุดมการณ์ความเป็นพันธมิตรฯ ยังอยู่ในสายเลือดและจิตใจของทุกคนเหมือนเดิม และพันธมิตรฯ ยังมีหน้าที่ต่อสู้คดีความและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ที่สูญเสีย บาดเจ็บ และเสียชีวิตต่อไป โดยระหว่างนี้ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เว็บไซต์แมเนเจอร์ สื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุในเครือ ASTVผู้จัดการ จะยังคงเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การให้ปัญญาแก่ประชาชนและการปฏิรูปประเทศ ขณะที่แกนนำแม้จะยุติบทบาท แต่จะยังคงให้ปัญญากับประชาชนเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศต่อไป เมื่อใดที่สถานการณ์พร้อมและประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ หรือผู้มีอำนาจหรือผู้ที่มีโอกาสจะเข้าสู่อำนาจเสียสละอำนาจและผลประโยชน์เพื่อปฏิรูปประเทศเพื่อผลประโยชน์ของคนไทย 65 ล้านคนเมื่อใด แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมจะกลับมารวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวมวลชนอีกครั้ง หากวันนั้นพี่น้องประชาชนยังต้องการแกนนำพันธมิตรฯ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงการประกาศยุติบทบาทของแกนนำพันธมิตรฯ ว่า ตนเข้าใจและเคารพการตัดสินของแกนนำพันธมิตรฯ ที่สู้กับระบอบทักษิณมาตลอด และขอขอบคุณแกนนำทุกคน พร้อมชมว่า มวลชนพันธมิตรฯ เป็นมวลชนที่มีคุณภาพ ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์จะสานต่อเจตนารมณ์ของพันธมิตรฯ ที่ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องและระบอบทักษิณให้สำเร็จเพื่อให้คุ้มค่ากับความสูญเสียในอดีต นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ ยังชวนให้มวลชนพันธมิตรฯ มาร่วมต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์ หากสบายใจและสนิทใจแล้ว
ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงกรณีที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ลาออกเพื่อมานำมวลชนว่า หาก ส.ส.ของพรรคทั้ง 150 คนลาออก แล้วมีการเลือกตั้งใหม่ ก็จะหวานคอ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะพรรคเพื่อไทยจะได้กลับเข้ามาทั้ง 150 คน กฎหมายที่ค้างอยู่ทุกฉบับก็จะผ่านหมด “พวกผมไม่ได้ยึดติดตำแหน่ง ไม่ใช่ว่าเป็น ส.ส.แล้วมันจะเป็นจะตาย แต่มันเป็นความภาคภูมิใจของพวกผม คือได้เป็นตัวแทนของประชาชนไปรักษาผลประโยชน์ของประชาชนในสภา แต่หากว่าเราต่อสู้ตามกระบวนการรัฐสภาถึงที่สุดแล้ว...รัฐบาลนี้ ตลอดจนลิ่วล้อ ขี้ข้าทักษิณทั้งหลายมีเจตนาร้ายต่อประเทศชาติ ต้องการยึดอำนาจไว้ใต้อุ้งเท้าของพวกเขาโดยไม่สนใจความถูกต้อง เมื่อเราประจักษ์ชัดเห็นพร้อมกันอย่างนั้นแล้ว พวกเราจะเป่านกหวีด”
ส่วนมุมมองของนักวิชาการต่อการประกาศยุติบทบาทของแกนนำพันธมิตรฯ นั้น นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า น่าจะทำให้พรรคเพื่อไทยสบายใจหรือถึงขั้นเหลิงอำนาจได้ เพราะไม่มีคนคอยคัดค้าน ซึ่งตนเชื่อว่าไม่เกินกลางปีหน้าจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ตามที่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และหาก ส.ว.เลือกตั้งเป็นบรรดาญาติพี่น้องของ ส.ส. ประชาชนก็จะเห็นภาพเผด็จการเสียงข้างมากกินรวบหมดทุกองค์กรได้ชัดขึ้น เมื่อถึงตอนนั้นประชาชนจะทนไม่ได้และออกมาเรียกร้องต่อต้าน ซึ่งอาจรวมถึงพันธมิตรฯ ด้วย จึงน่าจะถือได้ว่าการยุติบทบาทของพันธมิตรฯ ก็เพื่อให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวและเห็นพิษร้ายของเผด็จการเสียงข้างมากจนทนอยู่นิ่งไม่ไหว
3. รัฐสภาป่วน หลัง ปชป.ไม่พอใจปิดปากฝ่ายค้านแปรญัตติแก้ที่มา ส.ว. ด้าน “สมศักดิ์”งัดค้อนทุบ -สั่งตำรวจจับดะ เจอฝ่ายค้านโห่ไล่ “ขี้ข้าทักษิณ”!
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ได้มีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ในวาระ 2 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีการแก้ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ยกเลิก ส.ว.สรรหา มีการเพิ่มจำนวน ส.ว.จาก 150 คน เป็น 200 คน ให้ ส.ว.มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และสามารถลงสมัครต่อได้ไม่ต้องเว้นวรรค พร้อมเปิดทางให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ลงสมัคร ส.วได้ทันที ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองมา 5 ปีดังที่รัฐธรรมนูญ 2550 ระบุ นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขโดยเปิดโอกาสให้บุพการี สามีภรรยา หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงสมัคร ส.ว.ได้ด้วย ซึ่งการแก้ไขในลักษณะดังกล่าวถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่า จะทำให้วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร กลายเป็น “สภาผัวเมีย” ดังเช่นเมื่อปี 2544-2548 ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐธรรมนูญ 2540 ระบุให้มี ส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียว ทำให้ผู้สมัคร ส.ว.ส่วนใหญ่เลือกที่จะผูกโยงกับพรรคการเมือง เพื่อให้มีฐานเสียง จึงจะได้รับเลือกตั้ง และหากวุฒิสภาถูกฝ่ายการเมืองครอบงำ ก็จะส่งผลต่อการคัดเลือกบุคคลไปนั่งในองค์กรอิสระต่างๆ เช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการประชุมเมื่อวันที่ 20 ส.ค.เป็นไปด้วยความวุ่นวายทั้งวัน และมีการสั่งพักการประชุมหลายครั้ง หลังพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ไม่พอใจที่ที่ประชุมเสียงข้างมากลงมติไม่ให้สิทธิอภิปรายแก่ ส.ส.และ ส.ว.57 คนที่ขอแปรญัตติไว้หลายประเด็น เช่น ให้ ส.ว.มาจากการสรรหาเหมือนเดิม โดยที่ประชุมอ้างว่าจะอภิปรายขัดต่อหลักการที่ให้มี ส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้ ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ประท้วง ลุกขึ้นยืนและส่งเสียงโห่เป็นระยะๆ สุดท้ายเหตุการณ์บานปลาย เมื่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้หยิบค้อนออกมาเคาะ 3 ครั้ง ก่อนสั่งให้ตำรวจสภาทั้งหมดเข้ามาในห้องประชุม เพื่อนำตัว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ออกจากห้องประชุม “ขอเชิญตำรวจรัฐสภาทั้งหมดเข้ามา ท่านใดไม่นั่งให้เชิญตัว นำตัวออกไปทีละท่าน ไม่ต้องรีรอ ถ้าตำรวจสภาไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา จะตั้งกรรมการสอบ เชิญนำตัวออกไปทีละท่าน”
ทั้งนี้ ระหว่างที่ตำรวจสภากำลังทำตามคำสั่งของนายสมศักดิ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ตะโกนเป็นระยะๆ ว่า “สภาทาส” และ “ขี้ข้าทักษิณ” ขณะที่ ส.ส.หญิงบางคนได้กรีดร้อง เพราะตกใจที่ตำรวจสภาพยายามจะเข้ามาจับตัว ขณะเดียวกันก็มีตำรวจสภากว่า 10 นายคอยปกป้องบัลลังก์ประธานที่ประชุม จากนั้นได้เกิดเหตุชุลมุนและกระทบกระทั่งกันเล็กน้อยระหว่าง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กับตำรวจสภาที่พยายามจะนำตัวออกจากห้องประชุม ด้านนายสมศักดิ์ตัดสินใจสั่งพักการประชุม
เมื่อเปิดประชุมอีกครั้ง นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ขึ้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ลุกขึ้นประท้วงว่านายสมศักดิ์สั่งตำรวจมาคุกคามสมาชิกรัฐสภาได้อย่างไร พร้อมตะโกนว่า ออกไปๆ” ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ยังแฉด้วยว่า มีตำรวจปราบจลาจลตรึงกำลังอยู่ด้านหน้ารัฐสภา ขอให้ประธานสั่งให้ตำรวจดังกล่าวออกไป กระทั่งมีการสั่งพักประชุม เพื่อตรวจสอบและขอให้ตำรวจดังกล่าวออกจากพื้นที่ เมื่อการประชุมเริ่มขึ้นอีกครั้ง ปรากฏว่า น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นพูดเหน็บแนม ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ โดยบอกว่า อยากให้ตำรวจอยู่ในสภาต่อไป เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย เนื่องจากอยู่ดีดี ก็มีเสียงคล้ายชะนีโหยหวนเหมือนโดนน้ำร้อนลวก ทำให้นึกว่าอยู่ในสวนสัตว์ดุสิต ร้อนถึงนางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ต้องลุกขึ้นประท้วงให้ น.ส.ขัตติยาถอนคำพูด แต่ น.ส.ขัตติยา ไม่ยอมถอน แถมพูดเหมือนอวดตัวว่าสวยและใสกว่านางนาถยา “เรื่องความสวย ช่วยไม่ได้ เด็กกว่า ใสกว่า ต้องสู้กันนิดหนึ่ง ส่วนจะให้ถอนคำว่า ชะนีโหยหวนไม่ได้ว่าใครเฉพาะเจาะจง ทางบ้านส่งมา คิดว่าที่นี่ไม่ใช่รัฐสภา นึกว่าสวนสัตว์ดุสิต ขออนุญาตไม่ถอน” นางนาถยา จึงได้สวนกลับว่า “ถอยลงไปเยอะ สภาไม่ใช่สภาโจ๊ก ไม่ใช่ละคร ที่ทุกคนจะคิดว่าตัวเองเป็นนางเอก สวยไม่สวยไม่เกี่ยว เพราะในสภาต้องใช้สติปัญญา” ซึ่งภายหลัง น.ส.ขัตติยา ได้ยอมถอนคำพูด
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้บรรยากาศจะเป็นไปด้วยความวุ่นวาย แต่ที่ประชุมเสียงข้างมากก็ได้เดินหน้าลงมติผ่านมาตรา 1 ว่าด้วยชื่อของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. ด้วยคะแนน 330 ต่อ 6 เสียง ก่อนเลื่อนพิจารณามาตรา 2 ว่าด้วยวันบังคับใช้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเป็นวันรุ่งขึ้น(21 ส.ค.)
สำหรับบรรยากาศการประชุมวันที่สองดีกว่าวันแรก เนื่องจากได้มีการประชุมวิป 3 ฝ่าย(ฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน-วุฒิสภา) และตกลงว่าจะคืนสิทธิอภิปรายให้ ส.ส.-ส.ว.ทั้ง 57 คนที่ขอแปรญัตติไว้ โดยจะให้เริ่มตั้งแต่มาตรา 2 ไม่ย้อนไปมาตรา 1 ทั้งนี้ แม้จะมี ส.ส.-ส.ว.อภิปรายขอให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 ปี เพื่อให้ ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันได้เว้นวรรค ไม่ใช่ลงสมัครทันที ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ในที่สุด ก็ไม่สามารถทัดทานเสียงข้างมากได้ โดยที่ประชุมมีมติ 349 ต่อ 157 เสียง ให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จากนั้นได้มีการพิจารณามาตรา 3 ว่าด้วยจำนวน ส.ว.ที่ให้เพิ่มจากเดิม 150 คนเป็น 200 คน และให้มีแต่ ส.ว.เลือกตั้ง ยกเลิก ส.ว.สรรหา ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยบางจังหวัดอาจมี ส.ว.มากกว่า 1 คน ทั้งนี้ การอภิปรายมาตรา 3 ยังไม่แล้วเสร็จ ประธานที่ประชุมจึงได้นัดพิจารณาต่อในวันรุ่งขึ้น(22 ส.ค.) แต่ที่สุดแล้ว วันที่ 22 ส.ค.ก็ยังอภิปรายมาตรา 3 ไม่แล้วเสร็จ ประธานจึงได้นัดพิจารณาต่อในวันที่ 27-29 ส.ค.
เหตุที่ประธานไม่นัดประชุมต่อในวันรุ่งขึ้น(23 ส.ค.) เนื่องจากวันดังกล่าวได้นัดประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท ในวาระ 2 ต่อ หลังการประชุมเมื่อวันที่ 14-17 ส.ค.ยังอภิปรายไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้ ที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 ส.ค.ใช้เวลาอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบฯ จนดึก ก่อนที่เสียงข้างมากจะมีมติ 290 ต่อ 136 เสียง ผ่านวาระ 3 โดยมีผู้งดออกเสียง 19 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง รวมแล้วใช้เวลาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯ ในวาระ 2 และ 3 รวมทั้งสิ้น 5 วัน
4.“ยิ่งลักษณ์” เปิดประชุมปฏิรูปประเทศ ไร้เงา ปชป.-พันธมิตรฯ ตั้ง “บรรหาร” มือประสานโรดแมป!
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานเปิดการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทางออกประเทศไทยนัดแรก ในหัวข้อ “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า มีผู้ตอบรับเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 66 คน สำหรับผู้ที่ไม่ได้ตอบรับเข้าร่วม ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. และนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เป็นต้น
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดการประชุมโดยยืนยันว่า รัฐบาลมีความจริงใจในการเป็นเจ้าภาพจัดพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ประเทศและมองไปยังอนาคตข้างหน้า พร้อมอ้างว่า เหตุที่รัฐบาลมองแต่อนาคต ไม่คุยเรื่องปัจจุบันที่ยังหาทางออกไม่ได้ เช่นทำไมไม่ถอนกฎหมายออกจากสภา เนื่องจากสภาเป็นเวทีแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่เวทีนี้เป็นของภาคประชาชน และว่า เดือนหน้าจะมีเวทีทางวิชาการ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเวทีปฏิรูปประเทศ โดยได้เชิญผู้นำต่างประเทศมาร่วม เช่น นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งจะมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าจะร่วมแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้ยกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2556 ให้ทุกคนน้อมนำมาปฏิบัติในการหาทางออกของประเทศด้วยว่า ทรงปรารถนาจะเห็นคนไทยตั้งจิตตั้งใจให้มั่นอยู่ในความเมตตาและหวังดีต่อกัน ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้กำลังใจแก่กันและกัน ผูกพันไว้ฉันท์มิตร
สำหรับการประชุมปฏิรูปประเทศครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมต่างเสนอวิธีแก้ปัญหาและหาทางออกให้ประเทศแตกต่างกันไป กระทั่งช่วงสุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สรุปผลหารือว่า จะนำโจทย์ที่ได้จากที่ประชุมมากำหนดกรอบในการทำงานร่วมกันภายใต้ 7 หลักใหญ่ ได้แก่ หลักการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความมั่นคงแข็งแรง ,หลักการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ หลักธรรมาภิบาลที่ดี ,หลักประชาธิปไตยที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ,หลักการไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการให้อภัยซึ่งกันและกัน ,หลักของประโยชน์ส่วนรวมและหลักของความถูกต้อง ฯลฯ พร้อมกันนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาโรดแมปของการปฏิรูปประเทศขึ้นมา 3 คณะ คือ คณะปฏิรูปการเมือง คณะปฏิรูปเศรษฐกิจ และคณะปฏิรูปสังคม พร้อมขอให้ผู้เข้าร่วมหารือแจ้งความจำนงว่าจะเข้าร่วมในคณะใด โดยให้นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นผู้ประสานงานของทั้ง 3 คณะ
5.ศาลฎีกา พิพากษายืนยกฟ้อง “สนธิ-สโรชา” ไม่หมิ่น “พล.ต.อ.สันต์” ชี้ ติชมด้วยความเป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ อดีตผู้ดำเนินรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และหมิ่นประมาทใส่ความโดยการแพร่ภาพ และการกระจายเสียงหรือป่าวประกาศ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2547 ว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2547 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท กล่าวหาว่า ยุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด โจทก์ไร้ประสิทธิภาพ แต่งตั้งตำรวจโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งไร้ประสิทธิภาพ และว่า โจทก์ไม่ให้ความเคารพองค์กรอิสระ คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่เคารพกฎหมาย ละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิม
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยในฐานะสื่อมวลชชนได้ติชมการทำงานของโจทก์โดยชอบธรรม และเป็นวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำ และเป็นการติชมโดยมุ่งไปที่การทำงานของโจทก์ ไม่ได้มุ่งไปที่เรื่องส่วนตัว และในฐานะที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้นจำเลยในฐานะสื่อมวลชน และประชาชนส่วนใหญ่จึงมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ซึ่งต่อมา โจทก์ได้ยื่นฎีกา
ขณะที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยวิพากษ์วิจารณ์และติชมโจทก์ด้วยความเป็นธรรม ในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. อันเป็นวิสัยของประชาชนที่สามารถกระทำได้ และแม้จะมีข้อความบางส่วนเป็นการหมิ่นประมาทอยู่บ้าง แต่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสื่อมวลชนก็ได้รับการยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) (3) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ด้านนายสนธิ เผยหลังฟังคำพิพากษาว่า ความจริงคดีนี้ควรจบไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องแล้ว แต่ พล.ต.อ.สันต์สนิทสนมกับอัยการสูงสุด ทำให้อัยการสูงสุดมีความเห็นให้สามารถยื่นฎีกาในคดีนี้ได้ ซึ่งตนไม่รู้มาก่อนว่าศาลฎีกาจะพิพากษาว่าอย่างไร หากศาลพิพากษาให้จำคุก ตนก็พร้อมยอมรับ ไม่หนี เพราะตนเชื่อในหลักนิติรัฐ บ้านเมืองจะอยู่ได้ก็เพราะหลักนิติรัฐเท่านั้น ไม่ใช่ทำผิดแล้วออกกฎหมายเพื่อมาแก้ความผิดในภายหลัง ส่วนจะฟ้องกลับ พล.ต.อ.สันต์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของตนจะดำเนินการต่อไป
1.“ในหลวง-พระราชินี” พระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ หลังประทับวังไกลกังวลครบ 3 สัปดาห์!
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงถึงพระอาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หลังเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ครบ 3 สัปดาห์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากได้กลับไปประทับ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ซึ่งเปรียบเสมือนบ้าน การฟื้นฟูร่างกายจะดีขึ้น ทางการแพทย์เรียกว่า การรักษาที่ไม่ใช้ยาในการรักษาโรค การที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ วังไกลกังวล ทำให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญและมีพระหทัยดีขึ้น การฟื้นฟูพระวรกายก็เป็นไปด้วยดี จนเป็นที่น่าพอใจของคณะแพทย์
ศ.คลินิก นพ.อุดม ยังแถลงด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำเนินไปยังศาลาแปดเหลี่ยม บริเวณริมทะเลน้อยเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อเปลี่ยนพระอิริยาบถ เนื่องจากมีอากาศเย็นสบาย สำหรับกิจกรรมที่พระองค์โปรดคือ ทรงพระดำเนินไปให้อาหารปลาที่ท่าลดา และเสด็จฯ ไปที่อู่และโรงเก็บเรือใบที่อยู่ในความสนพระทัย นอกจากนี้คณะแพทย์ยังถวายกายภาพบำบัดที่สระน้ำ หรือที่เรียกว่า “ไฮโดรเธอราปี” โดยรวมถือว่าพระอาการพระองค์ดีขึ้น และว่า ล่าสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระประสงค์จะเสด็จฯ ยังโครงการศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรเขากระปุกตามพระราชดำริ และโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการ
สำหรับพระอาการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ศ.คลินิก นพ.อุดม เผยว่า ขณะนี้พระหทัยดีขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน ทรงพระดำเนินทุกเย็น ส่วนกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบจนส่งผลให้พระกรขยับไม่สะดวกนั้น ขณะนี้ดีขึ้นมากแล้ว เจ้าหน้าที่ได้ถวายกายภาพบำบัด โดยรวมถือว่าพระอาการดีขึ้นทุกด้านเช่นกัน
2.แกนนำพันธมิตรฯ ออกแถลงการณ์ฉบับสุดท้ายประกาศยุติบทบาท หวังเปิดทางมวลชนเคลื่อนไหวได้อิสระ -พร้อมรวมตัวอีกครั้งเมื่อถึงเวลา!
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง แถลงการณ์ฉบับสุดท้าย โดยสรุปความได้ว่า ตามที่พันธมิตรฯ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมาว่าจะยังไม่นำมวลชนเคลื่อนไหวในเวลานี้ เนื่องจากพันธมิตรฯ ถูกกลั่นแกล้งโดยยัดเยียดข้อหาร้ายแรงอันเป็นเท็จ และเพิ่มผู้ต้องหาจำนวนถึง 96 คนอย่างอยุติธรรมในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แม้พันธมิตรฯ พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรม แต่ศาลอาญาก็ให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไข ดังนั้นหากแกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมภายใต้เงื่อนไขของศาล ก็เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดยุทธวิธีให้ได้รับชัยชนะ แต่หากพันธมิตรฯ ชุมนุมโดยฝ่าฝืนคำสั่งศาล การเสียสละนั้นจะต้องได้รับผลคุ้มค่าที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้จริง ไม่ใช่เสียสละเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาฯ
เมื่อวิเคราะห์แล้วพันธมิตรฯ จึงเห็นว่า การเสียสละชุมนุมเพื่อแก้ปัญหารายประเด็นในเวลานี้ ย่อมไม่คุ้มค่ากับผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ เพราะหลังชุมนุม ศาลอาจถอนประกัน หรือต่อให้การชุมนุมขับไล่รัฐบาลได้สำเร็จ ก็อาจจบลงด้วยการยุบสภาที่พรรคเพื่อไทยก็จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก หรือหากมีการสลับขั้วการเมืองหรือการรัฐประหาร โดยไม่มีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปประเทศ วิกฤตของชาติก็จะยังอยู่เหมือนเดิม จึงไม่คุ้มค่าที่แกนนำพันธมิตรฯ จะนำการชุมนุม โดยพันธมิตรฯ กำหนดความคุ้มค่าของการชุมนุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไว้ที่ “การชุมนุมเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองที่ล้มเหลวในปัจจุบัน และปฏิรูปประเทศเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเท่านั้น”
แถลงการณ์พันธมิตรฯ ยังประณามนักการเมืองพรรคเพื่อไทยที่ทำตัวเป็นทาสในระบอบทักษิณ ไม่มีสำนึกต่อประโยชน์ของชาติและสร้างวิกฤตให้ประเทศไม่มีวันจบสิ้น ทั้งการแก้กฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมให้ตัวเองและพวกพ้อง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้วุฒิสภาอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะตัวแทนแกนนำพันธมิตรฯ จึงได้หาแนวร่วมเพื่อแก้ไขวิกฤตชาติ โดยเสนอทางออกให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เสียสละลาออกเพื่อหยุดความชอบธรรมของระบอบเผด็จการรัฐสภาและมานำมวลมหาประชาชนทั่วประเทศเคลื่อนไหวเพื่อหยุดระบบการเมืองที่ล้มเหลว เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง และการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน 65 ล้านคน โดยแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมจะเสียสละและร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ในการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองครั้งนี้ เพราะเห็นว่าคุ้มค่ากับความเสี่ยงเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ
แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธ ไม่เสียสละลาออกจากระบบการเมืองที่ล้มเหลวเพื่อออกมาร่วมสู้กับประชาชน แสดงว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงหวังเพียงแค่ทำลายความน่าเชื่อถือฝ่ายรัฐบาล หรือหวังสลับขั้วการเมืองในวันข้างหน้า หรือหวังโค่นล้มรัฐบาลโดยสนับสนุนมวลชนกลุ่มอื่นให้เสียสละแทนตัวเอง หรือไม่พรรคการเมืองทุกพรรคในสภาฯ อาจกำลังสมรู้ร่วมคิดเพื่อรักษาระบอบเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้ไว้เพื่อรออำนาจและผลประโยชน์ของตัวเองในวันข้างหน้า จึงทำให้ไม่สามารถเชื่อได้ว่าจะมีการปฏิรูปประเทศภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพันธมิตรฯ วิเคราะห์แล้วว่า แนวทางที่พรรคการเมืองทุกพรรคกำลังเดินหน้าอยู่นั้น จะนำไปสู่ความชอบธรรมของระบอบทักษิณที่จะได้รับชัยชนะในระบบรัฐสภามากขึ้น และจะกระชับอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนยากจะเยียวยาได้
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ไม่เสียสละนำการชุมนุม จึงเป็นไปไม่ได้ที่แกนนำพันธมิตรฯ จะมีฐานะนำมวลชนได้จริงท่ามกลางสถานการณ์และเงื่อนไขในปัจจุบัน ประกอบกับการดำรงอยู่ของแกนนำพันธมิตรฯ อาจเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหวของมวลชนกลุ่มอื่นที่อาจไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ ดังนั้นแกนนำพันธมิตรฯ ทั้งรุ่น 1 และ 2 จึงมีมติเอกฉันท์ยุติบทบาทจากฐานะแกนนำ เพื่อเปิดโอกาสให้แกนนำ นักปราศรัย ศิลปิน พิธีกร ประชาชน ฯลฯ ได้ตัดสินใจด้วยตัวเองที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมกับกลุ่มใดก็ได้อย่างอิสระเสรี ไม่ต้องรอมติจากแกนนำพันธมิตรฯ อีก รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดขบวนการใหม่ในสังคมไทยด้วย
ทั้งนี้ แถลงการณ์พันธมิตรฯ ยืนยันว่า การยุติบทบาทครั้งนี้ถือเป็นยุทธวิธีเดียวเท่านั้นที่จะเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในปัจจุบัน หรือผู้ที่มีโอกาสจะมีอำนาจในอนาคต รวมทั้งทหาร และศาล ตลอดจนผู้มีบทบาทในบ้านเมืองและประชาชนทั่วไป ได้ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่ของตนเอง มากกว่าที่จะคาดหวังหรือรอมติการนำมวลชนจากแกนนำพันธมิตรฯ พร้อมชี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ยังคงเป็นปัญหาส่วนหนึ่งของประเทศและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศ ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ต้องรับผิดชอบในผลที่จะเกิดขึ้นต่อบ้านเมืองด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แกนนำพันธมิตรฯ ย้ำว่า แม้แกนนำจะยุติบทบาทแล้ว แต่ทุกคนยังคงเป็นพันธมิตรฯ เหมือนเดิม และพันธมิตรฯ ยังคงอยู่เช่นเดิม อุดมการณ์ความเป็นพันธมิตรฯ ยังอยู่ในสายเลือดและจิตใจของทุกคนเหมือนเดิม และพันธมิตรฯ ยังมีหน้าที่ต่อสู้คดีความและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ที่สูญเสีย บาดเจ็บ และเสียชีวิตต่อไป โดยระหว่างนี้ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เว็บไซต์แมเนเจอร์ สื่อสิ่งพิมพ์และวิทยุในเครือ ASTVผู้จัดการ จะยังคงเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การให้ปัญญาแก่ประชาชนและการปฏิรูปประเทศ ขณะที่แกนนำแม้จะยุติบทบาท แต่จะยังคงให้ปัญญากับประชาชนเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศต่อไป เมื่อใดที่สถานการณ์พร้อมและประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ หรือผู้มีอำนาจหรือผู้ที่มีโอกาสจะเข้าสู่อำนาจเสียสละอำนาจและผลประโยชน์เพื่อปฏิรูปประเทศเพื่อผลประโยชน์ของคนไทย 65 ล้านคนเมื่อใด แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมจะกลับมารวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวมวลชนอีกครั้ง หากวันนั้นพี่น้องประชาชนยังต้องการแกนนำพันธมิตรฯ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงการประกาศยุติบทบาทของแกนนำพันธมิตรฯ ว่า ตนเข้าใจและเคารพการตัดสินของแกนนำพันธมิตรฯ ที่สู้กับระบอบทักษิณมาตลอด และขอขอบคุณแกนนำทุกคน พร้อมชมว่า มวลชนพันธมิตรฯ เป็นมวลชนที่มีคุณภาพ ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์จะสานต่อเจตนารมณ์ของพันธมิตรฯ ที่ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องและระบอบทักษิณให้สำเร็จเพื่อให้คุ้มค่ากับความสูญเสียในอดีต นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ ยังชวนให้มวลชนพันธมิตรฯ มาร่วมต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์ หากสบายใจและสนิทใจแล้ว
ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงกรณีที่พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ลาออกเพื่อมานำมวลชนว่า หาก ส.ส.ของพรรคทั้ง 150 คนลาออก แล้วมีการเลือกตั้งใหม่ ก็จะหวานคอ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะพรรคเพื่อไทยจะได้กลับเข้ามาทั้ง 150 คน กฎหมายที่ค้างอยู่ทุกฉบับก็จะผ่านหมด “พวกผมไม่ได้ยึดติดตำแหน่ง ไม่ใช่ว่าเป็น ส.ส.แล้วมันจะเป็นจะตาย แต่มันเป็นความภาคภูมิใจของพวกผม คือได้เป็นตัวแทนของประชาชนไปรักษาผลประโยชน์ของประชาชนในสภา แต่หากว่าเราต่อสู้ตามกระบวนการรัฐสภาถึงที่สุดแล้ว...รัฐบาลนี้ ตลอดจนลิ่วล้อ ขี้ข้าทักษิณทั้งหลายมีเจตนาร้ายต่อประเทศชาติ ต้องการยึดอำนาจไว้ใต้อุ้งเท้าของพวกเขาโดยไม่สนใจความถูกต้อง เมื่อเราประจักษ์ชัดเห็นพร้อมกันอย่างนั้นแล้ว พวกเราจะเป่านกหวีด”
ส่วนมุมมองของนักวิชาการต่อการประกาศยุติบทบาทของแกนนำพันธมิตรฯ นั้น นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า น่าจะทำให้พรรคเพื่อไทยสบายใจหรือถึงขั้นเหลิงอำนาจได้ เพราะไม่มีคนคอยคัดค้าน ซึ่งตนเชื่อว่าไม่เกินกลางปีหน้าจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ตามที่ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และหาก ส.ว.เลือกตั้งเป็นบรรดาญาติพี่น้องของ ส.ส. ประชาชนก็จะเห็นภาพเผด็จการเสียงข้างมากกินรวบหมดทุกองค์กรได้ชัดขึ้น เมื่อถึงตอนนั้นประชาชนจะทนไม่ได้และออกมาเรียกร้องต่อต้าน ซึ่งอาจรวมถึงพันธมิตรฯ ด้วย จึงน่าจะถือได้ว่าการยุติบทบาทของพันธมิตรฯ ก็เพื่อให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวและเห็นพิษร้ายของเผด็จการเสียงข้างมากจนทนอยู่นิ่งไม่ไหว
3. รัฐสภาป่วน หลัง ปชป.ไม่พอใจปิดปากฝ่ายค้านแปรญัตติแก้ที่มา ส.ว. ด้าน “สมศักดิ์”งัดค้อนทุบ -สั่งตำรวจจับดะ เจอฝ่ายค้านโห่ไล่ “ขี้ข้าทักษิณ”!
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ได้มีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ในวาระ 2 ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีการแก้ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ยกเลิก ส.ว.สรรหา มีการเพิ่มจำนวน ส.ว.จาก 150 คน เป็น 200 คน ให้ ส.ว.มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และสามารถลงสมัครต่อได้ไม่ต้องเว้นวรรค พร้อมเปิดทางให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ลงสมัคร ส.วได้ทันที ไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองมา 5 ปีดังที่รัฐธรรมนูญ 2550 ระบุ นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขโดยเปิดโอกาสให้บุพการี สามีภรรยา หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงสมัคร ส.ว.ได้ด้วย ซึ่งการแก้ไขในลักษณะดังกล่าวถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่า จะทำให้วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร กลายเป็น “สภาผัวเมีย” ดังเช่นเมื่อปี 2544-2548 ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐธรรมนูญ 2540 ระบุให้มี ส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียว ทำให้ผู้สมัคร ส.ว.ส่วนใหญ่เลือกที่จะผูกโยงกับพรรคการเมือง เพื่อให้มีฐานเสียง จึงจะได้รับเลือกตั้ง และหากวุฒิสภาถูกฝ่ายการเมืองครอบงำ ก็จะส่งผลต่อการคัดเลือกบุคคลไปนั่งในองค์กรอิสระต่างๆ เช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการประชุมเมื่อวันที่ 20 ส.ค.เป็นไปด้วยความวุ่นวายทั้งวัน และมีการสั่งพักการประชุมหลายครั้ง หลังพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ไม่พอใจที่ที่ประชุมเสียงข้างมากลงมติไม่ให้สิทธิอภิปรายแก่ ส.ส.และ ส.ว.57 คนที่ขอแปรญัตติไว้หลายประเด็น เช่น ให้ ส.ว.มาจากการสรรหาเหมือนเดิม โดยที่ประชุมอ้างว่าจะอภิปรายขัดต่อหลักการที่ให้มี ส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียวไม่ได้ ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ประท้วง ลุกขึ้นยืนและส่งเสียงโห่เป็นระยะๆ สุดท้ายเหตุการณ์บานปลาย เมื่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้หยิบค้อนออกมาเคาะ 3 ครั้ง ก่อนสั่งให้ตำรวจสภาทั้งหมดเข้ามาในห้องประชุม เพื่อนำตัว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ออกจากห้องประชุม “ขอเชิญตำรวจรัฐสภาทั้งหมดเข้ามา ท่านใดไม่นั่งให้เชิญตัว นำตัวออกไปทีละท่าน ไม่ต้องรีรอ ถ้าตำรวจสภาไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา จะตั้งกรรมการสอบ เชิญนำตัวออกไปทีละท่าน”
ทั้งนี้ ระหว่างที่ตำรวจสภากำลังทำตามคำสั่งของนายสมศักดิ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ตะโกนเป็นระยะๆ ว่า “สภาทาส” และ “ขี้ข้าทักษิณ” ขณะที่ ส.ส.หญิงบางคนได้กรีดร้อง เพราะตกใจที่ตำรวจสภาพยายามจะเข้ามาจับตัว ขณะเดียวกันก็มีตำรวจสภากว่า 10 นายคอยปกป้องบัลลังก์ประธานที่ประชุม จากนั้นได้เกิดเหตุชุลมุนและกระทบกระทั่งกันเล็กน้อยระหว่าง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กับตำรวจสภาที่พยายามจะนำตัวออกจากห้องประชุม ด้านนายสมศักดิ์ตัดสินใจสั่งพักการประชุม
เมื่อเปิดประชุมอีกครั้ง นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ขึ้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ลุกขึ้นประท้วงว่านายสมศักดิ์สั่งตำรวจมาคุกคามสมาชิกรัฐสภาได้อย่างไร พร้อมตะโกนว่า ออกไปๆ” ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ยังแฉด้วยว่า มีตำรวจปราบจลาจลตรึงกำลังอยู่ด้านหน้ารัฐสภา ขอให้ประธานสั่งให้ตำรวจดังกล่าวออกไป กระทั่งมีการสั่งพักประชุม เพื่อตรวจสอบและขอให้ตำรวจดังกล่าวออกจากพื้นที่ เมื่อการประชุมเริ่มขึ้นอีกครั้ง ปรากฏว่า น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นพูดเหน็บแนม ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์ โดยบอกว่า อยากให้ตำรวจอยู่ในสภาต่อไป เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย เนื่องจากอยู่ดีดี ก็มีเสียงคล้ายชะนีโหยหวนเหมือนโดนน้ำร้อนลวก ทำให้นึกว่าอยู่ในสวนสัตว์ดุสิต ร้อนถึงนางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ต้องลุกขึ้นประท้วงให้ น.ส.ขัตติยาถอนคำพูด แต่ น.ส.ขัตติยา ไม่ยอมถอน แถมพูดเหมือนอวดตัวว่าสวยและใสกว่านางนาถยา “เรื่องความสวย ช่วยไม่ได้ เด็กกว่า ใสกว่า ต้องสู้กันนิดหนึ่ง ส่วนจะให้ถอนคำว่า ชะนีโหยหวนไม่ได้ว่าใครเฉพาะเจาะจง ทางบ้านส่งมา คิดว่าที่นี่ไม่ใช่รัฐสภา นึกว่าสวนสัตว์ดุสิต ขออนุญาตไม่ถอน” นางนาถยา จึงได้สวนกลับว่า “ถอยลงไปเยอะ สภาไม่ใช่สภาโจ๊ก ไม่ใช่ละคร ที่ทุกคนจะคิดว่าตัวเองเป็นนางเอก สวยไม่สวยไม่เกี่ยว เพราะในสภาต้องใช้สติปัญญา” ซึ่งภายหลัง น.ส.ขัตติยา ได้ยอมถอนคำพูด
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้บรรยากาศจะเป็นไปด้วยความวุ่นวาย แต่ที่ประชุมเสียงข้างมากก็ได้เดินหน้าลงมติผ่านมาตรา 1 ว่าด้วยชื่อของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. ด้วยคะแนน 330 ต่อ 6 เสียง ก่อนเลื่อนพิจารณามาตรา 2 ว่าด้วยวันบังคับใช้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเป็นวันรุ่งขึ้น(21 ส.ค.)
สำหรับบรรยากาศการประชุมวันที่สองดีกว่าวันแรก เนื่องจากได้มีการประชุมวิป 3 ฝ่าย(ฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน-วุฒิสภา) และตกลงว่าจะคืนสิทธิอภิปรายให้ ส.ส.-ส.ว.ทั้ง 57 คนที่ขอแปรญัตติไว้ โดยจะให้เริ่มตั้งแต่มาตรา 2 ไม่ย้อนไปมาตรา 1 ทั้งนี้ แม้จะมี ส.ส.-ส.ว.อภิปรายขอให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 ปี เพื่อให้ ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันได้เว้นวรรค ไม่ใช่ลงสมัครทันที ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ในที่สุด ก็ไม่สามารถทัดทานเสียงข้างมากได้ โดยที่ประชุมมีมติ 349 ต่อ 157 เสียง ให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จากนั้นได้มีการพิจารณามาตรา 3 ว่าด้วยจำนวน ส.ว.ที่ให้เพิ่มจากเดิม 150 คนเป็น 200 คน และให้มีแต่ ส.ว.เลือกตั้ง ยกเลิก ส.ว.สรรหา ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยบางจังหวัดอาจมี ส.ว.มากกว่า 1 คน ทั้งนี้ การอภิปรายมาตรา 3 ยังไม่แล้วเสร็จ ประธานที่ประชุมจึงได้นัดพิจารณาต่อในวันรุ่งขึ้น(22 ส.ค.) แต่ที่สุดแล้ว วันที่ 22 ส.ค.ก็ยังอภิปรายมาตรา 3 ไม่แล้วเสร็จ ประธานจึงได้นัดพิจารณาต่อในวันที่ 27-29 ส.ค.
เหตุที่ประธานไม่นัดประชุมต่อในวันรุ่งขึ้น(23 ส.ค.) เนื่องจากวันดังกล่าวได้นัดประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 วงเงิน 2.525 ล้านล้านบาท ในวาระ 2 ต่อ หลังการประชุมเมื่อวันที่ 14-17 ส.ค.ยังอภิปรายไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้ ที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 ส.ค.ใช้เวลาอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบฯ จนดึก ก่อนที่เสียงข้างมากจะมีมติ 290 ต่อ 136 เสียง ผ่านวาระ 3 โดยมีผู้งดออกเสียง 19 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง รวมแล้วใช้เวลาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯ ในวาระ 2 และ 3 รวมทั้งสิ้น 5 วัน
4.“ยิ่งลักษณ์” เปิดประชุมปฏิรูปประเทศ ไร้เงา ปชป.-พันธมิตรฯ ตั้ง “บรรหาร” มือประสานโรดแมป!
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานเปิดการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทางออกประเทศไทยนัดแรก ในหัวข้อ “เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตยและประเทศร่วมกัน” ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า มีผู้ตอบรับเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 66 คน สำหรับผู้ที่ไม่ได้ตอบรับเข้าร่วม ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม 40 ส.ว. และนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เป็นต้น
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดการประชุมโดยยืนยันว่า รัฐบาลมีความจริงใจในการเป็นเจ้าภาพจัดพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ประเทศและมองไปยังอนาคตข้างหน้า พร้อมอ้างว่า เหตุที่รัฐบาลมองแต่อนาคต ไม่คุยเรื่องปัจจุบันที่ยังหาทางออกไม่ได้ เช่นทำไมไม่ถอนกฎหมายออกจากสภา เนื่องจากสภาเป็นเวทีแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่เวทีนี้เป็นของภาคประชาชน และว่า เดือนหน้าจะมีเวทีทางวิชาการ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเวทีปฏิรูปประเทศ โดยได้เชิญผู้นำต่างประเทศมาร่วม เช่น นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งจะมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าจะร่วมแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้ยกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2556 ให้ทุกคนน้อมนำมาปฏิบัติในการหาทางออกของประเทศด้วยว่า ทรงปรารถนาจะเห็นคนไทยตั้งจิตตั้งใจให้มั่นอยู่ในความเมตตาและหวังดีต่อกัน ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้กำลังใจแก่กันและกัน ผูกพันไว้ฉันท์มิตร
สำหรับการประชุมปฏิรูปประเทศครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมต่างเสนอวิธีแก้ปัญหาและหาทางออกให้ประเทศแตกต่างกันไป กระทั่งช่วงสุดท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สรุปผลหารือว่า จะนำโจทย์ที่ได้จากที่ประชุมมากำหนดกรอบในการทำงานร่วมกันภายใต้ 7 หลักใหญ่ ได้แก่ หลักการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความมั่นคงแข็งแรง ,หลักการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ หลักธรรมาภิบาลที่ดี ,หลักประชาธิปไตยที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ,หลักการไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการให้อภัยซึ่งกันและกัน ,หลักของประโยชน์ส่วนรวมและหลักของความถูกต้อง ฯลฯ พร้อมกันนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาโรดแมปของการปฏิรูปประเทศขึ้นมา 3 คณะ คือ คณะปฏิรูปการเมือง คณะปฏิรูปเศรษฐกิจ และคณะปฏิรูปสังคม พร้อมขอให้ผู้เข้าร่วมหารือแจ้งความจำนงว่าจะเข้าร่วมในคณะใด โดยให้นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นผู้ประสานงานของทั้ง 3 คณะ
5.ศาลฎีกา พิพากษายืนยกฟ้อง “สนธิ-สโรชา” ไม่หมิ่น “พล.ต.อ.สันต์” ชี้ ติชมด้วยความเป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ อดีตผู้ดำเนินรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์” เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และหมิ่นประมาทใส่ความโดยการแพร่ภาพ และการกระจายเสียงหรือป่าวประกาศ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 26 เม.ย.2547 ว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2547 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท กล่าวหาว่า ยุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด โจทก์ไร้ประสิทธิภาพ แต่งตั้งตำรวจโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ตำรวจที่ได้รับแต่งตั้งไร้ประสิทธิภาพ และว่า โจทก์ไม่ให้ความเคารพองค์กรอิสระ คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่เคารพกฎหมาย ละเลยเพิกเฉยต่อการดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิม
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยในฐานะสื่อมวลชชนได้ติชมการทำงานของโจทก์โดยชอบธรรม และเป็นวิสัยที่ประชาชนพึงกระทำ และเป็นการติชมโดยมุ่งไปที่การทำงานของโจทก์ ไม่ได้มุ่งไปที่เรื่องส่วนตัว และในฐานะที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบอำนาจอธิปไตยจากประชาชนส่วนใหญ่ ดังนั้นจำเลยในฐานะสื่อมวลชน และประชาชนส่วนใหญ่จึงมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ซึ่งต่อมา โจทก์ได้ยื่นฎีกา
ขณะที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยวิพากษ์วิจารณ์และติชมโจทก์ด้วยความเป็นธรรม ในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. อันเป็นวิสัยของประชาชนที่สามารถกระทำได้ และแม้จะมีข้อความบางส่วนเป็นการหมิ่นประมาทอยู่บ้าง แต่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสื่อมวลชนก็ได้รับการยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) (3) จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ด้านนายสนธิ เผยหลังฟังคำพิพากษาว่า ความจริงคดีนี้ควรจบไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องแล้ว แต่ พล.ต.อ.สันต์สนิทสนมกับอัยการสูงสุด ทำให้อัยการสูงสุดมีความเห็นให้สามารถยื่นฎีกาในคดีนี้ได้ ซึ่งตนไม่รู้มาก่อนว่าศาลฎีกาจะพิพากษาว่าอย่างไร หากศาลพิพากษาให้จำคุก ตนก็พร้อมยอมรับ ไม่หนี เพราะตนเชื่อในหลักนิติรัฐ บ้านเมืองจะอยู่ได้ก็เพราะหลักนิติรัฐเท่านั้น ไม่ใช่ทำผิดแล้วออกกฎหมายเพื่อมาแก้ความผิดในภายหลัง ส่วนจะฟ้องกลับ พล.ต.อ.สันต์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของตนจะดำเนินการต่อไป