ASTVผู้จัดการ – ศ.ระพี สาคริก เขียนบันทึกเตือนใจคนกรุง ชี้น้ำท่วมปี 2485 ก็หนักหนาพอๆ กับปัจจุบัน ระบุทุกวันนี้ที่แย่เพราะคนบูชาวัตถุ ทำลายธรรมชาติมาสร้างตึกสูง ส่วนการศึกษาก็ไม่ได้สอนให้คนเป็นมนุษย์-ทำลายจิตสำนึก-ทำคนอ่อนแอ สอนต้องใช้โอกาสรู้จักสร้างความอดทน ต่อสู้กับใจตัวเอง และทำงานหนักบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์เพื่อความสุขอย่างแท้จริง
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง "ศ.ระพี สาคริก" ให้สัมภาษณ์
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2554 ศ.ระพี สาคริก เขียนบันทึกเรื่อง “มองน้ำท่วมในด้านสร้างสรรค์” ซึ่งสอดรับกับเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางและในกรุงเทพมหานคร โดยในเวลาต่อมาบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้นำบันทึกดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อในเครือข่ายสังคม
บันทึกดังกล่าวของ ศ.ระพี กล่าวเตือนว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเวลานี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2485 ซึ่งตอนนั้นตนอายุ 21 ปี โดยครั้งนั้นระดับน้ำก็ไม่ได้ท่วมน้อยไปกว่าปัจจุบัน ทว่าตอนนั้นผู้คนก็สามารถใช้ชีวิตกันได้เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ส่วนปัจจุบันเนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติกันมาก มีการสร้างวัตถุ ก่อสร้างกันอย่างเอิกเริก การศึกษาก็ไม่ได้สอนให้คนเป็นมนุษย์ ประกอบกับรากฐานจิตใจของคนไทยนั้นอ่อนแอลงทุกวัน ทำให้เกิดความวุ่นวาย การคอรัปชั่น เศรษฐกิจและสังคมย่ำแย่ลงทุกที
“ฉันพูดไว้นานแล้วว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในบ้านเมืองเราก็เพราะคนไทยหลงอยู่กับความสบาย จนกระทั่งรากฐานจิตใจอ่อนแอ เห็นอะไรที่มิใช่ของตัวก็อยากได้คอรัปชั่นก็เต็มบ้านเต็มเมือง เศรษฐกิจย่ำแย่ก็แก้ไม่ตก การจัดการศึกษาก็ไม่ได้ทำให้คนเป็นมนุษย์ ถ้าฟังเสียงจากภายนอก ต่างชาติเขาพูดกันว่าคนไทยไม่รู้จักความยากลำบาก” ศ.ระพีระบุ
นอกจากนี้ยังกล่าวสอนด้วยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้น่าจะทำให้ทุกคนได้รู้จักความอดทน ต่อสู้กับจิตใจตัวเองและรู้จักการทำงานหนัก บนพื้นฐานของการประกอบอาชีพที่ดีและสุจริต ซึ่งถือเป็นการทำงานเพื่อแผ่นดินที่ดีที่สุด
“ฉันคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้มันน่า จะสอนให้เธอทั้งหลายรู้จักอดทนเพราะถ้าเธอต่อสู้กับใจตนเองไม่ ได้แล้วจะไปสู้กับอะไรที่ไหน ฉันขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ให้เธอกลับไปนอนคิด ฉันไม่รู้ว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกสักกี่ครั้ง ถึงจะช่วยให้เธอรู้จักตัวเองดีขึ้นและไม่ไปทำลายธรรมชาติ เช่นเดียวกับเรื่องความพอเพียงที่พูดกันแต่ปาก หากไม่รู้จักทำ มีแต่การพูดกันไปต่างๆ นาๆ โดยหาจุดจบได้ยาก
“ฉันอายุ 90 ปีแล้ว ฉันขอเป็นกำลังใจให้เธอทุกคนได้เรียนรู้กับความยากลำบากและอดทนทำงานหนักเพราะการทำงานหนักคือความสุขที่แท้จริง ขอให้ชีวิตจงมีความสุขเพราะการทำงานให้แผ่นดิน โปรดอย่าคิดว่าการทำงานให้แผ่นดินนั้นจะต้องทำให้กับส่วนรวมเสมอไป แม้แต่การประกอบอาชีพอย่างดีที่สุดโดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ถือได้ว่าคือการทำงานให้แผ่นดินเช่นกัน” ศ.ระพีระบุทิ้งท้ายในบันทึก
ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปัจจุบันอายุ 89 ปีถือเป็นปูชนียบุคคลของประเทศไทยโดยเฉพาะในทางเกษตรศาสตร์ โดยเป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้มากที่สุดคนหนึ่งในโลกจนได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย" เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้รัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ที่ทุ่มเททั้งชีวิตให้กับงาน และสังคม จนได้รับยกย่องให้เป็นผู้สูงอายุดีเด่นประจำปี 2553
สำหรับบันทึกฉบับสมบูรณ์ของ ศ.ระพี มีรายละเอียดดังนี้
********************
มองน้ำท่วมในด้านสร้างสรรค์ โดย อาจารย์ระพี สาคริก
เธอที่รักทุกคน ความจริงแล้วสิ่งที่มันเกิดขึ้นทุกวันนี้ ถ้าเธอหวนกลับไปมองสู่อดีต ฉันพูดไว้นานแล้วว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในบ้านเมืองเราก็เพราะคนไทยหลงอยู่กับความสบาย จนกระทั่งรากฐานจิตใจอ่อนแอ เห็นอะไรที่มิใช่ของตัวก็อยากได้คอรัปชั่นก็เต็มบ้านเต็มเมือง เศรษฐกิจย่ำแย่ก็แก้ไม่ตก การจัดการศึกษาก็ไม่ได้ทำให้คนเป็นมนุษย์ ถ้าฟังเสียงจากภายนอก ต่างชาติเขาพูดกันว่าคนไทยไม่รู้จักความยากลำบาก
ความจริงน้ำท่วมครั้งนี้ ถ้าเธอไม่ใช่คนลืมง่าย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ มันก็เกิดไม่น้อยไปกว่านี้ เว้นไว้แต่ว่าคนไทยสมัยนั้นไม่ได้สร้างวัตถุมากมาย เหมือนปัจจุบันจึงไม่เดือดร้อนเช่นทุกวันนี้ ฉันจำได้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ น้ำมันท่วมถึงชั้นที่สองของบ้าน แต่คนไทยก็ยังอยู่กันได้ถึงหนึ่งเดือนเต็มๆ ขณะนั้นฉันมีอายุ ๒๑ ปี
แต่ทุกวันนี้เรากลับทำลายธรรมชาติ ภูเขาหินปูนลูกใหญ่ๆ ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และที่ปากช่อง เป็นต้น หายไปเยอะ เปลี่ยนไปเป็นตึกสูงๆ แม้แต่มหาวิทยาลัยก็มีการก่อสร้างกันอย่างเอิกเกริก การศึกษาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมนี่ เองที่ได้ทำลายจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ทำให้สังคมแย่ลงไปทุกที ยิ่งแก้ไขก็ยิ่งตกต่ำ ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดการจัดการ ศึกษาทางเลือก
การศึกษาที่จัดให้คนนั่งอยู่ในตึกสบายๆ แล้วจะหวังให้ลูกศิษย์จบไปแล้วลงทำงานติดดินมันก็คงเป็นไปได้ยาก ยิ่งกว่านั้นตัวผู้ใหญ่เองซึ่งเป็นผู้บริหารก็เช่นกัน หากรักแต่จะประชุมอยู่แต่ในตึกอยู่ในห้องแอร์ ลูกศิษย์จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างไร เพราะถ้าหัวไม่ส่าย หางมันจะกระดิกได้อย่างไร
ฉันคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้มันน่า จะสอนให้เธอทั้งหลายรู้จักอดทนเพราะถ้าเธอต่อสู้กับใจตนเองไม่ ได้แล้วจะไปสู้กับอะไรที่ไหน ฉันขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ให้เธอกลับไปนอนคิด ฉันไม่รู้ว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกสักกี่ครั้ง ถึงจะช่วยให้เธอรู้จักตัวเองดีขึ้นและไม่ไปทำลายธรรมชาติ เช่นเดียวกับเรื่องความพอเพียงที่พูดกันแต่ปาก หากไม่รู้จักทำ มีแต่การพูดกันไปต่างๆนาๆ โดยหาจุดจบได้ยาก
ฉันอายุ 90 ปีแล้ว ฉันขอเป็นกำลังใจให้เธอทุกคนได้เรียนรู้กับความยากลำบากและอดทนทำงานหนักเพราะการทำงานหนักคือความสุขที่แท้จริง
ขอให้ชีวิตจงมีความสุขเพราะการทำงานให้แผ่นดิน โปรดอย่าคิดว่าการทำงานให้แผ่นดินนั้นจะต้องทำให้กับส่วนรวมเสมอไป แม้แต่การประกอบอาชีพอย่างดีที่ สุดโดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ถือได้ว่าคือการทำงานให้แผ่นดินเช่นกัน
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง "ศ.ระพี สาคริก" ให้สัมภาษณ์
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2554 ศ.ระพี สาคริก เขียนบันทึกเรื่อง “มองน้ำท่วมในด้านสร้างสรรค์” ซึ่งสอดรับกับเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางและในกรุงเทพมหานคร โดยในเวลาต่อมาบรรดาลูกศิษย์ลูกหาได้นำบันทึกดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อในเครือข่ายสังคม
บันทึกดังกล่าวของ ศ.ระพี กล่าวเตือนว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเวลานี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2485 ซึ่งตอนนั้นตนอายุ 21 ปี โดยครั้งนั้นระดับน้ำก็ไม่ได้ท่วมน้อยไปกว่าปัจจุบัน ทว่าตอนนั้นผู้คนก็สามารถใช้ชีวิตกันได้เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ส่วนปัจจุบันเนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติกันมาก มีการสร้างวัตถุ ก่อสร้างกันอย่างเอิกเริก การศึกษาก็ไม่ได้สอนให้คนเป็นมนุษย์ ประกอบกับรากฐานจิตใจของคนไทยนั้นอ่อนแอลงทุกวัน ทำให้เกิดความวุ่นวาย การคอรัปชั่น เศรษฐกิจและสังคมย่ำแย่ลงทุกที
“ฉันพูดไว้นานแล้วว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในบ้านเมืองเราก็เพราะคนไทยหลงอยู่กับความสบาย จนกระทั่งรากฐานจิตใจอ่อนแอ เห็นอะไรที่มิใช่ของตัวก็อยากได้คอรัปชั่นก็เต็มบ้านเต็มเมือง เศรษฐกิจย่ำแย่ก็แก้ไม่ตก การจัดการศึกษาก็ไม่ได้ทำให้คนเป็นมนุษย์ ถ้าฟังเสียงจากภายนอก ต่างชาติเขาพูดกันว่าคนไทยไม่รู้จักความยากลำบาก” ศ.ระพีระบุ
นอกจากนี้ยังกล่าวสอนด้วยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้น่าจะทำให้ทุกคนได้รู้จักความอดทน ต่อสู้กับจิตใจตัวเองและรู้จักการทำงานหนัก บนพื้นฐานของการประกอบอาชีพที่ดีและสุจริต ซึ่งถือเป็นการทำงานเพื่อแผ่นดินที่ดีที่สุด
“ฉันคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้มันน่า จะสอนให้เธอทั้งหลายรู้จักอดทนเพราะถ้าเธอต่อสู้กับใจตนเองไม่ ได้แล้วจะไปสู้กับอะไรที่ไหน ฉันขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ให้เธอกลับไปนอนคิด ฉันไม่รู้ว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกสักกี่ครั้ง ถึงจะช่วยให้เธอรู้จักตัวเองดีขึ้นและไม่ไปทำลายธรรมชาติ เช่นเดียวกับเรื่องความพอเพียงที่พูดกันแต่ปาก หากไม่รู้จักทำ มีแต่การพูดกันไปต่างๆ นาๆ โดยหาจุดจบได้ยาก
“ฉันอายุ 90 ปีแล้ว ฉันขอเป็นกำลังใจให้เธอทุกคนได้เรียนรู้กับความยากลำบากและอดทนทำงานหนักเพราะการทำงานหนักคือความสุขที่แท้จริง ขอให้ชีวิตจงมีความสุขเพราะการทำงานให้แผ่นดิน โปรดอย่าคิดว่าการทำงานให้แผ่นดินนั้นจะต้องทำให้กับส่วนรวมเสมอไป แม้แต่การประกอบอาชีพอย่างดีที่สุดโดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ถือได้ว่าคือการทำงานให้แผ่นดินเช่นกัน” ศ.ระพีระบุทิ้งท้ายในบันทึก
ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปัจจุบันอายุ 89 ปีถือเป็นปูชนียบุคคลของประเทศไทยโดยเฉพาะในทางเกษตรศาสตร์ โดยเป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้มากที่สุดคนหนึ่งในโลกจนได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย" เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้รัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ที่ทุ่มเททั้งชีวิตให้กับงาน และสังคม จนได้รับยกย่องให้เป็นผู้สูงอายุดีเด่นประจำปี 2553
สำหรับบันทึกฉบับสมบูรณ์ของ ศ.ระพี มีรายละเอียดดังนี้
********************
มองน้ำท่วมในด้านสร้างสรรค์ โดย อาจารย์ระพี สาคริก
เธอที่รักทุกคน ความจริงแล้วสิ่งที่มันเกิดขึ้นทุกวันนี้ ถ้าเธอหวนกลับไปมองสู่อดีต ฉันพูดไว้นานแล้วว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในบ้านเมืองเราก็เพราะคนไทยหลงอยู่กับความสบาย จนกระทั่งรากฐานจิตใจอ่อนแอ เห็นอะไรที่มิใช่ของตัวก็อยากได้คอรัปชั่นก็เต็มบ้านเต็มเมือง เศรษฐกิจย่ำแย่ก็แก้ไม่ตก การจัดการศึกษาก็ไม่ได้ทำให้คนเป็นมนุษย์ ถ้าฟังเสียงจากภายนอก ต่างชาติเขาพูดกันว่าคนไทยไม่รู้จักความยากลำบาก
ความจริงน้ำท่วมครั้งนี้ ถ้าเธอไม่ใช่คนลืมง่าย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ มันก็เกิดไม่น้อยไปกว่านี้ เว้นไว้แต่ว่าคนไทยสมัยนั้นไม่ได้สร้างวัตถุมากมาย เหมือนปัจจุบันจึงไม่เดือดร้อนเช่นทุกวันนี้ ฉันจำได้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ น้ำมันท่วมถึงชั้นที่สองของบ้าน แต่คนไทยก็ยังอยู่กันได้ถึงหนึ่งเดือนเต็มๆ ขณะนั้นฉันมีอายุ ๒๑ ปี
แต่ทุกวันนี้เรากลับทำลายธรรมชาติ ภูเขาหินปูนลูกใหญ่ๆ ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และที่ปากช่อง เป็นต้น หายไปเยอะ เปลี่ยนไปเป็นตึกสูงๆ แม้แต่มหาวิทยาลัยก็มีการก่อสร้างกันอย่างเอิกเกริก การศึกษาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมนี่ เองที่ได้ทำลายจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ทำให้สังคมแย่ลงไปทุกที ยิ่งแก้ไขก็ยิ่งตกต่ำ ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดการจัดการ ศึกษาทางเลือก
การศึกษาที่จัดให้คนนั่งอยู่ในตึกสบายๆ แล้วจะหวังให้ลูกศิษย์จบไปแล้วลงทำงานติดดินมันก็คงเป็นไปได้ยาก ยิ่งกว่านั้นตัวผู้ใหญ่เองซึ่งเป็นผู้บริหารก็เช่นกัน หากรักแต่จะประชุมอยู่แต่ในตึกอยู่ในห้องแอร์ ลูกศิษย์จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างไร เพราะถ้าหัวไม่ส่าย หางมันจะกระดิกได้อย่างไร
ฉันคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้มันน่า จะสอนให้เธอทั้งหลายรู้จักอดทนเพราะถ้าเธอต่อสู้กับใจตนเองไม่ ได้แล้วจะไปสู้กับอะไรที่ไหน ฉันขอฝากเรื่องนี้เอาไว้ให้เธอกลับไปนอนคิด ฉันไม่รู้ว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกสักกี่ครั้ง ถึงจะช่วยให้เธอรู้จักตัวเองดีขึ้นและไม่ไปทำลายธรรมชาติ เช่นเดียวกับเรื่องความพอเพียงที่พูดกันแต่ปาก หากไม่รู้จักทำ มีแต่การพูดกันไปต่างๆนาๆ โดยหาจุดจบได้ยาก
ฉันอายุ 90 ปีแล้ว ฉันขอเป็นกำลังใจให้เธอทุกคนได้เรียนรู้กับความยากลำบากและอดทนทำงานหนักเพราะการทำงานหนักคือความสุขที่แท้จริง
ขอให้ชีวิตจงมีความสุขเพราะการทำงานให้แผ่นดิน โปรดอย่าคิดว่าการทำงานให้แผ่นดินนั้นจะต้องทำให้กับส่วนรวมเสมอไป แม้แต่การประกอบอาชีพอย่างดีที่ สุดโดยมีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ถือได้ว่าคือการทำงานให้แผ่นดินเช่นกัน
วันที่ 27 ตุลาคม 2554
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี