รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เผยผลตรวจสอบบ่อขยะสระบุรี ของ3กระทรวง ไม่พบเอกชนก่อมลพิษจึงไม่สามารถปิดโรงงานได้ เตรียมชงนายกฯพิจารณาต่อไป ด้าน“เบตเตอร์ กรีน”ชี้รายงานผลการศึกษาที่สวนทางข้อเท็จจริงก่อนหน้านี้เป็นบทเรียนการทำงานของสธ.ได้อย่างดี
วันนี้(2 พ.ย.)นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบ กรณีการร้องเรียนบ่อขยะของบริษัท เบตเตอร์ กรีน เวิลด์ จำกัด(มหาชน)ที่จังหวัดสระบุรีก่อมลพิษว่า ตัวแทนของ 3 กระทรวงประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 นั้น ผลสรุปอย่างเป็นทางการพบว่า จากการตรวจสอบไม่พบกลิ่นออกสู่บริเวณภายนอกโรงงาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงว่า กลิ่นที่เกิดจากการประกอบกิจการบ่อขยะนั้นเป็นเรื่องปกติของการประกอบการ กรมโรงงานฯ มีกฎหมายควบคุมดูแลอยู่แล้ว และผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์จากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า กลิ่นที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานทำให้การสั่งการเพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือระงับการประกอบกิจการตามมาตรา 37 และ 39 ไม่สามารถดำเนินการได้
“ส่วนผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำและอากาศ ไม่มีเหตุผลที่จะระบุได้ว่าเกิดจากบ่อขยะ และไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าบ่อขยะส่งผลต่อสุขภาพถึงขั้นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและสุขอนามัยของประชาชนถึงขั้นให้นายกรัฐมนตรีสั่งการตามมาตรา 9 แห่งพรบ. สิ่งแวดล้อมได้ เพราะภาวะความเจ็บป่วยตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของคณะกรรมการสาธารณสุขและประชาชนที่ร้องเรียนเท่านั้น หรือแม้กระทั่งการบังคับใช้อำนาจตามมาตรา 59 ที่กำหนดเป็นเขตควบคุมมลพิษคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมก็ไม่สามารถกระทำการได้เช่นกัน อีกอย่างการกำหนดเขตควบคุมก็ไม่ได้ก่อให้เกิดการระงับกิจการแต่อย่างใด เพียงแต่ท้องถิ่นต้องจัดทำแผนเพื่อลดหรือขจัดมลพิษเท่านั้น และจะส่งรายงานให้กับนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมต่อไป"
ด้านนายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG กล่าวว่าบริษัทได้รับแจ้งว่า ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องผลกระทบของศูนย์บริหารและจัดการกากอุตสาหกรรมของบริษัท ของทั้ง 3 กระทรวงนั้น ไม่พบว่า บริษัทเป็นผู้ก่อมลพิษ เพราะบริษัทได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามการรายงานของแพทย์ก่อนหน้านี้ที่สวนทางกับข้อเท็จจริง น่าจะเป็นบทเรียนให้แก่การทำงานของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี
วันนี้(2 พ.ย.)นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบ กรณีการร้องเรียนบ่อขยะของบริษัท เบตเตอร์ กรีน เวิลด์ จำกัด(มหาชน)ที่จังหวัดสระบุรีก่อมลพิษว่า ตัวแทนของ 3 กระทรวงประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงอุตสาหกรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 นั้น ผลสรุปอย่างเป็นทางการพบว่า จากการตรวจสอบไม่พบกลิ่นออกสู่บริเวณภายนอกโรงงาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงว่า กลิ่นที่เกิดจากการประกอบกิจการบ่อขยะนั้นเป็นเรื่องปกติของการประกอบการ กรมโรงงานฯ มีกฎหมายควบคุมดูแลอยู่แล้ว และผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์จากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า กลิ่นที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานทำให้การสั่งการเพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือระงับการประกอบกิจการตามมาตรา 37 และ 39 ไม่สามารถดำเนินการได้
“ส่วนผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำและอากาศ ไม่มีเหตุผลที่จะระบุได้ว่าเกิดจากบ่อขยะ และไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าบ่อขยะส่งผลต่อสุขภาพถึงขั้นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและสุขอนามัยของประชาชนถึงขั้นให้นายกรัฐมนตรีสั่งการตามมาตรา 9 แห่งพรบ. สิ่งแวดล้อมได้ เพราะภาวะความเจ็บป่วยตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของคณะกรรมการสาธารณสุขและประชาชนที่ร้องเรียนเท่านั้น หรือแม้กระทั่งการบังคับใช้อำนาจตามมาตรา 59 ที่กำหนดเป็นเขตควบคุมมลพิษคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมก็ไม่สามารถกระทำการได้เช่นกัน อีกอย่างการกำหนดเขตควบคุมก็ไม่ได้ก่อให้เกิดการระงับกิจการแต่อย่างใด เพียงแต่ท้องถิ่นต้องจัดทำแผนเพื่อลดหรือขจัดมลพิษเท่านั้น และจะส่งรายงานให้กับนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมต่อไป"
ด้านนายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG กล่าวว่าบริษัทได้รับแจ้งว่า ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องผลกระทบของศูนย์บริหารและจัดการกากอุตสาหกรรมของบริษัท ของทั้ง 3 กระทรวงนั้น ไม่พบว่า บริษัทเป็นผู้ก่อมลพิษ เพราะบริษัทได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามการรายงานของแพทย์ก่อนหน้านี้ที่สวนทางกับข้อเท็จจริง น่าจะเป็นบทเรียนให้แก่การทำงานของกระทรวงสาธารณสุขได้เป็นอย่างดี