"เบตเตอร์เวิลด์"อ้างม็อบหนองปลาไหลสระบุรี จัดตั้งป้ายสีบริษัทปล่อยมลพิษ คาใจคนในพื้นที่กลับไม่ออกมาเคลื่อนไหว พร้อมระบุทุกหน่วยงานลงพื้นที่ตรวจสอบไม่พบสิ่งผิดปกติ-ไม่พบคนป่วย วอนสธ.เร่งลงไปตรวจสอบ
วันนี้( 5 ตุลาคม 2552)นายเอกรินทร์ เหลืองวิริยะ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการบริษัท เบตเตอร์เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงถึงกรณีชาวบ้าน ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี ได้ร่วมตัวกันประท้วงร้องเรียนหน่วยราชการให้ตรวจสอบบ่อฝังกลบกากขยะอุตสาหกรรมของบริษัท เบตเตอร์เวิลด์จำกัด (มหาชน) โดยอ้างว่าบริษัทไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาสิ่งแวดล้อม จนเป็นเหตุให้เกิดมลพิษสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนเจ็บป่วยจากมลพิษว่า บ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมของบริษัทปฏิบัติตามกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมและมาตรฐานการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และใบรับรองมาตรฐานบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (ISO 9001 ) ส่วนข้อกล่าวว่าบริษัทฯ ลักลอบปล่อยน้ำเสียนั้น ยืนยันว่า บริษัทมีมาตรการเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก โดยน้ำเสียจะได้รับการบำบัดด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ระบบ RO (Reverse Osmosis) สามารถนำน้ำที่ได้รับการบำบัดกลับมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ฉะนั้นน้ำทุกหยดจะไม่หลุดออกจากพื้นที่ เนื่องจากน้ำหายาก เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง รัศมีของน้ำห่างจากบริษัท ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา 3 กม. อีกทั้ง พนักงานของบริษัทกว่า 400 คน เกือบร้อยละ 98 เป็นคนในพื้นที่ คงไม่มีใครยอมให้บริษัททำร้ายคนในพื้นที่แน่นอน
นายเอกรินทร์ กล่าวอีกว่า เหตุใดจึงไม่มีชาวบ้านในพื้นที่ใกล้ชิดกับบริษัทฯ ออกมาประท้วง หากได้รับความเดือดร้อนตามข้อกล่าวหา แต่กลุ่มคนที่ประท้วงกลับเป็นคนนอกพื้นที่อยู่ห่างจากบริษัทถึง 4 กิโลเมตร คือ ต.หนองปลาไหล อีกทั้งยังมีภูเขากั้นระหว่างหมู่บ้านกับบ่อฝั่งกลบขยะ โดยที่ผ่านมา แพทย์หญิงคนหนึ่งและผู้ใหญ่บ้านหนองปลาไหล หมู่ 8 เป็นแกนนำชาวบ้าน ซึ่งมักจะอ้างว่านายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข และ น.พ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งผู้ว่าฯ สระบุรี ให้การสนับสนุนในการเคลื่อนไหวช่วยเหลือชาวบ้าน โดยใช้ชื่อว่า หน่วยแพทย์เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมเคลื่อนที่ กระทรวงสาธารณสุข แต่จากการตรวจสอบแพทย์หญิงอรพรรณ์แล้ว พบว่าไม่มีอยู่ในสารบบตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
“เมื่อเร็วๆ นี้ คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำคณะแพทย์และเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางลงพื้นที่เพื่อตรวจสุขภาพชาวบ้าน ปรากฏว่าไม่พบผู้ป่วยจากสารพิษปนเปื้อนแม้แต่รายเดียว ขณะที่กรมควบคุมมลพิษได้เข้าไปตรวจสอบก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ รวมถึงกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรวดน้ำใต้ดินก็ไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษแต่อย่างใด สำหรับพื้นที่การเกษตร จากการสำรวจของคณะกรรมการก็ไม่พบพื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากบริษัทฯ แม้แต่แปลงเดียว ตรงกันข้ามข้าวในพื้นที่ยังชนะเลิศประกวดการปลูกข้าวระดับประเทศถึง 2 ปี นอกจากนี้ยังไม่พบว่ามีสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ได้รับมลพิษจากบริษัทฯ เช่นกัน อย่างไรก็ตามขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยงข้อง โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวด้วย” นายเอกรินทร์ กล่าวในท้ายสุด
วันนี้( 5 ตุลาคม 2552)นายเอกรินทร์ เหลืองวิริยะ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการบริษัท เบตเตอร์เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงถึงกรณีชาวบ้าน ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี ได้ร่วมตัวกันประท้วงร้องเรียนหน่วยราชการให้ตรวจสอบบ่อฝังกลบกากขยะอุตสาหกรรมของบริษัท เบตเตอร์เวิลด์จำกัด (มหาชน) โดยอ้างว่าบริษัทไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาสิ่งแวดล้อม จนเป็นเหตุให้เกิดมลพิษสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนเจ็บป่วยจากมลพิษว่า บ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมของบริษัทปฏิบัติตามกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมและมาตรฐานการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และใบรับรองมาตรฐานบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (ISO 9001 ) ส่วนข้อกล่าวว่าบริษัทฯ ลักลอบปล่อยน้ำเสียนั้น ยืนยันว่า บริษัทมีมาตรการเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก โดยน้ำเสียจะได้รับการบำบัดด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ระบบ RO (Reverse Osmosis) สามารถนำน้ำที่ได้รับการบำบัดกลับมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ฉะนั้นน้ำทุกหยดจะไม่หลุดออกจากพื้นที่ เนื่องจากน้ำหายาก เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง รัศมีของน้ำห่างจากบริษัท ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา 3 กม. อีกทั้ง พนักงานของบริษัทกว่า 400 คน เกือบร้อยละ 98 เป็นคนในพื้นที่ คงไม่มีใครยอมให้บริษัททำร้ายคนในพื้นที่แน่นอน
นายเอกรินทร์ กล่าวอีกว่า เหตุใดจึงไม่มีชาวบ้านในพื้นที่ใกล้ชิดกับบริษัทฯ ออกมาประท้วง หากได้รับความเดือดร้อนตามข้อกล่าวหา แต่กลุ่มคนที่ประท้วงกลับเป็นคนนอกพื้นที่อยู่ห่างจากบริษัทถึง 4 กิโลเมตร คือ ต.หนองปลาไหล อีกทั้งยังมีภูเขากั้นระหว่างหมู่บ้านกับบ่อฝั่งกลบขยะ โดยที่ผ่านมา แพทย์หญิงคนหนึ่งและผู้ใหญ่บ้านหนองปลาไหล หมู่ 8 เป็นแกนนำชาวบ้าน ซึ่งมักจะอ้างว่านายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข และ น.พ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งผู้ว่าฯ สระบุรี ให้การสนับสนุนในการเคลื่อนไหวช่วยเหลือชาวบ้าน โดยใช้ชื่อว่า หน่วยแพทย์เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมเคลื่อนที่ กระทรวงสาธารณสุข แต่จากการตรวจสอบแพทย์หญิงอรพรรณ์แล้ว พบว่าไม่มีอยู่ในสารบบตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
“เมื่อเร็วๆ นี้ คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำคณะแพทย์และเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางลงพื้นที่เพื่อตรวจสุขภาพชาวบ้าน ปรากฏว่าไม่พบผู้ป่วยจากสารพิษปนเปื้อนแม้แต่รายเดียว ขณะที่กรมควบคุมมลพิษได้เข้าไปตรวจสอบก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ รวมถึงกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรวดน้ำใต้ดินก็ไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษแต่อย่างใด สำหรับพื้นที่การเกษตร จากการสำรวจของคณะกรรมการก็ไม่พบพื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากบริษัทฯ แม้แต่แปลงเดียว ตรงกันข้ามข้าวในพื้นที่ยังชนะเลิศประกวดการปลูกข้าวระดับประเทศถึง 2 ปี นอกจากนี้ยังไม่พบว่ามีสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ได้รับมลพิษจากบริษัทฯ เช่นกัน อย่างไรก็ตามขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยงข้อง โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวด้วย” นายเอกรินทร์ กล่าวในท้ายสุด