"ซีอีโอ"บริษัทเบตเตอร์เวิลด์ อ้างม็อบต้านสระบุรีเคลื่อนไหวมีวาระซ่อนเร้น คาใจได้รับผลกระทบแต่ไม่อยากรู้ข้อเท็จจริงหลังขวางเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ด้าน"รมว.อุตฯ" สั่ง 3 หน่วยงานเร่งตรวจสอบ ลั่นเดินหน้าคุ้ยข้อเท็จจริงภายใน 7 วัน ก่อนรายงานนายกฯทราบ
ความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงบริษัทเอกชนปล่อยมลพิษลงแม่น้ำ ทำให้ชาวบ้านที่ ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่หน้ากระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาประท้วง ไม่ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมเรียกร้องให้ปิดศูนย์บริหารและจัดการกากอุตสาหกรรมของบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) กรณีดังกล่าว นายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ กรรมการผู้จัดการบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีนฯ แสดงความแปลกใจที่ชาวบ้านที่อ้างว่าได้รับผลกระทบกับการดำเนินการของบริษัทกลับเรียกร้องไม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก 3 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามมติของคณะกรรมการแห่งชาติที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมทั้งเรียกร้องให้ปิดศูนย์ฯ โดยจะไม่มีการเจรจาต่อใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีวาระซ่อนเร้น และมั่นใจว่าผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ เพราะพนักงานบริษัทกว่า 400 คน หรือร้อยละ 98 ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับการปิดศูนย์ฯ
"ชาวบ้านบอกว่าเดือดร้อนแสนสาหัส แต่พอเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกลับมาขัดขวาง อย่างนี้หมายความว่าอย่างไร " นายสุวัฒน์ กล่าวพร้อมตั้งข้อสังเกตถึงผลการสอบสวนของคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงฯ ที่รายงานถึงนายกฯ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการคนใดในคณะทำงานที่ รมว.สาธารณสุข แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาลงลายชื่อรับรองความถูกต้องของผลการศึกษาดังกล่าว มีเพียงความเห็นส่วนตัวของ น.พ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงฯ และพวกอีก 2 คน ที่นำข้อมูลออกมาเผยแพร่จนทำให้บริษัทยื่นฟ้องตั้งแต่รัฐมนตรีกับพวกรวม 7 คนต่อศาลอาญาจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา
นายสุวัฒย์ กล่าวด้วยว่า ให้จับตาดูความเคลื่อนไหวของม็อบกลุ่มนี้ให้ดี เพราะมีงบ 200 ล้านบาท ที่แพทย์หญิงกับผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ พาชาวบ้านเข้าไปขอจากกระทรวงสาธารณสุข โดยอ้างว่าจะนำมารักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบ่อขยะ โดยเอาข้อมูลจากข้อสรุปที่แพทย์หญิงคนดังกล่าวจัดทำขึ้นมาเป็นเหตุผลตั้งต้น โดยไม่ฟังเสียงว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองจากคณะทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งขึ้นแต่อย่างใด
ด้าน นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่าจะเดินหน้าให้ 3 หน่วยงานของ 3 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบให้เสร็จภายใน 7 วัน และนำผลที่ได้เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป"
ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีการประชุมเรื่องข้อเรียกร้องให้ปิดศูนย์บำบัดกากอุตสาหกรรมของ บริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา และมีมติให้ 3 กระทรวงหลักดังกล่าวลงตรวจสอบพื้นที่ศูนย์ฯ ของบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน ในวันจันทร์ที่ 12 ตุ.ค.เนื่องจากไม่มีข้อสรุปจากหน่วยงานใดๆ ชี้ชัดว่าเห็นควรให้ปิดศูนย์ฯ กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าไม่สามารถปิดศูนย์บำบัดขยะได้อันเนื่องมาจากไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ที่เป็นสาเหตุที่ต้องให้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขโรงงาน ตามมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.โรงงาน ซึ่งตามกฎหมายแล้ว หากโรงงานใดได้รับคำสั่งให้ปรับปรุงหรือแก้ไขแล้วไม่ปฏิบัติหรือละเลย กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงสามารถออกคำสั่งตามมาตรา 39 คือสั่งปิดโรงงานได้
ส่วน กรมควบคุมมลพิษ ได้ชี้แจงผลการตรวจสอบคุณภาพด้านอากาศและน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมมลพิษ ขณะที่ความเห็นของ คณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้ได้รับกระทบจากศูนย์ฯ ของ กระทรวงสาธาณสุข ที่ระบุว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอนามัยจนนำไปสู่การลงพื้นที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงในที่สุด
ความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงบริษัทเอกชนปล่อยมลพิษลงแม่น้ำ ทำให้ชาวบ้านที่ ต.หนองปลาไหล อ.เมือง จ.สระบุรี ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่หน้ากระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมาประท้วง ไม่ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมเรียกร้องให้ปิดศูนย์บริหารและจัดการกากอุตสาหกรรมของบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) กรณีดังกล่าว นายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ กรรมการผู้จัดการบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีนฯ แสดงความแปลกใจที่ชาวบ้านที่อ้างว่าได้รับผลกระทบกับการดำเนินการของบริษัทกลับเรียกร้องไม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก 3 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามมติของคณะกรรมการแห่งชาติที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมทั้งเรียกร้องให้ปิดศูนย์ฯ โดยจะไม่มีการเจรจาต่อใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีวาระซ่อนเร้น และมั่นใจว่าผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ เพราะพนักงานบริษัทกว่า 400 คน หรือร้อยละ 98 ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับการปิดศูนย์ฯ
"ชาวบ้านบอกว่าเดือดร้อนแสนสาหัส แต่พอเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกลับมาขัดขวาง อย่างนี้หมายความว่าอย่างไร " นายสุวัฒน์ กล่าวพร้อมตั้งข้อสังเกตถึงผลการสอบสวนของคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงฯ ที่รายงานถึงนายกฯ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคณะกรรมการคนใดในคณะทำงานที่ รมว.สาธารณสุข แต่งตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาลงลายชื่อรับรองความถูกต้องของผลการศึกษาดังกล่าว มีเพียงความเห็นส่วนตัวของ น.พ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงฯ และพวกอีก 2 คน ที่นำข้อมูลออกมาเผยแพร่จนทำให้บริษัทยื่นฟ้องตั้งแต่รัฐมนตรีกับพวกรวม 7 คนต่อศาลอาญาจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา
นายสุวัฒย์ กล่าวด้วยว่า ให้จับตาดูความเคลื่อนไหวของม็อบกลุ่มนี้ให้ดี เพราะมีงบ 200 ล้านบาท ที่แพทย์หญิงกับผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ พาชาวบ้านเข้าไปขอจากกระทรวงสาธารณสุข โดยอ้างว่าจะนำมารักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบ่อขยะ โดยเอาข้อมูลจากข้อสรุปที่แพทย์หญิงคนดังกล่าวจัดทำขึ้นมาเป็นเหตุผลตั้งต้น โดยไม่ฟังเสียงว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองจากคณะทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งขึ้นแต่อย่างใด
ด้าน นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่าจะเดินหน้าให้ 3 หน่วยงานของ 3 กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบให้เสร็จภายใน 7 วัน และนำผลที่ได้เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป"
ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีการประชุมเรื่องข้อเรียกร้องให้ปิดศูนย์บำบัดกากอุตสาหกรรมของ บริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา และมีมติให้ 3 กระทรวงหลักดังกล่าวลงตรวจสอบพื้นที่ศูนย์ฯ ของบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน ในวันจันทร์ที่ 12 ตุ.ค.เนื่องจากไม่มีข้อสรุปจากหน่วยงานใดๆ ชี้ชัดว่าเห็นควรให้ปิดศูนย์ฯ กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าไม่สามารถปิดศูนย์บำบัดขยะได้อันเนื่องมาจากไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ ที่เป็นสาเหตุที่ต้องให้มีการปรับปรุงหรือแก้ไขโรงงาน ตามมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.โรงงาน ซึ่งตามกฎหมายแล้ว หากโรงงานใดได้รับคำสั่งให้ปรับปรุงหรือแก้ไขแล้วไม่ปฏิบัติหรือละเลย กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงสามารถออกคำสั่งตามมาตรา 39 คือสั่งปิดโรงงานได้
ส่วน กรมควบคุมมลพิษ ได้ชี้แจงผลการตรวจสอบคุณภาพด้านอากาศและน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมมลพิษ ขณะที่ความเห็นของ คณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้ได้รับกระทบจากศูนย์ฯ ของ กระทรวงสาธาณสุข ที่ระบุว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอนามัยจนนำไปสู่การลงพื้นที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงในที่สุด