วันนี้(25 มี.ค.)นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นางศุภรัตน์ นาคบุญนำ และน.ส.วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส รองโฆษกรัฐบาล ร่วมกัน แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
กท.อุตฯเสนอยกเลิกพ.ร.ฎ.และถอนร่างพ.ร.ฎ รวม 11ฉบับ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอต่อที่ประชุม ครม.ในการออก พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.ที่บังคับใช้อยู่แล้ว 1 ฉบับ แล้วก็ถอนร่าง พ.ร.ฎ.ที่กำลังอยู่ในกระบวนการยกร่าง อีก 10 กว่าฉบับ มีเหตุมีผลมีรายละเอียดดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอร่าง พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2550 พ.ศ. ... ซึ่ง ครม.ก็อนุมัติหลักการแล้วก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น เหตุผลก็คือ ก.อุตสาหกรรมเสนอว่า มาตรา 3 ของ พ.ร.ฎ.นี้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2550 มาตรา 3 ของฉบับนี้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.166/2549 ตามประกาศ ก.อุตสาหกรรม ฉบับที่ 3310 พ.ศ.2547 ซึ่ง มอก.166/2549 นี้ได้อ้างถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน ข้อกำหนดทั่วไปมาตรฐานเลขที่ มอก.2162/2547 ซึ่งมีข้อกำหนดบางข้ออ้างอิงวิธีทดสอบตามมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ตรงนี้ว่า พอมีข้อกำหนด บางข้ออ้างอิงวิธีทดสอบตามมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ปรากฏว่า ก.อุตสาหกรรม ได้ไปตรวจสอบและทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการร่าง พ.ร.ฎ. หรือข้อกำหนดต่างๆ ก็ไปพบว่า ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเพิกถอนมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2547 ที่อ้างถึงประกาศ ก.อุตสาหกรรม ฉบับที่ 1459 พ.ศ.2531 ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.824/2531 แต่ในส่วนที่เป็นการกำหนดมาตรฐานการทดสอบตามเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว กำหนดไว้ในข้อ 5.12 สั้นๆ แต่เพียงว่า การทดสอบให้ปฏิบัติตาม IEC 669/1 โดยมิได้มีการนำมากำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว ว่ามาตรฐานการทดสอบ IEC 669/1 ที่อ้างถึงนั้นเป็นอย่างไร และมิได้มีการนำมาตรฐานการทดสอบดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งเอกสารที่กำหนดมาตรฐานการทดสอบ IEC 669/1 ยังกำหนดไว้เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ประกอบการคนไทยที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่ามาตรฐานการทดสอบที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร กรณีนี้จึงขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า การกำหนดกฎหมายให้ประชาชนหรือบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืน ผู้นั้นจะต้องได้รับโทษ จะต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าใจได้ และต้องมีการประกาศกฎหมายนั้นให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน อีกทั้งยังเป็นการขัดต่อหลักการตรากฎหมายไทยที่ต้องกระทำเป็นภาษาไทยด้วย กล่าวโดยสรุปคือ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
พอเกิดกรณีนี้ มีการหยิบยกเอาคำพิพากษาของศาลปกครองขึ้นมาพิจารณา ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอต่อที่ประชุม ครม.ในการถอนร่างพระราชกฤษฎีกา อีก 11 ฉบับ ด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่ฉบับแรกบังคับใช้ไปแล้ว 11 ฉบับ ที่ต้องถอนร่างออกมา ประกอบด้วย ร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทินเนอร์สำหรับสีพ่นแห้งเร็ว ไนโตรเซลลูโลส ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ..... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ...... ส่วนอีก 9 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคมนอกอาคารสำหรับผ่านทะเลสาบและแม่น้ำ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ....., ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิวายนิวคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลล์ เล่ม 3 สายไฟฟ้าไม่มีเปลือกสำหรับงานติดตั้งถาวร ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ...., ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิวายนิวคลอไรด์แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลล์ เล่ม 4 สายไฟฟ้ามีเปลือกสำหรับงานติดตั้งถาวร ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.....
ที่ต้องกราบเรียนอย่างนี้เป็นข้อสังเกตได้เช่นเดียวว่า ที่ผ่านๆ มา ในยุครัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร กระบวนการในการร่าง กระบวนการในการตรากฎบัตรกฎหมายมีความรอบคอบแล้วได้พิจารณาในทุกกระบวนการ ในทุกขั้นตอนอย่างละเอียดถ่องแท้เพียงใด เหตุผลเพราะว่ามีการสำรวจตรวจพบ แล้วมีการปรากฏให้เห็นกันอย่างชัดเจน ทั้งกระบวนการร่าง กระบวนการตรากฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ แล้วขณะนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการร่างกฎหมายในอำนาจบริหาร ปรากฏว่า ความละเอียดรอบคอบ นิติบัญญัติ อย่างที่ทราบว่า กฎหมายหลายฉบับศาลรัฐธรรมนูญตีตกลงมาบ้าง ผ่านไปโดยองค์ประชุมไม่ครบบ้าง แล้วนี่ปรากฎพบในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรมอีก นี่เป็นข้อสังเกตว่า ในยามที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย กฎบัตรกฎหมายบางทีต้องมีการพิจารณากันโดยรอบคอบเช่นเดียวกัน
กท.อุตฯ รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมฯ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ กระทรวงอุตสากรรมเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อทราบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 184.39 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2550 ร้อยละ 0.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.6 เช่นเดียวกัน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2550 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชี และเครื่องคำนวณ การผลิตเครื่องเพชร พลอยและรูปภัณฑ์ และของที่เกี่ยวข้อง การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิต Malt Liquor หรือเบียร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 68.15 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ประมาณ 65.97 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 65.12 ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ที่ ก.อุตฯ เสนอต่อ ครม. อุตฯ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ในตลาดสหภาพยุโรปคาดว่าสิ่งทอไทยจะส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากเครื่องนุ่งห่มจีนมีปัญหาสารเคมีปนเปื้อนสูง อุตฯ เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในเดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่าจขยายตัวหลังจาก ครม.อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นแรงซื้อและการลงทุนของประชาชนและภาคเอกชนให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้น ศก.ของภาครัฐ และความต้องการของตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ อุตฯ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะอุตฯ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 อันเนื่องมาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับขึ้นร้อยละ 32.32 เช่นเดียวกับภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณการว่าจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.99 เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของสินค้าหลักที่ส่งไปยังภูมิภาคอียู เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15 และ 12 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสินค้าบางชนิด เช่น เครื่องรับโทรทัศน์สี ปรับตัวลดลง เนื่องจากสินค้าดังกล่าวไทยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลัก ประกอบกับการถูกตัดจีเอสพีจนถึงเดือนมิถุนายน 2551 ทำให้คำสั่งซื้อในตลาดนี้ลดลง
ครม. เด้ง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นั่งเป็นผู้ตรวจกระทรวงฯ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ครม.ก็เห็นชอบให้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม โอนไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท แล้วให้นายรพินทร์ จารุดุล ตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท โอนไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
ครม.ยบโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เดินหน้าเปเงินลงนโยบายSML
ด้านนางศุภรัตน์ แถลงว่า ครม.มีการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า โดยวันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติให้ยุติการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเอสเอ็มแอล ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องขอเรียนให้ทราบว่าเหตุผลในการที่จำเป็นจะต้องยุติโครงการอยู่ดีมีสุขนั้นก็เนื่องจากเหตุผลทางด้านกฎหมาย เนื่องจากว่าบทบาทของคณะกรรมการตามโครงการอยู่ดีมีสุขนั้น หมดวาระลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2551 ซึ่งเป็นวันที่ ครม.นั้นได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
เพราะฉะนั้นในส่วนของคณะกรรมการในส่วนของโครงการอยู่ดีมีสุขก็จำเป็นจะต้องหมดวาระลงไป ประกอบกับอีกเหตุผลหนึ่งเนื่องจากว่าโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขนั้นไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแผนบริหารราชการแผ่นดินตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2551 ในส่วนของโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเอสเอ็มแอล ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็มีหลักการเพื่อที่จะให้หมู่บ้าน ชุมชนนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชาธิปไตย ก็คือเป็นการจัดสรรงบประมาณให้โดยตรง เพื่อประชาชนในหมู่บ้านนั้นได้นำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพ การสร้างอาชีพ การเสริมรายได้ตรงนี้ เป้าหมายเป็นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำตามระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณให้กับหมู่บ้านและชุมชนโดยตรง ถ้าเปรียบเทียบกับโครงการอยู่ดีมีสุขนั้น โครงการอยู่ดีมีสุขก็เป็นการจัดสรรงบประมาณไปยังจังหวัด ไปยังอำเภอ ประชาชนต้องเสนอโครงการมาที่อำเภอ อยู่ที่คณะกรรมการอำเภอว่าจะอนุมัติหรือไม่ แต่ว่ากรณีของเอสเอ็มแอลนี้จัดสรรงบฯ ให้กับหมู่บ้านและชุมชนโดยตรง โดยที่มีชาวบ้านที่จะทำเป็นประชาคมในส่วนของการร่วมคิดร่วมทำของชาวบ้านเอง
ในส่วนของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็จะเป็นไปตามขนาดของหมู่บ้าน ขนาดเอส จำนวนประชากร คือ 251 - 500 คน เงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็คือ 200,000 บาท มีจำนวนหมู่บ้านประมาณ 23,000 หมู่บ้าน ขนาดเอ็ม มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 501 - 1,000 คน ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ 250,000 บาท มีจำนวน 36,000 กว่าหมู่บ้าน และหมู่บ้านขนาดแอล ก็มีจำนวนประชากรมากขึ้นมา ตั้งแต่ 1,001 - 1,500 คน ได้รับเงินงบประมาณ 300,000 บาท มีจำนวนทั้งสิ้น 9,900 กว่าหมู่บ้าน นอกจากขนาดเอสเอ็มแอลแล้ว ก็ยังมีขนาดเล็กไปกว่านั้น คือเอส 1 ไม่เกิน 50 คน เงินงบประมาณ 50,000 บาท ตรงนี้มี 48 หมู่บ้าน เอส 2 มีประชากร 51 - 150 คน เงินงบประมาณ 100,000 บาท มี 252 หมู่บ้าน เอส 3 มีประชากร 151 - 250 คน เงินงบประมาณ 150,000 บาท จำนวน 4,800 กว่าหมู่บ้าน และมีขนาดใหญ่กว่าแอล ก็เป็นเอ็กซ์แอล ขนาด 1,501 คนขึ้นไป เงินงบประมาณที่จะได้รับการจัดสรรคือ 350,000 บาท รวม 3,000 กว่าหมู่บ้าน รวมทั้งหมดที่ของบประมาณสนับสนุนจาก ครม.ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 มีหมู่บ้านและชุมชนจำนวนประมาณ 78,358 แห่ง วงเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อเริ่มให้โครงการนี้ดำเนินการได้ในปลายเดือนเมษายนนี้ เพราะว่าจะเป็นช่วงที่ประชาชนนั้นได้กลับไปยังภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะได้ถือโอกาสในช่วงที่เดินทางกลับภูมิลำเนานั้นไปทำประชาคม ไปดูว่าในหมู่บ้านของพวกเขามีความจำเป็นจะต้องใช้เงินไปเพื่อการอะไรบ้าง หลังจากที่ในการจัดทำประชาคมแล้ว เงินงบประมาณตรงนี้ก็น่าที่จะสามารถที่จะจัดสรรลงไปได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน
ในส่วนของงบฯ ในช่วงปลายเดือนเมษายน ที่จะเริ่มดำเนินการได้ก็คือจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ ครม.ก็อาจจะพิจารณาให้ใช้จากงบฯ ที่ระงับในโครงการที่ไม่สอดคล้องกับโครงการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2551 ก็คือจะมีการปรับโยกงบจากโครงการอยู่ดีมีสุขมาใช้กับโครงการเอสเอ็มแอลตรงนี้ด้วย แล้วก็จะมีส่วนหนึ่งที่จะขอจากงบกลาง เป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพราะฉะนั้นทั้งหมด ครม.ก็ให้ความเห็นชอบ ตั้งงบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 20,000 ล้านบาท ในส่วนของหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณนั้นจะมีการพิจารณาโครงการของหมู่บ้านหรือว่าชุมชนที่เสนอขอรับการจัดสรรนั้น จะคำนึงถึง 7 ด้านด้วยกัน ด้านแรกก็คือ จะต้องเป็นการใช้งบประมาณในส่วนของการไปแก้ไขปัญหาความยากจนที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนด้วยตนเอง การพัฒนาโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาสินทรัพย์ของหมู่บ้านและชุมชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านและชุมชน และการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด
ประเด็นสำคัญของการใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามโครงการเอสเอ็มแอลนี้จะต้องยึดหลักความโปร่งใสในการบริหารจัดการ มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่มีอยู่จริง แล้วก็จะมีหน่วยงานระดับอำเภอนั้นทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำกับหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นลักษณะของการจัดทำประชาคมอย่างที่เรียนให้ทราบแล้วว่าเขาจะมีการตั้งคณะทำงานในส่วนของชาวบ้านขึ้นมาเอง นี่ก็เป็นเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งเชื่อว่าถ้างบประมาณลงไปสู่หมู่บ้านและชุมชนแล้วก็จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนในด้านเศรษฐกิจ แต่ก็คงจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ มีหลักเกณฑ์ว่าเงินจะใช้ไปทางไหนให้เข้าหลักเกณฑ์ตรงนี้
ครม.ขยายเวลาเพิ่มแวทไปอีก 2ปี
นางศุภรัตน์ แถลงว่า เรื่องต่อมาก็เป็นเรื่องที่ทางกระทรวงการคลังได้เสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. และที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มออกไป คืออัตราเดิมที่จัดเก็บร้อยละ 7 ก็คือขยายต่อไปอีก 2 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 เรื่องนี้เนื่องจากว่าภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันก็ยังอยู่ในระยะของการฟื้นตัว การประกอบกิจการต่างๆ เพราะฉะนั้นก็ให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการด้วย
ครม.รับทราบรายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า
นางศุภรัตน์ แถลงว่า ครม.ก็ได้เห็นชอบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอมา โดยทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าในช่วงระหว่างวันที่ 4 - 10 มีนาคมนั้น เกิดหมอกควันขึ้นโดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำปาง แต่คาดว่าสถานการณ์ก็คงจะไม่รุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2550 ในช่วงนี้ก็ให้ทางกระทรวงที่เกี่ยวข้องนั้นไปปรับใช้งบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายในแผนปฏิบัติการ เพื่อที่จะบรรเทาปัญหาตรงนี้ และได้ให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ไปดำเนินการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาไฟป่า มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการดับไฟป่าระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ ควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติการฝนหลวงก็ประสานกับทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในวันที่ 4 - 7 มีนาคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งจะมีการประชุมคณะทำงานด้านหมอกควันและไฟป่าอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงครั้งที่ 1 ไปที่ จ.เชียงใหม่ เพราะฉะนั้นที่ประชุมในครั้งนั้นก็เห็นชอบร่วมกันที่จะร่วมมือกันในการป้องกันปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
หมักสัญจร เตรียมบินโชว์ตัวที่อิเหนา เช้าพรุ่งนี้
นางศุภรัตน์ แถลงว่า เรื่องของกำหนดการเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนายกรัฐมนตรี และคณะ อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเดินทางในวันพรุ่งนี้ วันพุธที่ 26 มีนาคม เวลา 08.20 น. นายกรัฐมนตรี และคณะ จะเดินทางโดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 433 ไปยังกรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้เวลาบินประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อเดินทางถึงแล้วก็จะมีพิธีต้อนรับตามธรรมเนียม และก็จะได้พบกับทีมประเทศไทยในอินโดนีเซีย ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวันที่ทางเอกอัครราชทูตของกรุงจาการ์ตาเป็นเจ้าภาพในเวลา 13.00 น. หลังจากนั้นประมาณบ่าย 3 โมง ก็จะเดินทางไปที่ทำเนียบประธานาธิบดี เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีของอินโดนีเซียและมีการหารือข้อราชการเต็มคณะระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย นอกจากนั้นก็จะพบปะนักธุรกิจอินโดนีเซียและนักธุรกิจไทยในอินโดนีเซียด้วย นายกรัฐมนตรีนั้นก็มีกำหนดการพรุ่งนี้เช้าเดินทางไป แล้วก็มีพิธีการจนถึงในช่วงเย็น จะมีการเลี้ยงรับรองในช่วงค่ำ ในวันรุ่งขึ้น วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม ก็จะไปที่อนุสาวรีย์วีรชน เพื่อวางพวงมาลา หลังจากนั้นก็จะมีการพบกับผู้แทนนักธุรกิจไทย ผู้แทนชมรมสตรีไทย และนักศึกษาในกรุงจาการ์ตาด้วย นายกรัฐมนตรี และคณะ จะเดินทางออกจากกรุงจาการ์ตาโดยเครื่องของการบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 373 กลับกรุงเทพฯ เดินทางจากที่นั่นบ่ายโมง ก็กลับมาถึงในเวลา 16.35 น. ของวันพฤหัสบดี เวลาที่กรุงเทพฯ กับจาการ์ตา เวลาเดียวกัน
ครม.สั่งหยุดเพิ่มสงกรานต์ เป็น 12-16เม.ย.
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า เนื่องจากปีนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 12 และ 13 ตรงกับวันเสาร์และอาทิตย์ ทำให้มีวันหยุดเพิ่มขึ้นจากหน้าปฏิทิน นั่นคือ คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 12 - 16 เมษายน 2551 เป็นวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในส่วนของธนาคาร การเปิดดำเนินการ ตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์จะต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย ในส่วนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กำหนดเอง
“เสธ.หนั่น” ขอเพิ่มงบสร้างศูนย์ประชุมฯที่เชียงใหม่
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า เรื่องเพื่อพิจารณาขอขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณเหลื่อมปี ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ โดยให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการ ภายใต้คณะกรรมการกำกับโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ที่แต่งตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และให้ที่ตั้งโครงการอยู่ในที่ดินราชพัสดุ เขต ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สาระสำคัญของเรื่อง ในส่วนของการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีตั้งแต่ปี 2546 ที่อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการ
ล่าสุดขณะนี้เรื่องการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีค่อนข้างจำกัด โดย สสปน. จะต้องดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการออกแบบ (ทีโออาร์) เพื่อเตรียมดำเนินงานในขั้นตอนการจัดหาผู้ดำเนินการ รวมถึงศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการด้วย ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ต้องอาศัยระยะเวลาและความรอบคอบในการดำเนินการ คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในเวลาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่กำหนดไว้ ในวันที่ 31 มีนาคม 2551
วันนี้ในส่วนของท่านรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ได้เสนอเพื่อจะเลื่อน ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณเหลื่อมปี จากวันที่ 31 มีนาคม 2551 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ในส่วนของการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ จะมีเรื่องของงบประมาณที่ใช้สำหรับการดำเนินการ จำนวน 262,813,200 บาท ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ และมอบหมายให้ สสปน.เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ รวมถึงเป็นผู้ดำเนินโครงการต่อไป ใช้งบประมาณที่ ททท.อนุมัติไว้เดิม และให้ สสปน.ตั้งงบประมาณรายจ่ายในปีต่อไปด้วย
นอกจากนี้ มีการขอความเห็นไปยังกระทรวงการคลัง ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการคลังได้นำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมว่า กรณีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นผู้ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามแนวทาง และไม่ให้เป็นภาระแก่คณะรัฐมนตรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงต้องเป็นผู้ขอทำความตกลงขยายเวลาเบิกจ่ายเงินกับกระทรวงการคลัง ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งกระทรวงการคลังจะประสานงานในเรื่องดังกล่าว
สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายการค่าก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จะเป็นรายการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนเตรียมการดำเนินงานด้านต่างๆ เห็นควรให้มีการกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการอย่างชัดเจน เพื่อให้การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินด้วย
สภาพัฒน์เสนอรายงานสรุปภาวะสังคมไตรมาสที่4
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า สรุปรายงานภาวะสังคมไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2550 สรุปรายงานโดยสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดจากการที่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำรายงานภาวะสังคม และมีการแถลงแก่สื่อมวลชน เกี่ยวกับรายงานภาวะสังคมไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2550 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 มีสาระสำคัญประกอบด้วย ภาวะสังคมไทย 4 ด้านที่สำคัญ คือ ด้านคุณภาพคน ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคน และด้านสิ่งแวดล้อม แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ด้านคุณภาพคน สถานการณ์การมีงานทำในช่วงไตรมาสที่ 4 และภาพรวมทั้งปีปีที่แล้ว การจ้างงานรวม เพิ่มขึ้น การขยายตัวสูงขึ้นในสาขาอุตสาหกรรม การค้า โรงแรม และภัตตาคาร มีผู้ว่างงานในไตรมาสที่ 4 ลดลงเฉลี่ย 4.1 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ขณะที่ทั้งปีมีผู้ว่างงาน ร้อยละ 1.4 ในส่วนของด้านสุขภาพของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 11 โรค และโรคไม่ติดต่อ เพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากพฤติกรรมและแบบแผนการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงการใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ในปริมาณมาก ทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตด้านการเกษตร เลยส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค ส่วนความมั่นคงด้านสังคม เน้นไปที่เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย ปรากฏว่ามีภาวะลดลง คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิต ร่างกายและเพศ รวมทั้งคดียาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เด็กและเยาวชน กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์และยาเสพติด เพิ่มมากขึ้น และการกระทำผิดซ้ำ มีถึงร้อยละ 11.8 เป็นเพศชาย สูงถึงร้อยละ 91.1 เป็นนักเรียนระดับมัธยมตอนต้น ร้อยละ 40 สำหรับอุบัติเหตุทางบก ในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ ลดลงเนื่องจากการรณรงค์ป้องกันและตั้งจุดตรวจของตำรวจและหน่วยงานต่างๆ โดยมีสาเหตุหลักคือ เมาแล้วขับ ขณะที่ทั้งปีลดลงร้อยละ 8.1 นอกจากนี้ มีมิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ปรากฏว่า มีเรื่องของการบริโภคแอลกอฮอล์และเบียร์ เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์กันอย่างกว้างขวาง และในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการชอบดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน และสูบบุหรี่ ส่วนเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ไตรมาสที่ 4 มีมลพิษทางเสียงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และสระบุรี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างชัดเจน
และเรื่องระบบการศึกษาไทย จะเห็นได้ว่ามีเรื่องของการกวดวิชา ค่านิยมในการกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยวิชาหลักๆ ที่เน้น คือ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ และเคมี สถาบันกวดวิชาบางแห่งทำเป็นธุรกิจ มีทั้งที่อยู่ในสาขาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังเป็นจุดอ่อนของระบบการศึกษาอยู่ การกวดวิชาเป็นที่นิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบการศึกษา มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ปัญหาคุณภาพของครูผู้สอนที่ยังไม่จบระดับปริญญาตรี และสอนไม่ตรงวุฒิการศึกษาที่จบมา การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบางแห่งมีปัญหาการขาดแคลนครูรายสาขาวิชา ส่งผลกระทบให้คุณภาพด้านการศึกษาในบ้านเราตอนนี้ยังถือได้ว่าน่าเป็นห่วงอยู่
ครม.เห็นชอบโยกย้ายขรก.หลายตำแหน่ง พร้อมมอบหมายรองนายกฯนั่งเก้าอี้บอร์ดต่างๆ
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า มีการแต่งตั้งบุคคลและคณะบุคคลในส่วนของวาระต่างๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พุทธศักราช 2524 โดยมีการอ้างถึง พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ 2524 มาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ผู้แทนส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ไม่เกิน 4 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 แต่งตั้งให้ นายอิบรอน มะลูลีม, นายอับดุล ฮาลิม มินซาห์ นายไชยวัฒน์ สถาอานันท์(***) และนายอับดุล รอแม สาเมาะ บือตา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ มาตรา 7 กำหนดไว้ว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ มาตรา 8 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระ เมื่อตาย ลาออก คณะรัฐมนตรีให้ออก กระทรวงวัฒนธรรมพิจารณาแล้วมีการนำเสนอกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดดังกล่าวซึ่งจะครบวาระ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 แต่เพื่อความเหมาะสมและการดำเนินงานกิจการฮัจญ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เห็นสมควรให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 พ้นจากตำแหน่ง และเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ซึ่งประกอบด้วย นายเด่น โต๊ะมีนา, นายอิบรอน มะลูลีม, นายมุข สุไลมาน และ นายบุราฮานุดีน อุเซ็ง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่เสนอมา
นอกจากนี้ ยังมีการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการ ซึ่งในส่วนของการมอบหมายอำนาจตรงนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9, 10, 11, 12, 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 พุทธศักราช 2545 และระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 7 พุทธศักราช 2550 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ มอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชูศักดิ์ ศิรินิล ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพิ่มเติม และยกเลิกความในข้อ 5.2.2 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29/2551 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ด้วย
เรื่องการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนใหม่ กระทรวงการต่างประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย โดยขอให้มีการแต่งตั้ง นายเทียร์โค เทโอวาน เดนเฮ้าส์ ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย คนใหม่
นอกจากนี้มีการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 10 ของกระทรวงการคลัง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นายสันต์ วิเทศพงษ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการนักบริหาร 9 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการคลัง นักวิชาการคลัง 10 ชช. สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
และแต่งตั้งข้าราชการการเมืองอีก 2 ตำแหน่ง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และนางสาวกฤษณา ณ ระนอง ให้ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงพาณิชย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด กระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาแล้วเห็นควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการเปลี่ยนแปลงบุคคลและตำแหน่งข้าราชการการเมืองเฉพาะราย ดังนี้
1. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นางณลินี ทวีสิน จากตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 10 จำนวน 2 ราย
1. นายอภิชาติ จีระวุฒิ เป็นเลขาธิการนักบริหาร 10 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์ เป็นผู้ตรวจราชการ 10 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กท.อุตฯเสนอยกเลิกพ.ร.ฎ.และถอนร่างพ.ร.ฎ รวม 11ฉบับ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอต่อที่ประชุม ครม.ในการออก พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.ที่บังคับใช้อยู่แล้ว 1 ฉบับ แล้วก็ถอนร่าง พ.ร.ฎ.ที่กำลังอยู่ในกระบวนการยกร่าง อีก 10 กว่าฉบับ มีเหตุมีผลมีรายละเอียดดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอร่าง พ.ร.ฎ.ยกเลิก พ.ร.ฎ.กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2550 พ.ศ. ... ซึ่ง ครม.ก็อนุมัติหลักการแล้วก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น เหตุผลก็คือ ก.อุตสาหกรรมเสนอว่า มาตรา 3 ของ พ.ร.ฎ.นี้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2550 มาตรา 3 ของฉบับนี้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.166/2549 ตามประกาศ ก.อุตสาหกรรม ฉบับที่ 3310 พ.ศ.2547 ซึ่ง มอก.166/2549 นี้ได้อ้างถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน ข้อกำหนดทั่วไปมาตรฐานเลขที่ มอก.2162/2547 ซึ่งมีข้อกำหนดบางข้ออ้างอิงวิธีทดสอบตามมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ตรงนี้ว่า พอมีข้อกำหนด บางข้ออ้างอิงวิธีทดสอบตามมาตรฐาน IEC ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ปรากฏว่า ก.อุตสาหกรรม ได้ไปตรวจสอบและทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการร่าง พ.ร.ฎ. หรือข้อกำหนดต่างๆ ก็ไปพบว่า ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาเพิกถอนมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.2547 ที่อ้างถึงประกาศ ก.อุตสาหกรรม ฉบับที่ 1459 พ.ศ.2531 ซึ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.824/2531 แต่ในส่วนที่เป็นการกำหนดมาตรฐานการทดสอบตามเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว กำหนดไว้ในข้อ 5.12 สั้นๆ แต่เพียงว่า การทดสอบให้ปฏิบัติตาม IEC 669/1 โดยมิได้มีการนำมากำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงดังกล่าว ว่ามาตรฐานการทดสอบ IEC 669/1 ที่อ้างถึงนั้นเป็นอย่างไร และมิได้มีการนำมาตรฐานการทดสอบดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งเอกสารที่กำหนดมาตรฐานการทดสอบ IEC 669/1 ยังกำหนดไว้เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ประกอบการคนไทยที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดว่ามาตรฐานการทดสอบที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร กรณีนี้จึงขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า การกำหนดกฎหมายให้ประชาชนหรือบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืน ผู้นั้นจะต้องได้รับโทษ จะต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าใจได้ และต้องมีการประกาศกฎหมายนั้นให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโดยทั่วกัน อีกทั้งยังเป็นการขัดต่อหลักการตรากฎหมายไทยที่ต้องกระทำเป็นภาษาไทยด้วย กล่าวโดยสรุปคือ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
พอเกิดกรณีนี้ มีการหยิบยกเอาคำพิพากษาของศาลปกครองขึ้นมาพิจารณา ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอต่อที่ประชุม ครม.ในการถอนร่างพระราชกฤษฎีกา อีก 11 ฉบับ ด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่ฉบับแรกบังคับใช้ไปแล้ว 11 ฉบับ ที่ต้องถอนร่างออกมา ประกอบด้วย ร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทินเนอร์สำหรับสีพ่นแห้งเร็ว ไนโตรเซลลูโลส ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ..... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทินเนอร์สำหรับแล็กเกอร์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ...... ส่วนอีก 9 ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคมนอกอาคารสำหรับผ่านทะเลสาบและแม่น้ำ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ....., ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิวายนิวคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลล์ เล่ม 3 สายไฟฟ้าไม่มีเปลือกสำหรับงานติดตั้งถาวร ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ...., ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิวายนิวคลอไรด์แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลล์ เล่ม 4 สายไฟฟ้ามีเปลือกสำหรับงานติดตั้งถาวร ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ.....
ที่ต้องกราบเรียนอย่างนี้เป็นข้อสังเกตได้เช่นเดียวว่า ที่ผ่านๆ มา ในยุครัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร กระบวนการในการร่าง กระบวนการในการตรากฎบัตรกฎหมายมีความรอบคอบแล้วได้พิจารณาในทุกกระบวนการ ในทุกขั้นตอนอย่างละเอียดถ่องแท้เพียงใด เหตุผลเพราะว่ามีการสำรวจตรวจพบ แล้วมีการปรากฏให้เห็นกันอย่างชัดเจน ทั้งกระบวนการร่าง กระบวนการตรากฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ แล้วขณะนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการร่างกฎหมายในอำนาจบริหาร ปรากฏว่า ความละเอียดรอบคอบ นิติบัญญัติ อย่างที่ทราบว่า กฎหมายหลายฉบับศาลรัฐธรรมนูญตีตกลงมาบ้าง ผ่านไปโดยองค์ประชุมไม่ครบบ้าง แล้วนี่ปรากฎพบในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรมอีก นี่เป็นข้อสังเกตว่า ในยามที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย กฎบัตรกฎหมายบางทีต้องมีการพิจารณากันโดยรอบคอบเช่นเดียวกัน
กท.อุตฯ รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมฯ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ กระทรวงอุตสากรรมเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อทราบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 184.39 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2550 ร้อยละ 0.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.6 เช่นเดียวกัน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2550 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชี และเครื่องคำนวณ การผลิตเครื่องเพชร พลอยและรูปภัณฑ์ และของที่เกี่ยวข้อง การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิต Malt Liquor หรือเบียร์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 68.15 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ประมาณ 65.97 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 65.12 ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ที่ ก.อุตฯ เสนอต่อ ครม. อุตฯ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ในตลาดสหภาพยุโรปคาดว่าสิ่งทอไทยจะส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากเครื่องนุ่งห่มจีนมีปัญหาสารเคมีปนเปื้อนสูง อุตฯ เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในเดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่าจขยายตัวหลังจาก ครม.อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นแรงซื้อและการลงทุนของประชาชนและภาคเอกชนให้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้น ศก.ของภาครัฐ และความต้องการของตลาดโลกที่ยังคงมีอยู่ อุตฯ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะอุตฯ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 อันเนื่องมาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับขึ้นร้อยละ 32.32 เช่นเดียวกับภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณการว่าจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.99 เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของสินค้าหลักที่ส่งไปยังภูมิภาคอียู เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15 และ 12 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสินค้าบางชนิด เช่น เครื่องรับโทรทัศน์สี ปรับตัวลดลง เนื่องจากสินค้าดังกล่าวไทยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลัก ประกอบกับการถูกตัดจีเอสพีจนถึงเดือนมิถุนายน 2551 ทำให้คำสั่งซื้อในตลาดนี้ลดลง
ครม. เด้ง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นั่งเป็นผู้ตรวจกระทรวงฯ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า ครม.ก็เห็นชอบให้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม โอนไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท แล้วให้นายรพินทร์ จารุดุล ตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท โอนไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
ครม.ยบโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เดินหน้าเปเงินลงนโยบายSML
ด้านนางศุภรัตน์ แถลงว่า ครม.มีการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า โดยวันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติให้ยุติการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเอสเอ็มแอล ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ต้องขอเรียนให้ทราบว่าเหตุผลในการที่จำเป็นจะต้องยุติโครงการอยู่ดีมีสุขนั้นก็เนื่องจากเหตุผลทางด้านกฎหมาย เนื่องจากว่าบทบาทของคณะกรรมการตามโครงการอยู่ดีมีสุขนั้น หมดวาระลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2551 ซึ่งเป็นวันที่ ครม.นั้นได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
เพราะฉะนั้นในส่วนของคณะกรรมการในส่วนของโครงการอยู่ดีมีสุขก็จำเป็นจะต้องหมดวาระลงไป ประกอบกับอีกเหตุผลหนึ่งเนื่องจากว่าโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขนั้นไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และแผนบริหารราชการแผ่นดินตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2551 ในส่วนของโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเอสเอ็มแอล ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็มีหลักการเพื่อที่จะให้หมู่บ้าน ชุมชนนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประชาธิปไตย ก็คือเป็นการจัดสรรงบประมาณให้โดยตรง เพื่อประชาชนในหมู่บ้านนั้นได้นำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพ การสร้างอาชีพ การเสริมรายได้ตรงนี้ เป้าหมายเป็นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำตามระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณให้กับหมู่บ้านและชุมชนโดยตรง ถ้าเปรียบเทียบกับโครงการอยู่ดีมีสุขนั้น โครงการอยู่ดีมีสุขก็เป็นการจัดสรรงบประมาณไปยังจังหวัด ไปยังอำเภอ ประชาชนต้องเสนอโครงการมาที่อำเภอ อยู่ที่คณะกรรมการอำเภอว่าจะอนุมัติหรือไม่ แต่ว่ากรณีของเอสเอ็มแอลนี้จัดสรรงบฯ ให้กับหมู่บ้านและชุมชนโดยตรง โดยที่มีชาวบ้านที่จะทำเป็นประชาคมในส่วนของการร่วมคิดร่วมทำของชาวบ้านเอง
ในส่วนของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็จะเป็นไปตามขนาดของหมู่บ้าน ขนาดเอส จำนวนประชากร คือ 251 - 500 คน เงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็คือ 200,000 บาท มีจำนวนหมู่บ้านประมาณ 23,000 หมู่บ้าน ขนาดเอ็ม มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 501 - 1,000 คน ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ 250,000 บาท มีจำนวน 36,000 กว่าหมู่บ้าน และหมู่บ้านขนาดแอล ก็มีจำนวนประชากรมากขึ้นมา ตั้งแต่ 1,001 - 1,500 คน ได้รับเงินงบประมาณ 300,000 บาท มีจำนวนทั้งสิ้น 9,900 กว่าหมู่บ้าน นอกจากขนาดเอสเอ็มแอลแล้ว ก็ยังมีขนาดเล็กไปกว่านั้น คือเอส 1 ไม่เกิน 50 คน เงินงบประมาณ 50,000 บาท ตรงนี้มี 48 หมู่บ้าน เอส 2 มีประชากร 51 - 150 คน เงินงบประมาณ 100,000 บาท มี 252 หมู่บ้าน เอส 3 มีประชากร 151 - 250 คน เงินงบประมาณ 150,000 บาท จำนวน 4,800 กว่าหมู่บ้าน และมีขนาดใหญ่กว่าแอล ก็เป็นเอ็กซ์แอล ขนาด 1,501 คนขึ้นไป เงินงบประมาณที่จะได้รับการจัดสรรคือ 350,000 บาท รวม 3,000 กว่าหมู่บ้าน รวมทั้งหมดที่ของบประมาณสนับสนุนจาก ครม.ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 มีหมู่บ้านและชุมชนจำนวนประมาณ 78,358 แห่ง วงเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อเริ่มให้โครงการนี้ดำเนินการได้ในปลายเดือนเมษายนนี้ เพราะว่าจะเป็นช่วงที่ประชาชนนั้นได้กลับไปยังภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะได้ถือโอกาสในช่วงที่เดินทางกลับภูมิลำเนานั้นไปทำประชาคม ไปดูว่าในหมู่บ้านของพวกเขามีความจำเป็นจะต้องใช้เงินไปเพื่อการอะไรบ้าง หลังจากที่ในการจัดทำประชาคมแล้ว เงินงบประมาณตรงนี้ก็น่าที่จะสามารถที่จะจัดสรรลงไปได้ในช่วงปลายเดือนเมษายน
ในส่วนของงบฯ ในช่วงปลายเดือนเมษายน ที่จะเริ่มดำเนินการได้ก็คือจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ ครม.ก็อาจจะพิจารณาให้ใช้จากงบฯ ที่ระงับในโครงการที่ไม่สอดคล้องกับโครงการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2551 ก็คือจะมีการปรับโยกงบจากโครงการอยู่ดีมีสุขมาใช้กับโครงการเอสเอ็มแอลตรงนี้ด้วย แล้วก็จะมีส่วนหนึ่งที่จะขอจากงบกลาง เป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพราะฉะนั้นทั้งหมด ครม.ก็ให้ความเห็นชอบ ตั้งงบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 20,000 ล้านบาท ในส่วนของหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณนั้นจะมีการพิจารณาโครงการของหมู่บ้านหรือว่าชุมชนที่เสนอขอรับการจัดสรรนั้น จะคำนึงถึง 7 ด้านด้วยกัน ด้านแรกก็คือ จะต้องเป็นการใช้งบประมาณในส่วนของการไปแก้ไขปัญหาความยากจนที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนด้วยตนเอง การพัฒนาโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาสินทรัพย์ของหมู่บ้านและชุมชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านและชุมชน และการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด
ประเด็นสำคัญของการใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามโครงการเอสเอ็มแอลนี้จะต้องยึดหลักความโปร่งใสในการบริหารจัดการ มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่มีอยู่จริง แล้วก็จะมีหน่วยงานระดับอำเภอนั้นทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำกับหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นลักษณะของการจัดทำประชาคมอย่างที่เรียนให้ทราบแล้วว่าเขาจะมีการตั้งคณะทำงานในส่วนของชาวบ้านขึ้นมาเอง นี่ก็เป็นเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งเชื่อว่าถ้างบประมาณลงไปสู่หมู่บ้านและชุมชนแล้วก็จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนในด้านเศรษฐกิจ แต่ก็คงจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ มีหลักเกณฑ์ว่าเงินจะใช้ไปทางไหนให้เข้าหลักเกณฑ์ตรงนี้
ครม.ขยายเวลาเพิ่มแวทไปอีก 2ปี
นางศุภรัตน์ แถลงว่า เรื่องต่อมาก็เป็นเรื่องที่ทางกระทรวงการคลังได้เสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. และที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มออกไป คืออัตราเดิมที่จัดเก็บร้อยละ 7 ก็คือขยายต่อไปอีก 2 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 เรื่องนี้เนื่องจากว่าภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันก็ยังอยู่ในระยะของการฟื้นตัว การประกอบกิจการต่างๆ เพราะฉะนั้นก็ให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการด้วย
ครม.รับทราบรายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า
นางศุภรัตน์ แถลงว่า ครม.ก็ได้เห็นชอบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอมา โดยทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าในช่วงระหว่างวันที่ 4 - 10 มีนาคมนั้น เกิดหมอกควันขึ้นโดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำปาง แต่คาดว่าสถานการณ์ก็คงจะไม่รุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2550 ในช่วงนี้ก็ให้ทางกระทรวงที่เกี่ยวข้องนั้นไปปรับใช้งบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายในแผนปฏิบัติการ เพื่อที่จะบรรเทาปัญหาตรงนี้ และได้ให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ไปดำเนินการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาไฟป่า มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการดับไฟป่าระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ ควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติการฝนหลวงก็ประสานกับทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในวันที่ 4 - 7 มีนาคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งจะมีการประชุมคณะทำงานด้านหมอกควันและไฟป่าอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงครั้งที่ 1 ไปที่ จ.เชียงใหม่ เพราะฉะนั้นที่ประชุมในครั้งนั้นก็เห็นชอบร่วมกันที่จะร่วมมือกันในการป้องกันปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
หมักสัญจร เตรียมบินโชว์ตัวที่อิเหนา เช้าพรุ่งนี้
นางศุภรัตน์ แถลงว่า เรื่องของกำหนดการเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซียของนายกรัฐมนตรี และคณะ อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเดินทางในวันพรุ่งนี้ วันพุธที่ 26 มีนาคม เวลา 08.20 น. นายกรัฐมนตรี และคณะ จะเดินทางโดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 433 ไปยังกรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้เวลาบินประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อเดินทางถึงแล้วก็จะมีพิธีต้อนรับตามธรรมเนียม และก็จะได้พบกับทีมประเทศไทยในอินโดนีเซีย ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวันที่ทางเอกอัครราชทูตของกรุงจาการ์ตาเป็นเจ้าภาพในเวลา 13.00 น. หลังจากนั้นประมาณบ่าย 3 โมง ก็จะเดินทางไปที่ทำเนียบประธานาธิบดี เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีของอินโดนีเซียและมีการหารือข้อราชการเต็มคณะระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย นอกจากนั้นก็จะพบปะนักธุรกิจอินโดนีเซียและนักธุรกิจไทยในอินโดนีเซียด้วย นายกรัฐมนตรีนั้นก็มีกำหนดการพรุ่งนี้เช้าเดินทางไป แล้วก็มีพิธีการจนถึงในช่วงเย็น จะมีการเลี้ยงรับรองในช่วงค่ำ ในวันรุ่งขึ้น วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม ก็จะไปที่อนุสาวรีย์วีรชน เพื่อวางพวงมาลา หลังจากนั้นก็จะมีการพบกับผู้แทนนักธุรกิจไทย ผู้แทนชมรมสตรีไทย และนักศึกษาในกรุงจาการ์ตาด้วย นายกรัฐมนตรี และคณะ จะเดินทางออกจากกรุงจาการ์ตาโดยเครื่องของการบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 373 กลับกรุงเทพฯ เดินทางจากที่นั่นบ่ายโมง ก็กลับมาถึงในเวลา 16.35 น. ของวันพฤหัสบดี เวลาที่กรุงเทพฯ กับจาการ์ตา เวลาเดียวกัน
ครม.สั่งหยุดเพิ่มสงกรานต์ เป็น 12-16เม.ย.
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า เนื่องจากปีนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 12 และ 13 ตรงกับวันเสาร์และอาทิตย์ ทำให้มีวันหยุดเพิ่มขึ้นจากหน้าปฏิทิน นั่นคือ คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 12 - 16 เมษายน 2551 เป็นวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในส่วนของธนาคาร การเปิดดำเนินการ ตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์จะต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย ในส่วนนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กำหนดเอง
“เสธ.หนั่น” ขอเพิ่มงบสร้างศูนย์ประชุมฯที่เชียงใหม่
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า เรื่องเพื่อพิจารณาขอขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณเหลื่อมปี ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ โดยให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการ ภายใต้คณะกรรมการกำกับโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ที่แต่งตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และให้ที่ตั้งโครงการอยู่ในที่ดินราชพัสดุ เขต ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สาระสำคัญของเรื่อง ในส่วนของการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีตั้งแต่ปี 2546 ที่อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการ
ล่าสุดขณะนี้เรื่องการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีค่อนข้างจำกัด โดย สสปน. จะต้องดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการออกแบบ (ทีโออาร์) เพื่อเตรียมดำเนินงานในขั้นตอนการจัดหาผู้ดำเนินการ รวมถึงศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการด้วย ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ต้องอาศัยระยะเวลาและความรอบคอบในการดำเนินการ คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในเวลาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่กำหนดไว้ ในวันที่ 31 มีนาคม 2551
วันนี้ในส่วนของท่านรองนายกรัฐมนตรี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ได้เสนอเพื่อจะเลื่อน ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณเหลื่อมปี จากวันที่ 31 มีนาคม 2551 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 ในส่วนของการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ จะมีเรื่องของงบประมาณที่ใช้สำหรับการดำเนินการ จำนวน 262,813,200 บาท ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ และมอบหมายให้ สสปน.เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ รวมถึงเป็นผู้ดำเนินโครงการต่อไป ใช้งบประมาณที่ ททท.อนุมัติไว้เดิม และให้ สสปน.ตั้งงบประมาณรายจ่ายในปีต่อไปด้วย
นอกจากนี้ มีการขอความเห็นไปยังกระทรวงการคลัง ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการคลังได้นำเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมว่า กรณีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นผู้ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามแนวทาง และไม่ให้เป็นภาระแก่คณะรัฐมนตรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงต้องเป็นผู้ขอทำความตกลงขยายเวลาเบิกจ่ายเงินกับกระทรวงการคลัง ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งกระทรวงการคลังจะประสานงานในเรื่องดังกล่าว
สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายการค่าก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จะเป็นรายการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนเตรียมการดำเนินงานด้านต่างๆ เห็นควรให้มีการกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายแต่ละรายการอย่างชัดเจน เพื่อให้การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินมีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินด้วย
สภาพัฒน์เสนอรายงานสรุปภาวะสังคมไตรมาสที่4
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า สรุปรายงานภาวะสังคมไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2550 สรุปรายงานโดยสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดจากการที่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำรายงานภาวะสังคม และมีการแถลงแก่สื่อมวลชน เกี่ยวกับรายงานภาวะสังคมไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2550 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 มีสาระสำคัญประกอบด้วย ภาวะสังคมไทย 4 ด้านที่สำคัญ คือ ด้านคุณภาพคน ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคน และด้านสิ่งแวดล้อม แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ด้านคุณภาพคน สถานการณ์การมีงานทำในช่วงไตรมาสที่ 4 และภาพรวมทั้งปีปีที่แล้ว การจ้างงานรวม เพิ่มขึ้น การขยายตัวสูงขึ้นในสาขาอุตสาหกรรม การค้า โรงแรม และภัตตาคาร มีผู้ว่างงานในไตรมาสที่ 4 ลดลงเฉลี่ย 4.1 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ขณะที่ทั้งปีมีผู้ว่างงาน ร้อยละ 1.4 ในส่วนของด้านสุขภาพของประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 11 โรค และโรคไม่ติดต่อ เพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากพฤติกรรมและแบบแผนการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงการใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืช ในปริมาณมาก ทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตด้านการเกษตร เลยส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค ส่วนความมั่นคงด้านสังคม เน้นไปที่เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย ปรากฏว่ามีภาวะลดลง คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิต ร่างกายและเพศ รวมทั้งคดียาเสพติด เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เด็กและเยาวชน กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์และยาเสพติด เพิ่มมากขึ้น และการกระทำผิดซ้ำ มีถึงร้อยละ 11.8 เป็นเพศชาย สูงถึงร้อยละ 91.1 เป็นนักเรียนระดับมัธยมตอนต้น ร้อยละ 40 สำหรับอุบัติเหตุทางบก ในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ ลดลงเนื่องจากการรณรงค์ป้องกันและตั้งจุดตรวจของตำรวจและหน่วยงานต่างๆ โดยมีสาเหตุหลักคือ เมาแล้วขับ ขณะที่ทั้งปีลดลงร้อยละ 8.1 นอกจากนี้ มีมิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคนในสังคม ปรากฏว่า มีเรื่องของการบริโภคแอลกอฮอล์และเบียร์ เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์กันอย่างกว้างขวาง และในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการชอบดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน และสูบบุหรี่ ส่วนเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ไตรมาสที่ 4 มีมลพิษทางเสียงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และสระบุรี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างชัดเจน
และเรื่องระบบการศึกษาไทย จะเห็นได้ว่ามีเรื่องของการกวดวิชา ค่านิยมในการกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยวิชาหลักๆ ที่เน้น คือ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ และเคมี สถาบันกวดวิชาบางแห่งทำเป็นธุรกิจ มีทั้งที่อยู่ในสาขาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังเป็นจุดอ่อนของระบบการศึกษาอยู่ การกวดวิชาเป็นที่นิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบการศึกษา มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ปัญหาคุณภาพของครูผู้สอนที่ยังไม่จบระดับปริญญาตรี และสอนไม่ตรงวุฒิการศึกษาที่จบมา การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบางแห่งมีปัญหาการขาดแคลนครูรายสาขาวิชา ส่งผลกระทบให้คุณภาพด้านการศึกษาในบ้านเราตอนนี้ยังถือได้ว่าน่าเป็นห่วงอยู่
ครม.เห็นชอบโยกย้ายขรก.หลายตำแหน่ง พร้อมมอบหมายรองนายกฯนั่งเก้าอี้บอร์ดต่างๆ
นางวีรินทร์ทิรา แถลงว่า มีการแต่งตั้งบุคคลและคณะบุคคลในส่วนของวาระต่างๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พุทธศักราช 2524 โดยมีการอ้างถึง พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ 2524 มาตรา 6 กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ผู้แทนส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ไม่เกิน 4 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 แต่งตั้งให้ นายอิบรอน มะลูลีม, นายอับดุล ฮาลิม มินซาห์ นายไชยวัฒน์ สถาอานันท์(***) และนายอับดุล รอแม สาเมาะ บือตา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ มาตรา 7 กำหนดไว้ว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ มาตรา 8 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระ เมื่อตาย ลาออก คณะรัฐมนตรีให้ออก กระทรวงวัฒนธรรมพิจารณาแล้วมีการนำเสนอกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดดังกล่าวซึ่งจะครบวาระ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 แต่เพื่อความเหมาะสมและการดำเนินงานกิจการฮัจญ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เห็นสมควรให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 พ้นจากตำแหน่ง และเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ซึ่งประกอบด้วย นายเด่น โต๊ะมีนา, นายอิบรอน มะลูลีม, นายมุข สุไลมาน และ นายบุราฮานุดีน อุเซ็ง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่เสนอมา
นอกจากนี้ ยังมีการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการ ซึ่งในส่วนของการมอบหมายอำนาจตรงนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9, 10, 11, 12, 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 พุทธศักราช 2545 และระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 7 พุทธศักราช 2550 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ มอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชูศักดิ์ ศิรินิล ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพิ่มเติม และยกเลิกความในข้อ 5.2.2 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29/2551 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 ด้วย
เรื่องการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนใหม่ กระทรวงการต่างประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย โดยขอให้มีการแต่งตั้ง นายเทียร์โค เทโอวาน เดนเฮ้าส์ ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย คนใหม่
นอกจากนี้มีการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 10 ของกระทรวงการคลัง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นายสันต์ วิเทศพงษ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการนักบริหาร 9 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการคลัง นักวิชาการคลัง 10 ชช. สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
และแต่งตั้งข้าราชการการเมืองอีก 2 ตำแหน่ง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และนางสาวกฤษณา ณ ระนอง ให้ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินในกระทรวงพาณิชย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด กระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาแล้วเห็นควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการเปลี่ยนแปลงบุคคลและตำแหน่งข้าราชการการเมืองเฉพาะราย ดังนี้
1. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง จากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นางณลินี ทวีสิน จากตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 10 จำนวน 2 ราย
1. นายอภิชาติ จีระวุฒิ เป็นเลขาธิการนักบริหาร 10 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์ เป็นผู้ตรวจราชการ 10 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ