xs
xsm
sm
md
lg

เตรียมวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โดยบริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับคอลัมน์ดีๆ ที่ช่วยแนะนำการวางแผนทางการเงินด้วยแนวคิด “วางแผนการเงิน.. แค่คิดชีวิตก็เปลี่ยน” หลายๆ ท่านอาจได้ติดตามข่าวที่มาแรงและเป็นเรื่องที่หลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ นั่นก็คือ เรื่องการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ปี 2560

แต่สำหรับท่านใดที่อาจจะยังไม่ทราบข่าวดังกล่าว ก็ไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ เพราะในวันนี้ผมจะมาสรุปโครงสร้างภาษีใหม่ให้ทุกท่านได้ทราบและทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้สามารถเตรียมตัววางแผนภาษีตามโครงสร้างภาษีใหม่ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ ซึ่งจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 ได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในหลายรายการ ซึ่งจะทำให้คนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียภาษีน้อยลงในปีภาษี 2560 โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อสำคัญได้ 3 หัวข้อ ดังนี้ครับ

1. ปรับปรุงค่าใช้จ่าย

ตามโครงสร้างภาษีใหม่ปี 2560 ได้เพิ่มการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าวแต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้

2. ปรับปรุงค่าลดหย่อน ซึ่งการปรับปรุงค่าลดหย่อนใหม่สามารถสรุปได้ ดังนี้

3. อัตราภาษีใหม่ สามารถสรุปได้ ดังนี้

ทั้งนี้การปรับเกณฑ์ภาษีดังกล่าวข้างต้นให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไปนะครับ (ยื่นแบบภาษีในปี 2561) ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างภาษีครั้งนี้ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเป็นธรรมมากขึ้น สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยต้องมีรายได้เดือนละ 26,000 บาทขึ้นไปจึงจะเริ่มเสียภาษี กรณีมีรายได้เฉพาะเงินเดือนเท่านั้น และหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น

จากที่กล่าวมาทั้งหมดในวันนี้ผมคิดว่าท่านผู้อ่านได้รับความรู้เพื่อที่จะนำไปใช้สำหรับวางแผนภาษี มากพอสมควร แล้วกลับมาพบกับสาระความรู้ดีๆ ได้ใหม่ในสัปดาห์หน้านะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ


กำลังโหลดความคิดเห็น