xs
xsm
sm
md
lg

อเบอร์ดีนชี้สหรัฐฯ ขึ้น ดบ.ส่งผลดี ส่วน EU ยังต้องใช้เวลาฟื้นตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


อเบอร์ดีนมองสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยเป็นผลดีจากเศรษฐกิจที่เติบโตช่วยดันประเทศอื่น ชี้ผลกระทบที่มีตามมาเป็นแค่ระยะสั้นเท่านั้น ขณะที่ยุโรปยังต้องใช้เวลาฟื้นตัว

โอแคร์โรล ประธานกลุ่มนักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ บลจ. อเบอร์ดีน กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ กล่าวว่า แม้ว่าตลาดตราสารทุน ตราสารหนี้ และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศได้มีการปรับตัวตอบรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามแผนของธนาคารกลางนั้นก็ยังเร็วกว่าที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะทำการพิจารณาอย่างละเอียด ตามมุมมองของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ควบคู่ไปกับตัวเลขผลวิเคราะห์การเติบโตทางการเงินและสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก ในมุมมองของอเบอร์ดีนการที่ธนาคารกลางได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าธนาคารกลางมีความมั่นใจในเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ความแข็งแกร่งของตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลกอย่างสหรัฐฯ ก็เหมือนกระแสน้ำขึ้นที่จะขับเคลื่อนธุรกิจทั้งหลายให้เดินหน้าและเติบโตขึ้นตาม ถ้าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตอนนี้มีความมั่นคงตามที่ธนาคารกลางเชื่อมั่น ความมั่นคงของตลาดสหรัฐฯ จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ดีขึ้นตามลำดับ การที่ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นตามประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเพียงแค่ผลกระทบระยะสั้นที่เป็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่เริ่มจะมีการฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์

ริชาร์ด ดันบาร์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนอาวุโส กล่าวเสริมว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะปกติ จากที่เคยมีนโยบายทางการเงินที่ไม่ปกติไม่ได้เป็นการปรับตัวที่ง่าย ถือเป็นข้อควรระวัง และอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานในการเริ่มปรับตัว อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและได้เสียงตอบรับที่ดีจากนักลงทุนทั้งหลาย

แพททริค มัลดาริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนตราสารหนี้ บลจ. อเบอร์ดีน กรุงนิวยอร์ก กล่าวว่า การที่ธนาคารกลางได้ออกประกาศตามที่คาดการณ์ไว้นั้น ขณะที่พวกเรากำลังจะเข้าสู่ปี 2016 จะมีการพูดคุยถึงเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น โดยที่สมาชิก FOMC (Federal Open Market Committee) เชื่อว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ก่อนหมดปี 2016 แต่ทั้งนี้การตัดสินใจของธนาคารกลางย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลของตลาดและตัวเลขทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ตลาดจะเป็นตัวกำหนดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่ธนาคารกลางต้องการเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลการปรับตัวของอัตราผลตอบแทนระยะยาวของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

นีล มัลเรย์ หัวหน้าแผนกการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้ว บลจ. อเบอร์ดีน กรุงลอนดอน ได้แสดงความคิดเห็นในมุมมองฝั่งยุโรปว่า ทุกคนเห็นว่าการตอบสนองของตลาดซบเซามาเป็นเวลานาน ซึ่งผลกระทบหลักคือ ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งเห็นได้จากการประชุม ECB (European Central Bank) ที่ผ่านมานักลงทุนได้แสดงความผิดหวังที่ดรากีได้ปรับนโยบายทางการเงินน้อยกว่าสิ่งที่ตลาดต้องการ และในขณะเดียวกันค่าเงินยูโรก็อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ปัจจัยโดยรวมเหล่านี้ได้ทำให้ตลาดเริ่มเข้าใจว่านโยบายของ ECB (European Central Bank) ยังตามหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ อยู่ และต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ก่อนที่เศรษฐกิจของยุโรปจะกลับมาเหมือนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในวันนี้ได้


กำลังโหลดความคิดเห็น