ThaBMA มองปีหน้าตลาดบอนด์ให้ผลตอบแทนดีขึ้นหลังสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย และไม่หวั่นเงินทุนไหลออก จับตาปัจจัยต่างประเทศและการลงทุนภาครัฐฯ อาจกระทบการโตของเศรษฐกิจไทย
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 2559 ต้องจับตาดูนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเท่าไร หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นมากจนมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนั้น ก็คาดว่าโดยรวมทั้งปีดอกเบี้ยสหรัฐฯ ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งถือว่ายังเป็นระดับที่ต่ำ แต่การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะทำให้มีเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยได้ โดยปัจจุบันต่างชาติถือครองตราสารหนี้ไทยอยู่ประมาณ 570,000 ล้านบาท หากไหลออกไปทั้งหมดก็ยังมองว่าไม่ส่งผลกระทบเพราะไทยยังมีเงินทุนสำรองมาก ขณะเดียวกันแบงก์ชาติก็ออกบอนด์มาดึงเงินกลับไปได้
“ดังนั้น ในปีหน้าการลงทุนในตลาดตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนดีกว่าในปีนี้เพราะปัจจัยจากการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ เป็นหลัก”
สำหรับภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2558 เป็นครั้งแรกที่มูลค่าคงค้าง (Outstanding) ของตลาดโดยรวมทะลุ 10 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 10.02 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว โดยมีสัดส่วนตราสารหนี้ภาครัฐร้อยละ 75 และภาคเอกชนร้อยละ 25
โดยมูลค่าการระดมทุนของภาคเอกชนผ่านการออกตราสารหนี้ระยะยาวเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ทั้งปี เท่ากับ 570,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 565,531 ล้านบาท และมีกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวมากที่สุด
สำหรับตราสารหนี้ระยะสั้นมียอดการออกรวมทั้งปีเท่ากับ 851,285 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 40 จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1,184,843 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีจำนวนผู้ออกรวมถึง 180 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากปีก่อน ทำให้ภาพรวมทั้งปี 2558 มีจำนวนผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาวเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA สูงถึง 314 บริษัทซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ด้านการลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ในปี 2558 เงินลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้ไทยลดลง 103,218 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดการถือครองที่ระดับ 682,873 ล้านบาท ณ สิ้นปีที่แล้ว การลดลงของเงินลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เกิดจากการหมดอายุของตราสารหนี้ถึง 81,524 ล้านบาท โดยเป็นการลดลงในตราสารหนี้ระยะสั้น 69,361 ล้านบาท และลดลงในตราสารหนี้ระยะยาว 33,857 ล้านบาท
ด้านความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทน (Yield) พันธบัตรรัฐบาล พบว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้นถึงกลางปรับตัวลดลงประมาณ 47-54 basis points เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ Yield ของพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงประมาณ 16-36 basis points เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว จากความกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
สำหรับแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2559 บริษัทเอกชนมีแนวโน้มระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มผู้ออกจะกระจายไปยังบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค เนื่องจากมีการขยายตัวทางธุรกิจค่อนข้างมาก นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จึงคาดว่าในปี 2559 จะมีมูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวเฉพาะที่มาขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ประมาณ 520,855-552,840 ล้านบาท
“ในปี 2559 อาจจะมีปัจจัยมากระทบให้เศรษฐกิจไทยไม่เป็นไปตามคาดคือ ภัยแล้งในประเทศ การลงทุนภาครัฐที่อาจล่าช้าและไม่เกิดขึ้นจริง การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน รวมไปถึงการก่อการร้ายในต่างประเทศ และราคาน้ำมันที่ลดลงมากจนกระทบต่อประเทศผู้ผลิตน้ำมัน”
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 2559 ต้องจับตาดูนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเท่าไร หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นมากจนมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนั้น ก็คาดว่าโดยรวมทั้งปีดอกเบี้ยสหรัฐฯ ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งถือว่ายังเป็นระดับที่ต่ำ แต่การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะทำให้มีเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทยได้ โดยปัจจุบันต่างชาติถือครองตราสารหนี้ไทยอยู่ประมาณ 570,000 ล้านบาท หากไหลออกไปทั้งหมดก็ยังมองว่าไม่ส่งผลกระทบเพราะไทยยังมีเงินทุนสำรองมาก ขณะเดียวกันแบงก์ชาติก็ออกบอนด์มาดึงเงินกลับไปได้
“ดังนั้น ในปีหน้าการลงทุนในตลาดตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนดีกว่าในปีนี้เพราะปัจจัยจากการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ เป็นหลัก”
สำหรับภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2558 เป็นครั้งแรกที่มูลค่าคงค้าง (Outstanding) ของตลาดโดยรวมทะลุ 10 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 10.02 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว โดยมีสัดส่วนตราสารหนี้ภาครัฐร้อยละ 75 และภาคเอกชนร้อยละ 25
โดยมูลค่าการระดมทุนของภาคเอกชนผ่านการออกตราสารหนี้ระยะยาวเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ทั้งปี เท่ากับ 570,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 565,531 ล้านบาท และมีกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวมากที่สุด
สำหรับตราสารหนี้ระยะสั้นมียอดการออกรวมทั้งปีเท่ากับ 851,285 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 40 จากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 1,184,843 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มีจำนวนผู้ออกรวมถึง 180 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากปีก่อน ทำให้ภาพรวมทั้งปี 2558 มีจำนวนผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนรวมทั้งระยะสั้นและระยะยาวเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA สูงถึง 314 บริษัทซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ด้านการลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ในปี 2558 เงินลงทุนต่างชาติในตราสารหนี้ไทยลดลง 103,218 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดการถือครองที่ระดับ 682,873 ล้านบาท ณ สิ้นปีที่แล้ว การลดลงของเงินลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เกิดจากการหมดอายุของตราสารหนี้ถึง 81,524 ล้านบาท โดยเป็นการลดลงในตราสารหนี้ระยะสั้น 69,361 ล้านบาท และลดลงในตราสารหนี้ระยะยาว 33,857 ล้านบาท
ด้านความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทน (Yield) พันธบัตรรัฐบาล พบว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้นถึงกลางปรับตัวลดลงประมาณ 47-54 basis points เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ Yield ของพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงประมาณ 16-36 basis points เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว จากความกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
สำหรับแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2559 บริษัทเอกชนมีแนวโน้มระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มผู้ออกจะกระจายไปยังบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค เนื่องจากมีการขยายตัวทางธุรกิจค่อนข้างมาก นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จึงคาดว่าในปี 2559 จะมีมูลค่าการออกตราสารหนี้ระยะยาวเฉพาะที่มาขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ประมาณ 520,855-552,840 ล้านบาท
“ในปี 2559 อาจจะมีปัจจัยมากระทบให้เศรษฐกิจไทยไม่เป็นไปตามคาดคือ ภัยแล้งในประเทศ การลงทุนภาครัฐที่อาจล่าช้าและไม่เกิดขึ้นจริง การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน รวมไปถึงการก่อการร้ายในต่างประเทศ และราคาน้ำมันที่ลดลงมากจนกระทบต่อประเทศผู้ผลิตน้ำมัน”