ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.วันที่ 16 ธันวาคมนี้ คาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น เพราะจากรายงานตัวเลขจีดีพีของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสศช.ไตรมาส 3 ขายตัว 2.9% เป็นผลมาจากการลงทุนของภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกบริการ ดังนั้นปีนี้คาดว่าจีดีพีจะเติบโต 2.8% ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบัน และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินไว้ในสถานการณ์ที่จำเป็น
นอกจากนี้จะต้องติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดในวันที่ 15-16 ธันวาคมนี้ เพราะมีผลต่อความผันผวนการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และมีผลต่อตลาดการเงินไทย โดยต้องรอดูแถลงการณ์หลังการประชุม และตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯของเฟดที่จะรายงานหลังการประชุม เช่น จีดีพี อัตราการว่างงาน เพื่อประกอบการประเมินทิศทางของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯในระยะข้างหน้าต่อไป คาดว่าประชุมครั้งนี้เฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ และถ้ามีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอย่างค่อยเป็นค่อยไปคงไม่ส่งผลให้เกิดความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายและภาวะเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ในระดับที่รุนแรงมากนัก
ระดับการออมในประเทศของไทยซึ่งมีแนวโน้มลดลง จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ กนง.พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม เพราะถ้าดอกเบี้ยต่ำมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาเชิงเสถียรภาพในระยะกลาง – ยาวได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงในเรื่องเงินทุนไหลออกจากส่วนต่างดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้ กนง.ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจมีผลต่อต้นทุนทางการเงินของไทยในปีหน้า
นอกจากนี้จะต้องติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดในวันที่ 15-16 ธันวาคมนี้ เพราะมีผลต่อความผันผวนการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และมีผลต่อตลาดการเงินไทย โดยต้องรอดูแถลงการณ์หลังการประชุม และตัวเลขคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯของเฟดที่จะรายงานหลังการประชุม เช่น จีดีพี อัตราการว่างงาน เพื่อประกอบการประเมินทิศทางของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯในระยะข้างหน้าต่อไป คาดว่าประชุมครั้งนี้เฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ และถ้ามีการส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอย่างค่อยเป็นค่อยไปคงไม่ส่งผลให้เกิดความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายและภาวะเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ในระดับที่รุนแรงมากนัก
ระดับการออมในประเทศของไทยซึ่งมีแนวโน้มลดลง จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ กนง.พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม เพราะถ้าดอกเบี้ยต่ำมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาเชิงเสถียรภาพในระยะกลาง – ยาวได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงในเรื่องเงินทุนไหลออกจากส่วนต่างดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้ กนง.ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจมีผลต่อต้นทุนทางการเงินของไทยในปีหน้า