xs
xsm
sm
md
lg

จัดพอร์ตการลงทุนไตรมาส 4

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ
Dr.win@one-asset.com

ภาพรวมการลงทุนในช่วงนี้ ตลาดในหลายๆสินทรัพย์ยังคงต้องเผชิญกับความผันผวนต่อไปอีกสักระยะ ความอ่อนไหวต่อปัจจัยเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วงที่ตลาดมีความกังวลต่อการฟื้นตัวช้าของเศรษฐกิจโลก จากปัจจัยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาที่จะส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุน ซึ่งจะค่อนข้างเห็นได้ชัดว่าเม็ดเงินเริ่มมีการไหลออกจากตลาดของประเทศที่กำลังพัฒนา

โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชีย โดยในระยะสั้นค่อนข้างคาดการณ์ในการหาจังหวะเข้าลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทได้ยาก โดยเฉพาะผู้ลงทุนมือใหม่

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผมแนะนำมาตลอด คือ การกำหนดเป้าหมายของการลงทุน และตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ตนเองสามารถรับได้เพื่อตัดสินใจเลือกสินทรัพย์เข้าลงทุน และกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ให้หลากหลาย (Asset Allocation) ในพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุน และความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ของแต่ละท่าน ซึ่งจะสามารถลดทอนความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง

โดยทั่วไปการจัดพอร์ตสามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทางง่ายๆ ตามระดับของความเสี่ยง เริ่มจาก ความเสี่ยงระดับต่ำ ระดับปานกลางและระดับสูง สำหรับคำแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับภาพการลงทุนในช่วงนี้ที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่มีปัจจัยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกาในปีนี้

ผมขอแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนโดยขอยกตัวอย่างผลตอบแทนการจัดพอร์ตการลงทุน โดยใช้ข้อมูลผลตอบแทนและค่าความเสี่ยงคำนวนย้อนหลัง 3 ปี ของกองทุนตัวอย่างดังกล่าว ณ วันที่ 31 ส.ค. 58 ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวไม่ใช่การประมาณการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต เพียงแต่ผู้ลงทุนอาจจะนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อพิจารณาการจัดพอร์ตของท่านได้ ดังนี้

สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ผมแนะนำให้กระจายการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ในสัดส่วนประมาณ 85% ของพอร์ตการลงทุน และลงทุนในหุ้นประมาณ 15% ของพอร์ตการลงทุน โดยยกตัวอย่างของกองทุนภายใต้การบริหารของ บลจ.วรรณ ได้แก่ กองทุนเปิดเอกตราสารหนี้คืนกำไร (ONE-FAR) และกองทุนเปิด วรรณเอเอ็มเซ็ท 50 (1AMSET50) ตามลำดับ

สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงในระดับปานกลาง ผมแนะนำให้ลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ลงเหลือประมาณ 60% พอร์ตการลงทุน และเพิ่มสัดส่วนลงทุนกองทุนหุ้นในประเทศประมาณ 20% และกองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 20% โดยกองทุนที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้การบริหารของ บลจ.วรรณ ได้แก่ กองทุนเปิดเอกตราสารหนี้คืนกำไร (ONE-FAR) กองทุนเปิด วรรณเอเอ็มเซ็ท 50 (1AMSET50) และกองทุน วรรณ พร็อพเพอร์ตี้ พลัส ดิวิเดน ฟันด์ (ONE-PROP-D) ตามลำดับ

สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับสูง แนะนำให้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประมาณ 20% ของพอร์ตการลงทุน ให้น้ำหนักการลงทุนที่เท่ากับระหว่างกองทุนหุ้นในประเทศประมาณ 40% ของพอร์ตการลงทุน และ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 40% ของพอร์ตการลงทุน โดยกองทุนที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้การบริหารของ บลจ.วรรณ ได้แก่ กองทุนเปิดเอกตราสารหนี้คืนกำไร (ONE-FAR) กองทุนเปิด วรรณเอเอ็มเซ็ท 50 (1AMSET50) และกองทุน วรรณ พร็อพเพอร์ตี้ พลัส ดิวิเดน ฟันด์ (ONE-PROPD)

สำหรับผู้ลงทุนทีสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แนะนำให้กระจายการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประมาณ 10% กองทุนหุ้นในประเทศประมาณ 20% กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 30% และกองทุนหุ้นต่างประเทศประมาณ 40% ของพอร์ตการลงทุน โดยกองทุนที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้การบริหารของบลจ.วรรณ ได้แก่ กองทุนเปิดเอกตราสารหนี้คืนกำไร (ONE-FAR) กองทุนเปิด วรรณเอเอ็มเซ็ท 50 (1AMSET50) และกองทุน วรรณ พร็อพเพอร์ตี้ พลัส ดิวิเดน ฟันด์ (ONE-PROP-D) และ กองทุนเปิด วรรณ โกลบอล อิควิตี้ ฟันด์ (ONE-GLOBALEQ) ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี สัดส่วนการลงทุนที่ผมแนะนำ เป็นเพียงแนวทางเพื่อตัดสินใจคัดเลือกลงทุนในกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดนโยบายการลงทุนของกองทุนควบคู่กับการติดตามข่าวสารทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนให้ทันต่อสถานการณ์

•นักลงทุนสามารถสอบถามเพิ่มเติมและขอรับร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ฝ่ายบริการลูกค้าและสนับสนุนธุรกิจที่หมายเลข 0-2659-8888 ต่อ 1 ครับ

•“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น