xs
xsm
sm
md
lg

โอกาสในท่ามกลางวิกฤตของตลาดทุนโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์บัวหลวง Money Tips
โดย วสุ ศรีธิมาสถาพร
กองทุนบัวหลวง

ในปี 2015 และปี 2016 องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นจาก 1.8% ในปี 2014 เป็น 2.1% ในปี 2015 และ 2.4% ในปี 2016 สาเหตุจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุน ดังจะได้เห็นจากตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมที่ลดลงสู่ระดับ 5.10% รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (ISM Manufacturing) ที่ระดับ 53.7 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีการขยายตัวด้านภาคการผลิต

ขณะที่ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอลงจาก 4.6% ในปี 2014 เป็น 4.2% ในปี 2015 เหตุจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศกลุ่มที่มีการส่งออกสินค้าดังกล่าว รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่เศรษฐกิจจีนซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับสองของโลกชะลอตัวลงจากภาคการผลิตและการลงทุน ส่งผลถึงประเทศคู่ค้ารอบด้าน

นอกจากอัตราการเติบโตที่สวนทางกันแล้ว เราจะได้เห็นนโยบายการเงินที่สวนทางกัน (Policy Divergence) โดยคาดว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกภายในสิ้นปีนี้หลังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะเวลายาวนานตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินปี 2008 ช่วงเวลาของการปรับคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ขณะที่ประเทศในกลุ่มยุโรป ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นั้นยังคงทิศทางนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายด้วยการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบสถาบันการเงิน กล่าวคือ

•ธนาคารกลางยุโรปยังคงอัดฉีดเม็ดเงินในระบบด้วยการซื้อคืนพันธบัตรจำนวน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนต่อเนื่องไปจนถึงกันยายน 2016 รวมถึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.05% ต่อปี

•ญี่ปุ่นเพิ่มสภาพคล่องด้วยการซื้อคืนพันธบัตร (QQE) ปริมาณ 80 ล้านล้านเยนต่อปี

•จีนปรับลดอัตราสำรองธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงเป็นร้อยละ 17.5 รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงเป็น 4.60% และ 1.75% ณ สิ้นสิงหาคมที่ผ่านมา

จากเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งความแตกต่างของอัตราการเติบโต นโยบายการเงิน และทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้การลงทุนในตราสารทุนจากนี้ไปมีความผันผวนสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำรวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้การลงทุนในตราสารหนี้อาจจะให้ผลตอบแทนที่ไม่น่าสนใจนัก แต่ถ้าหากเป็นการลงทุนระยะกลางถึงยาว เช่น ต้องการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต เตรียมพร้อมเพื่อการเกษียณ การแสวงหากิจการดีๆ มีอนาคตที่มีความแข็งแกร่งของกำไร ซึ่งยังคงมีอยู่ทั่วโลก จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนที่ดี มีการกระจายความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ภายใต้ภาวะผันผวนในปัจจุบัน

อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในหุ้นที่น่าสนใจทั่วโลก จะพบว่ามีกิจการจำนวนมากที่อยู่ในข่ายน่าลงทุน ส่วนใหญ่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สหรัฐอเมริกา แต่ก็ทำธุรกิจที่เปิดกว้าง มียอดขายจากทั่วโลก มีอนาคตที่ดี และไม่ได้จำกัดการทำธุรกิจเฉพาะในประเทศที่บริษัทนั้นจัดตั้ง (พิจารณาตามขนาดบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณการซื้อขาย/สภาพคล่องสูง ในดัชนี MSCI All Country World Index จะพบว่าน้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในสหรัฐฯ 52.4% และส่วนที่เหลือจะเป็นญี่ปุ่น 8.03% สหราชอาณาจักร 7.02% ฝรั่งเศส 3.47% สวิตเซอร์แลนด์ 3.37% อื่นๆ 25.7% ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2015) ซึ่งนอกจากการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ แล้วยังมีบริษัทดีๆ อีกทั่วโลกที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีรายได้ที่ดีแม้ในช่วงเศรษฐกิจโลกผันผวน ชะลอตัว และสามารถใช้เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทชั้นนำระดับโลก

ผู้สนใจการลงทุนในรูปแบบดังกล่าวสามารถลงทุนผ่าน กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) ได้ กองทุนนี้จะลงทุนผ่านกองทุนหุ้นของ Wellington Management กับกองทุนหลักที่มีชื่อว่า Wellington Global Opportunities Equity Portfolio ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี

กองทุนหลักมีสไตล์การคัดสรรหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานแบบ Bottom up approach มีทีมงานจัดการลงทุนและทีมงานวิเคราะห์กว่า 590 คนกระจายทั่วโลกซึ่งทำการคัดสรรบริษัทลงทุนกว่า 4,500 บริษัท เพื่อคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดมาลงทุน มีสไตล์การคัดสรรบริษัทโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเทียบเงินลงทุนต่อสินทรัพย์ (ROIC: Return on Invested Capital) รวมถึงความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน (Comparative Advantage) กองทุนหลักมีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอทั้งช่วง 3 ปี และ 5 ปีที่ผ่านมา และได้รับการจัดอันดับผลตอบแทนจาก Morningstar อันดับ 5 ดาว

ผู้ที่สนใจในกองทุนหลักสามารถลงทุนผ่านกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) ซึ่งเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 10 บาท ได้ที่สาขาธนาคารกรุงเทพ ตัวแทนขายหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน, หลักทรัพย์บัวหลวง, กรุงเทพประกันชีวิต ได้ระหว่างวันที่ 21-29 กันยายน 2015


กำลังโหลดความคิดเห็น