xs
xsm
sm
md
lg

ทางง่ายๆ ที่จะจัดสรรเงินยามเกษียณ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โดย นรวีร์ วงศ์สมมาตร CFP®
Product Development
บลจ.บัวหลวง

“ที่สุดแห่งความเสียดาย... คือตายไปแล้วใช้เงินไม่หมด ที่สุดแห่งความสลด... คือใช้เงินหมดแล้วยังไม่ตาย”

ข้อความที่ยกมานี้ ใครสักคนเคยปรารภไว้อย่างติดตลก แต่เป็นเรื่องน่าไตร่ตรองอย่างยิ่งสำหรับคนในวัยเกษียณ

หลายท่านคงเคยอ่านบทความให้เตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อรอเข้าสู่วัยเกษียณกันมาบ้างไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นแนะนำเรื่องแหล่งเงินใช้จ่ายยามเกษียณ เช่น เงินออมส่วนตัว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯลฯ หรือการสำรองเงินบางก้อนเพื่อรักษาพยาบาลหรืออุบัติเหตุ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีแนวโน้มมากขึ้นทุกๆ ปี

ต่อไปนี้ ผมอยากจะชวนคุยว่าจะทำอย่างไรให้เงินก้อนวัยเกษียณอยู่กับเราได้นานที่สุดครับ

การบริหารจัดการเงินที่เตรียมไว้ใช้ในวัยเกษียณให้เติบโตเพื่อให้ใช้เงินก้อนนี้ได้ยาวนานนั้น ท่านต้องกระจายการลงทุนของท่านให้หลากหลาย ในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่าจำกัดการลงทุนเฉพาะแต่สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำเพียงอย่าง ที่แม้ว่าเงินต้นจะมีความปลอดภัยสูงก็ตาม แต่อาจต้องพ่ายแพ้ต่ออัตราเงินเฟ้อ ศัตรูสำคัญของเงินในกระเป๋าเราได้

คำแนะนำทั่วๆ ไปที่ท่านก็ทราบดี คือเน้นจัดสรรเงินลงทุนอย่างระมัดระวัง ไม่ให้สุ่มเสี่ยงจนเกินไป สุดท้ายแล้วก็ชี้ชวนให้ลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรือเงินฝากเป็นหลัก แต่อาจเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ บ้าง เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน

แต่ความจริงกลับเป็นว่าคนจำนวนมากยังนิยมฝากเงินกับธนาคาร อาจเป็นเพราะสะดวกสบาย หรือไม่มีเวลาพอที่จะวางแผนจัดสรรเงินก้อนดังกล่าว

ในวันนี้มีกองทุนรวมที่จะมาทำหน้าที่แทนท่านแล้ว โดยจะจัดสรรเงินลงทุนอย่างผสมผสานและเหมาะสมตามสถานการณ์ ตั้งแต่การลงทุนในส่วนตราสารหนี้ที่เน้นความมั่นคง ไปจนกระจายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่างๆ เช่น ตราสารทุน ทองคำ หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ตามจังหวะและโอกาสอันเหมาะสม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลตอบแทน จนกลายมาเป็นรายรับสู่กระเป๋าเงินท่านอย่างสม่ำเสมอ และยังมีผู้จัดการกองทุนที่คอยเฝ้าติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อปรับพอร์ตการลงทุนให้คงตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมั่นใจได้อีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น กองทุนรวมกองนี้ยังโดดเด่นตรงที่ท่านสามารถขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ หากต้องการใช้เงินเป็นรายเดือนได้อีกด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะทำให้ท่านไม่ต้องกังวลที่จะต้องคอยวางแผนจัดสรรเงินลงทุนอีกต่อไป ที่สำคัญกองทุนรวมกองนี้ได้ตอบโจทย์ข้างต้นว่า ทำอย่างไรถึงให้เงินก้อนนี้อยู่กับเราได้ยาวนานที่สุด

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดขึ้นดังนี้

ทางเลือกที่ 1: นำเงิน 1,000,000 บาท ไปฝากธนาคาร ในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.50% ต่อปี จากนั้นเบิกมาใช้จ่ายในทุกๆ สิ้นเดือน เดือนละ 15,000 บาท เงินก้อนนี้ (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) จะหมดภายใน 67.3 เดือน

ทางเลือกที่ 2: นำเงิน 1,000,000 บาท ไปเปิดบัญชีกองทุน โดยคาดหวังอัตราผลตอบแทนกองทุนรวมประมาณ 5% ต่อปี พร้อมกับตั้งคำสั่งขายคืนอัตโนมัติทุกเดือน เดือนละ 15,000 บาท วิธีนี้จะหมดเงินภายใน 78.7 เดือน

“ท่านจะเห็นว่าทางเลือกที่ 2 จะช่วยให้ใช้เงินได้นานกว่าทางเลือกที่ 1 ถึง 11.4 เดือน หรือเกือบปี คิดเป็นเม็ดเงินที่มากกว่าฝากธนาคารถึง 171,000 บาท”

กองทุนรวมที่ว่าเรียกสั้นๆ ว่า B-SENIOR เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 70% ในแต่ละรอบปีบัญชี ขณะที่ให้ลงทุนในตราสารแห่งทุนไม่เกิน 30% ซึ่งอาจรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในประเทศ เช่น กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) เป็นต้น และอาจลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 15% ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุน

สุดท้ายนี้ ผมอยากเรียนทุกท่านว่า สภาพคล่องทางการเงินในวัยเกษียณนั้นหาใช่เรื่องยากเย็นเลย หากมีการบริหารจัดการอย่างรอบคอบและเหมาะสม ก็จะทำให้ท่านใช้ชีวิตยามเกษียณได้อย่างมั่งมีความสุข

•สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กองทุนบัวหลวง โทร. 0-2674-6488 กด 8 หรือ www.bblam.co.th รวมทั้งจากสาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ ตัวแทนขายหน่วยลงทุนของกรุงเทพประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง และบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน

•การลงทุนในหน่วยลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน รวมทั้งไม่ได้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จึงมีความเสี่ยงจากการลงทุน ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจํานวน

•ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น