xs
xsm
sm
md
lg

โอกาสทองในรอบทศวรรษของญี่ปุ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์บัวหลวง Money Tips
โดย วสุ ศรีธิมาสถาพร
CFP® กลุ่มจัดการกองทุน
บลจ.บัวหลวง
หลังการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2014 รัฐบาลนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นยังคงสานต่อนโยบายเพื่อรักษาศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวผ่านการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Structural reform) มีการดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้จากนี้ไปข้างหน้าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะมีทิศทางที่ปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยบวกต่างๆ เป็นแรงส่ง ได้แก่

ความแข็งแกร่งของรัฐบาลอาเบะหลังการเลือกตั้งที่นั่งในสภาของพรรคร่วมรัฐบาลเพิ่มขึ้นเกินกว่าสองในสาม เป็นผลดีต่อการลงมติในวาระต่างๆ ที่เข้าสู่สภาต่อเนื่องไปอีกสี่ปี ทำให้การผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจกระทำได้ง่ายขึ้น

นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ญี่ปุ่นได้ใช้ธนูดอกแรกที่เรียกว่านโยบายการเงินอีกครั้ง ในดือน ต.ค. 2014 ปริมาณเงินเยนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปัจจัยส่งผลให้ค่าเงินเยนมีทิศทางอ่อนค่า ช่วยสนับสนุนการส่งออก และด้วยค่าเงินที่ถูกทำให้มีปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

การเพิ่มขนาดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจพิเศษ ในวันที่ 27 ธันวาคม 2014 รัฐบาลเห็นชอบเพิ่มเติมวงเงินอีกจำนวน 3.5 ล้านล้านเยน คาดว่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายและการฟื้นตัวให้กับเศรษฐกิจได้ถึง 0.70% การปรับโครงสร้างภาษีธุรกิจ โดยรัฐบาลเตรียมปรับลดภาษี National tax และ local tax rate ในปี 2016 และ 2017 ทำให้อัตราภาษีแท้จริงจะลดลงเท่ากับ 3.29% ในช่วง 2 ปีจากนี้ไป ซึ่งจะสนับสนุนให้บริษัทญี่ปุ่นมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เป้าหมายเพื่อเพิ่ม “ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE)”

การเพิ่มสัดส่วนหุ้นของกองทุนบำนาญ GPIF (Government Pension Investment Fund) ซึ่งมีทรัพย์สินสูงถึง 130 ล้านล้านเยน โดยลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศและหันมาเพิ่มการลงทุนตราสารทุนในประเทศ ด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ 25% ของเงินลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นของ GPIF อยู่ที่ 18% ณ กันยายน 2014

บัญชีเงินลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษี รัฐบาลเตรียมปรับเพิ่มวงเงินบัญชีการออม/ลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษี หรือที่เรียกว่า NISA (Nippon Individual Saving Account) จากเดิม 1 ล้านเยน เป็น 1.2 ล้านเยนต่อคนต่อปี รวมถึงขยายสิทธิดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงผู้เยาว์ หรือที่เรียกว่า Junior NISA ด้วยวงเงินออม/ลงทุนอีก 8 แสนเยนต่อคนต่อปีเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อดึงดูดให้คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุน้อยหันมาสนใจลงทุนในหุ้นและหน่วยลงทุนเพิ่มเติม

การส่งออกคาดว่าขยายตัวในปี 2015 สำหรับสินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าไปยังประเทศจีนและเอเชีย ประกอบกับเงินเยนอ่อนค่าน่าจะช่วยลดภาระการขาดดุลบัญชีการค้าให้ลดลง ทำให้ฐานะการเงินดีขึ้น ด้วยหลายปัจจัยที่กล่าวมา กองทุนบัวหลวงเชื่อว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถจะเติบโตจากความต่อเนื่องของอาเบะโนมิกส์ ที่เข้ามาช่วยเพิ่มระดับการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของบริษัท ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญของการฟื้นตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะยาว

เหตุนี้จึงเป็นโอกาสทองของการลงทุนใน “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)” ที่มีนโยบายลงทุนโดยตรงในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่ชื่อว่า Nomura Japan Strategic Value Fund Class A (JSV Fund) ซึ่งบริหารจัดการโดย Nomura Asset Management ซึ่ง JSV Fund เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยกองทุนอาจลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศญี่ปุ่นแต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นอกตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด

ที่ผ่านมา JSV Fund ถือได้ว่ามีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอ มีแนวทางการคัดเลือกหลักทรัพย์แบบ Bottom Up ที่เน้นคัดสรรบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2014 JSV Fund ได้รับการจัดอันดับจากมอนิ่งสตาร์เป็นระดับกองทุนห้าดาว และ B-NIPPON มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 สำหรับส่วนที่เหลืออาจมีไว้เพื่อสร้างผลตอบแทนในจังหวะเวลาที่ทีมจัดการกองทุนเห็นสมควร

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้


กำลังโหลดความคิดเห็น