คอลัมน์ บัวหลวง Money Tips
โดยสุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
กลุ่มจัดการกองทุน
บลจ.บัวหลวง
หลังจากดิฉันได้รับโจทย์ให้เขียนบทความเกี่ยวกับวัยเกษียณ ความคิดในครั้งแรกรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว หากเทียบกับอายุปัจจุบันของดิฉันและจะเขียนได้ดีและมีประโยชน์ไหม แต่พอได้มีเวลาทบทวนหัวข้อใหม่อีกครั้ง ก็พบว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากและสิ่งที่ดิฉันวางแผนและทำในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันก็เป็นการเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณแบบกรายๆนี่เอง ประกอบกับได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันเองซึ่งก็อยู่ในวัยเกษียณเช่นเดียวกัน จึงรวบรวมสิ่งต่างๆ เพื่อมาแบ่งปันรูปแบบการเตรียมพร้อมและใช้ชีวิตอย่างมีสุขในยามเกษียณ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับ Lifestyle ของแต่ละบุคคล ซึ่งคงต้องไปปรับใช้ให้เหมาะสม
สังคมไทยทุกวันนี้ คนหนุ่มสาวมักจะแต่งงานช้าลง แต่งงานน้อยลง ทำให้มีลูกช้าลงไปด้วย ในขณะที่อีกหลายครอบครัวยุคใหม่ก็ไม่ต้องการมีลูก การที่จะมาหวังพึ่งพาให้ลูกหลานเลี้ยงดูยามแก่เฒ่าจึงเรื่องยากกว่าเมื่ออดีต ชะดีชะร้อยยามเกษียณแล้ว ลูกๆ อาจจะยังต้องพึ่งพาเราอยู่ด้วยซ้ำ
สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ว่าปริมาณประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2568 จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยเทียบกับปี 2543 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.4 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) โดยสมบูรณ์แบบนั่นเองมาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยนิยามของ “สังคมผู้สูงอายุ” ว่าเป็นอย่างไร
ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ให้ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ20 และ 14 ตามลำดับ (สำหรับประเทศไทยเกณฑ์การเกษียณอายุโดยทั่วไปคือ 60 ปี และใน พรบ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ก็ให้คำนิยามไว้ว่าผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
จากแนวโน้มโครงสร้างประชากรไทยดังกล่าว ทำให้หน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างพากันออกมาแสดงความกังวลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการกระตุ้นเตือนและเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในอนาคต และในฐานะที่ดิฉันและอีกหลายๆ ท่านที่กำลังอ่านบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ก็ต้องคิดว่า “จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ตัวเราเป็นหนึ่งในภาระของสังคมและภาระของลูกหลานเราในอนาคตได้”
นั่นสิ แล้วจะทำยังไงล่ะ คำตอบก็คือ “เตรียมพร้อม”
แต่คำว่าเตรียมพร้อมน่ะ พูดง่าย ทำยาก รึเปล่า มาดูกันค่ะ
1.เตรียมใจ ในการเข้าสู่วัยเกษียณ คนมักจะเหงา เครียดและกังวล เพราะจากคนที่ต้องตื่นเช้าแต่งตัวไปทำงานทุกวัน พอเกษียณแล้วจะเหมือนไม่มีค่า ไม่มีอะไรทำ แต่ถ้าคิดแบบนั้นก็จะยิ่งทำให้เราไม่มีความสุขเข้าไปใหญ่ ทำไมเราไม่เปลี่ยนมุมมองใหม่ล่ะคะ เพราะพอเราเกษียณก็จะมีเวลามากขึ้นไม่ต้องเร่งรีบ ได้ทำในสิ่งที่อยากทำในช่วงยังทำงานอยู่แต่ไม่มีเวลา เช่น อ่านหนังสือกองโตที่ซื้อมาในช่วงก่อนเกษียณแต่ไม่มีเวลาอ่าน เดินทางท่องเที่ยว ได้เข้าเรียนอะไรที่ไม่เคยเรียน อย่างเช่น ดนตรี ศิลปะ วาดภาพ หรือจะอาสาเป็นตัวแทนลูกบ้านในหมู่บ้านที่เราอยู่เพื่อร่วมพัฒนาชุมชน เป็นต้น
แค่นี้ก็แทบไม่มีเวลาเหงาแล้วค่ะ ดีเสียอีกพอเกษียณก็ได้มีเวลาอยู่กับลูกหลานมากขึ้น แต่กรณีที่ผู้เกษียณอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้แต่งงาน หรืออยู่กันตามลำพังสองตา-ยาย ก็จะยิ่งสบาย เพราะไม่มีภาระให้ต้องคิด ก็จะได้ทำในสิ่งที่อยากทำได้เต็มที่เลยค่ะ
2.เตรียมกาย เราต้องรักษาสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะค่าใช้จ่ายทางสุขภาพจะมากขึ้นตามวัย เป็นเงินที่มากเอาการในช่วงที่เราเกษียณแล้ว แต่ปัญหานี้จะหมดไป ถ้าเราเตรียมพร้อมด้วยการดูแลสุขภาพ และทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
เรื่องนี้ รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก นายกสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ ดิฉันอ่านเจอแล้วชอบมากเลยค่ะ ท่านพูดไว้ว่า “ร่างกายที่แข็งแรงจะต้องเคลื่อนไหว จิตใจที่แข็งแกร่งจะต้องนิ่ง การขยับออกกำลังกายทุกระบบจะทำให้คนที่มีอายุมากแข็งแรงได้
ส่วนเรื่องจิตใจ ถ้าเราคิดโน่นคิดนี่สับสนวุ่นวายตลอดเวลา จะทำให้จิตใจไม่มีพลังพอที่จะครองตนให้สุขุม ให้มีสติ คิดตัดสินอะไรไม่ค่อยได้ เวลาเจอปัญหา เจอความน้อยใจ จะทำให้จิตใจเราตกลง พลอยทำให้ร่างกายเราเสียหายเจ็บป่วยไปด้วยอีก” ดังนั้น การเตรียมใจและเตรียมกายจะต้องสัมพันธ์กัน แยกจากกันไม่ได้ค่ะ
3.เตรียมเงิน การเตรียมเงินนั้น นอกจากจะสำรองเงินสะสมเอาไว้แล้ว ยังต้องเตรียมรูปแบบการใช้จ่ายไว้ด้วย ตัวดิฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่เริ่มเตรียมพร้อมในด้านนี้ไว้เหมือนกัน แม้ว่าระยะเวลาที่เกษียณอาจจะอีกยาว (แต่ไม่แน่เหมือนกัน ถ้าบทความเขียนไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ CEO บอกไว้ อาจได้เกษียณล่วงหน้าก็เป็นได้ !!!) ซึ่งแหล่งที่มาของมนุษย์เงินเดือนอย่างดิฉันคงหนีไม่พ้นเงินเดือนเป็นหลัก โดยเงินที่ได้มาแต่ละเดือนจากอาชีพเป็นผู้จัดการกองทุนให้ท่านผู้อ่านนั้น ดิฉันมีหลักคิดส่วนตัวที่ไม่อิงหลักวิชาการง่ายๆเลยค่ะ คือ “เก็บก่อนใช้”
เก็บก่อนใช้ ต้องทำยังไงหรือคะ
ง่ายๆ เลย ดิฉันแบ่งเงินเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ก. เงินออม ข. เงินจ่ายภาระหนี้เช่น บัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในบ้าน ฯลฯ ค. เงินสำรองกรณีฉุกเฉิน และ ง. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง (อันสุดท้ายนี่สำคัญมากค่ะ เพราะการช้อปปิ้งอย่างพอดีๆ ดิฉันผ่อนคลายจากภาระงานจัดการกองทุนที่ท่านลงทุนไปได้มาก แต่ถ้าช้อปจนเกินไป ดิฉันก็จะเครียดยิ่งกว่าเดิม เพราะแทนที่จะจัดการกองทุนให้ท่านได้เต็มที่ ดิฉันก็คงจะต้องจัดการหนี้ที่ตนเองก่อไว้อย่างไร้ประโยชน์ค่ะ)
เรื่องการเก็บนี่ เราต้องตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าในปีๆ หนึ่งจะเก็บเงินเท่าไหร่ พอเงินเดือนออกปุ๊บ ก็เก็บก่อนเลยค่ะ จะฝากธนาคารหรือซื้อกองทุนก็ว่ากันไป ส่วนตัวดิฉันลงทุนในกองทุน เพราะง่ายและสะดวกสุดค่ะ แล้วก็ไปสำรวจตัวเองว่าสบายใจอยากลงทุนกับที่ไหน นโยบายเป็นอย่างไร เข้ากันได้กับตัวเองหรือไม่ ความเสี่ยงเป็นอย่างไร อันนี้เข้าไปดูรายละเอียดนโยบายในเวบไซด์ของแต่ละที่ได้เลยค่ะ
แต่ดูไปดูมา ก็ไม่รู้ว่าทำไมดิฉันจึงเทเงินลงไปในกองทุนที่เราบริหารอยู่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน
หลังจากหักเงินออมแล้ว เราก็ต้องจ่ายภาระหนี้ทั้งหมดที่พึงจ่าย และเก็บส่วนหนึ่งไว้เป็นสำรองยามฉุกเฉิน (ซึ่งบางท่านอาจนำเงินส่วนนี้ไปวางไว้ในกองทุนที่มีสภาพคล่องสูงๆ อย่างพวก Money Market Fund หรือกองทุนที่ใกล้เคียงก็ไม่ว่ากันค่ะ (ยิ่งเป็น บัวหลวงธนทวี หรือ บัวหลวงตราสารหนี้ภาครัฐ ก็ยิ่งดีนะคะ อะแฮ่ม !!) จากนั้นแล้ว ส่วนที่เหลือเราก็ใช้จ่ายได้เต็มที่เลยค่ะ และเงินออมที่เราเก็บไว้ทุกเดือนนี่แหละที่จะเป็นแหล่งรายได้ของเราในยามเกษียณ
จากการสังเกตคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันซึ่งอยู่ในวัยเกษียณแล้วทั้งคู่ พบว่าการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของพวกท่านดูลดน้อยกว่าอดีต ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะกิจกรรมทางสังคมลดลง พออายุมากขึ้นการกินก็ไม่ได้มากมาย อีกทั้งยังเคร่งครัดในการกินอาหารที่ดีกับสุขภาพด้วย จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่น่ากังวล
ทั้งนี้ ผู้ที่เตรียมพร้อมการเกษียณหรือเข้าใกล้วัยเกษียณจะต้องคิดไว้เลยว่า เงินจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือนที่คุณและคู่สมรส (ถ้ามี) อยากจะมีไว้ใช้จ่ายในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่อัตคัตขัดสน จนกระทั่งจากลาโลกนี้ไป ขอย้ำเลยว่า ให้คำนวณจำนวนเงินสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานตามแต่ฐานะการเงินที่มีนะคะ ไม่ใช่ดำรงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ แต่ขั้นต่ำก็คือให้วางแผนตามปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค และก็อาจมีเพิ่มเติมเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสันทนาการ พวกการเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อทำให้ชีวิตมีความสุขเอาไว้ด้วย ซึ่งเรื่องปัจจัยสี่ที่ว่านั้นมีข้อแนะนำดังนี้ค่ะ
ที่อยู่อาศัย บ้านที่เราอยู่ ณ ปัจจุบัน มันใหญ่ไปไหมสำหรับสมาชิกทั้งหมดที่มี สังคมไทยในปัจจุบันอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ อีกทั้งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุก็จะผูกพันกับบ้านที่อยู่มานาน แนวคิดแบบคนต่างประเทศที่ให้ย้ายที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับกายภาพและกำลังเงินอาจจะนำมาใช้ไม่ค่อยได้ แต่สังคมไทยในอนาคตจะแยกครอบครัวออกมาเป็นครอบครัวเดี่ยวกันมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจต้องอยู่กันตามลำพัง การมีบ้านที่ใหญ่โตเกินไป ค่าใช้จ่ายในการดูแล ซ่อมแซม ก็มากตามไปด้วย
อาหาร เป็นอีกหัวข้อที่ต้องใส่ใจสำหรับผู้สูงอายุ โดยอาหารพวก Junk Food ทั้งมีราคาแพง แถมไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็ต้องหลีกเลี่ยง เราอาจจะลองทำอาหารทานเองดีกว่าเพราะสะอาด ปลอดภัย แถมราคาไม่แพงด้วย เอาไว้เมื่อมีโอกาสพิเศษค่อยออกไปทานอาหารนอกบ้านเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ น่าจะดีกว่า
ยารักษาโรค อย่างที่ได้พูดไว้แล้วในหัวข้อเตรียมกายว่าการเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากเราป้องกันด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ และเริ่มวางแผนการซื้อประกันสุขภาพไว้แต่เนิ่นๆ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจจะไม่ใช่ภาระหนักจนเกินไป
มีคำแนะนำบางอย่างที่น่าสนใจของบทความในต่างประเทศก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่นจากที่เคยซื้อของกักตุนในบ้านมากๆ เพราะเมื่ออดีตเราไม่ค่อยมีเวลา ก็ปรับมาซื้อแต่พอดีพอใช้ หรือจากที่เคยซื้อหนังสืออ่านก็ลองเปลี่ยนมาใช้ห้องสมุดประชาชนที่จะได้อ่านหนังสือหลากหลายแถมอาจได้เพื่อนใหม่ที่นั่นอีกด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเล็กๆน้อยเหล่านี้ก็สามารถลดรายจ่ายได้มากโขอยู่ทีเดียว
4.เตรียมเพื่อน ด้วยหน้าที่การงานที่เร่งรีบของเราในทุกวันนี้ ทำให้เราละเลย “เพื่อน” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญไป ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเพื่อนฝูงที่มีทัศนคติและการดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกับเรา การพบปะพูดคุยหรือทำกิจกรรมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการไปออกกำลังกาย ไปวัด ทำบุญ ท่องเที่ยว ทำกิจกรรมอาสาสมัครร่วมกัน ฯลฯ ล้วนทำให้เรามีจิตใจเบิกบาน สนุกสนาน สุขภาพกายและสุขภาพใจ ก็พลอยดีไปด้วย
5.เตรียมผู้ช่วย ผู้ช่วยในที่นี้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนทางการเงินเพื่อให้เราเกษียณได้อย่างมั่นใจและสุขใจ ในต่างประเทศมีบริการทางด้านนี้มาก แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในประเทศไทยอย่างไรก็ตามถ้าสามารถบริหารและวางแผนทางเงินได้เอง ก็ไม่ต้องไปใช้บริการ ไม่ว่ากันค่ะ
เพียงแค่นี้เราก็สามารถยิ้มรับกับชีวิตบทใหม่ในวัยเกษียณให้มีความสุขได้แล้ว ด้วยการเตรียมพร้อมที่ดี
โดยสุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
กลุ่มจัดการกองทุน
บลจ.บัวหลวง
หลังจากดิฉันได้รับโจทย์ให้เขียนบทความเกี่ยวกับวัยเกษียณ ความคิดในครั้งแรกรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว หากเทียบกับอายุปัจจุบันของดิฉันและจะเขียนได้ดีและมีประโยชน์ไหม แต่พอได้มีเวลาทบทวนหัวข้อใหม่อีกครั้ง ก็พบว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากและสิ่งที่ดิฉันวางแผนและทำในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันก็เป็นการเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณแบบกรายๆนี่เอง ประกอบกับได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันเองซึ่งก็อยู่ในวัยเกษียณเช่นเดียวกัน จึงรวบรวมสิ่งต่างๆ เพื่อมาแบ่งปันรูปแบบการเตรียมพร้อมและใช้ชีวิตอย่างมีสุขในยามเกษียณ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับ Lifestyle ของแต่ละบุคคล ซึ่งคงต้องไปปรับใช้ให้เหมาะสม
สังคมไทยทุกวันนี้ คนหนุ่มสาวมักจะแต่งงานช้าลง แต่งงานน้อยลง ทำให้มีลูกช้าลงไปด้วย ในขณะที่อีกหลายครอบครัวยุคใหม่ก็ไม่ต้องการมีลูก การที่จะมาหวังพึ่งพาให้ลูกหลานเลี้ยงดูยามแก่เฒ่าจึงเรื่องยากกว่าเมื่ออดีต ชะดีชะร้อยยามเกษียณแล้ว ลูกๆ อาจจะยังต้องพึ่งพาเราอยู่ด้วยซ้ำ
สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ว่าปริมาณประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2568 จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยเทียบกับปี 2543 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.4 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) โดยสมบูรณ์แบบนั่นเองมาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยนิยามของ “สังคมผู้สูงอายุ” ว่าเป็นอย่างไร
ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ให้ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ20 และ 14 ตามลำดับ (สำหรับประเทศไทยเกณฑ์การเกษียณอายุโดยทั่วไปคือ 60 ปี และใน พรบ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ก็ให้คำนิยามไว้ว่าผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
จากแนวโน้มโครงสร้างประชากรไทยดังกล่าว ทำให้หน่วยงานราชการต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างพากันออกมาแสดงความกังวลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการกระตุ้นเตือนและเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในอนาคต และในฐานะที่ดิฉันและอีกหลายๆ ท่านที่กำลังอ่านบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ก็ต้องคิดว่า “จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ตัวเราเป็นหนึ่งในภาระของสังคมและภาระของลูกหลานเราในอนาคตได้”
นั่นสิ แล้วจะทำยังไงล่ะ คำตอบก็คือ “เตรียมพร้อม”
แต่คำว่าเตรียมพร้อมน่ะ พูดง่าย ทำยาก รึเปล่า มาดูกันค่ะ
1.เตรียมใจ ในการเข้าสู่วัยเกษียณ คนมักจะเหงา เครียดและกังวล เพราะจากคนที่ต้องตื่นเช้าแต่งตัวไปทำงานทุกวัน พอเกษียณแล้วจะเหมือนไม่มีค่า ไม่มีอะไรทำ แต่ถ้าคิดแบบนั้นก็จะยิ่งทำให้เราไม่มีความสุขเข้าไปใหญ่ ทำไมเราไม่เปลี่ยนมุมมองใหม่ล่ะคะ เพราะพอเราเกษียณก็จะมีเวลามากขึ้นไม่ต้องเร่งรีบ ได้ทำในสิ่งที่อยากทำในช่วงยังทำงานอยู่แต่ไม่มีเวลา เช่น อ่านหนังสือกองโตที่ซื้อมาในช่วงก่อนเกษียณแต่ไม่มีเวลาอ่าน เดินทางท่องเที่ยว ได้เข้าเรียนอะไรที่ไม่เคยเรียน อย่างเช่น ดนตรี ศิลปะ วาดภาพ หรือจะอาสาเป็นตัวแทนลูกบ้านในหมู่บ้านที่เราอยู่เพื่อร่วมพัฒนาชุมชน เป็นต้น
แค่นี้ก็แทบไม่มีเวลาเหงาแล้วค่ะ ดีเสียอีกพอเกษียณก็ได้มีเวลาอยู่กับลูกหลานมากขึ้น แต่กรณีที่ผู้เกษียณอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้แต่งงาน หรืออยู่กันตามลำพังสองตา-ยาย ก็จะยิ่งสบาย เพราะไม่มีภาระให้ต้องคิด ก็จะได้ทำในสิ่งที่อยากทำได้เต็มที่เลยค่ะ
2.เตรียมกาย เราต้องรักษาสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะค่าใช้จ่ายทางสุขภาพจะมากขึ้นตามวัย เป็นเงินที่มากเอาการในช่วงที่เราเกษียณแล้ว แต่ปัญหานี้จะหมดไป ถ้าเราเตรียมพร้อมด้วยการดูแลสุขภาพ และทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
เรื่องนี้ รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก นายกสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ ดิฉันอ่านเจอแล้วชอบมากเลยค่ะ ท่านพูดไว้ว่า “ร่างกายที่แข็งแรงจะต้องเคลื่อนไหว จิตใจที่แข็งแกร่งจะต้องนิ่ง การขยับออกกำลังกายทุกระบบจะทำให้คนที่มีอายุมากแข็งแรงได้
ส่วนเรื่องจิตใจ ถ้าเราคิดโน่นคิดนี่สับสนวุ่นวายตลอดเวลา จะทำให้จิตใจไม่มีพลังพอที่จะครองตนให้สุขุม ให้มีสติ คิดตัดสินอะไรไม่ค่อยได้ เวลาเจอปัญหา เจอความน้อยใจ จะทำให้จิตใจเราตกลง พลอยทำให้ร่างกายเราเสียหายเจ็บป่วยไปด้วยอีก” ดังนั้น การเตรียมใจและเตรียมกายจะต้องสัมพันธ์กัน แยกจากกันไม่ได้ค่ะ
3.เตรียมเงิน การเตรียมเงินนั้น นอกจากจะสำรองเงินสะสมเอาไว้แล้ว ยังต้องเตรียมรูปแบบการใช้จ่ายไว้ด้วย ตัวดิฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่เริ่มเตรียมพร้อมในด้านนี้ไว้เหมือนกัน แม้ว่าระยะเวลาที่เกษียณอาจจะอีกยาว (แต่ไม่แน่เหมือนกัน ถ้าบทความเขียนไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ CEO บอกไว้ อาจได้เกษียณล่วงหน้าก็เป็นได้ !!!) ซึ่งแหล่งที่มาของมนุษย์เงินเดือนอย่างดิฉันคงหนีไม่พ้นเงินเดือนเป็นหลัก โดยเงินที่ได้มาแต่ละเดือนจากอาชีพเป็นผู้จัดการกองทุนให้ท่านผู้อ่านนั้น ดิฉันมีหลักคิดส่วนตัวที่ไม่อิงหลักวิชาการง่ายๆเลยค่ะ คือ “เก็บก่อนใช้”
เก็บก่อนใช้ ต้องทำยังไงหรือคะ
ง่ายๆ เลย ดิฉันแบ่งเงินเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ก. เงินออม ข. เงินจ่ายภาระหนี้เช่น บัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในบ้าน ฯลฯ ค. เงินสำรองกรณีฉุกเฉิน และ ง. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง (อันสุดท้ายนี่สำคัญมากค่ะ เพราะการช้อปปิ้งอย่างพอดีๆ ดิฉันผ่อนคลายจากภาระงานจัดการกองทุนที่ท่านลงทุนไปได้มาก แต่ถ้าช้อปจนเกินไป ดิฉันก็จะเครียดยิ่งกว่าเดิม เพราะแทนที่จะจัดการกองทุนให้ท่านได้เต็มที่ ดิฉันก็คงจะต้องจัดการหนี้ที่ตนเองก่อไว้อย่างไร้ประโยชน์ค่ะ)
เรื่องการเก็บนี่ เราต้องตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าในปีๆ หนึ่งจะเก็บเงินเท่าไหร่ พอเงินเดือนออกปุ๊บ ก็เก็บก่อนเลยค่ะ จะฝากธนาคารหรือซื้อกองทุนก็ว่ากันไป ส่วนตัวดิฉันลงทุนในกองทุน เพราะง่ายและสะดวกสุดค่ะ แล้วก็ไปสำรวจตัวเองว่าสบายใจอยากลงทุนกับที่ไหน นโยบายเป็นอย่างไร เข้ากันได้กับตัวเองหรือไม่ ความเสี่ยงเป็นอย่างไร อันนี้เข้าไปดูรายละเอียดนโยบายในเวบไซด์ของแต่ละที่ได้เลยค่ะ
แต่ดูไปดูมา ก็ไม่รู้ว่าทำไมดิฉันจึงเทเงินลงไปในกองทุนที่เราบริหารอยู่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน
หลังจากหักเงินออมแล้ว เราก็ต้องจ่ายภาระหนี้ทั้งหมดที่พึงจ่าย และเก็บส่วนหนึ่งไว้เป็นสำรองยามฉุกเฉิน (ซึ่งบางท่านอาจนำเงินส่วนนี้ไปวางไว้ในกองทุนที่มีสภาพคล่องสูงๆ อย่างพวก Money Market Fund หรือกองทุนที่ใกล้เคียงก็ไม่ว่ากันค่ะ (ยิ่งเป็น บัวหลวงธนทวี หรือ บัวหลวงตราสารหนี้ภาครัฐ ก็ยิ่งดีนะคะ อะแฮ่ม !!) จากนั้นแล้ว ส่วนที่เหลือเราก็ใช้จ่ายได้เต็มที่เลยค่ะ และเงินออมที่เราเก็บไว้ทุกเดือนนี่แหละที่จะเป็นแหล่งรายได้ของเราในยามเกษียณ
จากการสังเกตคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันซึ่งอยู่ในวัยเกษียณแล้วทั้งคู่ พบว่าการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของพวกท่านดูลดน้อยกว่าอดีต ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะกิจกรรมทางสังคมลดลง พออายุมากขึ้นการกินก็ไม่ได้มากมาย อีกทั้งยังเคร่งครัดในการกินอาหารที่ดีกับสุขภาพด้วย จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่น่ากังวล
ทั้งนี้ ผู้ที่เตรียมพร้อมการเกษียณหรือเข้าใกล้วัยเกษียณจะต้องคิดไว้เลยว่า เงินจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือนที่คุณและคู่สมรส (ถ้ามี) อยากจะมีไว้ใช้จ่ายในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่อัตคัตขัดสน จนกระทั่งจากลาโลกนี้ไป ขอย้ำเลยว่า ให้คำนวณจำนวนเงินสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานตามแต่ฐานะการเงินที่มีนะคะ ไม่ใช่ดำรงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ แต่ขั้นต่ำก็คือให้วางแผนตามปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค และก็อาจมีเพิ่มเติมเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสันทนาการ พวกการเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ เพื่อทำให้ชีวิตมีความสุขเอาไว้ด้วย ซึ่งเรื่องปัจจัยสี่ที่ว่านั้นมีข้อแนะนำดังนี้ค่ะ
ที่อยู่อาศัย บ้านที่เราอยู่ ณ ปัจจุบัน มันใหญ่ไปไหมสำหรับสมาชิกทั้งหมดที่มี สังคมไทยในปัจจุบันอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ อีกทั้งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุก็จะผูกพันกับบ้านที่อยู่มานาน แนวคิดแบบคนต่างประเทศที่ให้ย้ายที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับกายภาพและกำลังเงินอาจจะนำมาใช้ไม่ค่อยได้ แต่สังคมไทยในอนาคตจะแยกครอบครัวออกมาเป็นครอบครัวเดี่ยวกันมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจต้องอยู่กันตามลำพัง การมีบ้านที่ใหญ่โตเกินไป ค่าใช้จ่ายในการดูแล ซ่อมแซม ก็มากตามไปด้วย
อาหาร เป็นอีกหัวข้อที่ต้องใส่ใจสำหรับผู้สูงอายุ โดยอาหารพวก Junk Food ทั้งมีราคาแพง แถมไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็ต้องหลีกเลี่ยง เราอาจจะลองทำอาหารทานเองดีกว่าเพราะสะอาด ปลอดภัย แถมราคาไม่แพงด้วย เอาไว้เมื่อมีโอกาสพิเศษค่อยออกไปทานอาหารนอกบ้านเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ น่าจะดีกว่า
ยารักษาโรค อย่างที่ได้พูดไว้แล้วในหัวข้อเตรียมกายว่าการเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่หากเราป้องกันด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ และเริ่มวางแผนการซื้อประกันสุขภาพไว้แต่เนิ่นๆ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็อาจจะไม่ใช่ภาระหนักจนเกินไป
มีคำแนะนำบางอย่างที่น่าสนใจของบทความในต่างประเทศก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่นจากที่เคยซื้อของกักตุนในบ้านมากๆ เพราะเมื่ออดีตเราไม่ค่อยมีเวลา ก็ปรับมาซื้อแต่พอดีพอใช้ หรือจากที่เคยซื้อหนังสืออ่านก็ลองเปลี่ยนมาใช้ห้องสมุดประชาชนที่จะได้อ่านหนังสือหลากหลายแถมอาจได้เพื่อนใหม่ที่นั่นอีกด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเล็กๆน้อยเหล่านี้ก็สามารถลดรายจ่ายได้มากโขอยู่ทีเดียว
4.เตรียมเพื่อน ด้วยหน้าที่การงานที่เร่งรีบของเราในทุกวันนี้ ทำให้เราละเลย “เพื่อน” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญไป ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเพื่อนฝูงที่มีทัศนคติและการดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกับเรา การพบปะพูดคุยหรือทำกิจกรรมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการไปออกกำลังกาย ไปวัด ทำบุญ ท่องเที่ยว ทำกิจกรรมอาสาสมัครร่วมกัน ฯลฯ ล้วนทำให้เรามีจิตใจเบิกบาน สนุกสนาน สุขภาพกายและสุขภาพใจ ก็พลอยดีไปด้วย
5.เตรียมผู้ช่วย ผู้ช่วยในที่นี้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนทางการเงินเพื่อให้เราเกษียณได้อย่างมั่นใจและสุขใจ ในต่างประเทศมีบริการทางด้านนี้มาก แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในประเทศไทยอย่างไรก็ตามถ้าสามารถบริหารและวางแผนทางเงินได้เอง ก็ไม่ต้องไปใช้บริการ ไม่ว่ากันค่ะ
เพียงแค่นี้เราก็สามารถยิ้มรับกับชีวิตบทใหม่ในวัยเกษียณให้มีความสุขได้แล้ว ด้วยการเตรียมพร้อมที่ดี