General News
• Moody’s ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสเป็น Ba2 (หรือ BB) จากเดิม Ba3 (หรือ BB-) เนื่องจากโปรตุเกสสามารถลดการขาดดุลงบประมาณเหลือเพียง 4.9% ในปีก่อน และตั้งเป้าให้อยู่ในระดับ 2.5% ภายในปี 2015 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดไว้ที่ 3% ทั้งนี้ โปรตุเกสจะออกจากโปรแกรมการขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF และ EU ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ หลังจากสามารถออกจำหน่ายพันธบัตรได้ด้วยตนเองเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี
• ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือน มี.ค.อยู่ที่ 1.48 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 1.58 หมื่นล้านยูโรในเดือนก่อน จากการส่งออกที่หดตัวลง 1.8% ซึ่งหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และมีการนำเข้าที่หดตัว 0.9% โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าการส่งออกของเยอรมนีเริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้นจากปัญหาในยูเครน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
• ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือน มี.ค.เพิ่มขึ้น 0.5% จาก 1% ในเดือนก่อน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.3% บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจในไตรมาสแรกสามารถขยายตัวได้ 0.8%
• ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาดัลลัส สนับสนุนให้ Fed ยุติมาตรการ QE ภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมีสภาพคล่องมากเพียงพอสำหรับการสนับสนุนการขยายตัว แต่เห็นว่า ยังคงต้องดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป
• อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.8% ลดลงจาก 2.4% ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 18 เดือน โดยเป็นผลมาจากราคาสินค้าอาหารที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 2.3% จาก 4.1% ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน เม.ย.อยู่ที่ -2% จาก -2.3% ในเดือนก่อน เป็นการหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 26 ทั้งนี้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ต่ำทำให้ธนาคารกลางจีนมีช่องว่างในการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้
• ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอลง และการส่งออกได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินวอน ทำให้ยังมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
• เกาหลีใต้เตรียมใช้จ่ายเงิน 7.8 ล้านล้านวอนสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 2 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนส่งสัญญาณอ่อนตัวลงหลังเหตุโศกนาฏกรรมเรือเฟอร์รีอับปาง ซึ่งทำให้มีการยกเลิกหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมจำนวนมากออกไป
• ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า ธนาคารกลางพร้อมรับมือกับความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้า หลัง S&P ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลิปปินส์เป็น BBB จากเดิม BBB- ทำให้คาดว่าจะมีเงินจำนวนมากไหลเข้ามาลงทุนในฟิลิปปินส์
• รายงานแนวโน้มภาคธุรกิจประจำเดือน เม.ย. ของ ธปท. ระบุว่า ในไตรมาส 2 ภาวะธุรกิจและการอุปโภคบริโภคยังคงไม่ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ โดยปัจจัยการเมืองยังคงกดดันความเชื่อมั่นต่อไป แต่จะไม่ทำให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพและความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งทำเลที่ตั้งที่เหมาะสำหรับการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกใน AEC
• เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป BOI ยังสามารถประชุมบอร์ดได้ตามปกติ โดยสามารถให้รักษาการนายกรัฐมนตรีหรือ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานได้ และในสัปดาห์นี้อนุกรรมการฯ จะมีการพิจารณาโครงการลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ก่อนนำเสนอบอร์ดชุดใหญ่อนุมัติภายในเดือนนี้
• รองประธานกรรมการสภาหอการค้าเปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจขยายตัวได้ไม่เกิน 1% เนื่องจากการท่องเที่ยวและการส่งออกไม่ได้ช่วยหนุนเศรษฐกิจมากนัก
Equity Market
• SET Index ปิดที่ 1,377.37 จุด ลดลง 1.65 จุด (-0.12%) ด้วยมูลค่าซื้อขาย 26,090.49 ล้านบาท ดัชนีปรับตัวลงในช่วงบ่ายหลังเกิดเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมบริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้มีความกังวลต่อเหตุการณ์ในช่วงสุดสัปดาห์
• ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความกังวลในการลงทุนขณะนี้ โดยยังคงมีการลงทุนอยู่เรื่อยๆ แม้จะมีสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น และให้ความสำคัญในเรื่องผลตอบแทนมากกว่าสถานการณ์ทางการเมือง
สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม
นักลงทุนสถาบัน +565.20 ล่านบาท
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -124.31 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติ -1,885.99 ล้านบาท
นักลงทุนทั่วไป +1,445.10 ล้านบาท
Fixed Income Market
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่าง -0.04% ถึง 0.00% ด้วยมูลค่าการซื้อขายรวม 110,125.31 ล้านบาท สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท.อายุ 3, 6 และ 12 เดือน มูลค่ารวม 101,000 ล้านบาท
• Moody’s ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสเป็น Ba2 (หรือ BB) จากเดิม Ba3 (หรือ BB-) เนื่องจากโปรตุเกสสามารถลดการขาดดุลงบประมาณเหลือเพียง 4.9% ในปีก่อน และตั้งเป้าให้อยู่ในระดับ 2.5% ภายในปี 2015 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ EU กำหนดไว้ที่ 3% ทั้งนี้ โปรตุเกสจะออกจากโปรแกรมการขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจาก IMF และ EU ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ หลังจากสามารถออกจำหน่ายพันธบัตรได้ด้วยตนเองเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี
• ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือน มี.ค.อยู่ที่ 1.48 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 1.58 หมื่นล้านยูโรในเดือนก่อน จากการส่งออกที่หดตัวลง 1.8% ซึ่งหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และมีการนำเข้าที่หดตัว 0.9% โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่าการส่งออกของเยอรมนีเริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้นจากปัญหาในยูเครน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
• ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือน มี.ค.เพิ่มขึ้น 0.5% จาก 1% ในเดือนก่อน และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 0.3% บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจในไตรมาสแรกสามารถขยายตัวได้ 0.8%
• ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาดัลลัส สนับสนุนให้ Fed ยุติมาตรการ QE ภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมีสภาพคล่องมากเพียงพอสำหรับการสนับสนุนการขยายตัว แต่เห็นว่า ยังคงต้องดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไป
• อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.8% ลดลงจาก 2.4% ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 18 เดือน โดยเป็นผลมาจากราคาสินค้าอาหารที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 2.3% จาก 4.1% ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน เม.ย.อยู่ที่ -2% จาก -2.3% ในเดือนก่อน เป็นการหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 26 ทั้งนี้ แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ต่ำทำให้ธนาคารกลางจีนมีช่องว่างในการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้
• ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอลง และการส่งออกได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินวอน ทำให้ยังมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
• เกาหลีใต้เตรียมใช้จ่ายเงิน 7.8 ล้านล้านวอนสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 2 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนส่งสัญญาณอ่อนตัวลงหลังเหตุโศกนาฏกรรมเรือเฟอร์รีอับปาง ซึ่งทำให้มีการยกเลิกหรือเลื่อนการจัดกิจกรรมจำนวนมากออกไป
• ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า ธนาคารกลางพร้อมรับมือกับความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้า หลัง S&P ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของฟิลิปปินส์เป็น BBB จากเดิม BBB- ทำให้คาดว่าจะมีเงินจำนวนมากไหลเข้ามาลงทุนในฟิลิปปินส์
• รายงานแนวโน้มภาคธุรกิจประจำเดือน เม.ย. ของ ธปท. ระบุว่า ในไตรมาส 2 ภาวะธุรกิจและการอุปโภคบริโภคยังคงไม่ฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ โดยปัจจัยการเมืองยังคงกดดันความเชื่อมั่นต่อไป แต่จะไม่ทำให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพและความเสี่ยงต่ำ รวมทั้งทำเลที่ตั้งที่เหมาะสำหรับการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกใน AEC
• เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป BOI ยังสามารถประชุมบอร์ดได้ตามปกติ โดยสามารถให้รักษาการนายกรัฐมนตรีหรือ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานได้ และในสัปดาห์นี้อนุกรรมการฯ จะมีการพิจารณาโครงการลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ก่อนนำเสนอบอร์ดชุดใหญ่อนุมัติภายในเดือนนี้
• รองประธานกรรมการสภาหอการค้าเปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจขยายตัวได้ไม่เกิน 1% เนื่องจากการท่องเที่ยวและการส่งออกไม่ได้ช่วยหนุนเศรษฐกิจมากนัก
Equity Market
• SET Index ปิดที่ 1,377.37 จุด ลดลง 1.65 จุด (-0.12%) ด้วยมูลค่าซื้อขาย 26,090.49 ล้านบาท ดัชนีปรับตัวลงในช่วงบ่ายหลังเกิดเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมบริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้มีความกังวลต่อเหตุการณ์ในช่วงสุดสัปดาห์
• ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า นักลงทุนต่างชาติไม่ได้มีความกังวลในการลงทุนขณะนี้ โดยยังคงมีการลงทุนอยู่เรื่อยๆ แม้จะมีสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น และให้ความสำคัญในเรื่องผลตอบแทนมากกว่าสถานการณ์ทางการเมือง
สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม
นักลงทุนสถาบัน +565.20 ล่านบาท
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -124.31 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติ -1,885.99 ล้านบาท
นักลงทุนทั่วไป +1,445.10 ล้านบาท
Fixed Income Market
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่าง -0.04% ถึง 0.00% ด้วยมูลค่าการซื้อขายรวม 110,125.31 ล้านบาท สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท.อายุ 3, 6 และ 12 เดือน มูลค่ารวม 101,000 ล้านบาท