คอลัมน์ Money Tips
โดยกองทุนบัวหลวง
เพื่อรองรับกระแสการลงทุนปีนี้ ซึ่งกองทุนบัวหลวงมองว่ายังเป็นกระแสเพื่อเตรียมตัวสู่ AEC จึงได้กำหนดแนวทางลงทุนปีนี้ไว้เป็น “มีตรา ยั่งยืน โปร่งใส มีชัย ไปกับ AEC” โดยเริ่มต้นปีนี้กับเสวนา “ตั้งรับ พร้อมรบ สไตล์กองทุนบัวหลวง” ซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ทีมงานได้เก็บตกบางประเด็นมาฝากกัน โดยท่านสามารถเลือกชมเนื้อหาเต็มๆ ได้ที่ http://www.bblam.co.th/PR/index.html
“ตั้งรับ เตรียมรุก” กับ คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กองทุนบัวหลวง
• การเมืองเป็นอย่างนี้แล้ว “ตั้งรับ” อย่างไรดี : เราเข้าใจผิดกันเยอะว่าปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดจากที่โครงการ 2 ล้านล้านบาทมีอันต้องตกไปจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ เพราะปัญหาที่แท้จริงคือ การไม่มีรัฐบาล ทุกวันนี้เรามีรัฐบาลรักษาการแต่ไม่มีอำนาจ ทั้งในเรื่องของการเบิกจ่ายใช้งบประมาณ หรือแม้แต่การใช้นโยบายการคลังไปผลักดันเรื่องต่างๆ ให้เกิดพลวัตทางเศรษฐกิจ ให้เกิดการลงทุนก็ทำไม่ได้ นี่คือปัญหาใหญ่ เพราะถ้านโยบายการคลังใช้ไม่ได้นานๆ ภาคธุรกิจจะเริ่มเดือดร้อน โครงการต่างๆ ที่เคยได้รับการป้อนจากรัฐบาลก็ไม่มี พอไม่มีสิ่งแรกที่จะทำคือการลดคน เมื่อลดคนก็มีผลกระทบต่อการจ้างงาน ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคน้อยลง และเมื่อพลังการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง คนไม่ซื้อของที่ผลิต ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จะผลักดันให้เติบโต หรือขยายกิจการก็ไม่กล้าเสี่ยงลงทุน ฉะนั้นการไม่มีรัฐบาลที่แท้จริงจึงเป็นสิ่งที่ทิ้งไว้นานไม่ได้ ซึ่งสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้มองว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง เมื่อเราก้าวเดินไปด้วยความเข้าใจ ด้วยจิตสำนึกอันถูกต้อง เชื่อมั่นว่าเราจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันนี้ไปได้อย่างแน่นอน
• “เตรียมรุก” ไปพร้อมๆ กันกับกองทุนบัวหลวง : เพื่อให้ท่านเริ่มสะสมความมั่งคั่งทางการเงินไว้เพื่ออนาคต หลังจากที่ได้ตั้งรับมาแล้วหลายเดือน ถึงเวลาแล้วที่เราจะเตรียมรุกเพื่อรองรับโอกาสดีๆ ที่จะเกิดจากการมาถึงของ mega trend คือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ใหญ่ๆ ซึ่งจะมีผลต่อความคิด การใช้ชีวิต lifestyle และการจับจ่ายใช้สอยทั้งหมด เช่น พวก urbanization การเติบโตของเมือง AEC หรือการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต เราไม่จำเป็นต้องรอให้โอกาสมาถึง ประเภทที่ตลาดไปก่อนแล้ว และเราค่อยเห่อตาม ถ้าเรามั่นใจในศักยภาพของประเทศไทย เชื่อมั่นในคนไทยว่าจะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้และเราจะดีที่สุดใน Asian ถ้าเราเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้เราต้องเตรียมรุก อย่างกองทุนบัวหลวงเองก็เตรียมรุกใน portfolio ลงทุนของเราด้วย ให้สอดคล้องกับนโยบายแต่ละกองทุนและแนวโน้มของ mega trend ในอนาคตในราคาวันนี้ที่ไม่แพง
“พร้อมรบในสไตล์กองทุนบัวหลวง” กับ คุณพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มจัดการกองทุน และทีมงานผู้จัดการกองทุน ได้แก่ คุณสุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และคุณอนรรฆ กิติวัฒน์
• Megatrends โอกาสลงทุนที่ไม่ต้องรอ : แนวทางลงทุนปีนี้ของกองทุนบัวหลวง “มีตรา ยั่งยืน โปร่งใส มีชัย ไปกับ AEC” เป็นการชี้ให้เห็นว่าปีนี้เรากำลังตั้งเป้าไปที่โอกาสของการลงทุนในหุ้นที่จะได้ประโยชน์ของ Megatrends เช่น AEC ก็เป็นหนึ่งใน Megatrends ซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวของการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจก่อสร้าง และเมื่อมองเข้าไปหาหุ้นที่น่าสนใจลงทุนก็จะพบว่าหุ้นที่น่าสนใจจะเป็นของบริษัทที่มี ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง มีธรรมภิบาลในการบริหารจัดการธุรกิจที่ดี เพราะสินค้าและบริการของธุรกิจเหล่านี้จะเป็นที่จดจำของลูกค้า ซึ่งนำไปสู่ความสามารถกำหนดราคาที่เหมาะสมกับความพึงพอใจที่ลูกค้าจะจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ
•Emerging market ยังเนื้อหอม แต่สำหรับไทยเอง อย่างมอง “Technical Recession” แต่ต้องมองว่าเกิดเหตุการณ์ขนาดนี้แล้วเรายัง “เติบโต”:
•หลังจากที่ปี 2011 เราเองเจอน้ำท่วมไปแล้ว GDP ของเราเองกลับมาฟื้น 6.5% จากมาตรการที่บ้านหลังแรก รถคันแรก และก็โครงการให้กับชาวนา โครงการจำนำข้าวต่างๆ ก็ทำให้กระตุ้นไปตรงนั้น คือเอาเงินอนาคตมาใช้ เพราะฉะนั้นในปี 2013 จากตัวเลขด้านส่งออก เศรษฐกิจเราเองชะลอจากการส่งออกที่หดตัวลง ทำให้กำลังซื้อก็ลดลงด้วย ที่ต้องไปผ่อนบ้านผ่อนรถ ผ่อนมือถือ ผ่อนอะไรเยอะแยะไปหมด ทำให้เศรษฐกิจปีที่แล้วก็ไม่ค่อยสู้ดีนัก ก็ต่ำกว่า 3% ออกมา 2.9% และไตรมาส 4 ก็มาเจอประเด็นการเมืองด้วย แต่ปีนี้การคาดการณ์ของทางการ แบงก์ชาติเราเอง สภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง ก่อนหน้านั้นต้นปีก็ประมาณที่ 4% หรือ 3-4% ตอนนี้ก็ New Target แล้วก็คงคิดว่าอยู่ประมาณ 3%
แต่จริงๆ โดยรวมมาดูทั้งปีมันก็ยัง Growth อยู่ดี เครื่องยนต์กลไกมันมี 4 ตัว ทำงานไม่ค่อยดีซะ 2 ตัว แล้วก็ทำงานที่หวังว่ามันจะดีก็คือตัวการส่งออก (Net Exports) ด้านท่องเที่ยว ส่งออก มันก็อยู่ในตัว X อีกตัวหนึ่งถึงแม้ว่ามันจะดู slow คือ การบริโภค (consumption) แต่จริงๆ แล้วถามว่าถ้าการกินอยู่การใช้จ่ายของคนในประเทศมันก็ช่วยได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเศรษฐกิจบอกว่าไม่ค่อยดีก็เก็บเงินอยู่บ้านไม่ไปไหน คือมันยิ่งทำให้เศรษฐกิจมันดูแย่แล้วตัวเราเองก็แย่ด้วย ตัวเครื่องยนต์กลไกตรงนี้อย่างตัว C ถึงบอกว่ามันชะลอยังไงก็ตาม แต่มันมีส่วนเหมือน contribute ใน GDP เกือบ 60% เป็นสัดส่วนที่ใหญ่ เพราะฉะนั้นตัวเลขนี้ไม่ได้ถึงกับแย่แล้วติดลบไป แค่ชะลอ เราถึงได้มาสัมมนากันเรื่องนี้ว่าตัว C จะทำยังไง ตัว Exports จะทำยังไง ตัว C เราก็มาจับกระแสตรงนี้ว่ามัน contribute ใน GDP ทุกอย่างมัน Growth เงินมันหมุนไป
•ถ้าใช้ Top Down มองลงมาก็จะเห็นกระแสการลงทุนผ่านพลังทั้งสี่ (Four Power) ขับเคลื่อนกระแสลงทุน ได้แก่ Power of Globalization (โลกเปลี่ยนไปเราต้องเปลี่ยนตาม) Power of Urbanization (เมืองขยายใหญ่ ชนบทเล็กลง) Big Idea (สินค้าอะไร ธุรกิจอะไร มีอนาคตสดใส) และ Power of Compounding (เงินทองงอกเงยทวีคูณ) ซึ่งเป็นบทสรุปของมุมมองต่อแนวโน้มของพลังบริโภค และแน่นอนเป็นที่มาของการแนะนำกองทุนที่สอดคล้องกับแนวคิดลงทุนของปีนี้
“กินอยู่ในไทย หรือหลบภัยไปเมืองนอก”
•บัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) เปลี่ยนพลังการบริโภคเป็นผลตอบแทนการลงทุน สอดรับการขยายตัวของพลังบริโภค : จากประมวลทั้งหมดเราก็คุยกันในทีม เราก็ว่านึกว่าสิ่งที่เราต้องกินต้องใช้ทุกวันนี้มันมีอะไรละ เราก็มานึกปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่าเบสิกนี้ของเราคืออะไร ก็คือปัจจัย 4 ก็คือมีทั้งเรื่องอาหาร อาหารการกิน พอเรามีรายได้มากขึ้นอาหารเราจากเดิมที่อาหารกินอย่างเดียวก็ได้กิน 2 อย่าง หรือออกกินข้าวนอกบ้านบ่อยขึ้น เครื่องนุ่งห่มก็คือเสื้อผ้าจากเดิมคือเสื้อตัว 2 ตัว ยี่ห้อดีขึ้น ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น หรือเลือกเปลี่ยนที่อยู่ที่ดีขึ้น
•บัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) โอกาสลงทุนไปสู่ธุรกิจดูแลสุขภาพที่มีศักยภาพทางธุรกิจทั่วโลก : การเพิ่มขึ้นของคนอายุ 75 ขึ้นไป จัดได้ว่าเป็น Power Big idea คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 35% ในปี ค.ศ. 2050 จากตอนนี้ประมาณ 7,000 ล้านคน ขึ้นไปเป็น 9,000 ล้านคน คาดว่าในปี ค.ศ. 2050 ส่วนใหญ่จะเป็นประชากรใน Emerging Market ซึ่งกอง BCARE มีการลงทุนในหลายกลุ่มธุรกิจในหมวดดูแลสุขภาพ เช่น Biotech ซึ่งเป็นกลุ่มวิเคราะห์ วิจัย ผลิตภัณฑ์ยา ต่อมาเป็นกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มการผลิตอวัยวะเทียม เป็นต้น