xs
xsm
sm
md
lg

ความสำคัญของ Investment Style ต่อการเลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์ Fund Manager Talk
โดยทีมจัดการลงทุน บลจ.ทิสโก้

ถึงแม้ในปัจจุบันนี้นักลงทุนจะมีความคุ้นเคยในการลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น แต่ก็มีนักลงทุนมือใหม่อีกไม่น้อยที่ยังมีคำถามเสมอว่าจะเลือกลงทุนกองทุนไหนดี ซึ่งการเลือกกองทุนที่จะลงทุนนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาจากความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนของแต่ละกองทุนแล้ว สิ่งที่หลายคนอาจจะลืมนำมาใช้ในการเลือกลงทุนก็คือ Investment Style ทั้งของตนเอง รวมถึงของ Fund Manager และกองทุนที่ต้องการจะลงทุน เพราะ Investment Style ของกองทุนจะสะท้อนถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนนั้นๆ ซึ่งหาก Investment Style ของผู้ลงทุนไม่ได้สอดคล้องกับ Investment Style ของกองทุน ก็อาจจะทำให้เกิดความคาดหวังที่อาจจะไม่ตรงกันก็เป็นได้

โดยปกติแล้ว สไตล์การลงทุนของ Fund Manager และของนักลงทุนจะแบ่งเป็น 6 แบบและสามารถจับเป็นคู่ได้ 3 คู่ด้วยกันขึ้นอยู่กับความเชื่อ ความชอบ และระดับของความเสี่ยงที่รับได้ของผู้ลงทุน ดังจะแบ่งได้เป็น

Active vs Passive Management สำหรับนักลงทุนที่เป็น Passive Style นั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อในความมีประสิทธิภาพของตลาด (Market & Efficiency) กลุ่มนี้จะเชื่อว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของบริษัทจะสะท้อนไปในราคาหุ้นอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปคาดการณ์ว่าการลงทุนในบริษัทไหนจะดีกว่าบริษัทไหน ด้วยความเชื่อนี้ คนกลุ่มนี้ก็จะเลือกลงในกองทุน Index Fund ที่ผลตอบแทนจะค่อนข้างมีความใกล้เคียงกับ Index Return สำหรับนักลงทุนที่เป็น Active Style นั้นจะเชื่อว่าการเลือกลงทุนในหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ถ้าได้ทำการวิเคราะห์การลงทุนในเชิงลึกอาจทำให้มีข้อมูลที่ยังไม่ได้ Price in ไปในราคาตลาด ซึ่งจะทำให้เราสามารถเลือกซื้อหุ้นได้ในราคาถูกและสามารถสร้างผลตอบแทนที่ชนะ Index Return ได้ นักลงทุนที่เชื่อใน Active Management จำเป็นที่จะต้องศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่ต้องการลงทุน หากไม่มีเวลามากพอที่จะศึกษาหุ้นรายตัวในเชิงลึกก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่มีการบริหารแบบ Active Style ได้เหมือนกัน

Growth vs Value Investing ในส่วนของนักลงทุนที่เป็น Active Style สามารถแบ่งแยกออกมาได้ 2 ประเภท คือ ผู้ที่ชื่นชอบหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลประกอบการที่ดี (Growth Stock) หรือผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนในหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก (Value Stock) สำหรับ Growth Investing ผู้ลงทุนจะให้ความสำคัญต่ออัตราการเติบโตของกำไรเป็นพิเศษ โดยจะยอมจ่าย Premium ให้อัตราการขยายตัวของกำไรที่โดดเด่น หุ้นที่จัดอยู่ใน Growth Stocks จะมี PER ที่ค่อนข้างสูง มีการจ่าย Dividend ในระดับต่ำ ทำให้หุ้นในกลุ่มนี้จะมีความผันผวนค่อนข้างสูง ในส่วนของ Value Investing ผู้ลงทุนจะคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุนโดยเปรียบเทียบราคาตลาดกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท เช่นอาจเทียบราคาตลาดกับ Book Value, Replacement หรือ Liquidation Value หุ้นที่เป็น Value Stock จะมีลักษณะสำคัญเช่น มี Dividend Yield ในระดับสูงหรือมี PER ในระดับต่ำ ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้จะ Perform ได้ดีในยามที่ตลาดมีความเสี่ยง หรือมีความไม่แน่นอนจากภาพเศรษฐกิจ ในขณะที่หุ้นในกลุ่มที่เป็น Growth Stock จะ Perform ได้ดีในยามเศรษฐกิจมีการขยายตัวที่ดี

Small Cap vs Large Cap สำหรับนักลงทุนที่ชอบลงทุนแบบ High Risk High Return นักลงทุนกลุ่มนี้จะชอบลงในหุ้นที่มี Market Cap ในระดับต่ำ หุ้นกลุ่มนี้เนื่องจากมีขนาดเล็ก สภาพคล่องจะค่อนข้างต่ำทำให้ราคาหุ้นสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างหวือหวาทั้งขาขึ้นและขาลง สำหรับผู้ที่ไม่ชอบการลงทุนที่หวือหวาก็อาจจะเลือกลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่ถึงแม้ Return อาจจะไม่สูงเท่าหุ้นขนาดเล็ก แต่ความเสี่ยงจะต่ำกว่าเช่นกัน

จาก Investment Style ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เมื่อผู้ลงทุนค้นหาตัวเองเจอแล้วว่าชอบการลงทุนในรูปแบบไหน รับความเสี่ยง ความผันผวนได้มากน้อยเพียงใด ในการเลือกซื้อกองทุนหุ้นควรจะต้องลงทุนในกองทุนที่มี Investment Style ที่สอดคล้องกับสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้ออกกองทุนหุ้นมากมายเพื่อตอบสนอง Investment Style ที่แตกต่างกันของผู้ลงทุน ขั้นตอนการเลือกลงทุนในกองทุนจึงสามารถใช้ Check List ดังต่อไปนี้

1. กองทุนที่ต้องการลงทุนรักษา Investment Style ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ กองทุนที่รักษา Style ของตนเองได้ ย่อมจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถคาดหวังได้ว่า ด้วยสไตล์การลงทุนของ Fund Manager ในช่วงเวลาไหน ควรจะทำงานผลงานหรือผลตอบแทนได้ดี หรือช่วงไหนกองทุนในสไตล์นั้นๆ จะไม่ Perform เช่น กองทุนที่เป็น High Dividend Fund ควรจะ Perform ได้ดีในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง แต่จะ Perform ได้ไม่เต็มที่ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ใน Cycle ของการเติบโตสูง หรือกองทุนที่เป็น Growth Fund ควรจะ Perform ได้ดีในยามเศรษฐกิจที่เป็นขาขึ้นแต่จะไม่ดีในช่วงที่เศรษฐกิจเป็น Recession

2. ศึกษาว่าหุ้นในพอร์ตที่ Fund Manager ลงทุนว่าตรงตาม Style ที่กองทุน Classify ตนเองว่าเป็น Style นั้นจริงหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกองทุนที่เน้นว่า Growth Investing แต่สัดส่วนในการลงทุนส่วนใหญ่เทไปในหุ้นที่เป็น Dividend Stock ผู้ลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกองทุนที่เป็น Growth Fund ก็อาจจะต้องระวังว่ากองทุนนี้อาจไม่ใช่กองทุนที่ตรงกับความต้องการของท่าน

3. กองทุนหุ้นที่รักษา Style การลงทุนที่ชัดเจน จะมีช่วงเวลาที่กองทุนนั้นๆ จะ Perform ดีและไม่ดี ดังนั้นถ้านักลงทุนต้องการที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ควรจะรู้จักการทำ Asset Allocation ยกตัวอย่างเช่น ในการลงทุนในกองทุนหุ้น ช่วงเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ควรให้น้ำหนักการลงทุนในกอง High Dividend Fund มากกว่า Growth Fund หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่ต้องการที่ลงทุนกองทุนที่ Fix กับสไตล์ที่กำหนดไว้ ก็อาจจะเลือกกองทุนหุ้นที่มี Strategy ที่ Fund Manager สามารถที่จะเลือกสรรการลงทุนในหุ้นที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจช่วงนั้นๆ หรือที่เรียกว่า Blend Investment Style ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง Growth Investing กับ Value Investing โดยหุ้นที่อยู่ในพอร์ตจะเทไปทาง Growth หรือ Value ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและความเสี่ยงในขณะนั้น

4. ผู้ลงทุนสามารถศึกษาว่ากองทุนไหนมี Investment Style แบบใดจากหนังสือชี้ชวน และสามารถซักถามจากผู้แนะนำการลงทุนของ บลจ.ว่ากองทุนที่สนใจมี Investment Style แบบใดก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อที่การลงทุนในกองทุนหุ้นจะได้ตรงใจกับความต้องการของผู้ลงทุนมากที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น