xs
xsm
sm
md
lg

ฟินันซ่าแนะลงบอนด์สั้น พักเงินรอจังหวะเข้าลงทุน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


บลจ.ฟินันซ่าแนะนักลงทุนพักเงินในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ก่อนรอจังหวะเข้าลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ หลังเศรษฐกิจยังชะลอตัวจากปัจจัยลบ ล่าสุดส่งกองทุน FAM FIPR3M2 ลงทุน 3 เดือนให้ผลตอบแทนประมาณ 2.95% ต่อปี

นายสุรสีห์ จงไชโย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า  เศรษฐกิจไทยเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากตัวเลขการส่งออกเดือน ธ.ค. ขยายตัว 1.9% ต่อปี อยู่ที่ 18,439 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งปี 2556 ส่งออกขยายตัวเพียง 0.3% ต่อปี ส่วนการนำเข้า เดือน ธ.ค.หดตัว 9.9% ต่อปี อยู่ที่ 18,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ในประเทศส่วนใหญ่หดตัวลง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์หดตัว 29.2% ต่อปี สินค้าประเภทวัตถุดิบหดตัว 19.1% ต่อปี และ สินค้าอุปโภคบริโภคหดตัว   1.6% ต่อปี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่าการส่งออกที่ชะลอตัว ความต้องการในประเทศที่ซบเซา และประกอบกับความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น บลจ.ฟินันซ่าเชื่อว่าน่าจะทำให้ กนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 2% ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 12 มี.ค. 57

    ทั้งนี้ ในภาวะนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงและดอกเบี้ยระยะยาวมีแนวโน้มปรับขึ้น ประกอบกับความผันผวนของตลาดหุ้นและสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ บลจ.ฟินันซ่าจึงออกเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน ชื่อ กองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน2 (FAM FIPR3M2) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.95% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 3-10 ก.พ. 57 โดยสินทรัพย์ในกองทุนบางส่วนจะลงทุนเป็นเงินฝากธนาคารต่างประเทศและในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade)
         
  สำหรับกองทุนเปิดฟินันซ่า ตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน2 (FAM FIPR3M2) เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือเงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia) หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1), ธนาคาร Union National Bank, UAE(P-1), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง (BBB+), บมจ.บัตรกรุงไทย (BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+), บมจ.อีซี่บาย (BBB+), บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง (BBB) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น