คปภ.ดีเดย์ขายประกันรายย่อยอย่างเป็นทางการ 25 พ.ย.นี้ พร้อมคาดเพิ่มวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุตาม พ.ร.บ.เป็น 30,000 บาทมีผลบังคับใช้ปีหน้า ขณะเดียวกันตั้งเป้าขยายงานเคลมสินไหมอัตโนมัติให้เป็นมาตรฐานเดียวทั้งประเทศ ด้านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยเล็งบุกสถานพยาบาลท้องถิ่นให้บริการเคลมอัตโนมัติได้หากระบบไอทีพร้อม
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การเปิดขายกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อยหรือไมโครอินชัวรันซ์อย่างเป็นทางการน่าจะเริ่มได้ภายในเดือนนี้ หรือประมาณวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 ส่วนการขยายความคุ้มครอง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจากเดิมให้ความคุ้มครองในวงเงิน 15,000 บาทเป็น 30,000 บาทนั้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อความของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
“หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเหตุชอบการปรับเพิ่มแล้วในเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้อยู่ในขั้้นตรวจข้อความซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และคงไม่สะดุดเพราะเรื่องการเมือง และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในปีหน้า เพราะเป็นเรื่องดีและใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว โดยจากข้อมูลของสมาคมประกันวินาศภัยพบว่ากลุ่มอุบัติเหตุที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 15,000-30,000 บาทในช่วงปีที่ผ่านมามีถึง 50,600 ราย คิดเป็นเงินกว่า 700 ล้านบาท ในส่วนนี้เป็นเงินชดเชยจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถประมาณ 30 ล้านบาท”
ทั้งนี้ คปภ.ยังมีแนวคิดที่จะปรับปรุงและแก้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใหม่ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้มาแล้วถึง 20 ปี โดยที่ผ่านมาถึงแม้จะมีการแก้ไขและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดเวลา แต่การพัฒนาเพื่อให้ประโยชน์แก่ประชาชนคงต้องดำเนินต่อไป
นายประเวชกล่าวอีกว่า นอกจากการแก้ไขและปรับปรุง พ.ร.บ.ข้างต้นแล้ว การพัฒนาระบบสินไหมอัตโนมัติ (E-Claim) ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยปัจจุบันทาง คปภ.ได้มีความพยายามพัฒนาระบบดังกล่าวให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจ่ายสินไหมอัตโนมัติเพื่อดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นการเชื่อมข้อมูลที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสะดวกในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยได้ทันที
นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ระบบสินไหมอัตโนมัติมีการทำข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประสบภัยทั่วไปในการได้รับการรักษาทันที และสถานพยาบาลเองจะไม่ต้องกังวลกับการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสุดท้ายคือบริษัทประกันวินาศภัยเองก็จะได้รับความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจ โดยหลังจากนี้จะมีการพัฒนาระบบให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
“ต่อจากนี้บริษัทประกันภัยคงหันมาเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยมากขึ้น ซึ่งสมาคมฯ ประเมินว่าจากนโยบายนี้จะกระตุ้นตลาดการประกันภัยรถภาคบังคับให้กลับมาคึกคัก และมีสีสันด้านการแข่งข้นด้านบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด”
ด้านนายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการให้บริการสินไหมอัตโนมัติน่าจะขยายไปในสถานีอนามัยท้องถิ่นที่มีการยกระดับเป็นสถานพยาบาลและมีความพร้อมด้านไอทีรองรับได้ต่อไป ซึ่งปัจจุบันมียอดเคลมสินไหมอัตโนมัติจากสถานพยาบาลประเภทนี้แล้วประมาณ 600 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลทั่วไปที่มีศักยภาพในการใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติปัจจุบันมีถึง 1,777 แห่ง คิดเป็น 97% ของโรงพยาบาลให้บริการรักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การเปิดขายกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อยหรือไมโครอินชัวรันซ์อย่างเป็นทางการน่าจะเริ่มได้ภายในเดือนนี้ หรือประมาณวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 ส่วนการขยายความคุ้มครอง พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งจากเดิมให้ความคุ้มครองในวงเงิน 15,000 บาทเป็น 30,000 บาทนั้น คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อความของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
“หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเหตุชอบการปรับเพิ่มแล้วในเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้อยู่ในขั้้นตรวจข้อความซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และคงไม่สะดุดเพราะเรื่องการเมือง และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในปีหน้า เพราะเป็นเรื่องดีและใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว โดยจากข้อมูลของสมาคมประกันวินาศภัยพบว่ากลุ่มอุบัติเหตุที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 15,000-30,000 บาทในช่วงปีที่ผ่านมามีถึง 50,600 ราย คิดเป็นเงินกว่า 700 ล้านบาท ในส่วนนี้เป็นเงินชดเชยจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถประมาณ 30 ล้านบาท”
ทั้งนี้ คปภ.ยังมีแนวคิดที่จะปรับปรุงและแก้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใหม่ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้มาแล้วถึง 20 ปี โดยที่ผ่านมาถึงแม้จะมีการแก้ไขและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดเวลา แต่การพัฒนาเพื่อให้ประโยชน์แก่ประชาชนคงต้องดำเนินต่อไป
นายประเวชกล่าวอีกว่า นอกจากการแก้ไขและปรับปรุง พ.ร.บ.ข้างต้นแล้ว การพัฒนาระบบสินไหมอัตโนมัติ (E-Claim) ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยปัจจุบันทาง คปภ.ได้มีความพยายามพัฒนาระบบดังกล่าวให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจ่ายสินไหมอัตโนมัติเพื่อดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นการเชื่อมข้อมูลที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสะดวกในการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยได้ทันที
นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ระบบสินไหมอัตโนมัติมีการทำข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประสบภัยทั่วไปในการได้รับการรักษาทันที และสถานพยาบาลเองจะไม่ต้องกังวลกับการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสุดท้ายคือบริษัทประกันวินาศภัยเองก็จะได้รับความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจ โดยหลังจากนี้จะมีการพัฒนาระบบให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
“ต่อจากนี้บริษัทประกันภัยคงหันมาเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยมากขึ้น ซึ่งสมาคมฯ ประเมินว่าจากนโยบายนี้จะกระตุ้นตลาดการประกันภัยรถภาคบังคับให้กลับมาคึกคัก และมีสีสันด้านการแข่งข้นด้านบริการเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด”
ด้านนายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการให้บริการสินไหมอัตโนมัติน่าจะขยายไปในสถานีอนามัยท้องถิ่นที่มีการยกระดับเป็นสถานพยาบาลและมีความพร้อมด้านไอทีรองรับได้ต่อไป ซึ่งปัจจุบันมียอดเคลมสินไหมอัตโนมัติจากสถานพยาบาลประเภทนี้แล้วประมาณ 600 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลทั่วไปที่มีศักยภาพในการใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติปัจจุบันมีถึง 1,777 แห่ง คิดเป็น 97% ของโรงพยาบาลให้บริการรักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุ