ทิสโก้ เวลธ์ เผยหลังไตรมาส 2 เป็นต้นไปเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณการฟื้นตัว หลังรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ แนะนักลงทุนหุ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง
นางสาววรสินี สังวรเวชภัณฑ์ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน ทิสโก้ เวลธ์ เปิดเผยถึงกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ว่าเป็นจังหวะของการกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังตลาดหุ้นในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดี โดยตลาดที่แนะนำคือตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น
ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมาเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวมากขึ้น หลังภาครัฐดำเนินนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่ามาตรการอาเบะโนมิกส์ แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก คือ การใช้นโยบายการคลัง การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ และล่าสุดคือแผนยุทธศาสตร์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง จะส่งผลให้แนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตอย่างเด่นชัดขึ้น
“ในปีนี้บริษัทคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี NIKKEI จะขยายตัว 60% และในปี 2557 จะขยายตัวอยู่ที่ 12% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นที่สุดในโลก โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลของการอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลที่ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงราว 25% นับตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าทุกๆ 1% ของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนขยายตัวขึ้นราว 2.4% และเป็นปัจจัยสนับสนุนผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นต่อไป”
นางสาววรสินีกล่าวต่อไปว่า จากผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ราคาหุ้นในแง่ P/E ปรับลดลง หรือเมื่อเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบันที่ 20.4 เท่า จะลดลงมาอยู่ที่ 18 เท่าในสิ้นปี 2556 โดยทั้งราคาหุ้นในปัจจุบัน และราคาหุ้นเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานปี 2556 ยังคงถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังที่ 22.9 เท่า ในปัจจุบัน ดัชนี NIKKEI เทรดอยู่ที่ระดับ P/E บนคาดการณ์ผลกำไรของปี 2556 ที่ราว 16.6 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในช่วง 3 ปีย้อนหลัง โดยหากสมมติให้ดัชนีเทรดที่ระดับ P/E เฉลี่ยในช่วงดังกล่าวที่ 21.2 เท่า หรือระดับสูงสุดที่ 25 เท่า ดัชนี NIKKEI ก็จะมี Upside จากระดับปัจจุบันอยู่อีกถึง 22% และ 44% ตามลำดับ
ทั้งนี้ แม้ราคาหุ้นจะปรับขึ้นมาแล้วแต่ยังคงถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตลาดโลก ในปัจจุบันดัชนี NIKKEI ซื้อขายที่ระดับเฉลี่ย 1.5 เท่า ขณะที่ระดับการซื้อขายของตลาดฯ ประเทศพัฒนาแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.86 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาด NIKKEI มีระดับการซื้อขายที่ถูกกว่าตลาดฯ ประเทศพัฒนาแล้วกว่า 20% นอกจากนี้ ตลาด NIKKEI เป็นตลาดฯ ที่มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมี D/E ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว หรืออยู่ที่ 0.76 เท่า จึงถือเป็นตลาดที่น่าสนใจเข้าลงทุนเพื่อเปิดโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทน รวมถึงเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงให้แก่พอร์ตการลงทุน
นางสาววรสินี สังวรเวชภัณฑ์ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน ทิสโก้ เวลธ์ เปิดเผยถึงกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ว่าเป็นจังหวะของการกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังตลาดหุ้นในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดี โดยตลาดที่แนะนำคือตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่โดดเด่น
ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมาเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวมากขึ้น หลังภาครัฐดำเนินนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่ามาตรการอาเบะโนมิกส์ แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก คือ การใช้นโยบายการคลัง การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ และล่าสุดคือแผนยุทธศาสตร์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง จะส่งผลให้แนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตอย่างเด่นชัดขึ้น
“ในปีนี้บริษัทคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี NIKKEI จะขยายตัว 60% และในปี 2557 จะขยายตัวอยู่ที่ 12% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นที่สุดในโลก โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลของการอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลที่ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงราว 25% นับตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าทุกๆ 1% ของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนขยายตัวขึ้นราว 2.4% และเป็นปัจจัยสนับสนุนผลกำไรของบริษัทในญี่ปุ่นต่อไป”
นางสาววรสินีกล่าวต่อไปว่า จากผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ราคาหุ้นในแง่ P/E ปรับลดลง หรือเมื่อเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบันที่ 20.4 เท่า จะลดลงมาอยู่ที่ 18 เท่าในสิ้นปี 2556 โดยทั้งราคาหุ้นในปัจจุบัน และราคาหุ้นเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานปี 2556 ยังคงถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังที่ 22.9 เท่า ในปัจจุบัน ดัชนี NIKKEI เทรดอยู่ที่ระดับ P/E บนคาดการณ์ผลกำไรของปี 2556 ที่ราว 16.6 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในช่วง 3 ปีย้อนหลัง โดยหากสมมติให้ดัชนีเทรดที่ระดับ P/E เฉลี่ยในช่วงดังกล่าวที่ 21.2 เท่า หรือระดับสูงสุดที่ 25 เท่า ดัชนี NIKKEI ก็จะมี Upside จากระดับปัจจุบันอยู่อีกถึง 22% และ 44% ตามลำดับ
ทั้งนี้ แม้ราคาหุ้นจะปรับขึ้นมาแล้วแต่ยังคงถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตลาดโลก ในปัจจุบันดัชนี NIKKEI ซื้อขายที่ระดับเฉลี่ย 1.5 เท่า ขณะที่ระดับการซื้อขายของตลาดฯ ประเทศพัฒนาแล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.86 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาด NIKKEI มีระดับการซื้อขายที่ถูกกว่าตลาดฯ ประเทศพัฒนาแล้วกว่า 20% นอกจากนี้ ตลาด NIKKEI เป็นตลาดฯ ที่มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมี D/E ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว หรืออยู่ที่ 0.76 เท่า จึงถือเป็นตลาดที่น่าสนใจเข้าลงทุนเพื่อเปิดโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทน รวมถึงเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงให้แก่พอร์ตการลงทุน