ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยหลังหั่นอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 2.50 จากร้อยละ 2.75 แนะนักลงทุนลงทุนกองทุนบอนด์ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า จากผลการประชุม กนง.ที่ไม่มีเซอร์ไพรส์ให้แก่ตลาด มีมติเป็นเอกฉันท์ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 2.50 จากร้อยละ 2.75 ช่วยเพิ่มความน่าสนใจต่อบริษัทที่อยากระดมทุนโดยตรงด้วยการออกตราสารหนี้ เพราะจากไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าบริษัทเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ BBB ขึ้นไป ออกหุ้นกู้ระดมเงินทางตรง สามารถได้ต้นทุนทางการเงินในการออกตราสารหนี้ต่ำกว่าการกู้เงินดอกเบี้ย MLR ถึงประมาณร้อยละ 2-3
นอกจากต้นทุนที่ต่ำกว่าเงินกู้แล้ว แนวโน้มต้นทุนยังได้ปรับลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 2553 ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากความต้องการตราสารหนี้ของนักลงทุนสถาบันที่มีการออกกองทุนตราสารหนี้กันมาก โดยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนตราสารหนี้ในประเทศเติบโตถึงร้อยละ 67 ขณะที่อุปทานของตราสารหนี้ในระดับน่าลงทุนในตลาดยังมีไม่มาก สังเกตได้ว่าต้นทุนในการออกหุ้นกู้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับตราสารในระดับ BBB และ BBB+ ที่เคยสูงกว่า MLR ก็ลดลงต่ำกว่าระดับ MLR ขณะเดียวกัน ส่วนต่างระหว่างต้นทุนในการออกตราสารหนี้เมื่อเทียบกับกลุ่มบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด หรือ AAA ก็แคบลงด้วย กล่าวคือ อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้ระยะเวลา 5 ปี ในช่วงปี 2552 ถึง 2553 ค่าเฉลี่ยส่วนต่างอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.8 ขณะที่ช่วงปี 2554-เม.ย. 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เท่านั้น
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ลดลงเช่นนี้จึงเป็นโอกาสของธุรกิจเอกชนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดีเลิศเท่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในการระดมทุนต้นทุนต่ำ ก่อนที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะกลับเป็นขาขึ้นในช่วงต้นปี 2557 อีกทั้งหากความต้องการเงินของภาครัฐผ่านการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก็จะกระทบต่อต้นทุนการระดมเงินของเอกชนได้ โดยส่งผลให้ Yield ของกลุ่ม BBB จะเพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.5 หรือถ้าสหรัฐฯ ประกาศชะลอมาตรการ QE ทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลงก็อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้นได้
ส่วนทางฝั่งผู้ออม ดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงย่อมหมายถึงผลตอบแทนทางการออมที่น้อยลงไปด้วย การเพิ่มทางเลือกในการออมหลากหลายขึ้น นอกเหนือจากการฝากเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็น การลงทุนในตราสารหนี้ หรือกองทุนตราสารหนี้ ที่แม้จะมีความเสี่ยงมากกว่าการฝากเงินบ้าง แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นมาก โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่ บลจ.ต่างๆ ออกมาขายรายย่อยให้สามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก และได้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน ตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หากออมด้วยการฝากประจำ 1 ปีต่อเนื่องจะได้อัตราดอกเบี้ย (ก่อนหักภาษี) เฉลี่ย 1.8% ต่อปี แต่การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้จะได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 2.2% ต่อปี เป็นต้น อีกทั้งหากลงทุนผ่านกองทุนยังไม่ต้องเสียภาษีในผลตอบแทนที่ได้ ซึ่งสถิติที่ผ่านมายืนยันว่ากองทุนตราสารหนี้เป็นอีกทางเลือกของการออมที่ได้รับความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี ขณะที่เงินฝากโตเฉลี่ยร้อยละ 8 และสัดส่วนเงินฝากต่อกองทุนตราสารหนี้ลดลงจาก 15.9 เท่าในปี 2551 เป็น 14.7 ในปี 2555
ทั้งนี้ การลงทุนในหน่วยลงทุนกองตราสารหนี้เอกชน แม้จะไม่มีการคุ้มครองเงินลงทุนดังเช่นการคุ้มครองเงินฝาก แต่ตราสารที่ควรพิจารณาเลือกลงทุนก็มีความเสี่ยงในระดับไม่สูงมาก ดังนั้น โอกาสที่เงินต้นของผู้ออมจะสูญจึงมีน้อย อีกทั้งในช่วงที่ลงทุน มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิอาจจะผันผวนได้บ้างเล็กน้อยตามคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย แต่หากลงทุนในระยะเวลาที่ยาวพอ ผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะมากกว่าเงินฝากอยู่ดี การออมผ่านการซื้อหน่วยลงทุนกองตราสารหนี้เอกชนจึงเป็นทางเลือกที่พักเงินออมในช่วงดอกเบี้ยต่ำที่ไม่ควรมองข้าม
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า จากผลการประชุม กนง.ที่ไม่มีเซอร์ไพรส์ให้แก่ตลาด มีมติเป็นเอกฉันท์ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 2.50 จากร้อยละ 2.75 ช่วยเพิ่มความน่าสนใจต่อบริษัทที่อยากระดมทุนโดยตรงด้วยการออกตราสารหนี้ เพราะจากไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าบริษัทเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ BBB ขึ้นไป ออกหุ้นกู้ระดมเงินทางตรง สามารถได้ต้นทุนทางการเงินในการออกตราสารหนี้ต่ำกว่าการกู้เงินดอกเบี้ย MLR ถึงประมาณร้อยละ 2-3
นอกจากต้นทุนที่ต่ำกว่าเงินกู้แล้ว แนวโน้มต้นทุนยังได้ปรับลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 2553 ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากความต้องการตราสารหนี้ของนักลงทุนสถาบันที่มีการออกกองทุนตราสารหนี้กันมาก โดยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนตราสารหนี้ในประเทศเติบโตถึงร้อยละ 67 ขณะที่อุปทานของตราสารหนี้ในระดับน่าลงทุนในตลาดยังมีไม่มาก สังเกตได้ว่าต้นทุนในการออกหุ้นกู้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับตราสารในระดับ BBB และ BBB+ ที่เคยสูงกว่า MLR ก็ลดลงต่ำกว่าระดับ MLR ขณะเดียวกัน ส่วนต่างระหว่างต้นทุนในการออกตราสารหนี้เมื่อเทียบกับกลุ่มบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด หรือ AAA ก็แคบลงด้วย กล่าวคือ อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้ระยะเวลา 5 ปี ในช่วงปี 2552 ถึง 2553 ค่าเฉลี่ยส่วนต่างอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.8 ขณะที่ช่วงปี 2554-เม.ย. 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เท่านั้น
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ลดลงเช่นนี้จึงเป็นโอกาสของธุรกิจเอกชนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดีเลิศเท่าบริษัทยักษ์ใหญ่ในการระดมทุนต้นทุนต่ำ ก่อนที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะกลับเป็นขาขึ้นในช่วงต้นปี 2557 อีกทั้งหากความต้องการเงินของภาครัฐผ่านการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก็จะกระทบต่อต้นทุนการระดมเงินของเอกชนได้ โดยส่งผลให้ Yield ของกลุ่ม BBB จะเพิ่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.5 หรือถ้าสหรัฐฯ ประกาศชะลอมาตรการ QE ทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลงก็อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้นได้
ส่วนทางฝั่งผู้ออม ดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงย่อมหมายถึงผลตอบแทนทางการออมที่น้อยลงไปด้วย การเพิ่มทางเลือกในการออมหลากหลายขึ้น นอกเหนือจากการฝากเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็น การลงทุนในตราสารหนี้ หรือกองทุนตราสารหนี้ ที่แม้จะมีความเสี่ยงมากกว่าการฝากเงินบ้าง แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นมาก โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่ บลจ.ต่างๆ ออกมาขายรายย่อยให้สามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก และได้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน ตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หากออมด้วยการฝากประจำ 1 ปีต่อเนื่องจะได้อัตราดอกเบี้ย (ก่อนหักภาษี) เฉลี่ย 1.8% ต่อปี แต่การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้จะได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 2.2% ต่อปี เป็นต้น อีกทั้งหากลงทุนผ่านกองทุนยังไม่ต้องเสียภาษีในผลตอบแทนที่ได้ ซึ่งสถิติที่ผ่านมายืนยันว่ากองทุนตราสารหนี้เป็นอีกทางเลือกของการออมที่ได้รับความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี ขณะที่เงินฝากโตเฉลี่ยร้อยละ 8 และสัดส่วนเงินฝากต่อกองทุนตราสารหนี้ลดลงจาก 15.9 เท่าในปี 2551 เป็น 14.7 ในปี 2555
ทั้งนี้ การลงทุนในหน่วยลงทุนกองตราสารหนี้เอกชน แม้จะไม่มีการคุ้มครองเงินลงทุนดังเช่นการคุ้มครองเงินฝาก แต่ตราสารที่ควรพิจารณาเลือกลงทุนก็มีความเสี่ยงในระดับไม่สูงมาก ดังนั้น โอกาสที่เงินต้นของผู้ออมจะสูญจึงมีน้อย อีกทั้งในช่วงที่ลงทุน มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิอาจจะผันผวนได้บ้างเล็กน้อยตามคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย แต่หากลงทุนในระยะเวลาที่ยาวพอ ผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะมากกว่าเงินฝากอยู่ดี การออมผ่านการซื้อหน่วยลงทุนกองตราสารหนี้เอกชนจึงเป็นทางเลือกที่พักเงินออมในช่วงดอกเบี้ยต่ำที่ไม่ควรมองข้าม